You are on page 1of 5

อธิบายกฎหมายล้มละลาย ตอนที่ 3

นิติศาสตร์เชียงใหม่ 11

สรุปย่อวิชากฎหมายล้มละลายนี้ ผมได้ทำาขึ้น โดยการรวบรวมมาจากความเข้าใจส่วนตน โดยอ้างอิงเนื้อหาจากอาจารย์ผู้มี


ความรู้หลายท่าน ผมได้นำาสรุปย่อนี้ไปใช้ในการทบทวนก่อนสอบ และสามารถสอบเป็นเนติบัณฑิตตามที่มุ่งหวังไว้ได้ จึง
คิดว่าควรจะนำามาเผยแพร่ เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนนักศึกษา สำาหรับใช้ทบทวนในการสอบครับ

คำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด

1.เมื่อศาลได้พิจารณาคดีแล้ว ศาลอาจมีคำาสั่งไปในทางใดทางหนึ่งต่อไปนี้
มาตรา 14 วางหลักว่า
1.ศาลมีคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อ
ศาลพิจารณาได้ความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10
2.ศาลยกฟ้องเมื่อ
1.ถ้าไม่ได้ความจริง หรือ
2.ลูกหนีน้ ำาสืบได้ว่าอาจชำาระหนี้ได้ทั้งหมด หรือ
3.มีเหตุอนื่ ที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย

2.ผลภายหลังที่ศาลมีคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์
หากกล่าวถึงคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในที่นี้จะมีความหมายถึงคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวและคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

2.1.ผลต่อลูกหนี้
ประการแรก มาตรา 23 วางหลักว่า
ลูกหนี้ต้องส่งมอบทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารอันเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตนซึ่งอยู่
ในความครอบครองให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทั้งสิ้น

ประการสอง มาตรา 24 วางหลักว่า


ห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำาการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้กระทำาตามคำาสั่งหรือ
ความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผูจ้ ัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้

ประการสาม (เฉพาะคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเท่านั้น) ซึ่งมาตรา 30 วางหลักว่า


ลูกหนี้ต้องไปสาบานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
(1) รวมทั้ง ยื่นคำาชี้แจงตามแบบพิมพ์ว่า ได้มีหนุ้ ส่วนกับผู้ใดหรือไม่ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ลูก
หนี้ได้ทราบคำาสั่งนัน้
(2) รวมทั้ง ยื่นคำาชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทรัพย์สินของคู่สมรส ตลอดจนทรัพย์สินของ
บุคคลอืน่ ซึ่งอยู่ในความยึดถือของตนภายในเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ได้ทราบคำาสั่งนัน้
ระยะเวลาตามมาตรานี้ เมื่อมีเหตุผลพิเศษ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจขยายให้ได้ตามสมควร
ถ้าลูกหนี้ไม่อยู่หรือไม่สามารถทำาได้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ทำาแทนโดยคิดหักค่าใช้จ่ายจากกอง
ทรัพย์สินของลูกหนี้

2.2.ผลต่อเจ้าหนี้

ประการแรก มาตรา 15 วางหลักว่า


1.ตราบใดที่ลูกหนี้ยังมิได้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้คนอื่นจะฟ้องลูกหนี้นนั้ เป็นคดีล้มละลายอีกก็ได้
2 เมื่อศาลได้สั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดในคดีหนึ่งคดีใดแล้ว ให้จำาหน่ายคดีล้มละลายซึ่งเจ้าหนี้
อื่นฟ้องลูกหนีค้ นเดียวกันนั้นเพื่อให้ไปขอรับชำาระหนี้

ประการสอง มาตรา 26 วางหลักว่า


ตราบใดที่ศาลยังมิได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้จะฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับ
ชำาระได้ตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้

ประการสาม ซึ่งมาตรา 27 วางหลักว่า


1.เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะขอรับชำาระหนี้ได้
2.แม้ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำาพิพากษา หรือเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แต่คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาก็ตาม

2.3.ผลต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

ประการแรก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำานาจเข้ายึด
มาตรา 19 วางหลักว่า
1.คำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ให้ถือเสมือนว่าเป็นหมายของศาล
2.ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำานาจเข้ายึดดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารของลูกหนี้ จุดเชื่อมโยงมาตรา 23 ซึ่ง
วางหลักว่า “เมื่อลูกหนี้ได้รับทราบคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วลูกหนี้ต้องส่งมอบทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารอัน
เกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตนซึ่งอยู่ในความครอบครองให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทั้งสิ้น”
3.ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำานาจเข้ายึดบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อื่นอัน
อาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย จุดเชื่อมโยงมาตรา 109 ซึ่งวางหลักว่า “ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินในคดีล้ม
ละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้
(1) ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องทั้งหลายอันลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย เว้นแต่
ก. เครื่องใช้สอยส่วนตัวอันจำาเป็นแก่การดำารงชีพ ซึ่งลูกหนี้รวมทั้งคู่สมรสและบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ จำาเป็นต้องใช้
ตามสมควรแก่ฐานานุรูป และ
ข. สัตว์ พืชพันธุ์ เครื่องมือและสิ่งของสำาหรับใช้ในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ราคารวมกันไม่เกินหนึ่งแสนบาท
(2) ทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้มาภายหลังเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายจนถึงเวลาปลดจากล้มละลาย
(3) สิ่งของซึ่งอยู่ในครอบครองหรืออำานาจสั่งการหรือสั่งจำาหน่ายของลูกหนี้ ในทางการค้าหรือธุรกิจของลูกหนี้ ด้วย
ความยินยอมของเจ้าของอันแท้จริง โดยพฤติการณ์ซึ่งทำาให้เห็นว่าลูกหนี้เป็นเจ้าของในขณะที่มีการขอให้ลูกหนี้นั้นล้ม
ละลาย

ประการสอง ศาลมีอำานาจออกหมายค้นสถานที่อื่นอันมิใช่เป็นของลูกหนี้ ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์


มาตรา 20 วางหลักว่า
เมื่อศาลมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า มีทรัพย์สินของลูกหนี้ซุกซ่อนอยู่ในเรือนโรง เคหะสถาน หรือสถานที่อื่นอันมิใช่เป็น
ของลูกหนี้ ศาลมีอำานาจออกหมายค้นให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

ประการสาม ให้หน่วยงานหรือผู้ประกอบการเกี่ยวกับไปรษณีย์ส่งข้อมูลทางการสื่อสารอื่นใด ไปยังเจ้าพนักงาน


พิทักษ์ทรัพย์
มาตรา 21 วางหลักว่า
ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำาขอ ศาลมีอำานาจสั่งให้หน่วยงานหรือผู้ประกอบการเกี่ยวกับการสื่อสาร ส่งข้อมูล
ทางการสื่อสารอื่นใด ที่มีถึงลูกหนี้ภายในกำาหนดเวลาไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ลูกหนี้ถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไปยังเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์

ประการสี่ อำานาจบางประการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
มาตรา 22 วางหลักว่า
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำานาจดังต่อไปนี้

มาตรา 22(1) จัดการและจำาหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำาการที่จำาเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนีท้ ี่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป


มีข้อสังเกตดังนี้
1.เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำานาจเข้ายึดบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อนื่ อัน
อาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 19 โยงกับมาตรา 109 แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำานาจจัดการและ
จำาหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้
2.ตามมาตรา 120 วางหลักเรื่อง “ธุรกิจของลูกหนี้มีเหตุอันสมควรที่จะดำาเนินต่อไป” ไว้ดังนี้
2.1.หากธุรกิจของลูกหนี้สมควรที่จะดำาเนินต่อไป
2.2.เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้แล้ว
2.3.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำาเนินธุรกิจของลูกหนี้นั้นเองเพื่อชำาระสะสางธุรกิจนั้นให้เสร็จไปหรือจะ
ตั้งบุคคลใดหรือลูกหนี้เป็นผู้จัดการโดยกำาหนดอำานาจหน้าที่ไว้ก็ได้
3.มาตรา 123 ประกอบมาตรา 145 ได้วางหลักเรื่อง “เงื่อนไขการจำาหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้” ไว้ดังนี้
3.1.มาตรา 123 วางหลักดังนี้
ทรัพย์สินซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมได้มา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำานาจขายตามวิธีที่สะดวกและเป็น
ผลดีที่สุด

การขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดนั้น ต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ เว้นแต่

1.ทรัพย์สินที่เป็นของเสียง่าย (ง่าย)

2.ถ้าหน่วงช้าไว้จะเสียหาย (หาย)

3.ค่าใช้จ่ายจะเกินส่วนกับค่าของทรัพย์สินนั้น (จ่าย)
3.2.มาตรา 145 วางหลักดังนี้

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำาการดังต่อไปนี้ได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้แล้ว
(2) โอนทรัพย์สินใด ๆ นอกจากโดยวิธีขายทอดตลาด

มาตรา 22(2) เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนีม้ ีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น


มีข้อสังเกตดังนี้
1.มาตรา 118 วางหลักดังนี้
1.เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำาขอ
2.ศาลมีอำานาจบังคับให้บุคคลที่รับว่าเป็นหนี้ลูกหนี้หรือรับว่ามีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง ชำาระ
เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำาหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร
3.ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำาบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคำาขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเสมือนหนึ่งว่า
บุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำาพิพากษา
2.มาตรา 119 วางหลักดังนี้
1.เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดชำาระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ลูกหนี้
2.ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังบุคคลนั้นให้ชำาระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินตาม
จำานวนที่ได้แจ้งไปและให้แจ้งไปด้วยว่าถ้าจะปฏิเสธให้แสดงเหตุผลประกอบข้อปฏิเสธเป็นหนังสือมายังเจ้า
พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำาหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่วันได้รับแจ้งความ มิฉะนัน้ จะถือว่าเป็นหนี้กองทรัพย์สิน
ของลูกหนี้อยู่ตามจำานวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด

มาตรา 22(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้


มีข้อสังเกตดังนี้
มาตรา 145 วางหลักดังนี้

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำาการดังต่อไปนี้ได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้แล้ว
(4) ฟ้องหรือถอนฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลายหรือฟ้องหรือถอนฟ้องคดีล้มละลาย

ประการห้า มาตรา 25 วางหลักว่า


ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่
มีคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำาขอโดยทำาเป็นคำาร้อง ศาลมีอำานาจงดการพิจารณาคดีแพ่งนัน้ ไว้
หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้

You might also like