You are on page 1of 101

สารบัญ

เรื่อง หน้ า

คำนำ ก
บทสรุ ปสำหรับผูบ้ ริ หาร ข
ที่มาและความสำคัญของปัญหา 1
วัตถุประสงค์และเป้ าหมาย 2
ขอบเขตการศึกษาและนิยามศัพท์ที่ใช้ในการศึกษา 3
กรอบแนวคิดในการวิจยั 5
วิธีการศึกษา 7
แนวคิดและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 8
การศึกษาวิจยั ภาคสนาม 112
บทสรุ ปและข้อเสนอแนะจากการวิจยั ภาคสนามจากนักวิจยั ภาคสนาม 200
บทสรุ ปและข้อเสนอแนะจากการวิจยั ภาคสนามเปรี ยบเทียบกับงานทบทวน 236
วรรณกรรม
ผลการประชุมสัมมนาระดับความคิดเห็นจากผูเ้ ชี่ยวชาญและผูป้ ฏิบตั ิงาน 256
สรุ ปผลการประชุมสัมมนาวิพากษ์โครงการจากผูเ้ ชี่ยวชาญ 296
สรุ ปผลการดูงาน ณ ประเทศอังกฤษ 318
สรุ ปผลและข้อเสนอแนะ 328
บรรณานุกรม 354
ภาคผนวก 362
รายชื่อคณะที่ปรึ กษา 364

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ อสุ ขภาพจิต แนวทางการเสริมสร้ าง พัฒนา ป้องกันและแก้ ไข


สุ ขภาพจิตของคนไทย

ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ในการพัฒนาคุณภาพและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย
การดำเนินการพัฒนาประเทศจำเป็ นต้องคำนึงถึงประกอบด้วย 3
ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ได้แก่ สติปัญญาและทักษะความรู้ความสามารถ
ส่วนที่ 2 ทัศนคติและ ค่านิยมการดำรงชีวิตในสังคม ส่วนที่ 3 คือสุข
ภาวะทั้งร่างกายและจิตใจ อย่างไรก็ตามสุขภาวะทางจิตมีความ
สำคัญต่อการปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตของคนในสังคมให้อยู่
รอดอย่างปกติสุข โดยไม่มีผลกระทบต่อคนรอบข้าง รวมทั้งมีผลกระ
ทบต่อสังคมด้วย แต่คนทัว่ ไปยังไม่ได้ให้ความสนใจ
สุขภาพจิตเป็ นสภาวะของบุคคลโดยธรรมชาติภาวะจิตใจ
ของมนุษย์จะมีการปรับตัว และเปลี่ ยนแปลงไปตามสิ่ งแวดล้อมที่
อยู่รอบตัวของบุคคลนั้ นๆ นอกจากนั้ นจิตใจของมนุษย์ มีความ
สลับซับซ้อนเข้าใจยากและมีการเปลี่ยนแปลงตามวัยตลอดเวลา
สุขภาพจิตของคนจะดีหรือไม่ดีข้ น ึ อยู่กับหลายปั จจัย เช่น
พันธุกรรม สติปัญญา สภาพการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมทางสังคม
ปั จจัยเหล่านี้จะเชื่อมโยงสัมพันธ์และส่งผลกระทบต่อกันและกัน
นอกจากนี้สภาพแวดล้อมทั้งทางเศรษฐกิจสังคมในปั จจุบันและ
อนาคตได้ก่อให้เกิดความกดดันต่อสภาพจิตของคนยิ่งขึ้น
ขณะนี้คนไทยส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเกิดปั ญหาสุขภาพจิต
เพิ่มขึ้น จากรายงานปี พ.ศ.2540- 2544 พบว่า สถานบริการ
สาธารณสุขทัว่ ไปมีอัตราผู้ป่วยทางจิต 144 คนต่อประชากร 100,000
คน ในปี พ. ศ.2540 และได้เพิ่มขึ้นเป็ น 293.2 ต่อประชากร
100,000 คน ในปี 2544 หากพิจารณาในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ในปี
พ.ศ. 2545 จำแนกตามโรคทางจิตเวชและปั ญหาสุขภาพจิต พบว่า
ความผิดปกติของการพัฒนาจิตใจ ร้อยละ 36.8 รองลงมา ได้แก่
ปั ญญาอ่อนร้อยละ 21.5 ความผิดปกติเชิงพฤติกรรมและอารมณ์ทเ่ี ริม ่
ต้นในเด็กและวัยรุน ่ ร้อยละ 14.9 พฤติกรรมแบบจิตเพศและความ
หลงผิดร้อยละ 9.9 และความหลงผิดทางอารมณ์ ร้อยละ 7.4
ปั ญหาสุขภาพจิตมิใช่แต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลนั้น ๆ
แต่ยังส่งผลต่อคนรอบข้างกล่าวคือ การเสียบุคคลคนนั้นไปโดยไม่
สามารถก่อประโยชน์ต่อสังคม หรือประเทศ นอกจากนั้นต้องเสียค่า
ใช้จ่ายในการรักษาดูแล การเสียเวลาและเสียโอกาสของญาติพ่น ี ้อง
พ่อ-แม่ในการดูแลรักษา และในหลายๆ กรณีกอ ่ ความเสียหายแก่คน
อื่น เช่น การก่ออาชญากรรมได้หลายรูปแบบบางครั้งก่อให้เกิดการ
เสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทัว่ ไปที่มิได้เกี่ยวข้องด้วย

1
เนื่องจากสภาพแวดล้อมของระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย
ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง มีปัจจัยจำนวนมากมายที่
ก่อให้เกิดความกดดันกับประชาชนทุกเพศ ทุกวัยและทุกด้าน ตั้งแต่
วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงานและวัยสูงอายุ หรือตั้งแต่ค่าครองชีพที่เพิ่ม
ขึ้น การแข่งขันกันเพื่อความอยู่รอดในสังคม ทัศนคติและค่านิยม
ทางตะวันตก ศาสนา วัฒนธรรมไทยและสังคมไทยที่เสื่อมถอย อัน
ทำให้ครอบครัว ชุมชนไม่สามารถเป็ นเกราะป้ องกันให้คนสามารถ
วิเคราะห์ แยกแยะสาเหตุเพื่อจัดการปั ญหาต่าง ๆ ในชีวิตและปรับ
ตัวได้อย่างปกติสุข
แม้ว่าสังคมไทยได้ตระหนักถึงปั ญหาดังกล่าว แต่องค์ความรู้
เกี่ยวกับสุขภาพจิตของคนไทยยังมีจำกัด คณะทำงานการ
สาธารณสุขและการพัฒนาคุณภาพชีวิต สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ จึงเห็นควรให้มีการศึกษาปั จจัยที่มีผลกระทบต่อ
สุขภาพจิตของคนไทย เพื่อให้ทราบถึงปั ญหาที่แท้จริงในสังคมไทย
โดยนำมาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขที่เป็ นรูปธรรมและควบคุมมิให้
ขยายตัวในสังคมไทย อันช่วยให้ประชาชนไทยอยู่ร่วมกันอย่างปกติ
สุข และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณากำหนดนโยบายมาตรการให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อทบทวนวรรณกรรมที่แสดงถึงปั จจัยที่มีผลกระทบต่อ
สุขภาพจิตของคนไทย
2. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์นโยบายภาครัฐทั้งระดับประเทศและ
ระดับท้องถิ่น ในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต
3. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์นโยบายภาครัฐทั้งระดับประเทศและ
ระดับท้องถิ่น ในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต
4. เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตที่มีผลกระทบจากการกำหนด
นโยบายของรัฐและมาตรการการดำเนินการในระดับท้องถิ่นตลอด
จนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในชุมชน
5. เพื่อนำข้อมูลจากการศึกษามาวิเคราะห์และสังเคราะห์มาจัด
ทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

เป้ าหมาย

2
1. ทราบถึงปั จจัยที่นำมาสู่การเกิดปั ญหาสุขภาพจิตของคน
ไทย โดยมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง นำไปสู่การกำหนดแนวทาง
ในการป้ องกัน การแก้ไขปั ญหา การเสริมสร้างและการพัฒนาสุขภาพ
จิตของคนไทยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ให้ภาครัฐมีความตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพจิตคนไทย
และมีการวางแผนระดับชาติรองรับ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้อง
ถิ่นซึ่งควรมีบทบาทในการดำเนินการเบื้ องต้นร่วมกัน พร้อมกับส่ง
เสริมให้บุคคลในสังคมหันมาให้ความสนใจสุขภาพจิตของตนเอง
และบุคคลรอบข้างมากขึ้น
3. กำหนดแผนแม่บทด้านสุขภาพของคนไทย โดยเน้นด้าน
สุขภาพจิตและการให้บริการด้านสุขภาพจิตผสมผสานกับสุขภาพ
กายแก่คนไทย
4. มีการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่แก่ประชาชนและหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องกับการป้ องกัน การแก้ปัญหา การเสริมสร้าง และการพัฒนา
ในเรื่องสุขภาพจิต หรือบุคคลทีม ่ ค
ี วามสนใจในการศึกษาวิจัยในเชิงลึก
ต่อไป

ขอบเขตการศึกษา

1. การสำรวจข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการ
สุ่มตัวอย่างชุมชนในเขตกรุงเทพฯ และ 4 ภูมิภาค
2. การจัด การประชุม สัม มนาร่วมกัน ระหว่างคณะทีป ่ รึกษาผู้
แทนชุมชน เจ้าหน้าที่ และตัวแทน หน่วยงานทีเ่ กีย ่ วข้องทั้งภาครัฐ
และเอกชน ใน 4 ภูมิภาค
3. การศึกษาดูง านด้า นส่ง เสริมและพัฒนาสุข ภาพจิตภายใน
ประเทศ ทั้งในกรุงเทพ ฯและภูมิภาค
4. การศึก ษาดูง านด้า นส่ง เสริม และพัฒ นาสุข ภาพจิต และ
หน่ว ยงานบริก ารที่ใ ห้บ ริก ารช่ว ยเหลือ ปั ญหาสุข ภาพจิต ในต่า ง
ประเทศที่เป็ นประโยชน์ และนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย เช่น
อังกฤษ เป็ นต้น

นิยามศัพท์ ที่ใช้ ในการศึกษา

3
สุ ข ภาพจิต หมายถึง ภาวะปกติสุ ข ที่บ ุค คลมีค วามเข้า ใจในศัก ยภาพต่า งๆของตนเอง
สามารถจัดการกับปัญหาความเครี ยดโดยทัว่ ไปได้อย่างเหมาะสม ประกอบกิจการต่างได้มีประสิ ทธิ์
เป็ นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม

ดัชนีชี้วดั สุ ขภาพจิต หมายถึง ตัวประเมินสุ ขภาพจิตว่าดีหรื อไม่ อย่างไร แบ่งออกเป็ น 4


ประเภท คือ ดัชนีช้ ีวดั ระดับบุคคลด้านบวก ดัชนีช้ ีวดั ระดับบุคคลด้านลบ ดัชนีช้ ีวดั ระดับสังคมด้าน
บวกและ ดัชนีช้ ีวดั ระดับสังคมด้านลบ
ปัจจัยที่เกีย่ วข้ องกับปัญหาสุ ขภาพจิต หมายถึง ปั จจัยที่ส่งผลต่อสุ ขภาพจิตซึ่ งสามารถแบ่ง
ปั จจัยออกเป็ นระดับการประเมินในทางปฏิบตั ิเป็ น 3 ระดับ ได้แก่ระดับบุคคล ระดับครอบครัวและ
ระดับชุมชนหรื อสังคม
นโยบายสุ ขภาพจิต ( Mental Health Policy ) หมายถึง แผนการที่รวบรวมคุณค่า หลักการ
และวัตถุประสงค์เพื่อทำให้สุขภาพจิตดีข้ ึน และลดผลกระทบจากการเจ็บป่ วยทางจิตใจของประชากร
ลง เป็ นวิสยั ทัศน์สำหรับอนาคต และช่วยกำหนดรู ปแบบในการปฏิบตั ิงาน นโยบายสุ ขภาพจิตยังบ่ง
ถึงระดับความสำคัญที่รัฐบาลจัดวางให้กบั สุ ขภาพจิต เมื่อเปรี ยบเทียบกับนโยบายสุ ขภาพด้านอื่นๆ
และนโยบายด้านสังคม โดยทัว่ ไปนั้นนโยบายจะถูกกำหนดให้มีผลในระยะยาว เช่น 5 หรื อ 10 ปี
แผนสุ ข ภาพจิต ( Mental Health Plan ) หมายถึง รายละเอีย ดของแบบแผนก่อ นการ
กำหนดงาน เพื่อ นำไปพัฒ นาสู่ แ ผนการปฏิบ ตั ิง านจริ งในการส่ งเสริ ม สุ ข ภาพจิต ( Promotion )
ป้ องกัน การเจ็บ ป่ วยทางจิต ใจ ( Prevention ) และบำ บัด ฟื้ นฟู ( Treatment and Rehabilitation )
แผนสุ ขภาพจิตมักประกอบด้วย แผนงาน ระยะเวลา ทรัพยากรที่ตอ้ งการใช้ เป้ าหมายที่ตอ้ งบรรลุ ตัว
ชี้วดั และกิจกรรม ระยะเวลาที่ใช้ในแผนสุ ขภาพจิต อาจใช้เวลานานเท่ากับเวลาของนโยบาย หรื อ
สั้นกว่าก็ได้
โครงการด้ านสุ ขภาพจิต ( Mental Health Programme ) หมายถึง การแทรกแซงโดยมี
วัต ถุป ระสงค์ท ี่ช ดั เจนในการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพจิต ( Promotion ) ป้ องกัน การเจ็บ ป่ วยทางจิต ใจ
(Prevention) และบำบัด ฟื้ นฟู (Treatment and Rehabilitation) โดยโครงการมักมีการเน้น ให้ค วาม
สำคัญแก่สุขภาพจิตเฉพาะด้า น และมีขอ้ มูลรายละเอียดในเรื่ องการดำเนินงาน งบประมาณ การ
ติดตามและการประเมินผลการปฏิบตั ิงาน โครงการด้านสุ ขภาพจิตจะแตกต่างจากนโยบาย และแผน
สุ ขภาพจิต คือ จะนำไปใช้ปฏิบตั ิในระดับหน่วยงานขนาดเล็ก หรื อ ทำในระยะเวลาสั้นๆ
เครือข่ ายบริการสุ ขภาพจิต หมายถึง การจัดบริ การด้านสุ ขภาพจิตโดยอาศัยความร่ วมมือจาก
หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งภาคประชาชน เพื่อเป็ นกลไกขับเคลื่อนให้การดำเนิน
งานสุ ขภาพจิตเชื่อมโยงถึงกัน ซึ่ งสามารถแบ่งเครื อข่ายบริ การสุ ขภาพจิตได้เป็ น 8 ส่ วน คือภาครัฐ –
กระทรวงสาธารณสุ ข , ภาครัฐ – นอกกระทรวงสาธารณสุ ข , มหาวิทยาลัย, โรงพยาบาล คลินิกและ
บริ การจิตวิทยาภาคเอกชน, องค์กรธุรกิจ , Non-Governmental Organizations (NGOs), สื่ อมวลชน
และภาคประชาชน

4
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนเกิดได้ทก ุ วัย การศึกษาอัตรา
ความถีค ่ วามผิดปกติทางจิตเวชเด็กโดยรวมในกรุงเทพฯ ระหว่างปี
พ.ศ.2539-2540 พบว่าอัตราความถี่ร้อยละ 37.6 โดยเป็ นโรควิตก
กังวลทัว่ ไป (10.8%) โรคกลัวเฉพาะเจาะจง (9.7%) โรคซึมเศร้า
(7.1%) โรคความประพฤติผิดปกติ (5.5%) โรคสมาธิส้ น ั ซน อยู่ไม่น่งิ
(5.1%) และโรควิตกกังวลจากการพลัดพราก (5%) เมื่อพิจารณา
ปั จจัยที่สัมพันธ์กับปั ญหาความประพฤติและอารมณ์ของเด็กกลุ่ม
นี้ ประกอบด้วย ความขัดแย้งในครอบครัว การมีครอบครัวขนาด
ใหญ่ที่มีลูกมากกว่า 4 คน การมีสมาชิกในครอบครัวเสียชีวิต ในช่วง
6 เดือนทีผ ่ า่ นมา การทีเ่ ด็กไม่ได้อาศัยอยูก
่ บ
ั พ่อแม่ทแ ่ ี ท้จริง การเจ็บป่วย
ทางจิต การใช้สารเสพติด หรือการมีประวัติทำผิดกฎหมายของพ่อแม่
ผู้ปกครอง และการที่เด็กสอบตกซ้ำชั้น
ในต่างประเทศมีการศึกษาปั จจัยที่มีความสัมพันธ์กับปั ญหา
สุขภาพจิตของวัยรุ่นมากมาย ปั จจัยที่มีความสำคัญประกอบด้วย
- ปั จจัยทางร่างกาย เช่น การเป็ นหนุ่มสาวเร็ว หรือช้า การ
มีโรคทางกายเรื้ อรัง
- ปัจจัยทางครอบครัว เช่น การเลี้ ยงดู ความสัมพันธ์ใน
ครอบครัว สุขภาพจิตของพ่อแม่ผป ู้ กครอง
- ปั จจัยทางโรงเรียน เช่น ขนาดของโรงเรียน ความคาด
หวังของครู ความเครียดในชีวิตประจำวัน การถูกทำร้ายทารุณ
- ปั จจัยเรื่องเพื่อน
- ปั จจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

การรับรู้ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปั ญหาสุขภาพจิตดังกล่าว
จะนำไปสู่การป้ องกัน และการช่วยเหลือที่ถูกต้อง

จากการดำเนินนโยบายของรัฐระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
และการมีส่วนร่วมของ ชุมชนพบว่ามีผลต่อภาวะสุขภาพจิต
ของคนในชุมชนในทางดีหรือไม่ข้ นึ อยู่กับปั จจัยหลายอย่างใน
ชุมชน เช่น การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน การมีสถานที่พัก
ผ่อนหย่อนใจ การมีกิจกรรมในชุมชนร่วมกัน ก่อให้เกิดการเรียนรู้
และสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

5
ดังนั้น การศึกษาวิจัยเรื่องปั จจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจิต
และแนวทางการเสริมสร้าง พัฒนา ป้ องกันและแก้ไขสุขภาพจิตของ
คนไทย

นโยบายของรัฐ
เช่น ด้านกีฬา ด้านวัฒนธรรม
การให้คำปรึกษา ด้านสันทนาการ
นโยบายกองทุนหมู่บ้าน
นโยบายท้องถิ่น
เช่น การสร้างสวนสาธารณะ การ
สร้างงาน การจัดกิจกรรม

ปั จจัยในชุมชน
สุ ขภาพจิตของคนไทย เช่น การจัดกิจกรรมร่วมกัน การ
แลกเปลี่ยน ข้อมูลและความ
ช่วยเหลือระหว่างชุมชนต่าง ๆ
สถานที่พักผ่อนของชุมชน
ปั จจัยทางสังคม
เช่น สถานที่ต้ งั ของบ้านพักอาศัย
ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม เช่น
ประวัติศาสตร์ เชื้ อชาติ ของ
ชุมชน

ปั จจัยอื่น ๆ
เช่น การเข้าไปของนักวิชาการ
ชาวต่างประเทศ และบุคคล
ภายนอกอื่น ๆ ที่เข้าไปมีผลต่อ
การเปลี่ยนแปลงในชุมชน
สื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์
โทรทัศน์ internet

6
วิธีการศึกษาวิจัย

ประกอบด้วย
1) การทบทวนวรรณกรรมที่แสดงถึงปั จจัยที่มีผลต่อสุ ขภาพจิต นโยบายสุ ขภาพจิต
และบริ การทางสุ ขภาพจิตในประเทศไทยและต่างประเทศ
2) การสำรวจข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการสุ่ มตัวอย่างชุมชนในเขต
กรุ งเทพฯ และ 4 ภูมิภาค
3) สัมมนาระดมความคิดเห็นจากผูเ้ ชี่ยวชาญและผูป้ ฏิบตั ิงาน
4) การศึกษาดูงานด้านการเสริ มสร้าง พัฒนา ป้ องกัน และแก้ไขสุ ขภาพจิตจากต่าง
ประเทศ เปรี ยบเทียบกับประเทศไทย เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมของ
ประเทศไทย

แนวคิดและการทบทวนวรรณกรรมที่เกีย่ วข้ อง

7
2.1 ปัจจัยที่เกีย่ วข้ องกับปัญหาสุ ขภาพจิต
เป็ น ที่ท ราบกัน ดีวา่ ภาวะสุ ข ภาพที่ดีข องมนุษ ย์ทุก คนนั้น ไม่อ าจขาดซึ่ งสุ ข ภาพจิต ที่ดี
ความหมายของสุ ขภาพจิตแม้อาจจะดูเข้าใจง่าย มีการนิยามแตกต่างกันหลายแนวทาง ในคำจำกัด
ความขององค์การอนามัยโลกที่มีต่อคำว่าสุ ขภาพจิต( Mental Health ,2001) ไว้วา่
สุ ขภาพจิตคือ ภาวะปกติสุข ที่บุคคลมีความเข้าใจในศักยภาพต่างๆของตนเอง สามารถ
จัดการกับปัญหาความเครี ยดโดยทัว่ ไปได้อย่างเหมาะสม ประกอบกิจการต่างได้มีประสิ ทธิ์ เป็ น
ประโยชน์แก่ตนเองและสังคม
ซึ่ งเป็ น คำนิย ามที่ใ ห้กรอบความคิด ที่กว้า ง การศึกษาเรื่ อ งปั ญ หาสุ ข ภาพจิต ที่ต อ้ งมีการ
ประเมินภาวะสุ ขภาพจิตในตัวบุคคลจริ งจึงจำเป็ นต้องอาศัย คำนิยามและกรอบความคิดที่ชดั เจนและ
สามารถระบุเกณฑ์ช้ ีวดั ได้ชดั เจนกว่านิยามดังกล่าว
การศึกษาในเรื่ องนี้นบั แต่โบราณอาจไม่ได้แยกจากเรื่ องหลักการศีลธรรม หรื อจิตวิทยา การ
ศึกษาวิจยั ในหัวข้อสุ ขภาพจิตโดยตรงอาจ เริ่ มในช่ว งครึ่ งศตวรรษที่ผ า่ นมา เมื่อ มารี จาโฮดา
(1958) ซึ่ งดำเนินงานของคณะกรรมการสุ ขภาพและการเจ็บป่ วยทางจิตใจ (Commission on Mental
Illness and Health) ได้กล่าวเสนอแนะถึงลักษณะของสุ ขภาพจิตซึ่ งมีการประเมินได้ 3 ประเด็น คือ
1. As a relatively constant and enduring function of personality พิจ ารณาตามลัก ษณะ
บุคลิกภาพที่ค่อนข้างคงที่ของแต่ละบุคคล
2. A momentary function of personality and situation พ ิจ า ร ณ า ต า ม ป ฎ ิก ิร ิ ย า ข อ ง
บุคลิกภาพที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ในช่วง ขณะหนึ่งๆ เหตุการณ์แวดล้อมรอบตัวจึงเป็ นปั จจัยที่
สำคัญเช่นกัน
3. As a group or cultural characteristics พิจารณาตามลักษณะโดยรวมตามกลุ่มชนหรื อ
กลุ่มวัฒนธรรมหนึ่งๆเป็ นมาตรฐาน
และจาโฮดาเองได้สรุ ปว่าผูม้ ีลกั ษณะสุ ขภาพจิตดีจะต้องประกอบด้วยลักษณะดังนี้
1. ไม่เจ็บป่ วยทางจิตใจ
2. มีพฤติกรรมที่เหมาะสม
3. ปรับตัวได้กบั สภาพแวดล้อมต่างๆ
4. มีลกั ษณะของบุคลิกภาพที่มนั่ คง
5. มีเจตคติที่ถูกต้องต่อสภาพเป็ นจริ ง
ส่ ว นนักวิช าการทางพยาบาลศาสตร์ เช่น kriegh &Perko(1983) หรื อ Burgess (1990) ได้
อธิ บายถึง สุ ขภาพจิตในแง่ของพยาบาลศาสตร์ว า่ เป็ นความสมดุลระหว่างความต้องการของบุคคล
ภายในและภายนอกได้รับการตอบสนองที่เป็ นจริ งจากปั จจัยทางชีวภาพ จิตใจและสังคม ทำให้ปรับ
ตัวได้ ใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ และรักษาสมดุลระหว่างอารมณ์กบั การกระทำให้บรรลุเป้ าหมายได้อย่าง
เหมาะสมกับ สถานการณ์ ผูท้ ี่มีสุข ภาพจิต ดีน้ นั คือ ผูซ้ ่ ึ งจะสามารถปรับ ปรุ งตนเองให้มีส ภาพที่

8
ปราศจากความคับข้องใจ ปราศจากพยาธิ สภาพหรื ออาการต่างๆใช้ศกั ยภาพที่มีอยูอ่ ย่างเหมาะสม ม ี
ความสัมพันธ์อนั ดีกบั บุคคลอื่นๆในสังคม
Trubowitz (1994) ซึ่ งเป็ นนักวิชาการทางพยาบาลศาสตร์เช่นกันได้เสนอลักษณะของผูท้ ี่มี
สุ ขภาพจิตดี 5 ประการคือ
1. มีความสุ ขใจ(Happiness)
2. สามารถควบคุมพฤติกรรมการแสดงออกตามความต้องการของตนเองได้เ หมาะสม
(Control over Behavior)
3. มีประสิ ทธิภาพในการประกอบกิจวัตร (Efficacy)
4. รับรู้และยอมรับความเป็ นจริ งที่เกิดขึ้นรอบตัวได้อย่างเข้าใจ (Appraisal of Reality)
5. มีทศั นคติต่อตนเองในแง่ดีและสร้างสรรค์ (Healthy Self-concept)

George E. Valiant ได้ศึก ษาทบทวนการให้นิย ามของภาวะสุ ข ภาพจิต ที่ดี ในช่ว งครึ่ ง


ศตวรรษที่ผา่ นมา และสรุ ปกรอบความคิดของภาวะสุ ขภาพจิตออกเป็ น ๓ รู ปแบบใหญ่ๆ คือ
ตารางที่1 กรอบความคิดของภาวะสุ ขภาพจิต

MODEL A MODEL B MODEL C


สุ ขภาพจิตที่ดี = สุ ขภาพดีป่วย สุ ขภาพจิตที่ดี =จิตวิทยาเชิง สุ ขภาพจิตที่ดี=พัฒนาการที่
ทางจิต บวก สมวัย
ความรัก มีความเห็นเห็นใจผู้ ความรัก เป็ นความสัมพันธ์ลึก ความรัก มีความสามารถที่จะรัก
อื่นได้ ซึ้ งที่ตอบสนองกันอย่างเหมาะ บุคคลอื่นๆได้ในรู ปแบบและ
สามารถประสานความสัมพันธ์ สม มีความเมตตากรุ ณาซึ่ งกัน ระดับที่ต่างกัน มีความรักเป็ น
ที่ดีกบั บุคคล อื่นๆได้ตาม และกัน มีความฉลาดเชิง กำลังใจในการสร้างสรรค์งาน
สมควร อารมณ์ EQ ต่างๆ
MODEL A MODEL B MODEL C
สุ ขภาพจิตที่ดี = สุ ขภาพดีป่วย สุ ขภาพจิตที่ดี =จิตวิทยาเชิง สุ ขภาพจิตที่ดี=พัฒนาการที่
ทางจิต บวก สมวัย
การแก้ปัญหาชีวติ มีการรับรู้ การจัดการอารมณ์ รู ้จกั ให้อภัย รู ปแบบการแก้ ปัญหา ยืดหยุน่
โลกตามความเป็ นจริ ง สามารถ มีเมตตา ควบคุมอารมณ์และ มิใช่ทำตามแต่ความเคยชิน
อดทนต่อ ปรับอารมณ์ตนเองได้ ยอมรับและจัดการกับอารมณ์
ความเครี ยด บริ หาร ตนเองและ ได้โดยไม่เดือดร้อนตนเองและ
สิ่ งแวดล้อมได้ คนอื่นๆ
การดำเนินชีวติ รู้จกั ใช้ชีวิตมี ความรู้ และปัญญามีความรักที่ การดำเนินชีวติ ยอมรับและปรับ
ทิศทางในอนาคต มีความ จะใฝ่ รู ้ เปิ ดใจรับสิ่ งใหม่ๆโดย ตัวได้กบั ความเปลี่ยนแปลงและ

9
ตระหนักรู้ในตนเอง (self- ไม่ด่วนตัดสิ น มีมุมมองแง่คิดที่การสู ญเสี ยในขณะใดขณะหนึ่ง
actualization ) เป็ นจริ ง ,สร้างสรรค์ ของชีวิต
เป็ นตัวของตนเอง เข้าใจความ มีความกล้ า กล้าที่จะเป็ นตัวเองมีจุดหมายที่ชดั เจนในชีวิตของ
ต้องการของตนเอง อยูก่ บั อัต คิด รู ้สึกและแสดงออกอย่าง ตนเองตามระดับที่เหมาะสม
ลักษณ์และความรู้สึกของ จริ งใจ สอดคล้องกับความเป็ นจริ ง ไม่
ตนเองได้ ตกอยูใ่ นอิทธิ พลใคร
มีความเป็ นผู้นำ ทำงานเป็ นหมู่ มีความหวัง หวังและคำนึงจะ
คณะได้ มีความยุติธรรม เห็นแก่ ให้เกิดความดีงามแก่สงั คม
ประโยชน์ส่วนรวม ภักดีต่อ ประเทศชาติ
องค์กร
พัฒนาตนเอง มีอารมณ์ขนั มี อัตลักษณ์ ที่เป็ นผูใ้ หญ่แต่มอง
ความหวังในแง่ดี มีความเชื่อมัน่ โลกสนุกสนานแบบเด็กได้ ใน
ศรัทธาต่อสิ่ งดีงาม เวลาที่เหมาะสม

ดัดแปลง จาก Valiant 2002

MODEL A สุ ขภาพจิตที่ดี = สุ ขภาพดีไม่ ป่วยทางจิต


สุ ขภาพจิตในความหมายนี้จะเน้นมุมมองทางการแพทย์ หมายถึงสุ ขภาพจิตที่ดี คือปราศจาก
ความเจ็บปวดทางจิต และนอกจากนั้นยังหมายความรวมถึง การใช้ชีวิตได้ดีมีความสุ ขด้วย ดังจะ
พิจารณาได้จากเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิต เวชที่ไ ด้รับ การยอมรับ สากล คือ DSM IV TR ของ
สมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริ กาก็จะมีการประเมินแบบ Multiaxial Diagnosis ซึ่ งใน axis ที่5 นั้น
จะเป็ นการประเมินคุณภาพชีวิต ความสุ ข และความสามารถในการใช้ชีวิต (continuum of Mental
Health and Illness) เรี ย กว่า global assessment of functioning ( GAF 100-0) โดย Valiant มีค วาม
เห็นว่า บุคคลที่มีสุขภาพจิตดี ควรจะมี GAF เกินกว่า 90

MODEL B สุ ขภาพจิตที่ดี =จิตวิทยาเชิงบวก


จิตวิทยาเชิงบวก positive Psychology นี้ เป็ นการเรี ยกรวมถึงกลุ่มทฤษฎีทางจิตวิทยาในช่วง
40 กว่าปี ที่ผา่ นมา นักจิตวิทยาที่จกั ว่าเป็ นผูนำ
้ ในเรื่ องได้แก่ Abraham Maslow ด้วยทฤษฎีที่กล่าวถึง
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่มีระดับต่างกันตั้งแต่ความต้องการความปลอดภัยในการดำรงชีพ
และ ปัจจัย 4 ในเชิงรู ปธรรม พัฒนาเป็ นความรัก การยอมรับจากบุคคล จนถึงขั้นที่เ รี ย กว่า Self
Actualization และแตกต่างจากนักจิตวิทยากลุ่มก่อนๆ ที่เน้นเรื่ องการถูก กำหนดจากจิตไร้สำ นึก
(Psychic Determinism) จนมีอาการทางจิต โดยเน้นสนใจเนื้อหาของจิตที่มีสำนึกรับรู ้และรับผิดชอบ
ได้มากกว่า ซึ่ งทำให้มนุษย์มีเสรี ภาพในการเลือกการกระทำของตนเอง และเชื่อในการพัฒนาตนเอง

10
ของมนุษย์สู่สิ่งที่ดีกว่า เช่น การเรี ยนรู ้ สามารถเพิม่ ความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) และความฉลาด
ทางอารมณ์ (EQ) ได้ ซึ่ งแนวความคิดเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์น้ ี ได้รับกล่าวถึงโดย Howard
Gardner ในปี คศ.1983 และ Daniel Goleman ในปี คศ.1995 ซึ่ งพัฒนาขึ้นหลังจากที่พบว่า ความ
ฉลาดทางสติปัญญาเพียงประการเดียวมิได้ช่วยทำให้มนุษย์มีสุขภาพจิตที่ดีและประสบความสำเร็ จใน
ชีวิตได้ การประเมิน E.Q.นี้มีองค์ประกอบหลัก 5 ข้อ คือ
1. รู้และ เข้าใจอารมณ์ของตนเอง (Self awareness, knowing one's emotion) หมายถึง การรู ้
เท่าทัน อารมณ์ข องตนเองเช่น รู้ว า่ ขณะนี้ต นเองกำลังโกรธ สู ญ เสี ย การควบคุม ตนเอง สามารถ
ประเมิน ตนเองได ้รู้จุด เด่น จุด ด้อย มีความมัน่ ใจในตัว เอง และมีความภาคภูมิใจในตัวเอง (self
esteem)
2. สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ (Managing emotion or self regulation) เมื่อรู ้
อารมณ์ของตนเองแล้วสามารถควบคุมอารมณ์ตนเอง (self control) หรื อแสดงออกอย่างเหมาะสม
3. มีความเข้าใจผูอ้ ื่น (Recognizing emotions in others) และเห็นอกเห็นใจผูอ้ ื่น( Empathy)
4. สามารถสร้างแรงจูงใจ (Motivation one's self) ให้ตนเองพัฒนาจนประสบความสำเร็จได้
5. ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ (Handling relationship) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ในปี คศ.2001 Saligman ได้สรุ ป ถึงภาวะสุ ข ภาพจิต ที่ดีแบบจิต วิท ยาเชิง บวกในหนัง สื อ
ชื่อ Authentic Happiness ซึ่ งได้สรุ ปรายละเอียดตามหัวข้อต่างๆลงในตารางที่ 1 แล้ว
ส่ วนแนวความคิดของจิตวิทยาเชิงลบนั้น ก็มีผบู ้ ญั ญัติไว้เช่นกัน คือลักษณะของสภาพจิตที่
ผิดปกติ แต่ในที่น้ ีจึงไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดเพราะเนื้อหาจะซ้ำซ้อนกับ MODEL A

MODEL C สุ ขภาพจิตที่ดี=พัฒนาการที่สมวัย

สมองอาจแตกต่างกับอวัยวะอื่น ที่เมื่อเวลาผ่านไปกลับมีการพัฒนามากขึ้นตามอายุขยั และ


โอกาสเรี ยนรู้สิ่งต่างๆ จากเด็กที่เอาแต่ใจและไม่มีเหตุผลจะควบคุมอารมณ์ มาเป็ นผูใ้ หญ่ที่อารมณ์
มัน่ คงขึ้น มีทฤษฎีและการวิจยั ทางจิตวิทยาต่างๆที่สนับสนุนมากมาย เช่น ทฤษฎีของ Psychosocial
Development ของ Erikson ที่แต่ละช่ว งอายุมีเ ป้ าหมายในพัฒ นาการต่า งๆกัน เป็ น ลำดับ ขั้น จน
เติบโตเป็ นผูใ้ หญ่ที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ ดังที่สรุ ปไว้ในตารางที่ 1 แล้ว

European Commission Health Monitoring Program ได้จ ดั ทำโครงการ Health Indicator


Project (1999) โดยประมวล ความหมายของสุ ขภาพจิตว่าเป็ นส่ วนหนึ่งที่ไม่สามารถแยกออกได้ของ
ภาวะสุ ขภาพทั้งหมด สะท้อนให้เห็นถึงสมดุลระหว่างแต่ละบุคคลกับสิ่ งแวดล้อมซึ่ งสัมพันธ์กบั
1) ปัจจัยทางชีวภาพและจิตใจของบุคคลนั้น
2) ปฏิสมั พันธ์ต่อสังคม
3) โครงสร้างและทรัพยากรด้านต่างๆของสังคม
4) การประเมินความหมายของแต่ละวัฒนธรรม

11
ในกระบวนการที่จะประเมินความหมายดังกล่าวนี้ สุ ขภาพจิตคือผลรวมของปั จจัยภายในจาก
บุคคลเอง ร่ วมกับปัจจัยกระตุน้ ต่างๆในสถานการณ์ชีวิตจริ ง ที่จะนำไปสู่ ผลลัพธ์ต่อปรากฏการณ์
หนึ่งๆของบุคคล ดังแผนภาพที่ 2
วัฒนธรรม
และสังfactors คม
ปัจจัยภายใน
ปัจจัยจากสถานการณ์
Precipitating ผลลัพธ์ consequences
Predisposing factors
 ส
ุขภาพทาง
 ปัจจ ัยทาง
ันธ
พ ุกรรม ่างกาย

 ปัจจ ัยแรก  ค
ุณภาพช ีวิต
สุ ขภาพจิต Mental  ความร ้และ

คลอด,แรกเก ิด
Healthสมรรถภาพทางจิตของ
 ประสบการณ ์ ักษะต
ท ่างๆ
เรียนร ้ว
ู ัยเด ็ก แต่ละบุคคล
 ความส ัมพ ันธ ์
 ปัจจ ัยแวดล ้อม
ับบ
ก ุคคล
ครอบคร ัว
 การศ ึกษา
บริบททางสั งคม ่นๆ


 การประกอบ เช่น กลุ่มสังคมที่ช่วย  ความผาส ุกใน
อาช ีพ เหลือ ังคม

 ท่อย
ี ่อาศ
ู ัย วัฒนธรรม  อาการทางจ ิต

อีกทัศนคติหนึ่งที่น่าสนใจของนิและสั
ยามคำว่าสุงขคม
 การใช ้บร ิการ
ภาพจิต มาจาก Mental ทางส
HealthุIreland
ขภาพซึ่ งได้
แสดงไว้บน website ขององค์กรว่า “เมื่อพูดถึงสุ ขภาพจิต มักจะทำให้นึกถึงความเจ็บป่ วยทางจิตใจ
แต่อนั ที่จริ งแล้ว สุ ขภาพจิตเกี่ยงข้องกับชีวิตคนเราในหลากหลายด้าน โดยประเมินง่ายๆได้จากการ
ตั้งคำถามให้ตนเองว่า 1) เรามีความรู ้สึกอย่างไรกับตนเอง ?
2) เรามีความรู ้สึกอย่างไรกับคนอื่นๆ ?
3) เราสามารถใช้ชีวิตทุกวันนี้ได้อย่างที่เราปรารถนาเพียงใด ?”
ซึ่ งคำตอบในแง่บวกก็จะสะท้อนสุ ขภาพจิตในแง่บวกของบุคคลนั้นๆ ซึ่ งเป็ นนิยามที่เข้าใจและเข้าถึง
ได้ง่ายสำหรับบุคคลทัว่ ไป

ความหมายของสุ ขภาพจิตของสังคมไทย
เนื่องจากบุคคลและสังคมที่เป็ นบริ บทของบุคคลนั้นๆ มีความสัมพันธ์กนั อย่างแยกออกไม่
ได้ การพิจารณาเรื่ องสุ ขภาพจิตของประชาชนไทย จึงต้องคำนึงถึงมุมมองและความเข้าใจในแบบ
ของ คนไทยด้วย
ศ.นพ. ฝน แสงสิ งแก้ว หนึ่งในผูบ้ ุกเบิกวงการจิตแพทย์และสุ ขภาพจิตในประเทศไทย ได้
แสดงความหมายของสุ ขภาพจิตว่า

12
สุ ขภาพจิต คือ สภาพจิตที่เป็ นสุ ข มีอารมณ์มนั่ คง ปราศจากโรคจิตโรคประสาท สามารถที่
จะปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่ งแวดล้อมได้ มีสมรรถภาพในการทำงานและอยูร่ ่ วมกับผูอ้ ื่นด้วยความ
พอใจ (ฝน แสงสิ งแก้ว,2521)
รศ.พญ. อัม พร โอตระกูล จิต แพทย ผ์ บู ้ ุก เบิก งานสุ ข ภาพจิต และระบาดวิท ยาทาง
จิตเวชศาสตร์ และเป็ นผูป้ ระพันธ์หนังสื อ “สุ ขภาพจิต” ได้ให้ความหมายของคำว่าสุ ขภาพจิตไว้เช่น
กันว่าสุ ขภาพจิตคือ สภาพชีวิตที่เป็ นสุ ข มีความสมบูรณ์ท้ งั ทางกายและทางใจ สามารถปรับตัวหรื อ
ความต้องการของตนให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เข้ากับบุคคลที่อยูร่ ่ วม และกับสังคมที่เกี่ยวข้องด้วยดี
โดยไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผูอ้ ื่น ทั้งยังก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์สุขแก่ตนเอง อีก
ด้วย
ซึ่ งที่ผา่ นมา ในวงการสาธารณสุ ขไทยมักใช้ หรื อประยุกต์ความหมายของ ศ.นพ.ฝน และ
รศ.พญ.อัมพร เมื่ออ้างถึงสุ ขภาพจิต อาจดูเหมือนเป็ นการเน้นในประเด็นทางการแพทย์ เพราะผูก้ ล่าว
ไว้เป็ นบุคลากรทางการแพทย์ แต่ที่จริ งแล้วความหมายก็ครอบคลุมถึงคุณค่าในทางสังคมมากเช่น
เดียวกัน นอกจากนี้กย็ งั มีนกั วิชาการอีกหลายท่าน ได้กล่าวถึงความหมายของสุ ขภาพจิตไว้ แต่เมื่อมา
พิจารณาพบว่ามิได้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนกับความหมายข้างต้นนี้มากนัก และมีขอ้ สังเกตว่า
ความหมายทางทางด้านของนักวิชาการนั้น อาจกล่าวได้ครอบคลุมและฟังดูน่าสนใจ แต่เมื่อต้องนำ
ไปใช้ในสถานการณ์จริ ง อาจยากที่จะประเมินและเข้าถึง จำเป็ นที่จะต้องมีดชั นีหรื อเครื่ องมือช่วย
ประเมินชี้วดั ภาวะสุ ขภาพจิตตามคำนิยามนั้นๆ
ส่ วนการนิ ยามความหมายที่อาจจะเป็ นที่เข้าใจของประชาชนทัว่ ไปได้ดีน้ ัน น.พ.อภิสิทธิ์
ธำรงวรางกูร (พ.ศ. 2543)ได้ทำการวิจยั โดยสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group Discussion) ภูมิปัญญาชาว
บ้านจำนวน 10 ท่าน จากภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือ พบว่าสำหรับประชาชนภูมิภาคนี้ “สุ ขภาพจิต” มี
ความหมายใกล้เคียงคำว่า “ความสุ ข” ไม่ได้แยกจิตใจจากร่ างกายหรื อวิถีชีวิตของบุคคลออกจากสิ่ ง
แวดล้อม โดยมีกรอบความคิดของความสุ ขมาจาก 8 ด้านใหญ่ๆ คือ
1. หมวดหลักประกันในชีวติ ได้แก่ การมีบา้ นและที่ดินทำกินเป็ นของตนเอง, รายได้มนั่ คง
มีสวัสดิการต่างๆ
2. หมวดร่ างกายและจิตใจที่แข็งแรง ได้แก่ การมีสุขภาพดี, อายุยนื นาน,ไม่มีโรคประจำตัว.
3. หมวดครอบครัวอบอุ่น ได้แก่ ครอบครัวอยูร่ ่ วมกันอย่างมีความสุ ข
4. หมวดชุ มชนเข้ มแข็ง ได้แก่ ชุมชนมีการเรี ย นรู ้และช่วยเหลือซึ่ งกันและกัน , มีความ
สามัคคี
5. หมวดสิ่งแวดล้อมดี ได้แก่ การมีสิ่งแวดล้อมดีเป็ นธรรมชาติ มีสาธารณูปโภค
6. หมวดอิสรภาพ ได้แก่ ทำได้ทุกอย่างตามหวัง และสบายใจ ไม่เดือดร้อนใจ ประกอบ
อาชีพอิสระ
7. หมวดความภาคภูมิใจ ได้แก่ งานที่ทำ เจริ ญรุ่ งเรื อง, เป็ นตัวอย่างแก่ผอู ้ ื่น, ได้ถ่ายทอด
ภูมิปัญญาต่อคนอื่น

13
8. หมวดธรรมะว่าด้วยการอยู่ร่วมกัน ได้แก่ การได้ทำ บุญทำทาน ฟังเทศน์ฟังธรรมและ
ปฏิบตั ิตามคำสอนของศาสนา
ต่อมาในปี พศ.2544 นพ.อภิชยั มงคลและคณะ ได้ทำการศึกษาทบทวนเรื่ องความสุ ข และ
สุ ขภาพจิตในบริ บทของสังคมไทย โดยวิเคราะห์เปรี ยบเทียบองค์ประกอบของสุ ขภาพจิตที่ได้จาก
การศึกษาดัชนีช้ ีวดั สุ ขภาพจิตของคนไทยที่ได้จดั ทำขึ้นโดยคณะผูว้ ิจยั ชุดเดียวกัน ซึ่ งประกอบด้วย 4
องค์ประกอบคือ
1. สภาพจิตใจ หมายถึงสภาพการรับรู ้สภาวะของตนเองว่าเป็ นสุ ขหรื อเป็ นทุกข์อยู่
2. สมรรถภาพของจิตใจหมายถึงความสามารถของจิตใจในการสร้างความสัมพันธ์กบั ผูอ้ ื่น
และการจัดการกับปัญหาต่างๆ
3. คุณ ภาพของจิต ใจ หมายถึง คุณ สมบัต ิป ระการต่า งๆ ที่ด ีง ามภายในจิต ใจ ให้เ กิด
ประโยชน์ต่อตนเองต่อสังคม
4. ปัจจัยสนับสนุน หมายถึงปั จจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆที่ส่งผลให้สุขภาพจิตดี
โดยทำการเปรี ยบเทียบในมุมมองของพุทธศาสนา นักวิชาการและประชาชนทัว่ ไป พบว่าคำ
ที่มีความหมายตรงกับสุ ขภาพจิตดีตามที่นกั วิชาการท่านต่างๆ เคยกล่าวไว้ ในประชาชนไทย อาจแยก
เป็ น 3 ประเด็น หลักๆ คือ จิตใจดี ร่ า งกายแข็งแรง และความอยูด่ ีกิน ดี จึงได้ผ ลสรุ ป ว่า ”สุ ข ภาพ
จิต”และ”ความสุ ข”นั้น มีความหมายเดียวกันในบริ บทสังคมไทย

ขอบเขตของสุ ขภาพจิต

ไม่วา่ ในกรอบความหมายแบบใด สุ ขภาพจิตย่อมมีความหมายกว้างขวางกว่าจิตเวชศาสตร์


เพราะงานด้านสุ ขภาพจิตรวมถึงประชากรที่มิได้เจ็บป่ วยจนถึงบุคคลที่เจ็บป่ วยหรื อเคยเจ็บป่ วยมีโรค
ทางจิตใจ และในระบบวิถีชีวิตปกติในสังคมทัว่ ไปนั้น ก็มีการเปลี่ยนกลับไปมาระหว่างบุคคลปกติ
ที่อาจเกิดปัญหา และบุคคลที่เจ็บป่ วยทางจิตใจซึ่ งอาจจะหายดีกลับเป็ นคนปกติ ส่ วนในสภาวะที่
ประชากรมีสุขภาพจิตดีแล้ว การปฏิบตั ิงานทางสุ ขภาพจิตก็ตอ้ งทำการส่ งเสริ มให้อยูใ่ นสุ ขภาพจิตที่ดี
นั้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเช่นกัน

แผนภาพที่ 1 ขอบเขตของสุ ขภาพจิต

สุ ขภาพจิต

สุ ขภาพจิตปกติดี สุ ขภาพจิตไม่ดี
ไม่มีปัญหาโรคทาง อยูใ่ นภาวะเจ็บป่ วยเป็ นโรคทาง
จิตเวช จิตเวช
14 การฟื้ นฟูสมรรถภาพ / ติดตามการ
การป้ งองกั
การส่ เสรินมปัสุญขภาพจิ
หาสุ ขตภาพ การรักษาโรคทางจิตใจ รักษา
จิต Health Promotion
Mental Secondary Prevention Tertiary Prevention
จิตเวชศาสตร์

องค์การอนามัยโลกได้เล็งเห็นความสำคัญของปั ญหาสุ ขภาพจิต จึงเลือกหัวข้อนี้ตีพิมพ์เป็ น


World Health Report 2001: Mental Health New understanding New Hope (WHO ,2001) ม
เจตนารมณ์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของสุ ขภาพจิตทั้งในระดับบุคคลและ ประชาชาติทวั่ โลก ในแง่
ผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และภาระที่เกิดขึ้นจากปั ญหาสุ ขภาพจิต โดยองค์การอนามัยโลกได้มี
ข้อแนะนำบริ บททางสุ ขภาพจิตเพื่อการบริ หารจัดการระดับชาติ สำหรับทุกประเทศ ทุกองค์กรในการ
พัฒนาสุ ขภาพจิตเพื่อนำไปดัดแปลงปฏิบตั ิ ไว้10 ด้านดังนี้
1. ให้การบริ การรักษาปัญหาสุ ขภาพจิตตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ
2. ส่ งเสริ มและจัดหายาเพื่อสามารถรักษาโรคทางจิตเวช
3. ให้การบริ การสุ ขภาพจิตระดับชุมชน
4. มีการอบรมเผยแพร่ ความรู ้แก่ประชาชน
5. มีส่วนเข้าร่ วมในกิจการต่างๆของชุมชน ครอบครัว
6. สร้างนโยบายระดับชาติ เป็ นโครงการต่างๆ หรื อพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุ ขภาพ
จิต
7. พัฒนาทรัพยากรบุคคล
8. เชื่อมโยงเป็ นเครื อข่ายกับองค์กรด้านอื่นๆ
9. เฝ้ าติดตามภาวะสุ ขภาพจิตของชุมชน
10. ส่ งเสริ มสนับสนุนงานวิจยั ทางสุ ขภาพจิต
จะเห็นว่าการศึกษาวิจยั เพื่อพัฒนาองค์ความรู ้ของประเทศ เป็ นสิ่ งจำเป็ นยิง่ ในขณะนี้ พื้นฐาน
เริ่ มต้นคือการกำหนดนิยามและขอบเขตซึ่ งได้ทบทวนและนำเสนอไปในส่ วนที่แล้ว ในส่ วนต่อมาจะ
เป็ นการทบทวนการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุ ขภาพจิต โดยเริ่ มจากสิ่ งที่ใช้ประเมินสุ ขภาพจิต คือ
ดัชนีช้ ีวดั สุ ขภาพจิตต่างๆ

ดัชนีชี้วดั สุ ขภาพจิต

15
จากคำนิยามและขอบเขตของคำว่าสุ ขภาพจิต เรื่ องสำคัญต่อมาคือ “เราจะสามารถประเมิน
สุ ขภาพจิตว่าดีหรื อไม่ได้อย่างไร?” นพ.บัณฑิต ศรไพศาลและคณะ (2546) ได้แบ่งประเภทดัชนีช้ ีวดั
สุ ขภาพจิตของไทยตามเนื้อหาในข้อสรุ ปของการประชุมจากองค์การอนามัยโลกเรื่ องการพัฒนาดัชนี
วัดสุ ขภาพจิต(WHO ,1980) ออกเป็ น 4 ประเภท ดังนี้
1. ดัชนีชี้วดั ระดับบุคคล ด้ านบวก
ดัชนีที่วดั สุ ขภาพจิตโดยตรง เช่น
 ตัวชี้วดั ความสุ ขประชาชนชาวไทย (อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร, 2543) ตามที่ได้กล่าวถึง
แล้วก่อนหน้านี้
 ดัชนีช้ ีวดั สุ ขภาพจิตคนไทยโดยกรมสุ ขภาพจิต (อภิชยั มงคล และคณะ, 2544)ซึ่ งได้
มีการจัด ทำฉบับ ใหม่(อภิช ยั มงคล และคณะ, 2546) จากแต่เ ดิม ที่จ ดั สร้า งด้ว ยการวิจ ยั จากกลุ่ม
ประชากรในภาคอีสาน มาเป็ นการทดสอบรวบรวมข้อมูลจากทุกภาคทัว่ ประเทศไทย ปรับจำนวน
และรู ปแบบคำถามจากเดิม 66 ข้อมาเป็ น 54 ข้อ และมีการสร้างฉบับย่อ 15 ข้อ
ดัชนีที่วดั ในเรื่ องของ คุณภาพชีวิต ตัวอย่างอันเป็ นนิยมใช้ เช่น
1. แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก(WHOQOL–100 )ที่พฒั นาขึ้นในปี พศ.
2537 ประกอบด้วยคำถามในเชิงอัตวิสยั (subjective self report) และภาวะวิสยั (objective percieved)
รวม 100 ข้อ มีการประเมินการรับรู้ของประชาชนใน 6 ด้าน คือ ด้านร่ างกาย (Physical aspect) ด้าน
จิตใจ(Psychological aspect) ด้านความมีอิสระของบุคคล(Level of Independence) ด้านปฏิสมั พันธ์
ทางสังคม(Social Relationship) ด้านสิ่ งแวดล้อม (Environmental aspect) และด้า นจิตวิญญาณและ
ความศรัทธาของบุคคล (Spiritual Religious /Personal Belief) มีการดัดแปลงเป็ นฉบับภาษาไทยแล้ว
โดย
สุ วฒั น์ มหัตนิรัดร์กลุ (2540) มีท้ งั ฉบับเต็ม 100 ข้อและฉบับย่อ 26 ข้อ
2. the SF -36 Health Survey เป็ นแบบสำรวจในระดับนานาชาติ มีเนื้อหาประเมินภาวะ
สุ ขภาพในช่วง เดือนที่ผา่ นมาของประชากร ทั้งสุ ขภาพกายและสุ ขภาพจิตรวม 36 ข้อ ในส่ วนของ
สุ ข ภาพจิต มี4 หัว ข้อ ย่อ ย คือ Vitality ประเมิน เรื่ อ งความรู ้สึ ก มีช ีว ิต ชีว า , Social Functioning
ประเมินเรื่ องกิจกรรมทางสังคม, Role Emotion ประเมินภาวะอารมณ์ , Mental Health ประเมินอาการ
ทางจิต มีการจัดทำ SF – 36 ชุดย่อฉบับภาษาไทย โดย สุ วฒั น์ มหัตนิรันดร์กลุ (2540)

2. ดัชนีชี้วดั ระดับบุคคล ด้ านลบ


2.1 ดัชนีที่วดั ในหัวข้อ ความเครี ยด
 Social Readjustment Rating Scale (SRRS)
Holmes and Rahe ในปี พ.ศ. 2510 ได้ศึกษาระหว่างเหตุการณ์ชีวิตกับความเครี ยดและ พัฒนาเครื่ อง
มือประเมินความเครี ยดโดย เปรี ยบเทียบว่าเหตุการณ์แต่ละชนิด(เช่น การตายของคู่สมรส การหย่า
ร้าง การตกงาน ฯลฯ ) จะมีค่าความเปลี่ยนแปลงของชีวิต (Life change Unit) เท่าไร ถ้ามากก็อาจ

16
อนุมานได้วา่ กำลังอยูใ่ นสภาวะที่มีความเครี ยดสู งมาก แต่เครื่ องมือนี้อาจมีขอ้ จำกัดในแง่บริ บทแต่ละ
สังคมที่รู้สึกต่อเหตุการณ์ต่างๆอาจรู้สึกไม่เท่ากัน
 แบบวัดความเครี ยดของกรมสุ ขภาพจิต แบบวัดความเครี ยดสวนปรุ ง (SPST-20)
พัฒนาโดย สุ วฒั น์ มหัตนิรันดร์กลุ (2540) และคณะเป็ นแบบประเมินความเครี ยดจำนวน 20 ข้อจาก
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนก่อนทำแบบทดสอบ เพื่อบอกให้ผทู ้ ดสอบรู ้วา่ มีเครี ยดในระดับใด
ตั้งแต่ ต่ำ ปานกลาง สูงและขั้นรุ นแรง แต่มิได้ระบุสาเหตุของความเครี ยด
2.2 ดัชนีที่ประเมินสุ ขภาพจิตจากปั ญหา
 General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย โดย ธนา นิลชัยโกวิทย์, จักรกฤษณ์
สุ ขยิง่ และชัชวาลย์ ศิลปกิจ (2539) ซึ่ งดัดแปลงจาก General Health Questionnaire ของ Goldberg
(1972)มีท้ งั ชนิดฉบับเต็ม 60 ข้อและฉบับย่อ 28 ข้อ วัตถุประสงค์ของแบบสอบถามนี้สร้างเพื่อคัด
กรองปัญหาสุ ขภาพจิตของประชากรในชุมชน ที่สามารถคัดกรองปั ญหาสำคัญ 2 ประการ คือ
1. การไม่สามารถดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ ได้อย่างปกติสุขตามที่ควรจะเป็ น
2. การมีปัญหาที่ทำให้เกิดความทุกข์ใจ โดยเน้นถึงปั ญหาที่ผดิ ไปจากสภาวะ ปกติของ
บุคคลต่าง ๆ แบบสอบถามนี้จะให้ประชาชนสามารถตอบด้วยตนเอง ข้อคำถามจะครอบคลุมปั ญหา
ใหญ่ๆ 4 ด้าน คือ ความรู้สึกไม่เป็ นสุ ข (Unhappiness) ความวิตกกังวล (Anxiety) ความบกพร่ องเชิง
สังคม (Social impairment) และความคิดว่าตนมีโรคภัยไข้เจ็บอยูห่ รื อไม่อย่างไร (Hypocondriasis)
 แบบสำ รวจสุ ข ภาพจิต สำ หรับ คนไทย(The Thai Mental health Questionaire
:TMHQ) พัฒนาโดย สุ ชีรา ภัทรายุตวรรณ์และคณะในปี พ.ศ.2542 เป็ นแบบสอบถามจำนวน 70 ข้อ
เพื่อใช้วิเคราะห์ความผิดปกติทางจิตภายในช่วง 1 เดือนของผูท้ ี่จะศึกษาใน 5 กลุ่มอาการ คือความผิด
ปกติทางกายเนื่องจากความผิดปกติทางจิต กลุ่มอาการซึ มเศร้า กลุ่มอาการวิตกกังวล กลุ่มอาการ
โรคจิต กลุ่มอาการจากการปรับตัวทางสัง คม ซึ่ งอาการแต่ละข้อย่อยของแบบสอบถามได้มาจาก
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคในกลุ่มนั้นๆของ DSM-IV อันเป็ นเกณฑ์ระดับสากลในการวินิจฉัยโรคทางจิต
ของจิตแพทย์ และแบบสำรวจนี้ผา่ นการทดสอบกลุ่มประชากรจำนวน 700 ราย พบว่ามีสามารถแยก
ประชากรปกติออกจากประชากรที่มีความเจ็บป่ วยทางจิตต่างๆดังกล่าว ได้อย่างมีนยั สำคัญ
2.3 การประเมินจากความเจ็บป่ วยทางจิตของบุคคล เช่นการที่บุคคลหนึ่งเป็ นโรคซึ ม
เศร้า ทำการฆ่าตัวตาย หรื อหันไปเสพสารเสพติด
3. ดัชนีชี้วดั ระดับสังคมด้ านบวก
 ดัชนีช้ ีวดั สุ ขภาพจิตระดับชุมชนของกรมสุ ขภาพจิต (อภิชยั มงคล และคณะ, 2546)
เป็ นการสำรวจความคิดเห็นต่อชุมชนที่อาศัย ด้วยแบบสอบถาม 22 ข้อ นำไปสัมภาษณ์ผนำ ู ้ ชุมชน
และสุ่ มตัวอย่างประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป เมื่อรวมคะแนนแล้วนำมาเฉลี่ยเปรี ยบเทียบกับเกณฑ์วา่
สุ ขภาพจิตของชุมชนดีกว่า เทียบเท่า หรื อต่ำกว่าชุมชนทัว่ ไปอย่างไร
 “ความเป็ นอยูท่ ี่ดี” (Well-being) นิยามโดย องค์การความร่ วมมือทางเศรษฐกิจและ
การพัฒนา (Organization of Economic Cooperation and Development, OEDC)

17
 Total Quality of Life Index (TQLI) โดย Society for International Development
(SID) ซึ่ งเป็ นองค์กรอิสระระหว่างประเทศ

4. ดัชนีชี้วดั ระดับสังคมด้ านลบ


 ดัชนีช้ ีวดั ความยากจนโดยรวม (Human Poverty Index – HPI) โดยโครงการพัฒนา
แห่งสหประชาชาติประเทศไทย ( UNDP Thailand) เป็ นการประเมินโดยรวมดัชนียอ่ ยที่อยูใ่ นรู ปของ
สัดส่ วนคนจนระดับครัวเรื อน ซึ่ งประกอบด้วยสามดัชนียอ่ ย คือ ดัชนีสุขภาพ ดัชนีการศึกษา ดัชนี
ลักษณะของครัวเรื อน ซึ่ งสามารถสะท้อนถึงปั ญหาสุ ขภาพและสุ ขภาพจิต
 การสังเกตข้อมูลทางสัง คมที่ไ ด้จ าก อัตราการเกิด อาชญากรรม ความรุ น แรงใน
ครอบครัว อัตราการฆ่าตัวตายในสังคม การพัฒนาดัชนีช้ ีวดั สุ ขภาพจิตระดับชุมชนก็เป็ นประเด็น
สำคัญ ที่นกั วิชาการส่ วนใหญ่ตอ้ งการจะสร้างเครื่ องมือวัดขึ้น องค์การอนามัยโลกได้จดั ประชุม
พิจารณาเรื่ องเครื่ องชี้วดั สุ ขภาพจิตชุมชนเมื่อปี พ.ศ.2524 ได้ขอ้ สรุ ป ว่า เครื่ องมือชี้วดั ควรมีองค์
ประกอบ 3 คุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. สามารถตอบคำถามว่า ประชากรในชุมชนนั้นมีความเจ็บป่ วยทางจิ ตมากน้ อยเพียงใด ซึ่ ง
ตัวชี้วดั (Indicators related to Mental Illness)ในเรื่ องนี้ ได้แก่ อุบตั ิการณ์และความชุกของโรคทาง
จิตเวชในชุมชน หรื อตัวชี้วดั ที่ให้ขอ้ มูลในทางอ้อม เช่น การใช้บริ การทางสุ ขภาพจิตภายในชุมชน
การใช้สารเสพติด หรื อยาที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตประสาท
2. สามารถตอบคำถามว่า ประชากรในชุม ชนนั้นใช้ ชีวิตอย่ า งปกติสุข มากน้ อ ยเพีย งใด
(Indicators related to Mental Health) ซึ่ งค่อนข้างเป็ นการวัดเรื่ องที่เป็ นอัตวิสยั และเป็ นเชิงทัศนคติ
มาก องค์การอนามัยโลกเองได้แนะนำการประเมินเป็ นหัวข้อต่างๆคือ
2.1 ความรู้สึกเป็ นสุ ข (Subjective Well-being)
2.2 คุณภาพชีวิต (Quality of Life)
2.3 พัฒนาการทางจิตใจของสังคมและเด็ก (Psychosocial Development
2.4 การมีชีวิตกับชุมชน (Community Life)
ในแต่ละหัวข้อเองนั้น ก็ตอ้ งสร้างวิธีที่จะประเมินให้ชดั เจนลงไปอีกเช่นกัน ซึ่ งสามารถพัฒนาให้เป็ น
ดัชนีที่เหมาะแก่ชุมชนหรื อสังคมหนึ่งๆได้ และจากทั้ง 4 หัวข้อนี้รวมกันก็จะได้ภาพรวมของความ
เป็ นสุ ขภายในในชุมชน
1. สามารถตอบคำถามว่า ประชากรอยู่ในชุมชนได้ อย่ างสงบสุขดีหรื อไม่ จึงต้องมีเครื่ อง
มือชี้วดั ที่สามารถบอกได้ถึงภาวะผันผวนของสังคม (Indicators related to Social Disorganization)
ซึ่ งมีท้ งั หัวข้อในแง่บวกและแง่ลบที่ให้ภาพทางสังคมได้วา่ ความเป็ นอยูข่ องประชากรจะเป็ นเช่นไร
เช่น
ด้านเศรษฐกิจ อาจดูจาก อัตราการว่างงาน รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี
ด้านครอบครัว อาจดูจาก อัต ราการหย่า ร้า ง จำนวนของเด็กเร่ ร่ อ นจรจัด สถิติความ
รุ นแรงในครอบครัว

18
ด้านความปลอดภัยในสังคม อาจดูจากอัตราการเกิดอาชญากรรม การฆาตกรรม การ
ข่มขืน การชิงทรัพย์ การก่อการร้าย
นพ.บัณ ฑิต ศรไพศาล และคณะ ได้แสดงความเห็น ว่า การวัด “สุ ข ภาพจิต ” นั้น ขึ้น กับ
ประชากรที่วดั ว่ามีคา่ นิยมของความสุ ขว่าอย่างไร ซึ่ งสิ่ งเหล่านี้พบว่าเป็ นพลวัตรเปลี่ยนแปลงตลอด
เวลา ยังไม่มีการศึกษาเชิงสรุ ปหรื อการหารื อกันในหมู่นกั วิชาการและผูป้ ฏิบตั ิอย่างเป็ นทางการว่า
ควรใช้เครื่ องมือมาตรฐานใดในการวัดสภาวะสุ ขภาพจิตของประชาชนชาวไทย กรมสุ ขภาพจิต ผู ้
ซึ่ งรับผิดชอบงานสุ ขภาพจิตในภาพรวมของประเทศเท่าที่ผา่ นมาจะเป็ นดัชนีหรื อ เครื่ องมือประเมิน
ระดับ บุค คลเป็ น ส่ ว นใหญ่ และเริ่ ม มีการพัฒ นาดัชนีช้ ีว ดั ระดับ ชุม ชนแล้ว คงจะดำเนิน การต่อ
เนื่อ งจากฐานที่มีอยูต่ ่อ ไปจนได้เ ครื่ อ งมือ และทำการศึกษาวิจ ยั สำรวจเพื่อ ให้ไ ด้ต วั เลขซึ่ ง บ่ง ชี้
สถานการณ์ของประเทศตามกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลง

ปัจจัยทีม่ ีผลกระทบต่ อสุ ขภาพจิตและสถานการณ์ ทางสุ ขภาพจิตของประเทศไทย

ปัญหาสุ ขภาพจิตนั้นเป็ นเรื่ องที่สามารถเชื่อมโยงได้ใ นหลายมิติ ทั้งทางกาย จิตและสังคม


ตามทฤษฎีอาจกล่าวได้วา่ ทุกสิ่ งที่เกิดขึ้นในทุกมิติลว้ นแต่สามารถเป็ นปัจจัยให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
ที่เป็ นปัญหาได้ ในที่น้ ีจะเสนอถึงเฉพาะปั จจัยที่พบจากการศึกษาวิจยั อันได้จากการใช้ด ชั นีช้ ีว ดั
สุ ขภาพจิตต่างๆที่กล่าวถึงข้างต้น ซึ่ งการศึกษาวิจยั เรื่ องสุ ขภาพจิตโดยตรง อาจยังมีไม่มากนักใน
ประเทศไทย ข้อมูลที่สามารถสรุ ปถึงปั จจัยของปั ญหาสุ ขภาพจิตจึงมักได้จากดัช นีวดั ด้วยความเจ็บ
ป่ วยทางจิตและปัญหาอื่นๆเป็ นส่ วนใหญ่ เพราะมีการศึกษาวิจยั มากกว่า ในที่น้ ีจึงขอเลือกงานวิจยั
สำคัญเกี่ยวข้องกับสุ ขภาพจิตที่เคยมีในประเทศโดยแบ่งตามกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษาเป็ นเด็กและ
วัยรุ่ น วัยผูใ้ หญ่ และผูส้ ูงอายุ ดังนี้

สุ ขภาพจิตในกลุ่มประชากรเด็กและวัยรุ่ น

จากการศึกษาของ อลิสา วัชรสิ นธุ และเบญจพร ปัญญายง ได้วิจยั ปั ญหาสุ ขภาพจิตของเด็กใน


กรุ งเทพมหานคร ในช่วงปี พ.ศ.2539-2540 โดยมีกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่เป็ นนักเรี ยนชั้นประถมปี ที่ 4
จำนวน 1480 คน ในโรงเรี ยนทั้งสิ้ น 898 แห่ง ผูว้ จิ ยั ได้ใช้แบบสำรวจพฤติกรรมเด็ก ( Thai Youth
Checklist TYC ) ประเมินขั้นต้นร่ วมกับแบบสอบถามที่สมั พันธ์กบั การเกิดปั ญหาการแก้ปัญหาและ
ความช่วยเหลือ จากนั้นได้ทำการสุ่ มตัวอย่างจากทั้งกลุ่มเด็กที่มีปัญหาและเด็กที่ไม่มีปัญหามาทำการ
สัมภาษณ์ร่วมกับผูป้ กครองรวม 127 คู่ ด้วยเครื่ องมือสัมภาษณ์เด็กและวัยรุ่ น (Child and adolescent
Psychiatric Assessment CAPA)เพื่อหาการวินิจ ฉัย โรคตามเกณฑ์ข อง DSM IV ผลการศึกษาพบ
ความชุกของปัญหาพฤติกรรมและปัญหาทางอารมณ์ร้อยละ 29.11 ปั จจัยที่พบคือ ครอบครั วที่ มีความ
ขัดแย้ ง เด็กอยู่กับผู้อื่น ครอบครั วมีบตุ รมากกว่ า 4 คน มีสมาชิ กในครอบครั วทำผิดกฎหมาย พ่ อแม่
เป็ นโรคจิต ประสาทติดสุราหรื อสารเสพติด และปั จจัยการเรี ยนเรื่ องการสอบตก มีความสั มพันธ์ กับ

19
ปั ญหาพฤติกรรมและปั ญหาทางอารมณ์ คือ พฤติกรรมเกเร ก้าวร้าว กระทำผิดกฎหมาย อย่างมีนยั
สำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยงั พบความแตกต่างในกลุ่มเด็กหญิงและเด็กชายคือพบโรคทางพฤติกรรม
มากกว่าในเด็กชาย ส่ วนโรคทางด้านอารมณ์พบมากกว่าในเด็กหญิง
พรรณพิมล หล่อตระกูล และคณะได้ศึกษาปั จจัยทางจิตสัง คมในกลุ่มผูป้ ่ วยเด็กซึ่ งมารับ
บริ การที่ศูนย์สุขวิทยาจิต กรุ งเทพฯ ในช่วงระหว่าง พ.ศ.2539-2540 รวมทุกปั ญหาอาการ จำนวน
365 ราย พบว่าในกลุ่มเด็กอายุ 6-12 ปี ปั ญหาจะสั มพันธ์ กับการเลีย้ งดูที่ผิดปกติคือ การเลีย้ งดูที่เอาใจ
ใส่ มากเกินไป ความสัมพันธ์ ในครอบครั วผิดปกติ และปั ญหาจากเหตุการณ์ ปัจจุบนั ตามลำดับ ส่ วน
ในกลุ่มวัยรุ่น จะมีปัญหาจากความสัมพันธ์ ในครอบครั วผิดปกติ พ่ อแม่ บกพร่ องพิการ และการเลีย้ งดู
ผิดปกติ ตามลำดับ
อุมาพร ตรังคสมบัติและดุสิต ลิขนะพิชิตกุล ได้ทำ การศึกษาภาวะซึ มเศร้าซึ่ งเป็ นปั ญ หา
สุ ข ภาพจิต ที่สำ คัญ มากเรื่ อ งหนึ่ง ในกลุ่ม นัก เรี ย นชั้น มัธ ยมปี ที่ 1-3 สัง กัด กรมสามัญ ศึก ษา
กรุ ง เทพมหานคร จำนวน 1,264 ราย ประเมิน ด้ว ยเครื่ อ งมือ Children Depression Inventory CDI
ฉบับภาษาไทย พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึ มเศร้าอย่างมีนยั สำคัญ คือ ปั จจัยทางการเรี ยนของเด็กที่
ผลการเรี ยนได้ เกรดต่ำกว่ า 2 และปัจจัยทางครอบครัวคือ ภาวะครอบครั วแตกแยก ความสั มพันธ์ ที่
ไม่ ดีกับผู้ปกครอง บิดามารดาไม่ ได้ เป็ นผู้เลีย้ งดูเอง การศึกษาผู้เลีย้ งดูต ่ำกว่ าประถม 6 รายได้ ผ้ เู ลีย้ งดู
ต่ำกว่ า 5,000 บาทต่ อเดือน สภาพครอบครั วที่ ไม่ มีความสุข และปั ญหาสุขภาพจิ ตของบิดามารดา
มารยาท รุ จิว ิทย์ และศิริพร ศรี วิชยั ได้ทำ การศึกษาภาวะสุ ข ภาพจิตและความฉลาดทาง
อารมณ์(EQ) ในเด็ก อายุ 6-12 ปี ที่ศึก ษาใน โรงเรี ย นประถมศึกษาธรรมศาสตร์ โดยสุ่ ม ตัว แทน
นักเรี ยนจากทุกห้องเรี ยนรวม 180 คน โดยใช้เครื่ องมือแบบวัดมาตรฐานสุ ขภาพจิต(Health Opinion
Survey :HOS)และแบบประเมินภาวะความฉลาดทางอารมณ์ที่ผวู ้ ิจยั พัฒ นาขึ้นเองจากกรอบแนวคิด
เกี่ยวกับการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ท้ งั จากกรมสุ ขภาพจิตและต่างประเทศ โดยแบ่งเป็ น 3
ด้าน คือด้านเก่ง ด้านดี และด้านสุ ข ผลการวิจยั พบว่าภาวะสุ ขภาพจิตของเด็กวัยเรี ย นเมื่อวิเคราะห์
โดยค่าสัมประสิ ทธิ์ สหสัมพันธ์(r) มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับภาวะสุ ขภาพทางกาย
และภาวะสุ ขภาพจิตมีแตกต่างอย่างมีนยั สำคัญเมื่อจำแนกตามอาชีพของบิดา โดยบิดาที่ประกอบ
อาชีพธุรกิจภาคเอกชน มีความเครี ยดสู งสุ ดและสู งกว่าค่าเฉลี่ย ส่ วนเรื่ องความฉลาดทางอารมณ์ พบ
ปั จจัยที่มีผลคือ อายุของเด็กที่เติบโตจะพัฒนาความฉลาดได้ดีข้ ึนอย่างมีนยั สำคัญ และพบว่าระดับ
การศึกษาของมารดาแปรผันตามค่าความฉลาดทางอารมณ์ของบุตรอย่างมีนยั สำคัญทางสถิติ
ชไมพร ทวิชศรี และคณะ (2542) ได้ศึกษาปั จจัยทางสัง คมและสิ่ งแวดล้อมที่นำ ไปสู่ ความ
รุ นแรงและความผิดในประชากรวัยรุ่ นที่อยูใ่ นสถานฝึ กอบรมเด็กและเยาวชนเชียงใหม่ จำนวน 180
รายเปรี ยบเทียบกับกลุ่มควบคุมคือประชาชนวัยรุ่ นที่สุ่มจากสถานที่สาธารณะทัว่ ไป(สถานีขนส่ ง
ห้างสรรพสิ นค้า) จำนวน 187 ราย พบว่าลักษณะที่ เพิ่มความเสี่ ยงต่ อการกระทำรุ นแรงและการกระ
ทำความผิดในวัยรุ่ นคือ ลักษณะทางครอบครั ว ได้ แก่ บิดามารดาแยกกันอยู่ สมาชิ กในครอบครั วใช้
สารเสพติด ผู้ปกครองดุด่าเฆี่ยนตี และลักษณะเชิ งพฤติกรรมและสั งคม ได้ แก่ การใช้ สารแอมเฟตา

20
มีน การสูบบุหรี่ การไม่ เข้ าสังคม และพกพาอาวุธ และผลการเรี ยนต่ำกว่ า 2.00 มีความสั มพันธ์ ตาม
ลำดับ
พฤติกรรมเสี่ ยงก็เป็ นสิ่ งที่สะท้อนปั ญหาสุ ขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่ นได้วิธีหนึ่ง มีการศึกษา
พฤติกรรมเสี่ ยงของวัยรุ่ นขนาดใหญ่ โดย อุมาพร ตรังคสมบัติและคณะ รวบรวมกลุ่มตัวอย่างเป็ นเด็ก
วัยรุ่ นช่วงอายุ 16-17 ปี ถึง 9,003 รายทัว่ ประเทศ เพื่อประเมินความชุกของพฤติกรรมเสี่ ยงและปั จจัย
ทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้อง โดยเก็บข้อมูลจากตัววัยรุ่ นโดยตรง ซึ่ งผ่านแบบสอบถามไม่ตอ้ งระบุชื่อ
ทำให้ได้ขอ้ มูลที่น่าเชื่อถือ พฤติกกรมเสี่ ยงที่พบมากคือ การขับขี่รถอย่างผาดโผน การใช้แอลกอฮอล์
การไปเที่ยวสถานเริ งรมย์ การใช้บุหรี่ การทะเลาะวิวาท การพกพาอาวุธ การมีเพศสัมพันธ์ ตามลำดับ
โดยปั จจัยทางจิตสังคมที่พบในการศึกษานี้ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างผูป้ กครอง และระหว่างผู ้
ปกครองกับเด็กที่ไม่ดี ปัญหาสุ ขภาพจิตในบิดามารดา ปั จจัยทางเศรษฐกิจ คือ ครอบครัวมีปัญหาการ
เงิน บิดามารดาว่างงาน และปัญหาทางการเรี ยน เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติโดย multivariate analysis พบ
ว่าปั ญหาการเรี ยนและความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างแม่กบั เด็กเป็ นปั จจัยที่สำ คัญที่สุด เพราะสัมพันธ์
กับทุกพฤติกรรมอย่างมีนยั สำคัญ

สุ ขภาพจิตในกลุ่มประชากรทั่วไป

ธนา นิลชัยโกวิทย์ และคณะได้ทำการศึกษาปั ญหาสุ ขภาพจิตของประชากรกลุ่มตัวอย่างใน


เขตหนองจอกที่มีอายุมากกว่า 20 ปี จำนวน 826 ราย ใช้การเก็บข้อมูลส่ วนบุคคล ปั จจัยต่างๆที่อาจมี
ผลกระทบและประเมินด้วยแบบคัดกรองสุ ขภาพจิต GHQ-60 ฉบับภาษาไทย พบว่า ปั จจัยที่มีแนว
โน้มเกี่ยวข้องกับปัญหาสุ ขภาพจิตสู งอย่างมีนยั สำคัญเมื่อวิเคราะห์โดย multiple logistic score คือ
ระดับรายได้ ต ่ำกว่ า 2000 บาทต่ อเดือน ปั ญหาความสั มพันธ์ ในครอบครั วห่ างเหิ นหรื อขัดแย้ งกัน
มาก การมีบคุ คลในครอบครั วเจ็บป่ วยร้ ายแรง ปั ญหาสุขภาพ ปั ญหาเกี่ยวกับการทำงานและการ
เรี ยน ระดับการศึกษาที่ต ่ำ ศาสนา (พุทธมีปัญหามากกว่ าคริ สต์ และอิ สลาม) ตามลำดับ และพบว่า
กลุ่มประชากรที่มีปัญหาหลายด้านพร้อมกันคือ มีเหตุการณ์ ในชี วิตด้ านลบหรื อปั ญหาจิ ตสั งคมตั้งแต่
3 เรื่ องขึน้ ไป โอกาสจะมีปัญหาสุ ขภาพจิตจะสู งถึง 3 เท่าของกลุ่มที่ไม่มีปัญหา
มีการศึกษาระบาดวิทยาทางจิตเวชและภาวะสุ ขภาพจิตของประชาชนไทยงานหนึ่งเป็ นการ
วิจยั เชิงพรรณนา แบบตัดขวางช่วงเวลา โดยกรมสุ ขภาพจิตสำรวจร่ วมกับภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะ
แพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2542 ก็ได้ศึกษาปั จจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุ ขภาพ
จิตและความผิดปกติทางจิต จากการสุ่ มประกรทัว่ ประเทศ 7,157 ราย พบว่า 419 ราย ( 5.86 %)น่าจะ
มีปัญหาสุ ขภาพจิต เมื่อได้สำรวจเชิงคุณภาพเพิ่มเติม พบว่ากลุ่มนี้จะมีประวัติพฤติกรรมผิดปกติในวัย
เด็ก (ปั สสาวะรดที่นอน นอนละเมอฝั นร้ ายบ่ อยๆ ดูดนิว้ )มากถึงร้อยละ 75.8 ส่ วนใหญ่ยงั มีทกั ษะการ
ปฏิบตั ิตนเพื่อดูแลสุ ขภาพจิตเช่น การออกกำลังกาย ทำทำสมาธิ พูดคุยปรึ กษาในภายในครอบครัว
พักผ่อนหย่อนใจ หรื อร่ วมกลุ่มในชุมชน ไม่มากนัก

21
ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจก็ส่งผลถึงสุ ขภาพจิตอย่างมากเช่นกัน บัณฑิต ศรไพศาล และคณะ
ได้ทำการสำรวจภาวะสุ ขภาพจิตของประชาชนไทย ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจพ.ศ.2540-2541 ที่ส่งผลก
ระทบต่อสถาบันทางการเงินและการลงทุนทั้งประเทศ สุ่ มตัวอย่างด้วยการติดต่อจากสมุดโทรศัพท์
เป็ น ประชาชนทัว่ ไป 410 รายและประชาชนที่อ ยูใ่ นกลุ่ม ธุร กิจ 610 ราย พบว่า ประชาชนมี
ความเครี ย ดในระดับ สูงร้อยละ 39.5 มีค วามคิด อยากฆ่า ตัว ตายร้อ ยละ 4.6 ปั จ จัย ที่ สัม พัน ธ์ ก ับ
ความเครี ยดสูงอย่ างมีนัยสำคัญคือ เป็ นเจ้ าของกิจการ เป็ นผู้ประกอบธุรกิจอสั งหาริ มทรั พย์ เป็ นผู้ที่
ต้ องรั บผิดชอบภาระการเงินของคนอื่น ปั จจัยส่ วนบุคคลเช่ นเรื่ องของเพศ วัย การศึกษา ไม่ พบว่ า
สั มพันธ์ กับความเครี ยดสูงอย่ างมีนัย สำคัญ แหล่งที่กลุ่มประชากรขอความช่วยเหลือเมื่อเครี ยด 3
อันดับแรกคือ บุคคลในครอบครัว เพื่อนร่ วมงาน และคู่รักตามลำดับ ซึ่ งเป็ นบุคคลใกล้ชิด มากกว่า
เลือกไปพบผูเ้ ชี่ยวชาญทางสุ ขภาพจิต
อีกการศึกษาหนึ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเดียวกันนี้ ผูว้ จิ ยั อีกทีมหนึ่งของกรมสุ ขภาพจิต (ธนู
ชาติธนานนท์และคณะ 2541) ได้ศึกษาผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจต่อภาวะความเครี ยด และความ
รุ นแรงของความคิดฆ่าตัว ตายของคนไทย โดยสุ่ มตัวอย่างจากประชาชนไทยทัว่ ประเทศยกเว้น
กรุ งเทพมหานคร จำนวน 7,642 ราย ด้วยแบบวัดความเครี ยด SPST-20 ของโรงพยาบาลสวนปรุ ง
พบว่ากว่าร้อยละ 86 ของประชากรได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจช่วงนี้ ร้อยละ 38.3 รู ้สึก
เครี ยดมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 7.5 มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย และร้อยละ 0.34 เคยได้กระทำการฆ่า
ตัวตายแล้วแต่ไม่สำเร็ จ ประชากรในภาคเหนือและภาคกลางมีผลกระทบด้านความเครี ยดรุ นแรงสุ ด
ขณะที่ภาคใต้พบน้อยกว่า
เมื่อ เปรี ย บเทีย บอัต ราการฆ่า ตัว ตายและลัก ษณะของผูท้ ี่ฆ ่า ตัว ตายสำเร็ จ ในช่ว งวิก ฤต
เศรษฐกิจ (พ.ค. – ต.ค.2539) และช่วงระหว่างวิกฤตเศรษฐกิจ (พ.ค.- ต.ค.2541) ในพื้นที่ 3 อำเภอของ
จังหวัดเชียงใหม่ (ธำรง สมบุญตนนท์และคณะ,2543) พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายเพิม่ มากขึ้นจากช่วง
ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจอย่างมีนยั สำคัญทางสถิติ
อัตราการฆ่าตัวตายก็ใช้เป็ นดัชนีช้ ีวดั สุ ขภาพจิตของสังคมได้ตวั หนึ่ง การศึกษาปั จจัยของผู ้
ป่ วยที่พยายามฆ่าตัวตายจึงสะท้อนถึงปั จจัยที่ส่งผลกระทบสุ ขภาพจิตในทางลบได้อย่างชัดเจน
สุ วทั นา อารี พรรค ได้ทำการศึกษาผูป้ ่ วยพยายามฆ่าตัวตายที่รับไว้ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
และโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 40 ราย ปี พ.ศ. 2522 ปั จจัยที่เสี่ ยงสู ง คือเพศหญิง อายุนอ้ ย การศึกษา
สู ง ระดับเศรษฐกิจสูง คนโสด หม้าย แยกหรื อหย่าร้างมีอตั ราเสี่ ยงสู งกว่าคนที่มีชีวิตสมรสราบรื่ น
การกินยาหรื อสารพิษเป็ นวิธีที่ใช้บ่อยที่สุดและไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศในการเลือกวิธีรุนแรง
เช่น การแทง การยิง การกระโดจากที่สูง การกระโดดน้ำหรื อการแขวนคอ
สาวิตรี อัษ ณางค์กรชัย ศึกษาผูป้ ่ วยพยายามฆ่า ตัว ตายที่ห อ้ งฉุกเฉิ น โรงพยาบาลสงขลา
นคริ นทร์ จำนวน 59 ราย ปี พ.ศ. 2529 – 2530 พบว่า การกินยาหรื อสารพิษเป็ นวิธีที่ใช้บ่อยที่สุด
ปั จจัยกระตุน้ ได้แก่ ความขัดแย้งในชีวิตสมรส ปัญหาครอบครัวและเศรษฐกิจ และมีผปู ้ ่ วย 6 รายเป็ น
ที่เป็ นโรคจิตเวช

22
ขุนแผน ศรี กลุ วงศ์ และคณะ ศึกษาผูป้ ่ วยพยายามฆ่าตัวตายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
หนองคาย จำนวน 120 ราย ในช่วงปี พ.ศ.2531 – 2533 ปั จจัยสำคัญที่พบคือ เพศหญิงกระทำมากว่า
ชายเท่ากับ 2:1 กลุ่มที่อายุนอ้ ยกว่า 30 ปี กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม วิธีคือการกินยาหรื อสารพิษร้อยละ
95
ธนา นิลชัยโกวิทย์และจักรกฤษณ์ สุ ขยิง่ (2539)ได้ศึกษาความคิดอยากฆ่าตัวตายของประชน
เขตหนองจอก กรุ งเทพมหานคร ที่อายุเกิน 20 ปี จำนวน 826 ราย ซึ่ งเป็ นกลุ่มประชากรที่ส่วนใหญ่
นับถือศาสนาอิสลาม พบว่าตัวแปรที่สมั พันธ์กบั ภาวะคิดฆ่าตัวตายที่สุดเมื่อวิเคราะห์ดว้ ย Multiple
Logistic Regression แล้ว คือ การมีปั ญ หาทางสุ ข ภาพจิต การเจ็บ ป่ วยทางกาย การมีบ ุค คลใน
ครอบครัวเสี ยชีวิต และการมีปัญหากับเพื่อน
มีการศึกษาถึงปัจจัยทางเสี่ ยงหรื อปั จจัยเกื้อหนุนทางสังคมต่อปั ญหาการฆ่าตัวตายเช่นกัน มา
นิดา สิ งหัษฐิตและคณะ (2543) ได้ศึกษาการมีส่วนร่ วมของชุมชนในการการป้ องกันและช่วยเหลือผู ้
มีภาวะเสี่ ยงและพยายามฆ่าตัวตายระหว่างอำเภอที่มีสถิติการฆ่าตัวตายสู งสุ ด และอำเภอที่ไม่พบสถิติ
การฆ่าตัวตายในจังหวัดศรี สะเกษ ทำการเก็บข้อมูลด้วยการสำรวจชุม ชน สัมภาษณ์เ ชิงลึก และ
สนทนากลุ่มกับผูนำ ้ ชุมชน พบว่า 2 ชุมชนนี้มีความแตกต่างกันคือ ชุมชนที่ ไม่ มีการฆ่ าตัวตายอยู่ใน
พืน้ ที่ มีการคมนาคมสะดวกกว่ ามาก มีการจัดตั้งองค์ การบริ หารส่ วนตำบลซึ่ งชุมชนที่ มีการฆ่ าตัวตาย
มากยังไม่ จัดตั้ง มีความเชื่ อในสิ่ งศักดิ์สิทธิ์ มากกว่ า ประกอบอาชี พทางการเกษตรเป็ นหลักมากกว่ า มี
การทำกิจกรรมทางสังคมร่ วมกันมากกว่ า โรงเรี ยนในชุมชนอยู่ในสภาพดีและเป็ นที่ ยอมรั บมากกว่ า
ส่ วนในชุมชนที่มีการฆ่ าตัวตายสูงนั้น ประชาชนมีมมุ มองต่ อผู้ที่ฆ่าตัวตายในเชิ งลบกว่ า (คนคิดไม่
ออก,ไม่ มองคนต่ำกว่ า ,โง่ ,เสี่ ยงกับปั ญหายาเสพติด) และไม่ ค่อยทราบข้ อมูลของคนบ้ านใกล้ เรื อน
เคียง
ศิริลกั ษณ์ ศุภปิ ติพร ได้ศึกษาปั จจัยเครี ยดทางจิตสังคมในผูป้ ่ วยที่พยายามฆ่าตัวตายในโรง
พยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในช่วงเวลาหนึ่งปี (ระหว่าง พ.ศ. 2543-2544) ซึ่ งเป็ นผูป้ ่ วยที่อายุ 15 ปี ขึ้นไป
ทั้งหมดจำนวน 120 ราย ปัจจัยที่พบว่าสัมพันธ์กบั การฆ่าตัวตายอย่างมีนยั สำคัญในการศึกษานี้คือ
ประวัติความเจ็บป่ วยทางจิต ปั จจัยกระตุ้นได้ แก่ ปัญหาความสั มพันธ์ เช่ น ชี วิตสมรส และปั ญหาหนี ้
สิ น ปั จจัยความเครี ยดจากงาน ความรู้ สึกสิ ้นหวังท้ อแท้ สุราอาจเป็ นปั จจัยที่ มีอิทธิ พลมากเช่ นกัน
เพราะพบว่ า 1 ใน 4 ของผู้ป่วยในการศึกษานีด้ ื่มสุราร่ วมด้ วยก่ อนหรื อระหว่ างกระทำการฆ่ าตัวตาย

สุ ขภาพจิตผู้สูงอายุ

ประเมินด้ วยดัชนีชี้วดั สุ ขภาพจิตระดับบุคคลด้ านบวก


ไมตรี ติยะรัตนกูร (2536)ได้สำรวจกรณีศกึ ษาผูส้ ูงอายุในชมรมผูส้ ูงอายุของกรุ งเทพมหานคร
เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กบั สุ ขภาพจิตของผูส้ ู งอายุ โดยเก็บข้อมูลจากประชากรอายุ 60-74 ป ี
ที่มาร่ วมกิจกรรมในชมรมผูส้ ูงอายุศิริราชพยาบาล วชิรพยาบาลและชมรมทางสัง คมดินแดง จำวน
234 ราย ประเมินสุ ขภาพจิตด้วยเครื่ องมือแบบวัด ความพึงพอใจในชีวิตของ ศรี เรื อน แก้วกังวาล

23
(2532) ที่ผวู้ จิ ยั ได้ดดั แปลงและทดสอบแล้วจำนวน 20 ข้อ พบว่า สภาพสุ ขภาพจิตของกลุ่มประชากร
โดยเฉลี่ยอยูใ่ นเกณฑ์ดี ปัจจัยที่สมั พันธ์กบั สุ ขภาพจิตของผูส้ ู งอายุ คือ สภาพเศรษฐานะ ความพอ
เพียงต่อรายจ่าย สภาวะสุ ขภาพกาย และสัมพันธภาพในครอบครัว ซึ่ งกลีมประชากรในการศึกษานี้
เมื่อเทียบกับประชากรสูงอายุส่วนใหญ่น่าจะจัดอยูใ่ นกลุ่มที่มีระดับคุณภาพชีวิตค่อยข้างดี และอาจจะ
สุ ขภาพจิตดีอยูก่ ่อนจึงอยากมาเข้ากลุ่มร่ วมกิจกรรมทางสังคม
การศึกษาผูส้ ูงอายุในชมรมผูส้ ู งอายุดินแดงอีกงานหนึ่งของ ประภาพร จินนั ทุยา (2536)ได้วดั
คุณภาพชีวิตของผูส้ ูงอายุดินแดง จำวน 130 รายโดยใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตด้านจิตวิสยั พบว่า ร้อยละ
85 ของกลุ่มมีคุณภาพชีวิตในระดับปานกลางถึงระดับต่ำ เพียงร้อยละ 15 ที่มีคุณภาพชีวิตสู ง ปั จจัยที่มี
อิทธิ พลต่อคุณภาพชีวิตอย่างมีนยั สำคัญคือ ภาวะสุ ขภาพ (โรคประจำตัว) ภาระหนี้สิน และการทำ
ประกันชีวิต (ซึ่ งผูว้ ิจยั อธิบายว่าช่วยลดความกังวลต่ออนาคต) ส่ วนปั จจัยอื่นๆที่พบว่าสัมพันธ์ระดับ
คุณภาพชีวิตที่ดีแต่ไม่ถึงระดับมีนยั สำคัญคือ เพศชาย ระดับอายุที่นอ้ ยกว่า มีคู่สมรส อาศัยอยูก่ บั
ครอบครัว ระดับการศึกษาที่สูงกว่า สถานภาพยังประกอบอาชีพ เป็ นษมาชิกกลุ่มชมรม รายได้สูง ซึ่ ง
กลุ่มประชากรนี้เป็ นกลุ่มที่อาศัยอาคารชุด (แฟลตดินแดง) และเก็บเฉพาะผูท้ ี่มาทำกิจกรรมในชมรม
จึงมีขอ้ จำกัดในการให้ภาพรวมของผูส้ ู งอายุทวั่ ไป
ปัญหาโรคซึมเศร้าในผูส้ ูงอายุกส็ ะท้อนถึงปั ญหาสุ ขภาพจิตในกลุ่มนี้ได้อีกวิธีหนึ่ง ชัดเจน
จันทร์พฒั น์ และคณะ(2004)ได้ศึกษาผูส้ ู งอายุที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลทัว่ ไปจากภาคใต้ จำนวน
120 ราย ทำการประเมินภาวะซึมเศร้าและหาปั จจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ความสามารถในการทำกิจวัตร
ประจำวันได้เอง การรับรู้ความรุ นแรงของอาการเจ็บป่ วย การมีความสัมพันธภาพในครอบครัวที่ดี
และระยะเวลาที่อยูใ่ นโรงพยาบาล มีผลต่อภาวะซึ มเศร้าอย่างมีนยั สำคัญ โดยสรุ ปปั จจัยที่พบว่า
เกี่ยวข้องกับปัญหาสุ ขภาพจิตในการศึกษานี้คือ โรคทางกายที่ จำ กัดการทำกิจวัตรประจำวัน และ
ปั จจัยทางครอบครั ว

ประเมินด้ วยดัชนีชี้วดั สุ ขภาพจิตระดับบุคคลด้ านลบ (ความเจ็บป่ วย)

ปัญหาสุ ขภาพจิตของผูส้ ูงอายุที่พบจาก การสำรวจสภาวะสุ ขภาพของประชาชนโดยการ


ตรวจร่ างกาย เมื่อพ.ศ. 2540 คือ พบผูส้ ู งอายุที่มีความผิดปกติเป็ นภาวะสมองเสื่ อมประมาณร้อยละ
3.4 วัดด้วยแบบทดสอบสภาพจิตจุฬา ซึ่ งพัฒนามาเพื่อลดผลรบกวนจากการไม่รู้หนังสื อ สัดส่ วนของ
ผูท้ ี่มีอาการสมองเลื่อมเพิ่มสูงมากเมื่ออายุมากขึ้น โดยอายุต้ งั แต่ 80 ปี ขึ้นไปพบมากกว่ากลุ่มที่อายุ
60- 69 ปี ถึง 13.4 เท่า พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 1.9 เท่า ผูท้ ี่ไม่รู้หนังสื อเป็ นมากกว่าผูเ้ รี ยน
หนังสื อ 8.7 เท่า และประชากรในภาคกลางรวมกรุ งเทพมหานครพบมากกว่าภาคอื่นๆ ซึ่ งปั ญหาภาวะ
สมองเสื่ อมจะสัมพันธ์กบั ระดับภาวะ พึ่งพาต่อการดูแลสุ ขลักษณะด้วย
พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ และคณะ (2542) ทำการศึกษาปั จจัยทางจิตสังคมต่อปั ญหาภาวะซึ ม
เศร้า ในผูส้ ูง อายุ โดยเปรี ย บเทีย บระหว่า งผูส้ ู ง อายุใ นเขตชนบท(จัง หว ดั อุท ยั ธานี)กับ เขต
เมือ ง(พระโขนง กรุ ง เทพมหานคร) สุ่ ม ตัว อย่า งทั้ง หมดจำนวน 711 คน ใช้เ ครื่ อ งมือ เป็ น Self

24
Depressive Rating Scale ของ Zung และแบบสอบถามปั จจัยทางจิตสัง คมที่เกี่ยวข้องพบความชุก
ของภาวะซึมเศร้าในเขตเมือง ร้อยละ 80.3 และเขตชนบทร้อยละ 84.4 ปั จจัยทางจิ ตสั งคมที่ พบ
เหมือนกันทั้ง 2 พืน้ ที่คือ ความไม่ พอใจในสุขภาพ ทั้งการเปลี่ยนแปลงตามอายุขยั และการเจ็บป่ วย
เป็ นโรค เช่ นปั ญหาการนอนไม่ หลับ ปั จจัยทางเศรษฐกิจและการเงิน ส่ วนปั ญหาที่ พบต่ างกันคือใน
เขตเมืองหลวงนั้น พบว่ า การต้ องเผชิ ญกับปั ญหาชี วิตในช่ วงอายุหลัง 60 ปี เพศหญิง การขาดความ
ยอมรั บนับถือในสังคม การสูญเสี ยบุคคลใกล้ ชิด มีความสั มพันธ์ กับภาวะซึ มเศร้ าตามลำดับ และใน
อุทัยธานี ผู้สูงอายุจะพบว่ าปั จจัยที่สัมพันธ์ กับภาวะซึ มเศร้ าคือ การใช้ สารเสพติด (นับรวมการกิน
หมาก) ภาวะที่ไม่ สามารถควบคุมจิตใจต่ อความเครี ยดจากเหตุการณ์ ประจำวัน และการมีส่วนรวมใน
กิจกรรมทางศาสนาน้ อย
การพยายามฆ่าตัวตายและความคิดอยากตายในกลุ่มผูส้ ู งอายุก เ็ ป็ นข้อมูลที่ดีใ นการศึกษา
ปั ญหาสุ ขภาพจิตผูส้ ูงอายุเช่นกัน การศึกษาของ ศิริรัตน์ คุปติวฒ ุ ิ และศิริเกียรติ ยันตดิลก (2541)ซึ่ ง
เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการการพยายามฆ่าตัวตายและความคิดอยากตายเฉพาะผูส้ ู งอายุ ตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริร าชในช่วง เดือน มกราคม พ.ศ.2538 ถึง กรกฎาคม พ.ศ.2540
จำนวน 40 ราย พบว่า ปัจ จัย ที่ผ ปู้ ่ วยเชื่อ ว่า เป็ น เหตุสำ คัญ ของความคิด อยากตายมาจาก ปัญ หา
ครอบครัว ความทุกข์ทรมานจากโรคทางกาย และความรู ้สึกผิดหวังท้อแท้ ตามลำดับ เหตุผลที่พบนี้
สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากกลุ่มผูส้ ู งอายุในการวิจยั ของประเสริ ฐ ผลิตผลการพิมพ์และคณะ (2541)
ที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ และยัง
พบว่า 1 ใน 4 ของประชากรที่ศึกษาได้วินิจฉัยว่าเป็ นโรคซึ มเศร้า แต่งานวิจยั นี้เป็ นแบบ
พรรณนาไม่ได้วิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของแต่ละปั จจัยในเชิงสถิติ อีกทั้งปั จจัยที่ศึกษาเป็ นปั จจัยที่
ตัวผูป้ ่ วยเองเชื่อว่าเกี่ยวข้อง ซึ่ งถ้าผูป้ ่ วยมีความเครี ยดและเจ็บป่ วยทางจิตใจอาจมีการรับรู ้และมอง
ปั ญหาที่ไม่ตรงกับความเป็ นจริ งเพราะให้น้ำหนักกับอารมณ์ความรู ้สึกมาก

ปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้ องจากปัญหาสุ ขภาพจิต เมื่อแยกพิจารณาตามปัจจัย

เมื่อพิจารณาข้อมูลจากการศึกษาดังที่กล่าวมา สามารถแบ่งปั จจัยออกเป็ นระดับการประเมิน


ในทางปฏิบตั ิออกเป็ น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชนหรื อสังคม ดังนี้
ระดับบุคคล
หมายถึงปัจจัยระดับมูลฐานภายในและพฤติกรรมของบุคคลหนึ่ง ซึ่ งเป็ นองค์ประกอบของ
มิติที่ใหญ่ข้ ึนคือ ครอบครัวและสังคม
ปัจจัยทางชีวภาพ
 วัยหรือช่ วงอายุ ทุกช่วงวัยมีรูปแบบของปั ญหาที่จำเพาะของวัยนั้นๆ หรื ออาจจะปั ญหา
เดียวกัน เช่นความเครี ยด ภาวะซึ มเศร้า แต่มีสาเหตุ และการแสดงออกต่างกัน อย่างไร
ก็ตามพบว่าอายุที่มากขึ้นมีแนวโน้มจะพบปั ญหาสุ ขภาพจิตมากขึ้น

25
 เพศ เมื่อแยกศึกษาในหัวข้อเรื่ องเพศ มักจะพบว่าปัญหาสุ ขภาพจิตในเพศหญิงมากกว่า
เช่นภาวะซึมเศร้าหลังจากการคลอด
การถูกข่มเหงทางเพศ การถูกทำร้ายร่ างกายจากปั ญหาความรุ นแรงในครอบครัว หรื อ
อุบตั ิการณ์ของการเกิดโรคทางจิตเวชหลายโรคก็พบในเพศหญิงมากกว่า เช่น โรคซึ ม
เศร้า โรควิตกกังวล โรคทางกายที่มีผลจากปั ญหาทางจิตในกลุ่ม Somatoform disorders
แต่เพศชายก็มีปัญหาเช่นกัน แต่แตกต่างไปและดูเหมือนเป็ นปั ญหาที่ถูกมองในแง่ลบ
มากกว่า เช่นความก้าวร้าวรุ นแรง ติดสารเสพติด โดยเฉพาะสุ รา อย่างไรก็ตามพฤติกรรม
นี้กเ็ ป็ นการแสดงออกของปั ญหาสุ ขภาพจิตอย่างหนึ่ง รวมถึงปั จจุบนั มีกระแสเรื่ องของ
กลุ่มรักร่ วมเพศ (Homosexual ) แต่ยงั ไม่มีขอ้ มูลสำหรับเรื่ องนี้อย่างเพียงพอว่าบุคคล
กลุ่ม นี้ใ นประเทศไทยมีสุ ข ภาพจิต เป็ นอย่า งไร ขึ้น กับ ปั จ จัย ใด การศึก ษาหนึ่ง ใน
ประเทศอังกฤษ(King et al,2004) พบว่าทั้งกลุ่มรักร่ วมเพศทั้งหญิงและชายมีการปรึ กษา
จิตแพทย์สูงกว่า มีอุบตั ิการณ์การทำร้ายตนเองและใช้สารเสพติดมากกว่ากลุ่มชายหญิง
ทัว่ ไปอย่างมีนยั สำคัญ และกลุ่มรักร่ วมเพศหญิงจะเคยมีประสบการณ์ถูกข่มเหงดูหมิ่น
ทั้งทางวาจาและทางพฤติกรรมมากกว่า และมีอตั ราการดื่มสุ ราสู งกว่ากลุ่มผูห้ ญิงทัว่ ไป
อย่างมีนยั สำคัญ
ปัจจัยจากรูปแบบการใช้ ชีวิต เช่น การศึกษา การประกอบอาชีพ ปั จจัยเหล่านี้อาจเป็ น
ทรัพยากรที่ดีสำหรับบุคคลเพื่อจัดการกับปั ญหาสุ ขภาพจิต ในขณะเดียวกันก็เป็ นเรื่ องที่อาศัยสุ ขภาพ
จิต ในการที่จ ะได้ม าด้ว ย เช่น หากมีภ าวะปั ญ ญาอ่อ น เรี ยนรู ้ช า้ ก็ไ ม่สามารถศึก ษาสู ง ได้ หากมี
ความเครี ยดสูง ก็ปฏิบตั ิงานไม่ได้ จัดว่าเป็ นปั จจัยที่ศึกษายากทั้งในการวางกรอบการวิจยั และการลง
ปฏิบตั ิ รวมถึงการเลือกนับถือศาสนา ซึ่ งจะสัมพันธ์กบั ปั ญหาสุ ขภาพจิตที่ต่างกัน เช่น พบการฆ่าตัว
ตายในชุมชนมุสลิมน้อยกว่าศาสนาอื่น
ส่ วนปัจจัยแง่อาชีพ งานวิจยั ในประเทศไทยหลายชิ้นมีการศึกษาบางกลุ่มอาชีพ เช่น ตำรวจ
จราจร พยาบาล ผูใ้ ช้แรงงานก่อสร้าง ฯลฯซึ่ งยังไม่สามารถให้ภาพที่ชดั เจนว่าผลจากอาชีพมีอิทธิ พล
ต่อสุ ขภาพจิตต่อจากอาชีพอื่นๆอย่างไร มีการศึกษาชิ้นหนึ่งในออสเตรเลีย (Wilhelm et al ,2004 )ได้
ทำการทบทวนปัจจัยทางอาชีพที่ส่งผลต่อสุ ขภาพจิต พบว่า ลักษณะอาชีพที่เป็ นปั จจัยเสี่ ยงต่อสุ ขภาพ
จิตได้แก่ สถานที่ปฏิบตั ิงานขาดมนุษยธรรม ขาดการดูแลเอาใจใส่ พนักงาน อาชีพที่มีความเสี่ ยงใน
การเกิดอุบตั ิภยั สูง อาชีพที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด และ แต่การศึกษาปั จจัยที่เกี่ยวกับอาชีพนี้ยงั ไม่
สามารถแยกประเด็นได้จากปัจจัยบุคลิกภาพส่ วนบุคคลได้ไม่ชดั เจนนัก
โรคทางจิตเวช สาเหตุการเจ็บป่ วยของโรคทางจิตเวชนี้ในปั จจุบนั เราศึกษาได้อย่างชัดเจน
ว่าปัจจัยทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมาจากบิดามารดามีความสัมพันธ์กบั หลายๆภาวะ เช่น โรคจิต โรค
ทางอารมณ์ หรื อการติดสารเสพติด และโรคทางจิตเวชจะสัมพันธ์กบั ปั จจัยทางสุ ขภาพจิตทั้งหมดที่
กล่าวอยูใ่ นที่น้ ี เพราะเมื่อมีปัญหาสุ ขภาพจิตในระดับที่ก่อความเดือดร้อนชัดเจน ก็จะจัดเป็ นโรคทาง
จิตเวชนัน่ เอง โรคทางจิตเวชจึงเป็ นทั้งตัวชี้วดั ปัญหาสุ ขภาพจิตและเป็ นทั้งปั จจัยสู่ ปัญหาสุ ขภาพจิ
ตอื่นๆ เช่นการฆ่าตัวตาย ปัญหาครอบครัว ความรุ นแรงในสังคม

26
โรคทางกาย การศึกษาทางสุ ขภาพจิตเกือบทุกรายงานพบว่าปัจจัยทางสุ ขภาพกายมีความ
สัมพันธ์อย่างยิง่ กับสุ ขภาพจิต ศิริลกั ษณ์ ศุภปิ ติพร (2546) ได้วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ของโรคทาง
กายต่อปัญหาทางจิต ไว้หลายรู ปแบบได้แก่
 ปัญหาทางจิตบางอย่างเป็ นแค่อาการหนึ่งของโรคทางกาย เช่น ฮอร์โมนแปรปรวน หรื อ
มีโรคที่ลุกลามเข้าสมอง
 ปัญหาทางจิตเป็ นภาวะแทรกซ้อ นจากโรคทางกาย เช่นอาการเพ้อสับสนเมื่อมีไข้สูง
หรื อค่าเคมีในเลือดแปรปรวน
 ปัญหาทางจิตเป็ นปฏิกิริยาทางจิตใจที่เกิดหลังจากความป่ วยจากโรคทางกาย เช่นซึ มเศร้า
หลังจากทราบว่าเป็ นโรคร้ายแรง
 ปัญหาทางจิตที่บางครั้งแสดงออกด้วยอาการเหมือ นโรคทางกาย เช่นอ่อนเพลีย ปวด
ตามเนื้อตัว หายใจไม่สะดวก
 ปัญหาทางจิตที่สามารถกระตุน้ ให้โรคทางการกำเริ บได้ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร
ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ

ระดับครอบครัว
โครงสร้ างของครอบครัว เช่น การอยูห่ รื อหย่าร้างของบิดามารดา จำนวนบุตร ปั จจัยจากคู่
สมรส
โรคทางจิตเวชของผู้ปกครองและญาติ อาจความสัมพันธ์กบั ปั จจัยทางกรรมพันธุ์ที่ถ่ายทอด
โรคทางจิตเวชมาสู่ บุคคล ยิง่ องค์ความรู ้ทางพันธุกรรมมากขึ้น การศึกษาความเกี่ยงข้องที่พบก็ยิ่ง
ชัดเจนขึ้น เช่นโรคทางอารมณ์ การติดสารเสพติด และการที่มีญาติป่วยก็มีผลในแง่เป็ นภาระในการ
ดูแลรับผิดชอบและเป็ นต้นเหตุของความเครี ยด
โรคทางกายของผู้ปกครองและญาติ เพิ่มความเครี ยดและเพิ่มความเสี่ ยงต่อภาวะซึ มเศร้าถ้า
ความเจ็บป่ วยรุ นแรงอาจให้ความรู้สึกสู ญเสี ย และเป็ นภาระในการดูแลรักษาเช่นกัน
ปัญหาความสัมพันธ์ และการจัดการภายในครอบครั ว พบว่าการสื่ อสารและความสัมพันธ์
ภายในครอบครัวเป็ นปัจจัยสำคัญ ในทุกปั ญหาและทุกช่วงอายุไม่วา่ ปัญหาสุ ขภาพจิตของเด็กและวัย
รุ่ น วัยผูใ้ หญ่ หรื อจนผูส้ ูงอายุ

ระดับชุ มชน
ปัจจัยความสัมพันธ์ ภายในชุ มชน
ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ ของชุ มชน
การให้ บริการของภาครัฐทั้งทางสาธารณสุ ขและระบบอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้ องเช่นสถานีอนามัย โรง
พยาบาลชุมชน องค์การบริ หารส่ วนตำบล
แหล่งทรัพยากรที่ช่วยเหลือภาคเอกชน เช่น โครงสร้างการช่วยเหลือกันภายในชุมชนต่างๆ

27
ตัวแปรอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในเรื่ องของโลกาภิวตั ร เทคโนโลยีการใช้อินเทอร์เน็ต
อาจเป็ นปัจจัยสำคัญต่อสุ ขภาพจิตในอนาคต ปั จจัยเชิงบวก เช่น การเข้าถึงแหล่งข้อมูลและการช่วย
เหลือที่สะดวกขึ้น ปัจจัยเชิงลบ เช่น ปัญหาการเสพติดการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งการสนทนาและการเล่น
เกมออนไลน์ รวมถึงการก่ออาชญากรรมโดยอาศัยอินเทอร์เน็ต

ข้ อเสนอแนะ
การศึกษาสุ ขภาพจิตเป็ นเรื่ องสำคัญที่น่าสนใจเป็ นอย่างยิง่ หรื ออาจจะกล่าวว่า “จำเป็ น”มาก
ที่สุดเรื่ องหนึ่งของการวิจยั ในมนุษย์ ข้อมูลในเกือบทุกด้านไม่วา่ จากทางการวัดด้วยความเจ็บป่ วยใน
โรคทางจิตใจ หรื อวัดด้วยปัญหาที่สะท้อนจากสังคมล้วนแต่เน้นย้ำถึงความจำเป็ นที่ตอ้ งทำการศึกษา
ที่จะเข้าใจปัญหาอย่างเข้าถึงจริ ง เพื่อนำไปสู่ การแสวงหามาตรการและนโยบายแก้ไขในระดับปฏิบตั ิ
แต่นิยามที่กว้างขวางเป็ นนามธรรมร่ วมกับการยากที่จะวัดผลทำให้การศึกษาเรื่ องนี้ในปั จจุบนั ยังไม่
เป็ นองค์ความรู้ที่ชดั เจนจน สามารถ “หยิบ” มาประยุกต์ในการพัฒนาสังคมอย่างจริ งจัง ข้อเสนอ
แนะจึงขอกล่าวถึงใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ
1. เครื่ องมือชี้วดั สุ ขภาพจิต
2. การพัฒนาการทำวิจยั ในเรื่ องของสุ ขภาพจิต

1. เครื่องมือชี้วดั สุ ขภาพจิต
การศึกษาเรื่ องสุ ขภาพจิตที่ผ า่ นมาเป็ นการนำองค์ความรู ้จากต่างประเทศเข้ามาเป็ นแม่
แบบและมีการแปลหรื อประยุกต์เรื่ องต่างๆเพื่อจับให้เข้ากับสังคมไทยมากที่สุด เครื่ องมือชี้วดั นี้กเ็ ป็ น
ส่ วนหนึ่งขององค์ความรู้ดงั กล่าว แต่การใช้เครื่ องมือหรื อดัชนีช้ ีวดั นี้เป็ นเรื่ องที่ตอ้ งกระทำต่างกันใน
บริ บทของสังคมและภาษาแต่ละกลุ่มชนหรื อประเทศแตกต่างกันไปตามนิยามของความสุ ขและ
สุ ขภาพ การพยายามถ่ายทอดหรื อแปลเครื่ องมือในภาษาอังกฤษมาเป็ นข้อๆส่ วนๆมาใช้ จึงอาจไม่ได้
เครื่ องมือที่ดีในแง่ความเหมาะสมหากมิได้มีการ “แปล” ในเชิงวัฒนธรรมและสังคมมาด้วย
ปัจจุบนั หน่วยงานของรัฐคือกรมสุ ขภาพจิตเองนั้น ก็ได้พฒั นาเครื่ องมือชี้วดั สุ ขภาพจิต
ขึ้นทั้งในระดับบุคคลและในระดับชุมชน จากรายงานการวิจยั การศึกษาดัช นีช้ ีวดั สุ ขภาพจิตของ
ชุมชนนั้น พบว่าได้พฒั นาดัชนีโดยเริ่ มต้นจากการสร้างกรอบแนวคิดขึ้นก่อนจากการประยุกต์แนวคิด
จากทั้งระบบสากลและผูเ้ ชี่ยวชาญในประเทศ จากนั้นค่อยกำหนดองค์ประกอบย่อยเพื่อจัดทำเป็ น
หัวข้อใช้ในการประเมินและได้ทดลองนำไปใช้จริ งในเกือบทุกพื้นที่ของประเทศแล้ว จึงอาจกล่าวได้
ว่าในปัจจุบนั นี้ ดัชนีช้ ีวดั สุ ขภาพจิตที่ควรนำมาใช้ที่สุดในการศึกษาในประเทศไทยคือ ดัชนีช้ ีวดั ของ
กรมสุ ขภาพจิตนั้นเอง การศึกษาที่จะจัดทำเครื่ องมือในการประเมินขึ้นใหม่ ไม่วา่ เป็ นการแปลเครื่ อง
มือจากต่างประเทศหรื อหากจะเริ่ มพัฒนาเครื่ องมือให้ได้ดีกว่านี้ คงต้องลงทุนลงแรงและใช้เวลาไป
อีกเป็ นจำนวนมาก จึงขอเสนอแนะให้นำดัชนีของกรมสุ ขภาพจิตทำการศึกษาวิจยั ในพื้นที่ที่ตอ้ งการ
ศึกษา ทั้งการวัดในระดับชุมชนและระดับบุคคล โดยการวัดในระดับบุคคลเหมาะกับการประเมิน
สุ ขภาพจิตแบบทางการแพทย์ เพื่อประเมินความเจ็บป่ วยทางจิต และให้การช่วยเหลือรักษาหรื อ

28
ป้ องกัน ส่ วนการประเมินระดับชุมชน เหมาะสำหรับเป็ นข้อมูลให้ผบู ้ ริ หาร นักวิชาการหรื อผูนำ ้
ชุมชนทราบถึงปัญหาสุ ขภาพจิตภายในชุมชนและดำเนินการศึกษาแก้ไขต่อไปได้ ซึ่ งในระหว่างการ
ทำการศึกษาวิจยั นักวิจยั ท่านต่างๆอาจพบปั ญหาหรื อจุดที่ ควรปรับปรุ งแก้ไข ก็ควรมีการรายงาน
ประเด็นดังกล่าวให้กรมสุ ขภาพจิตทราบและทำการประชุมเพื่อปรับปรุ งร่ วมกันเป็ นวาระไป ดีกว่า
ต่างกลุ่มต่างพัฒนาในเรื่ องเดียวกันอันเป็ นการสู ญเสี ยทรัพยากรมาวิจยั แต่เรื่ องเครื่ องมือวัดซึ่ งไม่เกิด
ความก้าวหน้า
นอกจากนี้ ดัชนีช้ ีวดั ที่กล่าวไปมีท้ งั การชี้วดั ในเชิงบวกและเชิงลบ การใช้ดชั นีในเชิงบวกน่า
สนใจในแง่การศึกษามากกว่า เพราะสามารถวิเ คราะห์ขอ้ มูลที่นำ ไปจัดการเพื่อให้การบริ การช่วย
เหลือได้โดยตรง เช่นองค์ประกอบย่อยของดัชนีช้ ีวดั ชุมชน เรื่ องต่างๆ เมื่อทำการศึกษาก็จะได้ขอ้ มูล
อันเป็ นการประเมินชุมชนของประชากร สามารถกำหนดการแก้ปัญหาได้ ดีกว่าดัชนี้ช้ ีวดั ในเชิงลบ
เช่นอัตราการเจ็บป่ วยทางจิตเวช ซึ่ งต้องทำการศึกษาหาปั จจัยที่เกี่ยวข้องอีกขั้นหนึ่ง ข้อมูลที่วิเคราะห์
ได้ก อ็ าจเกิด ความคลาดเคลื่อ น และจะได้เ ฉพาะข้อ มูลจากผูท้ ี่มีปัญ หาทางจิต อาจไม่ครอบคลุม
ประชากรทัว่ ไปในชุมชน

2. การพัฒนาการทำวิจัยในเรื่องของสุ ขภาพจิต
สุ ขภาพจิตเป็ นเรื่ องที่มีท้ งั มิติ คือความกว้ างขวางในหัวข้อและความเชื่อมโยงกับเรื่ อ
งอื่นๆในสังคม และความลึกซึ้งในแง่ของข้อมูลที่เป็ นปั จจัยต่างๆที่ค่อนข้างเป็ นนามธรรมให้เกิดเป็ น
ข้อมูลที่เป็ นรู ปธรรม จับต้องได้ นำมาใช้ประโยชน์ได้ และมิตทิ างเวลาของสังคมที่ดำเนินไปเรื่ อยๆ
บางปั ญหากำลังทวีความรุ นแรงมากขึ้นๆตามปั จจัยผันผวนของสังคม การพัฒนาซึ่ งดำเนินไปอย่าง
รวดเร็ วกว่ายุคสมัยก่อนมากด้วยเทคโนโลยีของโลกาภิวตั รในด้านต่างๆ อาจสร้างปั ญหาที่ไม่เคยมีมา
ก่อนในอดีต หรื อไม่เคยรุ นแรงจนวิกฤตเหมือนในปั จจุบนั นักวิชาการทางสุ ขภาพจิตจึง ค่อนข้าง
ลำบากในการศึกษาวิจยั สุ ขภาพจิตในประเด็นย่อยหนึ่งๆ ถ้านำปั จจัยในแต่ละมิติเข้ามาวิเคราะห์ดว้ ย
โดยเฉพาะในปัจจุบนั มิติทางเวลาหรื อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงนี้ ส่ งผลต่อการวิจยั ค่อนข้างมาก เพราะ
นักวิชาการเองต้องใช้เวลาศึกษาทำความเข้าใจและสร้างองค์ความรู ้ในเรื่ องต่าง ๆ ซึ่ งอาจไม่สามารถ
ไล่ทนั กับความเปลี่ย นแปลงทางสัง คมที่มีเรื่ องราวใหม่ๆ ปั ญหาใหม่ๆ ตลอดเวลา ทั้งนี้เรื่ องของ
จิตวิทยาและสุ ขภาพจิตมีดา้ นที่เป็ นอัตวิสยั (Subjective) ซึ่ งขึ้นกับผูว้ ดั ข้อมูลว่าจะมองอย่างไร เข้าใจ
อย่างไร จึงต้องคำนึงถึงกระบวนทัศน์ของผูทำ ้ การข้อมูล นักวิชาการที่อยูใ่ นวัยผูใ้ หญ่มีอายุ อาจ
เกิด”ช่องว่างระหว่างวัย” ในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะกับปั ญหาสุ ขภาพจิตของ
กลุ่มประชากรเด็กและวัยรุ่ น
จากที่ได้ทบทวนการศึกษาวิจยั เรื่ องสุ ขภาพจิตภายในประเทศไทย มีขอ้ สังเกตดังนี้
1. การวิจยั ส่ วนใหญ่เป็ นการศึกษาสุ ขภาพจิตในกรอบแนวคิดอิงบริ บททางการแพทย์ วัด
เรื่ องความเจ็บป่ วยทางจิตเป็ นหลัก ส่ วนงานวิจยั ที่เน้นทางสังคมก็ยากที่จะเชื่อมโยงกับประเด็นที่
เป็ น สุ ข ภาพของจิต แต่เ ป็ น การวัด คุณ ภาพชีว ิต ความพึง พอใจต่า งๆ หรื อ เป็ น การชี้ว ดั ทาง

29
สังคมศาสตร์ที่ตอ้ งหาความเชื่อมโยงกับสุ ขภาพจิตอีกขั้นหนึ่ง กลุ่มนักวิจยั ที่ศึกษาเรื่ องระหว่างกลาง
สองขั้วนี้ คือเรื่ องสุ ขภาพจิตที่ชดั เจนนั้น ยังมีรายงานออกมาน้อย
2. การวิจยั ที่ใช้หวั ข้อว่า”สุ ขภาพจิต” แต่ละชิ้น มีการใช้ดชั นีช้ ีวดั ที่ต่างๆกันไป บางการวิจยั
ยังรวมขั้นตอนพัฒนาดัชนีวดั และทดสอบใช้ ส่ วนหนึ่งเครื่ องมือที่มีหลากหลายนี้ อาจทำให้การวิจยั
ทางสุ ขภาพจิตยังไปได้ไม่ไกลเท่าที่ควร เพราะต้องเริ่ มพิจารณากันตั้งแต่เครื่ องมือกันใหม่ ประกอบ
กันเป็ นภาพรวมได้ยากเพราะวัดด้วยเครื่ องมือคนละชนิดกัน
3. การศึกษาวิจ ยั ชิ้น ต่างๆเมื่อ มองในภาพรวม ยังไม่มีการกำหนดทิศทางที่ชดั เจน ต่า ง
สถาบัน ต่า งกลุ่มก็จ ดั ทำแต่ใ นหัว ข้อ ที่ส นใจหรื อ ถนัด เช่น วัด เรื่ อ งบางเรื่ อ ง (เช่น ภาวะซึ ม เศร้า
คุณภาพชีวิต ) ในบางกลุ่มประชากร (ที่พบเช่นกลุ่มประชากรจำพวกนิสิต นักศึกษา หรื อเจ้าหน้าที่
สาธารณสุ ขกลุ่มต่างๆ) และมักจะเกิดความซ้ำซ้อนหรื อไม่ขยายผลในกลุ่มประชากรที่น่าสนใจอื่นๆ
ทำให้สร้างภาพรวมของสภาวะสุ ขภาพจิตในประเทศไทยได้ไม่ชดั เจนเท่าที่ควร และยากที่นำ ไป
จัดการให้เกิดประโยชน์
4. การวิจยั ส่ วนใหญ่เป็ นการวัดที่เวลาในเวลาหนึ่ง (Cross-sectional Study) การศึกษาแบบ
นี้ ที่จริ งแล้วจัดว่าได้ประโยชน์ดี หากแต่เมื่อได้ขอ้ มูลมาวิเคราะห์เป็ นผลการวิจยั ถ้าจะมีการนำผลก
ลับไปสร้างการช่วยเหลือแก้ไข หรื อปรับนโยบาย ซึ่ งได้ภาพที่ชดั เจนว่าปัจจัยที่รับรู ้น้ นั มีผลกระทบ
มากน้อยเพียงใด อาจมีการวัดผลซ้ำอีกครั้ง ว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงหรื อไม่ น่าจะเพิ่มความชัดเจน
ของปั จจัยที่ศึกษาได้และเกิดประโยชน์ต่อประชากร การศึกษาส่ วนหนึ่งมีการดำเนินการต่อได้ แต่
ส่ วนใหญ่ขาดความต่อเนื่อง เพราะผูว้ ิจยั เปลี่ยนงาน หรื อเป็ นการวิจยั วิทยานิพนธ์ เพื่อใช้ประกอบการ
ศึกษาปริ ญญาโท เอก ซึ่ งเมื่อผูว้ ิจยั เมื่อศึกษาจบก็อาจเปลี่ยนรู ปแบบงานไป
ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาการทำวิจยั ในเรื่ องของสุ ขภาพจิตจึงมีดงั นี้
1. ควรเริ่ มต้นด้วยการส่ งเสริ มองค์ความรู ้เรื่ องสุ ขภาพจิต ให้เป็ นที่รับรู ้และเข้าใจอย่างแพร่
หลายก่อน ซึ่ งในขั้นตอนนี้ตอ้ งอาศัยความเข้าใจที่ตรงกัน มีการบรรจุเนื้อหาที่ตรงกันแล้วนี้ลงใน
หลักสู ตรการเรี ยนการสอนต่างๆที่เกี่ยวข้อง หรื อมีองค์กรที่จดั อบรมประชุมวิชาการในหัวข้อนี้ การ
พัฒนาองค์ความรู้น้ นั ย่อมจะขาดเสี ยไม่ได้ซ่ ึ งการพัฒนาบุคลากรเป็ นคู่ขนานกันไป
2. มีการกำหนดทิศทางของการดำเนินการศึกษาวิจยั ในเรื่ องสุ ขภาพจิตให้ชดั เจนขึ้น เพราะ
เป็ นประเด็นกึ่งกลางระหว่างปัญหาทางสังคมกับปั ญหาความเจ็บป่ วยทางการแพทย์ เป็ นกึ่งกลาง
ระหว่างการปรับตัวของบุคคลกับปัญหาโรคจิตประสาทในบุคคล และเป็ นกึ่งกลางระหว่างข้อมูลทั้ง
การนำไปส่ งเสริ มและแก้ไขปัญหาพื้นฐานต่างๆในสังคม การกำหนดทิศทางที่ดีจะช่วยทำให้เกิดองค์
ความรู้ที่ชดั เจน ซึ่ งจำเป็ นอย่างยิง่ ในยุคสมัยที่มีความเปลี่ยนแปลงรวดเร็ วเช่นนี้ การเชื่อมโยงข้อมูล
หากทิ้งช่วงระยะเวลาหนึ่ง ข้อมูลที่ได้มาอาจเป็ นคนละประเด็นหรื อปั จจัยต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงไป
3. ในยุคโลกาภิวตั น์ นอกจากเป็ นวิกฤตแห่งความสับสนก็ยงั เป็ นโอกาสต่างๆของการ
พัฒนาสุ ขภาพจิตได้ นักวิชาการจะถูกท้าทายด้วยข้อมูลใหม่ๆ ปรากฏการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและแพร่
ไปได้อย่างรวดเร็ วตามสื่ อ ซึ่ งถ้าองค์กรทางสุ ขภาพจิต ใช้สื่อให้เป็ นประโยชน์ ก็เผยแพร่ ขอ้ มูลที่ดีไป

30
ถึงประชาชนได้ดีเช่นกัน หากแต่ควรมีการศึกษาปั ญหาให้เข้าใจก่อนที่จะให้ขอ้ มูลหรื อการแนะนำ
ในการปฏิบตั ิเรื่ องใด บางเหตุการณ์อาจจะไม่เคยเกิดหรื อมีมาก่อน หากประยุกต์นำองค์ความรู ้และ
การจัดการแบบที่เคยมีไปใช้ทนั ที อาจไม่ตรงกับปั ญหาจริ งๆในยุคสมัย การศึกษาวิจยั ลงในปั ญหา
หรื อกลุ่มประชากรจริ งเพื่อสร้างองค์ความรู ้ใหม่จึงเป็ นสิ่ งจำเป็ นอย่างยิง่ และทำให้เราทราบว่าการ
ศึกษาวิจยั ทางสุ ขภาพจิตจำเป็ นต้องถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทันกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงเสมอเช่นทุก
วันนี้
2.2 นโยบายที่เกีย่ วกับสุ ขภาพจิต
เนื่องจากนโยบายด้านสุ ขภาพจิตของประเทศ มีอิทธิ พลอย่างมากต่อการกำหนดทิศทางและ
แผนการดำเนิน งานทั้งในด้า นการเสริ ม สร้า ง พัฒ นา ป้ องกัน และแก้ไ ขปั ญ หาสุ ข ภาพจิต การ
พิจารณาทบทวนนโยบายด้า นสุ ข ภาพจิตของประเทศ ตลอดจนปัจ จัย ที่มีอิท ธิ พลต่อการกำหนด
นโยบาย จึงเป็ นประเด็นที่สำคัญ
จากรายงานสุ ขภาพจิตไทย พ.ศ.2545-2547 ของกรมสุ ขภาพจิต กล่าวว่าปั จจัยที่มีผลกระทบ
ต่อการกำหนดทิศทางเป้ าหมาย และยุทธศาสตร์การดำเนินงานสุ ขภาพจิต คือ
1. การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การปกครองและการปฏิรูประบบราชการ ส่ งผลให้การจัด
องค์กร หน่วยงานที่ให้บริ การสุ ขภาพจิต หน่วยพัฒนาวิชาการสุ ขภาพจิต และหน่วยสนับสนุน ต้อง
ปรับตัวให้สอดคล้องกับภารกิจที่มุ่งเน้นประสิ ทธิ ภาพและประสิ ทธิ ผลมากขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ปัญหาต่างๆ ในระดับประเทศ สังคม ครอบครัว และ
บุคคล ซึ่ งสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยต่างๆที่อาจเป็ นสาเหตุของการเกิดปั ญหาสุ ขภาพจิต
ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเหล่านี้ จะสามารถพิจารณาได้จาก
1) นโยบายระหว า่ งประเทศ (International Policy) เช่น จากหน่ว ยงานของ
สหประชาชาติ เช่น WHO , UNICEF เป็ นต้น
2) นโยบายระดับประเทศ ( National Policy )
ประเทศพัฒนาแล้ว
ประเทศกำลังพัฒนา
- ภูมิภาคเดียวกัน
- วัฒนธรรมคล้ายกัน
- ต่างภูมิภาคและต่างวัฒนธรรม

1. นโยบายระหว่างประเทศ
o องค์การอนามัยโลก
ข้อมูลพื้นฐานด้านสุ ขภาพจิต
 ประชากร 450 ล้านคนในโลกล้วนเคยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคทางจิตใจ ทางระบบประสาท
หรื อปัญหาพฤติกรรม
 ในแต่ละปี มีประชากรโลกจำนวนประมาณ 873,000 คน เสี ยชีวิตจากการฆ่าตัวตาย

31
 การเจ็บป่ วยด้วยโรคทางจิตพบได้บ่อยในทุกประเทศและ มีผลกระทบอย่างกว้างขวางใน
หลายด้าน เนื่องจากคนที่ป่วยด้วยโรคเหล่านี้มกั ถูกกีดกันจากสังคม มีคุณภาพชีวิตต่ำ และมี
อัตราการตายสูงขึ้น การเจ็บป่ วยเหล่านี้จึงเป็ นสาเหตุของความสัน่ คลอนทางเศรษฐกิจและ
กระทบต่อรายจ่ายทางสังคม
 หนึ่งในสี่ ของคนไข้ที่มารับบริ การด้านสุ ขภาพ มีอย่างน้อยหนึ่งความผิดปกติในด้านจิตใจ
ด้านระบบประสาท หรื อด้านพฤติกรรม แต่ส่วนใหญ่มกั จะไม่ได้รับทั้งการวินิจฉัยและการ
รักษา
 การเจ็บป่ วยด้วยโรคทางจิตเป็ นได้ท้ งั สาเหตุและผลกระทบจากการเจ็บป่ วยเรื้ อรัง เช่น โรค
มะเร็ ง โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน หรื อการติดเชื้อ เอช ไอ วี/เอดส์ และเมื่อไม่ได้
รับการรักษา คนไข้เหล่านี้จะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่กินยาตามที่แพทย์สัง่ ภูมิ
ต้านทานต่ำลงและการพยากรณ์โรคไม่ดี
 การให้รักษาที่ไม่แพงและได้ผลดีน้ นั มีอยูสำ ่ หรับเกือบทุกโรค และถ้าใช้อย่างถูกต้อง จะ
สามารถช่วยให้ผปู้ ่ วยเหล่านี้กลับมามีชีวิตในสังคมได้อีก
 อุปสรรคในการให้การรักษาโรคทางจิตใจอย่างมีประสิ ทธิ ภาพ คือ การขาดการตระหนักถึง
ความรุ นแรงของโรค และขาดความเข้าใจในคุณประโยชน์ของการให้บริ การ องค์กรต่างๆ
ไม่วา่ จะเป็ นในเรื่ องของการกำหนดนโยบาย บริ ษทั ประกันภัย นโยบายด้านสุ ขภาพและการ
ใช้แรงงาน ตลอดจนภาพรวมใหญ่ในระบบสังคม ยังพิจารณาอย่างแยกส่ วนระหว่างปั ญหา
ทางร่ างกายและจิตใจ
 ประเทศที่มีร ายได้ป านกลางและต่ำ ส่ ว นใหญ่จ ะแบ่งงบประมาณน้อ ยกว่า 1 % จากงบ
ประมาณด้านสุ ขภาพทั้งหมด ให้กบั เรื่ องสุ ขภาพจิต และผลกระทบในขั้นต่อไปก็คือ การไม่
ให้ความสำคัญอย่างที่ควรจะเป็ นต่อทั้งนโยบายด้านสุ ขภาพจิต การบัญญัติกฎหมาย การจัด
บริ การในชุมชน ตลอดจนการรักษาพยาบาล
นโยบายสุ ขภาพจิตและแผนสุ ขภาพจิต
นโยบายสุ ขภาพจิต ( Mental Health Policy ) หมายถึง แผนการที่รวบรวมคุณค่า หลักการ
และวัตถุประสงค์เพื่อทำให้สุขภาพจิตดีข้ ึน และลดผลกระทบจากการเจ็บป่ วยทางจิตใจของประชากร
ลง เป็ นวิสยั ทัศน์สำหรับอนาคต และช่วยกำหนดรู ปแบบในการปฏิบตั ิงาน นโยบายสุ ขภาพจิตยังบ่ง
ถึงระดับความสำคัญที่รัฐบาลจัดวางให้กบั สุ ขภาพจิต เมื่อเปรี ยบเทียบกับนโยบายสุ ขภาพด้านอื่นๆ
และนโยบายด้านสังคม โดยทัว่ ไปนั้นนโยบายจะถูกกำหนดให้มีผลในระยะยาว เช่น 5 หรื อ 10 ปี
แผนสุ ขภาพจิต ( Mental Health Plan ) หมายถึง รายละเอียดของแบบแผนก่อนการกำหนด
งาน เพื่อนำไปพัฒนาสู่ แผนการปฏิบตั ิงานจริ งในการส่ งเสริ มสุ ขภาพจิต ( Promotion ) ป้ องกันการ
เจ็บป่ วยทางจิตใจ ( Prevention ) และบำบัดฟื้ นฟู ( Treatment and Rehabilitation ) แผนสุ ขภาพจิต

32
มักประกอบด้วย แผนงาน ระยะเวลา ทรัพยากรที่ตอ้ งการใช้ เป้ าหมายที่ตอ้ งบรรลุ ตัวชี้วดั และ
กิจกรรม ระยะเวลาที่ใช้ในแผนสุ ขภาพจิต อาจใช้เวลานานเท่ากับเวลาของนโยบาย หรื อสั้นกว่าก็ได้
โครงการด้า นสุ ข ภาพจิต ( Mental Health Programme ) หมายถึง การแทรกแซงโดยมี
วัต ถุป ระสงค์ท ี่ช ดั เจนในการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพจิต (Promotion) ป้ องกัน การเจ็บ ป่ วยทางจิต ใจ
(Prevention) และบำบัด ฟื้ น (Treatment and Rehabilitation) โดยโครงการมัก มีก ารเน้น ให้ค วาม
สำคัญแก่สุขภาพจิตเฉพาะด้า น และมีขอ้ มูลรายละเอียดในเรื่ องการดำเนินงาน งบประมาณ การ
ติดตามและการประเมินผลการปฏิบตั ิงาน โครงการด้านสุ ขภาพจิตจะแตกต่างจากนโยบาย และแผน
สุ ขภาพจิต คือ จะนำไปใช้ปฏิบตั ิในระดับหน่วยงานขนาดเล็ก หรื อ ทำในระยะเวลาสั้นๆ
จากการสำรวจข้อมูลขององค์การอนามัยโลกในปี 2001 พบว่า 40.5 % ของประเทศทัว่ โลก
ไม่มีนโยบายสุ ขภาพจิต และ 30.3 % ไม่มีโครงการด้านสุ ขภาพจิต และในแต่ละประเทศนั้นยังมีความ
แตกต่างกันอย่างมากทั้งในด้านรู ปแบบและเนื้อหาของนโยบายและแผนสุ ขภาพจิต

ความสำคัญของนโยบายและแผนสุ ขภาพจิต

สร้างการจัด
ลำดับความ
สำคัญในระดับ
นโยบายและแผน นำไปปฏิบัติจริง
สุ ขภาพจิต ด้วยการ
แทรกแซงที่มี
วางแผน จัดระบบ และ ประสิทธิภาพ
 ลดผลกระทบ
ประสานงานระหว่ างหน่ วย  ทำให้ สุขภาพจิตดี
ต่ างๆของระบบสุ ขภาพจิต ขึน้

ผลลัพธ์ของการมีนโยบายและแผนสุ ขภาพจิต สามารถพิจารณาได้จาก


 คุณภาพของหน่วยงาน และการบริ การดีข้ ึน
 ประชากรสามารถเข้าถึงบริ การได้
 มีการดูแลในระดับชุมชน
 ประชากรที่มีความผิดปกติทางจิตใจ และผูด้ ูแลสามารถมีส่วนร่ วมได้
 ตัวชี้วดั ทางสุ ขภาพจิตของประชากร

การพัฒนานโยบายสุ ขภาพจิต

33
การพัฒนานโยบายสุ ขภาพจิตมีข้ นั ตอนการดำเนินงาน ตามข้อเสนอแนะขององค์การอนามัย
โลกไว้ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ประเมินความต้องการของประชาชน
ขั้นตอนที่ 2 รวบรวมหลักฐานของแผนงานที่มีประสิ ทธิ ภาพ
ขั้นตอนที่ 3 ขอคำปรึ กษา และเจรจาต่อรอง
ขั้นตอนที่ 4 แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ
ขั้นตอนที่ 5 กำหนดวิสยั ทัศน์ คุณค่า หลักการ และวัตถุประสงค์ของนโยบาย
ขั้นตอนที่ 6 ตั้งเข็มมุ่งสู่ ดา้ นต่างๆนการปฏิบตั ิงาน
ขั้นตอนที่ 7 แสดงให้เห็นถึงบทบาทและความรับผิดชอบหลักของแต่ละหน่วยงาน
การพัฒนาแผนสุ ขภาพจิตมีข้นั ตอนการดำเนินงาน ตามข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลก
ไว้ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดแผนงานและระยะเวลาในการปฏิบตั ิงาน
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดดัชนีช้ ีวดั และเป้ าหมาย
ขั้นตอนที่ 3 กำหนดกิจกรรมหลัก
ขั้นตอนที่ 4 กำหนดรายจ่าย ทรัพยากรที่สามารถจัดหาได้ และงบประมาณ
การนำนโยบาย แผน และโครงการสุ ขภาพจิตไปใช้ ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 กระจายข้อมูลเรื่ องนโยบาย
ขั้นตอนที่ 2 จัดให้มีการสนับสนุนและมีแหล่งทุนจากรัฐ
ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาองค์กรสนับสนุน
ขั้นตอนที่ 4 จัดให้มีโครงการนำร่ องในพื้นที่สาธิ ต
ขั้นตอนที่ 5 เสริ มสร้างกำลังใจแก่ผปู ้ ฏิบตั ิงาน
ขั้นตอนที่ 6 ให้การส่ งเสริ มการปฏิบตั ิงานร่ วมกันระหว่างองค์กร
ขั้นตอนที่ 7 ส่ งเสริ มให้มีปฏิสมั พันธ์ระหว่างผูป้ ฏิบตั ิงาน

ในการพัฒนานโยบาย แผน และโครงการสุ ขภาพจิตและการนำไปใช้ในแต่ละประเทศ หรื อ


ภูมิภาคนั้น เป็ นกระบวนการที่ซบั ซ้อน มีปัจจัยหลายประการที่ตอ้ งคำนึงถึง รวมทั้งความต้องการของ
ผูป้ ฏิบตั ิงานที่หลากหลายก็เป็ นเรื่ องที่จำเป็ นต้องให้ความสำคัญ
กระบวนการทั้งหมดเหล่านี้สามารถช่วยให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกต่อสุ ขภาพจิต ซึ่ งจะเป็ นผล
ประโยชน์ต่อประชากรในประเทศหรื อภูมิภาคในด้านต่างๆ ดังนี้ ( WHO 2001)
 บรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิตใจ
 ทำให้การปฏิบตั ิหน้าที่ในด้านต่างๆดีข้ ึน เช่น ด้านครอบครัว สังคม การเรี ยน การทำงาน
เป็ นต้น

34
 เพิ่มประสิ ทธิภาพ และประสิ ทธิ ผลในการทำงาน
 ทำให้ผปู้ ่ วยที่มีความผิดปกติทางจิตใจ และครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีข้ ึน
 ป้ องกันการไร้ความสามารถทางจิตใจ และสังคม
 ลดอัตราการตาย เช่น การฆ่าตัวตาย เป็ นต้น
Atlas project ขององค์การอนามัยโลก ได้ทำการศึกษาทรัพยากรทางสุ ขภาพจิตของประเทศทัว่
โลก โดยประเมินในหัวข้อต่างๆดังนี้
Mental Health Resources
1. Mental Health Policies
2. Mental Health Legislation
3. Mental Health Financing
4. Mental Health Facilities
5. Psychiatric Beds and Professionals
6. Non-Government Organization
7. Therapeutic Drugs

โดยองค์การอนามัยโลกได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และนำเสนอแนวทางที่สามารถนำไปปฏิบตั ิ
ได้ เพื่อช่วยให้ประเทศต่างๆนำไปใช้ในการพัฒนาสุ ขภาพจิตของประชาชน โดยใช้หลักเกณฑ์ ดังนี้
1. Mental Health Context
2. Mental Heath Policy, Plans and Programmes
3. Mental Health Financing
4. Mental Health Legislation and Human Right
5. Advocacy for Mental Health
6. Organization of Services for Mental Health
7. Quality Improvement for Mental Health
8. Planning and Budgeting to Deliver Services for Mental Health

35
แผนภูมิแสดงหัวข้ อสำคัญในการวางนโยบาย แผน และโครงการด้ านสุ ขภาพจิต

กฎหมายและ
สิ ทธิมนุษยชน

การวิจยั และ การเงิน


พัฒนา

องค์การ
สุขภาพจิต
การบริ การ
เด็กและวัยรุ่ น

พัฒนาการ นโยบาย การวางแผนงบ


มนุษย์และการ แผน และ ประมาณ
ฝึ กอบรม โครงการ ที่จะให้บริ การ

ระบบข้อมูล การสนับสนุน

36
ปรับปรุ งการเข้า
ถึงและการให้ยา นโยบายและ การปรับปรุ ง
ทางจิตเวช โครงการใน คุณภาพ
การปฏิบตั ิงาน
คุณภาพในการให้ บริการสุ ขภาพจิต

ในด้านสุ ขภาพจิต การวัดคุณภาพคือ การพิจารณาว่า การบริ การมีแนวโน้มที่จะเพิ่มผลลัพธ์


ทางสุ ขภาพจิต ดังที่ตอ้ งการและมีความสอดคล้องไปกับข้อมูลหลักฐานในการปฏิบตั ิงานในปัจจุบนั
โดยรวมองค์ประกอบ 2 ประการคือ
1. สำหรับผูป้ ่ วยที่มีความผิดปกติทางจิตใจ ครอบครัว และประชากรทัว่ ไปโดยรวม การ
พิจารณาคุณภาพจะเน้นว่า การบริ การควรให้ผลลัพธ์ในเชิงบวก
2. สำหรับผูป้ ฏิบตั ิงาน ผูว้ างแผนการบริ การ และผูว้ างนโยบาย การพิจารณาคุณภาพ จะ
เน้นการใช้องค์ความรู้ และเทคโนโลยีอย่างดีที่สุด

การปรับปรุ งคุณภาพ หมายความว่า การให้บริ การสุ ขภาพจิตควร


 ดำรงไว้ซ่ ึ งศักดิ์ศรี ของประชากรที่มีคามผิดปกติทางจิตใจ
 จัดให้มีการดูแลที่ยอมรับได้และเหมาะสม ทั้งทางด้านการแพทย์และด้านอื่นๆ โดย
มีเ ป้ าหมายเพื่อลดผลกระทบของความผิด ปกติ และ ปรับ ปรุ ง คุณภาพชีว ิต ของ
ประชากรที่มีคามผิดปกติทางจิตใจ
 ใช้การแทรกแซงในการช่วยประชากรที่มีคามผิดปกติทางจิตใจ ให้สามารถจัดการ
ปัญหาความบกพร่ องทางจิตใจได้ดว้ ยตนเอง
 ใช้ทรัพยากรที่มีอยูอ่ ย่างจำกัด ให้ได้ประสิ ทธิ ภาพและประสิ ทธิ ผลสู งสุ ด

37
แผนภูมิแสดงการนำนโยบาย แผน และโครงการด้ านสุ ขภาพจิตไปปฏิบัติ

38
39
แนวคิดและทิศทางการพัฒนางานสุ ขภาพจิตในช่ วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสั งคมแห่ งชาติฉบับ
ต่ างๆ ที่ผ่านมา

1. ระยะก่อนเริ่ มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2432-2503 ซึ่ งสามารถแบ่ง


ได้3 ยุคได้แก่ยคุ ดั้งเดิมคือจากการที่ผปู ้ ่ วยถูกทิ้งในชุมชนเกิดการดูแลผูป้ ่ วยในสถานพยาบาล ยุคต่อ
มาคือยุคโรงพยาบาลจิตเวชสมัยใหม่คือมีการสร้างโรงพยาบาลจิตเวชกระจายไปตามภูมิภาค และยุค
งานสุ ขภาพจิตซึ่ งดำเนินงานในด้านการส่ งเสริ มป้ องกันปั ญหาสุ ขภาพจิต
รวมถึงการขยายคลินิกสุ ขวิทยาจิต
2. ระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 และ 2 พ.ศ. 2504-2514 เป็ นช่วง
แรกของการทำงานสุ ขภาพจิตชุมชน ที่มีหน่วยจิตเวชเคลื่อนที่สู่ชุมชน
3. ระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3-4 พ.ศ. 2515-2524 เป็ นการผสม
ผสานงานสุ ขภาพจิตเข้ากับงานบริ การสาธารณสุ ขในรู ปแบบของโครงการสุ ขภาพจิตชุมชน
4. ระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5-6 พ.ศ. 2525-2534 เป็ นระยะของ
สาธารณสุ ขมูลฐาน มีการกำหนดให้ประชากรทัว่ โลกมีสุขภาพดีถว้ นหน้า งานสุ ขภาพจิตปรากฏเป็ น
แผนงานสุ ขภาพจิต มีโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการสาธารณสุ ข และให้การ
สนับสนุนงานสาธารณสุ ขมูลฐาน
5. ระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7-8 พ.ศ. 2535-2544 เป็ นยุคของการ
ส่ งเสริ มและป้ องกัน มีแนวคิดหลักในการเสริ มสร้างสมรรถภาพจิตใจของประชาชนให้มีคุณภาพ
และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่ วมสามารถพึ่งพาตนเองได้และดูแลช่วยเหลือกัน
 
แนวคิดและทิศทางการพัฒนางานสุ ขภาพจิตในช่ วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสั งคมแห่ งชาติ ฉบับที่
9 (พ.ศ.2545-2549)

กรอบแนวคิดในการจัดทำ เป็ นไปโดยสอดคล้องเชื่อมโยงกับสถานการณ์และปั จจัยต่างๆ ทั้ง


ปั จ จัย แวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือ ง การศึกษา สิ่ งแวดล้อ ม การเปลี่ย นแปลงโครงสร้า งของ
ประชากร ครอบครัว กระแสค่านิยม ความเชื่อ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของระบบทาง
สุ ขภาพซึ่ งส่ งผลให้วิถีชีวิต ภาวะสุ ขภาพกายและสุ ขภาพจิตของบุคคลเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ ว

1. แนวนโยบายพืน้ ฐานแห่ งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่ งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540


ตารางแสดงนโยบายของคณะรัฐมนตรี เพื่อบริ หารราชการแผ่นดิน
ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ที่บญั ญัติไว้ในหมวด ๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

40
นโยบายของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
คณะรัฐมนตรี
มาตรา ๗๒
รัฐต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อพิทกั ษ์รักษาเอกราช ความ
มัน่ คงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริ ย ์ ผลประโยชน์แห่ง ข้อ ๑๒
ชาติ และการปกครองระบอบประชาธิ ปไตยอันมีพระมหา
กษัตริ ยท์ รงเป็ นประมุข และเพื่อการพัฒนาประเทศ
มาตรา ๗๓
รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุม้ ครองพระพุทธศาสนาและ
ศาสนาอื่นส่ งเสริ มความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระ
ข้อ ๑๑.๒
หว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำ
หลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริ มสร้างคุณธรรมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิต
มาตรา ๗๔
รัฐต้องส่ งเสริ มพันธไมตรี กบั นานาประเทศ และพึงถือหลัก ข้อ ๑๓
ในการปฏิบตั ิต่อกันอย่างเสมอภาค
มาตรา ๗๕
รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบตั ิตามกฎหมาย คุม้ ครองสิ ทธิ และ
เสรี ภาพของบุคคล จัดระบบงานของกระบวนการยุติธรรม
ให้มีประสิ ทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน
อย่างรวดเร็ วและเท่าเทียมกัน รวมทั้งจัดระบบงานราชการ
ข้อ ๑๔
และงานของรัฐอย่างอื่นให้มีประสิ ทธิ ภาพ เพื่อตอบสนอง
ข้อ ๑๕.๒
ความต้องการของประชาชน รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้
ข้อ ๑๕.๕
พอเพียงกับการบริ หารงานโดยอิสระของคณะกรรมการการ
เลือกตั้ง ผูต้ รวจการแผ่นดินของรัฐสภาคณะกรรมการสิ ทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาล
ปกครอง คณะกรรมการป้ องกันและปราบปรามการทุจริ ต
แห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
มาตรา ๗๖ ข้อ ๑๕.๑
รัฐต้องส่ งเสริ มและสนับสนุนการมีส่วนร่ วมของประชาชน
ในการกำหนดนโยบาย การตัดสิ นใจทางการเมือง การ
วางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคม และการเมือง รวมทั้งการ

41
ตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐทุกระดับ
มาตรา ๗๗
รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง จัดทำมาตรฐานทาง
คุณธรรมและจริ ยธรรมของผูดำ ้ รงตำแหน่งทางการเมือง ข้อ ๑๕.๑
ข้าราชการ และพนักงานหรื อลูกจ้างอื่นของรัฐ เพื่อป้ องกัน ข้อ ๑๕.๔
การทุจริ ตและประพฤติมิชอบ และเสริ มสร้างประสิ ทธิ ภาพ
ในการปฏิบตั ิหน้าที่
มาตรา ๗๘
รัฐต้องกระจายอำนาจให้ทอ้ งถิ่นพึ่งตนเองและตัดสิ นใจใน
กิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบ
สาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้น ข้อ ๑๕.๓
ฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทวั่ ถึงและเท่าเทียมกันทัว่ ข้อ ๑๖.๑
ประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็ นองค์กร
ปกครองส่ วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์
ของประชาชนในจังหวัดนั้น

มาตรา ๗๙
รัฐต้องส่ งเสริ มและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่ วมในการสงวน
บำรุ งรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลาก
หลายทางชีวภาพอย่างสมดุล รวมทั้งมีส่วนร่ วมในการส่ งเสริ มบำรุ ง ข้อ ๘
รักษา และคุม้ ครองคุณภาพสิ่ งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ยงั่ ยืน
ตลอดจนควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุ ขภาพอนามัย
สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
มาตรา ๘๐ ข้อ ๑
รัฐต้องคุม้ ครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่ งเสริ มเสมอภาคของ (๗)
หญิงและชาย เสริ มสร้างและพัฒนาความเป็ นปึ กแผ่นของครอบครัว ข้อ
และความเข้มแข็งของชุมชน รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผูย้ ากไร้ ผู ้ ๑๐.๔
พิการหรื อทุพพลภาพและผูด้ อ้ ยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่ง ข้อ
ตนเองได้ ๑๐.๕

42
มาตรา ๘๑
รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษา
อบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา
ข้อ ๗
แห่งชาติ ปรับปรุ งการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทาง
ข้อ
เศรษฐกิจและสังคมสร้างเสริ มความรู ้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้อง
๑๑.๑
เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิ ปไตยอันมีพระมหา
ข้อ
กษัตริ ยท์ รงเป็ นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจยั ในศิลปวิทยาการ
๑๑.๓
ต่าง ๆ เร่ งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา
ประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และส่ งเสริ มภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและ
วัฒนธรรมของชาติ
ข้อ ๑
มาตร ๘๒
(๗)
รัฐต้องจัดและส่ งเสริ มการสาธารณสุ ขให้ประชาชนได้รับบริ การที่ได้
ข้อ
มาตรฐานและมีประสิ ทธิ ภาพอย่างทัว่ ถึง
๑๐.๑

ข้อ ๑
(๒)
มาตรา ๘๓ ข้อ ๑
รัฐต้องดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็ นธรรม (๓)
ข้อ
๓.๑
มาตรา ๘๔
รัฐต้องจัดระบบการถือครองที่ดินและการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม
จัดหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรมให้เกษตรกรอย่างทัว่ ถึง และรักษาผล ข้อ
ประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาดสิ นค้าเกษตรให้ได้ ๓.๑
รับผลตอบแทนสูงสุ ด รวมทั้งส่ งเสริ มการรวมตัวของเกษตรกร เพื่อ
วางแผนการเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร
ข้อ ๓๑
มาตรา ๘๕
ส่ วนที่
รัฐต้องส่ งเสริ ม สนับสนุน และคุม้ ครองระบบสหกรณ์

มาตรา ๘๖ ข้อ ๖
รัฐต้องส่ งเสริ มให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุม้ ครองแรงงานโดย

43
เฉพาะแรงงานเด็กและแรงงานหญิง จัดระบบแรงงานสัมพันธ์การ
ประกันสังคม รวมทั้งค่าตอบแทนแรงงานให้เป็ นธรรม
มาตรา ๘๗
รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรี โดยอาศัยกลไกตลาดกำกับ
ดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็ นธรรม คุม้ ครองผูบ้ ริ โภค และป้ องกัน
ข้อ
การผูกขาด ตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งยกเลิกและ
๔.๑
ละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจที่ไม่สอดคล้อง
ข้อ
กับความจำเป็ นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการแข่งขันกับ
๔.๓
เอกชน เว้นแต่มีความจำเป็ นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมัน่ คง
ของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรื อการจัดให้มีการ
สาธารณูปโภค
2. นโยบายภายใต้ การบริหารราชการแผ่ นดินของนายกรัฐมนตรีพนั ตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
2.1 นโยบายเร่ งด่วน
 ด้านการประกันสุ ขภาพทัว่ หน้า เพื่อลดรายจ่ายของประเทศและประชาชนในการ
ดูแลรักษาสุ ขภาพและเพื่อเป็ นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริ การสาธารณสุ ขที่ได้มาตรฐานอย่างทัว่
ถึงและเท่าเทียมกัน
 ด้านยาเสพติด เร่ งจัดตั้งสถานผูบำ้ บัดผูต้ ิดยาเสพติด ควบคู่ไปกับการป้ องกันและ
ปราบปราม
2.2 นโยบายเสริมสร้ างสังคมเข้ มแข็ง
 ด้านสาธารณสุ ขและสุ ขภาพ มุ่งมัน่ ที่จะสร้างระบบบริ การและคุม้ ครองสุ ขภาพเพื่อ
ให้ประชาชนไทยมีสุขภาพดีทวั่ หน้า โดยดำเนินการปฏิรูประบบสุ ขภาพเพื่อลดรายจ่ายโดยรวมด้าน
สาธารณสุ ขของประเทศและลดรายจ่ายในการดูแลรักษาสุ ขภาพของประชาชน พร้อมทั้งสร้างหลัก
ประกันและโอกาสในการเข้าถึงบริ การทางการแพทย์และสาธารณสุ ขที่ได้มาตรฐานอย่างทัว่ ถึงและ
เท่าเทียมกัน
 ด้านครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี และผูส้ ูงอายุ ซึ่งเป็ น นโยบายที่เน้น การสร้า ง
ครอบครัวให้อบอุน่ และเข้มแข็ง เป็ นหน่วยพื้นฐานในการฟื้ นฟูเศรษฐกิจ และเป็ นภูมิคุม้ กันจาก
ปัญหาสังคมแก่สมาชิกทุกวัยในครอบครัว นอกจากนั้นยังเน้นให้มีการสร้างระบบบริ การทางสัง คม
ตลอดจนส่ งเสริ มสิ ทธิ สถานภาพทางสังคม และสถานภาพทางสุ ขภาพของครอบครัว เด็ก เยาวชน
สตรี และผูส้ ูงอายุ
 ด้านการส่งเสริ มผูด้ อ้ ยโอกาส ซึ่งเน้นการสงเคราะห์และสนับสนุนการพัฒนาของผู้
พิการหรื อผูท้ ุพพลภาพ และผูด้ อ้ ยโอกาส ทั้งในด้านการศึกษาและอาชีพ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวมี
คุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถพึ่งตนเองได้

44
2.3 นโยบายการบริหารราชการแผ่ นดิน
 ด้านการบริ หารราชการโดยเร่ งการพัฒนาคุณภาพของข้าราชการทั้งในแง่ทศั นคติ และ
การบริ การแก่ประชาชน การทบทวนปรับกฎหมาย ระเบียบขั้นตอน วิธีปฏิบตั ิงาน ตลอดจนการปรับ
เปลี่ยนกระบวนการจัดทำและจัดสรรงบประมาณเพื่อให้องค์กรมีความยืดหยุน่ มีประสิ ทธิ ภาพและ
โปร่ งใส ตรวจสอบได้ และสามารถประเมินผลได้อย่างเป็ นระบบและเป็ นธรรม
2.4 นโยบายการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
 ด้านการศึกษา
รัฐบาลจะปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็ นสังคมแห่งความรู ้ อันเป็ นเงื่อนไขไปสู่ ระบบเศรษฐกิจฐาน
ความรู้ให้คนไทยทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเรี ยนรู ้และฝึ กอบรมได้ตลอดชีวิต และมี
ปัญญาเป็ นทุนไว้สร้างงานและสร้างรายได้ และนำประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม
โดยยึดหลักการศึกษาสร้างชาติ สร้างคน และสร้างงาน ดังนี้
(๑) เร่ งจัดให้มีระบบและโครงสร้างทางการศึกษาที่มีคุณภาพ เป็ นประโยชน์ต่อประชาชนทั้ง
ปวงอย่างแท้จริ ง
(๒) เน้นคุณภาพ ประสิ ทธิภาพ และความเที่ยงธรรมในการบริ หารจัดการศึกษาทุกประเภท
และทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษา
(๓) พัฒนาระบบเทคโนโลยีทางการศึกษาและเครื อข่ายสารสนเทศ เพื่อเพิม่ และกระจาย
โอกาสทางการศึกษา ให้คนไทยทั้งในเมืองและชนบท
(๔) จัดให้มีวิทยาลัยชุมชน โดยเฉพาะในจังหวัดที่ยงั ขาดแคลนสถาบันอุดมศึกษา
(๕) ส่ งเสริ มและสนับสนุนให้ทุกฝ่ ายร่ วมรับผิดชอบการจัดการศึกษาและฝึ กอบรม โดยรัฐ
เป็ นผูว้ างระบบ นโยบาย กำกับคุณภาพมาตรฐาน สนับสนุนและระดมทรัพยากร เตรี ยม
ความพร้อมให้องค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่น เอกชน เครื อข่ายครอบครัว และอื่น ๆ รวมทั้ง
การจัดการศึกษา เพื่อคนพิการหรื อทุพพลภาพ และผูด้ อ้ ยโอกาส
(๖) สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็ นศูนย์การศึกษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน
(๗) ส่ งเสริ มให้เกิดบูรณาการทางการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและกีฬา ในการให้การ
ศึกษาอบรมแก่เด็กและเยาวชน
(๘) ปฏิรูปการเรี ยนรู้ โดยยึดหลักผูเ้ รี ยนเป็ นศูนย์กลาง หลักการเรี ยนรู ้ดว้ ยตนเอง และหลัก
การเรี ยนรู้ตลอดชีวิต เน้นพลังความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนิสยั รักการอ่าน การจัดให้มีหอ้ ง
สมุด ศูนย์การเรี ยนรู้ชุมชน และสื่ อการเรี ยนรู ้ประเภทต่าง ๆ อย่างทัว่ ถึง
(๙) ส่ งเสริ มวิชาชีพครู ให้มีศกั ดิ์ศรี เป็ นที่ยอมรับนับถือ และไว้วางใจจากสาธารณชน รวม
ทั้งพัฒนาและผลิตครู ที่มีคุณภาพและคุณธรรม
(๑๐) ปรับปรุ งหลักสูตรการศึกษา เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีวินยั รักงาน และทำงานเป็ น
(๑๑) ให้โอกาสแก่ผสำ ู้ เร็ จการศึกษาภาคบังคับหรื อมัธยมปลาย ผูว้ า่ งงาน และผูส้ ู งอายุได้
ฝึ กงานอาชีพอย่างน้อย ๑ อาชีพ พร้อมทั้งส่ งเสริ มให้เป็ นผูป้ ระกอบการอิสระได้

45
(๑๒) ปฏิรูปการอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพยิง่ ขึ้น และพัฒนาถึงระดับปริ ญญาตรี เพื่อตอบ
สนองต่อภาคเกษตร อุตสาหกรรมและภาคบริ การ รวมทั้งสนับสนุนให้ผเู ้ รี ยนได้เข้าฝึ ก
ทักษะในสถานประกอบการ
 ด้านการศาสนา
(๑) ส่ งเสริ มและสนับสนุนศาสนศึกษาและศาสนทายาทเพื่อเผยแพร่ ศาสนธรรม รวมทั้ง
สนับสนุนให้มีการพัฒนาศาสนสถานให้สะอาด ร่ มเย็น สงบสุ ข เพื่อให้เป็ นประโยชน์ดา้ น
จิตใจต่อชุมชน
(๒) สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาศาสนธรรม และร่ วมประกอบพิธีกรรมทาง
ศาสนามากขึ้น โดยเฉพาะกับสมาชิกในครอบครัว
(๓) เอื้อให้ศาสนิกชนต่างศาสนาร่ วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่ วนรวม เพื่อความ
สมานฉันท์และเพื่อสันติธรรมในสังคม
 ด้านวัฒนธรรม
(๑) ส่ งเสริ มให้นกั เรี ยน นักศึกษา ได้สืบค้นและศึกษาเรื่ องราวของมรดกศิลปวัฒนธรรมไทย
เพื่อการอนุรักษ์ เผยแพร่ และสื บสานศิลปวัฒนธรรมไทย
(๒) พัฒนาแหล่งวัฒนธรรม ศิลปวัตถุ และโบราณสถาน ให้เป็ นแหล่งเรี ยนรู ้และแหล่งราย
ได้ของประชาชน
(๓) ประสานให้ประชาชนและเยาวชนมีบทบาทและกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมร่ วมกับ
สถานศึกษา ครอบครัว และชุมชน
(๔) สนับสนุนให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิดชูและเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างสม
ศักดิ์ศรี และสร้างสรรค์
2.5 นโยบายการพัฒนาแรงงาน
ด้วยตระหนักว่า ทรัพยากรมนุษย์เป็ นหัวใจสำคัญในระบบการผลิตและระบบเศรษฐกิจแผน
ใหม่รัฐบาลจึงกำหนดแนวทางการพัฒนาและยกระดับแรงงาน ดังนี้
(๑) ส่ งเสริ มให้เอกชนมีส่วนร่ วมในการพัฒนาทักษะและฝี มือแรงงาน เพื่อเพิ่มคุณภาพ
แรงงานและยกระดับมาตรฐานฝี มือแรงงาน โดยรัฐบาลจะสนับสนุนมาตรการด้านการเงิน
และการคลังเพื่อให้การพัฒนาทักษะและฝี มือแรงงานสามารถตอบสนองความต้องการของ
วิสาหกิจในแต่ละชุมชนได้อย่างเหมาะสม และให้แรงงานได้รับค่าตอบแทนที่เป็ นธรรม เพื่อ
ลดปัญหาการว่างงาน และการอพยพเข้ามาทำงานในเมือง รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นให้ดียงิ่ ขึ้น
(๒) ส่ งเสริ มมาตรการด้านการประกันสังคม ขยายขอบข่ายการให้สวัสดิการด้านแรงงาน
เพื่อให้มีการคุม้ ครองแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบอย่างเหมาะสม และให้มีระบบการ
คุม้ ครองสุ ขภาพความปลอดภัย และสิ่ งแวดล้อมในสถานประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิง่
การให้ความคุม้ ครองแรงงานเด็กและสตรี
(๓) ส่ งเสริ มให้เกิดระบบแรงงานสัมพันธ์ที่เปิ ดโอกาสให้ทุกฝ่ ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่ วมใน

46
การแก้ไข ปัญหา พัฒนา และคุม้ ครองแรงงานอย่างมีประสิ ทธิ ภาพและเป็ นธรรม
(๔) คุม้ ครองแรงงานไทยในต่างประเทศไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรี ยบจากนายหน้าจัดหางาน
และนายจ้าง
(๕) กำหนดมาตรการที่เหมาะสมสำหรับแรงงานต่างด้าว โดยคำนึงถึงความต้องการแรงงาน
ของภาคเอกชนและการรักษาความสงบเรี ยบร้อยและความมัน่ คงภายใน รวมทั้งส่ งเสริ มการ
พัฒนาแรงงานไทยขึ้นทดแทน

3. สาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสั งคมแห่ งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)


แนวคิดและปรัชญานำทาง
เป็ นแผนยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยดึ คนเป็ นศูนย์กลาง
วิสัยทัศน์
ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้การพัฒ นาอยูบ่ นพื้นฐานความสมดุลพอดี และความพอ
ประมาณอย่างมีเหตุผลนำสู่ สงั คมที่มีคุณภาพทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สามารถพึ่งตนเอง ม ี
ภูมิคุม้ กัน และรู้เท่าทันโลก
วัตถุประสงค์
1. เพื่อฟื้ นฟูเศรษฐกิจภายในให้เข้มแข็ง มีเสถียรภาพ และมีระบบภูมิคุม้ กันที่ดี
2. เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาวให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างรู ้เท่าทันโลก
3. เพื่อให้เกิดการบริ หารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกภาคส่ วน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับการเมือง
ราชการ ธุรกิจเอกชน องค์กรประชาชน ชุมชนจนถึงระดับครอบครัว
4. เพื่อแก้ปัญหาความยากจนด้วยการเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง
เป้าหมายหลัก
1. ดุลยภาพทางเศรษฐกิจ
2. การยกระดับคุณภาพชีวิต ได้แก่
o การรักษาภาวะเจริ ญพันธ์ของประชากรให้อยูใ่ นภาวะทดแทนอย่างต่อเนื่อง
o ประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป มีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่นอ้ ยกว่า 9 ปี ในปี 2549
3. ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป ไม่ต ่ำกว่าร้อยละ
50 ของกำลังแรงงานในปี 2549
4. การบริ หารจัดการที่ดี
5. การลดความยากจน
 

47
ยุทธศาสตร์ การพัฒนา
กลุ่มที่ 1 การสร้ างระบบบริหารจัดการที่ดใี ห้ เกิดขึน้ ในทุกภาคส่ วนของสั งคม
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริ หารจัดการที่ดีระบบกลไกการทำงาน องค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่น
มีขีดความสามารถใน
การจัดบริ การสาธารณะและการพัฒนารายได้

กลุ่มที่ 2 การเสริมสร้ างรากฐานของสั งคมให้ เข้ มแข็ง


ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพคนและการคุม้ ครองคนทางสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยัง่ ยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริ หารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม

กลุ่มที่ 3 การปรับโครงสร้ างทางเศรษฐกิจให้ เข้ าสู่ สมดุลและยัง่ ยืน


ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริ หารเศรษฐกิจส่ วนรวม
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
เป้าหมายยุทธศาสตร์ การพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริ หารจัดการที่ดี
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพคน และการคุม้ ครองทางสังคม

การพัฒนาคุณภาพคน
1. ขยายการประกันสุ ขภาพให้ครอบคลุมอย่างทัว่ ถึง และเป็ นธรรม
2. ลดอัตราการเจ็บป่ วยด้วยสาเหตุที่ป้องกันได้
3. ให้ประชาชนมีการออกกำลังกาย หรื อเล่นกีฬาเพิ่มขึ้น
4. ให้ประชาชนมีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ต ่ำกว่า 9 ปี ในปี 2549
5. เพิ่มคุณภาพการเรี ยนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับให้ได้มาตรฐาน
6. ยกระดับการศึกษาของกำลังแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป ไม่ต ่ำกว่า
ร้อยละ 50 ของกำลังแรงงานในปี 2549
7. เพิ่มโอกาสการมีงานทำในประเทศไม่ต ่ำกว่า 230,000 คนต่อปี

การสร้ างความมัน่ คงทางสังคมและความเข้ มแข็งของครอบครัว


1. ขยายโอกาสเข้าถึงบริ การทางสังคมของกลุ่มคนยากจนและผูด้ อ้ ยโอกาสให้ครอบคลุมทุกคน
2. ลดสัดส่ วนที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น คดียาเสพติด คดีอาชญากรรม
เป็ นต้น

48
3. เพิม่ แหล่งข้อมูลข่าวสารที่ดูแลโดยชุมชนให้ทวั่ ถึง

4. สรุ ปสาระสำคัญแผนพัฒนาสุ ขภาพแห่ งชาติ ในช่ วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสั งคมแห่ งชาติ ฉบับ


ที่ 9 พ.ศ. 2545-2549

แนวคิดหลักของการพัฒนาสุ ขภาพ
1. สุ ขภาพคือสุ ขภาวะ เป็ นแนวคิดที่มุ่งเน้นการสร้างสุ ขภาพมากกว่าการซ่อมสุ ขภาพโดยนิยาม
“สุ ขภาพ” คือ สุ ขภาวะที่สมบูรณ์ท้ งั ทางกาย ทางใจ ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ ที่เชื่อม
โยงกันอย่างบูรณาการ
2. พัฒนาสุ ขภาพทั้งระบบ เพื่อให้เชื่อมโยงถึงเหตุปัจจัย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
วัฒนธรรม และสิ่ งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่ วมอย่างแท้จริ งจากทุกภาคส่ วน
 
วิสัยทัศน์
คนในสังคมไทยทุกคนมีหลักประกันที่จะมีชีวิตอย่างมีสุขภาวะ และเข้าถึงบริ การสุ ขภาพที่มี
คุณภาพอย่างเสมอภาค รวมทั้งอยูใ่ นครอบครัว ชุมชน และสังคม ที่มีความพอเพียงทางสุ ขภาพ ม ี
ศัก ยภาพ มีก ารเรี ย นรู้ และมีส่ ว นร่ ว มในการจัด การสุ ข ภาพ โดยสามารถใช้ป ระโยชน์จ ากทั้ง
ภูมิปัญญาสากล และภูมิปัญญาไทยได้อย่างรู ้เท่าทัน
 
พันธกิจหลัก : การระดมพลังทั้งสังคมเพือ่ สร้ างสุ ขภาพ
ระดมพลังทั้งสังคมเพื่อร่ วมสร้างสุ ขภาพ โดยจะต้องทำให้เกิดสำนึกสุ ขภาพในสังคมทุกส่ วน
อย่างัว่ ถึง และเปิ ดโอกาสให้ส่ วนต่างๆ ในสังคมมีบทบาท และได้ใช้ศกั ยภาพของตนเองในการ
พัฒนาเพื่อบรรลุสู่สงั คมแห่งสุ ขภาวะ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างสุ ขภาพเชิงรุ ก ที่มุ่งการสร้างเสริ มสุ ขภาพดี และการคุม้ ครองความปลอดภัยของ
ชีวิต และสุ ขภาพ ทั้งด้านความปลอดภัย และความมัน่ คงของระบบอาหาร ความปลอดภัย
ด้านสิ่ งแวดล้อม และการประกอบอาชีพ การคุม้ ครองผูบ้ ริ โภค และการป้ องกันควบคุมโรค
2. เพื่อสร้างหลักประกันที่ช่วยคุม้ ครองสุ ขภาพของประชาชน จากผลกระทบทางเศรษฐกิจ
สังคมและการพัฒนา และการสร้างหลักประกันในการเข้าถึงบริ การสุ ขภาพที่มีคุณภาพอย่าง
ทัว่ ถึงเสมอภาค และเป็ นธรรม โดยเฉพาะคนจน และผูด้ อ้ ยโอกาสทางสังคม
3. เพื่อสร้างความเข้มแข็งของปั จเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม ให้มีศกั ยภาพในการ
ดูแลและสร้างเสริ มสุ ขภาพ มีการเรี ยนรู ้ มีส่วนร่ วมในการสร้าง และจัดการระบบสุ ขภาพ

49
4. เพื่อสร้างกลไกและมาตรการในการแสวงหา และเพื่อศักยภาพในการคัดกรอง การใช้ความรู ้
เพื่อการพัฒนาสุ ขภาพ โดยเน้นการวิจยั และพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาสากล
และภูมิปัญญาไทย อย่างรู้เท่าทันเพื่อการพึ่งพาตนเองด้านสุ ขภาพ
 
เป้าหมายการพัฒนา แผนพัฒนาสุ ขภาพแห่ งชาติ
1. การสร้างเสริ มสุ ขภาพและการป้ องกันโรค
2. คนไทยทุกคนมีหลักประกันสุ ขภาพ
3. การสร้างความเสมอภาคทางด้านสุ ขภาพ
4. การปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างขององค์กร กลไก ของรัฐในการพัฒนาคุณภาพ
5. การสนับสนุนการกระจายอำนาจด้านสุ ขภาพ
6. การพัฒนาศักยภาพด้านสุ ขภาพของประชาชน ครอบครัว ชุมชน และประชาชน
7. การพัฒนาสถานบริ การสาธารณสุ ขระดับต้นทั้งเขตเมือ งและชนบท โดยเชื่อมโยงกับ ระบบ
บริ การขั้นสูง
8. การพัฒนาคุณภาพสถานบริ การสาธารณสุ ข
9. การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพทางปั ญญาของระบบสุ ข ภาพโดยเน้น การแพทย์แผนไทย
สมุนไพร และการแพทย์ทางเลือกทั้งจากภูมิปัญญาไทยและสากล
10. การสนับสนุนอุตสาหกรรมสุ ขภาพ

ยุทธศาสตร์ การพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 เร่ งการสร้างสุ ขภาพเชิงรุ ก
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างหลักประกันการเข้าถึงบริ การสุ ขภาพถ้วนหน้า
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ปฏิรูประบบโครงสร้างและกลไกการบริ หารจัดการระบบสุ ขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมเพื่อคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริ หารจัดการความรู ้ และภูมิปัญญาเพื่อสุ ขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนากำลังคนด้านสุ ขภาพเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและระบบสุ ขภาพใหม่

5. วิสัยทัศน์ และทิศทางการพัฒนา แผน 9 ของกระทรวงสาธารณสุ ข


วิสัยทัศน์
กระทรวงสาธารณสุ ขเป็ นองค์กรหลักในการกำหนดนโยบายและมาตรฐาน กำกับ ดูแล
สนับสนุน และประสานงานกับทุกภาคในสังคม ในการพัฒนาระบบสุ ขภาพของชาติให้เป็ นไปตาม
แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ

50
1. พัฒนาระบบและกลไกการบริ หารจัดการด้า นสุ ขภาพ เพื่อให้มีประสิ ทธิ ภาพทันกับการ
เปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ
2. ติดตาม กำกับ ดูแลระบบสุ ขภาพในภาพรวม และการสร้างกลไกการมีส่วนร่ วมจากทุกภาค
ส่ วน เพื่อนำไปสู่ การกำหนดนโยบายสุ ขภาพ
3. ออกกฎหมายและกำหนดมาตรฐานที่จำ เป็ น รวมทั้งการกำกับดูแลและพัฒนาคุณภาพให้
เป็ นไปตามมาตรฐาน
4. จัดบริ การสุ ขภาพเฉพาะทาง เฉพาะสาขา โดยเชื่อมโยงกับเครื อข่ายบริ การสุ ขภาพทุกระดับ
อย่างต่อเนื่อง
5. สร้างระบบการป้ องกันและควบคุมโรคและภัยทางสุ ขภาพที่มีประสิ ทธิ ภาพ
6. ส่ งเสริ มทุกภาคส่ วนของสังคม ในการมีส่วนร่ วมสร้างเสริ มสุ ขภาพและพัฒ นาศักยภาพ
ของประชาชนทางด้านพฤติกรรมและสำนึกทางสุ ขภาพ
7. ประสานเพื่อกำหนดนโยบายทิศทางการวิจยั และการบริ หารจัดการงานวิจยั ด้านสุ ขภาพ
เพื่อตอบสนองหรื อเอื้อประโยชน์ต่อระบบสุ ขภาพ
 
เป้าหมาย
1. ปรับปรุ งระบบ ขนาดและโครงสร้างองค์กร กลไกให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจใหม่
2. คนไทยทุกคนมีหลักประกันสุ ขภาพ
3. ระบบบริ การสาธารณสุ ขมีศกั ยภาพสู ง
4. สถานบริ การสาธารณสุ ขมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน
5. ประชาชน ครอบครัว ชุมชน ประชาสังคม มีศกั ยภาพด้านสุ ขภาพ
6. เป้ าหมายด้านผลกระทบของการพัฒนาสุ ขภาพ
7. เป้ าหมายการลดปัญหาสุ ขภาพ
8. เป้ าหมายการส่ งเสริ มสุ ขภาพ
6. สาระสำคัญของแผนพัฒ นาสุ ข ภาพจิต ตามแผนพัฒ นาสุ ขภาพแห่ ง ชาติ ในช่ ว งแผนพัฒ นา
เศรษฐกิจ และสังคมแห่ งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)
 
วิสัยทัศน์
ประชาชนมีความตระหนักในการดูแลสุ ขภาพจิตของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้ รวมทั้ง
สามารถเข้าถึงบริ การสุ ขภาพจิตที่มีมาตรฐานอย่างเสมอภาคและเป็ นธรรม
พันธกิจ
ผลิต พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู ้ เทคโนโลยีดา้ นสุ ขภาพจิตเพื่อให้บริ การได้มาตรฐาน ม ี
คุณภาพ มีความเสมอภาค เป็ นธรรม ทันต่อสถานการณ์ อันส่ งผลให้ประชาชนมีความตระหนักและ
สามารถดูแลสุ ขภาพจิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
วัตถุประสงค์

51
เพื่อลดอัตราป่ วย และปัญหาทางสุ ข ภาพจิต ของประชาชน และเพื่อ ให้ประชาชนเข้า ถึง
บริ การสุ ขภาพจิตอย่างทัว่ ถึงและเป็ นธรรม
 
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การป้ องกันและแก้ไขปั ญหายาเสพติดตามนโยบายรัฐบาล
o ส่ งเสริ มความรู้ ป้ องกันการใช้ยาเสพติด บำบัดรักษาและฟื้ นฟูผตู ้ ิดยาเสพติด
ยุทธศาสตร์ที่ 2   การสร้างระบบการส่ งผ่านความรู ้สุขภาพจิตแก่ประชาชน
o พัฒนารู ปแบบและระบบการสื่ อสารข้อมูลด้า นสุ ขภาพจิตให้ประชาชนในวง
กว้างในรู ปแบบกลยุทธ์การตลาดอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 3   การพัฒนาองค์ความรู ้ดา้ นสุ ขภาพจิต
o พัฒนาองค์ค วามรู ้ด า้ นสุ ข ภาพจิต เช่นสนับ สนุน ส่ งเสริ ม การศึกษาและวิจ ยั
พัฒนา
o เป็ นศูนย์กลางองค์ความรู ้ดา้ นสุ ขภาพจิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้
ยุทธศาสตร์ที่ 4   การพัฒนาเครื อข่ายสุ ขภาพจิตในชุมชน
o สร้างกลไกการมีส่วนร่ วมของประชาชนและองค์กรในชุมชน
o ส่ งเสริ มบทบาทของเครื อข่ายภาครัฐและเอกชนในการดำเนินการด้านสุ ขภาพ
จิต
ยุทธศาสตร์ที่ 5    การพัฒนาระบบสุ ขภาพจิต
o บูรณาการงานสุ ขภาพจิตสู่ ระบบงานต่างๆ ทั้งในส่ วนกลางและส่ วนภูมิภาค
o พัฒ นาคุณ ภาพและหลักประกัน ในการบริ การสุ ข ภาพจิต ของสถานบริ การ
สาธารณสุ ข
ยุทธศาสตร์ที่ 6    การพัฒนาบุคลากรด้านสุ ขภาพจิต
o พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุ ขภาพจิตให้มีความรอบรู ้ และมีความสุ ขในการ
ปฏิบตั ิงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 7    การพัฒนาระบบบริ หารจัดการองค์กร
o ปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูประบบราชการ เช่นให้
เอกชนเข้ามามีส่วนร่ วมดำเนินงานบางส่ วน
o พัฒนาระบบการจัดการด้านข้อมูลข่าวสารที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินงาน
ระดับการบรรลุวตั ถุประสงค์ในภาพรวม (Overall Gold Attainment)
Item รหัส ดัชนี / เครื่องชี้วดั เป้าหมาย แหล่งข้ อมูล
1  OG1  ลดอัตราป่ วยด้วยโรคจิตของ  ลดอัตราป่ วยด้วยโรคจิตของประชาชน  ผลสำรวจความชุกโรคจิต
ประชาชนไทย ไทยลงจากเดิมร้อยละ 1.8 ให้เหลือไม่ ของประชาชนไทย
เกิน ร้อยละ 1.7 เมื่อสิ้ นแผนฯ 9

52
2  OG2  ลดอัตราป่ วยด้วยภาวะ  ลดอัตราป่ วยด้วยภาวะปัญญาอ่อนของ  ผลสำรวจความชุกภาวะ
ปัญญาอ่อนของประชาชน ประชาชนลดลงจากเดิมร้อยละ 1.3 ให้ ปัญญาอ่อนของประชาชน
ไทย เหลือไม่เกินร้อยละ 1.2 เมื่อสิ้ นแผนฯ 9 ไทย
3  OG3  ลดปัญหาความเครี ยดของ  ลดปัญหาความเครี ยดของประชาชนลง  ผลสำรวจภาวะ
ประชาชน จากเดิมร้อยละ 57.8 ให้เหลือไม่เกิน ร้อย ความเครี ยดของประชาชน
ละ 50 เมื่อสิ้ นแผนฯ 9
4  OG4  ลดปัญหาการพยายามฆ่าตัว  ลดปัญหาการพยายามฆ่าตัวตายหรื อการ  ผลสำรวจความชุกปัญหา
ตายหรื อการฆ่าตัวตายของ ฆ่าตัวตายของประชาชนลงจากเดิม 35.2 การพยายามฆ่าตัวตายหรื อ
ประชาชน ต่อแสนประชากร ให้เหลือไม่เกิน 33.52 การฆ่าตัวตายของ
ต่อแสนประชากร เมื่อสิ้ นแผนฯ 9 ประชาชน
5  OG5  ลดปัญหาการติดสารเสพติด  ลดปัญหาการติดสารเสพติดของ  ผลสำรวจปัญหาการติด
ของประชาชน ประชาชน จากเดิม ร้อยละ 5.6 ให้เหลือ สารเสพติดของประชาชน
ไม่เกิน ร้อยละ 5.3 เมื่อสิ้ น แผนฯ 9
6  OG6  ประชาชนมีความสุ ขในการ  ประชาชน อย่างน้อยร้อยละ 80 มีความ  ผลสำรวจภาวะความสุข
ดำรงชีวิตในสังคมไทย สุ ขในการดำรงชีวิตในสังคมไทย ของประชาชน
7  OG7  สถานบริ การสาธารณสุ ขมี  สถานบริ การสาธารณสุ ขมีบริ การ  ผลสำรวจการบริ การ
บริ การสุขภาพจิตที่มีคุณภาพ สุ ขภาพจิตที่มีคุณภาพตามเกณฑ์แต่ละ สุ ขภาพจิตของสถาน
ตามเกณฑ์แต่ละระดับ ระดับ เมื่อสิ้ นแผนฯ 9 ดังนี้ บริ การสาธารณสุ ข
1) สถานบริ การสาธารณสุ ขระดับ
จังหวัด(รพศ./ รพท.) มีการบริ การ
สุ ขภาพจิตทั้งผูป้ ่ วยนอกและผูป้ ่ วยใน
อย่างน้อย 1 แห่ง /จังหวัด
2)สถานบริ การสาธารณสุ ขระดับพื้น
ฐาน(รพช./สอ.) มีบริ การสุ ขภาพจิตตาม
เกณฑ์ อย่างน้อย ร้อยละ 50

Item รหัส ดัชนี / เครื่องชี้วดั เป้าหมาย แหล่งข้ อมูล


8  OC1  ร้อยละของผลงานศึกษา/  ร้อยละ 80 ของผลงานศึกษา/วิจยั /องค์  ผูใ้ ช้ผลงานศึกษา/วิจยั /
วิจยั /องค์ความรู้/เทคโนโลยี ความรู้ดา้ นสุขภาพจิตสามารถนำไปใช้ องค์ความรู้/เทคโนโลยี
ด้านสุขภาพจิตสามารถนำไป ให้เกิดประโยชน์แก่บุคลากรแล ะหรื อ ด้านสุขภาพจิต
ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ ประชาชน
บุคลากรและหรื อประชาชน
9  OP1  จำนวนองค์ความรู้/  องค์ความรู้/เทคโนโลยี/ผลงานศึกษา/  รายงานผลการดำเนินงาน
เทคโนโลยี/ผลงานศึกษา/ วิจยั ด้านสุ ขภาพจิต จำนวน 29 เรื่ อง
วิจยั ด้านสุ ขภาพจิต
10  OC2  ร้อยละของประชาชนที่เจ็บ  1) ประชาชนที่เจ็บป่ วยด้วยโรคจิตได้รับ  สสจ.ทุกแห่ง/ส่ วนข้อมูล
ป่ วยด้วยโรค/ปัญหาทางด้าน บริ การรักษาพยาบาลเพิม่ ขึ้นจากร้อยละ สนผ.

53
สุ ขภาพจิตและจิตเวชต่าง ๆ 23 เป็ นร้อยละ 30 2) ประชาชนที่มีภาวะ
ได้รับการบริ การเพิ่มขึ้น พิการทางสมอง(ปัญญาอ่อน) ได้รับ
บริ การรักษาพยาบาลเพิม่ ขึ้นจากร้อยละ
4 เป็ นร้อยละ 10 3) ประชาชนที่เป็ นโรค
ซึมเศร้าได้รับบริ การรักษาพยาบาลเพิ่ม
ขึ้นจากร้อยละ 1.7 เป็ นร้อยละ 5 4)
ประชาชนที่เป็ นโรควิตกกังวลได้รับ
บริ การรักษาพยาบาลเพิม่ ขึ้นจากร้อยละ
17.38 เป็ นร้อยละ 40
11  OP2  อัตราการรับผูป้ ่ วยนอก  อัตราการรับผูป้ ่ วยนอกจิตเวชเข้ารับการ  รายงานการส่ งต่อผูป้ ่ วย
จิตเวชเข้ารับการรักษาต่อ รักษาต่อ (รับ Refer) จากสถานบริ การ นอกของหน่วยงานบริ การ
(รับ Refer)จากสถานบริ การ สาธารณสุขทัว่ ไปตามระบบ เพิ่มขึ้นเป็ น ในสังกัดกรมสุ ขภาพจิต
สาธารณสุขทัว่ ไปตามระบบ ร้อยละ 5 ของผูป้ ่ วยนอกจิตเวชทั้งหมด ทุกแห่ง
เพิ่มขึ้น
12  OP3  อัตราการรับผูป้ ่ วยนอก  อัตราการรับผูป้ ่ วยนอกจิตเวชแบบ  รายงานผูป้ ่ วยนอกจิตเวช
จิตเวชแบบ walk-in เข้ารับ walk-in เข้ารับการรักษาในสถานบริ การ นอกหน่วยงานสังกัดกรม
การรักษาในสถานบริ การ สังกัดกรมสุ ขภาพจิตลดลงร้อยละ 5 ของ สุ ขภาพจิต
สังกัดกรมสุ ขภาพจิตลดลง ผูป้ ่ วยนอกจิตเวชแบบ walk-in ในปี ก่อน
13  OP4  จำนวนผูป้ ่ วยในจิตเวชทีเ่ ข้ารับ  ผูป้ ่ วยในจิตเวชได้รับการรักษาพยาบาล  รายงานผูป้ ่ วยในจิตเวช
การรักษาพยาบาลทางจิตเวช ทางจิตเวช เพิม่ ขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี

Item รหัส ดัชนี / เครื่องชี้วดั เป้าหมาย แหล่งข้ อมูล


14  OP5  อัตราการส่ งผูป้ ่ วยในจิตเวช  อัตราการส่ งผูป้ ่ วยในจิตเวชเพื่อไปรักษา  รายงานการส่ งต่อผูป้ ่ วย
เพื่อไปรักษาต่อ (ส่ ง ต่อ(ส่ ง Refer)ในสถานบริ การ ในจิตเวชของหน่วยงาน
Refer)ในสถานบริ การ สาธารณสุขตามระบบ เพิ่มขึ้นเป็ นร้อย สังกัดกรมสุ ขภาพจิต
สาธารณสุข ตามระบบเพิม่ ละ 7 ของผูป้ ่ วยนอกจำหน่าย
ขึ้น
15  OP6  ลดอัตราผูป้ ่ วยในจิตเวชกลับ  ลดอัตราผูป้ ่ วยในจิตเวชกลับเข้ามารับ  รายงานผลการติดตามผู้
เข้ามารับการรักษาซ้ำ การรักษาซ้ำภายใน 3 เดือน ป่ วยในจิตเวชในชุมชนที่
ส่ งกลับไปดูแลในชุมชน
แล้วกลับมารักษาซ้ำ
16  OP7  จำนวนสถานบริ การใน  สถานบริ การในสังกัดกรมสุ ขภาพจิตทุก  หน่วยงานบริ การใน

54
สังกัดกรมสุ ขภาพจิตที่มี แห่งมีคุณภาพ ตามระบบมาตรฐานการ สังกัดกรมสุ ขภาพจิต
คุณภาพตามระบบมาตรฐาน พัฒนาและรักษาคุณภาพ โรงพยาบาล
การพัฒนาและรับรอง เมื่อสิ้ นแผนฯ 9
คุณภาพโรงพยาบาล
17  OP8  จำนวนบุคลากรภายใน/  บุคลากรภายใน/ภายนอกและประชาชน  รายงานผลการดำเนินงาน
ภายนอกและประชาชนที่ได้ ที่ได้รับความรู้ดา้ นสุขภาพจิต จำนวน
รับความรู้ดา้ นสุขภาพจิต 17,090 คน เมื่อสิ้ นแผนฯ 9
18  OP9  จำนวนพื้นที่ที่ดำเนินงานส่ ง  มีการดำเนินงานส่ งเสริ ม/ป้ องกันปัญหา  รายงานผลการดำเนินงาน
เสริ ม/ป้ องกันปัญหาสุ ขภาพ สุ ขภาพจิตแก่ประชาชนในพื้นที่ 201
จิตแก่ประชาชน แห่งทัว่ ประเทศ เมื่อสิ้ นแผนฯ 9
19  OC3  ร้อยละของผูร้ ับบริ การที่มี  ร้อยละ 80 ของผูร้ ับบริ การมีความพึง  ผูป้ ่ วยนอกจิตเวช/ญาติที่
ความพึงพอใจในระดับมาก พอใจในระดับมากต่อการบริ การสุ ขภาพ รับบริ การในโรงพยาบาล
ต่อการบริ การสุ ขภาพจิตของ จิตของสถานบริ การสังกัดกรมสุ ขภาพจิต จิตเวชสังกัดกรมสุ ขภาพ
สถานบริ การสังกัดกรม จิต
สุ ขภาพจิต
20  OC4  ร้อยละของประชาชนที่  ร้อยละ 90 ของประชาชนที่สามารถ  สุ่ มสำรวจประชาชน
สามารถจัดการกับปัญหา จัดการกับปัญหาความเครี ยดของตนเอง ทัว่ ไป
ความเครี ยดของตนเองและ และครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
ครอบครัวได้

Item รหัส ดัชนี / เครื่องชี้วดั เป้าหมาย แหล่งข้ อมูล


21  OC5  ร้อยละของสถานบริ การ  สถานบริ การสาธารณสุ ขในระดับ รพศ./  รพศ./รพท./รพช.
สาธารณสุขในระดับ รพท./รพช. มีการบริ การให้การปรึ กษา
รพศ./รพท./รพช.ที่มีบริ การ ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กรมสุ ขภาพจิต
ให้การปรึ กษาที่ได้มาตรฐาน กำหนด คือ - รพศ. ร้อยละ 100 - รพท.
ตามเกณฑ์ที่กรมสุ ขภาพจิต ร้อยละ 100 - รพช. ร้อยละ 50
กำหนด
22  OP10  จำนวนวิทยากร/บุคลากร/  เครื อข่ายวิทยากร/บุคลากร/ผูร้ ับผิดชอบ  สสจ.ทุกแห่ง
ผูร้ ับผิดชอบงานการให้ งานการให้บริ การปรึ กษาได้รับการ
บริ การปรึ กษาที่ได้รับการ พัฒนาจำนวน 10,975 คน เมื่อสิ้ นแผนฯ
พัฒนา 9
23  OC6  ร้อยละของประชาชนที่เสพ  ประชาชนที่เสพสารเสพติดได้รับบริ การ  สสจ.ทุกแห่ง/ส่ วนข้อมูล
สารเสพติดได้รับการบริ การ รักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.8 เป็ น สนผ. และผลสำรวจความ
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 ชุกประชาชนที่เสพสาร

55
เสพติด
24  OP1  ร้อยละของผูป้ ่ วยนอกที่ติด  ร้อยละ 50 ของผูป้ ่ วยนอกที่ติดสารเสพ  โรงพยาบาลจิตเวชสังกัด
1 สารเสพติดได้รับการดูแล ติดได้รับการดูแลและฟื้ นฟูทางจิตสังคม กรมสุ ขภาพจิต 12 แห่ง
และฟื้ นฟูทางจิตสังคมบำบัด บำบัดจนครบตามโปรแกรมการรักษา
จนครบตามโปรแกรมการ
รักษา
25  OP1  ร้อยละของผูป้ ่ วยในที่ติด  ร้อยละ 50 ของผูป้ ่ วยในที่ติดสารเสพติด  โรงพยาบาลจิตเวชสังกัด
2 สารเสพติดได้รับการดูแล ได้รับการดูแลและฟื้ นฟูทางจิตสังคม กรมสุ ขภาพจิต 12 แห่ง
และฟื้ นฟูทางจิตสังคมบำบัด บำบัดจนครบตามโปรแกรมการรักษา
จนครบตามโปรแกรมการ
รักษา

7. สาระสำคัญของแผนแม่ บทกระทรวงยุติธรรม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545-2549


วิสัยทัศน์
ในปี พ.ศ.2555 กระทรวงยุติธรรมเป็ นองค์กรหลักของกระบวนการยุติธรรมในการอำนวย
ความยุติธรรม คุม้ ครองสิ ทธิเสรี ภาพของประชาชน ป้ องกันอาชญากรรม บำบัดแก้ไขฟื้ นฟูผกู ้ ระทำ
ผิด และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งเป็ นศูนย์กลางในการ
พัฒ นากฎหมายให้ท นั ต่อสภาวการณ์และเป็ นมาตรฐานสากล ด้ว ยการบริ ห ารจัด การที่เ ป็ นเลิศ
โปร่ งใส และตรวจสอบได้ โดยเน้นการประสานความร่ วมมือกับองค์กรต่างๆในสังคมและการมี
ส่ วนร่ วมของประชาชน

กลุ่มงานหลัก
กลุ่มงานหลักที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างและการบริ หารจัดการ
กลุ่มงานหลักที่ 2 การบริ หารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลในกระบวนการยุติธรรม
กลุ่มงานหลักที่ 3 การวิจยั และพัฒนาระบบกฎหมายและระบบงานยุติธรรม
กลุ่มงานหลักที่ 4 การพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ
กลุ่มงานหลักที่ 5 การส่ งเสริ มบทบาท ประสานความร่ วมมือและเสริ มสร้างความรู ้ความเข้าใจใน
กระบวนการยุติธรรม
กลุ่มงานหลักที่ 6 การคุม้ ครองสิ ทธิและช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย
กลุ่มงานหลักที่ 7 การพัฒนางานป้ องกันอาชญากรรม การบำบัดรักษา แก้ไขฟื้ นฟู และสงเคราะห์ผู ้
กระทำผิด และผูต้ ิดยาเสพติด
กลุ่มงานหลักที่ 8 การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอื่นและการหันเหคดีออกจากกระบวนการยุติธรรม

8. สาระสำคัญแผนพัฒนางานสวัสดิการสั งคมและสั งคมสงเคราะห์ แห่ งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2545 -


2549

56
วิสัยทัศน์
ประชาชนทุก คนได้ร ับ การคุม้ ครองสิ ท ธิ แ ละเข้า ถึง ระบบการคุม้ ครองทางสัง คมที่ม ี
ประสิ ทธิภาพ ได้มาตรฐานอย่างทัว่ ถึง เสมอภาคและเป็ นธรรม โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรี คุณธรรม ความ
โปร่ งใส ภูมิปัญญาท้องถิ่น การมีส่วนร่ วม การบูรณาการทางสังคม และการพัฒนาที่ยงั่ ยืน

วัตถุประสงค์
2. เพื่อส่ งเสริ มและพัฒนาระบบความมัน่ คงทางสังคม ตลอดจนปฏิรูปการบริ หารจัดการ รวม
ทั้งพัฒนาวิธีการและมาตรฐานการปฏิบตั ิงานสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้สามารถดำเนินการ
คุม้ ครองทางสังคมแก่ประชาชนได้อย่างทัว่ ถึงและมีประสิ ทธิ ภาพ
3. เพื่อส่ งเสริ มและสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงและสามารถตรวจสอบระบบบริ การทางสังคม
4. เพื่อส่ งเสริ มและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคประชาสังคม องค์การธุรกิจ องค์กรปกครอง
ส่ วนท้องถิ่น และสถาบันทางสังคม
5. เพื่อ ส่ ง เสริ ม และสนับ สนุน การพัฒ นาบุค ลากรและอาสาสมัค ร ในการปฏิบ ตั ิง านด้า น
สวัสดิการสัง คม และสังคมสงเคราะห์ให้เพียงพอ พัฒนาคุณภาพในการปฏิบตั ิงานให้ได้
มาตรฐาน การให้มีระบบตรวจสอบและควบคุมจรรยาบรรณ รวมทั้งการพัฒนาวิธีการทาง
สังคมสงเคราะห์ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาต่างๆของสังคม

เป้าหมาย
1. ขยายระบบความมัน่ คงทางสังคมให้ได้มาตรฐานและครอบคลุมประชาชนมากขึ้น
2. มีจำนวนหน่วยงานทั้งภาครัฐบาล ภาคประชาสังคม องค์การธุรกิจ องค์การปกครองส่ วน
ท้องถิ่น และสถาบันสังคม ตลอดจนประชาชน บุคลากร และอาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่ วม
ในงานด้านสวัสดิการสังคม และสังคมสงเคราะห์มากขึ้น
3. มีเครื อข่ายการประสานงานด้านสวัสดิการสังคมอย่างเป็ นระบบ

ยุทธศาสตร์ การพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพิทกั ษ์คุม้ ครองสิ ทธิ บุคคล ครอบครัว กลุ่มและชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบกฎหมาย เพื่อการคุม้ ครองทางสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่ วมของภาคประชาสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์พฒั นาการบริ หารจัดการ

การแปลงแผนไปสู่ การปฏิบัติและติดตามผล
o ให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ องค์ความรู ้และประชาสัมพันธ์ ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาค
เอกชน และองค์การปกครองส่ วนท้องถิ่นได้รับทราบ

57
o ส่ งเสริ มให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานฝึ กอบรมต่างๆและทุกภาคส่ วนเข้ามามีส่วนร่ วมใน
กระบวนการแปลงแผนงาน
o จัดให้มีหน่วยงานเฉพาะด้านเพื่อทำหน้าที่เผยแพร่ รวมทั้งการบริ หารจัดการเพื่อให้ดำเนิน
งานตามแผนฯ เพื่อตอบสนองต่อการป้ องกัน แก้ไขปั ญหา และพัฒนาสังคม
o ให้รัฐบาลสนับสนุนนโยบายในการปฏิบตั ิงานตามแนวทาง และมาตรการหลัก
o ให้หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์การปกครองส่ วนท้องถิ่น ตลอดจนองค์กร
ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนปฏิบตั ิการในทุกระดับรองรับ
o ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการพลเรื อน และสำนักงบประมาณให้การสนับสนุนและดำเนินการตามแผนฯ
o ให้ความสำคัญกับการติดตามผล และการประเมินผลการพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วดั
o การจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบตั ิงานตามแผนในระยะครึ่ งแผน และเมื่อสิ้ นสุ ดแผน
โดยมอบให้สถาบันภายนอกเป็ นผูป้ ระเมินผล

สถานการณ์ และแนวโน้ มของการดำเนินงานสุ ขภาพจิต


1. สถานการณ์ ของปัจจัยแวดล้อมทีม่ ีผลต่ อสุ ขภาพจิต
1.1 โครงสร้ างประชากร
โครงสร้างประชากรมีการเปลี่ยนแปลงทำให้สดั ส่ วนของประชากรวัยเด็กอายุ 0-14 ปี มี
แนวโน้มลดลง แต่มีสดั ส่ วนเพิ่มขึ้นในวัยแรงงาน และผูส้ ู งอายุ ประชากรวัยแรงงานอายุ 13 ปี ขึ้นไป
เพิม่ ขึ้นจาก 44 ล้านคนในปี 2537 เป็ น 47.2 ล้านคนปี 2541 (ร้อยละ 77.1) ของประชากรทั้งหมดสัดส่วน
ผูส้ ู งอายุต่อประชากรทั้งหมดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.6 ในปี 2541 เป็ นร้อยละ 9 ในปี 2543 เป็ นจำนวน
5.6 ล้านคน และเป็ น 7.4 ล้านคนใน 10 ปี ข้างหน้า
1.2 เศรษฐกิจ
ในปี 2540 เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ เศรษฐกิจถดถอยอย่างรุ นแรง ทำให้อตั ราการเจริ ญ
เติบโตทางเศรษฐกิจลดลง ส่ งผลต่อประชาชนในเรื่ องความเป็ นอยูแ่ ละการมีงานทำ มีผถู ้ ูกปลดจาก
งาน เกิดภาวะการว่างงานทำให้รายได้ไม่พอรายจ่าย กิจการขาดทุน ประชาชนเกิดความเครี ยด และ
ความคิดฆ่าตัวตายสูงขึ้น นอกจากนี้ยงั ส่ งผลต่อแรงงานเด็กคือเด็กที่ถูกปลดออกจากงานต้องลดราย
จ่ายด้วยการลดค่าอาหารเช่น กินอาหารกึ่งสำเร็ จรู ป กินขนมราคาถูก กินในปริ มาณที่ลดลง ทำให้มี
ภาวะโภชนาการไม่ดี นอกจากนี้ยงั มีปัญหาสุ ขภาพจิตอันเนื่องมาจากความเครี ยด และความไม่พร้อม
อันเนื่องจากสภาพการทำงานด้วย
1.3 การศึกษา
 ระดับการศึกษาของประเทศไทยมีแนวโน้มสู งขึ้น แต่ลดลงเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
เด็กที่ไม่มีโอกาสเรี ยนต่อจะเข้าสู่ ระบบแรงงาน เนื่องจากกฎหมายแรงงานห้ามเด็กอายุต ่ำกว่า 15 ป ี

58
เข้าทำงาน จึงเป็ นการเข้าสู่ ระบบแรงงานอย่างผิดกฎหมาย เด็กถูกล่อลวงเข้าสู่ อาชีพไม่สุจริ ตหรื อ
อาชีพพิเศษ เด็กกลุ่มนี้ไม่มีความรู้เพียงพอที่จะดูแลสุ ขภาพและปกป้ องคุม้ ครองตนเองจากการทำงาน
ทำให้ได้รับความเจ็บป่ วย หรื อบาดเจ็บจากการทำงานเพิม่ ขึ้น และอาจรุ นแรงถึงขั้นพิการ หรื อตายได้
 การจัดการเรี ยนการสอนเน้นการท่องจำเนื้อหามากกว่าการสอนให้รู้จกั คิดและแก้
ปัญหาและค้นคว้าความรู้ดว้ ยตัวเอง ไม่ได้สร้างคนให้คิดเป็ นทำเป็ น และมีคุณธรรมจริ ยธรรมเท่าที่
ควร อาจส่ งผลให้นกั เรี ยนถูกชักจูงไปในทางที่ผดิ มีขอ้ จำกัดในการกลัน่ กรองข้อมูล ข่าวสารอย่างรู ้
เท่าทัน เกิดพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่อการมีสุขภาพที่พึงประสงค์เช่นการติดยาเสพติด การสู บบุหรี่
การดื่มสุ รา ก่อ อาชญากรรม และปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมา
1.4 ค่านิยมและความเชื่อ
เนื่องจากมีการเปลี่ย นแปลงระบบเศรษฐกิจ และสัง คม ที่มีผ ลต่อ อิท ธิ พล ความเชื่อ
ประกอบกับการที่สื่อมวลชนมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของคนไทยมากขึ้น ไม่วา่ จะเป็ นเรื่ องบริ โภค
นิยม มีความฟุ่ มเฟื อย ความเอื้ออารี ที่ลดลง มีความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ที่สูง รวมไปถึง
วิกฤตเศรษฐกิจที่ทำ ให้เกิดปัญหาสุ ขภาพจิตตามมา นอกจากนั้นพบว่าค่านิยมในการดูแลสุ ขภาพ
เลี่ยนไป บริ การที่จดั ให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ มีการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนบรา

1.5 สิ่งแวดล้อมและมลภาวะ
ไม่วา่ จะเป็ นมลพิษของอากาศ น้ำดินที่ส่งผลให้เกิดโรค ทั้งโรคระบบทางเดินหายใจ
ภูมิแพ้ ความเครี ยด
1.6 สถาบันครอบครัว
พบว่าขนาดของครอบครัวลดลง เด็กขาดโอกาสในการมีประสบการณ์ก บั ญาติที่เป็ น
ผูใ้ หญ่ ครอบครัวที่พอ่ แม่ตอ้ งทำงานนอกบ้าน ทำงานล่วงเวลา ทำงานเป็ นกะทำให้ขาดเวลาในการ
อยูร่ ่ วมกัน สื่ อสารน้อยลง ขาดการดูแลเอาใจใส่ กนั ครอบครัวแตกแยกมากขึ้น

2. สถานการณ์ ด้านสุ ขภาพจิต


2.1  ปัญหาสุ ขภาพจิต
ความชุกของปัญหาการฆ่าตัวตาย การติดสารเสพติด ความรุ นแรงในครอบครัว พบว่ามี
แนวโน้ม เพิ่มขึ้นทุกปี

2.2 โรคทางจิตเวช
โรคจิต ปัญญาอ่อนโรคซึ มเศร้า โรควิตกกังวล พบว่ามีผมู ้ ารับบริ การจากสถานบริ การ
สาธารณสุ ข ทัว่ ไปมีมากกว่าสถานบริ การเฉพาะทาง เนื่องจากสถานบริ การเฉพาะทางมีนอ้ ย

59
2.3  ทรัพยากรด้ านสุ ขภาพจิต
บุคลากรด้านสุ ขภาพจิตขาดแคลน และการกระจายของบุคลากรที่มีมากในเขตกรุ งเทพ
ส่ วนเตียงจิตเวชที่มีมากขึ้นแต่มีในส่ วนกลางมากกว่าในเขตภูมิภาค งบประมาณได้รับเพิ่มขึ้นจากเดิม
เป็ นผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจและมีโครงการในเชิงรุ กมากขึ้น เทคโนโลยีสุขภาพจิตเช่นมีการพัฒนา
เทคโนโลยีเริ่ มจากการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของผูไ้ ด้รับประโยชน์ จากนั้นจึงจัดทำ เช่น
คู่มือการฝึ กอบรมในด้านต่างๆ เช่น ในคลินิกส่ งเสริ มพัฒนาการ คลินิกคลายเครี ยด การป้ องกันการ
ฆ่าตัวตาย การดูแลทางสังคมจิตใจ การให้คำปรึ กษา การดูแลผูท้ ี่มีปัญหาทางจิตเวช
2.3 งานบริการสุ ขภาพจิต

ความเป็ นมาของงานสุ ขภาพจิตในประเทศไทย


งานสุ ขภาพจิตของประเทศไทยได้ดำเนินการมาเป็ นระยะเวลานาน ซึ่ งตลอดเวลาที่ผา่ นมาได้
มีการปรับปรุ งและพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและความเจริ ญก้าวหน้า
ทางวิช าการอยูเ่ สมอ การดำเนิน งานสุ ข ภาพจิต ในประเทศไทยอาจจะแบ่ง ตามลัก ษณะการ
เปลี่ยนแปลงได้เป็ น 7 ยุคคือ
1. ยุคดั้งเดิม (Asylum) ( พ.ศ. 2432-2467 )
งานบริ การสุ ขภาพจิตแต่เดิมแฝงอยูก่ บั บริ การสุ ขภาพทัว่ ไป พิธีทางศาสนา กิจกรรม การ
ปกครอง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 5 ได้มีการนำระบบบริ การบำบัด
รักษาแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในประเทศ โดยมีการจัดตั้งโรงพยาบาล มีผรู ้ ักษาและกระบวนการรักษา
โรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกจึงเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2432 ชื่อว่า "โรงพยาบาลคนเสี ยจริต" ตั้งอยูท่ ี่ตำบล
ปากคลองสาน ริ มฝั่งตะวันตกของแม่น ้ำเจ้าพระยา สังกัดกรมพยาบาล กระทรวงธรรมการ การดูแลผู ้
ป่ วยในระยะเริ่ มแรกของโรงพยาบาลจิตเวชนั้น เป็ นเช่นเดียวกับการดูแลผูป้ ่ วยระยะเริ่ มแรกของต่าง
ประเทศ คืออยูใ่ นรู ปของการปกครองมากกว่าการรักษา และการรักษาพยาบาลก็เป็ นไปในลักษณะที่
ไม่ถูกต้อง ผูป้ ่ วยถูกควบคุมกักขังและบางครั้งถูกทารุ ณ ผูป้ ่ วยจึงยัง คงมีอาการอยูแ่ ละนับวันจะ
รุ นแรงขึ้นในปี
พ.ศ. 2448 โรงพยาบาลคนเสี ยจริ ตย้ายสังกัดไปขึ้นกับกองแพทย์สุขาภิบาล กระทรวง
นครบาล มี นายแพทย์ ไฮเอต (Hugh Campbell Highet) หัวหน้ากองแพทย์สุขาภิบาลเป็ นผูอำ ้ นวยการ
โรงพยาบาล ได้มีการเปลี่ยนแปลงรู ปแบบการดูแลผูป้ ่ วยในทุกด้าน ทำให้ผปู ้ ่ วยได้รับการดูแลใน
ลักษณะการพยาบา (Hospital care) ไม่ใช่การกักขัง (Asylum) และเป็ น Moral treatment ผูป้ ่ วยได้รับ
การดูแลด้า นสุ ขอนามัย ไม่ปล่อยให้เดินเปลือยกาย ผูด้ ูแลพูดจาดีกบั ผูป้ ่ วย การตบตีผปู ้ ่ วยจะได้รับ
โทษไล่ออกหรื อลงโทษตามกฎหมาย ส่ วนการรักษายังคงเป็ นไปตามแพทย์แผนโบราณ ในยุคนี้จึง
ถือว่าเป็ นยุคเริ่ มแรกที่มีระบบของสถานบริ การเข้ามาดูแลผูป้ ่ วยจิตเวช แทนการถูกทอดทิ้งหรื อดูแล
ต า ม ม ีต า ม เ ก ิด ใ น ช ุม ช น
2. ยุคโรงพยาบาลจิตเวชแผนใหม่ (พ.ศ. 2468-2484 )

60
ในปี พ.ศ. 2468 โรงพยาบาลคนเสี ยจริ ต ย้ายสังกัดไปขึ้นอยูก่ บั กองตรวจการบำบัดโรค
กรมสาธารณสุ ข กระทรวงมหาดไทย ในปี นี้มีแ พทย์ที่จ บจากโรงเรี ย นแพทย์ข องประเทศไทย
ราชการจึงได้จดั ระเบียบใหม่เลิกให้ชาวต่างชาติดำรงตำแหน่งต่างๆ หลวงวิเชียรแพทยาคม ซึ่ งขณะ
นั้นเป็ นแพทย์อยูท่ ี่โรงพยาบาลกลางได้รับ ตำแหน่งเป็ นผูอำ ้ นวยการโรงพยาบาลจิตเวชคนแรกของ
ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2472 หลวงวิเชียรแพทยาคมเป็ นแพทย์ไทยคนแรกที่ได้รับทุนไปศึกษาวิชา
โรคจิต (Psychiatry) ณ สหรัฐอเมริ กาเป็ นเวลา 2 ปี หลังจากกลับมา ท่านได้เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลคน
เสี ยจริ ตเป็ น โรงพยาบาลโรคจิต ธนบุรี เพื่อแก้ไขการตั้งข้อรังเกียจของประชาชน และได้นำความรู ้
ความเชี่ยวชาญที่ได้รับมาพัฒนาในด้านวิชาการ และการพัฒนาบุคลากร อันเป็ นรากฐานสำคัญของ
การดำเนินงานด้านสุ ขภาพจิตและจิตเวชในยุคต่อมา ในด้านวิชาการท่านได้เผยแพร่ ความรู ้ทาง
จิตเวชศาสตร์ สุ ขภาพจิตและจิตวิทยา ในรู ปแบบต่างๆ เช่น การบรรยาย การสอน ปาฐกถา การ
ทัศนาจรเพื่อการศึกษา ท่านได้นำเครื่ องมือตรวจเชาวน์ปัญญาของแสตนด์ฟอร์ด บิเน่ (Standford-
Binet) เข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็ นคนแรก นอกจากนี้ท่านได้เขียนหนังสื อเรื่ อง "วิธีตรวจโรคจิตต์
และหลักวินิจฉัยโรคจิตต์โดยย่อ" ซึ่ งเป็ นตำราจิตเวชเล่มแรกสำหรับแพทย์ทวั่ ไป
ในด้านการพัฒนาบุคลากรได้มีการส่ งเสริ มให้แพทย์ไปศึกษาฝึ กอบรม ณ ต่างประเทศ มี
การบรรจุวิชาโรคจิตเข้าในหลักสูตรการสอนของมหาวิทยาลัยที่คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม ี
การพัฒนาบุคลากรในโรงพยาบาลให้มีความรู ้เกี่ยวกับการแพทย์ การพยาบาล และการผ่าตัดรวมทั้ง
การอบรมด้านจริ ยธรรม
ส่วนการบำบัดรักษาในช่วงนี้ยงั คงใช้ยาตำราหลวงเนื่องจากไม่มียารักษาผูป้ ่ วยจิตเวช โดย
เฉพาะ ยาที่ใ ช้ม าก ได้แ ก่ พาราลดีไ ฮด์ (Paraldehyde) บาบิท อล (Barbital) และไฮออสซี น
(Hyoscine) นอกจากนี้ยงั มีการรักษาแบบโคลด์แพค (Cold Pack) เมตราโซลช็อค (Metrazol shock)
และอินซูลินช็อค ( Insulin shock)
การบริ หารงานในยุคนี้ได้มีการสร้างโรงพยาบาลจิตเวชตามภาคต่างๆ เพื่อรองรับจำนวน
ผูป้ ่ วยให้เพียงพอและทัว่ ถึง โรงพยาบาลจิตเวชที่สร้างในยุคนี้ ได้แก่ โรงพยาบาลโรคจิตภาคใต้
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุ ราษฎร์ธานี โรงพยาบาลโรคจิตภาคเหนือ อำเภอเมืองจังหวัดลำปาง ซึ่ งต่อมา
เห็นว่าที่ต้ งั ห่างไกลจากชุมชน จึงย้ายไปที่จงั หวัดเชียงใหม่ใช้ชื่อว่า "โรงพยาบาลสวนปรุ ง" และโรง
พยาบาลศรี ธญั ญา อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
เมื่องานสุ ขภาพจิตครบ 50 ปี ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและ
กรม ในกระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 12) ให้จดั ตั้งกองสุ ขภาพจิต ในกรมสาธารณสุ ข โดยแบ่งส่ วน
ราชการเป็ น 3 แผนก คือ แผนกกลาง แผนกบำบัดโรคจิตต์ และแผนกสุ ขวิทยาจิตต์ โดยมีหลวงวิเชียร
แ พ ท ย า ค ม เ ป ็ น ห วั ห น า้ ก อ ง ค น แ ร ก

3. ยุคของงานสุ ขภาพจิต ( พ.ศ. 2485-2503 )


ในปี พ.ศ. 2485 ได้มีการจัด ตั้ง กระทรวงสาธารณสุ ข และได้มีพระราชกฤษฎีกาจัด วาง
ระเบียบราชการกรมการแพทย์ข้ึน โอนงานสุ ขภาพจิตและโรงพยาบาลจิตเวชจากกองสุ ขภาพจิตเดิม

61
มาสังกัดกองโรงพยาบาลโรคจิต ควบคุมโรงพยาบาลจิตเวช 5 แห่ง ซึ่ งต่อมาได้มีการเปลี่ย นชื่อให้
เป็ น มงคลนามคือ โรงพยาบาลสมเด็จ เจ้า พระยา (โรงพยาบาลโรคจิต ธนบุรี ) โรงพยาบาล
สวนสราญรมย์ จังหวัดสุ ราษฎร์ธานี โรงพยาบาลสวนปรุ ง จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลศรี ธญั ญา
จังหวัดนนทบุรี และโรงพยาบาลพระศรี มหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี
ถึงแม้จะมีบริ การบำบัดรักษาอย่างกว้างขวาง โรงพยาบาลจิตเวชก็ไม่สามารถรองรับผูป้ ่ วย
จิตเวชที่มีจำนวนมากขึ้นได้ นายแพทย์ฝน แสงสิ งแก้ว ซึ่ งเป็ นทั้งผูอำ
้ นวยการกองโรงพยาบาลโรคจิต
และผูอำ ้ นวยการโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาในขณะนั้น จึงได้มีความคิดริ เริ่ มที่จะดำเนินงานด้านส่ ง
เสริ มป้ องกันปัญหาสุ ขภาพจิตของประชาชนเพื่อลดจำนวนผูป้ ่ วยจิตเวช ประกอบกับในปี พ.ศ. 2494
องค์การอนามัยโลกได้ส่งผูเ้ ชี่ยวชาญมาสำรวจสภาวะสุ ขภาพจิตในประเทศไทย และได้เสนอรายงาน
ต่อรัฐบาลให้จดั ตั้งบริ การแนะแนวปัญหาจิตใจเด็กและเยาวชนขึ้น เป็ นศูนย์กลางของงานการส่ งเสริ ม
และป้ องกันปัญหาสุ ขภาพจิต นอกจากนี้ยงั ได้เตรี ยมบุคคลากรโดยส่ งแพทย์ไปศึกษาวิชาสุ ขวิทยาจิต
และกุม ารจิต เวชศาสตร์ท ี่ส หรัฐ อเมริ ก า 1 คน ศึก ษาวิช าจิต วิท ยาคลินิก 1 คนและสาขาวิช า
สังคมสงเคราะห์จิตเวชอีก 1 คน เมื่อครบทีมดำเนินการจึงเปิ ดให้บริ การคลินิกสุ ขวิทยาจิต ณ โรง
พยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ต่อมาได้มีการขยายสาขาไปสี่ มุมเมืองเพื่อให้บริ การแบบผูป้ ่ วยนอก และมี
การจัดตั้งศูนย์สุขวิทยาจิต ถนนพระรามหก กรุ งเทพฯ เพื่อเป็ นสำนักงานกลาง ต่อมากำลังเจ้าหน้าที่
จำกัดทำให้ในปี พ.ศ. 2513 ต้องปิ ดบริ การศูนย์อื่นๆ คงไว้เพียงศูนย์สุขวิทยาจิตแห่งนี้
ในด้านการบำบัดรักษาในยุคนี้ได้มีการนำเทคนิคการรักษาใหม่ๆจากตะวันตกเข้ามา เช่น
การบำบัดด้วยยากล่อมประสาท จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด ดำเนินการโดยทีมงานสุ ขภาพจิตซึ่ ง
ประกอบด้วย จิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก พยาบาลจิตเวช นักสังคมสงเคราะห์จิตเวช ปี พ.ศ. 2498
เริ่ ม มีก ารอบรมแพทย์ห ลัง ปริ ญ ญา หลัก สู ต รจิต เวชศาสตร์ เป็ น ครั้ง แรก ณ โรงพยาบาล
สมเด็จเจ้าพระยา เพื่อเพิม่ พูนความรู้ความเชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์และสุ ขภาพจิต ปลายยุคนี้ได้มี
การก่อตั้งสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่ งองค์กรเอกชนแห่งแรกที่เ ข้า มามีบ ทบาทในงาน
สุ ข ภาพจิต และจิตเวชโดยดำเนิน การด้า นวิช าการและเผยแพร่ ค วามรู ้สุ ข ภาพจิต แก่ป ระชาชน

4. ยุคแรกเริ่มงานสุ ขภาพจิตชุ มชน ( พ.ศ. 2504-2514 )


เป็ นช่วงที่รัฐบาลเริ่ มกำหนดให้มีการดำเนินการตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสั งคมแห่ งชาติ
ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509) ซึ่ งงานสุ ขภาพจิตปรากฏในรู ปของ "โครงการโรงพยาบาลโรคจิต" โดย
เป็ น 1 ใน 22 โครงการของการพัฒ นาสาธารณสุ ข โครงการนี้ประกอบด้วยการขยายและปรับปรุ ง
การดำเนินงานด้านต่างๆ
ในปี พ.ศ. 2507 ได้มีแนวคิดในการดำเนินงานสุ ขภาพจิตชุมชนที่เป็ นรู ปธรรมเป็ นครั้งแรก
โดย นายแพทย์สกนธ์ โสภโณ ผูอำ ้ นวยการโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ในขณะนั้น ได้จดั ให้มีหน่วย
จิตเวชเคลื่อนที่ออกบริ การประชาชนในเขตจังหวัดภาคใต้ เพื่อให้ผปู ้ ่ วยได้รับความสะดวกในการ
ตรวจรักษา การจัดบริ การก็เป็ นไปอย่างทัว่ ถึง และยังสามารถช่วยบำบัดรักษาผูท้ ี่ป่วยเสี ยตั้งแต่แรก
เริ่ มอีกด้วย

62
ในด้านของการพัฒนาบริ การบำบัดรักษาและฟื้ นฟูสมรรถภาพผูป้ ่ วยจิตเวช ได้มีการริ เริ่ ม
บริ การใหม่ๆ เช่น การก่อตั้งโรงพยาบาลกลางวัน ที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา การให้การรักษา
แบบ Milieu Therapy ซึ่ งเป็ นการรักษาโดยใช้สิ่ งแวดล้อม การสร้างหมู่บา้ นพักฟื้ นที่โรงพยาบาล
ั ญา ซึ่ งดำเนินการตามหลักการของบ้า นกึ่งวิถี (Half-way House) ที่ตอ้ งการให้ผปู ้ ่ วยใช้ชีวิตที่
ศรี ธญ
ถูกต้อง มีงานทำและใช้เวลาว่างให้เป็ นประโยชน์ก่อนกลับบ้าน
ต่อมาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสั งคมแห่ งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510-2514) งานสุ ขภาพจิต
ปรากฏอยูใ่ นรู ปของ "โครงการปรับปรุ งโรงพยาบาลโรคจิตและโรคทางประสาท" และ "โครงการจัด
ตั้งแผนกจิตเวชในโรงพยาบาลทัว่ ไป" ซึ่ งในปี พ.ศ. 2511 ได้มีการเปิ ดศูนย์วจิ ยั ประสาทเชียงใหม่
เป็ นสาขาของโรงพยาบาลสถาบันประสาทวิทยาในส่ วนภูมิภาค ซึ่ งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็ นโรงพยาบาล
ประสาทเชียงใหม่ ในปี เดียวกันได้มีการก่อสร้างโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัด
ขอนแก่น และเปิ ดแผนกจิตเวชในโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ต่อมาได้ขยายไปเปิ ดที่
โรงพยาบาลสระบุรี และโรงพยาบาลยะลา
ในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการดำเนินงานสุ ขภาพจิตชุมชนต่อเนื่อง โดยมีการจัดตั้งศูนย์สุขภาพจิต
ชุมชนชัยนาท เพื่อให้บริ การสุ ขภาพจิตเข้าถึงระดับชุมชน และเปิ ดศูนย์สุขภาพจิตเคลื่อนที่กลาง ถนน
เจริ ญกรุ ง กรุ งเทพฯ เพื่อเป็ นศูนย์กลางในการสนับสนุนด้านบริ หารและวิชาการในการออกหน่วย
จิตเวชเคลื่อนที่ตามภาคต่างๆโดยมีการดำเนินงานต่อเนื่องจนกระทัง่ ปี พ.ศ. 2526 ได้ยตุ ิการดำเนิน
งานในรู ปแบบนี้ ปัจจุบนั ได้เปลี่ยนเป็ นศูนย์พฒั นาเด็กปั ญญาอ่อน โรงพยาบาลราชานุกลู ในช่วง
ปลายของยุคนี้ งานสุ ขภาพจิตอยูภ่ ายใต้การดำเนินงานของกองสุ ขภาพจิต กรมการแพทย์ กระทรวง
สาธารณสุ ข มีโรงพยาบาลและศูนย์ในสังกัด 22 หน่วย มีกำ ลังบุคลากร 4 พันกว่าคนและได้รับงบ
ประมาณถึงปี ละ 80 ล้านบาท
5. ยุคของการผสมผสานงานสุ ขภาพจิตเข้ ากับระบบบริการสาธารณสุ ข (พ.ศ. 2515-2524 )
เป็ นช่วงของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสั งคมแห่ งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2515-2519) และ
ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-
2519) งานสุ ขภาพจิตปรากฏอยูใ่ นด้านนโยบายการพัฒนาสาธารณสุ ข ให้ความสำคัญกับงานด้าน
จิตเวชและสุ ขภาพจิตชุมชน โครงการที่สำคัญคือ โครงการพัฒนาสุ ขภาพจิตชุมชน ซึ่ งมีจุดมุ่งหมายที่
จะปรับปรุ งบริ การสุ ขภาพจิตชุมชนให้มีคุณภาพและครอบคลุมประชากร โดยอาศัยหน่วยบริ การ
สาธารณสุ ขในชุมชนคือ สถานีอนามัย และฝ่ ายจิตเวชในโรงพยาบาลทัว่ ไป ช่วยคัดกรองผูป้ ่ วยหรื อ
ส่ งต่อไปยังศูนย์สุขภาพจิตชุมชน และโรงพยาบาลจิตเวช จนการให้บริ การครบวงจรตามลำดับ แต่มี
ข้อขัดข้องในด้านการบริ หารจัดการทำให้โครงการนี้ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตอ้ งการ
ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - 2524) บริ การสุ ขภาพ
จิตชุมชน ถือเป็ นเป้ าหมายสำคัญประการหนึ่งในเป้ าหมายการสาธารณสุ ข 11 ประการ ซึ่ งมุ่งเน้นที่
การผสมผสานงานสุ ขภาพจิตเข้ากับระบบบริ การสาธารณสุ ขทัว่ ไป กล่าวคือ เป็ นการจัดระบบให้
ประชาชนสามารถรับบริ การสุ ขภาพจิตจากสถานบริ การในท้องถิ่นตนเอง เช่น โรงพยาบาลศูนย์ โรง

63
พยาบาลทัว่ ไป โดยไม่ตอ้ งไปขอรับบริ การที่โรงพยาบาลจิตเวชซึ่ งมี จำนวนจำกัด ส่ วนหน่วยงานทาง
ด้านสุ ขภาพจิตจะทำหน้าที่เป็ นผูส้ นับสนุนทางวิชาการ การจัดบริ การเช่นนี้ทำ ให้ประชาชนได้รับ
บริ การสะดวกขึ้น และระบบบริ การสาธารณสุ ขซึ่ งเคยจัดบริ การแต่เพียงสุ ขภาพกายเริ่ มตระหนักใน
การให้บริ การสุ ขภาพที่ตอ้ งรวมทั้งด้านร่ างกายและจิตใจ
ในปี พ.ศ. 2517 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่ วนราชการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุ ข
ให้โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรี ธญั ญา โรงพยาบาลราชานุกลู โรงพยาบาลประสาท
ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็ นหน่วยงานระดับกอง ขึ้นตรงกับกรมการแพทย์ กองสุ ขภาพจิตจึงมีหน่วย
งานในสังกัดเหลือเพียง 12 แห่ง

6. ยุคของการสาธารณสุ ขมูลฐาน (พ.ศ. 2525-2534 )


ในแผนพัฒนาสาธารณสุ ขแห่งชาติ ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสั งคมแห่ งชาติ ฉบับที่
5 (พ.ศ. 2525-2529) งานสุ ขภาพจิตปรากฏเป็ นแผนงานสุ ขภาพจิต ดำเนินการโครงการที่เกี่ยวกับการ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการสาธารณสุ ขเพื่อเพิม่ ขีดความสามารถให้ครอบคลุมประชากรและให้การ
สนับสนุนงานสาธารณสุ ขมูลฐาน ทั้งนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2521 ได้มีการประชุมนานาชาติ ที่เมืองอัลมา อตา
สหภาพโซเวียตและมีการประกาศใช้กลวิธีการสาธารณสุ ขแบบใหม่ คือ การสาธารณสุ ขมูลฐาน ซึ่ ง
กลวิธีน้ ีมีเป้ าหมายให้ประชากรทัว่ โลกมีสุขภาพดีถว้ นหน้าภายในปี พ.ศ. 2543 และได้รวมถึงการ
ดำเนิน งานด้า นสุ ข ภาพจิต ไว้เ ป็ นองค์ป ระกอบหนึ่ง ด้ว ย ในปี พ.ศ. 2522 จึง ได้มีก ารนำกลวิธี
สาธารณสุ ขมูลฐานมาทดลองใช้ โดยจัดทำเป็ นโครงการทดลองที่จงั หวัดอุบลราชธานี และอีก 2 ปี ต่อ
มาจึงได้จดั ทำโครงการผสมผสานงานสุ ขภาพจิตกับงานสาธารณสุ ขมูลฐานที่จงั หวัดนครราชสี มา ซึ่ ง
โครงการนี้ประสบผลสำเร็ จด้วยดี และได้พฒั นารู ปแบบ ขยายพื้นที่การดำเนินงานเป็ นโครงการ
สุ ขภาพจิตชุมชน ในแผนพัฒนาการสาธารณสุ ขแห่งชาติ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสั งคมแห่ ง
ช า ต ิฉ บ ับ ท ี่6(พ .ศ .2530-2534)
7. ยุคของงานส่ งเสริมป้ องกัน ( พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน )
งานสุ ขภาพจิตปรากฏเป็ น แผนงานสุ ขภาพจิต ในแผนพัฒนาการสาธารณสุ ข ฉบับที่ 7 (พ.ศ.
2535-2539) มีวตั ถุประสงค์สำ คัญเพื่อเสริ มสร้างสมรรถภาพจิตใจของประชาชนให้มีคุณภาพ และ
สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่ วม สามารถพึ่งตนเองและดูแลช่วยเหลือกันในด้านสุ ขภาพจิต กลวิธี
การดำเนินการจึงมุ่งเน้นการส่ งเสริ มสุ ขภาพจิตและป้ องกันปั ญหาสุ ขภาพจิตเชิงรุ ก โดยการประสาน
ความร่ วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาคุณภาพจิตใจกลุ่มเป้ าหมายต่างๆ เช่น การพัฒนา
ทักษะชีวิตแก่นกั เรี ยนระดับต่างๆ ร่ วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และสื่ อมวลชนในการ
เผยแพร่ ความรู้สุขภาพจิตแก่ประชาชนทั้งในเขตเมืองและชนบท กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ ยง ทั้งในเวลาปกติ
และกรณี ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสุ ขภาพจิตของประชาชน เพื่อให้บงั เกิดผลในทางเสริ ม
สร้างสมรรถภาพจิตใจและยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ประชาชน

64
ในด้านการบริ การ ได้มีการพัฒนาบริ การสุ ขภาพจิตในระบบบริ การสาธารณสุ ข ด้วยการ
สนับสนุนทางวิชาการ เช่น ปรับปรุ งเนื้อหาความรู ้ จัดทำคู่มือปฏิบตั ิงาน สนับสนุนให้สถานบริ การมี
การค้นหาผูป้ ่ วยจิตเวชในชุมชน เพื่อให้ผปู ้ ่ วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยครอบครัวและชุมชน
ในส่ วนของโรงพยาบาลจิตเวช ได้มีการปรับปรุ ง คุณภาพให้สามารถจัดบริ การได้อย่างครบวงจร
นอกจากนี้ยงั ได้สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุ ขทัว่ ประเทศ เพื่อให้ความช่วยเหลือในเรื่ อง
ของการให้บริ การปรึ กษาแก่ผปู้ ่ วยโรคเอดส์ ซึ่ งเป็ นปั ญหาที่เริ่ มทวีความรุ นแรงในขณะนั้น
ในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กรที่สำ คัญ กล่าวคือ มีพระราช
กฤษฎีกาแบ่งส่ วนราชการสถาบันสุ ขภาพจิต ยกฐานะให้กองสุ ขภาพจิตเป็ นสถาบันสุ ขภาพจิต ม ี
ฐานะเทียบเท่ากรม ขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุ ข ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกา
แบ่ง ส่ ว นราชการสถาบัน สุ ข ภาพจิต และมีพ ระราชกฤษฎีก าแบ่ง ส่ ว นราชการกรมสุ ข ภาพจิต
กระทรวงสาธารณสุ ขขึ้นแทน ประกอบด้วยหน่วยงานระดับกอง 12 หน่วย
แผนพัฒนาการสาธารณสุ ข ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสั งคมแห่ งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.
2540 - 2544) ได้กำหนดเป้ าหมายของงานสุ ขภาพจิตให้ลดการเกิดปั ญหาสุ ขภาพจิต พัฒนาคุณภาพ
การให้บริ การ และให้ประชาชนได้พ่ งึ พาตนเองรวมทั้งมีส่วนร่ วมในด้านสาธารณสุ ข ในการดำเนิน
งานจึงมุ่งเน้นให้ประชาชนทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและสถาบันต่า งๆ ได้มีภูมิคุม้ กันต่อปั ญ หา
สุ ขภาพจิต ส่ งเสริ มให้ประชาชนมีความรู ้ และวิธีการในการดูแลสุ ขภาพจิตตนเอง ครอบครัวและ
ชุมชน เช่น โครงการพัฒนาแกนนำครอบครัว โครงการส่ งเสริ มสุ ขภาพจิตผูส้ ู งอายุ นอกจากนี้การ
ดำเนินงานยังครอบคลุมไปถึงกลุ่มด้อยโอกาส เช่น เด็กและเยาวชนในสถานพินิจ ด้วย
ในด้านวิชาการ ได้มีการนำกระบวนการวิจยั และพัฒนามาใช้ ในการจัดทำเทคโนโลยีสุขภาพ
จิตทั้งด้านการส่ งเสริ ม ป้ องกัน บำบัดรักษาและฟื้ นฟูสมรรถภาพ รวมทั้งพัฒนากลไกการดำเนินงาน
สุ ขภาพจิตให้มีประสิ ทธิภาพยิง่ ขึ้นในด้านของการให้บริ การได้มีการขยายความครอบคลุมของการให้
บริ การ โดยการจัดตั้งสถานบริ การจิตเวชเพิ่มขึ้น และส่ งเสริ มให้มีการดูแลผูป้ ่ วยในครอบครัวและ
ชุมชน นอกจากนี้ยงั มีการพัฒนาคุณภาพของบริ การ โดยพัฒนาคุณภาพบริ การสุ ขภาพจิตและจิตเวช
ให้ได้มาตรฐาน เป็ นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่สามารถให้การสนับสนุนสถานบริ การสาธารณสุ ขได้

บุคลากรด้ านสุ ขภาพจิต


1. จิตแพทย์
ในปี พ.ศ. 2542 ประเทศไทยมีจำนวนจิตแพทย์ท้ งั หมด จำนวน 351 คน คิดเป็ นสัดส่ วน
จิตแพทย์ต่อประชากรเท่ากับ 1:175,674 และในปี พ.ศ.2543 จำนวนจิตแพทย์จำนวน 376 คน เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 7.12 คิดเป็ นสัดส่ วนต่อประชากร 1:164,571 ในขณะที่ปี พ.ศ.2544 มีจำนวนจิตแพทย์ 387 คน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.93 คิดเป็ นสัดส่ วนต่อประชากรทั้งหมด 1:161,005 จากสัดส่ วนดังกล่าวข้างต้น
แสดงให้เห็นการขาดแคลนจิตแพทย์ในขั้นวิกฤต ซึ่ งเป็ นปั ญหาเร่ งด่วนของประเทศที่จะต้องได้รับ
การแก้ไ ข กรมสุ ข ภาพจิตในฐานะองค์กรหลักในการดูแลสุ ข ภาพจิต ของประชาชนทั้งประเทศ

65
ตระหนักในปัญหาการขาดแคลน จึงได้ดำ เนิน การแก้ไข ด้วยการหาแนวทางในการเพิม่ จำนวน
จิตแพทย์ให้มากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริ การด้า นสุ ขภาพจิต โดยการผลักดันแพทยสภาให้
อนุมตั ิสาขาจิตเวชศาสตร์และจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ ่ น เป็ นสาขาประเภทที่ 1 ซึ่ งเป็ นสาขาที่ผเู ้ ข้า
รับการฝึ กอบรมไม่ตอ้ งเข้าโครงการเพิม่ พูนทักษะ เป็ นการสนับสนุนให้แพทย์ทวั่ ไปเข้ารับการฝึ ก
อบรมแพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวช นอกจากนั้นยังได้สรรหาแพทย์ใช้ทุนรัฐบาลที่ประสงค์จะปฏิบตั ิ
งานใช้ทุนตามหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อส่ งไปศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวช โดยให้สิทธิ
พิเศษไม่ตอ้ งรอให้พน้ การทดลองปฏิบตั ิราชการ เป็ นการสร้างแรงจูงใจให้แพทย์เข้ามาในระบบมาก
ขึ้น สังเกตได้จากจำนวนของผูเ้ ข้าฝึ กอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาจิตเวชศาสตร์ในปี 2539 – 2540
ซึ่ งจะมี เพียงปี ละ 4 คน หลังจากกรมสุ ขภาพจิตดำเนินการโครงการแก้ไขปั ญหาจิตแพทย์ขาดแคลน
ในปี 2541 เป็ นต้นมา จะมีผสู้ มัครเข้ารับการฝึ กอบรมเพิ่มเป็ นปี ละ 20 คน และคาดว่าเมื่อสิ้ นสุ ด
โครงการภายในปี 2550 จะมีจำ นวนจิตแพทย์เพิ่มขึ้น ประมาณ 200 คน ส่ งผลให้ภาระความรับผิด
ชอบของจิตแพทย์ต่อประชากรลดลง จากสัดส่ วนเดิม 1 : 175,674 เป็ น 1 : 114,337 นอกจากนี้ กรม
สุ ขภาพจิตยังมีโครงการพัฒนาศักยภาพของพยาบาลวิชาชีพให้มีความรู ้ความเชี่ยวชาญในด้านสุ ขภาพ
จิต และจิต เวช เพื่อ ให้ส ามารถทำงานช่ว ยเหลือ หรื อ ทดแทนจิต แพทย์ไ ด้ใ นภาวะที่มีจ ิต แพทย์
ขาดแคลน ด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาสุ ขภาพจิต
และการพยาบาลจิตเวชภาคพิเศษ สำหรับกลุ่มเป้ าหมายผูร้ ับผิดชอบงานสุ ขภาพจิตทัว่ ประเทศ โดยตั้ง
เป้ าหมายไว้ ในปี 2552 จะมีบุคลากรสายงานการพยาบาลที่มีความรู ้และเชี่ยวชาญด้านสุ ขภาพจิตและ
จิต เวชเพิม่ ไม่น อ้ ยกว่า 700 คน จำนวนจิต แพทย์และจำนวนพยาบาลจิต เวชที่เ พิม่ ขึ้น น่า จะช่ว ย
บรรเทาการขาดแคลนจิตแพทย์ได้ระดับหนึ่ง
เมื่อพิจารณาการกระจายจิตแพทย์ตามพื้นที่ พบว่าโดยภาพรวมตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 - 2544
จิตแพทย์ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยูใ่ นเขตกรุ งเทพมหานครมากที่สุด รองลงมาคือเขตภาคกลาง โดย
ในปี พ.ศ. 2544 มีจำนวนจิตแพทย์ป ฏิบตั ิหน้าที่อยูใ่ นเขตกรุ งเทพมหานครมีจำนวนมากที่สุด 218 คน
คิดเป็ นร้อยละ 56.33 ของทั้งประเทศ แต่เมื่อเปรี ยบเทียบกับจำนวนประชากรพบว่า จิตแพทย์ 1 คนใน
เขตกรุ งเทพมหานครดูแลปัญหาสุ ขภาพจิตของประชากรเป็ นจำนวน 26,267 คน ในขณะที่ภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ จิตแพทย์ 1 คน ต้องดูแลปั ญหาสุ ขภาพจิตของประชากรมากที่สุด 551,120 คน(ตาราง
ที่3-1 และภาพที่3-1)

  ตารางที่.1.. การกระจายของจิตแพทย์ จำแนกตามภาค ปี พ.ศ.2542 – 2544


2542 2543 2544
สัดส่ วน สัดส่ วน สัดส่ วน
ภาค ประชากร ประชากร ประชากร
จิตแพทย์ จิตแพทย์ จิตแพทย์
ต่อจิตแพทย์ ต่อจิตแพทย์ ต่อจิตแพทย์
1 คน 1 คน 1 คน

66
 กรุ งเทพมหานคร 209  27,093  227  25,0249  218  26,267 
 ภาคกลาง 59  243,088  64  226,168  75  195,374 
 ภาคเหนือ 26  466,344  27  448,192  31  391,111 
 ภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือ 35  610,841  35  611,564  39  551,120 
 ภาคใต้ 22  370,574  23  357,289  24  346,315 
รวม 351  175,674  376  164,571  387  161,005 
ที่มา : กรมสุ ขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุ ข
การกระจายจิตแพทย์จำ แนกตามสังกัด พบว่าส่ วนใหญ่จิตแพทย์จะปฏิบตั ิงานอยูใ่ นหน่วย
งานสังกัดกระทรวงสาธารณสุ ข ตั้งแต่ปี 2542 - 2544 คิดเป็ นร้อยละ 35.33, 32.51, และ 34.84 ตาม
ลำดับ และปฏิบตั ิงานอยูใ่ นหน่วยงานอื่นร้อยละ 43.59, 43.88, และ 39.53 นอกจากนั้นปฏิบตั ิงานอยู่
ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ร้อยละ 21.08, 21.28, และ 19.64
ตารางที่..2. การกระจายของจิตแพทย์ จำแนกตามสั งกัด ปี พ.ศ.2542 – 2544
2542 2543 2544
สังกัด จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
 กระทรวงสาธารณสุ ข 124  35.33  131  34.84  158  40.83 
 - สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุ ข 36  10.26  42  11.17  41  10.59 
 - กรมการแพทย์ 18  5.13  18  4.79  18  4.65 
 - กรมสุ ขภาพจิต 70  19.94  71  18.88  99  25.58 
 ทบวงมหาวิทยาลัย 74  21.08  80  21.28  76  19364 
 อื่น ๆ 153  43.59  165  43.88  153  39.53 
รวม 351  100.00  376  100.00  387  100.00 
ทีม่ า : กรมสุ ขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุ ข
2. พยาบาลจิตเวช
ในปี พ.ศ. 2542 ประเทศไทยมีจำนวนพยาบาลจิตเวชทั้งหมด จำนวน 1,041 คน คิดเป็ น
สัดส่ วนพยาบาลต่อประชากรเท่ากับ 1 : 59,233 และปี พ.ศ. 2543 มีจำ นวนพยาบาลจิตเวชจำนวน
1,717 คน เพิม่ ขึ้นร้อยละ 64.94 แต่เมื่อคิดเป็ นสัดส่ วนต่อประชากร 1 : 36,039 ในขณะที่ปี พ.ศ.2544
มีจำ นวนพยาบาลจิตเวช 1,735 คน เพิ่ม ขึ้น ร้อ ยละ 1.05 คิดเป็ น สัด ส่ ว นต่อ ประชากรทั้งหมด 1 :
35,913 ซึ่ งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 - 2544 พบว่าจำนวนพยาบาลจิตเวชมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่ งเป็ นผล
มาจากกรมสุ ขภาพจิตได้เปิ ดการฝึ กอบรมพยาบาลด้า นสุ ขภาพจิตและจิตเวช ในโรงพยาบาลสังกัด
กรมสุ ขภาพจิตขึ้น 3 แห่งได้แก่ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรี ธญ ั ญา โรง
พยาบาลสวนปรุ ง จัดการอบรมปี ละประมาณ 50 คน โดยมีสาเหตุมาจากสถานบริ การสาธารณสุ ขทุก

67
ระดับและทุกพื้นที่มีความต้องการพยาบาลจิตเวชไปช่วยในการบำบัดรักษาให้แก่ประชาชน เมื่อ
พิจารณาการกระจายพยาบาลจิตเวชตามพื้นที่ พบว่า โดยภาพรวม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542-2544 พยาบาล
จิตเวชที่ปฏิบตั ิงานอยูใ่ นแต่ละภาคมีแนวโน้มที่จะกระจายดีข้ ึน โดยในปี พ.ศ.2544 มีจำนวนพยาบาล
จิตเวช ปฏิบตั ิหน้าที่อยูใ่ นภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือมีจำนวนมากที่สุด 551 คน คิดเป็ นร้อยละ 31.75
ของทั้งประเทศ แต่เมื่อเปรี ยบเทียบกับจำนวนประชากรพบว่า พยาบาลจิตเวช 1 คน ในภาคตะวันออก
เฉี ย งเหนือต้องดูแลปัญ หาสุ ข ภาพจิต ของประชากรเป็ นจำนวน 39,009 คน ในขณะที่ภาคเหนือ
พยาบาลจิตเวช 1 คน ต้องดูแลปัญหาสุ ขภาพจิตของประชากรมากที่สุดในทุกๆ ปี โดยในปี 2544 ต้อง
ดูแลประชาชนถึง 39,365 คน (ตารางที่ 3-3 และภาพที่ 3-3)
   ตารางที่..3. การกระจายของพยาบาลจิตเวชจำแนกตามภาค ปี พ.ศ.2542 - 2544
2542 2543 2544
สัดส่ วน สัดส่ วน สัดส่ วน
ภาค จำนวน
ประชากร
จำนวน
ประชากร
จำนวน
ประชากร
ต่อพยาบาล ต่อพยาบาล ต่อพยาบาล
จิตเวช 1 คน จิตเวช 1 คน จิตเวช 1 คน
 กรุ งเทพมหานคร 255  22,206  372  15,270  173  33,099 
 ภาคกลาง 209  68,623  357  40,546  481  30,464 
 ภาคเหนือ 138  87,862  245  49,393  308  39,365 
 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 275  77,743  466  45,933  551  39,009 
 ภาคใต้ 164  49,711  277  29,667  222  37,439 
รวม 1,041  59,233  1,717  36,039  1,735  35,913 
ที่มา : กรมสุ ขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุ ข
3. นักจิตวิทยาคลินิก
ในปี พ.ศ. 2542 ประเทศไทยมีจำ นวนนักจิต วิทยาคลินิกทั้งหมด จำนวน 97 คน คิด เป็ น
สัดส่ วนนักจิตวิทยาต่อประชากรเท่ากับ 1 : 653,688 และปี พ.ศ.2543 มีจำ นวนนักจิตวิทยาคลินิก
จำนวน 150 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.64 แต่เมื่อคิดเป็ นสัดส่ วนต่อประชากร 1 : 412,525 ในขณะที่ปี
พ.ศ.2544 มีจำ นวนนักจิตวิทยาคลินิก 196 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.67 คิดเป็ นสัดส่ วนต่อประชากร
ทั้งหมด 1 : 317,902 ซึ่ งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 - 2544 พบว่าจำนวนนักจิตวิทยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี
เมื่อพิจารณาการกระจายนักจิตวิทยาคลินิกตามพื้นที่ พบว่า โดยภาพรวม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 - 2544
นักจิตวิทยาคลินิกที่ปฏิบตั ิงานอยูใ่ นแต่ละภาคมีจำนวนเพิ่มขึ้น และมีสดั ส่ วนต่อประชากรลดลงใน
ทุกๆภาค แสดงให้เห็นว่านักจิตวิทยาคลินิกสามารถให้การดูแลประชาชนได้ดีข้ ึน โดยในปี พ.ศ.2544
มีจำนวนนักจิตวิทยาคลินิก ปฏิบตั ิหน้าที่อยูใ่ นภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือมีจำนวนมากที่สุด 48 คน คิด
เป็ นร้อยละ 24.49 ของทั้งประเทศ แต่เมื่อเปรี ยบเทีย บกับจำนวนประชากรที่ตอ้ งดูแล พบว่า นัก

68
จิตวิทยาคลินิกที่ปฏิบตั ิหน้าที่อยูใ่ นภาคใต้ดูแลประชากรในสัดส่ วนที่มากกว่า (ตารางที่3-4 และภาพ
ที่3-4)

ตารางที่ 4 การกระจายของนักจิตวิทยาคลินิกจำแนกตามภาค ปี พ.ศ.2542 – 2544

2542 2543 2544


สัดส่ วน สัดส่ วน สัดส่ วน
ภาค ประชากร ประชากร ประชากร
จำนวน จำนวน จำนวน
ต่อนักจิตวิทยา ต่อนักจิตวิทยา ต่อนักจิตวิทยา
1 คน 1 คน 1 คน
 กรุ งเทพมหานคร 21  269,643  54  105,192  42  136,338 
 ภาคกลาง 21  682,962  24  603,116  44  333,023 
 ภาคเหนือ 23  527,171  34  355,918  45  269,432 
 ภาคตะวันออกเฉียง
23  929,540  28  764,455  48  447,785 
เหนือ
 ภาคใต้ 9  905,849  10  821,765  17  488,916 
รวม 97  635,688  150  412,525  196  317,902 
ทีม่ า : กรมสุ ขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุ ข
4. นักสังคมสงเคราะห์
ในปี พ.ศ.2542 ประเทศไทยมีจำนวนนักสังคมสงเคราะห์ท้ งั หมด จำนวน 291 คน คิด
เป็ นสัดส่ วนนักสังคมสงเคราะห์ต่อประชากรเท่ากับ 1 : 211,896 และในปี พ.ศ.2543 มีจำ นวนนัก
สังคมสงเคราะห์ 377 คน เพิม่ ขึ้นร้อยละ 29.55 แต่เมื่อคิดเป็ นสัดส่ วนต่อประชากร 1 : 164,135 ใน
ขณะที่ปี พ.ศ.2544 มีจำ นวนนัก สัง คมสงเคราะห์ 373 คน ลดลงร้อ ยละ 1.06 คิด เป็ น สัด ส่ ว นต่อ
ประชากร 1 : 167,048 เมื่อพิจารณาการกระจายนักสังคมสงเคราะห์ตามพื้นที่ พบว่า โดยภาพรวม
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 - 2544 นักสังคมสงเคราะห์ที่ปฏิบตั ิงานอยูใ่ นแต่ละภาคมีจำนวนที่เพิม่ ขึ้น โดยใน
ปี พ.ศ.2544 มีจำนวนนักสังคมสงเคราะห์ ปฏิบตั ิหน้าที่อยูใ่ นกรุ งเทพมหานครมีจำนวนมากที่สุด 117
คน คิด เป็ น ร้อ ยละ 31.37 ของทั้ง ประเทศ แต่เ มื่อ เปรี ย บเทีย บกับ จำนวนประชากรพบว่า นัก
สังคมสงเคราะห์ 1 คน ในเขตกรุ งเทพมหานครดูแลปั ญหาสุ ข ภาพจิต ของประชากรเป็ นจำนวน
48,942 คน ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือ นักสังคมสงเคราะห์ 1 คน ต้องดูแลปั ญหาสุ ขภาพจิต
ของประชากรมากที่สุดถึง 352,355 คน (ตารางที่3-5 และภาพที่3-5)

  ตารางที่.5.. การกระจายของนักสั งคมสงเคราะห์ จำแนกตามภาค ปี พ.ศ. 2542 - 2544

2542 2543 2544

69
สัดส่ วน สัดส่ วน สัดส่ วน
ภาค ประชากร ประชากร ประชากร
จำนวน จำนวน จำนวน
ต่อนักสังคม ต่อนักสังคม ต่อนักสังคม
1 คน 1 คน 1 คน
 กรุ งเทพมหานคร 21  269,643  117  48,550  117  48,942 
 ภาคกลาง 127  112,931  75  192,997  78  187,859 
 ภาคเหนือ 52  233,172  84  144,062  84  144,338 
 ภาคตะวันออกเฉียง
51  419,204  61  350,898  61  352,355 
เหนือ
 ภาคใต้ 40  203,816  40  205,441  33  251,886 
รวม 291  211,896  377  164,135  373  167,048 

ที่มา : กรมสุ ขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุ ข


5. บุคลากรด้ านอาชีวบำบัด
ในปี พ.ศ.2543 มีบุคลากรที่ปฏิบตั ิงานด้านอาชีวบำบัด ได้แก่ นักอาชีวบำบัดและเจ้าหน้าที่
อาชีว บำบัด จำนวน 50 คน และปี พ.ศ.2544 มีจำ นวน 49 คน ลดลงร้อ ยละ 2 โดยพบว่า ในปี
พ.ศ.2544 มีการกระจายทัว่ ประเทศไทย โดยมีนกั อาชีวบำบัดปฏิบตั ิหน้าที่อยูใ่ นเขตภาคเหนือจำนวน
มากที่สุด คิดเป็ นร้อยละ 30.61 รองลงมาคือเขตกรุ งเทพมหานคร จำนวน 14 คน คิดเป็ นร้อยละ 28.57
ตารางที่..6. การกระจายของบุคลากรด้ านอาชีวบำบัดจำแนกตามภาค ปี พ.ศ.2543-2544

2543 2544
 ภาค
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
 กรุ งเทพมหานคร 18  36.00  14  28.57 
 ภาคกลาง 11  22.00  10  20.41 
 ภาคเหนือ 3  6.00  15  30.61 
 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13  26.00  6  12.25 
 ภาคใต้ 5  10.00  4  8.16 
รวม 50  100.00  49  100.00 
ที่มา : กรมสุ ขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุ ข
เครือข่ ายบริการสุ ขภาพจิต
การจัดบริ การด้านสุ ขภาพจิตในประเทศไทยมีความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้ามาเป็ นลำดับ จาก
การบริ การเพื่อการบำบัดรักษาที่มุ่งเน้นไปที่ผปู ้ ่ วยที่มีอาการรุ นแรง มาสู่ การดูแลปั ญหาสุ ขภาพจิตใน

70
ชีวิตประจำวันของประชาชนทัว่ ไปในทุกส่ วนของสังคม จากรู ปแบบบริ การที่เน้นการรักษาพัฒนา
มาสู่ การดูแลสุ ขภาพในมิติอื่นคือการป้ องกัน ส่ งเสริ ม และฟื้ นฟู จากการที่งานบริ การสุ ขภาพจิตมี
การเติบโตมากขึ้นเรื่ อย ๆ จึงเป็ นได้ยากที่ภาครัฐเพียงส่ วนเดียวจะรับภาระได้ครบถ้วน จำเป็ นต้อง
อาศัยความร่ วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งภาคประชาชน โดยพัฒนาเป็ น
เครื อข่ายเป็ นกลไกขับเคลื่อนให้การดำเนิน งานสุ ข ภาพจิตเชื่อ มโยงเข้า ถึงกัน เพื่อวัตถุประสงค์
เดียวกันคือสุ ขภาพจิตที่ดีข้ ึนของประชาชนและสังคม เครื อข่ายบริ การสุ ขภาพจิตสามารถแบ่งได้เป็ น
8 ส่ วนคือ

1.ภาครัฐ – กระทรวงสาธารณสุ ข
กรมสุ ขภาพจิต
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุ ข
2. ภาครัฐ – นอกกระทรวงสาธารณสุ ข
กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงในมนุษย์
กระทรวงกลาโหม
กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
สำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กรุ งเทพมหานคร
3.มหาวิทยาลัย
คณะแพทยศาสตร์
คณะหรื อภาควิชาจิตวิทยา
บริ การให้คำปรึ กษานิสิตนักศึกษา
4.โรงพยาบาล คลินิก และบริการจิตวิทยาภาคเอกชน
5.องค์ กรธุรกิจ
6.Non-Governmental Organizations (NGOs)
7.สื่ อมวลชน
หนังสื อพิมพ์
โทรทัศน์

71
วิทยุ – นักจัดรายการวิทยุ
อินเตอร์เน็ต
บริ การให้คำปรึ กษาทางโทรศัพท์
8.ภาคประชาชน
ผูส้ ื่ อข่าวสาธารณสุ ข (ผสส.)
อาสาสมัครสาธารณสุ ขประจำหมู่บา้ น (อสม.)
องค์การบริ หารส่ วนตำบล
พระภิกษุ
หมอดู

กรมสุ ขภาพจิต

รู ปแบบบริการ รักษา ส่ งเสริ ม ป้ องกัน ฟื้ นฟู


ประชากรเป้ าหมาย ประชาชนทัว่ ไป ทุกกลุ่มอายุ
ผูป้ ่ วย

กรมสุ ขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุ ข (Department of Mental Health, Ministry of Public


Health) เป็ นหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรง ในการพัฒนางานสุ ขภาพจิต
ของประเทศ โดยมีภารกิจหลักเกี่ยวกับ การพัฒนาวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู ้ เทคโนโลยีการส่ ง
เสริ ม ป้ องกันปัญหายาเสพติด บำบัดรักษา และฟื้ นฟูสมรรถภาพ รวมทั้งจัดให้มีบริ การด้านสุ ขภาพ
จิตแก่ผปู้ ่ วย ผูม้ ีปัญหาสุ ขภาพจิตและประชาชน โดยมีสถาบันเฉพาะทางพัฒนาและถ่ายทอด วิชาการ
งานสุ ข ภาพจิต และจิต เวช 7 แห่ง มีห น่ว ยงานโรงพยาบาลจิต เวชในการให้บ ริ ก ารสุ ข ภาพจิต
ครอบคลุมทัว่ ประเทศ จำนวน 10 แห่ง และมีศูนย์วิชาการในการส่ งเสริ มและสนับสนุนการดำเนิน
ด้านสุ ขภาพจิตชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ ครอบคลุมการแบ่งเขต ของกระทรวงสาธารณสุ ข 12 เขต
ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ
       
สถาบันเฉพาะทาง มีหน้าที่พฒั นาและถ่ายทอดวิชาการงานสุ ขภาพจิตและจิตเวช 7 แห่ง ประกอบไป
ด ว้ ย

 1. สถาบันกัลยาณ์ราชนคริ นทร์ เป็ นสถาบันเฉพาะทางนิติจิตเวชและสุ ขภาพจิตวิกฤต               


 2. สถาบัน จิตเวชศาสตร์ส มเด็จ เจ้า พระยา เป็ น สถาบันเฉพาะทางจิต เวชศาสตร์ และประสาท
จิตเวชศาสตร์               
3. สถาบันราชานุกลู เป็ นสถาบันเฉพาะทางด้านการบำบัดรักษา และฟื้ นฟูสมรรถภาพผูป้ ่ วยปั ญญา
อ่อน รวมทั้งเป็ นศูนย์วิจยั และพัฒนาองค์ความรู ้ดา้ นพันธุศาสตร์การแพทย์               

72
4. โรงพยาบาลศรี ธญั ญา เป็ นสถาบันเฉพาะด้านการฟื้ นฟูสมรรถภาพทางจิตเวช               
5. โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์ เป็ นสถาบันเฉพาะทางออทิสติกและโรคจิตเวชเด็ก     
6. สถาบันสุ ขภาพจิตเด็กและวัยรุ่ นราชนคริ นทร์ เป็ นสถาบันเฉพาะทางการส่ งเสริ มและป้ องกัน
ปั ญหาสุ ขภาพจิตเด็กและวัยรุ่ น               
7. สถาบันพัฒนาการเด็กราชนคริ นทร์ เป็ นสถาบันเฉพาะทางการพัฒนาและส่ งเสริ มสุ ขภาพจิตเด็ก
       
โรงพยาบาลจิตเวช มีบทบาทภารกิจในการพัฒนาวิชาการ และถ่ายทอดองค์ความรู ้ เทคโนโลยี ตลอด
จนบริ การสุ ขภาพจิตและจิตเวชในระดับตติยภูมิในพื้นที่ครอบคลุมทัว่ ประเทศ จำนวน 10 แห่งได้แก่
1. โรงพยาบาลสวนปรุ ง จังหวัดเชียงใหม่               
2. โรงพยาบาลพระศรี มหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี               
3. โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุ ราษฎร์ธานี               
4. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนคริ นทร์ จังหวัดขอนแก่น               
5. โรงพยาบาลจิตเวชนคราชสี มาราชนคริ นทร์ จังหวัดนครราชสี มา               
6. โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ ราชนคริ นทร์ จังหวัดนครสวรรค์               
7. โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้ว ราชนคริ นทร์ จังหวัดสระแก้ว               
8. โรงพยาบาลจิตเวชนครพนม ราชนคริ นทร์ จังหวัดนครพนม               
9. โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนคริ นทร์ จังหวัดสงขลา               
10. โรงพยาบาลจิตเวชเลย ราชนคริ นทร์ จังหวัดเลย

สถาบันและโรงพยาบาลทั้ง 17 แห่งของกรมสุ ขภาพจิต ให้บริ การผูป้ ่ วยนอกในแต่ละปี รวม


สู งถึงประมาณ 800,000 ราย ในจำนวนนี้เป็ นผูป้ ่ วยใหม่ถึงปี ละ 100,000 ราย ส่ วนผูป้ ่ วยในปี ละ
ประมาณ 100,000 ราย ดังตัวเลขสถิติดงั นี้

ตารางที่..7. สถิตงิ านบริการผู้ป่วยของกรมสุ ขภาพจิต พ.ศ. 2544-46

จำนวนหน่ วยบริการ 2544 2545 2546


(ราย)
ผูป้ ่ วยนอก 791,315 786,608 853,253
ผูป้ ่ วยนอก (ใหม่) 99,872 108,650 100,575
ผูป้ ่ วยนอกต่อวัน 3,261 3,185 3,406
ผูป้ ่ วยใน 99,591 98,698 100,142

73
ศูนย์ สุขภาพจิต กรมสุ ขภาพจิตมีนโยบายที่จะพัฒนาระบบบริ การสุ ขภาพจิต และจิตเวชในเชิงรุ ก
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ( พ.ศ. 2540 -
2544 ) ที่มุ่งเน้นให้ระบบบริ การสาธารณสุ ขทุกประเภทกระจาย เข้าสู่ ชุมชนอย่างทัว่ ถึง   ดังนั้น ในปี
พ.ศ. 2542 กรมสุ ขภาพจิตจึงมีคำสัง่ ให้มีการจัดตั้งศูนย์สุขภาพจิตเขตต่าง ๆ ขึ้นทั้งสิ้ น 12 เขตเพื่อเป็ น
แหล่งสนับสนุนด้านวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชแก่โรงพยาบาลและสถานีอนามัยทุกแห่งทัว่ ประเทศให้
สามารถจัด บริ การด้านสุ ขภาพจิต และจิตเวชแก่ประชาชนชาวไทยได้อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ ศูนย์
สุ ขภาพจิตที่ 1-12 เป็ นศูนย์วิชาการในการส่ งเสริ มและสนับสนุนการดำเนินงานด้านสุ ขภาพจิตชุม
ชุนในพื้นที่รับผิดชอบ ครอบคลุม ตามการแบ่งเขตของกระทรวงสาธารณสุ ข 12 เขตของประเทศ
ส่ วนศูนย์ที่ 13 ดูแลกรุ งเทพมหานคร เขตการดูแลของศูนย์สุขภาพจิตต่าง ๆ ปรากฏตามตารางดังนี้
คือ

ศูนย์สุขภาพจิต จังหวัดในความรับผิดชอบ โรงพยาบาลจิตเวชที่ให้ การสนับสนุน


ด้ านวิชาการและบริหารงาน

74
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรี อยุธยา โรงพยาบาลศรี ธญั ญา/
อ่างทองและสมุทรปราการ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
โรงพยาบาลศรี ธญั ญา/
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 สระบุรี ลพบุรี สิ งห์บุรี ชัยนาท โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์
นครนายก และสุ พรรณบุรี ราชนคริ นทร์
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา/
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 3 ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์/
สระแก้ว ตราด จันทบุรี และระยอง โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราช
นคริ นทร์
สถาบันกัลยาณ์ราชนคริ นทร์
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 4 ราชบุรี นครปฐม กาญจนบุรี เพชรบุรี
ประจวบคีรีขนั ธ์ สมุทรสาคร
และสมุทรสงคราม โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสี มา
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 นครราชสี มา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุ รินทร์ ราชนคริ นทร์
และมหาสารคาม โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 6 ขอนแก่น เลย หนองคาย อุดรธานี ราชนคริ นทร์/โรงพยาบาลจิตเวชเลย
หนองบัวลำภู สกลนคร และ ราชนคริ นทร์
กาฬสิ นธุ์ โรงพยาบาลพระศรี มหาโพธิ์ /โรง
พยาบาลจิตเวชนครพนม
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7 อุบลราชธานี อำนาจเจริ ญ นครพนม ราชนคริ นทร์
มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ศีรสะเกษ และ
ยโสธร โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์
ราชนคริ นทร์/สถาบันพัฒนาการเด็ก
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8 นครสวรรค์ อุทยั ธานี ตาก สุ โขทัย ราชนคริ นทร์
และกำแพงเพชร โรงพยาบาลสวนปรุ ง/โรงพยาบาล
จิตเวชนครสวรรค์ราชนคริ นทร์

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ แพร่ โรงพยาบาลสวนปรุ ง/


น่าน และอุตรดิตถ์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนคริ นทร์

ศูนย์สุขภาพจิตที่ ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา โรงพยาบาลสวนสราญรมย์


10 ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
โรงพยาบาลจิตเวชสงขลา
ศูนย์สุขภาพจิตที่ นครศรี ธรรมราช สุ ราษฎ์ธานี ชุมพร ราชนคริ นทร์

75
11
ศูนย์สุขภาพจิตที่ ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
12 สงขลา พัทลุง ตรัง สตูล ยะลา
ปัตตานี และนราธิ วาส

ศูนย์สุขภาพจิตที่ กรุ งเทพมหานคร


13

โครงการส่ งเสริมและป้ องกันปัญหาสุ ขภาพจิตของกรมสุ ขภาพจิต (ปี พศ. 2546)


1. โครงการสร้างเสริ มสุ ขภาพใจในชุมชนโดยชุมชน
รู ปแบบ – อบรมความรู้สุขภาพจิตชุมชนแก่อาสาสมัครสาธารณสุ ขประจำหมู่บา้ น(อสม.)
- ผลิตสื่ อ เช่น โปสเตอร์ เทป ภาพพลิก
2. โครงการส่ งเสริ มและป้ องกันปัญหาสุ ขภาพจิตเด็ก
รู ปแบบ – ร่ วมมือกับกระทรวงศึกษาธิ การ
- ผลิตองค์ความรู้เรื่ อง “ความฉลาดทางอารมณ์” เพื่อสอนในวิชาสุ ขศึกษา
- ผลิตคู่มือสำหรับครู เพื่อช่วยเหลือเด็กประถมและมัธยมศึกษา
3. โครงการส่ งเสริ มป้ องกันปัญหาสุ ขภาพจิตครอบครัว
รู ปแบบ – รายการวิทยุและโทรทัศน์
- จัดกิจกรรมรณรงค์ให้กบั ครอบครัวที่ได้รับเชิญ

4. โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปั ญหายาเสพติด
รู ปแบบ – โครงการ “To Be Number One” ภายใต้การอุปถัมภ์ของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน-
ราชกัลยา
- จัดตั้งชมรม “To Be Number One” ในสถานศึกษา สถานประกอบการ และชุมชน
- จัดทำคู่มือ “To Be Number One”
- ส่ งเสริ มประชาชนผูต้ ิดยาเสพติดเข้าบำบัดรักษา
5. โครงการส่ งเสริ มและป้ องกันปัญหาสุ ขภาพจิตวัยทำงาน
รู ปแบบ – จัดทำแบบสังเกตเฝ้ าระวังพนักงานที่มีปัญหาสุ ขภาพจิตสำหรับหัวหน้างาน
- จัดทำหลักสูตรความรู้ดา้ นสุ ขภาพจิตวัยทำงาน
- ผลิตสื่ อการสอน
6. โครงการพัฒนาเครื อข่ายการช่วยเหลือด้านสุ ขภาพจิตและป้ องกันสารเสพติดในสถานศึกษา
รู ปแบบ – พัฒนาเครื อข่ายการช่วยเหลือในเขตการสาธารณสุ ข 12 เขต
- พัฒนาแนวทางการช่วยเหลือด้านสุ ขภาพจิต

76
7. โครงการพัฒนาสุ ขภาพจิตเด็กและวัยรุ่ น
รู ปแบบ – อบรมความรู้เรื่ องการดำเนินโครงการนิทานเพื่อเด็กสู่ ชุมชน
- อบรมความรู้เรื่ องการให้การปรึ กษาแก่เด็กเร่ ร่อน
- อบรมความรู้การดูแลเด็กที่มีพฒั นาการบกพร่ องและเด็กออทิสติก
โครงการบำบัดรักษาและฟื้ นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชของกรมสุ ขภาพจิต (ปี พศ.2546)
1. โครงการป้ องกันและช่วยเหลือผูม้ ีภาวะซึ มเศร้าและผูท้ ี่เสี่ ยงต่อการฆ่าตัวตาย
รู ปแบบ – ดำเนินงานเฝ้ าระวังและช่วยเหลือใน 31 จังหวัดและโรงพยาบาลของกรมสุ ขภาพจิต
- สร้างระบบการดูแลและเฝ้ าระวังในหน่วยบริ การสาธารณสุ ขทุกระดับ
2. โครงการพัฒนามาตรฐานบริ การปรึ กษาเรื่ องเอดส์
รู ปแบบ – สร้างเกณฑ์มาตรฐานการให้การปรึ กษา
- ผลิตคู่มือการให้การปรึ กษาทัว่ ไปและการปรึ กษาเรื่ องเอดส์
3. โครงการพัฒนางานสุ ขภาพจิตสำหรับผูต้ อ้ งขัง
รู ปแบบ – จัดอบรมการดูแลสุ ขภาพจิตสำหรับผูต้ อ้ งขัง 5 หลักสู ตร
- จัดทำหนังสื อคู่มือ วิดีโอ วีซีดี
- สร้างแบบสำรวจสภาวะสุ ขภาพจิตผูต้ อ้ งขังในเรื อนจำ
- อบรมบุคลากรของกรมราชทัณฑ์และอาสาสมัคร

4. โครงการจิตสังคมบำบัดผูเ้ สพยาบ้า
รู ปแบบ – อบรมบุคลากรสาธารณสุ ขเรื่ องการให้การปรึ กษาสารเสพติดในวัยรุ่ น
- จัดประชุมวิชาการให้กบั บุคลากรเครื อข่ายการดำเนินงานจิตสังคมบำบัด
- ผลิตวิดีโอและคู่มือการให้การปรึ กษา
5. โครงการพัฒนางานสุ ขภาพจิตแม่และเด็กในศูนย์สุขภาพชุมชน
รู ปแบบ – ผลิตคู่มือและเทปเพลงความฉลาดทางอารมณ์เพื่อใช้ในศูนย์สุขภาพชุมชน
- วิจยั แบบคัดกรองความฉลาดทางอารมณ์เด็กในศูนย์สุขภาพชุมชน
6. โครงการการพัฒนาบริ การผูป้ ่ วยใน
รู ปแบบ – จัดประชุมเชิงปฏิบตั ิการการวิจยั เพื่อพัฒนาการบริ การ

รางวัลการประกวดหน่ วยงานทีม่ ีผลการดำเนินงานสุ ขภาพจิตดีเด่ น มอบโดยกรมสุ ขภาพจิตเพื่อ ส่ง


เสริ มการพัฒนางานสุขภาพจิตและเป็ นขวัญกำลังใจกับผูป้ ฏิบตั ิงานในทุกระดับ ผูไ้ ด้รับรางวัลได้แก่
พ.ศ. 2546

77
ระดับสาธารณสุ ขจังหวัด – สำนักงานสาธารณสุ ขจังหวัดแพร่
ระดับโรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทัว่ ไป – โรงพยาบาลยะลา
ระดับโรงพยาบาลชุมชน – โรงพยาบาลตาคลี
ระดับสถานีอนามัย / PCU – สถานีอนามัยเนินหอม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
ระดับหมู่บา้ น / ชุมชน – บ้านหนองงูเหลือม หมู่ 9 ต.เนินหอม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
พ.ศ. 2547
ระดับสาธารณสุ ขจังหวัด – สำนักงานสาธารณสุ ขจังหวัดอุตรดิตถ์ โครงการ “To Be Number One
Friend Corner” เส้นทางคุณภาพแบบบูรณาการจังหวัดอุตรดิตถ์
ระดับโรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทัว่ ไป – โรงพยาบาลหนองบัวลำภู โครงการ “สุ ขภาพจิตพัฒนา
ปวงประชา สุ ขใจ”
ระดับโรงพยาบาลชุมชน – โรงพยาบาลเขาย้อย จ.เพชรบุรี โครงการ “เติมรัก ปั นน้ำใจ ด้วยสายใยผูม้ ี
พระคุณ”
ระดับสถานีอนามัย / PCU – สถานีอนามัยนาตาวงษ์ จ.นครราชสี มา โครงการ “ดนตรี สุนทรี แห่ง
ชีวิต”
ระดับหมู่บา้ น / ชุมชน – ชุมชนบ้านชะไว หมู่ 1 ต.ชะไว อ.ไชโย จ.อ่างทอง โครงการ “พลังแห่ง
ความรัก...พลังคุม้ สุ ขภาพใจ”
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุ ข

รู ปแบบบริการ รักษา ส่ งเสริ ม ป้ องกัน ฟื้ นฟู


ประชากรเป้ าหมาย ผูป้ ่ วย
ประชาชนทัว่ ไป

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุ ข มีหน้าที่ดูแลโรงพยาบาลส่ วนใหญ่ของกระทรวง


สาธารณสุ ขในทุกจังหวัดของประเทศไทย งานบริ การสุ ขภาพจิตอยูใ่ นรู ปแบบของ ”กลุ่มงานจิตเวช”
ของโรงพยาบาลทัว่ ไปหรื อโรงพยาบาลศูนย์ โดยมีบุคลากรหลักคือจิตแพทย์และพยาบาลจิตเวช
ตัวอย่างหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงานจิตเวชของโรงพยาบาลจังหวัดแห่งหนึ่งคือ
1. งานตรวจวินิจฉัยและบำบัดรักษา
- ให้การบำบัดรักษาผูป้ ่ วยจิตเวช และผูม้ ีปัญหาสุ ขภาพจิต
- ให้การบำบัดรักษาผูต้ ิดยาเสพติดและใช้สารเสพติดชนิดต่างๆ
- ให้การบำบัดรักษาผูป้ ่ วยที่ติดสุ ราด้วยเทคนิคกระตุน้ ไฟฟ้ า
- ให้การบำบัดรักษา ช่วยเหลือ เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
2. งานด้านส่ งเสริ มและป้ องกันสุ ขภาพจิตและจิตเวช
- ป้ องกันปัญหาสุ ขภาพจิต และส่ งเสริ มสุ ขภาพจิตประชาชนในเขตศูนย์สุข ภาพ
ชุมชนโรงเรี ยนที่รับผิดชอบ

78
- ป้ องกันและร่ วมแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตชุมชนโรงเรี ยนทีโ่ รงพยาบาลรับผิดชอบ
- ให้สุขภาพจิตศึกษา แก่ผปู ้ ่ วยและญาติในเรื่ องเกี่ยวกับสุ ขภาพจิต จิตเวชและยาเสพ
ติด
- จัดเผยแพร่ ขา่ วสารข้อมูล ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสุ ขภาพจิต จิตเวชและยาเสพติด
3. งานฟื้ นฟูสมรรถภาพ
- ติดตามผลของการรักษาโดยระบบนัดที่มีประสิ ทธิ ภาพ
- งานเยีย่ มบ้านผูป้ ่ วยจิตเวช ที่มีปัญหาซับซ้อน ต้องดูแลต่อเนื่อง
- ติดตาม ประเมินผลผูป้ ่ วยจิต สังคมบำบัด
4. งานบริ การให้คำปรึ กษา
- ด้านจิตเวช เช่น ผูป้ ่ วยโรคจิต ปั ญญาอ่อน ลมชัก
- ด้านปัญหาสุ ขภาพจิต ได้แก่ ผูป้ ่ วยซึ มเศร้า พยายามฆ่าตัวตาย ผูป้ ่ วยทางกายเรื้ อรัง
และปัญหาสุ ขภาพจิตอื่น ๆ
- ด้านผูต้ ิดสารเสพติด ติดสุ รา และบุหรี่
- การให้คำปรึ กษามุมเพื่อนใจวัยรุ่ น
- การให้คำปรึ กษาครอบครัว
- การให้คำปรึ กษาผูท้ ี่มีปัญหาสุ ขภาพทางเพศ
5. งานให้บริ การตรวจทางจิตวิทยา
- ตรวจระดับเชาวน์ปัญญา
- ตรวจวินิจฉัยทางบุคลิกภาพ
- ตรวจสุ ขภาพจิตบุคคลเข้าทำงาน หรื อศึกษาต่อของสาขาวิชาชีพ
- ตรวจเพื่อขอใบรับรองความพิการทางสติปัญญา
6. งานด้านการพยาบาลสุ ขภาพจิตและจิตเวช
- ให้การพยาบาลผูป้ ่ วยจิตเวชฉุกเฉิ น
- ให้การพยาบาลด้านสุ ขภาพจิตและจิตเวชเบื้องต้นผูป้ ่ วยมารับยาในคลินิกจิตเวช
- การพยาบาลผูป้ ่ วยจิตเวช ผูม้ ีปัญหาสุ ขภาพจิตในหอผูป้ ่ วย
- ให้การพยาบาลผูป้ ่ วยจิตเวช ในศูนย์สุขภาพชุมชน
เนื่องจากความขาดแคลนบุคลากรทางจิตเวชและสุ ขภาพจิตทำให้กลุ่มงานจิตเวชนั้นไม่ได้มี
อยูใ่ นทุกโรงพยาบาลจังหวัด ส่ วนในระดับโรงพยาบาลชุมชนนั้น งานบริ การทางสุ ขภาพจิตที่มีรูป
แบบชัดเจนยังมีอยูน่ อ้ ยมาก ส่ วนใหญ่มกั เป็ นการผสมกลมกลืนไปกับโครงการส่ งเสริ มสุ ขภาพ
ทัว่ ไป เช่นโครงการสร้างสายสัมพันธ์แม่-ลูก เป็ นต้น

กระทรวงศึกษาธิการ

รู ปแบบบริการ ส่ งเสริ ม ป้ องกัน


ประชากรเป้ าหมาย นักเรี ยน นักศึกษา ในสถานศึกษาในสังกัด
79
โครงการป้ องกันและแก้ปัญหายาเสพติด
การดำเนินการป้ องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิ การ
หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิ การ ได้ดำเนินการโดยเน้นการ
พัฒนาคน และพัฒนาสังคมเพื่อให้เอื้อต่อการดำเนินงานป้ องกันและแก้ปัญหายาเสพติด และการมี
ส่ วนร่ วมของทุกส่ วนในชุมชน
กิจกรรมที่สถานศึกษาดำเนินการ มีหลากหลาย แตกต่างกันไปตามลักษณะของกลุ่ม เป้ า
หมาย และสภาพของปัญหาเฉพาะท้องที่ โดยสถานศึกษาแต่ละแห่งจะทำการจำแนกกลุ่ม เป้ าหมาย
นักเรี ยนนักศึกษาของตนออกเป็ น 4 กลุ่ม เพื่อดำเนินมาตรการที่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของ
แต่ละกลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มนักเรี ยนที่ยงั ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ใช้มาตรการต่อไปนี้ คือ
1.1   การอบรมสัง่ สอน ให้ความรู ้ โดยการสอดแทรกในหลักสู ตร การจัดกิจกรรมเสริ ม
หลักสู ตรและการฝึ กทักษะบางประการ
1.2   การรณรงค์ให้ความรู ้ทางอ้อม และการตอกย้ำพร่ำเตือน โดยอาศัย กิจกรรม เช่น
การจัดป้ ายนิเทศ จัดนิทรรศการ เสี ยงตามสาย การสนทนาหน้าเสาธง การบรรยายอภิปรายในโอกาส
ต่าง ๆ และการจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
1.3   การจัดกิจกรรมทางเลือก เพื่อทดแทนการพึ่งพายาเสพติด เช่น กิจกรรมกีฬาดนตรี
การฝึ กอาชีพ กิจกรรมชมรมการแข่งขันกีฬา/ลานกีฬา การอบรมจริ ยธรรม และส่ งเสริ มกิจกรรมอื่น ๆ
ของนักเรี ยนนักศึกษา
2. กลุ่มเสี่ ยง หรื อกลุ่มนักเรี ยนที่เคยใช้เคยทดลอง หรื อที่มีโอกาสใช้ในอนาคต ให้ใช้
มาตรการดังต่อไปนี้
2.1   บริ การให้คำปรึ กษา เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยม และกลุ่มเพื่อน
2.2   จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และพัฒนาบุคลิกภาพ เช่น การเข้าค่ายฝึ กร่ วมกับ
ทหาร ตำรวจ และวัด
2.3   ใช้มาตรการปราม เช่น การสุ่ มตรวจค้นบางโอกาส การสุ่ มตรวจปั สสาวะเป็ นครั้ง
คราว เป็ นต้น
3.   กลุ่มติดยาเสพติด ได้ใช้มาตรการบำบัดรักษาและฟื้ นฟู โดยให้รับการบำบัดรักษาใน
สถานบำบัดรักษาและฟื้ นฟู ของสถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุ ข ซึ่ งมีความเข้าใจปัญหาของ
นักเรี ยนนักศึกษาโดยเฉพาะ
4.   กลุ่มที่สงสัยว่าจะค้ายาเสพติด หรื อทั้งเสพทั้งค้า ได้ใช้มาตรการให้คำปรึ กษา และขอ
ความร่ วมมือจากผูป้ กครอง ทำการตรวจค้น ควบคุมความประพฤติแบบเข้ม ขอความร่ วมมือระหว่าง

80
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามเท่าที่จำเป็ น สำหรับกรณี ที่ไม่สามารถใช้มาตรการอื่นได้ ได้ขอให้ดำเนิน
การตามกฎหมายต่อไป

ศูนย์ พทิ ักษ์ สิทธิเด็กและครอบครัว


กระทรวงศึกษาธิการ ได้จดั ตั้งศูนย์พิทกั ษ์เด็กและครอบครัว กระทรวงศึกษาธิ การขึ้น เพื่อ
ช่วยเหลือเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา หรื อไม่ได้รับความเป็ นธรรมจากระบบการศึกษา รวมทั้งถูก
ละเมิดสิ ทธิท้ งั ทางร่ างกาย ทางเพศ และจิตใจ การดำเนินงานของศูนย์พิทกั ษ์สิทธิ เด็กและครอบครัว
มุ่งเน้นการประสานความร่ วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยรู ปแบบการ
บริ การคือ จัดตั้งศูนย์พิทกั ษ์สิทธิเด็กและครอบครัวกระทรวงศึกษาธิ การขึ้นเป็ นหน่วยงานระดับกอง
สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิ การ มีเจ้าหน้าที่ร่วมรับผิดชอบให้คำปรึ กษาและรับเรื่ องราว
ร้องทุกข์ประกอบด้วยผูแ้ ทนทั้งภาครัฐและเอกชน และจัดตั้งศูนย์พิทกั ษ์สิทธิ เด็กและครอบครัวขึ้น
ในทุกจังหวัดทัว่ ประเทศ ทำหน้าที่รับเรื่ องราวร้องทุกข์และพัฒนาเด็กเยาวชนในพื้นที่ประสานเครื อ
ข่ายพิทกั ษ์สิทธิเด็กกับศูนย์พิทกั ษ์ของกรมต่าง ๆ และศูนย์ของภาคเอกชนรวมทั้งรายงานผลให้ศูนย์
ของภาคเอกชนรวมทั้งรายงานผลให้ศูนย์พิทกั ษ์ในส่ วนกลางทราบ
กระทรวงยุติธรรม

รู ปแบบบริการ ฟื้ นฟู ป้ องกัน รักษา


ประชากรเป้ าหมาย ผูต้ อ้ งขัง
เด็กและเยาวชนที่ตอ้ งคดี

กระทรวงยุติธรรมได้มีการจัดทำแผนพิทกั ษ์คุม้ ครองสิ ทธิ เด็ก เยาวชน และครอบครัว


พ.ศ.2540-2549 เพื่อดูแลช่วยเหลือเด็กที่กระทำผิดกฎหมาย เด็กที่ถูกทอดทิ้ง เร่ ร่อน เด็กที่เกิดมาจาก
การตั้งครรภ์อนั ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งเด็กและเยาวชนที่ถูกกระทำทารุ ณกรรม เอารัดเอาเปรี ยบหรื อ
ถูกล่วงละเมิดทางเพศให้ได้รับการดูแลแก้ไขเยียวยาสภาพร่ างกายและจิตใจให้เป็ นปกติ โดยรู ปแบบ
บริ การคือ
1. ขยายงานศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชน และสถานพินิจและ
คุม้ ครองเด็กและเยาวชนให้ครอบคลุมทัว่ ถึงทุกจังหวัด
2. ประสานการดำเนินงานพิทกั ษ์คุม้ ครองสิ ทธิ เด็กและเยาวชนทั้งภาครัฐและเอกชน
3. ตั้งคณะกรรมการประสานงานกระบวนการพิทกั ษ์คุม้ ครองสิ ทธิ เด็ก เยาวชน และ
ครอบครัว ทั้งในระดับชาติ จังหวัด และอำเภอ
4. จัดให้มีหน่วยงานในสถานพินิจที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบำบัดฟื้ นฟูเด็กและเยาวชนที่ถูก
กระทำทารุ ณกรรม ถูกล่วงละเมิดทางเพศ และถูกล่อลวงให้ไปเป็ นโสเภณี เด็ก ตลอดจนรับผิดชอบ

81
เกี่ยวกับครอบครัวบำบัดในกรณี ที่บุคคลในครอบครัวกระทำการละเมิดสิ ทธิ ของเด็กและเยาวชน
โดยทำงานในแบบทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วยจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ พยาธิ
แพทย์ กุมารแพทย์ แพทย์นิติเวช ศัลยแพทย์ พยาบาล เจ้าพนักงานตำรวจ พนักงานอัยการ และนัก
สังคมสงเคราะห์
5. จัดกิจกรรมจิตบำบัดสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานพินิจ ทั้งในแบบรายบุคคลและ
กลุ่มบำบัด ครอบครัวบำบัด กลุ่มแสดงบทบาทสมมติ กลุ่มภาพสะท้อน ดนตรี บำบัด ศิลปบำบัด กลุ่ม
พัฒนาตนเองตามแนว T.A.

หน่วยงานของกระทรวงยุติธรรมที่มีบริการทางสุขภาพจิต
กรมราชทัณฑ์
มีการจัดโครงการส่ งเสริ มสุ ขภาพจิตผูต้ อ้ งขังร่ วมกับกรมสุ ขภาพจิต (รายละเอียดดูในส่ วน
กรมสุ ขภาพจิต)

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ดูแล สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึง่ ดำเนิน
การด้านการควบคุมดูแลบำบัด แก้ไข ฟื้ นฟู ป้ องกัน พัฒนา
พฤตินิสัย และสงเคราะห์เด็ก และเยาวชนระหว่างการสอบสวน
หรือการพิจารณาคดี และ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ซึ่ ง
ดำเนินการด้านการควบคุมดูแลบำบัด แก้ไข ฟื้ นฟู ป้ องกัน
พัฒนา พฤตินิสัย และสงเคราะห์เด็ก และเยาวชนที่ศาลมีคำ
พิพากษาหรือคำสั่งให้เข้ารับการฝึ กอบรม

กรุ งเทพมหานคร

รู ปแบบบริการ ส่ งเสริ ม ป้ องกัน ฟื้ นฟู รักษา


ประชากรเป้ าหมาย ประชาชนทัว่ ไป
ผูป้ ่ วย
การให้บริ การสาธารสุ ขในเขตกรุ งเทพฯ เป็ นหน้าที่ของสำนักอนามัย กรุ งเทพมหานคร
โดยให้บริ การ ณ ศูนย์บริ การสาธารณสุ ข 61 แห่ง มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลสุ ขภาพอนามัยและให้
บริ การทางการแพทย์ข้ นั พื้นฐานที่จำเป็ น ( Basic Essential Care )  แก่ประชาชนทุกกลุ่มอายุในเขต
พื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยจัดให้มีบริ การทั้งในศูนย์บริ การสาธารสาธารณสุ ขและ ในชุมชน ได้แก่ 

82
1. การบริ การด้านการส่ งเสริ มสุ ขภาพ เช่น คลินิกอนามัยเจริ ญพันธุ์   การวางแผน
ครอบครัว คลินิกส่ งเสริ มสุ ขภาพเด็ก / ผูส้ ู งอายุ สถานรับเลี้ยงเด็กลางวัน   บริ การทันตสุ ขภาพ
เป็ นต้น
2. บริ การทางด้านการควบคุมและป้ องกันโรค ทั้งโรคติดต่อและไม่ติดต่อ
3. การบริ การด้านการบำบัดรักษาผูป้ ่ วย บริ การตรวจรักษาผูป้ ่ วยนอก   คลินิกทัว่ ไปและ
คลินิกเฉพาะทาง   
4. การบริ การด้านการฟื้ นฟูสุขภาพ  ทั้งกายและจิต รวมทั้งการสังคมสงเคราะห์

รู ปแบบงานบริ การของศูนย์บริ การสาธารณสุ ขที่มีความเกี่ยวข้องกับสุ ขภาพจิตคือ


1. คลินิกสุ ขภาพจิต / คลายเครี ยด / สายด่วนสุ ขภาพจิต
2. คลินิกยาเสพติดและศูนย์ซบั น้ำตาผูต้ ิดยา
3. ศูนย์พิทกั ษ์สิทธิเด็กและสตรี เป็ นศูนย์ประสานงานและให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและ
สตรี ที่ถูกละเมิดสิ ทธิ    อาทิ  ถูกทอดทิ้ง   ถูกกระทำทารุ ณ   ถูกละเมิดทางเพศ  เป็ นต้น   โดยมีการ
ค้นหา  ป้ องกัน บำบัด   และฟื้ นฟูสภาพผูป้ ระสบปั ญหา   ตลอดจนให้การคุม้ ครองและพิทกั ษ์สิทธิ
อันควร ทั้งด้านร่ างกายและจิตใจ
4. สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน

บริการทางจิตวิทยาภาคเอกชน
รู ปแบบบริการ รักษา ส่ งเสริ ม ป้ องกัน
ประชากรเป้ าหมาย ชาวต่างชาติ พนักงานบริ ษทั เด็ก นักเรี ยนโรงเรี ยนนานาชาติ

บริ การทางจิตวิทยาภาคเอกชนมีเป้ าหมายผูร้ ับบริ การอยู่ 2 กลุ่มหลัก ๆ คือชาวต่างชาติที่เข้า


มาทำงานในประเทศไทย เมื่อมีความต้องการบริ การทางสุ ขภาพจิตหรื อจิตวิทยาก็จะไปรับบริ การ
จากบริ ษทั ที่เป็ นเครื อข่ายจากต่างประเทศหรื อมีนกั จิตวิทยาที่เป็ นชาวต่างชาติ ส่ วนอีกกลุ่มคือบริ ษทั
เอกชนต่าง ๆ ที่มีสวัสดิการด้านสุ ขภาพให้พนักงาน ซึ่ งบางบริ ษทั อาจครอบคลุมถึงสุ ขภาพจิตด้วย
ตัวอย่างองค์กรที่ให้บริ การทางสุ ขภาพจิตในลักษณะนี้เช่นบริ ษทั Personal Dynamics ซึ่ งเสนอบริ การ
เป็ น 2 ส่ วนคือ
1. บริ การจิตบำบัดและให้คำปรึ กษารายบุคคล
2. บริ ก าร Employee Assistance Program (EAP) ซึ่ ง เป็ น โครงการดูแ ลพนัก งานบริ ษ ทั คู่
สัญญาในรู ปแบบต่าง ๆ เช่น
 การจัดการความเครี ยด
 การให้คำปรึ กษาส่ วนตัว

83
 การให้คำปรึ กษาสายด่วนทางโทรศัพท์
 การจัดฝึ กอบรม
 บริ การส่ งต่อให้ผเู้ ชี่ยวชาญหรื อรับเป็ นผูป้ ่ วยใน

บริ ษทั อื่น ๆ ที่ให้บริ การนี้เช่น ศูนย์ไทรศิลป์ , Professional Personal Consultation (PCC),
Psychological Services International, New Community Services (NCS)
นอกจากนี้ มีองค์กรอีกกลุ่มหนึ่งที่เน้นให้บริ การกับเด็กและวัยรุ่ นที่มีปัญหาทางสุ ขภาพจิต
และการปรับตัว เช่นเด็กที่มีปัญหาการเรี ยน เด็กที่เป็ นโรคบกพร่ องทางการเรี ยนรู ้ (LD) เด็กโรคแอ
สเปอเกอร์ บริ การที่มีอย่า งเช่น การให้ความช่วยเหลือด้า นการศึกษา กลุ่ม บำบัด ดนตรี บำ บัด
กิจ กรรมกลุ่ม การให้คำ ปรึ ก ษาเด็ก และพ่อ แม่ องค์ก รที่ใ ห้บ ริ ก ารนี้ต วั อย่า งเช่น The Village
Education Centre, REED Institute เป็ นต้น

Non-Governmental Organizations (NGOs)

องค์กรเอกชนที่ไม่ได้มีเป้ าหมายเพื่อแสวงหากำไรรวมทั้งมูลนิธิต่าง ๆ มักจัดตั้งขึ้นเพื่อ


วัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือสังคม แม้โดยส่ วนใหญ่บริ การที่ให้จะเป็ นในเชิงกายภาพ เช่นการ
บริ จาคสิ่ งของแก่ผยู้ ากไร้หรื อการช่วยเหลือทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรี ยน แต่กม็ ีองค์กรจำนวน
มากที่ให้บริ การทางสุ ขภาพจิตด้วย ซึ่ งมักเป็ นด้านการส่ งเสริ มและป้ องกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

องค์กร ที่ต้ งั วัตถุประสงค์ (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสุ ขภาพจิต)


กองทุนนมเพื่อ สำนักงานเขต 1. พัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กเล็ก ในศูนย์พฒั นาเด็กเล็ก
พัฒนาเด็กเล็ก ห้วยขวางเลขที่ 2 ในชุมชนแออัดให้ดีข้ ึน
ในชุมชนแออัด – ถ.ประชาอุทิศ 2. เป็ นกำลังใจและสร้างความอบอุ่นให้แก่เด็กในศูนย์
2536 แขวงห้วยขวางเขต พัฒนาเด็กเล็กในชุมชนแออัด
ห้วยขวาง
กรุ งเทพฯ 10310
 โกมล คีมทอง เลขที่ 8/23 ซ.บ้าน 1. เพื่อกระตุน้ เตือนส่ งเสริ ม รักษาและช่วยเหลือให้
ช่างหล่อ บุคคลสำนึกในความเสี ยสละ ใฝ่ หาความรู ้ มีอุดมคติ มี
ถ.พรานนก ความกล้าหาญและมีความเป็ นผูนำ ้ ในทางที่ถูกต้อง
กรุ งเทพฯ 10700
ความหวังของ อาคารโฮบเพล้ท   1.เพื่อส่ งเสริ มการบริ การสงเคราะห์ให้แก่ผยู ้ ากไร้เด็ก
ชาวไทย เลขที่ 1200 กำพร้าเด็กถูกทอดทิ้งและเด็กเร่ ร่อน นักเรี ยนยากจน ผูถ้ ูก

84
ถ.พระราม 4 แขวง จำจอง ผูต้ ิดยาเสพติด
คลองเตยเขต  2.เพื่อจัดโปรแกรมการบริ การสงเคราะห์แก่เด็กในแนว
พระโขนง วิชาการการให้คำแนะนำแก่ผปู ้ กครอง ช่วยเหลือ
กรุ งเทพฯ 10110 ครอบครัวในการบริ การในด้านสุ ขภาพและโภชนาการ
เพื่อให้เป็ นประโยชน์
ความหวังของ เลขที่ 11/48 ซอย 1.จัดตั้งศูนย์พฒั นาทัศนคติชีวิต และให้การศึกษาแก่ผู ้
ชีวิต - 2537 ปุณณวิถี 19 แขวง ยากไร้
บางจาก เขต 2.ส่ งเสริ มความรู ้และให้คำแนะนำแก่สาธารณชน โดย
พระโขนง การจัดและสนับสนุนสถานฝึ กอบรมวัฒนธรรม ศีลธรรม
กรุ งเทพฯ 10260 และจริ ยธรรมในชุมชนต่างๆ
คุม้ ครองเด็ก - เลขที่ 139/304 1. ช่วยเหลือเด็กและพัฒนาเด็กที่ตกอยูใ่ นความทุกข์ยาก
2537 ซอยลาดพร้าว เด็กด้อยโอกาส หรื อเด็กที่ถูกทารุ ณกรรม
106 แขวง  2. ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรื อร่ วมมือกับ
วังทองหลาง เขต องค์การการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
บางกะปิ
กรุ งเทพฯ 10240
องค์กร ที่ต้ งั วัตถุประสงค์ (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสุ ขภาพจิต)
โคมส่ องทาง –  เลขที่ 99/21 ซอย 1. ส่ งเสริ มความรู ้และให้คำแนะนำแก่สาธารณชน โดย
2537 ภาวนา ถนน การจัดและสนับสนุนสถานฝึ กอบรมวัฒนธรรม ศีลธรรม
ลาดพร้าวแขวง และจริ ยธรรมในชุมชนต่างๆ
บางเขน เขต  2. ให้คำแนะนำช่วยเหลือและป้ องกันการติดสิ่ งเสพติด
จตุจกั ร กรุ งเทพฯ ของเยาวชนโดยจัดให้มีกิจกรรมรองรับ
10900
จิตวิทยาเพื่อ เลขที่ 7/6 1. เพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลจิตวิทยาเพื่อปรับปรุ งชุมชน
ชุมชน - 2531 ถ.ประชาราษฎร์ 2. เพื่อส่ งเสริ มการใช้วิชาการจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชุมชน
บำเพ็ญ แขวง และส่ งเสริ มการนวดแผนโบราณ
ห้วยขวาง เขต 3. เพื่อปรับปรุ งให้ชุมชนอยูอ่ ย่างมีความสุ ขโดยใช้
ห้วยขวาง จิตวิทยาเข้าช่วย
กรุ งเทพฯ 10310
ชัยพัฒนา - 2531 อาคารทรงงาม 1. เพื่อส่ งเสริ มการพัฒนาสงเคราะห์และช่วยเหลือ
เขตพระราชฐาน ประชาชนในด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่
สวนจิตรลดาแขวง ดีข้ ึนและสามารถช่วยตัวเองและพึ่งตนเองได้

85
จิตรลดา เขตดุสิต
  
กรุ งเทพฯ 10300
ชีวจิต - 2534 เลขที่ 36/31 หมู่ที่ 1. ส่ งเสริ มและร่ วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งของรัฐและ
13 ซอยยนต์ยอ้ ย เอกชนในการพัฒนาความรู ้เรื่ องสุ ขภาพด้วยวิธีทาง
ต.โชคชัยแขวง ธรรมชาติเพื่อให้เกิดความผาสุ ข
ลาดยาว เขต
ลาดพร้าว
กรุ งเทพฯ 10230
ดวงประทีป ชุมชน หมู่บา้ น 1. เพื่อส่ งเสริ มให้เด็กและเยาวชนมีพลานามัยที่สมบูรณ์
พัฒนา ได้รับการปลูกฝังคุณธรรม
ถ.อาจณรงค์ แขวง 2. เพื่อเผยแพร่ ความรู ้ท้ งั วิชาการและประสบการณ์เกี่ยว
คลองเตย เขต กับการให้การศึกษา การฝึ กฝน การอบรมแก่เด็กเยาวชน
พระโขนง
กรุ งเทพฯ 10110
องค์กร ที่ต้ งั วัตถุประสงค์ (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสุ ขภาพจิต)
เด็ก เลขที่ 1492/3 1. เพื่อช่วยเหลือเด็กที่ตกอยูใ่ นความทุกข์ยากและทอดทิ้ง
ถ.เจริ ญนคร แขวง ให้มีโอกาสพัฒนาอย่างสมบูรณ์ท้ งั ร่ างกายและจิตใจโดย
บางลำภูล่าง เขต ยึดหลักการให้ความช่วยเหลือจากเหตุแห่งความยุติธรรม
คลองสาน มิใช่จากความสมเพชเวทนา
กรุ งเทพฯ 10600
เด็กอ่อนในสลัม ถ.อาจณรงค์ แขวง 1. เพื่อป้ องกัน ฟื้ นฟู พัฒนาสุ ขภาพจิตของเด็กอ่อนและ
คลองเตย เขต บุคคลที่เกี่ยวข้อง
พระโขนง 2. เพื่อคุม้ ครอง ดูแล ช่วยเหลือเด็กอ่อนให้อยูใ่ นที่อนั ควร
กรุ งเทพฯ 10110 กรณี เด็กถูกทำทารุ ณโหดร้าย ถูกทอดทิ้งให้อนาถาบิดา
มารดาไม่สามารถเลี้ยงดูได้
พัฒนาประชากร เลขที่ 8 ถ.สุ ขมุ วิท 1. เพื่อจัดตั้งศูนย์ให้การช่วยเหลือแก่สตรี ที่ถูกข่มขืน
และชุมชน 12 กรุ งเทพฯ
10110
พัฒนาเยาวสตรี เลขที่ 46/91 หมู่ที่ 1. พัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวสตรี ภาคเหนือ
ภาคเหนือ - 2537 7 ซอยโชคชัย 4 2. แก้ปัญหาการประกอบอาชีพ การขายบริ การทางเพศ
ถนนลาดพร้าว ของเยาวสตรี ภาคเหนือ

86
เขตลาดพร้าว   
กรุ งเทพฯ 10230
เพื่อการพัฒนา เลขที่ 143/109- 1. เพื่อส่ งเสริ มพัฒนาการเด็กในทางร่ างกาย สติปัญญา ค่า
เด็ก (มพด.) 111 ซอยวัด นิยมและจิตใจ
สุ วรรณคีรี ถ.ปิ่ น 2. เพื่อรณรงค์ให้สาธารณชนเห็นความสำคัญของการ
เกล้า-นครชัยศรี พัฒนาเด็กและเข้ามามีส่วนร่ วมในการแก้ไข
แขวงบางบำหรุ   
เขตบางกอกน้อย
กรุ งเทพฯ 10700

องค์กร ที่ต้ งั วัตถุประสงค์ (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสุ ขภาพจิต)


เพื่อการฟื้ นฟู เลขที่ 1035/3 1. ช่วยเหลือฟื้ นฟูเด็กและเยาวชนที่ยากจนด้อยโอกาสถูก
พัฒนาเด็กและ ถ.ศรี นคริ นทร์ เอารัดเอาเปรี ยบ เร่ ร่อนฯ ให้ได้รับโอกาสในการพัฒนา
ครอบครัว แขวงสวนหลวง ร่ างกายและจิตใจ สติปัญญาและอารมณ์
เขตสวนหลวง   
กรุ งเทพฯ 10250
เลขที่ 67/21   1. ส่ งเสริ มให้การใช้จริ ยธรรมในการแก้ปัญหาโรคเอดส์
ถ.สุ ขาภิบาล 1 ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ทางสังคม
 เพื่อนช่วยเพื่อน-
แขวงคลองกุ่ม เขต 2. ส่ งเสริ มคนในสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความเอื้อ
2536
บึงกุ่มกรุ งเทพฯ อาทรต่อกัน โดยการให้สื่อเผยแพร่ ต่าง ๆ รวมทั้งการฝึ ก
10240 อบรม
เพื่อบุคคลออทิ เลขที่ 140/26 วัด 1. เผยแพร่ ความรู ้ สงเคราะห์คุม้ ครองสิ ทธิ พัฒนาฟื้ นฟู
ซึ ม ดงมูลเหล็ก บุคคลออทิซึม ด้านการแพทย์ การศึกษา อาชีพ สังคม
(ประเทศไทย) ถ.จรัญสนิทวงศ์
บางกอกน้อย
กรุ งเทพฯ
มิตรมวลเด็ก เลขที่ 33/2 1. เพื่อช่วยเหลือและส่ งเสริ มเด็กที่มีปัญหาให้มีชีวิต

87
ซ.ร่ วมฤดี อบอุ่นมัน่ คง และมีความสุ ขในครอบครัว
ถ.เพลินจิตเขต    2. เพื่อส่ งเสริ มเด็กทั้งที่มีปัญหาและเด็กยากจนใน
ปทุมวัน กรุ งเทพฯ ชุมชนแออัดให้ได้รับการศึกษาตามความจำเป็ น และให้มี
10500 สถานภาพความเป็ นอยูท่ ี่ดีตามอัตภาพ
   3. เพื่อเป็ นที่ปรึ กษาและให้คำแนะนำการแก้ปัญหา
สำหรับบิดามารดาที่ไม่อาจเลี้ยงดูลูกได้ดว้ ยตนเองจำต้อง
ยกลูกให้เป็ นบุตรบุญธรรม
ยุวพุทธิกสมาคม เลขที่ 58/8 1. เพื่อค้นคว้าแลกเปลี่ยนความรู ้ เผยแพร่ และปฏิบตั ิธรรม
แห่งประเทศไทย ถ.เพชรเกษม 54 ในพระพุทธศาสน
ในพระบรม เขตภาษีเจริ ญ   5. เพื่อบำรุ งสามัคคีในระหว่างสมาชิกโดยจัดให้มีการ
ราชูปถัมภ์ กรุ งเทพฯ 10160 กีฬาต่างๆและการรื่ นเริ งโดยชอบด้วยศีลธรรม
   6. เพื่อชักจูงกันและกันให้ต้ งั อยูใ่ นศีลธรรมหรื อศีลห้า
และขยายวงไปถึงมิตรสหายภายนอกด้วย

องค์กร ที่ต้ งั วัตถุประสงค์ (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสุ ขภาพจิต)


วางแผนชีวิต เลขที่ 32841. เพื่อให้คำปรึ กษาเกี่ยวกับปัญหาชีวิตสำหรับประชาชน
ถ.เพชรบุรีตดั ใหม่
ทัว่ ไปโดยเฉพาะสุ ภาพสตรี ที่ไม่ตอ้ งการเปิ ดเผยให้ผอู ้ ื่น
แขวงบางกะปิ เขต
ทราบโดยทางโทรศัพท์และจดหมา
ห้วยขวาง    2. เพื่อให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิตเพื่อความสุ ขของ
กรุ งเทพฯ 10310
ตนเองและครอบครัว
 วาย.เอ็ม.ซี .เอ.กรุ เลขที่ 27 ถ.สาธร
3. เพื่อสนับสนุนบุคคลให้วิวฒั นาความเชื่อมัน่ ในตนเอง
งเทพฯ การนับถือตนเองและการให้เกียรติแก่ค่าตนเอง
ใต้ เขตยานนาวา
กรุ งเทพฯ 10120
6. เพื่อส่ งเสริ มกิจกรรมที่เตรี ยมไว้สำหรับพัฒนาสุ ขภาพ
ทั้งทางร่ างกายและจิตใจให้ดีข้ ึน
ศาสนสัมพันธ์ หอสมุด ป.กิตติวนั 3. เพื่อร่ วมมือในการพัฒนาสังคม โดยเฉพาะในด้านศีล
แห่งประเทศไทย วัดเบญจมบพิตร ธรรม วัฒนธรรมและจิตใจเพื่อให้สงั คมมีความสงบสุ ข
ถ.ศรี อยุธยา เขต และเจริ ญก้าวหน้าทั้งในด้านวัตถุประสงค์และจิตใจ
พญาไท กรุ งเทพฯ ควบคู่กนั ไป
10400   
สงเคราะห์เด็ก เลขที่ 2 หมู่ 1 2. ส่ งเสริ มให้เด็กมีสภาพความเป็ นอยูท่ ้ งั ทางร่ ายกาย

88
ชายบ้านปากเกร็ ด ถ.ภูมิเวท ต.บาง จิตใจและอารมณ์ที่สมบูรณ์ยิง่ ขึ้น
- 2536 ตลาดอ.ปากเกร็ ด
จ.นนทบุรี 11120
ศูนย์ฮอทไลน์ หมู่บา้ นอยูเ่ จริ ญ 1. เพื่อลดความตึงเครี ยด โดยให้คำปรึ กษาแก่บุคคลมี
เลขที่ 91/269 ปัญหา
ซ.ทรงสะอาด เขต 2. เพื่อให้ความเป็ นเพื่อนแก่ผวู ้ า้ เหว่เดียวดาย สิ้ นหวังและ
บางเขน กรุ งเทพฯ ต้องการกำลังใจ
10900 3. เพื่อส่ งเสริ ม สนับสนุนบุคคลให้สามารถปรับปรุ ง และ
ดูแลตัวเองได้ในภาวะวิกฤติ
4. เพื่อให้คำแนะนำที่เหมาะสมแก่เยาวชนและวัยรุ่ น ที่จะ
เผชิญกับการพัฒนาอารมณ์และความนึกคิด
5. เพื่อช่วยเหลือแนะนำและทำให้คนต่างจังหวัดที่อพยพมี
การ เตรี ยมตัวและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
องค์กร ที่ต้ งั วัตถุประสงค์ (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสุ ขภาพจิต)
สถาบันแสงสว่าง เลขที่ 55 1. ส่ งเสริ มประสานงานแลกเปลี่ยนความรู ้ สนับสนุนการ
ถ.สุ ขมุ วิท 38 ศึกษา วิจยั ค้นคว้า ฝึ กอบรมบุคลากรที่ทำงานกับเด็ก
กรุ งเทพฯ 10110 พิเศษ ส่ งเสริ มผูป้ กครอง ครอบครัวให้มีหน้าที่ความรับ
ผิดชอบในการเลี้ยงดูเด็กพิเศษ
สร้างสรรค์เด็ก – เลขที่ 100/475 1. เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาเด็กที่ถูกทอดทิ้งหรื อเด็กที่
2531 ซ.แจ้งวัฒนะ 10 ด้อยโอกาสให้เติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ท้ งั ทางด้านร่ างกาย
ดอนเมือง จิตใจ สติปัญญาอารมณ์และสังคม
กรุ งเทพฯ 10210 2. เพื่อการศึกษาและแสวงหารู ปแบบการสร้างสรรค์เด็ก
ให้เติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพและสร้างคุณค่าที่ดีต่อสังคม
สหทัย 850/33 ถ.สุ ขมุ วิท 1. เพื่อส่ งเสริ มและดำเนินการให้เด็กทุกคนมีชีวิตที่มนั่ คง
71 คลองตัน กทม. และผาสุ กในครอบครัวตนเอง
10110
สานแสงอรุ ณ – เลขที่ 64 ซอย 1. สนับสนุนและสร้างสรรค์กิจกรรมซึ่ งเป็ นการให้การ
2536 ศึกษาวิทยา ศึกษาแก่เด็กและเยาวชนให้เป็ นผูท้ ี่มีความรู ้ ความรักใน
ถ.สาธรเหนือ เรื่ องธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม ตลอดจนศิลปวัฒนธรรม
แขวงสี ลม เขต ของไทย
บางรักกรุ งเทพฯ

89
10500
สุ ขภาพจิตแห่ง เลขที่ 356/10 1. เพื่อสนับสนุนให้เกิดความสนใจ ศึกษาวิจยั เผยแพร่
ประเทศไทย ใน ถ.ศรี อยุธยา เขต ความรู ้เกี่ยวกับสุ ขภาพจิตและจัดบริ การเพื่อส่ งเสริ มสุ ข
พระบรม พญาไท กรุ งเทพฯ ภาพจิตของประชาชน
ราชูปถัมภ์ 10400 2. เพื่อส่ งเสริ มสุ ขภาพจิตแห่งบุคคล ครอบครัวและสังคม
เพื่อให้ดำเนินชีวิตอย่างราบรื่ นในภาวะสังคมที่
เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ ว
3. เพื่อร่ วมมือกับสมาคมและองค์การอื่นๆ ทั้งที่เป็ นของ
รัฐบาลและมิใช่ของรัฐบาล เพื่อส่ งเสริ มสวัสดิภาพและ
สุ ขภาพและสุ ขภาพจิตของประชาชน

องค์กร ที่ต้ งั วัตถุประสงค์ (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสุ ขภาพจิต)

โสสะมูลนิธิแห่ง อาคารรัชต์ภาคย์ 1. เพื่ออุปการะเลี้ยงดูเด็กกำพร้าไร้ที่พ่ งึ ตั้งแต่แรกเกิด-7


ประเทศไทยใน ชั้น 163 ซอยอโศก ขวบ
พระบรม สุ ขมุ วิท 21 2. เพื่อให้มีที่อยูอ่ าศัย ให้ได้รับความรัก ความอบอุ่น โดย
ราชินูปถัมภ์ กรุ งเทพฯ 10110 เน้นการให้ "ครอบครัว" ให้แม่ พี่นอ้ ง อยูบ่ า้ นหลัง
เดียวกัน
อนุรักษ์สิ่ง วัดมะลิเลขที่ 487 1. ส่ งเสริ มเยาวชนให้รู้จกั ธรรมชาติ และสิ่ งแวดล้อมช่วย
แวดล้อมและ ซอย 37 เหลือเกื้อกูลแก่สาธารณชนทัว่ ไป
พัฒนาเยาวชน – ถ.จรัญสนิทวงศ์ 2. พัฒนาเยาวชนให้มีประสิ ทธิ ภาพ ต่อต้านแหล่งมัว่ สุ ม
2536 เขตบางกอกน้อย
กรุ งเทพฯ 10700
ศูนย์พิทกั ษ์สิทธิ 185/16 ซ.วัดดีดวด
เด็ก (มูลนิธิ) ถ.จรัญสนิทวงศ์
12 เขต
บางกอกใหญ่
กรุ งเทพฯ 10600

บริการให้ คำปรึกษาทางโทรศัพท์
บริ การ ผูใ้ ห้บริ การ หมายเลขโทรศัพท์
ฮอตไลน์คลายเครี ยด กรมสุ ขภาพจิต 1667
ศูนย์บริ การให้คำปรึ กษาทางโทรศัพท์ กรมประชาสงเคราะห์ 1507

90
มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิเพื่อนหญิง 0-2513-1001
มูลนิธิศูนย์ฮอตไลน์ (กรุ งเทพฯ) 0-2276-2950-1, 0-2277-8811
มูลนิธิศูนย์ฮอตไลน์ (เชียงใหม่) 0-5385-0270
สายด่วนวัยรุ่ น 0-2275-6993-4
สมาคมสะมาริ ตนั สมาคมสะมาริ ตนั 0-2713-6793
แอคเซ็นเตอร์ 0-2249-5205

อินเตอร์ เน็ต
การสื่ อสารในโลกไร้พรมแดนของเครื อข่ายอินเตอร์เ น็ตทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึง
บริ การทางสุ ขภาพจิตมากขึ้น ผูใ้ ห้บริ การมีท้ งั ภาครัฐและเอกชน โดยรู ปแบบบริ การคือการรวบรวม
และนำเสนอบทความเกี่ยวกับสุ ขภาพจิตในเว็บไซท์ แบบทดสอบทางสุ ขภาพจิตที่ผเู ้ ข้าชมสามารถ
ทดสอบตนเองได้ กระดานข่าว (webboard) ที่ผเู ้ ข้าชมสามารถแสดงความคิดเห็น หรื อในบางเว็บ
ไซท์อาจมีจิตแพทย์ร่วมตอบคำถามด้วย ตัวอย่างของเว็บไซท์เหล่านี้ (เฉพาะที่นำเสนอเนื้อหาเป็ น
ภาษาไทย) ได้แก่
รู ปแบบบริ การ
ผูใ้ ห้บริ การ / URL บทความ แบบ กระ แพทย์ตอบ
ทดสอบ ดานข่าว ปัญหา
กรมสุ ขภาพจิต
  
http:/www.dmh.go.th หรื อ http://www.dmh.moph.go.th
1667 สายด่วนสุ ขภาพจิต

http://www.dmh.moph.go.th/1667/
สมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยใน
พระบรมราชูปถัมภ์   
http://www.jitjai.com
ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่ นแห่งประเทศไทย
 
http://rcpsycht.org/capst
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
http://www.mahidol.ac.th/mahidol/ra/rapc/mhpa.html หรื อ  
http://go.to/ramamental
Thaimental
   
http://www.thaimental.com
Siamhealth

http://www.siamhealth.net/mental/index.htm
Healthnet – Cyber Doctor
 
http://www.healthnet.in.th/cyber_board/room2/
คลินิกรัก   

91
http://www.clinicrak.com
ห้องสมุด E-liB แหล่งรวบรวมบทความสุ ขภาพจิตที่น่าสนใจ
http://www.geocities.com/Tokyo/Harbor/2093/doctors/mental.htm 
l
BangkokHealth

http://www.bangkokhealth.com
expert2you.com
 
http://www.expert2you.com/sub_topic.php?cat_sel=30000
กฎหมายสุ ขภาพจิต
ผูท้ ี่มีปัญหาสุ ขภาพจิตหรื อต้องเกี่ยวข้องจัดการกับเรื่ องของสุ ขภาพจิตนับวันยิง่ เพิ่มจำนวน
ขึ้น สิ่ งหนึ่งที่ช่วยให้การจัดการต่าง ๆ ระหว่างบุคคลหรื อระหว่างบุคคลกับองค์กรทั้งภาครัฐและ
เอกชนให้ดำเนินงานได้ดว้ ยดี มีประสิ ทธิ ภาพและไม่ขดั แย้งหรื อเอาเปรี ยบซึ่ งกันและกันได้คือ การมี
กฎหมายที่ครอบคลุมถึงประการนั้น ๆ จากการประชุม The WHO regional workshop on Mental
Health Legistration ที่ป ระเทศศรี ล งั กา เมื่อ ปี พ.ศ. 2544 สรุ ป ได้ว า่ แต่ละประเทศควรพัฒ นา
กฎหมายสุ ขภาพจิตด้วยเหตุผลสำคัญ คือ
1. พบว่าการให้บริ การทางสุ ขภาพจิตได้ถูกมองข้ามและปล่อยและละเลยมานาน
2. ผูป้ ่ วยที่มีปัญหาสุ ขภาพจิตมักไม่ได้รับการปฏิบตั ิที่เป็ นธรรมเท่าเทียมบุคคลทัว่ ไป
3. ผูป้ ่ วยที่มีปัญหาสุ ขภาพจิตอาจขาดความสามารถในการจัดการหรื อตัดสิ นใจเรื่ องต่าง ๆ
โดยเฉพาะประเด็นทางผลประโยชน์หรื อทางกฎหมาย
4. ความชุกของปัญหาสุ ขภาพจิต มีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น
นพ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง ได้เสนอแนวคิดเรื่ องวัตถุประสงค์ของการพัฒนากฎหมาย
สุ ขภาพจิตไว้ดงั นี้
1. เพื่อส่ งเสริ มสิ ทธิมนุษยชนในด้านการรักษาพยาบาล โดยพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู ้
ป่ วยจิตเวชให้มีประสิ ทธิภาพมากยิง่ ขึ้น
2. คุม้ ครองความปลอดภัย ในสัง คมจากผูป้ ่ วยจิต เวชที่อาจเป็ นอันตรายต่อ ตัวผูป้ ่ วยเอง
บุคคลอื่น หรื อทรัพย์สินต่าง ๆ
3. ให้การรับรองสิ ทธิและหน้าที่ของบุคลากรทางจิตเวช ระหว่างปฏิบตั ิงานเช่นการบังคับ
ตรวจรักษาผูป้ ่ วย
และนพ.ประทักษ์ยงั ได้เสนอแนะแนวทางพัฒนามาตรการทางกฎหมายในการบังคับตรวจ
รักษาผูป้ ่ วยจิตเวชเป็ นขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 แบ่งประเภทของผูป้ ่ วยทางจิตเวชในมุมมองของกฎหมายสุ ขภาพจิต จะ
สามารถแบ่งได้เป็ น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
ก. ผูป้ ่ วยจิตเวชที่ไม่มีคดีและสมัครใจเข้ารับการตรวจรักษาเอง
ข. ผูป้ ่ วยจิตเวชที่ไม่มีคดี แต่มีความจำเป็ นต้องบังคับให้รับการตรวจรักษ k

92
ค. ผูป้ ่ วยจิตเวชที่มีค ดีค วาม ซึ่ งอาจจัด เป็ นผูป้ ่ วยที่ไ ม่มีค วามผิด ด้ว ยเหตุว ิกลจริ ต (Not
Guilty by reason of insanity – NGRI) หรื อ ผูป้ ่ วยที่ม ีค วามผิด แต่ป่ วยทางจิต (Guilty But
Mentally Ill – GBMI) แม้วา่ ไม่ตอ้ งโทษ แต่มีความจำเป็ นที่ตอ้ งตรวจรักษาเพื่อป้ องกันการกระทำ
ผิดซ้ำและเพื่อความปลอดภัยของสังคม
ขั้นตอนที่ 2 มีกระบวนการนำผูป้ ่ วยเข้าสู่ ระบบการบังคับตรวจรักษา โดยตำรวจหรื อ
เจ้าหน้าที่ผเู้ กี่ยวข้องกับงานสุ ขภาพจิตชุมชนมีระบบค้นหาตัวผูป้ ่ วยที่ไม่ได้รับการรักษาอันสมควร
เช่น ไม่ปรากฏผูด้ ูแล ขาดการตรวจรักษาต่อเนื่อง หรื อหลบหนีการรักษา และสามารถมีอำนาจสัง่
ควบคุมผูป้ ่ วยไว้ดูแลรักษาในสถานพยาบาลได้

ขั้นตอนที่ 3 กระบวนการปล่อยหรื อจำหน่ายผูป้ ่ วยและการทบทวนความจำเป็ นในการ


บังคับรักษาตลอดจนสิ ทธิผปู้ ่ วย

สถานการณ์ ของกฎหมายสุ ขภาพจิตในประเทศไทย

ในปัจจุบนั ประเทศไทยไม่มีกฎหมายสุ ขภาพจิตโดยเฉพาะ แต่มีมาตรากฎหมายที่เกี่ยวข้อง


กับผูป้ ่ วยจิตเวช บัญญัติแยกไว้ตามประมวลกฎหมายอาญาและแพ่ง โดยส่ วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับผู ้
ป่ วยเมื่อเป็ นคดี (ประเภท ค. ดังข้า งต้น ) เท่านั้น เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กำหนดให้อำนาจแก่ผสู้ อบสวนเพื่อดำเนินการส่ งตัวผูต้ อ้ งหาที่วิกลจริ ตและไม่สามารถต่อสู ้คดีได้ไป
ยังโรงพยาบาลโรคจิต การจัดการบังคับการตรวจรักษากับผูป้ ่ วยจิตเวชที่ไม่มีคดี เท่าที่บญั ญัติไว้มี
เพียงฉบับเดียวเท่านั้นคือ พระราชบัญญัติควบคุมขอทาน พ.ศ. 2484 ว่า ให้เจ้าพนักงานสามารถส่ งตัว
“ขอแทนซึ่ งวิกลจริ ตพิการ” ไปรักษายังโรคพยาบาลโรคจิต แต่กม็ ิได้นำไปสู่ การปฏิบตั ิที่ชดั เจนนัก
อีกปัญหาที่พบได้คือ กฎหมายมิได้ระบุรายละเอียดในขั้นตอนการปฏิบตั ิ ยังไม่มีแนวทางที่
เป็ นบรรทัดฐานเดียวกัน ทั้งในเชิงนิยามศัพท์ ระยะเวลาในการดำเนินการ
ในด้านตัวบุคคลที่เกี่ยวข้อง นักกฎหมายอาจยังไม่รู้จกั และเข้าใจถึงประเด็นทางสุ ขภาพจิตที่
ต้องเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย นิยามของศัพท์ทางกฎหมายเมื่อพิจารณากับทางการแพทย์ อาจไม่
ชัดเจน และทางฝ่ ายผูป้ ่ วยเองก็ยงั ไม่ทราบถึงสิ ทธิ์ ที่มีแนวโน้มจะถูกละเมิดของตนเอง องค์กรทาง
จิตเวชเช่น จิตแพทย์ หรื อกรมสุ ขภาพจิต ก็กำ ลังอยูใ่ นขั้นตอนของพัฒนาองค์ความรู ้ใ นด้านนิติ
จิต เวช เช่น การสร้า งความรู้แก่บุค ลากรรวมทั้งการกำหนดระบบรองรับ ผูป้ ่ วยจิต เวชเมื่อ ต้อ ง
เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ปัจจุบนั ยังไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้อำนาจแก่แพทย์เพื่อควบคุมและบังคับ
รักษาผูป้ ่ วยที่ยงั ไม่ได้กระทำความผิดหรื อกระทำผิดลหุโทษ
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต และ นพ.ประภาส อุครานนท์ ได้ทำการวิจยั การศึกษาเชิงคุณภาพ
เรื่ องแนวคิดและกระบวนการเกี่ยวกับการบังคับรักษาผูม้ ีปัญหาสุ ขภาพจิตและจิตเวช (2541) ด้วย
การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผูทำ ้ งานทางกระบวนการยุติธรรมและเจ้าหน้าที่ทางสุ ขภาพจิต เช่น ตำรวจ
ทนายความ นักวิชาการทางกฎหมาย ผูพ้ ิพากษา นักสัง คมสงเคราะห์ พยาบาล แพทย์ และ

93
จิตแพทย์ ผลการวิจยั พบว่า ผูใ้ ห้ขอ้ มูลสัมภาษณ์ทุกรายเห็นด้วยกับความจำเป็ นที่ตอ้ งบังคับรักษาผูม้ ี
ปัญหาสุ ขภาพจิต ได้แก่ ผูม้ ีอาการทางจิตรุ นแรง ผูต้ ิดสารเสพติด ผูม้ ีความวิปริ ตทางเพศที่เป็ น
อันตรายแก่สงั คม ผูท้ ี่ควรมีสิทธิ์ ในการร้องขอให้บงั คับรักษาคือ ญาติ บุคคลที่ได้รับความเสี ยหาย
ตำรวจ โดยมีบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุ ขเป็ นผูร้ ับรองคำร้อง ซึ่ งจะยืน่ ต่อศาลหรื อ
องค์กรเฉพาะกิจ ในด้านนี้ (ที่อาจจัดตั้งขึ้น ใหม่) เพื่อวินิจฉัยและส่ งบัง คับ รักษาตามรู ป แบบที่
สมควรแก่อาการและความเสี่ ยงตามดุลพินิจของคณะแพทย์ที่ดูแล เมื่อทุเลาก็ควรสามารถเพิกถอน
การบังคับการได้ ผลกระทบจากการบังคับรักษาผูม้ ีปัญหาสุ ขภาพจิต น่าจะเกิดผลดีมากกว่าผลเสี ย
เพื่อให้ผปู้ ่ วยได้รับการรักษาเพื่อความปลอดภัยของสังคม และคุม้ ครองสิ ทธิ เสรี ภาพของคนในสังคม
จึงควรมีบทบัญญัติกฎหมายสุ ขภาพจิต เช่นเดียวกับนานาอารยประเทศ
การศึกษาดังกล่าวยังได้ให้ขอ้ เสนอแนะในการเตรี ยมความพร้อมของบุคลากรด้านความรู ้
เกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้อง มีทศั นคติที่ดี มีมาตรการรองรับการปรับ
โครงสร้างขององค์กรต่าง ๆ เพื่อให้พร้อมต่อการบริ การที่จะเพิ่มขึ้นหากมีการจัดระบบใหม่ เช่น
จำนวนบุคลากร สถานบำบัดรักษา องค์กรพิทกั ษ์สิทธิ เสรี ภาพ
นพ.เกษม ตันติผลาชีวะ (2545) ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในปั จจุบนั ซึ่ ง
จิต แพทย์ป ฏิบ ตั ิง านโดยไม่ม ีก ฎหมายสุ ข ภาพจิต ว่า การดูแ ลผูป้ ่ วยที่ม ีปั ญ หาสุ ข ภาพจิต ใน
ประเทศไทยที่ผา่ นมาก็มีปัญหาผูป้ ่ วยไม่ร่วมมือในการรักษา เช่นกัน แต่กจ็ ดั การได้ดว้ ยการตกลงกัน
ระหว่างญาติผปู้ ่ วย เจ้าหน้าที่ตำ รวจ หรื อผูม้ ีอำ นาจซึ่ งเกี่ยวข้องกับแพทย์ผรู ้ ักษา มีการเฝ้ าระวัง
มาตรฐานการรักษาอยูต่ ลอด โดยการประชุม องค์กรแพทย์ ระบบการประกัน คุณภาพของโรง
พยาบาล และแพทยสภา ที่ผา่ นมารู ปแบบของสังคมไทยยังมีความผูกพันเรื่ องเครื อญาติพอสมควร
การดูแลคนป่ วยจึงขึ้นกับญาติเป็ นส่ วนใหญ่ต่างกับต่างประเทศ การพัฒนากฎหมายสุ ขภาพจิตมีผลดี
ทางมาตรฐานการรักษา แต่อาจมีผลเสี ยทำให้เกิดความซับซ้อนในการจัดการดูแลรักษามากขึ้น และ
บุคลากรอาจยังไม่พร้อมจะรองรับระบบที่ซบั ซ้อนเหล่านี้ดว้ ยจำนวนจิตแพทย์ที่จำกัด
ปัจจุบนั กระทรวงสาธารณสุ ขกำลังดำเนินการพัฒนากฎหมายสุ ขภาพจิต ทางกระทรวงได้
ตั้งคณะทำงานการพัฒนากฎหมายสุ ขภาพจิต มีอธิ บดีกรมสุ ขภาพจิตเป็ นประธาน คณะทำงาน
ประกอบด้วยบุคคลจากหลายฝ่ าย เช่น ศาลฎีกา กรมคุม้ ครองสิ ทธิ และเสรี ภาพ กรมราชทัณฑ์ กรม
คุมประพฤติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานสิ ทธิ มนุษยชน สำนักงานส่ งเสริ มสวัสดิภาพและ
พิทกั ษ์เด็ก เยาวชนผูด้ อ้ ยโอกาส คนพิการและผูส้ ู งอายุ นักวิชาการทางกฎหมาย นักวิชาการทาง
จิต เวช ฯลฯ ให้มีห น้า ที่กำ หนดกรอบแนวคิด ในการพัฒ นากฎหมายสุ ข ภาพจิต และจัด ทำร่ า ง
กฎหมายสุ ขภาพจิต ระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2548-2550 มีการประชุมกรอบแนวคิด
และจะจัดทำประชาพิจารณ์ จากนั้นสรุ ปผลเป็ นร่ างกฎหมายต่อสภาผูแ้ ทนราษฎร
การที่คณะกรรมการมาจากสหสาขาวิชาชีพ และมาจากทุกหน่วยงานนั้นย่อมเป็ นการดี ที่จะ
ได้กรอบแนวคิดที่กว้างและชัดเจนจากทุกมุมมอง การทำประชาพิจารณ์ ยังเป็ นโอกาสได้รับความคิด
เห็นจากบุคคลอื่น ๆ ในสังคมและสร้างความตระหนักรู ้ให้กบั สังคมในเรื่ องของสุ ขภาพจิต ซึ่ งเมื่อ
กฎหมายสุ ขภาพจิตสำเร็ จ ก็อาจมีกฎกระทรวง คำสัง่ หน่วยงาน ประกาศสภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง นำ

94
กฎหมายสุ ขภาพจิตไปปฏิบตั ิใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม แต่มิควรเน้นแต่เรื่ องของตัวบทกฎหมาย
ควรต้องมีการเตรี ยมระบบที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายนี้ ให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น เพิ่มจำนวน
บุคลากร โดยเฉพาะจิตแพทย์ที่ยงั มีอยูน่ อ้ ย เมื่อเทียบกับจำนวนงานที่อาจเกิดขึ้น และการพัฒนา
อบรมบุคลากรให้เข้าใจงานที่กำลังจะพัฒนาขึ้น มิฉะนั้นอาจเกิดผลกระทบต่อการให้การบริ การทาง
สุ ขภาพจิตในภาพรวมทั้งหมด ดังที่ นพ.เกษม เสนอไว้

Atlas Project
องค์การอนามัยโลกได้มีโครงการ Atlas Project เพื่อทำการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยว
กับทรัพยากรทางสุ ขภาพจิตในทุกประเทศทัว่ โลก ในปี พ.ศ. 2544 องค์การอนามัยโลกได้ตีพิมพ์
เอกสารสรุ ป โครงการชื่อ Atlas : Mental Health Resources in The World. จุด มุ่ง หมายของ
โครงการนี้นอกจากจะเป็ นรวบรวมทางสถิติแล้ว ยังเป็ นข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้บุคลากรทางสุ ขภาพจิต
หรื อผูว้ างนโยบายในระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะระดับประเทศได้ ว่าประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่องค์การ
อนามัยโลกประเมินในประเทศตนออกมาเป็ นอย่างไร แตกต่างกันกับประเทศอื่นอย่างไร และควร
วางทิศทางการพัฒนาไปในประเด็นใด

การประเมินของ Atlas Project ในประเทศไทย


(ข้อมูลได้จาก กรมสุ ขภาพจิต และจากกระทรวงสาธารณสุ ข)
Mental Health Policy
ประเทศไทยมีนโยบายทางสุ ขภาพจิต ซึ่ งได้เริ่ มพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 มีท้ งั นโยบาย advocacy,
promotion, prevention, treatment and rehabilitation, Administration, Technical development
Substance Abuse Policy
รัฐบาลไทยมีนโยบายและออกกฎหมายต่อต้านยาเสพติด มีการดูแลรักษาบำบัดฟื้ นฟูผทู ้ ี่ติดยาทั้งใน
ส่ วนกลางและส่ วนภูมิภาค กำลังพัฒนารู ปแบบของการดูแลรักษาผูท้ ี่ติดยาเสพติดให้ดีมากยิ ง่ ขึ้น
โดยประสารกับองค์กรระดับนานาชาติ
National Mental Health Programme
ประเทศไทยเริ่ มดำเนินการเรื่ องกฎหมายสุ ขภาพแห่งชาติแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541
National Therapeutic Drug Policy / Essential List of Drugs
ประเทศไทยมียาชนิดต่าง ๆ ตามที่องค์กรอนามัยโลกกำหนดไว้แล้ว
Mental Health Legislation
ซึ่ งประเทศไทยยังไม่มีและยังไม่ได้สรุ ปได้วา่ จะบัญญัติใช้เมื่อใด
Mental Health Financing
ประเทศไทยจัดสรรงบประมาณทางด้านสุ ขภาพจิต คิดเป็ น 2.5% ของงบประมาณทั้งหมด
Mental Health Facilities

95
ประเทศไทยมีนโยบายสวัสดิการแก่ผพู ้ ิการและป่ วยทางจิต มีการดูแลรักษาสุ ขภาพจิต ตั้งสถาบัน
พยาบาลระดับปฐมภูมิ มีการจัดการอบรมบุคลากรทางสาธารณสุ ขระดับปฐมภูมิใ นเรื่ องสุ ขภาพจิต
ยังไม่มีการให้บริ การของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับสุ ขภาพจิตโดยตรง แต่มีแผนจัดตั้ง Home Health
Care Centers
Psychiatric Beds and Professionals
จำนวนเตียงของผูป้ ่ วยจิตเวชในโรงพยาบาลจิตเวช 1.4 เตียงต่อประชากร 10,000 คน
จำนวนเตียงของผูป้ ่ วยจิตเวชในโรงพยาบาลทัว่ ไป - เตียงต่อประชากร 10,000 คน (ไม่มีขอ้ มูล)
จำนวนเตียงของผูป้ ่ วยจิตเวชในสถานพยาบาลลักษณะอื่น ๆ - เตียงต่อประชากร 10,000 คน (ไม่มี
ข้อมูล)
จำนวนจิตแพทย์ 0.6 คนต่อประชากร 100,000 คน
จำนวนประสาทศัลยแพทย์ 0.4 คนต่อประชากร 100,000 คน
จำนวนพยาบาลจิตเวช 17 คนต่อประชากร 100,000 คน
จำนวนนักจิตวิทยาคลินิก 0.1 คนต่อประชากร 100,000 คน
จำนวนเจ้าหน้าที่สงั คมสงเคราะห์ 0.2 คนต่อประชากร 100,000 คน
มีนกั อาชีวบำบัดทั้งหมด 12 คน

Non Government Organization


องค์ก ร NGO มีบ ทบาททางสุ ข ภาพจิต ในประเทศไทย ในด้า น advocacy, promotion and
prevention
Information Gathering System
ประเทศไทยมีการรวบรวมสถิติทางระบาดวิทยาระดับประเทศ
Programmes For Special Population
ประเทศไทยมีโปรแกรมพิเศษทางสุ ขภาพจิตสำหรับกลุ่มประชากรเด็กและผูส้ ู งอายุ
รัฐบาลสนับสนุนโครงการ เรื่ อง การเผยแพร่ ความรู ้ทางสุ ขภาพจิตและการป้ องกันปั ญหาสุ ขภาพจิต
ในครอบครัว
Other Information
ประเทศไทยจะมีแผนการเกี่ยวข้องโครงการทางสุ ขภาพจิตอีกจำนวนหนึ่งในอนาคต ตัวอย่างที่น่า
สนใจเช่น การส่ งเสริ มบทบาทของพระสงฆ์ต่อประชาชนในเรื่ องสุ ขภาพจิต การให้การดูแลทางจิต
สังคมเกี่ยวกับผูป้ ่ วยโรคซึมเศร้า การป้ องกันและช่วยเหลือผูท้ ี่คิดฆ่าตัวตาย การให้การดูแลผูท้ ี่คิดฆ่า
ตัวตาย การให้การดูแลผูท้ ี่พิการทางจิตและเด็กด้อยโอกาสในสังคม

วิเคราะห์ ข้อมูลจาก Altas Project

96
ในปัจจุบนั (พ.ศ. 2548) ข้อมูลหลายส่ วนของประเทศในรายงานนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปในทาง
ที่ดีข้ ึน จำนวนแพทย์ท้ งั ทางจิตแพทย์ อายุรแพทย์ระบบประสาท และประสาทศัลยแพทย์ก เ็ พิ่ม
จำนวนขึ้น เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศให้จิตแพทย์เป็ นสาขาขาดแคลน ขณะนี้สามารถ
ผลิตจิตแพทย์เพิม่ ได้ประมาณ 20 ท่าน/ปี (จากการสอบวุฒิบตั รความรู ้ความชำนาญเฉพาะทาง
จิตเวชศาสตร์ ) ส่ วนอายุรแพทย์ระบบประสาท และประสาทศัลยแพทย์ นั้นจัดเป็ น Sub-Specialty
ปั ญหาทางระบบประสาทหลายอย่างสามารถดูแลได้โดยแพทย์อายุกรรมทัว่ ไปและศัลยแพทย์ทวั่ ไป
บ้า งแล้ว จำนวนแพทย์ต ่อ ประชากรจึง มีแ นวโน้ม ไปในทางที่ด ีข้ ึน แม้ว า่ ตัว เลขอาจย งั ไม่
เปลี่ย นแปลงมากเมื่อดูสาจากจำนวนแพทย์ต่อ ประชากรถึง 100,000 คน เมื่อ เทีย บกับ จำนวน
จิตแพทย์ในประเทศอื่น ๆ เช่น เมื่อเทียบต่อประชากร 100,000 คน สหรัฐอเมริ กาจะมีจิตแพทย์
10.5 คน ประเทศอังกฤษจะมีจิตแพทย์ 11 คน ประเทศทางยุโรปเฉลี่ยจะมีจิตแพทย์ 9 คน
ประเทศสิ ง คโปร์ จะมีจิต แพทย์ 2.1 คน ฮ่อ งกงจะมีจิต แพทย์ 1.3 คน ประเทศญี่ป ุ่ น จะมี
จิตแพทย์ 8 คน ออสเตรเลีย จะมีจิตแพทย์ 14 คน (ประเทศไทยมี 0.6 คน และเฉลี่ยทั้งโลก 1
คน) ปัญหาที่เกิดสำหรับประเทศไทยขณะนี้ในแง่จำนวนบุคลากรน่าจะเป็ นเรื่ องของการลาออกของ
บุคลากรภาครัฐไปสู่ ภาคเอกชน เพราะปั ญหาค่าตอบแทนที่ต่างกันมากและปั ญหาการกระจายปริ มาณ
งาน ทำให้การบริ การไม่สมดุล ประชากรทัว่ ไปต้องรับบริ การลำบากมากขึ้น เป็ นเรื่ องที่ควรแก้ไข
อย่างชัดเจนและเร่ งด่วน รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนนักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์เช่นกัน
จำนวนจะน้อยอย่างชัดเจนมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พฒั นาแล้ว ควรมีนโยบายที่จูงใจมากขึ้นในการ
สร้างทีมบุคลากรทางสุ ขภาพจิต
ทางด้า น Mental Health Legislation ที่เ ป็ น หัว ข้อ หนึ่ง ในการประเมิน ที่สำ ค ญั ว่า
ประเทศไทยยังขาดอยูน่ ้ นั ขณะนี้ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานการพัฒนากฎหมายสุ ขภาพจิต ระดับ
ประเทศแล้ว โดยมีอธิบดีกรมสุ ขภาพจิตเป็ นประธานที่ปรึ กษา ระยะเวลาการดำเนินการระหว่างปี
พ.ศ. 2548-2550
ประเด็นในเรื่ องของบประมาณที่ใช้กบั เรื่ องสุ ขภาพจิต ประเทศที่พฒั นาแล้วส่ วนใหญ่จะใช้
งบประมาณเกิน 5% ของงบประมาณทั้ง หมดลงกับ เรื่ อ งสุ ข ภาพจิต (เช่น ประเทศอัง กฤษ
สหรัฐอเมริ กา แคนนาดา ออสเตรเลีย นิวซี แลนด์) ประเทศไทยอาจต้องพิจารณาในประเด็นนี้
เพราะงบประมาณเป็ นสิ่ งสำคัญในการผลักดันในการผลักดันการพัฒนาด้านต่าง ๆ ตามมา ส่ วนที่มา
ของตัวเงินนั้น ทุกประเทศส่ วนใหญ่จะได้จากเงินภาษี แต่ในประเทศที่พฒั นาแล้ว เงินกองทุน
ประกันสังคมที่เป็ นที่มาอีกอันหนึ่งที่ชดั เจนต่างกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ในประเทศไทย กองทุน
ประกันสังคมยังมีบทบาทไม่ชดั เจนนักกับปั ญหาสุ ขภาพจิต เช่น ปัญหาความเจ็บป่ วยทางสุ ขภาพจิต
หลายอย่างไม่สามารถเบิกประกันสังคมได้
อีกด้า นหนึ่งที่สำ คัญที่ยงั ขาดไปของประเทศไทยคือ ยังไม่มีการให้บ ริ การของชุมชนที่
เกี่ยวข้องกับสุ ขภาพจิตโดยตรง เช่น การให้คำปรึ กษา การให้การช่วยเหลือเมื่อมีความเครี ยด หรื อแม้
กระทัง่ บริ การโดยอ้อม หากเราประเมินด้วยบุคคลทัว่ ไปสิ่ งที่ช่วยส่ งเสริ มสุ ขภาพจิตได้เช่น สิ่ ง
แวดล้อมที่ดี สวนสาธารณะ ศูนย์เยาวชน สนามเด็กเล่น ฯลฯ สิ่ งเหล่านี้กย็ งั ไม่เพียงพอสำหรับ

97
ประชากรในชุมชน อาจจะเป็ นมาจากการไม่ได้จดั สรรงบประมาณเพื่อมาลงทุนทางสุ ขภาพจิตเทียบ
กับในหลายประเทศ ควรมีการส่ งเสริ มความสำคัญของสุ ขภาพจิตต่อสังคม เพื่อสร้างเปลี่ยนแปลง
ในระดับนโยบายและการปฏิบตั ิ

98
99
100

You might also like