You are on page 1of 3

อธิบายกฎหมายล้มละลาย ตอนที่ 2

นิติศาสตร์เชียงใหม่ 11

สรุปย่อวิชากฎหมายล้มละลายนี้ ผมได้ทำาขึ้น โดยการรวบรวมมาจากความเข้าใจส่วนตน โดยอ้างอิงเนื้อหาจากอาจารย์ผู้มีความ


รู้หลายท่าน ผมได้นำาสรุปย่อนี้ไปใช้ในการทบทวนก่อนสอบ และสามารถสอบเป็นเนติบัณฑิตตามที่มุ่งหวังไว้ได้ จึงคิดว่าควร
จะนำามาเผยแพร่ เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนนักศึกษา สำาหรับใช้ทบทวนในการสอบครับ

นัดพิจารณาคดีล้มลาย

1. การวางเงินประกันค่าใช้จ่าย / การถอนฟ้อง
มาตรา 11 วางหลักดังนี้
1.เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายต่อศาลเป็นจำานวนห้าพันบาทในขณะยื่นคำาฟ้องคดีล้มละลาย
2.เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะถอนคำาฟ้องนั้นไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
เงื่อนไขในการถอนคำาฟ้องคดีล้มละลาย (ให้นำาคำาสั่งพิทักษ์ชั่วคราวมาพิจารณา)
1.กรณีที่ยังไม่มีคำาสั่งพิทักษ์ชั่วคราว
ศาลจะใช้ดุลยพินิจว่าจะอนุญาตให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ถอนคำาฟ้องได้หรือไม่
2.กรณีที่มีคำาสั่งพิทักษ์ชวั่ คราวแล้ว
ศาลจะต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ฉบับ ให้เจ้าหนี้คนอื่นทราบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน
ก่อนที่ศาลจะอนุญาตให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ถอนคำาฟ้องได้นั้น

2.รวมการพิจารณา และการนั่งพิจารณา
มาตรา 12 วางหลักดังนี้ มีคำาฟ้องหลายรายให้ลูกหนี้คนเดียวกันล้มละลายศาลมีอำานาจสั่งให้รวมการพิจารณาได้
มาตรา 13 วางหลักดังนี้ เมื่อศาลรับฟ้องคดีล้มละลาย
1.ให้กำาหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการด่วน
2.ให้ออกหมายเรียกและส่งสำาเนาคำาฟ้องไปยังลูกหนี้ให้ทราบก่อนวันนั่งพิจารณาไม่น้อยกว่า 7 วัน

3.วิธีการต่าง ๆ ที่โจทก์ใช้ก่อนมีคำาสั่งพิทักษ์เด็ดขาด

3.1.วิธีการคุม้ ครองชั่วคราว
มาตรา 16 วางหลักดังนี้
1.เมื่อศาลได้รับฟ้องคดีล้มละลาย
2.เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มีคำาขอฝ่ายเดียวโดยทำาเป็นคำาร้อง
3.โจทก์นำาสืบได้ว่าลูกหนี้ได้กระทำาการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
ก. 1.ออกไปหรือกำาลังจะออกไปนอกเขตอำานาจศาล หรือ 2.ได้ออกไปก่อนแล้วและคงอยู่นอกเขตอำานาจศาล
โดยเจตนาที่จะป้องกันหรือประวิงมิให้เจ้าหนี้ได้รับการชำาระหนี้
ข. ปกปิด ยักย้าย ซ่อน โอน ขาย ทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี หรือเอกสาร ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้ง
หลายในการดำาเนินคดีล้มละลายให้พ้นอำานาจศาล หรือกำาลังจะกระทำาการดังกล่าวนัน้
ค. กระทำาหรือกำาลังจะกระทำาการฉ้อโกงเจ้าหนี้
4.ศาลจะมีอำานาจสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าไปในเคหะสถานหรือที่ทำาการของลูกหนี้เพื่อตรวจสอบทรัพย์สิน ดวงตรา
สมุดบัญชีหรือเอกสารของลูกหนี้ และให้มีอำานาจสอบสวนลูกหนี้หรือออกหมายเรียกลูกหนี้มาสอบสวนได้
(2) ให้ลูกหนี้ให้ประกันจนพอใจศาลว่า ลูกหนี้จะไม่หลบหนีไปนอกอำานาจศาล และจะมาศาลทุกคราวที่ศาล
สั่ง ถ้าลูกหนี้ไม่สามารถให้ประกัน ศาลมีอำานาจสั่งขังลูกหนี้ได้มีกำาหนดไม่เกินครั้งละหนึ่งเดือน แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน
หกเดือน
(3) ออกหมายจับลูกหนี้มาขังไว้จนกว่าศาลจะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย หรือจนกว่าศาลจะยกฟ้องหรือ
จนกว่าลูกหนี้จะให้ประกันจนพอใจศาล

3.2.คำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว
มาตรา 17 วางหลักดังนี้
1.ก่อนศาลมีคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
2.เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะยื่นคำาขอฝ่ายเดียวโดยทำาเป็นคำาร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวก็ได้
3.เมื่อศาลได้รับคำาร้องนี้แล้วให้ดำาเนินการไต่สวนต่อไปโดยทันที และจะมีคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวต่อ
เมื่อ
3.1.ถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูล
หมายความว่าศาลเห็นว่าลูกหนี้มีโอกาสถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
3.2.เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ให้ประกันค่าเสียหายของลูกหนี้ตามจำานวนที่ศาลเห็นสมควร
4.ผลของคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวจะพิจารณาพร้อมกับผลของคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด

ข้อสังเกต
1.การถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการคุ้มครองชั่วคราวและคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนีช้ ั่วคราว
มาตรา 18 วางหลักดังนี้
1.ถ้าคำาสั่งตามมาตรา 16 (วิธีการคุ้มครองชั่วคราว) หรือมาตรา 17 (คำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว) นัน้
มีเหตุอันสมควรจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข
2.ไม่วา่ ศาลเห็นเองก็ดีหรือลูกหนี้ได้มีคำาขอขึ้นมาก็ดี
3.ศาลมีอำานาจถอนคำาสั่งนั้นหรือมีคำาสั่งอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรได้

2.ลูกหนีม้ ีคำาขอแสดงให้ศาลเห็นว่าเจ้าหนี้แกล้งใช้อำานาจโดยไม่สุจริต
มาตรา 29 วางหลักดังนี้
1.เมื่อลูกหนี้มคี ำาขอโดยทำาเป็นคำาร้อง แสดงว่าเจ้าหนี้แกล้งให้ศาลใช้อำานาจดังกล่าวไว้ในมาตรา 16 (วิธีการ
คุ้มครองชั่วคราว) หรือมาตรา 17 (คำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว)
2. ศาลมีอำานาจสั่งให้เจ้าหนี้ชดใช้ค่าเสียหายตามจำานวนที่เห็นสมควรให้ลูกหนี้ ในกรณีเช่นนี้หากเจ้าหนี้ไม่
ปฏิบัติตามคำาสั่งศาล ศาลมีอำานาจบังคับเจ้าหนี้นั้นเสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคำาพิพากษา(โดยลูกหนี้ไม่ต้องฟ้องเป็น
คดีใหม่)

You might also like