You are on page 1of 3

สรุปย่อวิชากฎหมายล้มละลาย ตอนที่ 1

นิติศาสตร์เชียงใหม่ 11

สรุปย่อวิชากฎหมายล้มละลายนี้ ผมได้ทำาขึ้น โดยการรวบรวมมาจากความเข้าใจส่วนตน โดยอ้างอิงเนื้อหาจากอาจารย์ผู้มี


ความรู้หลายท่าน ผมได้นำาสรุปย่อนี้ไปใช้ในการทบทวนก่อนสอบ และสามารถสอบเป็นเนติบัณฑิตตามที่มุ่งหวังไว้ได้ จึง
คิดว่าควรจะนำามาเผยแพร่ เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนนักศึกษา สำาหรับใช้ทบทวนในการสอบครับ

การฟ้องคดีล้มละลาย

1.หลักเกณฑ์การฟ้องคดีล้มละลาย
ต้องพิจารณาทั้ง 2 หลักเกณฑ์ต่อไปนี้ประกอบกัน
1.เงื่อนไขของลูกหนี้
2.เงื่อนไขของเจ้าหนี้ โดยให้แยกเจ้าหนี้ออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
2.1.เจ้าหนี้ไม่มีประกัน
2.2.เจ้าหนี้มีประกัน

2.เงื่อนไขของลูกหนี้ ให้พิจารณา 2 มาตรา คือ มาตรา 7 และ 8 ดังนี้


มาตรา 7 ลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวอาจถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายได้ ถ้าลูกหนี้นั้นมีภูมิลำาเนาในราชอาณาจักร
หรือประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรไม่ว่าด้วยตนเองหรือโดยตัวแทน ในขณะที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย หรือภายใน
กำาหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น

หลักในการจดจำาตัวบทมาตรา 7
1.ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (มีจุดเกี่ยวโยงมาตรา 8)

มาตรา 8 ถ้ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว


(1) โอนทรัพย์สินหรือสิทธิจัดการทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์แห่งเจ้าหนี้ทั้งหลายของ
ตน
(2) โอนหรือส่งมอบทรัพย์สินของตนไปโดยการแสดงเจตนาลวง หรือโดยการฉ้อฉล

(3) โอนทรัพย์สินหรือก่อให้เกิดทรัพยสิทธิเหนือทรัพย์สิน หากลูกหนี้ล้มละลายแล้วถือว่าเป็ นการให้


เปรียบ
(4) ลูกหนี้กระทำาการ เพื่อประวิงการชำาระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำาระหนี้

ก. ออกไปเสียนอกราชอาณาจักร หรือได้ออกไปก่อนแล้วและคงอยู่นอกราชอาณาจักร
ข. ไปเสียจากเคหะสถานที่เคยอยู่ หรือซ่อนตัวอยู่ในเคหะสถาน หรือหลบไป ปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ
ค. ยักย้ายทรัพย์ไปให้พ้นอำานาจศาล
ง. ยอมตนให้ต้องคำาพิพากษาซึ่งบังคับให้ชำาระเงินซึ่งตนไม่ควรต้องชำาระ
(5) ลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี หรือไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำาระหนี้ได้

(6) ลูกหนี้แถลงต่อศาลในคดีใด ๆ ว่าไม่สามารถชำาระหนี้ได้

(7) ลูกหนี้แจ้งให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดของตนทราบว่าไม่สามารถชำาระหนี้ได้

(8) ลูกหนี้เสนอคำาขอประนอมหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป

(9) ลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชำาระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่
น้อยกว่าสามสิบวัน และลูกหนี้ไม่ชำาระหนี้
2.มีภูมิลำาเนาในราชฯ หรือ ประกอบธุรกิจในราชฯ ด้วยตนเองหรือโดยตัวแทน
3.ในขณะที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย หรือภายในกำาหนดเวลาหนึ่งปีก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย

3.เงื่อนไขของเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ให้พิจารณามาตรา 9

มาตรา 9 เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

(2)ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้าน
บาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำานวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท และ
(3) หนีน
้ ั้นอาจกำาหนดจำานวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำาหนดชำาระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม
หลักในการจดจำาตัวบทมาตรา 9
1.หนี้สินล้นพ้นตัว ให้พิจารณามาตรา 7 และ 8
2.จำานวน
2.1.ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้จำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท
2.2.ลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้จำานวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท
3.กำาหนดได้แน่นอน
3.1.เป็นหนี้ที่เกิดจากมูลหนี้นิติกรรมสัญญาเท่านั้น
3.2.เป็นหนี้เงินเท่านั้น
3.3.ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำาหนดชำาระโดยพลันหรือในอนาคต

4.เงื่อนไขของเจ้าหนี้มีประกัน ให้พิจารณา 2 มาตรา คือ มาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 6

มาตรา 10 ภายใต้บังคับมาตรา 9 เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ


(1) มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชำาระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน และ
(2) กล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคา
หลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำานวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สำาหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำานวนไม่
น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำานวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท
หลักในการจดจำาตัวบทมาตรา 10
1.เป็นเจ้าหนี้มีประกัน จุดเกี่ยวโยงมาตรา 6
“เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ (ลูกหนี้เท่านั้น บุคคลอื่นไม่ได้) ในทาง
จำานอง จำานำา หรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำานองเดียวกับผู้รับจำานำา
2.มิได้เป็นผู้ต้องห้าม (ให้พิจารณาเรื่องจำานองเท่านั้น)

ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 733 บัญญัติว่า ถ้าเอาทรัพย์จำานองหลุด และราคาทรัพย์สินนั้นมีประมาณตำ่า


กว่าจำานวนเงินที่ค้างชำาระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำานองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ ได้เงินจำานวนสุทธิน้อยกว่า
จำานวนเงินที่ค้างชำาระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจำานวนอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น
กล่าวคือ หากสามารถบังคับการชำาระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกันได้ ก็จะ
เป็นเจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ ดังนัน้ เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ เจ้าหนีจ้ ำานองนั้นจะ
ต้องตกลงไว้ในสัญญายกเว้นไม่นำามาตรา 733 มาใช้บังคับนั่นเอง
3.กล่าวในฟ้อง เจ้าหนี้มีประกันสามารถเลือกได้ว่าจะกล่าวมาในฟ้องอย่างไร
3.1.ยอมสละหลักประกัน
สละเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย
3.2.ตีราคาหลักประกัน
เมื่อหักกับจำานวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สำาหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำานวน
ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำานวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท

You might also like