You are on page 1of 12

แนวข้อสอบเก่า กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 « นักศึกษานิติศาสตร์ มสธ.

นักศึกษานิติศาสตร์ มสธ.
ยินดีต้อนรับสู่กระดานสนทนานิติศาสตร์

หน้าแรก ยินดีต้อนร้บ

แนวข้อสอบเก่า กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3

แนวข้อสอบเก่า กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 (ขอบคุณ คุณพิษณุโลก (222.123.175.74) วันที่ 11/8/2550 8:41:46)


ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3

นายสมชาย ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องว่า นายกล้าหาญกระทำความผิดฐานยักยอก ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352


ศาลตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าถูกต้อง จึงสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้อง ถ้าปรากฏว่า
(ก) ในวันไต่สวนมูลฟ้อง นายกล้าหาญมาศาลและขอยื่นคำให้การต่อสู้คดีพร้อมทั้งขอสืบพยานเพื่อหักล้างพยานโจทก์
โดยอ้างว่าในการดำเนินคดีอาญา ศาลต้องเปิดโอกาสให้จำเลยได้ต่อสู้ดดีอย่างเต็มที่ กรณีหนึ่ง
(ข)ในวันไต่สวนมูลฟ้องพยานโจทก์ไม่มาศาล ศาลจึงพิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ต่อมาอีก 5
วัน
นายสมชายโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่
โดยอ้างว่าที่พยานโจทก์ไม่มาศาลในวันไต่สวนมูลฟ้องเนื่องจากพยานป่วยต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล อีกกรณีหนึ่ง
ในแต่ละกรณีดังกล่าว ศาลพึงอนุญาตตามคำขอของนายกล้าหาญ และคำร้องของ นายสมชายหรือไม่ เพราะเหตุใด (ตอบโดยอ้างหลักกฎหมายด้วย)

ก) หลักกฎหมาย ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๖๕ วรรค๒และวรรค ๓


วินิจฉัย สำหรับคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ป.วิ.อาญา วางหลักไว้ว่าในชั้นไต่สวนมูลฟ้องนั้นก่อนที่ศาลจะประทับฟ้อง
มิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น คือถือว่าผู้ถูกฟ้องยังไม่เป็นจำเลยนั่นเอง
ผู้ถูกฟ้องซึ่งยังไม่ตกเป็นจำเลยนี้จะมาศาลหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้จะยี่นคำให้การหรือดำเนินการใดๆเกี่ยวกับคดีนั้นมิได้ เว้นแต่กฎหมายอนุญาตให้กระทำได้อย่างเดียว
คือ การซักค้านพยานโจทก์
กรณีตามปัญหา นายกล้าหาญ มาศาลและยื่นคำให้การต่อสู้คดีพร้อมทั้งขอสืบพยาน จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๖๕ วรรค ๒และ วรรค๓
ดังนั้นศาลพึงไม่อนุญาตตามคำขอของ นายกล้าหาญ
(ข) หลักกฎหมาย ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๖๖ วรรค ๑และ๒
วินิจฉัย กรณีที่โจทก์ จะร้องขอให้ศาลยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ได้ตาม ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๖๖ วรรค ๒
นั้น ต้องเป็นกรณีที่ศาลยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้อง
ตามปัญหา ศาลพิพากษายกฟ้องพราะโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๖๖ วรรค ๒ แต่อย่างใด
http://nitistou.wordpress.com/2007/10/31/แนวข้อสอบเก่า-กฎหมายวิธ/ (1 of 12) [31/7/2553 22:15:34]
แนวข้อสอบเก่า กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 « นักศึกษานิติศาสตร์ มสธ.

ดังนั้น ศาลพึงไม่อนุญาตตามคำร้องของ นายสมชาย


จาก Shopgirl (125.26.182.110) วันที่ 30/10/2550 0:47:50

ตอบ No. 1

จาก Shopgirl
วันที่ 30/10/2550 0:58:26 ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3

พงส. สน.A ได้รับสำนวนทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องไปยัง พงอ. พร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนรวม 2 สำนวน ดังนี้


(ก) สำนวนแรกผ้ต้องหาวางยาพิษผู้ตายในบ้านพักของผู้ตายซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่ สน.B แต่ผู้ตายถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่ สน.
A และตำรวจจับผู้ต้องหาได้ในเขตท้องที่ สน.A สำนวนหนึ่ง
(ข)
สำนวนหลัง
ผู้ต้องหานำโทรศัพท์มือถือที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หมายเลขประจำเครื่องมาปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นหมายเลขประจำเครื่องของผู้เสียหายซี่งได้รับอนุญาตจาก
กสท. ที่บริษัทของผู้ต้องหาซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่ สน.B แต่ผู้เสียหายนำโทรศัพท์มือถือไปใช้ในเขตท้องที่ สน.A แล้วถูกคลื่นรบกวน
และตำรวจจับผู้ต้องหาได้ในเขตท้องที่ สน.A อีกสำนวนหึ่ง
ให้วินิจฉัยว่า พงอ. จะรับคดีทั้งสองสำนวนนี้ไว้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ เพราะเหตุใด

(ก) ผู้ต้องหาวางยาพิษในบ้านพักของผู้ตาย ความผิดอาญาที่ผู้ต้องหากระทำย่อมเกิดขึ้นที่บ้านพักของผู้ตายซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจของสน.


B ส่วนที่ผู้ตายถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลเป็นผลของการกระทำผิด (ฎ.3337/2543)หาใช่เป็นความผิดต่อเนื่องตาม ม.19(3)
ไม่ ดังนั้นเขตอำนาจสอบสวนจึงต้องพิจารณาตาม ม.18 พงส.สน.A สามารถสอบสวนได้ตาม ม.18 วรรคสอง
(สำหรับในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี
ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดหรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้)
****แต่เมื่อไม่ปรากฎว่ามีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวกอย่างไรที่จะให้พงส.แห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน
*****กรณีย่อมเข้าเกณฑ์ปกติซึ่งต้องเป็นหน้าที่ของ พงส.แห่งท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตาม ม.18 วรรค 3 ซึ่งก็คือ พงส. สน.B
หาใช่ พงส.สน.A อันเป็นท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับไม่
ดังนั้นการที่ ***พงส.สน.A ซึ่งไม่ใช่พงส.ผู้รับผิดชอบ*** เป็นผู้สรุปทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องไปยังพงอ. พร้อมด้วยสำนวนเพื่อให้พงอ.
พิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ปวิอ.ม.140 , 141 พงอ.จะไม่รับสำนวนคดีนี้ไว้ดำเนินการ
(ข)
ผู้ต้องกานำโทรศัพท์มือถือที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หมายเลขประจำเครื่องมาปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นหมายเลขประจำเครื่องของผู้เสียหายซึ่งได้รับอนุญาตจากกสท.
แม้ผู้ต้องหาจะกระทำการดังกล่าวที่บริษัทของผู้ต้องหาซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่สน.B ก็ตาม
แต่ผลของการกระทำเกิดขึ้นแก่โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย
ทำให้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายถูกรบกวน
จึงเป็นความผิดต่อเนื่องที่กระทำต่อเนื่องกับระหว่างท้องที่ที่บริษัทของผู้ต้องหาตั้งอยู่กับท้องที่ที่ผู้เสียหายนำโทรศัพท์มือถือไปใช้แล้วเกิดเหตุขัดข้อง ซึ่งอยู่ในท้องที่ สน.
A (ฎ.781/2543)
****กรณีจึงเป็นความผิดที่ผู้ต้องหากระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ กันเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปตาม ม.19(3) เมื่อปรากฎว่าจับผู้ต้องหาได้ในเขตท้องที่สน.
A ****กรณีย่อมต้องด้วย ม.19 วรรคสอง (ก) ที่กฎหมายบัญญัติให้พงส.สน.A ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้เป็นพงส.ผู้รับผิดชอบในการสอบสวน
http://nitistou.wordpress.com/2007/10/31/แนวข้อสอบเก่า-กฎหมายวิธ/ (2 of 12) [31/7/2553 22:15:34]
แนวข้อสอบเก่า กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 « นักศึกษานิติศาสตร์ มสธ.

ดังนั้นการที่พงส.สน.A ได้สรุปทำสำนวนความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปยัง พงอ. พร้อมด้วยสำนวนสอบสวนคดีนี้เพื่อให้ พงอ. พิจารณาตาม ปวิอ.ม.140 ,


141 จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย พงอ. ต้องรับสำนวนคดีนี้ไว้เพื่อดำเนินการต่อไป

ตอบ No. 2

จาก Shopgirl
วันที่ 30/10/2550 1:01:42 ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3

ก.ถูก ข.ใช้ไม้ตีศรีษะแตก ก.โจทก์ฟ้อง ข. จำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ศาลชั้นต้นพิจารณาลงโทษจำเลยตามมาตรา 390 ป.


อาญา โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามมาตรา 290 ป.อาญา
ให้วินิจฉัยว่าศาลอุทธรณ์จะรับคำอุทธรณ์ จะรวบรวมพยานหลักฐานและรับฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้หรือไม่

กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 ภาค 2/2548

1. นายชายมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจหนองจอก
ได้ชิงทรัพย์นายชาติในเขตท้องที่สถานีตำรวจมีนบุรี
นายชาติไม่ยอมเกิดการต่อสู้กันนายชายได้รับบาดเจ็บระหว่างต่อสู้ได้กระชากสร้อยคอนายชาติ และได้พาทรัพย์นั้นไปอยู่บ้านของตน
ในที่เกิดเหตุนั้นไม่มีผู้ใดเห็นเหตุการณ์
นายชายไปรักษาที่โรงพยาบาลและขายสร้อยคอในเขตท้องที่สถานีตำรวจหนองจอก
พนักงานสืบสวนเขตท้องที่สถานีตำรวจมีนบุรีสืบทราบว่านายชายอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจหนองจอก
จึงขอความร่วมมือให้สถานีตำรวจหนองจอกช่วยจับนายชายให้ และจับนายชายได้ที่บ้านพัก
ดังนั้น สถานีตำรวจเขตหนองจอกมีอำนาจในการสืบสวนดำเนินคดีแทนสถานีตำรวจมีนบุรีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

2. นายศักดิ์กับนายสุขเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายกบ
นายศักดิ์ถูกนายเขียดใช้อาวุธปืนฆ่านายศักดิ์ตาย
นายกบจึงเป็นโจทย์ยื่นโฟ้องนายเขียดฐานฆ่านายศักดิ์ตายคดีอยู่ระหว่างพิจารณานายกบป่วยหนักและเสียชีวิต
นายสุขจะขอดำเนินคดีต่อจากนายกบจึงมาปรึกษาท่านจะให้คำแนะนำนายสุขอย่างไร เพราะเหตุใด

3. นายผันเป็นโจทก์ฟ้องนายผิวฐานทำร้ายร่างกายถูกตีที่ศีรษะ ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีและพิพากษาให้นายผิวมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ นายผันไม่พอใจคำพิพากษาจึงอุทธรณ์ให้ศาลลงโทษนายผิว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
295 ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จะเรียกสำนวนและสืบพยานใหม่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3

พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องนายวิชัยจำเลยฐานฆ่านายบุญมีโดยเจตนา ศาลสอบคำให้การ
นายวิชัยจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องโดยไม่ได้ตั้งประเด็นต่อสู้
เมื่อพนักงานอัยการโจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบ นายวิชัยจำเลยก็ไม่ได้ซักค้านพยานโจทก์ในประเด็นป้องกันตัว
ครั้นถึงนัดสืบพยานจำเลย นายวิชัยจำเลยจะนำสืบพยานว่าตนได้กระทำโดยป้องกันตัว ดังนี้ นายวิชัยจำเลยกระทำได้หรือไม่
http://nitistou.wordpress.com/2007/10/31/แนวข้อสอบเก่า-กฎหมายวิธ/ (3 of 12) [31/7/2553 22:15:34]
แนวข้อสอบเก่า กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 « นักศึกษานิติศาสตร์ มสธ.

เฉลย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติว่า
เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริงศาลต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง
และถามจำเลยว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้ว่าอย่างไร คำให้การของจำเลยศาลต้องจดไว้
ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การ ศาลต้องจดรายงานไว้และดำเนินการพิจารณาต่อไป (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคสอง)
ถ้าจำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์จะต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำผิด จำเลยอาจให้การปฏิเสธลอยๆ
เพียงว่า จำเลยได้ทราบฟ้องแล้วขอให้การปฏิเสธโดยไม่ได้ตั้งประเด็นข้อต่อสู้ในคำให้การก็ได้ หรือจะปฏิเสธโดยมีข้อต่อสู้อย่างไรก็ได้
จะเห็นได้ว่า คดีที่จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลต้องจดคำให้การของจำเลยไว้เสมอ
แต่ก็ไม่ห้ามที่จำเลยจะยื่นคำให้การปฏิเสธของตนเองเป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาล ซึ่งในกรณีนี้ศาลต้องจดไว้ในรายงานกระบวนการพิจารณาของศาลรวมไว้ในสำนวน
ข้อเท็จจริงตามปัญหาเมื่อศาลสอบถามคำให้การของนายวิชัยจำเลย
นายวิชัยจำเลยย่อมให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องโดยไม่ตั้งประเด็นต่อสู้ได้ เพราะโดยปกติจำเลยมักจะปฏิเสธลอยๆ
โดยไม่ตั้งประเด็นต่อสู้ ซึ่งโดยหลักทั่วไปคำให้การของจำเลยในคดีอาญาไม่ต้องตั้งประเด็นเหมือนในคดีแพ่ง
แม้นายวิชัยจำเลยจะให้การปฏิเสธไว้ลอยๆ และมิได้ซักค้านพยานโจทก์ในเรื่องป้องกัน
ตัวนายวิชัยจำเลยก็สามารถนำสืบในเรื่องป้องกันตัวได้ ทั้งนี้เพราะกระบวนการพิจารณาความในคดีอาญานั้นต่างกับคดีแพ่ง
ในคดีอาญาจำเลยไม่ให้การอย่างใดเลยก็ไม่เป็นไร
และไม่ว่าจำเลยจะให้การต่อสู้อย่างไรหรือไม่ให้การเลยก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ที่จะต้องนำพยานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องก่อนเสมอไป
และเมื่อสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยก็มีสิทธินำพยานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 174)
ดังนั้น นายวิชัยจำเลยสามารถนำสืบพยานจำเลยว่าตนได้กระทำไปโดยป้องกันตัวได้ (ฎีกาที่ 862/2503)
(สอบไล่ ภาค 2/2528)

นาย ก. ยื่นฟ้องในฐานะเป็นบิดาของนาย ข. ผู้เยาว์ กล่าวหาว่า นาย ค. ขับรถโดยประมาทชนรถนาย ข. ทำให้นาย ข.


บาดเจ็บสาหัส
เป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญาฐานหนึ่ง
กับฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการจราจรทางบกอีกฐานหนึ่ง ข้อเท็จจริงได้ความว่า นาย ข.ยังบาดเจ็บสาหัสอยู่ในโรงพยาบาล
และอุบัติเหตุครั้งนี้เกิดขึ้นจากความประมาทของ นาย ข. และนาย ค. ทั้งสองฝ่าย ส่วนนาย ก. เป็นบิดาของนาย ข. จริง แต่มิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของนาย
ข. ในขณะยื่นฟ้อง เพิ่งมาจดทะเบียนสมรสกับมารดาของนาย ข. ในระหว่างการพิจารณาคดีนี้ ดังนี้ ถ้าการกระทำของนาย ค. เป็นความผิดทั้งสองฐาน จงวินิจฉัยว่า นาย
ก. มีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่

เฉลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้วางหลักเกี่ยวกับผู้เสียหายไว้ว่า “ผู้เสียหาย”
หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ดังบัญญัติไว้ในกฎหมาย ซึ่งได้แก่
1. ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
2. ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตาย หรือบาดเจ็บไม่สามารถจัดการเองได้
ผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายดังกล่าวมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
กรณีตามปัญหาสำหรับข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายสาหัส มูลกรณีเข้าเกณฑ์ที่นาย ก.
ในฐานะบิดาตามความเป็นจริงจะจัดการยื่นฟ้องนาย ข. ได้ ตามนัยหลักกฎหมายดังกล่าว (มาตรา 5 (2) ) เพราะคำว่า
“บุพการี” ซึ่งมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในกรณีนี้หมายถึงบุพการีตามความเป็นจริง ไม่จำเป็นต้องเป็นบุพการีตามกฎหมาย อย่างไรก็ดีข้อเท็จจริงได้ความว่า นาย
ข. เองมีส่วนประมาทร่วมอยู่ด้วย ถือว่า นาย ข. มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในการกระทำผิดของนาย ค. นาย ก. บิดาของนาย ข. ย่อมไม่อาจจัดการยื่นฟ้องแทนได้
ส่วนข้อหาฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจราจรทางบก
ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจขรทางบกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือของเจ้าพนักงานในการ…
http://nitistou.wordpress.com/2007/10/31/แนวข้อสอบเก่า-กฎหมายวิธ/ (4 of 12) [31/7/2553 22:15:34]
แนวข้อสอบเก่า กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 « นักศึกษานิติศาสตร์ มสธ.

**คุมระการจราจรให้เป็นไปโดยเรียบร้อยเพื่อสวัสดิการของสังคมโดยส่วนรวม
มิได้มุ่งหมายจะคุ้มครองเอกชนคนใดคนหนึ่งโดนเฉพาะอย่างความผิดฐานการะทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา ดังรั้น นาย
ข. จึงมิใช่ผู้ที่จะอ้างความคุ้มครองตามกฎหมาย และไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ เมื่อนาย ข. มิใช่ผู้เสียหาย นาย ก. จึงไม่อาจจัดการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องแทน
นาย ข. ในข้อหานี้ด้วย
อนึ่ง เมื่อนาย ข. มิใช่ผู้เสียหายแล้ว กรณีนี้ย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นตามกฎหมายว่าการจดทะเบียนสมรสของนาย ก. จะมีผลย้อนหลังให้นาย
ก. มีฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ นาย ข. มาตั้งแต่ยื่นฟ้องหรือไม่ (มาตรา 5
(1) และประเด็นตามกฎหมายว่ามูลกรณีเข้าเกณฑ์ที่จะจัดการฟ้องในข้อหาฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจราจรทางบกแทนนาย ข. ในฐานะผู้บุพการี (มาตรา 5
(2) )ได้หรือไม่แต่ประการใด

ในคดีอาญามี นาย ก. นาย ข. และนาย ค. ร่วมกระทำความผิดด้วยกันฐานฆ่าผู้อื่น ตำรวจจับนาย ก. ได้โดยในชั้นสอบสวน นาย ก. ให้การรับสารภาพและว่านาย


ข. และนาย ค. ร่วมกระทำความผิดด้วย อัยการได้ยื่นฟ้องนาย ก. ต่อศาล และศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษไปแล้ว ต่อมาตำรวจจับนาย ข. และนาย ค.
ได้ แต่อัยการได้ฟ้องเฉพาะนาย ข. ต่อศาล สำหรับนาย ค. นั้นอัยการสั่งไม่ฟ้องเพราะหลักฐานไม่พอ ซึ่งได้ให้ตำรวจสอบไว้เป็นพยาน ต่อมาบุตรของผู้ตายได้ฟ้องนาย
ค. ในเรื่องร่วมกันฆ่าผู้อื่น และศาลมีคำสั่งให้รวมการพิจารณากับคดีของอัยการ เช่นนี้ อัยการจะฟ้องนาย ก. นาย ค.
เป็นพยานในชั้นศาลได้หรือไม่ ให้ยกหลักกฎหมายและเหตุผลประกอบ

เฉลย
เกี่ยวกับการอ้างบุคคลเป็นพยาน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาวางหลักไว้ว่า “ห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน” (มาตรา
232) ดังนั้นตามหลักแล้วโจทก์ไม่ว่าจะเป็นพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายจะอ้างจำเลยในคดีนั้นเป็นพยานไม่ได้
คำว่า “จำเลย” นั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(3) หมายความถึง “บุคคลผู้ถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด”
ด้วยเหตุนี้ หากบุคคลใดที่เป็นผู้กระทำความผิดแต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ยังไม่เรียกว่าเป็นจำเลย
โจทก์ย่อมอ้างเป็นพยานได้ และจำเลยในที่นี้ต้องเป็นจำเลยในคดีที่โจทก์ฟ้องอยู่นั้นโดยเป็นคดีเกี่ยวกันจะรวมการพิจารณาก็ได้
ถือว่าเป็นคดีเดียวกันแล้ว โจทก์จะอ้างจำเลยที่ร่วมพิจารณาคดีเดียวกันเป็นพยานไม่ได้
แต่หากฟ้องคนละคดี อาจจะแยกฟ้องหรือฟ้องคนละครั้งโดยไม่มีการรวมพิจารณาเช่นนี้ไม่ต้องห้ามที่โจทก์จะอ้างมาเป็นพยาน
กรณีตามปัญหาสำหรับ ก. นั้นจะเห็นได้ว่าถูกฟ้องเป็นคนละคดีกับ ข. และศาลพิพากษาลงโทษ ก.ไปแล้วจึงไม่ตกเป็นจำเลยในคดีเดียวกับ ข. ดังนั้นอัยการโจทก์จึงอ้าง
ก. เป็นพยานในคดีที่ฟ้อง ข. ได้แม้จะได้ความว่าร่วมกระทำผิดกับ ข. ก็ตาม
สำหรับ ค. นั้นจะเห็นได้ว่าผู้เสียหายเป็นบุตรของผู้ตายได้ฟ้องเป็นจำเลย
และศาลได้สั่งรวมพิจารณาคดีกับคดีของพนักงานอัยการโจทก์แล้ว
คดีจึงตกเป็นจำเลยในคดีเดียวกับที่อัยการยื่นฟ้อง
แม้พนักงานอัยการจะได้ให้ตำรวจสอบไว้เป็นพยานก็จะอ้างในชั้นศาลไม่ได้เพราะต้องห้ามตามหลักกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นพนักงานอัยการโจทก์จะอ้าง ก. เป็นพยานไม่ได้

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานชิงทรัพย์ โจทก์มีประจักษ์พยาน 2 ปาก


แต่โจทก์ไม่สามารถนำพยานมาเบิกความที่ศาลได้
โจทก์จึงส่งคำให้การชั้นสอบสวนของประจักษ์พยานต่อศาลแทน ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานชิงทรัพย์จำคุก 5
ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์จำคุก 4 ปี
จำเลยยื่นฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมานั้นเป็นคำให้การชั้นสอบสวนจึงเป็นพยานบอกเล่า ไม่สามารถรับฟังลงโทษจำเลยได้ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง
ดังนี้ ฎีกาของจำเลยต้องห้ามหรือไม่

เฉลย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
วางหลักไว้ว่าในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกิน 5
ปี ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

http://nitistou.wordpress.com/2007/10/31/แนวข้อสอบเก่า-กฎหมายวิธ/ (5 of 12) [31/7/2553 22:15:34]


แนวข้อสอบเก่า กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 « นักศึกษานิติศาสตร์ มสธ.

กรณีตามปัญหาศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์จำคุก 5 ปี
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์เช่นเดียวกัน เพียงแต่แก้ให้ลงโทษจำคุก 4 ปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงจำคุกไม่เกิน 5
ปี จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่จำเลยฎีกาว่าพยานโจทก์เป็นพยานบอกเล่าไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้นั้น
เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายจึงไม่ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมาย ฎีกาของจำเลยจึงไม่ต้องห้าม

โจทก์ฟ้องคดีอาญาขอให้ศาลลงโทษจำเลยในความผิด 2 กระทง คือทำร้ายผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา


295 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท และความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335
(1) ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000
บาท ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดทั้งสองกระทงแต่จำเลยอายุเพียง 15
ปี ไม่ควรลงโทษจำคุกให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางมีกำหนด 3
ปี จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายและไม่ได้ลักทรัพย์ตามฟ้อง ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานไม่ถูกต้อง
ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายอฟ้อง จงอธิบายโดยยกหลักกฎหมายประกอบว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามตามหลักกฎหมายหรือไม่เพราะเหตุใด

เฉลย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
วางหลักไว้ว่า
“ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่
(1) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก
(2) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้
(3) ศาลพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดแต่รอการลงโทษไว้ หรือ
(4) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินกว่าห้าร้อยบาท
กรณีตามปัญหา กระทงที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายนั้นมีอัตราโทษจำคุกเพียงสองปีหรือปรับไม่เกิน 4,000
บาท อัตราโทษไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ข้างต้น
การที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่ให้ส่งตัวไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง
ไม่เป็นการพิพากษาลงโทษจำคุกหรือกักขังหรือรอการกำหนดโทษแต่อย่างใด จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายและฐานลักทรัพย์
แต่ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานไม่ถูกต้องนั้นเป็นการอุทธรณ์เกี่ยวกับดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
อุทธรณ์ของจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายจึงต้องห้ามตามกฎหมาย
ความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนนั้นมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5
ปีซึ่งมีอัตราโทษเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ข้างต้นจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนได้

ก. ลักสลากกินแบ่งรัฐบาลราคาฉบับละ 20 บาทจำนวน 2 ฉบับของ ข.ไป ปรากฏว่าฉบับหนึ่งถูกรางวัลเป็นเงิน 5,000 บาท ก.จึงเอาไปขึ้นเงิน ต่อมาเจ้าพนักงานจับ


ก. และอัยการยื่นฟ้อง ก. ฐานลักทรัพย์ ขอให้จำเลยคืนเงินรางวัลจำนวน 5,000 บาท
แก่ผู้เสียหายกับค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายต้องเสียไปในการเนินคดี ศาลพิจารณาแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยกับสั่งให้จำเลยคืนเงินรางวัลจำนวน 5,000
บาทแก่ผู้เสียหาย ส่วนคำขออื่นให้ยก ดังนี้ คำสั่งของศาลชอบหรือไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 วางหลักไว้ว่า คดีลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง
ยักยอกหรือรับของโจร

http://nitistou.wordpress.com/2007/10/31/แนวข้อสอบเก่า-กฎหมายวิธ/ (6 of 12) [31/7/2553 22:15:34]


แนวข้อสอบเก่า กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 « นักศึกษานิติศาสตร์ มสธ.

ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญาก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย
จากหลักกฎหมายดังกล่าว อัยการจึงมีอำนาจเรียกร้องทรัพย์สินคืนหรือเรียกเอาราคาทรัพย์สินตามประเภทคดีรวม 9
ประเภท และมีอำนาจจำกัดเฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่ต้องสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืนเท่านั้น การเรียกร้องอย่างอื่น
เช่น
ค่าเสียหายในการละเมิดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปเนื่องจากการทำผิด รวมทั้งการเรียกร้องประการอื่นนอกจากที่เรียกคืนทรัพย์หรือเรียกให้ชดใช้ราคาทรัพย์ผู้เสียหายจะต้องดำเนินการเอง
ตามปัญหา คำสั่งที่สั่งให้จำเลยใช้คืนเงินรางวัล 5,000 บาท นั้นชอบแล้ว
เพราะว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลฉบับที่ถูกรางวัลย่อมมีมูลค่าเท่ากับรางวัลที่ได้รับ เมื่ออัยการฟ้องคดีอาญาฐานลักทรัพย์จึงมีอำนาจเรียกให้ ก. ชดใช้คืนเงินรางวัลแทน ข.
ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43
สำหรับค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายต้องเสียไปในการดำเนินคดีคำสั่งศาลที่สั่งให้ยกคำขอในส่วนนี้ชอบแล้ว
เพราะอำนาจของอัยการคามมาตรานี้จำกัดเฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดนั้น
และอัยการได้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหาย ดังนั้น อัยการจึงไม่มีอำนาจขอให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ ข. ต้องเสียไปในการดำเนินคดีให้แก่ ข.
สรุป คำสั่งศาลที่สั่งให้จำเลยใช้คืนเงินรางวัล และยกคำขอของอัยการที่ให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ ข. ต้องเสียไปในการดำเนินคดีนั้น ชอบแล้ว

โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย


จำเลยฎีกา ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง
ศาลถามจำเลยแล้วจำเลยไม่คัดค้าน ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้มีคำพิพากษายกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย
ดังนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จะมีผลอย่างไร

เฉลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 วางหลักไว้ว่า คดีอาญาที่ได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้วจะนำมาฟ้องอีกหาได้ไม่ เว้นแต่จะเข้าอยู่ในข้อยกเว้นดังต่อไปนี้
ฯลฯ
(3) ถ้าผู้เสียหายไดยื่นฟ้องคดีอาญาๆว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย การถอนฟ้องนี้ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้นใหม่ เว้นแต่คดีตามความผิดต่อส่วนตัว
จากหลักกฎหมายดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้เสียหายได้ถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวซึ่งตนได้เป็นโจทก์ฟ้องไปแล้ว
พนักงานอัยการย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีนั้นใหม่เพราะถือว่าคดีอาญาได้ระงับไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
(2) และการถอนฟ้องนี้ย่อมมีผลไปถึงศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาด้วย
ตามปัญหา ความผิดฐานยักยอกทรัพย์เป็นความผิดต่อส่วนตัวซึ่งยอมความกันได้
เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องในระหว่างที่คดีอยู่ในชั้นศาลฎีกาโดยจำเลยไม่ได้คัดค้าน
และศาลฎีกาอนุญาตให้ให้โจทก์ถอนฟ้องได้ สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
(2)
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แม้จะพิพากษาลงโทษจำเลยไว้ก็ย่อมระงับไปในตัวไม่มีผลบังคับต่อไป ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องมีคำพิพากษาให้ยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแต่อย่างใด
สรุป คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ไม่มีผลบังคับแก่จำเลย เพราะโจทก์ถอนฟ้องคดีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว คดีอาญาระงับไปแล้วคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมระงับไปในตัว

นาย ก. บิดานางสาว ข. มีความประสงค์จะยื่นฟ้องกล่าวหานาย ค. เนื่องจากนาย ค. พรากนางสาว ข. ผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร และต่อมาในระหว่างอยู่กินกัน นาย


ค. เมาสุราใช้กำลังทุบตีนางสาว ข. จนเป็นเหตุให้นางสาว ข. ถึงแก่ความตาย ข้อเท็จจริงได้ความว่า นางสาว ข. สมัครใจหนีตามนาย ค. ไปเอง ส่วนนาย
ก. นั้นเป็นบิดาของนางสาว ข. จริง แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของนางสาว ข. และไม่ปรากฏว่านาย ก. ได้จดทะเบียนรับรองนางสาว ข. เป็นบุตร
ดังนี้ ถ้าการกระทำของนาย ค. เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์และทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย จงวินิจฉัยว่า นาย ก. มีอำนาจเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนาย ค.
ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย

http://nitistou.wordpress.com/2007/10/31/แนวข้อสอบเก่า-กฎหมายวิธ/ (7 of 12) [31/7/2553 22:15:34]


แนวข้อสอบเก่า กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 « นักศึกษานิติศาสตร์ มสธ.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้วางหลักเกี่ยวกับผู้เสียหายไว้ว่า “ผู้เสียหาย”


หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย ซึ่งได้แก่
1. ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
2. ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตาย หรือบาดเจ็บไม่สามารถจัดการเองได้
ผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายดังกล่าวมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
สำหรับกรณีตามปัญหา ขอแยกพิจารณาเป็นสองประเด็น
สำหรับปัญหาผู้เยาว์ นาย ก. เป็นผู้เสียหายเนื่องจากนาย ค. พรากนางสาว ข. ไปเสียจากความดูแลของตน มิใช่กรณีที่นางสาว ข. เป็นผู้เสียหายและนาย
ก. จัดการยื่นฟ้องแทนในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม (มาตรา 5(1) ) หรือ ในฐานะเป็นผู้บุพการี (มาตรา 5(2) ) นาย ก. จึงย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องนาย
ค. ในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ได้
ส่วนข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ถึงแม้โดยนิตินัย นาย ก. จะไม่มีความสัมพันธ์ฉันบิดาและบุตรกับนางสาว ข. ก็ตาม แต่นาย
ก. ก็เป็นบิดาที่แท้จริงของนางสาว ข. ผู้เสียหายซึ่งถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย จึงถือเป็นผู้บุพการีตามนัยหลักกฎหมายดังกล่าวที่จะจัดการยื่นฟฟ้องคดีแทนนางสาว ข.
ได้ (มาตรา 5(2) ) นาย ก. จึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องนาย ค. ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกัน

ตอบ No. 3

จาก Shopgirl
วันที่ 30/10/2550 1:18:38 ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 ภาค 1/2548

โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาปล้นทรัพย์ สืบพยานโจทก์จำเลยได้ข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1,2,3


ไม่ได้ปล้นทรัพย์โจทก์แต่พยายามข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งโทษกระทำชำเราน้อยกว่าปล้นทรัพย์ ศาลจะลงโทษจำเลยทั้ง 3
ในฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3

นายสมปอง ยื่นฟ้องนายสมชายข้อหาหมิ่นประมาท สาเหตุเนื่องมาจากนายสมชายกล่าวคำหมิ่นประมาท นายสมปอง ระหว่างศาลพิจารณาคดี


นายสมปองเป็นลมตาย และนายสมปองมีญาติอยู่เพียง ๒ คนคือ นายหนึ่ง ซึ่งเป็นปู่ และนายสองซึ่งเป็นลูกชาย มีอายุ ๑๖ ปี
ทั้งนายหนึ่งและนายสองต่างยื่นคำร้องต่อศาล ขอดำเนินคดี นายสมชายข้อหาหมิ่นประมาทแทนนายสมปองต่อไป
ดังนี้ ศาลจะอนุญาตตามคำร้อง ของนายหนึ่งและนายสองหรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ No. 4

จาก Shopgirl
วันที่ 30/10/2550 1:32:04 ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 ภาค 2/2548

http://nitistou.wordpress.com/2007/10/31/แนวข้อสอบเก่า-กฎหมายวิธ/ (8 of 12) [31/7/2553 22:15:34]


แนวข้อสอบเก่า กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 « นักศึกษานิติศาสตร์ มสธ.

1. นายชายมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจหนองจอก
ได้ชิงทรัพย์นายชาติในเขตท้องที่สถานีตำรวจมีนบุรี
นายชาติไม่ยอมเกิดการต่อสู้กันนายชายได้รับบาดเจ็บระหว่างต่อสู้ได้กระชากสร้อยคอนายชาติ และได้พาทรัพย์นั้นไปอยู่บ้านของตน
ในที่เกิดเหตุนั้นไม่มีผู้ใดเห็นเหตุการณ์
นายชายไปรักษาที่โรงพยาบาลและขายสร้อยคอในเขตท้องที่สถานีตำรวจหนองจอก
พนักงานสืบสวนเขตท้องที่สถานีตำรวจมีนบุรีสืบทราบว่านายชายอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจหนองจอก
จึงขอความร่วมมือให้สถานีตำรวจหนองจอกช่วยจับนายชายให้ และจับนายชายได้ที่บ้านพัก
ดังนั้น สถานีตำรวจเขตหนองจอกมีอำนาจในการสืบสวนดำเนินคดีแทนสถานีตำรวจมีนบุรีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

2. นายศักดิ์กับนายสุขเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายกบ
นายศักดิ์ถูกนายเขียดใช้อาวุธปืนฆ่านายศักดิ์ตาย
นายกบจึงเป็นโจทย์ยื่นโฟ้องนายเขียดฐานฆ่านายศักดิ์ตายคดีอยู่ระหว่างพิจารณานายกบป่วยหนักและเสียชีวิต
นายสุขจะขอดำเนินคดีต่อจากนายกบจึงมาปรึกษาท่านจะให้คำแนะนำนายสุขอย่างไร เพราะเหตุใด

3. นายผันเป็นโจทก์ฟ้องนายผิวฐานทำร้ายร่างกายถูกตีที่ศีรษะ ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีและพิพากษาให้นายผิวมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ นายผันไม่พอใจคำพิพากษาจึงอุทธรณ์ให้ศาลลงโทษนายผิว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
295 ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จะเรียกสำนวนและสืบพยานใหม่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3

นายสมปองยื่นฟ้องนายสมชายข้อหาหมิ่นประมาท สาเหตุเนื่องจาก นายสมชายกล่าวคำหมิ่นประมาทนายสมปอง ระหว่างศาลพิจารณาคดี


นายสปองเป็นลมตาย นายสมปองมีญาติเพียง ๒ คน คือ ปู่ อายุ๘๐ ปี ชื่อ นายหนึ่ง และลูกชายอายุ ๑๖ ปี คือ นายสอง ทั้งนายหนึ่งและนายสอง
ต่างยื่นคำร้องต่อศาล ขอดำเนินคดี นายสมชาย ข้อหาหมิ่นประมาท แทนนายสมปองต่อไป ดังนี้ถ้าเป็นศาลท่านจะอนุญาตตามคำร้อง ของนายหนึ่ง
และนายสองหรือไม่ เพราะเหตุใด…

หลักกฎหมาย ป.วิอาญาม.๕(๑),ม. ๒๙
เมื่อผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ป.วิอาญา ม. ๒๙ กำหนดให้ ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา
ของผู้เสียหายที่แท้จริง สามารถยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้ามาดำเนินคดีแทนผู้ตายต่อไปก็ได้
กรณีตามปัญหา เมื่อนายสมปอง ยื่นฟ้อง นายสมชายแล้วเป็นลมตายลง ถึงแม้ข้อหาที่ฟ้องจะเป็นข้อหาหมิ่นประมาท ก็เป็นกรณีตาม ป.วิอาญา ม. ๒๙
ดังนั้น นายหนึ่งซึ่งเป็นปู่ ของนายสมปอง ถือว่าเป็นผู้บุพการี ของนายสมปอง จึงมีสิทธิเข้าดำเนินคดีนายสมชาย ในข้อหาหมิ่นประมาทแทนนายสมปองต่อไปได้
ส่วนนายสองนั้นแม้จะเป็นลูกชาย ของนายสมปอง ซึ่งถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน แต่เนื่องจากนายสอง มีอายุ ๑๖ ปี ยังอยู่ในฐานะผู้เยาว์ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้
ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้จัดการแทน ในกรณีความผิดอาญาได้กระทำต่อผู้เยาว์ ตามป.วิอาญา ม. ๕(๑)
ผู้เยาว์จึงไม่อาจฟ้องคดีอาญา และไม่สามารถเข้ารับมรดกความทางอาญาด้วย
ดังนั้น ศาลจึงต้องสั่งอนุญาต ตามคำร้องของนายหนึ่ง และ ยกคำร้องของนายสอง ตามหลักกฎหมายดังกล่าว และได้ปรับวินิจฉัยแล้วข้างต้น

1. ก. กับ ข. เป็นลูกหนี้ร่วม ค. จำนวน 600000 บาท ข.ได้ใช้หนี้ให้ ค.ไปแล้วบางส่วนเป็นจำนวนเงิน 500000 บาท ต่อมา ก.ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องล้มละลาย
ค.ขอชำระหนี้ส่วนที่เหลือ 100000 บาท ถามว่า ข. จะขอชำระหนี้ได้เท่าไร และถ้า ค.ไม่ขอชำระหนี้ ข.จะขอชำระหนี้ได้เท่าไร

2. ก. ฟ้องขับไล่ ข. ออกจากที่ ข. ให้การว่าและฟ้องแย้งว่าที่เป็นของตนและถ้าออกไปต้องเสียค่าใช้จ่าย


3000 ในการที่ตนได้ถมที่ส่วนที่เป็นหลุมและค่าฟ้องขับไล่ผู้คนที่อาศัยอยู่ก่อนนี้ออกไป ศาลจะรับคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยหรือไม่

http://nitistou.wordpress.com/2007/10/31/แนวข้อสอบเก่า-กฎหมายวิธ/ (9 of 12) [31/7/2553 22:15:34]


แนวข้อสอบเก่า กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 « นักศึกษานิติศาสตร์ มสธ.

3. ก.ฟ้อง ข. ออกจากห้องเช่า เรียกค่าเช่าเดือนละ 3000บาท ข.ให้การว่าสัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ


และฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมไม่รู้ว่าเช่าที่ใด ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ ข.แพ้คดี ให้ออกจากที่และใช้ค่าเสียหายเดือนละ 50 บาท จนถึงวันที่ออกไป
ข.อุทธรณ์เรื่องฟ้องเคลือบคลุม และฎีกาว่าสัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษได้หรือไม่

ตอบ No. 5

จาก Shopgirl
วันที่ 30/10/2550 1:35:53 ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 ภาค 1/2549

1. ดีฟ้องเลวในฐานฯ จ่ายเช็คจำนวน 1.0 ล้านบาท ในการชำระหนี้ค่าซื้อรถยน โดยเจตนาไม่ให้มีการเงินตามเช็ค ธ.เจ้าของเช็คปฏิเสธการจ่าย ข้อ


เงินในบัญชีไม่พอจ่าย ในการพิจารณา ได้ความว่าสัญญาซื้อขายรถยนต์ไม่มีขึ้นจริง ศาลจึงยกฟ้องนายเลว..คดีถึงที่สุด ต่อมานายดี ได้ยื่นฟ้องแพ่งนายเลว
ให้รับผิดตาม พรบ.ว่าด้วยเช็ค นายเลวต่อสู้ ทั้งสองสายขอนำสืบพยาน
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญาที่ได้พิพากษาแล้ว
จึงสั่งงดสืบพยาน และยกฟ้องนายเลวไม่ต้องรับผิดตามเช็ค จงพิจารณาว่า ศาลสั่งงดสืบพยาน และพิพากษายกฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

2. อัยการฟ้องว่าทำร้ายร่างกาย แต่พอสืบพยานโจทก์ไป 2 ปาก ปรากฎว่าเป็นทำร้ายร่างกายสาหัส อัยการจะยื่นขอแก้คำฟ้องได้หรือไม่

3. ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก5ปี+โทษเดิมที่รอลงอาญาจากคดีเดิม6เดือน รวมเป็น 5ปี6เดือน ศาลอุทธรน์ปรับมาตราลงโทษ


แต่นอกนั้นพิพากษาตามศาลชั้นต้น ถามว่าจำเลยฎีกาได้หรือไม่

ตอบ No. 6

จาก ต้น…….น้ำ
วันที่ 30/10/2550 13:29:51 1.
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรย่อมแสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในข้อหาเดียวเท่านั้น
การที่จำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องโจทก์ทุกประการจึงเป็นคำรับสารภาพที่ไม่สามารถรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความในข้อหาใดโจทก์จึงต้องนำพยานเข้าสืบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดในข้อหาใดข้อหาหนึ่ง
แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ได้ความเช่นนั้น
และแม้ว่าคำร้องขอบรรเทาโทษของจำเลยจะมีเนื้อหาว่าจำเลยรับซื้อไมโครโฟนของกลางไว้เพื่อให้หลานใช้ร้องเพลงเล่นก็ตาม
แต่คำร้องบรรเทาโทษมิใช่คำให้การแต่เป็นเพียงการขอใลงโทษสถานเบาและบรรยายเหตุผลต่างๆให้ศาลปราณี
เมื่อคำให้การของจำเลยไม่สามารถรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดในข้อหาใด ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้ ฎ.6742/2544 หน่วยที่ 8 หน้า35

2.ในคดีข้อหารับของโจรซึ่งผู้เสียหายต้องเสียเงินไถ่ทรัพย์คืน
เมื่อพนักงานอัยการฟ้องคดีอาญาจะขอให้จำเลยชดใช้เงินค่าไถ่ทรัพย์ดังกล่าวมิได้ เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาตาม ป วิอาญา ม.43 ฎ.660/2480 และ
ฎ.442/2507 หน่วยที่7 หน้า 84
http://nitistou.wordpress.com/2007/10/31/แนวข้อสอบเก่า-กฎหมายวิธ/ (10 of 12) [31/7/2553 22:15:34]
แนวข้อสอบเก่า กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 « นักศึกษานิติศาสตร์ มสธ.

3.แม้การริบของกลางเป็นโทษทางอาญาก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์มีคำขอให้ริบวัตถุระเบิดและเครืองกระสุนปืนของกลาง และ ป วิอาญา ม.186


(9)ก็บัญญัติให้ศาลจะต้องมีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลางในคำพิพากษาหรือคำสั่งด้วย ดังนั้น
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยไม่มีคำสั่งเรื่องของกลางจึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว
โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ในเรื่องของกลางด้วย
ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจทำคำวินิจฉัยในเรื่องของกลางนี้ได้ เพราะมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยและไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ฎ.1020/2541 หน่วยที่9 หน้า
1211.
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรย่อมแสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในข้อหาเดียวเท่านั้น
การที่จำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องโจทก์ทุกประการจึงเป็นคำรับสารภาพที่ไม่สามารถรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความในข้อหาใดโจทก์จึงต้องนำพยานเข้าสืบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดในข้อหาใดข้อหาหนึ่ง
แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ได้ความเช่นนั้น
และแม้ว่าคำร้องขอบรรเทาโทษของจำเลยจะมีเนื้อหาว่าจำเลยรับซื้อไมโครโฟนของกลางไว้เพื่อให้หลานใช้ร้องเพลงเล่นก็ตาม
แต่คำร้องบรรเทาโทษมิใช่คำให้การแต่เป็นเพียงการขอใลงโทษสถานเบาและบรรยายเหตุผลต่างๆให้ศาลปราณี
เมื่อคำให้การของจำเลยไม่สามารถรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดในข้อหาใด ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้ ฎ.6742/2544 หน่วยที่ 8 หน้า35

ข้อสอบ 1/50

Ads by Google
น้ำหอม ดึงดูดทางเพศ
เพิ่มรัก สร้างเสน่ห์ ปลุกอารมณ์ได้ เห็นผลแน่นอน ของแท้ นำเข้าจากยุโรป
www.sanaeh.com

เร่งรัดหนี้ แบบถูกกฏหมาย
ปรึกษาฟรี รับเฉพาะหนี้การค้า โดยมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 20 ปี
www.inra.co.th

สำนักงานทนายความ รับฟ้อง
ปรึกษากฎหมาย ทนาย 085-960-4258 คดีครอบครัว มรดก อำนาจปกครองบุตร
www.lawyerleenont.com

บริษัท กรุงเทพลิสซิ่ง จก.


รับจำนองบ้าน-ที่ดิน(ทั่วประเทศ)ไม่ มีปากถุงดบ.ล่วงหน้า,รับจัดไฟแนนซ์รถ
www.ktls.co.th

This entry was posted on วันพุธ, ตุลาคม 31st, 2007 at 11:07 am and is filed under 41343 กม.วิธีสบัญญัติ 3. You can follow any responses to this

entry through the RSS 2.0 feed. You can leave a response, or trackback from your own site.

http://nitistou.wordpress.com/2007/10/31/แนวข้อสอบเก่า-กฎหมายวิธ/ (11 of 12) [31/7/2553 22:15:34]


แนวข้อสอบเก่า กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 « นักศึกษานิติศาสตร์ มสธ.

ใส่ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น

● คลังเก็บ

❍ พฤศจิกายน 2007
❍ ตุลาคม 2007

● หมวดหมู่

❍ 40101 ความรู้เบื้องต้น
❍ 41201 กฎหมายมหาชน
❍ 41211 กฎหมายแพ่ง 1
❍ 41212 กฎหมายแพ่ง 2
❍ 41213 กม.ทรัพย์สิน
❍ 41231 กฎหมายอาญา 1
❍ 41232 กฎหมายอาญา 2
❍ 41311 กฎหมายแพ่ง 3
❍ 41321 กฎหมายพาณิชย์ 1
❍ 41322 กฎหมายพาณิชย์ 2
❍ 41323 กฎหมายพาณิชย์ 3
❍ 41324 กฎหมายพาณิชย์ 4
❍ 41341 กม.วิธีสบัญญัติ 1
❍ 41342 กม.วิธีสบัญญัติ 2
❍ 41343 กม.วิธีสบัญญัติ 3
❍ 41451 กม.ระหว่างประเทศ
❍ ข่าว ประกาศ

Theme Contempt by Vault9.


บลอกที่ WordPress.com .

http://nitistou.wordpress.com/2007/10/31/แนวข้อสอบเก่า-กฎหมายวิธ/ (12 of 12) [31/7/2553 22:15:34]

You might also like