You are on page 1of 150

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 1 และวิธีตอบคำาถามที่ถูกต้อง

เด็กชายดี อายุ 14 ปี เป็นเด็กมีความประพฤติดีและสอบได้คะแนนดี นายเด่นบิดาจึงซื้อจักรยานเสือภูเขาให้ 1 คัน ราคา 5,000


บาท เด็กชายดีขี่จักรยานผ่านหน้าบ้านนายดัง (นักศึกษาปริญญาเอก) ทุกวัน ๆ ละหลาย ๆ รอบ นายดังชอบรถจักรยานคันนั้น
และแอบรู้ว่าเด็กชายดีเป็นคนขี้เบื่อ-เชื่อคนง่ายจึงสอนให้เด็กชายดีขี่มอเตอร์ไซค์จนเป็น เด็กชายดีเบื่อรถจักรยานและอยากได้
มอเตอร์ไซค์แทน นายดังจึงออกตัวว่าสงสารเด็กชายดีและจะรับซื่อรถจักรยานเองแต่ขอให้ขายราคาถูกเพียง 2,000 บาท เด็ก
ชายดี ดีใจ จึงรีบขายทันที แล้วทุบกระปุกออมสินได้เงินมากพอไปซื้อมอเตอร์ไซค์ นายเด่นบิดาโกรธหาว่านายดังหลอกเด็กจึง
พามาพบท่านในฐานะทนายความ ท่านจะแนะนำานายเด่นว่าอย่างไร

(แนวคำาตอบ)

ย่อหน้าที่หนึ่งเน้นหนักไปทางแก่นกฎหมายแยกเป็นหมวดหมู่สาระสำาคัญ

บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่อง ความสามารถในการทำานิติกรรมของผู้
เยาว์ มีสาระสำาคัญสรุปได้ดังนี้
-นิติกรรมใด ๆ ที่ผู้เยาว์ทำาไปโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนย่อมเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็น
อย่างอื่น
-ผู้แทนโดยชอบธรรมมีสิทธิ...
1.ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมออันเป็นโมฆียะนั้นให้สมบูรณ์ได้หรือ
2.บอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้นให้ตกเป็นโมฆะ
-การให้สัตยาบันต่อนิติกรรมที่ผู้เยาว์ได้ทำาไปโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมนั้นย่อมกระทำาได้โดยแสดง
เจตนาต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งและมีผลให้นิติกรรมดังกล่าวสมบูรณ์ตลอดไป
-การบอกล้างนิติกรรมที่ผู้เยาว์ได้ทำาไปโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น ย่อมกระทำาได้โดยแสดงต่อคู่กรณี
อีกฝ่ายหนึ่ง มีผลให้นิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะคือเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรก และให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ถ้าเป็นการ
พ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้แทนนอกจากนี้หากผู้มีสิทธิบอกล้างมฆียะกรรมมิได้ใช้สิทธิบอกล้าง
เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปี นับแต่ได้ทำานิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น
(ย่อหน้าที่สอง เน้นหนักไปในทางวินิจฉัย หรือปรับบทกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริง ภาษากฎหมายมาตรานั้น วรรคนั่น เขาเรียก
ว่าอะไรก็เรียกไปตามนั้น)
กรณีตามปัญหาวินิจฉัยดังนี้ เด็กชายดีอายุ 14 ปี ผูเ้ ยาว์ในฐานะผู้ขายตกลงขายรถจักรยานเสือภูเขา ซึ่งนายเด่นบิดาซื้อมาให้
ตนในราคา 5,000 บาท แก่นายดังผู้ซื้อในราคาเพียง 2,000 บาท โดยยังไม่ได้รับความยินยอมจากนายเด่นบิดาของเด็กชายดี
ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายดีผู้เยาว์ ทำาให้นิติกรรมซึ่งก็หมายถึงสัญญาซื้อขายรถจักรยานเสือภูเขาระหว่างเด็ก
ชายดีผู้ขายกับนายดังผู้ซื้อนั้นตกเป็นโมฆียะ เมื่อนายเด่นมาปรึกษาข้าพเจ้าในฐานะทนายความข้าพเจ้าจะแนะนำาให้นายเด่น
พิจารณาทางเลือกเป็น 2 แนวทางดังนี้
ก.ทางเลือกที่หนึ่ง หากนายเด่นตัดสินใจยอมรับนิติกรรมซึ่งหมายถึงสัญญาซื่อขายที่เด็กชายดีบุตรของตนในฐานะผู้ขายได้ทำา
ขึน้ กับนายดังในฐานะผู้ซื้อ นายเด่นสามารถให้สัตยาบันแก่นิติกรรมหรือสัญญาซื้อขายนั้นได้ด้วยการแสดงเจตนายินยอมให้
นายดังรับทราบ หรือทอกระยะเวลาออกไปให้พ้นหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เด็กชายดีและ
นายดังทำานิติกรรมซึ่งหมายถึงสัญญาซื้อขายนั้น
ข. ทางเลือกที่สอง หากนายเด่นตัดสินใจไม่ยอมรับนิติกรรมซึ่งหมายถึงสัญญาซื้อขายที่เด็กชายดีบุตรของตนในฐานะผู้ขายได้
ทำาขึ้นกับนายดังในฐานะผู้ซื้อ นายเด่นสามารถบอกล้างนิติกรรมหรือสัญญาซื้อขายนั้นได้ด้วยการแสดงเจตนาบอกล้างให้นาย
ดังทราบ มีผลให้นิติกรรมซึ่งหมายถึงสัญญาซื้อขายนั้นตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกและให้เด็กชายดีและนายดังคู่กรณีกลับคืนสู่
ฐานะเดิมคือเด็กชายดีต้องคืนราคาคือเงินค่าซื้อรถจักรยานที่ได้รับจากนายดังให้แก่นายดังไป และนายดังต้องคืนรถจักรยาน
คันที่เด็กชายดีส่งมอบให้เพราะเป็นการปฏิบัติตามการซื้อขาย และถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะได้คืน เช่นนายดังทำาให้รถจักรยาน
พังเสียหาย นายดังก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่เด็กชายดี
(ย่อหน้าที่สาม สรุปสั้น ๆ ตามคำาถามทีละประเด็นให้ครบถ้วน)
สรุปหรือธง
ข้าพเจ้าแนะนำาให้นายเด่นพิจารณาทางเลือกตาม ก. หรือ ข. ด้วยเหตุผลตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

- ที่มาจากหนังสือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อาญา โดย ผศ.อรรถสิทธิ์ ชื่นสงวน -

วิธีการเขียนตอบ “ข้อสอบอุทาหรณ์”

(1) โครงสร้างของการเขียนตอบข้อสอบอุทาหรณ์

ข้อสอบอุทาหรณ์เกือบทั้งหมด เป็นข้อสอบอุทาหรณ์แบบทั่วไป ซึ่งมีโครงสร้างการเขียนตอบคล้ายกัน คือ จะประกอบไปด้วย


เนื้อหา 4 ส่วน ซึ่งจะมีลำาดับการเขียนตอบก่อนหลังกัน ดังต่อไปนี้

1. ประเด็นของคำาถาม
การเขียนตอบ โดยมากจะเริ่มต้นด้วยการตั้งประเด็นของคำาถาม กล่าวคือเมื่อนักศึกษาอ่านคำาถามและจับประเด็นข้อสอบได้
แล้ว เพื่อแสดงให้ผู้ตรวจเห็นถึงความสามารถในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในเบื้องต้น และเพื่อป้องกันการวินิจฉัยผิดพลาด หรือ
หลงประเด็น นักศึกควรจะเขียนประเด็นของคำาถามไว้เป็นลำาดับแรกของการเขียนตอบ
2. หลักกฎหมาย
ข้อสอบอุทาหรณ์จะมีคะแนนของหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นของคำาถามเสมอ ซึ่งอาจจะมีสัดส่วนน้อยกว่าการปรับบท
ซึ่งเป็นส่วนที่ 3 แต่คะแนนของหลักกฎหมายก็อาจเป็นส่วนทีส่ ามารถชี้วัดผลการสอบในแต่ละข้อได้ บางครั้งผู้ตรวจข้อสอบอาจ
กำาหนดสัดส่วนการให้คะแนนของหลักกฎหมายถึงครี่งหนึ่งของคะแนนทั้งข้อ ซึ่งมักจะเป็นกรณีที่คำาถามมีประเด็นที่ถามหลาย
ประเด็น

3. การปรับบทกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริง
ส่วนนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนที่สำาคัญที่สุดของการเขียนตอบข้อสอบอุทาหรณ์ เนื่องจากเป็นส่วนที่วัดความเข้าใจในหลัก
กฎหมาย และความสามารถในการปรับใช้หรือวินิจฉัยของนักศึกษา ความยากในการเขียนตอบข้อสอบอุทาหรณ์จึงอยู่ที่ส่วน
ของการปรับบทกฎหมายนี่เอง

4. การสรุปคำาตอบ
ส่วนนี้อาจถือได้ว่าเป็นส่วนสุดท้ายที่จะมาเติมเต็มให้กับการเขียนตอบข้อสอบของนักศึกษาจบลงด้วยความสมบูรณ์ ทั้งนี้แม้
นักศึกษาจะจับประเด็น วางหลักกฎหมาย หรือปรับบทที่ถูกต้อง แต่หากนักศึกษาไม่สรุปคำาตอบให้ตรงกับคำาถามที่โจทย์ถาม
ก็เหมือนนักศึกษายังไม่ได้ทำาในสิ่งที่ผู้ถามประสงค์จะให้ทำา ซึ่งนักศึกษาอาจเสียคะแนนที่ไม่ควรจะเสียไป

คำาถาม
นายแสวงขับรถโดยประมาทเลินเล่อ ชนนางอรชรหญิงหม้ายซึ่งตั้งครรภ์ได้ 7 เดือนเศษ เป็นเหตุให้สมองของทารกในครรภ์ได้
รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ต่อมานางอรชรได้คลอดบุตรออกมา คือ ดช.ประสาท ปรากฎว่า ดช.ประสาทมีอาการ
วิกลจริตเพราะสมองได้รับความกระทบกระเทือนขณะอยู่ในครรภ์ นางอรชรจึงได้ยื่นฟ้องนายแสวงต่อศาลแทน ดช.ประสาท
เรียกค่าสินไหมทดแทน โดยอ้างว่านายแสวงประมาทเลินเล่อทำาให้ดช.ประสาทวิกลจริต นายแสวงให้การต่อสู้คดีว่า ดช.
ประสาทไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน เพราะในขณะที่ตนขับรถชนนางอรชรนั้น ดช.ประสาทยังไม่มีสภาพบุคคล จึงยังไม่มี
สิทธิใดๆ ให้ผู้อื่นละเมิดได้ ขอให้ศาลยกฟ้อง ข้อต่อสูข้ องนายแสวงฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
อนึ่ง เมื่อ ดช.ประสาทมีอายุ 17 ปีเศษ ได้ซื้อรองเท้าจากร้านศึกษาภัณฑ์พานิชมา 1 คู่ในราคา 35 บาท สัญญาซื้อขายรายนี้จะ
มีผลสมบูรณ์หรือไม่ เพราะเหตุใด (1/2520)

แนวการตอบ

นักศึกษาคนที่ 1
ประเด็น
1. สิทธิของทารกในครรภ์มารดา
2. ความสามารถในการทำานิติกรรมของผู้เยาว์
3. ความสามารถในการทำานิติกรรมของคนวิกลจริต
หลักกฎหมายบัญญัติอยู่ใน ป.พ.พ. ดังนี้
มาตรา 15 วางหลักว่า สภาพบุคคลย่อมเริ่มขึ้นแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิได้หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
มาตรา 19 วางหลักว่า บุคคลจะพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์
มาตรา 21 วางหลักว่า ผู้เยาว์จะทำานิติกรรมใดๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม มิฉะนั้นนิติกรรมตกเป็น
โมฆียะ
มาตรา 24 วางหลักว่า ผู้เยาว์สามารถทำานิติกรรมได้หากว่าเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการจำาเป็นในการดำารงชีพ
ตามสมควร
มาตรา 30 วางหลักว่า นิติกรรมที่คนวิกลจริตทำาขึ้นในขณะจริตวิกล และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งรู้ถึงความวิกลจริตในขณะทำา
นิติกรรม นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆียะ
วินิจฉัย
ข้อเท็จจริงตามปัญหาขณะที่นายแสวงทำาละเมิด ดช.ประสาทเป็นทารกในครรภ์มารดา ตามมาตรา 15 ว.1 บุคคลจะมีสิทธิได้ก็
ต่อเมื่อมีสภาพบุคคล และสภาพบุคคลจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก เมื่อปรากฏว่าขณะถูกชนดช.ประสาท
ยังไม่คลอด คือ เป็นทารกในครรภ์มารดา ดช.ประสาทย่อมยังไม่มีสภาพบุคคล จึงไม่อาจมีสิทธิใดๆ ให้นายแสวงละเมิดได้
อย่างไรก็ตามการที่ต่อมา ดช.ประสาท คลอดและอยู่รอดเป็นทารก ตามมาตรา 15 ว.2 ดช.ประสาทย่อมมีสิทธิย้อนหลังไปใน
ขณะที่เป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา ดังนั้นเมื่อ ดช.ประสาทถูกละเมิดสิทธิในร่างกายขณะเป็นทารกในครรภ์มารดา ย่อม
สามารถฟ้องร้องนายแสวงฐานะละเมิดได้ นางอรชรในฐานะผูแ้ ทนโดยชอบธรรมจึงสามารถฟ้องให้นายแสวงรับชดใช้ค่า
สินไหมทดแทน แทนดช.ประสาทได้
ต่อมาเมื่อ ดช.ประสาท อายุได้ 17 ปีเศษ ได้ไปซื้อร้องเท้ามา 1 คู่ ในเวลานั้น ดช.ประสาทอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงยังเป็น
ผูเ้ ยาว์ตามมาตรา 19 การที่ดช.ประสาทไปซื้อรองเท้าเป็นการทำานิติกรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดย
ชอบธรรม คือ นางอรชร นิติกรรมย่อมตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 21 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนิติกรรมการซื้อรองเท้าดังกล่าว
ข้าพเจ้าเห็นเป็นการซื้อทรัพย์ที่ราคาที่ราคาไม่สูง และดช.ประสาทอาจจะนำารองเท้าดังกล่าวมาไว้ใส่ ซึ่งผู้เยาว์ทั่วๆไปก็ควรมี
รองเท้าใส่ จึงเป็นกรณีที่ผู้เยาว์ทำานิติกรรมที่สมแก่ฐานานุรูปและจำาเป็นต่อการดำารงชีพตามสมควร นิติกรรมการซื้อรองเท้านี้จึง
มีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 24
กรณีต้องพิจารณาด้วยว่าการทำานิติกรรมซื้อรองเท้านั้นตกเป็นโมฆียะเพราะความเป็นคนวิกลจริตของ ดช.ประสาทหรือไม่ เห็น
ว่าตามข้อเท็จจริงแม้ ดช.ประสาทจะมีอาการวิกลจริตตั้งแต่เกิดและอาจยังคงมีอาการวิกลจริตอยู่ แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้
ขายรู้ถึงความวิกลจริตของ ดช.ประสาทในขณะทำานิติกรรม นิติกรรมจึงไม่ตกเป็นโมฆียะตาม มาตรา 30 แต่อย่างใด
สรุป
ข้อต่อสู้ของนายแสวงฟังไม่ขึ้นเพราะดช.ประสาทมีสิทธิย้อนหลังตั้งแต่เวลาที่เป็นทารกในครรภ์มารดา ตามมาตรา 15 ว.2 จึง
ถูกทำาละเมิดได้ และมีสิทธิเรียกให้นายแสวงรับผิดฐานละเมิด
สัญญาซื้อรองเท้ามีผลสมบูรณ์เพราะเป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ทำาขึ้นเป็นการสมแก่ฐานุรูปและจำาเป็นต่อการดำารงชีพตาม มาตรา
24 และไม่ตกเป็นโมฆียะเพราะความวิกลจริตของผู้เยาว์ตามมาตรา 30 เพราะไม่ปรากฏว่าคู่กรณีอีกฝ่ายรู้ถึงความวิกลจริต
ของ ดช.ประสาทในขณะทำานิติกรรม

นักศึกษาคนที่ 2
ประเด็นที่ 1 ดช.ประสาทมีสิทธิตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์มารดาหรือไม่
หลักกฎหมายใน ป.พ.พ.
ม.15 วางหลักว่า สภาพบุคคลย่อมเริ่มขึ้นแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ทารกในครรภ์มารดาก็อาจมีสิทธิได้หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
ข้อเท็จจริงตามปัญหาในขณะที่ถูกรถนายแสวงชน ดช.ประสาทยังเป็นเพียงทารกในครรภ์มารดาจึงยังไม่มสี ภาพบุคคล เพราะ
ยังไม่คลอดออกมา เมื่อไม่มีสภาพบุคคลย่อมไม่มีสิทธิและหน้าที่ใดๆในทางกฎหมายได้ โดยหลัก ดช.ประสาทจึงไม่อาจถูก
ละเมิดสิทธิได้ ตาม ม.15 ว.1
อย่างไรก็ตามต่อมาปรากฏว่าภายหลัง ดช.ประสาทคลอดออกมาและมีชีวิตอยู่รอด ม.15 ว.2 บัญญัติให้ ดช.ประสาทมีสิทธิได้
และมีสิทธิย้อนหลังไปในขณะอยู่ในครรภ์มารดา เมื่อในขณะอยู่ในครรภ์มสี ิทธิ การที่นายแสวงขับรถมาชนทำาให้ดช.ประสาทได้
รับการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างแรง จึงเป็นการละเมิดสิทธิของ ดช.ประสาท ดช.ประสาทจึงสามารถเรียกค่าสินไหม
ทดแทนจากนายแสวงฐานละเมิดได้
สรุป ข้อต่อสู้ของนายแสวงฟังไม่ขึ้นเพราะดช.ประสาทมีสิทธิย้อนหลังไปในขณะเป็นทารกในครรภ์มารดาตาม ม.15 ว.2
ประเด็นที่ 2 สัญญาซื้อรองเท้าตกเป็นโมฆียะเพราะความเป็นผู้เยาว์หรือไม่
ม. 19 วางหลักว่า บุคคลจะพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์
ม.21 วางหลักว่า ผู้เยาว์จะทำานิติกรรมใดๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมที่ผู้เยาว์ทำาลงไปโดยไม่
ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆียะ
ม.24 วางหลักว่า ผู้เยาว์อาจทำานิติกรรมที่เป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและจำาเป็นต่อการดำารงชีพได้
ข้อเท็จจริงตามปัญหา ดช.ประสาทอายุ 17 ปีเศษ อายุยงั ไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงยังเป็นผู้เยาว์ตาม ม.19 การที่ดช.ประสาทไป
ทำานิติกรรม คือ สัญญาซื้อรองเท้า เมื่อไม่ปรากฏว่าได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม โดยหลักสัญญาซื้อรองเท้าย่อม
ตกเป็นโมฆียะตาม ม.21
อย่างไรก็ตามเนื่องจากการที่ดช.ประสาทซื้อรองเท้าอาจนำามาใช้ใส่ในชีวิตประจำาวัน และการราคาของรองเท้าก็เป็นราคาที่พอ
สมควรที่ผู้เยาว์น่าจะซื้อได้เอง ด้วยเหตุนี้สัญญาซื้อรองเท้าจึงเป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ทำาลงโดยสมแก่ฐานานุรูปและจำาเป็นต่อการ
ดำารงชีพ สัญญาซื้อขายรองเท้าจึงมีผลสมบูรณ์ตาม ม.24
สรุป สัญญาซื้อรองเท้ามีผลสมบูรณ์เพราะเป็นนิติกรรมที่สมแก่ฐานานุรูปและจำาเป็นต่อการดำารงชีพตาม ม.24
ประเด็นที่ 3 สัญญาซื้อขายรองเท้าตกเป็นโมฆียะเพราะความวิกลจริตหรือไม่
ม.30 ถ้าคนวิกลจริตทำานิติกรรมในขณะจริตวิกลและคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งรู้ถึงความวิกลจริต นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆียะ
ข้อเท็จจริงตามปัญหา ดช.ประสาท มีถูกรถยนต์จนมีอาการวิกลจริต ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอาการวิกลจริตจนถึงเวลาที่ทำาสัญญา
ซื้อรองเท้าด้วย อย่างไรก็ตามตาม ม.30 นิติกรรมที่คนวิกลจริตทำาลงนั้นจะตกเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งรู้อยู่ถึง
ความวิกลจริตด้วย เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งรู้ถึงความวิกลจริต นิติกรรมย่อมไม่ตกเป็นโมฆียะ
สรุป นิติกรรมไม่ตกเป็นโมฆียะตามม.30 เพราะไม่ปรากฏว่า คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งรู้ถึงความวิกลจริตของดช.ประสาทในขณะทำา
นิติกรรม

นักศึกษาคนที่ 3
ประเด็น ความสามารถในการมีสิทธิของทารกในครรภ์มารดา
ข้อเท็จจริงตามปัญหา ดช.ประสาทถูกรถชนในขณะอยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งในขณะนั้น ดช.ประสาทยังไม่คลอดและอยู่รอดเป็น
ทารก จึงยังไม่มีสภาพบุคคล ตามป.พ.พ.วางหลักว่า สภาพบุคคย่อมเริ่มขึ้นแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลง
เมื่อตาย เมื่อ ดช.ประสาทยังไม่มสี ภาพบุคคลจึงไม่มสี ิทธิใดๆ ให้ถูกละเมิดได้
อย่างไรก็ตามเนื่องจากต่อมาดช.ประสาทได้คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก ซึ่งกฎหมายได้ว่างหลักว่า ทารกในครรภ์
มารดาก็อาจมีสิทธิได้หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก ด้วยเหตุนี้เมื่อ ต่อมาปรากฏว่า ดช.ประสาทคลอดและอยู่
รอดเป็นทารกแม้จะมีอาการวิกลจริต ดช.ประสาทก็ย่อมมีสิทธิย้อนหลังไปในขณะเป็นทารกในครรภ์มารดา ดังนั้นเมื่อขณะอยู่
ในครรภ์มารดา ดช.ประสาทถูกนายแสวงขับรถโดยประมาททำาให้ตนได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง จึงถือเป็นการละเมิด
สิทธิของ ดช.ประสาท ดช.ประสาทมีสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากนายแสวงฐานละเมิด
สรุป ข้อต่อสู้ของนายแสวงฟังไม่ขึ้น เพราะดช.ประสาทมีสิทธิย้อนหลังไปในขณะเป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา
ประเด็น ความสามารถในการทำานิติกรรมของผู้เยาว์
ในขณะที่ดช.ประสาทซื้อร้องเท้า ดช.ประสาทมีอายุเพียง 17 ปีเศษ จะเห็นได้ว่าอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงยังเป็นผู้เยาว์อยู่
ตามหลักกฎหมายที่ว่า บุคคลจะพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์
เมื่อในขณะเป็นผู้เยาว์ดช.ประสาทได้ไปทำานิติกรรม คือ การซื้อรองเท้า โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าได้รับความยินยอมจากผู้
แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมซื้อรองเท้าจึงตกเป็นโมฆียะ ตามหลักกฎหมายที่ว่า ผู้เยาว์จะทำานิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความ
ยินยอมจากผูแ้ ทนโดยชอบธรรม มิฉะนั้นนิติกรรมตกเป็นโมฆียะ
อย่างไรก็ตามเนื่องจากว่ารองเท้าที่ซื้อนั้นเป็นทรัพย์ที่ราคาไม่แพงมาก ซึ่งผู้เยาว์สามารถซื้อได้ถือว่าเป็นการสมแก่ฐานานุรูป
และการซื้อนั้นเป็นการทำาลงเพื่อความจำาเป็นในการใช้สอยจึงถือเป็นการที่จำาเป็นต่อการดำารงชีพตามสมควร ซึ่ง ดช.ประสาท
ย่อมทำานิติกรรมนี้ได้ ตามหลักกฎหมายที่ว่า นิติกรรมที่สมแก่ฐานานุรูปและจำาเป็นต่อการดำารงชีพ ผู้เยาว์สามารถทำาได้
สรุป นิติกรรมซื้อรองเท้ามีผลสมบูรณ์ เพราะเป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ทำาลงไปอันเป็นการสมแก่ฐานานุรูปและจำาเป็นต่อการดำารง
ชีพตามสมควร
ประเด็น ความสามารถในการทำานิติกรรมของคนวิกลจริต
คนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถโดยหลักย่อมมีความสามารถในการทำานิติกรรมโดยสมบูรณ์ ข้อเท็จจริง
มีปัญหาให้ต้องพิจารณาด้วยว่านิติกรรมซื้อรองเท้าที่ดช.ประสาททำาลงนั้นบกพร่องเพราะความวิกลจริตของดช.ประสาทหรือ
ไม่ เนื่องจากโจทย์บอกว่าดช.ประสาทมีอาการวิกลจริตเพราะถูกรถชนอาจสันนิษฐานได้ว่าขณะที่ทำานิติกรรมก็ยังอาจมีอาการ
วิกลจริตอยู่ อย่างไรก็ตามหลักกฎหมายที่วานิติกรรมจะเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อคนวิกลจริตได้ทำานิติกรรมในขณะจริตวิกลและใน
ขณะทำานิติกรรมคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้รู้ถึงความวิกลจริตนั้นด้วย เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่กรณีอีกฝ่ายรู้ถึงความวิกลจริตของดช.
ประสาทในขณะทำานิติกรรม นิติกรรมจึงไม่ตกเป็นโมฆียะแต่อย่างใด
สรุป นิติกรรมซื้อร้องเท้าไม่ตกเป็นโมฆียะเพราะความวิกลจริตของ ดช.ประสาท เนื่องจากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า คู่กรณีอีก
ฝ่ายหนึ่งได้รู้ถึงความวิกลจริตของ ดช.ประสาทในขณะทำานิติกรรม

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 1

1. นาย ก. อายุ 18 ปี ได้ตกลงทำาสัญญาเช่าร้านนาย ข. โดยเช่าเพื่อเปิดกิจการร้านขายและซ่อมคอมพิวเตอร์ ต่อมากิจการที่


ทำาไม่ประสบความสำาเร็จนาย ค. ได้เข้ามาช่วยบริหารกิจการ จนไปได้ด้วยดี ต่อมานาย ก. ได้ไปทำาสัญญาซื้ออุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์เพื่อมาใช้ในการซ่อมคอมพิวเตอร์ กับนาย ง. ดังนั้นอยากทราบว่าสัญญาที่นาย ก. ทำากับนาย ข. ผลเป็นอย่างไร
และสัญญาที่นาย ก. ทำากับนาย ง. ผลเป็นอย่างไร

2. นาย ก. เข้าไปร้านขายก๋วยเตี๋ยวและได้สั่งเส้นเล็กลูกชิ้น กับนาง ข. ผูข้ าย นาง ข. ไม่ตอบอะไรเพราะขณะนั้นกำาลังยุ่งทำา


ก๋วยเตี๋ยวอยู่ ต่อมานาง ข. ได้ทำาก๋วยเตี๋ยวมาให้นาย ก. แต่เป็นเส้นใหญ่แห้ง ดังนั้นอยากทราบว่าสัญญาที่ นาย ก. และนาง ข.
เป็นอย่างไร จงอธิบาย

3. บริษัทแห่งหนึ่งได้ลงโฆษณาว่าถ้าจองห้องพักระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม-30 ตุลาคม 2547 จะได้ส่วนลด 20 % นาย ก. ต้องการ


จะไปเที่ยว จึงได้โทรศัพท์ไปจองห้องพักดังกล่าวในวันที่ 15 ตุลาคม 2547 และแจ้งความประสงค์ว่าจะเข้าพักในวันที่ 1-5
ธันวาคม 2547 ต่อมาในวันที่ 30 ตุลาคม 2547 เกิดภัยพิบัติขึ้น อยากทราบว่าสัญญาที่นาย ก. ทำาขึ้นมีผลอย่างไร อธิบาย

4. นายหนุ่ยอายุ 18 ปี ขอเงินนางสุขซึ่งเป็นแม่เพื่อไปซื้อเกมส์ นางสุขได้ให้เงินไป 500 บาท ไปซื้อเกมส์ จากนายหนู ขณะจะ


ซื้อ นายหนุ่ยเกิดอาการคุ้มคลั่ง นายหนูเห็นอาการเกิดความสงสาร จึงขายให้ในราคา 500 บาท ต่อมานายหนูเกิดความรูส้ ึกว่า
ขายไปในราคาที่ถูกเกินไป จึงขอบอกเลิกสัญญาและทวงของคืน ถามว่าจะได้หรือไม่

5. นาย ก. มีหนีส้ ินเยอะจึงแกล้งขายรถให้กับนาย ข. เพื่อหลบหนีเจ้าหนี้ นาย ข. เมื่อได้รถไป ได้มอบให้กับน้องสาวคือนาง ค.


โดยที่นาง ค. ไม่รู้เรื่องว่าเป็นการขายแบบหลอก ๆ ค. เห็นว่ารถสภาพไม่ดี จึงนำาไปซ่อม หมดเงินไป 10,000 บาท ต่อมา นาย
ก. เมื่อทราบ ก็เลยไปทวงรถคืนจากนาง ค. โดยอ้างว่าสัญญาที่ทำากับนาย ข. เป็นสัญญาหลอก ๆ ถามว่าจะทวงคืนได้หรือไม่

6. นาย ก. จะบอกเลิกสัญญาเช่าบ้านกับนาย ข. จึงเขียนจดหมายเพื่อไปส่งไปรษณีย์ แต่ระหว่างทางเจอนาย ข. ก่อน จึงมอบ


จดหมายให้และมิได้กล่าวอะไร ต่อมานาย ก. เกิดเปลี่ยนใจ โทรไปบอกนาย ข. ว่าอ่านจดหมายดังกล่าวแล้วหรือยัง นาย ข. ซึ่ง
ยังไม่ได้อ่าน จดหมายตอบนาย ก. จึงบอกว่า จดหมายดังกล่าวเป็นจดหมายบอกเลิกสัญญาเช่าซึ่งตอนนี้ตนเกิดเปลี่ยนใจ ขอ
เหมือนเดิม ส่วนนาย ข. ซึ่งอยากบอเลิกสัญญา อยู่เหมือนกันจะบอกเลิกได้หรือไม่

7. ด.ช. กล้าเสนอขายโทรศัพท์มือถือให้ ด.ช. ขวัญ เป็นเงิน 1,000 บาท ด.ช. ขวัญไม่มีเงินจึงได้ไปขอเงินจากบิดาเพื่อซื้อ


โทรศัพท์มือถือ และบิดาของ ด.ช. ขวัญ ก็ยินยอมให้เงิน ด.ช. ขวัญเพื่อไปซื้อโทรศัพท์มือถือ จาก ด.ช. กล้า ต่อมาเมื่อบิดาของ
ด.ช. กล้าทราบเรื่อง จึงได้ไปทวงถามโทรศัพท์คืนจากบิดาของ ด.ช. ขวัญ บิดาของ ด.ช. ขวัญ ปฏิเสธที่จะคืนโทรศัพท์ให้และได้
บอกว่าสัญญานั้นสมบูรณ์และอีกอย่างโทรศัพท์นั้นได้หายไปเป็นการพ้นวิสัย ถามว่าบิดา ด.ช. กล้า สามารถทวงโทรศัพท์คืน
ได้หรือไม่ จงอธิบาย

8. ต้อยต้องการซื้อของขวัญให้แฟนสาวเพื่อเป็นของขวัญวันรับปริญญา ต้อยจึงไปร้านทองและขอซื้อทอง ต้อยถามว่าเส้นนั้น


ราคาเท่าไร เจ้าของร้านบอกว่าสร้อยเส้นนั้นหนัก 2 สลึง ราคา 5,000 บาท ต้อยตกลงซื้อ แต่พอจะจ่ายเงินต้อยกลับลืมเอา
กระเป๋าเงินมา และต้อยได้บอกกับเจ้าของร้านให้ส่งสร้อยมาให้ตนเพราะว่าสัญญาซื้อขายมีผล ท่านเห็นว่าเป็นอย่างไร จง
อธิบาย

9. นายทองต้องการทำาบุญตักบาตรเนื่องในวันคล้ายวันเกิดของตนจึงได้จัดหาเครื่องของใส่บาตรเพื่อทำาบุญ เช้าต่อมานายทอง
ได้เตรียมตัวทำาบุญใส่บาตร พอดีเห็นพระเดินมาจึงได้นิมนต์และใส่บาตร ต่อมานางศรีได้บอกนายทองว่าพระที่นายทองใส่
บารตแท้จริงเป็นนายวันชัย ซึ่งปลอมเป็นพระมา พอนายทองได้ทราบจึงได้ตามไปทวงของที่ใส่บาตรคืน ถามว่านายทอง
สามารถทวงของคืนได้หรือไม่ จงอธิบาย

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 1

นายท้ากกี้ ขายสุนัขชื่อนางด่างหางแดงให้นายเนวิน โดยไม่มีใครทราบว่านางด่างหางแดงท้องในวันที่ ๑ ตกลงจะส่งมอบนาง


ด่างหางแดงวันที่ ๓ โดยนายท้ากกี้ ชำาระเงินให้นายเนวิน ในวันทีท่ ำาสัญญาแล้ว ต่อมาคืนวันที่ ๑ นางด่างหางแดงคลอดลูก
สุนัข ๑ ตัว วันที่ ๓ นายเนวินมารับนางด่างหางแดง จึงทราบว่านางด่างหางแดงคลอดลูก ถามว่า ใครมีสิทธิในตัวลูกของนาง
ด่างหางแดง และหากนางด่างหางแดงถูกงูกัดตายโดยใม่ใช่ความผิดของนายท้ากกี้ ถามว่า ใครจะต้องรับบาปเคราะห์ในความ
ตายของนางด่างหางแดง

หลักการวินิจฉัย ควรฝึกแยกพิจารณาทีละประเด็น
1.คู่สัญญาตกลงซื้อนางด่างหางแดง
2.แม้ยังไม่มีการส่งมอบวัตถุแห่งหนี้ สัญญาซื้อขายย่อมสมบูรณ์นับแต่วันทำาสัญญา ลูกหนี้-เจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องชำาระหนี้อันพึง
ชำาระต่อกันแล้ว รอเพียงให้ถึงกำาหนดเวลาชำาระเท่านั้น
3.ลูกสุนขั เป็นดอกผลธรรมดา(เปิดดูประมวลว่าลูกสุนัขเป็นของใคร)
4.หากนางด่างหางแดงตายโดยไม่ใช่ความผิดของผู้ใด การชำาระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย ไม่มีผู้ใดต้องรับผิด
5.นายท้ากกี้เป็นผู้รับบาปเคราะห์ในความตายของนางด่างหางแดง
จะเรียกร้องให้นายเนวินชำาระหนี้ไม่ได้(โจทย์ไม่ได้ให้รายละเอียดมาว่านางด่างหางแดงตายในวันที่เท่าใด อนุมานเอาว่าตาย
ก่อนมีการส่งมอบ ถ้าตายหลังส่งมอบก็ต้องพิจารณาเป็นกรณีไปอีกว่าตายเพราะเหตุใด) คำาแนะนำานี้เป็นหลักในการพิจารณา
ตอบข้อสอบเท่านั้น ไม่ใช่วิธีตอบข้อสอบ

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 1

1. ดช.เก่ง ตกลงขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตน ให้กับ ดช.ขวัญ ในราคา 1000 บาท ดช.ขวัญ จึงไปขอพ่อของตนเพื่อที่จะซื้อ


โทรศัพท์ จาก ดช.เก่งและมีการซื้อขายเกิดขึ้น หลังจากนั้นไม่นานบิดาของ ดช. เก่ง รู้ว่า ดช.เก่ง นำาโทรศัพท์ไปขาย จึงนำาเงิน
จำานวน 1000 บาท มาคืนกับ บิดาของ ดช. ขวัญ บิดา ดช.ขวัญ ไม่ยอมรับเงินคืน แล้วบอกกับบิดา ดช. เก่งว่า สัญญาซื้อขาย
สมบูรณ์แล้ว และพ้นวิสัยที่จะคืนโทรศัพท์ให้ได้ เนื่องจาก ดช.ขวัญ ทำาโทรศัพท์นั้นสูญหาย ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างกับคำาพูด
ของ บิดา ดช.ขวัญหรือไม่เพราะเหตุใด

2. นายเอกชัยต้องการทำาบุญเนื่องจากวันคล้ายวันเกิด จึงได้ไปซื้อของเพื่อจะนำามาทำาบุญ หลังจากนั้นได้พบพระรูปหนึ่งจึงได้


นิมนต์และทำาการใส่บาตร พอใส่บาตรเสร็จ นางสมศรี เพื่อนบ้านเห็นจึงบอกว่า พระที่นายเอกชัยทำาบุญด้วยนั้น แท้ที่จริงคือ
นายวันชัย ซึ่งปลอมมาเป็นพระ ( พระปลอม ) นายเอกชัยรู้เข้า จึงได้เข้าไปทวงสิ่งของที่ตนใส่บาตรคืนจากนายวันชัย ท่านว่า
นายวันชัยต้องคืนของแก่นายเอกชัยหรือไม่เพราะเหตุใด

3. ต้อย ต้องการซื้อ สายสร้อยเพื่อมอบเป็นของขวัญในวันรับปริญญาเพื่อน จึงได้ไปหาซื้อสร้อยคอทองคำาที่ร้านแห่งหนึ่ง และ


ได้ตกลงซื้อสร้อยคอทองคำานำ้าหนัก 2 สลึงเส้นหนึ่งในราคา 5500 บาท แต่พอจะจ่ายเงินกลับพอว่าในกระเป๋าของตนไม่มีเงิน
จึงได้บอกเจ้าของร้านว่าให้ส่งสร้อยมาก่อนจะจ่ายเงินให้ ( ตรงนี้จำาไม่ค่อยได้ ) เจ้าของร้านรูว้ ่าต้อยไม่มีเงิน จึงไม่ยอมมอบ
สร้อยให้ เจ้าของร้านต้องส่งมอบสร้อยแก่ตนเพราะสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นแล้ว เจ้าของร้านก็เถียงว่าเพียงแต่ตกลงกันด้วยวาจา
ยังไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ สัญญายังไม่เกิดขึ้น ตนไม่จำาต้องส่งมอบสร้อยแก่ต้อย ข้ออ้างของต้อยและเจ้าของร้านฟังขึ้นหรือ
ไม่เพราะเหตุใด

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 1
1. ต้อย อายุ 14 ปี คุณตาเห็นว่าต้อยกำาพร้าแม่จึงยกเครื่องเพชรให้ 1 ชุด ต่อมาต้อยคิดจะขายเครื่องเพชรหนึ่งชิ้นเพื่อนำาเงินไป
เป็นค่าเรียนคอมพิวเตอร์ จึงไปปรึกษาพ่อ พ่อจึงบอกว่า “ เครื่องเพชรชุดนี้คุณตายกให้ลูกแล้ว ลูกจะเอาไปทำาอะไร ก็แล้วแต่
ลูกจะเห็นสมควรเถอะ พ่อไม่ขัดข้องอะไรทั้งสิ้น “ ต่อมาต้อยอยากได้โทรศัพท์มือถือจึงนำาเครื่องเพชรชิ้นที่ 2 ไปขาย โดยไม่ได้
ขออนุญาต พ่อก่อน ต่อมาต้อยป่วยคิดว่าตนเองเป็นไข้หวัดนกคงไม่รอดแน่ เกิดสิ้นหวังในชีวิตจึงทำาพินัยกรรมยกเครื่องเพชร
ชิ้นสุดท้ายที่เหลืออยู่ให้คุณตาเพราะคิดว่าเครื่องเพชรเป็นของคุณตาก็ควรจะคืนให้คุณตาไป ระหว่างที่นั่งรถประจำาทางไปหา
หมอเกิดมีวัยรุ่นทะเลาะวิวาทกันโยนระเบิดใส่รถโดยสารทำาให้ต้อยถึงแก่ความตาย ภายหลังบิดา ทราบเรื่องว่าต้อยขายเครื่อง
เพชรชิ้นที่ 2 ไปในราคาที่ถูกมากจึงต้องการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขาย เพชร และยกเลิกพินัยกรรม
จงวินิจฉัยว่า บิดาสามารถบอกล้างนิติกรรมการขายเพชรครั้งที่ 2 และ ยกเลิกพินัยกรรมของต้อยได้หรือไม่เพราะเหตุใด

หลักกฎหมาย
มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบรู ณ์
มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบ
ธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำาลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ
เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 25 ผู้เยาว์อาจทำาพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
มาตรา 26 ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำาหน่ายทรัพย์สินเพื่อการ
อันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำาหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทำาได้ตามใจสมัคร
อนึ่ง ถ้าได้รับอนุญาตให้จำาหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุวา่ เพื่อการอันใดผู้เยาว์ก็จำาหน่ายได้ตามใจสมัคร
ข้อวินิจฉัย
การที่ต้อยผู้เยาว์ได้ขออนุญาตบิดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม เพื่อขายเครื่องเพชรชิ้นที่หนึ่ง ซึ่งได้รับมาจากคุณตาหนึ่งชุด โดย
ต้องการนำาเงินไปเป็นค่าเรียนคอมพิวเตอร์ และบิดาได้อนุญาต โดยบอกว่า “ เครื่องเพชร..ชุดนี.้ .คุณตายกให้ลูกแล้ว ลูกจะเอา
ไปทำาอะไร ก็แล้วแต่ลูกจะเห็นสมควรเถอะ พ่อไม่ขัดข้องอะไรทั้งสิ้น “ ย่อมเป็นการที่ต้อยผู้เยาว์ได้รับอนุญาตจากผู้แทนโดย
ชอบธรรมให้จำาหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใด ต้อยผู้เยาว์ก็ย่อมจำาหน่ายได้ตามใจสมัคร ดังนั้นแม้ว่าภายหลัง
บิดาจะทราบว่าต้อยขายเครื่องเพชรชิ้นที่สองไปในราคาถูกมากก็ไม่สามารถบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายได้ ส่วนการทำา
พินัยกรรมตามประมวลกฎหมายนี้วางหลักว่าผู้เยาว์อาจทำาพินัยกรรมได้เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ต้อยทำาพินัยกรรมยก
เครื่องเพชรชิ้นสุดท้ายให้คุณตาในขณะที่มีอายุ 14 ปีการทำา พินัยกรรม ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย บิดาของต้อย
จึงไม่จำาเป็นต้องยกเลิกพินัยกรรมแต่อย่างใด
สรุป
1. บิดาไม่สามารถบอกล้างนิติกรรมการขายเพชรครั้งที่2 ได้ เพราะได้ให้ความยินยอมไว้แล้ว
2. พินัยกรรมเป็นโมฆะ บิดาจึงไม่จำาเป็นต้องยกเลิกแต่ประการใด

2. นาย สติ ได้ทราบข่าวว่านาย ปัญญาเพื่อนนักเรียนเก่ารุ่นเดียวกัน กำาลังลำาบากตกทุกข์ได้ยากจึงต้องการช่วยเหลือ จึงได้ไป


ขอซื้อรถยนต์ของนายปัญญาโดยซื้อในราคาซึ่งสูงกว่าท้องตลาด แต่ต่อมานายสติทราบว่านายปัญญามิได้ยากจนอย่างที่
เข้าใจแต่มีฐานะรำ่ารวยเสียด้วยซำ้า จึงรู้สึกโกรธต้องการอยากได้เงินของตนคืน
นายสติจะบอก เลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
หลักกฎหมาย
มาตรา 157 การแสดงเจตนาโดยสำาคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ
ความสำาคัญผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นความสำาคัญผิดในคุณสมบัติ ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำาคัญ ซึ่งหากมิได้มีความ
สำาคัญผิดดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำาขึ้น
ข้อวินิจฉัย
การที่ ส. คิดว่า ท.ซึ่งเป็นเพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกันกำาลังตกทุกข์ได้ยาก และอยากจะช่วยเหลือจึงติดต่อขอซื้อรถยนต์ของ ส.ใน
ราคาทีส่ ูงกว่าท้องตลาดนั้น แต่ต่อมาทราบว่า ท.มิได้เป็นคนยากจนตามที่เข้าใจ จึงเป็นการที่ ส.สำาคัญผิดในคุณสมบัติของ ท.
อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติดังกล่าวมิได้เป็นคุณสมบัติที่ปกติถือเป็นสาระสำาคัญ(เช่นสำาคัญผิดคิดว่าเป็นผู้ค้ารถยนต์ แต่ไม่ได้
เป็น)
สรุป ดังนั้น สัญญาซื้อขายรถยนต์จึงไม่ตกเป็นโมฆียะ ส.จึงเรียกเงินคืนไม่ได้

3. นาย เอ เขียนจดหมาย เสนอขายรถยนต์ให้นาย บี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2547 ราคา 500000 บาท โดยบอกว่าถ้านาย บี
ตกลงซื้อให้ส่งคำาตอบภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 ต่อมาวันที่ 1 มีนาคม 2547 นายบี ส่งจดหมายถึงนาย เอ ว่าต้องการ
ซื้อรถและส่งเงินชำาระค่ารถยนต์มาบางส่วนเป็นจำานวนเงิน 20000 บาท นาย ซี ซึ่งไม่พอใจนาย เอ อยู่จึงเอาระเบิดไปโยนใส่
รถยนต์คันดังกล่าวเสียหายทั้งคัน นายเอ ทวงเงินค่ารถยนต์ ที่เหลืออีก 480000 บาทจากนายบี โดยบอกว่า สัญญาซื้อขาย
สมบูรณ์แล้วนายบีต้องชำาระราคาทั้งหมด
จงวินิจฉัยว่า สัญญาซื้อขายรถยนต์สมบูรณ์หรือไม่ เพราะเหตุใด และนายบีต้องชำาระเงินที่เหลือหรือไม่เพราะเหตุใด

หลักกฎหมาย
มาตรา 357 คำาเสนอใดเขาบอกปัดไปยังผู้เสนอแล้วก็ดี หรือมิได้สนองรับภายในเวลากำาหนดดังกล่าวมาในมาตราทั้งสามก่อน
นี้ก็ดี คำาเสนอนั้นท่านว่าเป็นอันสิ้นความผูกพันแต่นั้นไป
มาตรา 359 ถ้าคำาสนองมาถึงล่วงเวลา ท่านให้ถือว่าคำาสนองนั้นกลายเป็นคำาเสนอขึ้นใหม่คำาสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อ
จำากัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยนั้น ท่านให้ถือว่าเป็นคำาบอกปัดไม่รับ ทั้งเป็นคำาเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว
มาตรา 361 อันสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางนั้น ย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้นแต่เวลาเมื่อคำาบอกกล่าวสนองไป
ถึงผู้เสนอ
ถ้าตามเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือตามปกติประเพณีไม่จำาเป็นจะต้องมีคำาบอกกล่าวสนองไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเกิดเป็น
สัญญาขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้น อันจะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ
วินิจฉัย
จากปัญหามีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือ
1. สัญญาซื้อขายสมบูรณ์หรือยัง
2. นายบีต้องชำาระราคาที่เหลือหรือไม่
นาย เอ เขียนจดหมาย เสนอขายรถยนต์ให้นาย บี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2547 ราคา 500000 บาท โดยบอกว่าถ้านาย บี
ตกลงซื้อให้ส่งคำาตอบภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 แต่นายบีไม่ได้ตอบไปตามกำาหนดเวลา
คำาเสนอของนายเอจึงไม่ได้รับการแสดงเจตนาตอบรับจากนายบีในเวลาที่กำาหนดคำาเสนอนั้นท่านว่าเป็นอันสิ้นความผูกพัน
ส่วนการที่ต่อมาวันที่ 1 มีนาคม 2547 นายบี ส่งจดหมายถึงนาย เอ ว่าต้องการซื้อรถและส่งเงินชำาระค่ารถยนต์มาบางส่วนเป็น
จำานวนเงิน 20000 บาท จึงเป็นคำาเสนอของนายบี ที่เสนอขอซื้อรถยนต์ของนายเอ ขึ้นใหม่ และยังไม่มีผลผูกพันเนื่องจากยัง
มิได้รับคำาสนองตอบจากนายเอแต่อย่างใด เมื่อคำาเสนอของนายบียังมิได้มีคำาสนองตอบ นั่นคือคำาเสนอ และคำาสนองยังไม่ถูก
ต้องตรงกัน สัญญาจึงยังไม่เกิดขึ้น เมื่อนายซี ซึ่งไม่พอใจนาย เอ อยู่เอาระเบิดไปโยนใส่รถยนต์คันดังกล่าวเสียหายทั้งคัน นาย
เอ จะมาทวงเงินค่ารถยนต์ ที่เหลืออีก 480000 บาทจากนายบี โดยบอกว่า สัญญาซื้อขายสมบูรณ์แล้วนายบี ต้องชำาระราคา
ทั้งหมด นั้นจึงไม่ถูกต้อง ตามหลักกฎหมายข้างต้น
สรุป
1. สัญญาซื้อขายยังไม่สมบูรณ์ เพราะคำาเสนอและคำาสนองยังไม่ถูกต้องตรงกัน สัญญาจึงยังไม่เกิดขึ้น
2. นายบีไม่ต้องชำาระราคารถยนต์ที่เหลือเพราะสัญญาซื้อขายยังไม่เกิด

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 1 ภาค 1 /2548

1. นายโหน่งอายุ 18 ปี ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ โดยให้อยู่ในความอนุบาลของนางหนุ่ยผู้เป็นมารดา นายโหน่ง


ได้.ขออนุญาตนางหนุ่ยไปซื้อเครื่องเล่นเกมส์ นางหนุ่ยไม่ว่าอะไรหยิบเงินให้ไป 500 บาท นายโหน่งจึงไปซื้อเครื่องเล่นเกมส์ที่
ร้านนายสุข นายสุขไม่รู้ว่านายโหน่งเป็นบุคคลไร้ความสามารถจึงขายเครื่องเล่นเกมส์ให้ไป นายโหน่งเมื่อรับเงินทอนแล้วจึงไป
ซื้อกระเป๋าสตางค์เพื่อนำาไปให้นางหนุ่ย นางหนุ่ยเห็นกระเป๋าสตางค์ก็ดีใจหยิบไปใช้ทันที กรณีนี้ ท่านเห็นว่านิติกรรมการซื้อ
เครื่องเล่นเกมส์และกระเป๋าสตางค์ของนายโหน่งมีผลอย่างไร

2. นายเอกทราบว่านายเดชา บุตรชายอายุ 19 ปี 11 เดือน 20 วัน ไปซื้อรถยนต์ราคา 300,000 บาท นายเอกโกรธมากจึงมี


หนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมไปยังบริษัทรถยนต์ โดยส่งเป็นจดหมายทางไปรษณีย์ และขณะเดินข้ามถนนจะกลับบ้านก็ถูกรถ
ชนตาย ต่อมาอีก 2 วัน จดหมายไปถึงบริษัทรถยนต์ ต่อมาอีก 15 วัน บริษัทรถยนต์นำาเงิน 300,000 บาท มาคืน นายเดชาไม่
ยอมรับคืน พร้อมกับบอกว่า จดหมายที่ส่งไปตนไม่รู้เรื่องและพ่อก็ตายแล้ว ตนไม่คืนรถและจะยืนยันตามสัญญาเดิม
แต่บริษัทรถยนต์บอกว่าได้ตกลงขายรถยนต์ให้คนอื่นไปแล้ว ท่านเห็นว่าการไม่คืนรถยนต์ของนายเดชาจะมีผลเป็นอย่างไร

3. นายสวัสดิ์ได้ตกลงเช่ารถยนต์หมายเลขเครื่อง 007 สีแดง จากนายสมศักดิ์ โดยตกลงค่าเช่ากันวันละ 1,000 บาท เป็นเวลา


10 วัน โดยนายสวัสดิ์ต้องจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า 10,000 บาท นายสวัสดิ์บอกว่าจะมารับรถในวันรุ่งขึ้น พอตกกลางคืนเกิดฟ้าผ่า
โรงรถนายสมศักดิ์ทำาให้เกิดไฟไหม้รถคันที่นายสวัสดิ์เช่าเสียหายหมด นายสวัสดิ์ขอเงินค่าเช่ารถคืน แต่นายสมศักดิ์ไม่ยอม
คืนให้โดยอ้างว่าไม่ใช่ความผิดของตน ท่านเห็นว่าข้ออ้างของนายสวัสดิ์ฟังขึ้นหรือไม่

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 1

1. นายแดงอายุ 15 ปี เป็นบุตรชายของนายดำา ประสบอุบัติเหตุสมองได้รับความกระทบกระเทือนทำาให้กลายเป็นคนวิกลจริต


ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม 2549 นายดำาบิดาได้ยื่นคำาร้องขอให้ศาลสั่งให้นายแดงเป็นคนไร้ความสามารถ ในระหว่างพิจารณา
คดีนายแดง ได้ไปซื้อเครื่องเล่นวีซีดีในราคา 5,000 บาท จากนางขาว โดยนางขาวทราบว่า นายแดงวิกลจริต ครั้นต่อมาในวันที่
15 พฤษภาคม 2549 ศาลมีคำาสั่งให้นายแดงตกเป็นคนไร้ความสามารถ จากนั้นนายแดงเกิดไปหลงรักนางสาวบุษบา จึงยก
เครื่องเล่นวีซีดีดังกล่าวให้นางสาวบุษบาไป ดังนั้นให้ท่านวินิจฉัยว่า นายดำาบิดานายแดงจะขอบอกล้างการซื้อเครื่องเล่นวีซีดี
กับนางขาวได้หรือไม่ และจะเรียกเครื่องเล่นวีซีดีคืนจากนางสาวบุษบาได้หรือไม่
2. นายแดงอายุ 17 ปี ทำาพินัยกรรมยกรถยนต์ของตนให้นางสาวขาว กิ๊กสาวอายุ 17 ปี ต่อมาอีก 4 ปี นายแดงถูกรถชนสมอง
ได้รับความกระทบกระเทือนตกเป็นคนวิกลจริต นายแดงได้ขายนาฬิกาให้กับนายดำา โดยนายดำาไม่ทราบว่านายแดงวิกลจริต
ต่อมาอีก 1 ปี ศาลมีคำาสั่งให้นายแดงตกเป็นคนไร้ความสามารถ นายดำาทราบว่านายแดงถูกศาลสั่งดังกล่าว ครั้นเมื่อผู้อนุบาล
ของนายแดงทราบเรื่องการซื้อขายนาฬิการะหว่างนายแดงกับนายดำา ดังนั้นให้ท่านวินิจฉัยว่า พินัยกรรมที่นายแดงทำามีผล
ตามกฎหมายหรือไม่ และผู้อนุบาลจะบอกล้างสัญญาซื้อขายนาฬิกาได้หรือไม่

3. ยายทำาหนังสือจดทะเบียนยกที่ดินแปลงหนึ่งให้ม่วงอายุ 19 ปี หลานชาย ต่อมาอีก 5 เดือน ม่วงได้ตกลงกับขาวซึ่งเป็น


เจ้าของที่ดินค้างเคียงยอมเปิดทางในที่ดินส่วนของตนที่ได้รับมา เพื่อจะเป็นทางที่ขาวจะใช้เป็นทางสาธารณะ เพื่อแลกเปลี่ยน
กับการที่ขาวโอนหุ้นในบริษัทชินคอร์ปฯ ให้ หลังจากทำาสัญญาแลกเปลี่ยนได้ 5 เดือน ขาวมาพบม่วงอีก ขอให้ทำาหนังสือ
สัตยาบันกับสัญญาแลกเปลี่ยนนั้น ม่วงทำาให้ตามขอ บิดาม่วงไม่พอใจเพราะม่วงไม่ยอมบอก จึงบอกล้างนิติกรรมทั้งสอง ม่วง
ต่อสู้วา่ ตนบรรลุนิติภาวะแล้ว บิดาบอกล้างไม่ได้ และตนได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาแลกเปลี่ยนแล้ว ดังนั้นให้ท่านวินิจฉัยว่า ข้อ
ต่อสู้ของม่วงฟังขึ้นหรือไม่

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 1 ภาคการศึกษาพิเศษ /2548

1. นาคเคน บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ อายุ 19 ได้ให้แหวนเพชรแก่ นางสาวแอน อายุ 17 ผู้ที่ตนเองรัก ไม่รู้


ว่าขณะที่นายเคนให้แหวนนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ นางนกเป็นมารดา และเป็นผู้อนุบาลรูภ้ ายหลัง จึงขอแหวนเพชร คืนจาก
นางสาวแอน นางสาวไม่ให้ นางนกจะทำาอย่างไร?(จำาได้เท่านี้ครับ)

2. นายสมชายเอาพระปลอมมาแลกพระจริงของนายสมศักดิ์ แต่พระของนายสมศักดิ์ชำารุด หักเสียหาย นายสมศักดิ์ได้ซ่อม


แล้วบอกว่าไม่เคยหักไม่เคยซ่อม หลังจากนั้นนายสมศักดิ์เอาพระไปขายแล้ว ปรากฏว่าพระของนายสมชายที่แลกมา นั้นเป็น
พระปลอม จึงไปขอเอาพระที่แลกคืน แต่นายสมชายบอกว่าไม่ให้ แล้วบอกว่า พระของนายสมศักดิ์ก็ชำาระเหมือนกัน เช่นนี้
นายสมศักดิ์ควรทำาเช่นไร

3. ต้องกับแดงเป็นเพื่อนกัน ต้องถามนายแดงว่าจะขายรถที่ใช้อยู่ให้แดง ในราคา สามแสนบาท แดงตกลงจะซื้อในราคานั้น


และตกลงจะไปทำาสัญญาทีส่ ำานักงานทนายความของเพื่อน แต่สำานักงานปิดจึงไม่ได้ทำาสัญญาดังกล่าว หลังจากนั้น สามวัน
ต้องเจอแดงจึงถามให้ แดงชำาระหนี้ค่าซื้อรถ แก่ต้อย เพราะต้อยถือว่าสัญญาได้เกิขึ้นแล้ว แต่แดงปฏิเสธบอกว่าสัญญยังไม่เกิด
และยังไม่ได้ทำาสัญญา จึงไม่ยอมชำาระหนี้ดังกล่าวแก่ ต้อย ท่านเห็นด้วยกับต้อย หรือ แดง อธิบาย

ข้อสอบกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน

1. ดำาไล่แดงออกจากที่ดินมีโฉนด โดยฟ้องต่อศาล ขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณานั้น ดำาและแดงได้ตกลงทำาสัญญา


ประนีประนอมยอมความกัน โดยแดงต้องชำาระเงินค่าที่ให้ดำา และดำาตกลงให้ที่ดินเป็นของแดง ศาลพิพากษาตามยอม แดงทำา
ตามสัญญาโดยชำาระเงินให้ดำาจนครบถ้วน ต่อมาแดงเข้ายึดถือครอบครองในที่ดิน แต่ดำาคัดค้าน อ้างว่าแดงไม่ได้กรรมสิทธิ์
เพราะไม่ได้จดทะเบียน นิติกรรมเป็นโมฆะ ข้ออ้างของดำาฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
2. ฉิง่ และฉาบ ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงหนึ่งร่วมกัน ฉิ่งเข้าทำากินในที่ดินแปลงดังกล่าว โดยฉาบไม่ได้วา่ อะไร ผ่านไป 10 ปี
ฉาบให้ฉิ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ฉิง่ อ้างครอบครองปรปักษ์ ฉาบจะมีข้อต่อสู้อย่างไรบ้าง

3. ไกรทำาสัญญาให้แก้วใช้ทางเดินสู่สาธารณะโดยไม่ได้จดทะเบียนเป็นภาระจำายอม ต่อมาแก้วโดยกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้หวาน
ไกรจึงปิดทางภาระจำายอมนั้น ทำาให้หวานผ่านทางนั้นไม่ได้ หวานจึงฟ้องให้ไกรทำาตามสัญญาที่ไห้ไว้กับแก้วได้ห รือไม่ เพราะ
เหตุใด

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 3 ภาค 2/2548

1. กุ้งกู้เงินปู จำานวน 30,000 บาท เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2546 โดยมี ปลาเป็นผู้คำ้าประกัน มีกำาหนดชำาระหนี้เมื่อครบ 1 ปี เมื่อ
ครบกำาหนดชำาระหนี้ กุ้งเพิกเฉยไม่ชำาระหนี้ ปูเองก็ไม่ได้ทวงถามให้ชำาระหนี้แต่อย่างใด จนเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2548 ปูได้
ฟ้องให้ปลาชำาระหนี้ ปลาอ้างเรื่องที่ปูยอมผ่อนระยะเวลาชำาระหนี้ให้แก่กุ้ง โดยปลามิได้ยินยอมด้วย ปลาย่อมหลุดพ้นไม่ต้อง
รับผิดในการชำาระหนี้ ดังนั้นข้อต่อสู้ของ ปลา ที่มีต่อ ปู ฟังขึ้นหรือไม่เพราะเหตุใด

หลักกฎหมายปพพ.700 เป็นการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาชำาระหนี้แก่ลูกหนี้ (ยืดเวลาการชำาระหนี้ให้ยาวออกไป)ผู้คำ้าประกัน


ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด วรรค 2 ถ้าคำ้าประกันตกลงกับเจ้าหนี้เรื่องผ่อนเวลาการชำาระหนี้ ผู้คำ้าฯหาหลุดพ้นจากความรัผิด
ไม่ ตามปัญหา เป็นการคำ้าประกันหนี้ที่กำาหนดเวลาชำาระหนีมีกำาหนดแน่นอน(หนึ่งปีนักแต่ 5 เมษายน 46) ตามปพพ.204
วรรค 2 ตามปฎิทิน ปูเจ้าหนี้ไม่ได้ผ่อนเวลาชำาระหนี้ให้กุ้งแต่ประการใดเพีงแต่ยังไม่ฟ้องร้องบังคับชำาระนี้เท่านั้น ฉะนั้นปลาหา
หลุดพ้นจากความรับผิดไม่ผิด ประเด็นข้อกฎหมายตามปัญหาว่าเป็นการผ่อนเวลาให้กับลูกหนี้หรือไม่ ต้องทำาความเข้าใจ
ว่าการผ่อนเวลาก็คือการยืดเวลาการชำาระหนี้ออกไป ในระหว่างการผ่อนเวลาเจ้าหนี้จะฟ้องร้องบังคับคดีระหว่างผ่อนเวลาไม่
ได้นั้นเอง การผ่อนฯก็เป็นข้อตกลงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ โดยผู้คำ้าไม่ตกลงด้วยผู้คำ้าหลุดพ้นจากความรับผิด แต่ถ้าตกลงด้วย
ตามวรรค 2 ผู้คำ้าก็ไม่พ้นผิด

2. หนึ่งทำาสัญญากู้เงินสอง 3,000,000 บาท โดยมีสามนำาที่ดินมาคำ้าประกันจำานอง ในขณะที่จำานองนั้นสามได้ทำาสัญญาขาย


ที่ดินให้แก่สี่ เมื่อครบกำาหนดชำาระหนี้ สองได้มีหนังสือบอกกล่าวการบังคับจำานองไปถึงหนึ่งและสาม โดยบอกให้ชำาระหนี้
ภายในหนึ่งเดือน เมื่อไม่ได้รับการชำาระหนี้ สองจึงไปฟ้องให้ศาลบังคับจำานองที่ดินนั้น ปรากฏว่าสองชนะคดี ดังนั้น สองจะ
สามารถบังคับจำานองของสี่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

หลักกฎหมายปพพ.มาตรา 728 , 735 เป็นการที่ผู้รับจำานองจะบังคับจำานองกฎหมายบังคับให้ต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยัง


ลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำาระหนี้ในเวลาอันสมควรซึ่งกำาหนดในคำาบอกกล่าว และถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติการชำาระหนี้ เจ้าหนี้จะฟ้อง
ร้องต่อศาลให้ศาลมีคำาสั่งึดเอาทรัพย์สินซึ่งจำานองหรือนำาไปขายทอดตลาด ตามปัญหาถ้าจะบังคับจำานองเอาแก่ผู้รับโอน
ทรัพย์สินซึ่งจำานองคือสี่ก็ทำาได้แต่ต้องมีจดหมายบอกกล่าวหนึ่งเดือนก่อนจึงจะบังคับจำานองได้ ฉะนั้นสองบังคับจำานองสี่ได้
ตามเหตุผลดังกล่าว ข้อสังเกตของเรื่องนี้เป็นการที่มีบุคคลภายนอกเข้ามาจำานองประกันชำาระหนี้เงินกู้ ต่อมาผู้จำานองนำาไป
ขายต่อจึงมีประเด็นว่าผู้รับจำานองจะบับคับจำานองได้หรือไม่ คำาตอบได้แต่ต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้รับโอนหรือซ้อ
ทรัพย์สินที่ติดจำานองเป็นเวลาหนึ่งเดือนก่อนจึงจะบังคับจำานองได้ หลักสำาคัญของการจำานองเป็นเพียงผู้จำานองนำาทรัพย์สิน
ตรา ไว้(ตราไว้หมายถึงทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าที่)โดยไม่ส่งมอบทรัพย์แก่ผู้รับจำานอง(ไม่โอนกรรมสิทธิ์ให้
นั้นเอง) จึงทำาให้ผู้จำานองโอนหรือขายทรัพย์สินให้แก่ผู้อื่นได้ แต่กฎหมายต้องให้ความเป็นธรรมแก่ผู้รับจำานองที่เสียประโยชน์
ย่อมบังคับจำานองแก่ผู้รับโอนหรือซื้อทรัพย์สินที่ติดจำานองได้ตามกฎหมายที่อ้างมาดังกล่าว

3. ดำาปลอมลายมือชื่อแดงสั่งจ่ายเช็คของแดงจำานวน 50,000 บาท จากนั้นสลักหลังส่งมอบให้แก่ขาว ขาวนำาเช็คไปยื่นให้


ธนาคารจ่ายเงินแก่ตน ธนาคารเห็นว่าเป็นเช็คของแดงซึ่งเป็นลูกค้าชั้นดีของธนาคาร ประกอบกับขณะนั้นมีลูกค้าเข้ามาใช้
บริการเป็นจำานวนมาก ธนาคารจึงไม่ได้ทำาการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็ค จึงจ่ายเงินให้กับขาวไป และต่อมาแดงตรวจสอบพบ
ว่าเงินจำานวน 50 ,000 บาทหายไปจากบัญชีจึงได้ไปตรวจสอบกับธนาคาร แดงจึงขอให้ธนาคารรับผิดชอบชดใช้เงินที่หายไป
จากการสั่งจ่ายเงิน ธนาคารอ้างว่าธนาคารไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบลายมือชื่อของผู้ลงลายมือในเช็คทุกคน
ธนาคารไม่ต้องรับผิด จากกรณีดังกล่าวแดงจะเรียกร้องให้ธนาคารรับผิดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 4

1. ก้อย กล้วย แก้ว ตกลงเข้าห้างหุ้นส่วนกัน โดยนำาทุนมาลงทะเบียนคนละ 1 ล้านบาท โดยตกลงให้แก้วเป็นผู้จัดการ ต่อมา


ได้ให้แก้วไปขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำามาใช้ในกิจการ โดยมีกบเป็นผู้จัดการธนาคาร โดยในครั้งนั้นได้กู้เงินจำานวน 2 ล้าน (
ธนาคารได้อนุมัติการกู้ยืมแล้ว) กบเห็นว่ากิจการของห้างหุ้นส่วนมีกำาไรดี จึงขอบอกกับแก้วว่าขอเข้าเป็นหุ้นส่วนด้วย โดยแก้ว
บอกว่าขอมาปรึกษา ก้อยกับกล้วยก่อน เมื่อนำาเรื่องที่กบขอเข้าเป็นหุ้นส่วนมาปรึกษาก้อยกับกล้วยแล้ว ปรากฏว่า แก้วกับก้อย
เห็นด้วย แต่กล้วยไม่เห็นด้วย ดังนั่น กบจะเข้าเป็นหุ้นส่วนได้หรือไม่ และต่อมาปรากฏว่ากล้วยลาออกจากหุ้นส่วน กล้วยต้อง
รับผิดในหนี้ของหุ้นส่วนหรือไม่ โดยปรากฏว่าขณะที่กล้วยลาออก ห้างหุ้นส่วนเป็นหนี้ธนาคารอยู่ 1 ล้านบาท

หลักกฎหมายปพพ.มาตรา 1040 , 1051 กบเข้าเป็นหุ้นส่วนไม่ได้เพราะกล้วยไม่เห็นด้วยหลักการชักนำาบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้น


ส่วน ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคน(คือก้อยกล้วยแก้ว)เว้นแต่จะตกลงไว้เป็นอย่างอื่น กล้วยต้องรับผิด
ชอบหนี้ของห้างฯซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากห้าฯไปเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ให้มาเป็นห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียน แต่ถ้าเป็น
ห้างที่จดฯกล้วยก็ต้องรับผิดต่อเพียงสองปีนับแต่ออกจากห้างไป(มาตรา 1068)

2. จิ๋มก้บจ๋อยตกลงโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ ของบริษัทรำ่ารวยจำากัด ให้กัน โดยได้ทำาเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อจิ๋ม(ผูโ้ อน) กับ


จ๋อย (ผู้รับโอน) และมีแจ๋วกรรมการผู้จัดการบริษัทรำ่ารวยจำากัด เป็นพยานลงลายมือชื่อรับรอง โดยบริษัทรำ่ารวยไม่ได้จดแจ้ง
การโอนหุ้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ดังนั้น จ๋อยจะนำาการโอนหุ้นนี้มาใช้ยันกับบริษัทรำ่ารวยจำากัดได้หรือไม่

หลักกฎหมายปพพ.มาตรา 1129 วรรค 2 และวรรค 3 เป็นการโอนหุ้นที่ระบุชื่อลงในใบหุ้น ต้องทำาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้


โอนและผู้ผู้รับโอนพยานอย่างน้อยหนึ่งคนรับรองลายมือชื่อนั้นๆด้วย วรรค 3 ต้องจดแจ้งการโอนหุ้นดังกล่าวในทะเบียนของ
บริษัทด้วยจึงจะใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้ ตามปัญหาจ๋อยนำาใบหุ้นไปยันกับบริษัทรำ่ารวยจำากัดได้ถึงแม้ไม่ได้จดแจ้งทะเบียน
หุ้น ของบริษัทก็ตาม ในการโอนหุ้นระหว่างจิ๋มกับจ๋อยได้มีกรรมการบริษัทคือแจ๋วเป็นพยานย่อมจะรับทราบและนำามาจด
ทะเบียนหุ้นของบริษัทได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทโดยตรงอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องนี้ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้แล้วในฎีกาที่
3913/2531
3. เด่นเป็นกรรมการบริษัทฟ้าใสเคมีภัณฑ์จำากัด โดยบริษัทประกอบกิจการเกี่ยวกับการจำาหน่ายอุปกรณ์เคมีภัณฑ์ทั้งหลาย ที่
จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นไม่นานดาวเพื่อนสาวของเด่นได้มาชวนให้เด่นเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนห้างหุ้นส่วนดาวสวยเคมีภัณฑ์จำากัด
ที่จังหวัดเชียงใหม่ เด่นก็ได้ตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนโดยนำาเงินมาลงทุน 1 ล้านบาท โดยจำากัดความรับผิดไม่เกิน 1 ล้านบาท โดย
ไม่ได้รับความยินยอมจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแต่อย่างใดการกระทำาของเด่นเป็นการกระทำาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุ
ใด

หลักกฎหมายปพพ.มาตรา 1168 วรรค 3 ห้ามกรรมการบริษัทประกอบกิจการการค้าขายใดๆอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและ


เป็นการแข่งขันกับการค้าขายของบริษัทนั้น ไม่วา่ เพื่อประโยชน์ตนหรือประโยชน์ผู้อื่นหรือเข้าไปเป็นหุ้นส่วนไม่จำากัดรับความ
ผิดในห้างค้าขายอื่นซึ่งประกอบกิจการมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและแข่งขันกับกิจการของบริษัท โดยมิได้รับความยินยอมของ
ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้น ประเด็นปัญหาที่ตองวินิจฉัยว่าเด่นกระทำาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างไร กรณีประเด็นเข้าไปเป็น
หุ้นส่วนจำากัดรับความผิด เด่นทำาได้กฎหมายไม่ห้ามห้ามเฉพาะเป็นหุ้นส่วนไม่จำากัดรับความผิด ประเด็นต่อมาว่าเด่นเข้าหุ้น
กับดาวว่าเป็นการแข่งขันกับบริษัทที่ตนเองเป็นกรรมการหรือไม่ ต้องดูองค์ประกอบเช่นเวลา สถานที่ ว่าใกล้เคียงกันหรือไม่ ซึ่ง
ข้อเท็จจริงที่ให้มาเป็นเพียงสถานที่คือจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น จึงฟังได้วา่ เด่นกระทำาชอบด้วยกฎหมายด้วยเหตูผลดังกล่าว

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 4

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล โจทย์มีอยู่ประมาณว่าห้างหุ้นส่วนเจริญกิจร่วมค้า มีผู้เป็นหุ้นส่วน 3 คน ประกอบด้วยเจริญ กิจ


และร่วม โดยมีเจริญเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและได้ไปกู้เงินธนาคารเพื่อนำามาใช้ในกิจการ 2 ล้านบาท ผู้จักการธนาคารคือนาย
มงคลเห็นว่ากิจการเจริญร่งเรื่องดีจึงขอเข้าเป็นหุ้นส่วนด้วย นายเจริญกับนายกิจยินยอม แต่นายร่วมไม่เห็นด้วยจึงไม่ยินยอม
ถามว่านายมงคลจะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนได้หรือไม่ และถ้าหากนายร่วมขอลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนนายร่วมจะต้องร่วมรับผิด
ในหนี้ที่ค้างธนาคารอยู่ 1 ล้านบาทหรือไม่

2. การโอนหุ้น นายสองต้องการหุ้นของตนให้นายสาม โดยทำาการโอนเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้โอน พร้อมทั้งมีกรรม


การบริษัทฯ ลงลายมือชื่อเป็นพยาน แต่บริษัทฯ ไม่ได้ลงทะเบียนผู้ถือหุ้น ถามว่านายสองและนายสามจะยันบริษัทฯได้หรือไม่

3. นายกรณ์เป็นกรรมการบริษัทฯทำาการค้าเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ที่จังหวัดเชียงใหม่ นางสาวมยุเรศมาชักชวนนายกรณ์ให้ลงหุ้นใน
ห้างหุ้นส่วนมยุเรศเคมีภัณฑ์ นายกรณ์จึงลงหุ้น 1 ล้านบาทและจำากัดความรับผิดไว้ 1 ล้านบาทโดยมิได้ขอความยินยอมจากบ
ริษัทฯ ถามว่านายกรณ์กระทำาการชอบหรือไม่ชอบ

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 1

1. ดช.เก่ง ตกลงขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตน ให้กับ ดช.ขวัญ ในราคา 1000 บาท ดช.ขวัญ จึงไปขอพ่อของตนเพื่อที่จะซื้อ


โทรศัพท์ จาก ดช.เก่งและมีการซื้อขายเกิดขึ้น หลังจากนั้นไม่นานบิดาของ ดช. เก่ง รู้ว่า ดช.เก่ง นำาโทรศัพท์ไปขาย จึงนำาเงิน
จำานวน 1000 บาท มาคืนกับ บิดาของ ดช. ขวัญ บิดา ดช.ขวัญ ไม่ยอมรับเงินคืน แล้วบอกกับบิดา ดช. เก่งว่า สัญญาซื้อขาย
สมบูรณ์แล้ว และพ้นวิสัยที่จะคืนโทรศัพท์ให้ได้ เนื่องจาก ดช.ขวัญ ทำาโทรศัพท์นั้นสูญหาย ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างกับคำาพูด
ของ บิดา ดช.ขวัญหรือไม่เพราะเหตุใด
2.นายเอกชัยต้องการทำาบุญเนื่องจากวันคล้ายวันเกิด จึงได้ไปซื้อของเพื่อจะนำามาทำาบุญ หลังจากนั้นได้พบพระรูปหนึ่งจึงได้
นิมนต์และทำาการใส่บาตร พอใส่บาตรเสร็จ นางสมศรี เพื่อนบ้านเห็นจึงบอกว่า พระที่นายเอกชัยทำาบุญด้วยนั้น แท้ที่จริงคือ
นายวันชัย ซึ่งปลอมมาเป็นพระ ( พระปลอม ) นายเอกชัยรู้เข้า จึงได้เข้าไปทวงสิ่งของที่ตนใส่บาตรคืนจากนายวันชัย ท่านว่า
นายวันชัยต้องคืนของแก่นายเอกชัยหรือไม่เพราะเหตุใด

3. ต้อย ต้องการซื้อ สายสร้อยเพื่อมอบเป็นของขวัญในวันรับปริญญาเพื่อน จึงได้ไปหาซื้อสร้อยคอทองคำาที่ร้านทองแห่งหนึ่ง


และเห็นสร้อยคอทองคำานำ้าหนัก 2 สลึงเส้นหนึ่ง จึงถามเจ้าของร้านว่าราคาเท่าไหร่ เจ้าของร้านบอกว่า 5500 บาท ต้อยจึงตอบ
ไปว่า "ตกลงเ อาเส้นนี้" แต่พอจะจ่ายเงินกลับพบว่าลืมนำากระเป๋าเงินติดตัวไป ต้อยจะให้เจ้าของร้านส่งมอบทองเส้นดังกล่าว
ให้ก่อนเพราะสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นแล้ว ส่วนเจ้าของร้านบอกว่าสัญญายังไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ได้ทำาเป็นหนังสือ ให้วินิจฉัยว่า
เห็นด้วยกับข้ออ้างของเจ้าของร้านหรือไม่ และเจ้าของร้านต้องส่งมอบทองให้ต้อยหรือไม่ เพราะเหตุใด

แนวเฉลย
ในข้อแรก 21+175
มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำาลงปราศจาก
ความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 175 โมฆียะกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
(1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ถ้าได้รับความ
ยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมเป็นโมฆียะ และผู้แทนโดยชอบธรรมของเอก็บอกล้างแล้ว จึงทำาให้ คู่กรณีกลับคืนสู่
ฐานะเดิม
มาตรา 176 (แถม) โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ถ้า
เป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหาย ชดใช้ให้แทน
บิดาบีต้องคืนมือถือให้ แต่มือถือหายไป บิดาเอ ก็ต้องได้รับค่าเสียหาย ชดใช้ให้แทน

ในข้อ 2 อันนี้ กำ้ากึ่ง แต่ผมลงความเห็นตีไปเลยว่า 157


มาตรา 157 การแสดงเจตนาโดยสำาคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน เป็นโมฆียะ
ความสำาคัญผิดตามวรรค 1 ต้องเป็นความสำาคัญผิดในคุณสมบัติซึ่งตามปกติ
ถือว่าเป็นสาระสำาคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสำาคัญผิดดังกล่าวการอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำาขึ้น
การที่ เอทำาบุญตักบาตร ให้พระปลอมเป็นการสำาคัญผิดในตัวบุคล (พระ) ความสำาคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลจะบอกล้าง
ได้ต่อเมื่อเป็นความสำาคัญผิดในคุณสมบัติซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำาคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสำาคัญผิดดังกล่าวการอันเป็น
โมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำาขึ้น
คือถ้าเอรู้ว่าเป็นพระปลอมคงไม่ได้ตักบาตรกับพระรูปนั้นแน่ๆ
แนวคำาตอบข้อ 2
มาตรา 157 การแสดงเจตนาโดยสำาคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ
ความสำาคัญผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นความสำาคัญผิดในคุณสมบัติซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำาคัญ ซึ่งหากมิได้มีความ
สำาคัญผิดดังกล่าวการอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำาขึ้น
มาตรา 175 โมฆียะกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
(3) บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสำาคัญผิด หรือ........................
มาตรา 176 โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และ
ให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม …….
นายเอกชัย พบพระรูปหนึ่งจึงได้นิมนต์และทำาการใส่บาตร พอใส่บาตรเสร็จ นางสมศรี เพื่อนบ้านเห็นจึงบอกว่า พระที่นาย
เอกชัยทำาบุญด้วยนั้น แท้ที่จริงคือนายวันชัย ซึ่งปลอมมาเป็นพระ ( พระปลอม ) นายเอกชัยรู้เข้า จึงได้เข้าไปทวงสิ่งของที่ตนใส่
บาตรคืนจากนายวันชัย การกระทำาดังกล่าวนายเอกชัยย่อมกระทำาได้เพราะการที่นายเอกชัยใส่บาตรให้นายวันชัยนั้นนาย
เอกชัยเข้าใจว่านายวันชัยเป็นพระ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของบุคคลซึ่งถ้านายวันชัยมิใช่พระนายเอกชัยย่อมไม่นำาของไปใส่บาตรให้
อย่างแน่นอน เมื่อการกระทำาของนายเอกชัยเป็นการแสดงเจตนาให้โดยสำาคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลซึ่งเป็นสาระสำาคัญ
ย่อมเป็นโมฆียะ ตาม ม.157 ดังนั้นนายเอกชัยย่อมบอกล้างได้ตาม ม.175 ว.หนึ่ง(3) และเมื่อบอกล้างแล้วคู่กรณีย่อมกลับคืน
สูฐ่ านะเดิมตามม.176 ...เมื่อนายเอกชัยบอกล้างการให้แล้วนายวันชัย(พระปลอม) ต้องคืนของแก่นายเอกชัยตามหลัก
กฎหมายดังกล่าวแล้วข้างต้น

ข้อ 3 เป็นเรื่องของ ผลของสัญญา


ในข้อแรกต้องตีความก่อนว่า สัญญาเกิดขึ้นแล้ว คำาเสนอ(ร้านขายทองบอกราคา)ตรงกันกับ คำาสนอง(เอตกลงซื้อ) ในเมื่อ
สัญญาได้เกิดขึ้นแล้วกรรมสิทธิ์ในทอง ตกไปแก่ เอ ดังนั้น ส่วนข้ออ้างเจ้าของร้านฟังไม่ขึ้น
แต่ในเมื่อเอยังไม่ชำาระราคา กฎหมายก็ได้วางหลักไว้ดังนี้
มาตรา 369 ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำาระหนี้
จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำาระหนี้ หรือขอปฏิบัติการชำาระหนี้ก็ได้ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
ยังไม่ถึงกำาหนด
ดังนั้น เจ้าของร้าน ทองจึงสามารถที่จะไม่ยอมชำาระหนี้ (เอาทองให้เอ) ได้ จนกว่าเอจะชำาระหนี้ (จ่ายเงิน) หรือ ขอปฏิบัติการ
ชำาระหนี้

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 4

นายมี นายสี นายสา เข้าหุ้นส่วนกันทำาการค้าหนังวัว โดยมิได้ตกลงให้ใครเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ นายมีได้เช่าที่ดินทำาเป็นที่เก็บ


หนังสัตว์โรงใหญ่โดยมิได้หารือนายสีและนายสา นายสาซื้อหนังงูและหนังจระเข้จำานวนมากโดยพลการ เพราะเห็นว่าราคาดี
ต่อมานายสีได้ลาออกจากหุ้นส่วนและนำานายสายเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นมิได้ขัดข้อง ในปลายปีได้เกิดไฟ
ไหม้โรงเก็บหนังสัตว์เสียหายหมด และเป็นหนี้ค่าเช่าที่ดินอยู่ 100,000 บาท ส่วนนายสายังไม่ได้ชำาระหนี้ค่าหนังงูและหนัง
จระเข้ เจ้าหนี้จึงมาฟ้องเรียกชำาระหนี้จากบุคคลทั้งหมด รวมทั้งนายสีที่ลาออกไปแล้วด้วย ให้ท่านวินิจฉัยถึงความรับผิดของ
บุคคลเหล่านั้น

ตามปัญหา นายมี นายสี และนายสา เข้าหุ้นกันทำาการค้าหนังสัตว์ โดยมิได้ตกลงให้ใครเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงถือว่าผู้เป็นหุ้น


ส่วนทั้ง 3 คน ต่างมีสิทธิจัดการห้างได้ และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหมดทุกคน ตาม ม.1033 การที่นายมีได้เช่าที่ดินทำาเป็นโรงเก็บ
หนังสัตว์นั้น สามารถทำาได้แม้จะไม่ได้หารือนายสีและนายสา ส่วนนายสาที่ไปซื้อหนังงูและหนังจระเข้เพราะเห็นว่าราคาถูกดี ก็
สามารถทำาได้เช่นกันแม้จะทำาโดยพลการ ประเด็นสำาคัญที่ต้องพิจารณาคือ กิจการที่ทั้งนายมีและนายสาได้ทำาลงไปนั้นเป็น
ธรรมดาการค้าของห้างหุ้นส่วนหรือไม่ ถ้าเป็นกิจการที่เป็นธรรมดาการค้าของห้าง ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องผูกพันในกิจการนั้น
และต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำากัดจำานวนในการชำาระหนี้ที่ก่อขึ้น แต่ถ้าไม่ใช่กิจการที่เป็นธรรมดาการค้าของห้าง ผู้เป็นหุ้นส่วน
ทุกคนก็ไม่จำาต้องผูกพันในกิจการนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดทำาคนนั้นต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ตาม ม.1050
กรณีนายมีได้เช่าที่ดินทำาเป็นโรงเก็บหนังสัตว์นั้น ถือว่าสอดคล้องและเป็นกิจการที่เป็นธรรมดาการค้าของห้างที่มีวัตถุประสงค์
ทำาการค้าหนังสัตว์ เมื่อห้างเป็นหนี้ค่าเช่าที่ดินอยู่ 100,000 บาท นายมีและนายสีซึ่งยังเป็นหุ้นส่วนอยู่ต้องร่วมกันรับผิดในหนี้
รายนี้ ส่วนนายสาแม้จะลาออกจากหุ้นส่วนแล้วก็ตาม ก็ยังต้องร่วมรับผิดด้วย เพราะหนี้รายนี้ได้ก่อขึ้นก่อนที่ ตนจะลาออกจาก
หุ้นส่วน ตาม ม.1051 สำาหรับนายสายนั้น แม้จะได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนคนใหม่โดยหุ้นส่วนคนอื่นยินยอม ตาม ม.1040 และหนี้
รายนี้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนคนใหม่ก็ตาม นายสายก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้รายนี้ด้วยเช่นกัน ตาม ม.1052
กรณีที่นายสาได้ซื้อหนังงูและหนังจระเข้โดยพลการเพราะเห็นว่าราคาถูกดี และยังไม่ได้ชำาระหนี้ค่าหนังงูและหนังจระเข้นั้น
แม้วา่ นายสาจะมีเจตนาดี แต่เมื่อการค้าหนังงูและหนังจระเข้ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อจะค้า
หนังวัว จึงไม่ผูกพันต่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน นายสาจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ส่วนนี้ ตาม ม.1050
วินิจฉัยว่า ทั้งนายมี นายสี นายสา และนายสาย ต้องร่วมรับผิดในค่าเช่าที่ดินจำานวน

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 2

1. แดงไปซื้อชุดนำ้าชาจากเหลือง 1 ชุด ราคา 20,000 บาท ประกอบด้วยกานำ้าชา 1 ใบ และ ถ้วยนำ้าชา 4 ใบ เพื่อจะนำาไป


ประกวด ขณะเหลืองห่อให้นั้นได้ทำาถ้วยนำ้าชาตกแตกไป 1 ใบ เหลืองจึงลดราคาให้ 5,000 บาท แต่แดงไม่ยอมรับซื้อชุดนำ้าชาที่
เหลือ และจะเรียกค่าเสียหายด้วย ทั้งสองตกลงกันไม่ได้จึงมาปรึกษาท่าน จะให้คำาปรึกษาอย่างไร

2. ต้อยเป็นเจ้าหนี้เงินกู้ของแดงอยู่ 5,000 บาท เมื่อถึงกำาหนดชำาระ ต้อยจึงไปทวงหนี้จากแดง แดงไม่ยอมจ่ายและยังพูดจาไม่


ดีและไม่เหมาะสมกับต้อย ต้อยโกรธมากจึงตบหน้าแดงไปหนึ่งครั้ง แดงเรียกร้องค่าเสียหายจากต้อยเป็นเงิน 2,000 บาท ต้อย
ยอมตกลงแต่ขอให้หักเงินจากเงิน 5,000 บาท ที่แดงเป็นหนี้อยู่ แดงปฏิเสธอ้างไม่เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นคนละครั้งจะนำามาหักกลบ
กันไม่ได้ ถามว่า ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของแดงหรือไม่ เพราะอะไร

3. อ้อยและโต้งเป็นเพื่อนบ้านกันมีบ้านอยู่ติดกัน ต้นไม้ของโต้งอยู่ติดริมรั้วบ้านแผ่กิ่งก้านเข้ามาในเขตบ้านของอ้อย อ้อยเห็น


ว่ากิ่งไม้จะหักอยู่แล้วจึงบอกโต้งให้ตัดกิ่งไม้เสีย โต้งก็เพิกเฉย อ้อยจึงตัดสินใจตัดกิ่งไม้เอง ขณะกำาลังตัดและกิ่งไม้จวนจะขาด
จากต้น อ้อยได้ดันกิ่งไม้นั้นไปยังเจตบ้านโต้ง เพื่อให้ไม้หล่นอยู่ในเขตบ้านของโต้ง ปรากฏว่ากิ่งไม้ไปกระทบถูกตุ่มนำ้า ทำาให้ตุ่ม
นำ้าของโต้งแตกเสียหาย ถามว่า โต้งจะเรียกร้องค่าเสียหายจากอ้อยได้หรือไม่

ข้อสอบกฎหมายพาณิยช์ 3

1. ก. กู้เงิน ข โดยมีนายค. คำ้าประกัน กำาหนดชำาระ 1 ปี เมื่อครบกำาหนด นายก. ไม่ชำาระ ข. เจ้าหนี้เพิกเฉยมิได้ทวงถามแต่


อย่างใด ต่อมา ข.เรียกให้ ค. ผู้คำ้าชำาระ ค.ยกข้อต่อสูว้ ่า ค เพิกเฉย ไม่ทวงถาม เป็นการผ่อนชำาระเวลาให้ลูกหนี้ ค. จึงหลุดพ้น
จากความรับผิด ข้อต่อสู้ของ ค. ฟังขึ้นหรือไม่

2. ก.กู้เงิน ข. โดยมี นายค. นำาที่ดินมาจำานอง ต่อมา ค.ขายที่ดินให้ ง. เมื่อถึงกำาหนดชำาระหนี้ ก.ไม่ชำาระหนี้ ข.จึงบังคับจำานอง


ที่ดิน โดยส่งหนังสือบอกกล่าวถึง ค. และ ก. ให้ชำาระหนี้ภายใน 1 เดือน เมื่อครบ 1 เดือน ก.ไม่ชำาระ ข.จึงฟ้องศาล ศาล
พิพากษาให้ชนะคดี ถามว่า ข. บังคับที่ดินจำานองจาก ง.ได้หรือไม่

3. ดาวปลอมลายมือชื่อ ของดุ่ย เขียนเช็คของดุ่ยจ่ายเงินให้ดิ่ง ดิ่งสลักหลังโอนให้ดิบ เมื่อเช็คครบกำาหนดดิบ นำาเช็คยื่นต่อ


ธนาคาร สมุห์บัญชีของธนาคาร จ่ายเงินให้กับดิบโดยมิได้ตรวจสอบลายมือชื่อของดุ่ยแต่อย่างใดเนื่องจากมีคนมาก
ต่อมาดุ่ยพบว่ามีการเบิกเงินจากธนาคาร จึงฟ้องร้องให้ธนาคารรับผิด แต่ธนาคารอ้างว่า ไม่มีหน้าที่ตรวจสอบลายมือชื่อทุก
คนในเช็ค ดุ่ยฟ้องร้องได้หรือไม่

ข้อสอบกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน ภาค 2/2548

1. ดำาไล่แดงออกจากที่ดินมีโฉนด โดยฟ้องต่อศาล ขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณานั้น ดำาและแดงได้ตกลงทำาสัญญา


ประนีประนอมยอมความกัน โดยแดงต้องชำาระเงินค่าที่ให้ดำา และดำาตกลงให้ที่ดินเป็นของแดง ศาลพิพากษาตามยอม แดงทำา
ตามสัญญาโดยชำาระเงินให้ดำาจนครบถ้วน ต่อมาแดงเข้ายึดถือครอบครองในที่ดิน แต่ดำาคัดค้าน อ้างว่าแดงไม่ได้กรรมสิทธิ์
เพราะไม่ได้จดทะเบียน นิติกรรมเป็นโมฆะ ข้ออ้างของดำาฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

(ศาลพิพากษายืนตามการประนีประนอมยอมความ นิติกรรมการซื้อที่ดิน ควรจะเป็นการได้มาโดยนิติกรรม


จึงน่าจะนำาม.1299 วรรค 1 มาใช้ เนื่องจากไม่ได้เป็นการพิพากษาโดยไต่สวน สืบพยาน มูลคดีมานิติกรรมโดยตรง ซึ่งจะเป็น
กรณีได้มาทางอื่น นอกจากนิติกรรม คือได้มาโดยคำาพิพากษาของศาล)

2. ฉิง่ และฉาบ ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงหนึ่งร่วมกัน ฉิ่งเข้าทำากินในที่ดินแปลงดังกล่าว โดยฉาบไม่ได้วา่ อะไร ผ่านไป 10 ปี


ฉาบให้ฉิ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ฉิง่ อ้างครอบครองปรปักษ์ ฉาบจะมีข้อต่อสู้อย่างไรบ้าง

กรณีตามปัญหาข้างต้น ป.พ.พ. วางหลักกฎหมายไว้ดังนี้


มาตรา 1357 ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วน เท่ากัน
มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ
ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบ ครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็น
เวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
มาตรา 1381 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครอง บุคคลนั้นจะเปลี่ยนลักษณะแห่ง
การยึดถือได้ ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครอง ว่าไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไป
หรือตนเองเป็นผู้ ครอบครองโดยสุจริต อาศัยอำานาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก
จากข้อเท็จจริงตามปัญหา ฉิ่งและฉาบร่วมกันซื้อที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฎว่ามีการแบ่งแยกกันให้
ใครได้ครอบครองที่ดินในส่วนไหน จึงถือได้วา่ ฉิ่งและฉาบเป็นเจ้าของรวมกันมีสว่ นเท่ากันในที่ดินแปลงนี้ตาม
ข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ฉิ่งและฉาบจึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันอยู่ในทุกๆส่วนของที่ดินแปลงนี้ การที่ฉิ่งได้
เข้ายึดถือครอบครองทำากินในที่ดินแปลงดังกล่าวแต่ลำาพังเพียงคนเดียวนั้น ก็ต้องถือว่าเป็นการยึดถือที่ ดินในฐานะ
เป็นผู้แทนของฉาบไปด้วยในตัว แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฎว่าฉิ่งได้ครอบครองที่ดินแปลงนี้ไว้โดยความสงบ และ
โดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันเป็นเวลาเกินสิบปีก็ตาม ก็ไม่ทำาให้ฉิ่งได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครอง
ปรปักษ์ในที่ดินอันตนเองเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยในทุกส่วนมาได้ ไม่ใช่เป็นกรณีที่ดินของผู้อื่นตามหลักของการ
ครอบครองปรปักษ์ คำากล่าวอ้างของฉิ่งจึงฟังไม่ขึ้น เว้นเสียแต่ว่าฉิ่งจะเปลี่ยนลักษณะที่ได้ยึดถือแทนฉาบโดย
บอกกล่าวไปยังฉาบว่าตนไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินแปลงนีแ้ ทนฉาบอีกต่อไป ก่อนเข้าครอบครองโดยความสงบ
และโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีขึ้นไปได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์
ในที่ดินแปลงนี้
ฉาบย่อมมีข้อสู้ต่อฉิ่งได้ตามเหตุผลข้างต้น

3. ไกรทำาสัญญาให้แก้วใช้ทางเดินสู่สาธารณะโดยไม่ได้จดทะเบียนเป็นภาระจำายอม ต่อมาแก้วโดยกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้หวาน
ไกรจึงปิดทางภาระจำายอมนั้น ทำาให้หวานผ่านทางนั้นไม่ได้ หวานจึงฟ้องให้ไกรทำาตามสัญญาที่ไห้ไว้กับแก้วได้ห รือไม่ เพราะ
เหตุใด

กรณีตามปัญหาข้างต้น ป.พ.พ. วางหลักกฎหมายไว้ดังนี้


มาตรา 1299 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่น ท่านว่าการได้มาโดยนิติกรรม
ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำาเป็นหนังสือและ
ได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่
ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของ
ผูไ้ ด้มานั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น
มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว
จากข้อเท็จจริงตามปัญหา ไกรทำาสัญญายอมให้แก้วใช้ทางเดินสู่สาธารณะ ทำาให้แก้วได้สิทธิภาระจำายอมในที่ดินของไกร
อันเป็นการได้สิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มาโดยนิติกรรม จึงต้องอยู่ใต้บังคับ มาตรา 1299 วรรค 1 ข้อเท็จจริงปรากฏ
ต่อมาว่าแก้วโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้หวาน และไกรได้ปิดทางภาระจำายอมนั้น ไกรในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ที่ยอมให้แก้ว
เจ้าของสามยทรัพย์เดินผ่านได้นั้น ย่อมใช้สิทธิในทรัพย์สินของตนได้ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายที่ให้สิทธิเจ้าของทรัพย์สิน
ที่จะจัดการใดๆกับทรัพย์สินของตนก็ได้ การที่ไกรจะปิดทางภาระจำายอมนั้นก็ย่อมทำาได้ เพราะเมื่อไม่ได้จดเบียนภาระจำายอม
ไว้ การได้สิทธิภาระจำายอมของแก้วนั้นจึงไม่บริบูรณ์ในฐานะทรัพยสิทธิ คงแต่เพียงใช้ได้ในฐานะบุคคลสิทธิซึ่งใช้บังคับกันได้
แต่เฉพาะไกรกับแก้วคู่กรณีเท่านั้น จะใช้บังคับกับหวานซึ่งไม่ใช่คู่กรณีตามสัญญาไม่ได้ ไม่ว่าหวานจะได้รับโอนที่ดินมาจาก
แก้ว โดยเสียค่าตอบแทนหรือโดยสุจริต หรือได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหรือไม่ก็ตาม ภาระจำายอมย่อมไม่ติดไปกับสามย
ทรัพย์ ตามมาตรา 1393
หวานไม่สามารถฟ้องให้ไกรทำาตามสัญญาที่ไห้ไว้กับแก้วได้
(มาตรา 1393 ถ้ามิได้กำาหนดไว้เป็นอย่างอื่นในนิติกรรมอันก่อให้ เกิดภารจำายอมไซร้ ท่านว่าภารจำายอมย่อมติดไปกับ
สามยทรัพย์ซึ่งได้จำาหน่ายหรือตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่น)

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 1

1. นายไก่มีบ้านอยู่ริมแม่นำ้า ทางราชการได้ประกาศเตือนประชาชนที่อยู่ริมแม่นำ้าว่านำ้าเหนือไหลบ่ามาจะก่อให้เกิดความเสีย
หายท่วมบ้านเรือนที่อยู่ริมแม่นำ้าได้ให้ประชาชนคอยระวังและจัดเตรียมกระสอบทรายหรือทำาเขื่อนกั้นนำ้าบริเวณบ้านหรือที่ดิน
ของตน นายไก่จึงได้ตกลงซื้อกระสอบทรายและอิฐบล็อกจากนายเป็ดซึ่งเป็นเจ้าของร้านวัสดุก่อสร้าง เพื่อทำาคันกั้นนำ้า นาย
เป็ดบอกว่าตนได้จัดเตรียมกระสอบทรายไว้จำาหน่ายแล้วที่มีอยู่ในโกดังทั้งหมดตอนนี้มีประมาณ 200 กระสอบ จัดเก็บไว้ต่าง
หากไม่ได้รวมกับวัสดุก่อสร้างอื่น ถ้านายไก่ต้องการตนจัดส่งให้ได้ทันทีและตกลงขายให้นายไก่ทั้งหมด ราคา 1,500 บาท นาย
ไก่จึงได้ตกลงซื้อกระสอบทรายทั้งหมดที่นายเป็ดมีอยู่ ส่วนอิฐบล็อกนั้น นายเป็ดตกลงขายให้ในราคาแผ่นละ 2.00 บาท นาย
ไก่จึงตกลงซื้ออิฐบล็อกจากนายเป็ดอีก 100 แผ่น โดยนายเป็ดสัญญาว่าจะจัดส่งกระสอบทรายให้นายไก่ได้ในวันพรุ่งนี้เช้า แต่
อิฐบล็อกที่นายเป็ดมีอยู่ในโกดังไม่พอ นายเป็ดตกลงจะจัดหามาให้ครบและจะส่งให้นายไก่ได้ภายในหนึ่งสัปดาห์นับจากวันนี้
นายเป็ดจัดส่งกระสอบทรายทั้งหมดที่มีอยู่ไปให้นายไก่ที่บ้าน นายไก่รับกระสอบทรายมาทั้งหมดแล้ว ได้ชำาระเงินให้นายเป็ด
เท่าที่ตกลง 1,500 บาท ภายหลังนายเป็ดทราบว่ากระสอบทรายทั้งหมดมีจำานวน 220 กระสอบ นายเป็ดจึงได้มาเรียกเก็บเงิน
เพิ่มจากส่วนที่เกินไป 20 กระสอบ แต่นายไก่ไม่ยอมชำาระ เมื่อครบเวลาส่งมอบอิฐบล็อกนายเป็ดจึงได้ให้พนักงานในร้านของ
นายเป็ดถือจดหมายลงชื่อนายเป็ดทวงเงินค่ากระสอบทรายที่เกินไปและพร้อมในจดหมายก็ปฏิเสธที่จะจัดหาอิฐบล็อกที่นาย
เป็ดได้ตกลงขายให้นายไก่โดยอ้างว่า นำ้าได้ท่วมโกดังเก็บวัสดุก่อสร้างของนายเป็ดเสียหาย นายไก่จะเรียกร้องให้นายเป็ดส่ง
มอบอิฐบล็อกให้ตามสัญญาได้หรือไม่ และนายเป็ดจะเรียกราคาค่ากระสอบทรายที่เกินไป 20 กระสอบได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำาตอบ หลักกฎหมาย มาตรา 456 วรรค 2 และวรรค 3 มาตรา 458 และมาตรา 460 วรรค 1
วินิจฉัย นายไก่ตกลงซื้อกระสอบทรายและอิฐบล็อกจากนายเป็ด นายเป็ดบอกว่าตนมีกระสอบทรายอยู่ในโกดังทั้งหมด
ประมาณ 200 กระสอบ และตกลงขายให้นายไก่ในราคา 1,500 บาท นายไก่จึงตกลงซื้อกระสอบทรายทั้งหมดที่นายเป็ดมีอยู่
สัญญาซื้อขายกระสอบทรายเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในสังหาริมทรัพย์ธรรมดาที่มีราคาตั้งแต่ห้าร้อยบาทขึ้นไป ตาม
มาตรา 456 วรรค 3 ซึ่งนำาวรรค 2 มาใช้บังคับเป็นสัญญาซื้อขายเหมา รู้ตัวทรัพย์แน่นอน และรู้ราคาที่แน่นอนแล้ว จำานวน
กระสอบทราย 200 กระสอบเป็นการประมาณการ กรรมสิทธิ์โอนเป็นของนายไก่ผู้ซื้อตั้งแต่ตกลงทำาสัญญาตามมาตรา 458
ส่วนอิฐบล็อกนายเป็ดตกลงขายให้ในราคาแผ่นละ 2.00 บาท นายไก่จึงตกลงซื้ออิฐบล็อกจากนายเป็ดอีก 100 แผ่น นายเป็ด
สัญญาว่าจะจัดส่งกระสอบทรายให้นายไก่ได้ในวันพรุ่งนี้เช้า แต่อิฐบล็อกที่นายเป็ดมีอยู่ในโกดังไม่พอ นายเป็ดตกลงจะจัดหา
มาให้ครบและจะส่งให้นายไก่ได้ภายในหนึ่งสัปดาห์นับจากวันนี้ สัญญาซื้อขายอิฐบล็อกเป็นสัญญาซื้อขายทรัพย์สินซึ่งมิได้
กำาหนดลงไว้แน่นอน กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจนกว่าจะได้หมายหรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก หรือทำาโดยวิธีอื่น เพื่อให้บ่งตัว
ทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนแล้ว ตามมาตรา 460 วรรคหนึ่ง นายเป็ดจัดส่งกระสอบทรายทั้งหมดที่มีอยู่ไปให้นายไก่ที่บ้าน
นายไก่รับกระสอบทรายมาทั้งหมดแล้ว ได้ชำาระเงินให้นายเป็ดเท่าที่ตกลง 1500 บาท ภายหลังนายเป็ดทราบว่ากระสอบทราย
ทั้งหมดมีจำานวน 220 กระสอบ นายเป็ดจึงได้มาเรียกเก็บเงินเพิ่มจากส่วนที่เกินไป 20 เมื่อเป็นสัญญาซื้อขายเหมา แม้จำานวน
ทรัพย์สินจะมากหรือน้อยไปกว่าการประมาณการของผู้ซื้อหรือผู้ขาย คู่สัญญาฝ่ายใดจะเรียกให้ลดหรือเพิ่มราคาหรือทรัพย์สิน
ไม่ได้ ส่วนอิฐบล็อกเมื่อครบเวลาส่งมอบอิฐบล็อกแล้ว นายไก่จะเรียกร้องให้นายเป็ดส่งมอบอิฐบล็อกให้ตามสัญญาได้ เพราะ
เป็นสัญญาซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ยังเป็นของนายเป็ดอยู่ ตามมาตรา 460 วรรคหนึ่ง และเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ธรรมดา
ที่มีราคาไม่ถึง 500 บาท และนายเป็ดได้มีจดหมายลงชื่อนายเป็ดทวงเงินค่ากระสอบทรายที่เกินไปและพร้อมในจดหมายก็
ปฏิเสธที่จะจัดหาอิฐบล็อกที่นายเป็ดได้ตกลงขายให้นายไก่โดยอ้างว่า นำ้าได้ท่วมโกดังเก็บวัสดุก่อสร้างของนายเป็ดเสียหายซึ่ง
ไม่เป็นเหตุพ้นวิสัย นายเป็ดยังสามารถปฏิบัติชำาระหนี้ได้ ส่วนสัญญาซื้อขายกระสอบทราย นายเป็ดจะเรียกราคาค่ากระสอบ
ทรายที่เกินไป 20 กระสอบไม่ได้ เพราะเป็นสัญญาซื้อขายเหมาที่ผู้ซื้อได้ชำาระราคาครบถ้วนตามสัญญาเรียบร้อยแล้ว

2. นายกมลได้ซื้อรถยนต์คันหนึ่งจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในราคา 300,000 บาท ต่อมานายกมลทราบ


ว่ารถยนต์คันนี้มิใช่เป็นของจำาเลย แต่เป็นของนายสมเดชที่ถูกคนร้ายลักไป นายกมลได้เสนอขายรถยนต์คันนี้ให้แก่นายองอาจ
ในราคา 250,000 บาท และมีข้อสัญญาว่าถ้ารถยนต์คันนี้มีความชำารุดบกพร่องหรือเกิดการรอนสิทธิ์ นายกมลไม่ต้องรับผิด
และไม่ต้องคืนราคา นายองอาจตอบตกลงซื้อรถยนต์คันนี้พร้อมกับชำาระราคาโดยไม่ทราบว่านายกมลได้ปกปิดความจริงไว้
นายองอาจใช้รถยนต์คันนี้มาได้ 1 เดือน เจ้าพนักงานตำารวจได้มายึดรถยนต์ไปจากนายองอาจเพื่อคืนให้แก่นายสมเดช หลัง
จากเจ้าพนักงานตำารวจยึดไปแล้ว 6 เดือน นายองอาจจึงได้มาเรียกร้องให้นายกมลรับผิดเพื่อการรอนสิทธิ์ ดังนี้ให้วินิจฉัยว่า
นายกมลจะต้องรับผิดเพื่อการรอนสิทธิ์หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำาตอบ หลักกฎหมาย มาตรา 482, 485 และ มาตรา 1330


วินิจฉัย นายกมลซื้อรถยนต์มาจากการขายทอดตลาดตามคำาสั่งศาล ย่อมได้รับการคุ้มครองตามบทบัญญัติ มาตรา 1330 เป็น
ข้อยกเว้นหลักเรื่องผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน และทำาให้นายกมลมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนี้ และมีสิทธิดีกว่านายสมเดช
เจ้าของที่แท้จริง เมื่อนายองอาจซื้อรถยนต์จากนายกมล นายองอาจย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามหลักเรื่องผู้รับโอนไม่มสี ิทธิดีกว่าผู้
โอน แม้ในสัญญาซื้อขายจะมีข้อสัญญาว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดเพื่อการรอนสิทธิ์ และนายกมลรู้ความจริงและปกปิดไว้ ซึ่งตาม
มาตรา 485 นายกมลยังต้องรับผิด แต่เนื่องจากตามมาตรา 482(1) เรื่องผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ์ นายกมลย่อม
พิสูจน์ได้ว่าสิทธิของผู้ซื้อได้สูญไปโดยความผิดของผู้ซื้อเอง เพราะนายสมเดชไม่มีสิทธิในรถยนต์คันนี้ดีกว่านายองอาจ แม้
นายองอาจจำาต้องยอมให้เจ้าพนักงานตำารวจยึดรถยนต์ไป นายองอาจก็ชอบที่จะเรียกรถยนต์คืนจาก นายสมเดชได้ เมื่อนาย
องอาจมาเรียกร้องให้นายกมลรับผิดเพื่อการรอนสิทธิ์ นายกมลย่อมยกมาตรา 482(1) ขึ้นต่อสู้กับนายสมเดชได้ นายกมลจึงไม่
ต้องรับผิด

3. นายแดงได้ขายฝากแหวนวงหนึ่งของนายแดงไว้กับนายดำา โดยทำาสัญญาเป็นหนังสือลง ลายมือชื่อทั้งนายแดงและนายดำา


กำาหนดเวลาไถ่คืนภายใน 6 เดือน และในหนังสือสัญญายังมีข้อตกลงห้ามไม่ให้ผู้ซื้อฝากโอนขายแหวนไปให้ใครก่อนครบ
กำาหนดไถ่คืน ต่อมาเมื่อนายดำารับซื้อฝากแหวนวงนั้นมาได้หนึ่งเดือน นายดำาได้ขายต่อให้นายเหลืองโดยนายเหลืองไม่รู้ว่า
แหวนวงนั้นติดสัญญาขายฝากอยู่ ขายฝากไปได้ 3 เดือน นายแดงได้มาขอไถ่แหวนวงนี้คืนจากนายเหลือง นายเหลืองจะ
ปฏิเสธไม่ยอมให้นายแดงไถ่คืนได้ หรือไม่ เพราะเหตุใด และถ้านายแดงไถ่แหวนคืนจากนายเหลืองไม่ได้ นายแดงจะฟ้องให้
นายดำารับผิดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำาตอบ หลักกฎหมาย มาตรา 493 และมาตรา 498 (2)


วินิจฉัย นายแดงได้ขายฝากแหวนวงหนึ่งของนายแดงไว้กับนายดำา โดยทำาสัญญาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้งนายแดงและนาย
ดำา กำาหนดเวลาไถ่คืนภายใน 6 เดือน และในหนังสือสัญญายังมีข้อตกลงห้ามไม่ให้ผู้ซื้อฝากโอนขายแหวนไปให้ใครก่อนครบ
กำาหนดไถ่คืนเป็นสัญญาขายฝากที่คู่สัญญาตกลงห้ามผู้ซื้อจำาหน่ายทรัพย์สินที่ขายฝาก ตามมาตรา 493 ต่อมาเมื่อนายดำารับ
ซื้อฝากแหวนวงนั้นมาได้หนึ่งเดือน นายดำาได้ขายต่อให้นายเหลืองโดยนายเหลืองไม่รู้ว่าแหวนวงนั้นติดสัญญาขายฝากอยู่ ขาย
ฝากไปได้ 3 เดือน นายแดงได้มาขอไถ่แหวนวงนี้คืนจากนายเหลือง นายเหลืองปฏิเสธไม่ยอมให้นายแดงไถ่คืนได้ เพราะว่า
นายเหลืองเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินหรือรับโอนสิทธิเหนือทรัพย์สินในสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผู้รับโอนนายเหลืองไม่รู้ในเวลาโอนว่า
ทรัพย์สินตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิไถ่คืน นายแดงไถ่แหวนคืนจากนายเหลืองไม่ได้ นายแดงจะฟ้องให้นายดำารับผิดได้เพราะ
สัญญาขายฝากนี้มีข้อตกลงห้ามมิให้ผู้ซื้อจำาหน่ายทรัพย์สิน เมื่อผู้ซื้อจำาหน่ายทรัพย์สินฝ่าฝืนสัญญาต้องรับผิดต่อผู้ขายใน
ความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น ตามมาตรา 493

ข้อ 4. นายไก่และนายไข่เป็นเพื่อนบ้านกันและทั้งคู่มีอาชีพทำาสวนผลไม้ ปีนี้ฝนตกมากทำาให้สวน ผลไม้ของนายไก่ถูกนำ้าท่วม


นายไข่จึงมาช่วยสูบนำ้า วิดนำ้า จนสวนของนายไก่พ้นจากความเสียหาย นายไก่เห็นความมีนำ้าใจของนายไข่จึงให้สายสร้อยคอ
ทองคำาพร้อมพระเลี่ยมทองแก่นายไข่ วันหนึ่งนายไก่และ นายไข่มีเรื่องทะเลาะวิวาทกัน นายไข่ได้ใช้ท่อนไม้ทุบนายไก่บาดเจ็บ
สาหัสจนปางตาย ต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเกือบเดือน นายไก่แค้นเคืองและถือว่านายไข่เป็นคนเนรคุณจึงต้องการที่
จะเรียกสร้อยคอพร้อมพระเลี่ยมทองที่ตนได้ให้นายไข่คืน
ข้ออ้างของนายไก่เป็นข้ออ้างตามกฎหมายที่จะทำาให้นายไก่มีสิทธิเรียกสร้อยคอทองคำาพร้อม พระเลี่ยมทองคืนจากนายไข่หรือ
ไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำาตอบ หลักกฎหมาย มาตรา 531 และมาตรา 535


วินิจฉัย ตามบทบัญญัติมาตรา 531 (1) กรณีที่จะถือว่าผู้รับประพฤติเนรคุณและผู้ให้มีสิทธิที่จะเรียกถอนคืนการให้นั้นคือ
กรณีที่ผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญา การที่นายไข่ใช้ท่อนไม้ทุบตีนาย
ไก่จนบาดเจ็บสาหัสแทบตายและต้องรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเกือบเดือนนั้นถือว่านายไข่ผู้รับได้ประทุษร้ายต่อนายไก่ผู้
ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญาเป็นกรณีที่นายไข่ประพฤติเนรคุณต่อนายไก่
แต่การที่นายไก่ให้สร้อยคอทองคำาพร้อมพระเลี่ยมทองแก่นายไข่นั้น เพราะเหตุที่นายไข่มาช่วยมิให้สวนผลไม้ของนายไก่เสีย
หายเพราะนำ้าท่วม ถือว่าเป็นการให้ที่เป็นบำาเหน็จสินจ้างโดยแท้ตามมาตรา 535(1) ซึ่งนายไก่ไม่สามารถถอนคืนการให้ได้ แม้
นายไข่จะประพฤติเนรคุณตามมาตรา 531 (1)
ดังนั้นแม้นายไข่จะประพฤติเนรคุณต่อนายไก่ แต่การให้ของนายไก่ต่อนายไข่เป็นการให้ที่เป็นบำาเหน็จสินจ้างโดยแท้ นายไก่จึง
ไม่มสี ิทธิที่จะเรียกสร้อยคอทองคำาพร้อมพระเลี่ยมทองคืนจากนายไข่

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 1

1. เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2543 นายสมพงษ์ขายบ้านของตนหลังหนึ่งให้แก่นายสุธีในราคา 300,000 บาท โดยมีข้อตกลงกันว่า


ให้นายสมพงษ์ส่งมอบบ้านให้นายสุธีในวันทำาสัญญา และนายสุธีจะชำาระราคาให้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ส่วนค่าฤชา
ธรรมเนียมนั้นให้นายสมพงษ์เป็นผู้เสีย และทั้งคู่มิได้ทำาสัญญากันเป็นหนังสือ นายสุธีอยู่ในบ้านหลังนี้มาจนถึงวันที่ 25
มกราคม 2543 ก็เกิดไฟไหม้บ้านข้างเคียงและลุกลามมาไหม้บ้านหลังดังกล่าว ดังนี้ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า สัญญานี้เป็น
สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือสัญญาจะซื้อจะขายและถึงวันกำาหนดชำาระราคา นายสุธีไม่ยอมชำาระราคา นายสมพงษ์จะมี
สิทธิฟ้องบังคับให้นายสุธีชำาระราคา 300,000 บาทได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำาตอบ หลักกฎหมาย มาตรา 456 วรรค 2, มาตรา 458


วินิจฉัย การแสดงเจตนาทำาสัญญาระหว่างนายสมพงษ์กับนายสุธีได้มีข้อตกลงให้นายสมพงษ์เป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียม
แสดงว่าคู่สัญญายังมีความผูกพันต่อกันว่าจะไปทำาสัญญากันให้เสร็จอีกครั้งหนึ่ง และการเสียค่าฤชาธรรมเนียม นายสมพงษ์
จะต้องชำาระในเวลาไปทำานิติกรรมซื้อขายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญานี้จึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายตามมาตรา 456 วรรค 2
หาใช่มาตรา 455 ไม่
และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อในขณะทำาสัญญาซื้อขายตามมาตรา 458 นั้น หมายถึงสัญญาซื้อขายเสร็จ
เด็ดขาด เมื่อสัญญานี้เป็นสัญญาจะซื้อขาย กรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนี้จึงยังไม่โอนไปยังนายสุธีในเวลาซื้อขาย และเกิดไฟไหม้
บ้านหลังดังกล่าวในขณะที่กรรมสิทธิ์ยังเป็นของนายสมพงษ์อยู่และโทษนายสุธีไม่ได้ บาปเคราะห์จึงตกแก่นายสมพงษ์เจ้าของ
กรรมสิทธิ์ แม้ตามปัญหาจะมีหลักฐานในการฟ้องร้องเพราะมีการชำาระหนี้ (ส่งมอบ) นายสมพงษ์ก็จะฟ้องขอให้บังคับนายสุธี
ชำาระราคาไม่ได้ เพราะนายสมพงษ์ไม่มีบ้านที่จะโอนให้แก่ นายสุธี
2. นายไก่และนายไข่ตกลงทำาสัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินมีโฉนดของนายไก่ที่บ้านของนายดำาซึ่งเป็นกำานันท้องที่ ที่ที่ดินแปลง
นี้ตั้งอยู่ในราคา 1 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขในสัญญาว่า "ให้นายไข่ชำาระราคาเป็น 4 งวด ๆ ละ 250,000 บาท เมื่อนายไข่ชำาระ
ราคาครบถ้วนจึงจะส่งมอบบ้านและที่ดินให้นายไข่" การทำาสัญญาครั้งนี้มีนายดำาลงชื่อเป็นพยาน เมื่อนายไข่ชำาระราคาครบ
ถ้วนแล้วจะย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านและที่ดินดังกล่าว นายไก่กลับไม่ยินยอม นายไข่โมโหต้องการบอกเลิกสัญญาและเรียกเงิน
ทั้งหมดคืนทำาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
อนึ่ง หากเงื่อนไขในสัญญาเปลี่ยนเป็นว่า "ถ้าหากนายไข่ชำาระราคาครบถ้วนแล้ว นายไก่จะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้าน
และที่ดินให้แก่นายไข่" เมื่อชำาระราคาครบ นายไก่ก็ไม่ยอมไปปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ คำาตอบของนักศึกษาจะเปลี่ยนแปลงไปหรือ
ไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำาตอบ
หลักกฎหมาย 1. ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรค 1 2. ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรค 2
แนวคำาตอบ การทำาสัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่ เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอสังหาริมทรัพย์
ตามมาตรา 456 วรรค 1 บัญญัติบังคับไว้ว่าการซื้อขายจะต้องทำาตามแบบคือต้องทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่ ถ้าฝ่าฝืนไม่ทำาตามผลก็เป็นโมฆะ การที่นายไก่และนายไข่ทำาสัญญากันเองแม้จะทำาที่บ้านกำานัน ๆ ไม่ใช่เจ้า
พนักงานผู้มีหน้าที่จดทะเบียนสัญญาซื้อขาย นั้นสัญญาซื้อขายที่ตกลงกันระหว่างนายไก่และนายไข่จึงตกเป็นโมฆะ เท่ากับว่า
นายไก่และนายไข่ไม่ได้ทำาสัญญาซื้อขายกันขึ้นเลย ก็ให้นายไก่และนายไข่กลับคืนสู่ฐานเดิม เงินที่นายไข่ชำาระไปทั้งหมดนาย
ไก่ก็ต้องคืนให้แต่นายไข่ฐานลาภมิควรได้ นายไข่ไม่จำาต้องบอกเลิกสัญญาระหว่างตนและนายไก่อีก เพราะสัญญาเป็นโมฆะ
มาแต่เริ่มแรกแล้ว
ส่วนถ้าเงื่อนไขเปลี่ยนไปว่าถ้าหากนายไข่ชำาระราคาครบถ้วนแล้วนายไก่จะไปทำาหนังสือและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในบ้าน
และที่ดินให้แก่นายไข่นั้นสัญญาที่ตกลงทำากันระหว่างนายไก่และนายไข่ จึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดิน เพราะบ้าน
และที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันยังไม่โอนไปเป็นของผู้ซื้อ ผูซ้ ื้อคือนายไข่และนายไก่ตกลง
ที่จะไปทำาการโอนกรรมสิทธิ์กันในภายภาคหน้า เมื่อนายไข่ชำาระราคาครบตามข้อตกลงแล้วนายไก่ไม่ยอมไปจดทะเบียนโอน
กรรมสิทธิ์ให้แก่นายไข่ ๆ มีสิทธิฟ้องบังคับให้นายไก่ไปปฏิบตั ิตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายได้ เพราะมีหลักฐาน
ตามทีม่ าตรา 456 วรรค 2 บัญญัติไว้ คือมีการทำาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิด เพราะนายไก่และนายไข่ทำาสัญญา
กับไว้และมีการชำาระหนี้บางส่วนคือนายไข่ได้ชำาระหนี้ทั้งหมดของตนคือเงิน 1 ล้านบาทไปแล้ว ดังนั้นคำาตอบก็จะเปลี่ยนแปลง
ไปคือเงื่อนไขนี้นายไข่ผู้ซื้อสามารถนำาคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อฟ้องบังคับให้นายไก่ปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ได้

3. นายสามทำาสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนขายฝากที่ดินของนายสามแปลงหนึ่งไว้กับนายสอง ในราคา 1 ล้านบาท


กำาหนดค่าสินไถ่ 1 ล้าน 3 แสนบาท แต่นายสามรับเงินค่าขายฝากจากนายสองจริงเพียง 9 แสนบาท กำาหนดเวลาไถ่คืน 5 ปี
ขายฝากไปได้หนึ่งปี นายสามมาขอไถ่ที่ดินแปลงนี้คืน โดยได้นำาเงิน 9 แสนบาท พร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 คิดดอกเบี้ยให้
นายสอง 1 ปีนับจากเวลาขายฝากจนถึงเวลาไถ่ทรัพย์สินคืน แต่นายสองไม่ยอมให้ไถ่ที่ดินคืนโดยอ้างว่ายังไม่ครบ 5 ปีตาม
สัญญาและค่าสินไถ่ที่ตกลงไว้ 1 ล้าน 3 แสนบาทรวมดอกเบี้ยตามสัญญาอีก 5 ปี ท่านคิดว่าข้ออ้างของนายสองรับฟังได้หรือ
ไม่ และนายสามได้ใช้สิทธิไถ่โดยชอบแล้วหรือยัง

ธงคำาตอบ
นายสามจดทะเบียนขายฝากที่ดินของนายสามปลงหนึ่งไว้กับนายสอง ในราคา 1 ล้านบาท กำาหนดค่าสินไถ่ 1 ล้าน 3 แสน
บาท แต่นายสามรับเงินค่าขายฝากจากนายสองจริงเพียง 9 แสนบาท กำาหนดเวลาไถ่คืน 5 ปี ขายฝากไปได้หนึ่งปี นายสามมา
ขอไถ่ที่ดินแปลงนี้คืน โดยได้นำาเงิน 9 แสนบาท พร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 คิดดอกเบี้ยให้นายสอง 1 ปีนับจากเวลาขายฝาก
จนถึงเวลาไถ่ทรัพย์คืน แต่นายสองไม่ยอมให้ไถ่ที่ดินคืนโดยอ้างว่ายังไม่ครบ 5 ปีตามสัญญา และค่าสินไถ่ที่ตกลงไว้ 1 ล้าน 3
แสนบาทรวม ดอกเบี้ยตามสัญญา 5 ปี ข้ออ้างของนายสองรับฟังไม่ได้ เพราะผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินได้เสมอภายใน
กำาหนดเวลาไถ่ตามกฎหมายหรือตามสัญญานับตั้งแต่ทำาสัญญาขายฝาก และนายสามได้ใช้สิทธิไถ่โดยชอบแล้วเพราะได้ไถ่
คืนภายในกำาหนดระยะเวลาไถ่ตามสัญญาโดยได้นำาเงิน 9 แสนบาทตามราคาขายฝากที่แท้จริง พร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15
คิดดอกเบี้ยให้นายสอง 1 ปีนับจากเวลาขายฝากจนถึงเวลาไถ่ทรัพย์คืน ตามมาตรา 499

4. นายฟ้าเป็นเจ้าของบริษัทแห่งหนึ่งเมื่อประมาณต้นปี 2538 กิจการค้าของนายฟ้าเจริญรุ่งเรือง นายฟ้าจึงได้ทำาสัญญาเป็น


หนังสือและจดทะเบียนยกที่ดินในจำานวนหลายแปลงที่นายฟ้ามีอยู่ให้นายดินซึ่งเป็นบุตรชาย นายฟ้าพร้อมกับเงินลงทุนอีก 3
ล้านบาท ต่อมากิจการค้าของนายฟ้าขาดทุน นายฟ้าต้องการเก็บเงินที่นายฟ้ามีอยู่ไว้ลงทุนทำาการค้าต่อและไม่ต้องการที่จะ
ขายที่ดินแปลงใดที่นายฟ้ามีอยู่ในขณะนี้ชดใช้หนี้ โดยนายฟ้าจะให้นายดินช่วยชำาระหนี้สินของบริษัทนายฟ้าที่เป็นหนี้อยู่ นาย
ฟ้าได้มาขอให้นายดินช่วยเหลือแต่นายดินปฏิเสธ นายฟ้าจึงต้องการถอนคืนการให้เพราะนายดิน ประพฤติเนรคุณ นายฟ้าจะ
ถอนคืนการให้เพราะนายดินประพฤติเนรคุณได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำาตอบ
นายฟ้าเป็นเจ้าของบริษัทแห่งหนึ่งเมื่อประมาณต้นปี 2538 กิจการค้าของนายฟ้าเจริญรุ่งเรืองนายฟ้าจึงได้จดทะเบียนยกที่ดิน
ในจำานวนหลายแปลงที่นายฟ้ามีอยู่ให้นายดินซึ่งเป็นบุตรชายนายฟ้าพร้อมกับเงินลงทุน 3 ล้านบาท ต่อมากิจการนายฟ้า
ขาดทุน นายฟ้าต้องการเก็บเงินที่นายฟ้ามีอยู่ไว้ลงทุนทำาการค้าต่อและไม่ต้องการที่จะขายที่ดินแปลงใดที่นายฟ้ามีอยู่ในขณะ
นี้ชดใช้หนี้ นายฟ้าจะให้นายดินช่วยชำาระหนี้สินของบริษัทนายฟ้าที่เป็นหนี้อยู่ นายฟ้าได้มาขอให้นายดินช่วยเหลือแต่นายดิน
ปฏิเสธ แม้นายฟ้าผู้ให้จะมาขอให้นายดินผู้รับช่วยแต่ไม่ได้มาขอสิ่งจำาเป็นเลี้ยงชีวิต และผู้ให้ยังมีเงินที่ดินอื่น ๆ อีก จึงไม่ได้
เป็นผู้ยากไร้ ตามมาตรา 531(3) นายฟ้าจะถอนคืนการให้เพราะนายดินประพฤติเนรคุณไม่ได้

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 1

1. พฤหัส ได้ให้อาทิตย์อาศัยอยู่ในที่ดินของพฤหัส ต่อมาพฤหัสต้องการขายที่ดินแปลงนี้ จึงมาบอกอาทิตย์ว่าตนต้องการจะ


ขายที่ดินแปลงนี้ และคิดว่าเมื่อตนขายคนที่ซื้อที่ดินคงไม่ต้องการให้อาทิตย์อยู่ในที่ดินแปลงนี้ต่อไปอาทิตย์จะเดือดร้อน ตนจึง
มาบอกขายที่ดินแปลงนี้กับอาทิตย์ก่อน ถ้าอาทิตย์ต้องการซื้อตนก็จะขายให้ในราคาหนึ่งล้านบาท ถ้าตกลงอย่างไรแล้วให้บอก
มาด้วย พฤหัสรออยู่นานถึง 3 เดือน อาทิตย์ก็ไม่ตอบกลับมาว่าตกลงจะซื้อที่ดินแปลงนี้ของพฤหัสหรือไม่ พฤหัสจึงได้ลง
หนังสือพิมพ์ประกาศขายที่ดินแปลงนี้ อังคารได้มาติ ดต่อขอซื้อในราคา 1 ล้าน 5 แสนบาท พฤหัสจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดิน
แปลงนี้ให้อังคารไป แต่ก่อนจะตกลงขายให้อังคารก็ได้บอกกับอังคารว่าที่ดินแปลงนี้ความจริงตนได้ตกลงขายให้อาทิตย์และ
บอกอาทิตย์ไปแล้วแต่ผ่านมา 3 เดือน อาทิตย์ก็ไม่ตอบมาตนจึงได้นำามาประกาศขาย ดังนี้ถ้าอาทิตย์ต้องการจะซื้อที่ดินแปลง
นี้อาทิตย์จะฟ้องร้องบังคับคดีให้พฤหัสปฏิบัติตามคำามั่นที่ให้ไว้กับตนและเรียกค่าสินไหมทดแทนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และ
จะฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมระหว่างพฤหัสกับอังคารได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำาตอบ มาตรา 456 วรรค 2, มาตรา 237
วินิจฉัย พฤหัส ได้ให้อาทิตย์อาศัยอยู่ในที่ดินของพฤหัส ต่อมาพฤหัสต้องการขายที่ดินแปลงนี้ จึงมาบอกขายที่ดินแปลงนี้กับ
อาทิตย์ ถ้าอาทิตย์ต้องการซื้อตนก็จะขายให้ในราคาหนึ่งล้านบาท ถ้าตกลงอย่างไรแล้วให้บอกมาด้วย เป็นคำามั่นจะซื้อขาย
อสังหาริมทรัพย์ด้วยวาจาที่ไม่มีกำาหนดเวลา และไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็น
สำาคัญ หรือได้วางประจำาไว้ หรือได้ชำาระหนี้บางส่วน คำามั่นจะซื้อจะขายที่นายพฤหัสให้ไว้กับนายอาทิตย์จึงฟ้องร้องบังคับคดี
ไม่ได้ ถ้าอาทิตย์ต้องการจะซื้อที่ดินแปลงนั้นอาทิตย์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้นายพฤหัสปฏิบัติตามคำามั่นที่ให้ไว้ ตามมาตรา
456 วรรค 2 (10 คะแนน) เมื่อฟ้องร้องตามคำามั่นไม่ได้ก็จะเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่ได้ (5 คะแนน) ต่อมาอังคารได้มาติดต่อ
ขอซื้อในราคา 1 ล้าน 5 แสนบาท พฤหัสจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงนี้ให้อังคารไป แม้อังคารจะรู้ว่าพฤหัสได้บอกขาย
ที่ดินแปลงนี้ให้อาทิตย์ไปแล้วและอยู่ในระหว่างการตัดสินใจของอาทิตย์ว่าจะซื้อหรือไม่ อังคารไม่สุจริตก็จริงแต่เมื่ออาทิตย์
เรียกร้องให้พฤหัสปฏิบัติตามคำามั่นจะซื้อจะขายไม่ได้ก็ไม่มสี ิทธิเพิกถอนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงนี้ระหว่างพฤหัสกับ
อังคารโดยใช้การเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 237

2. นายจันทร์ได้ซื้อรถยนต์ 1 คัน จากการขายทอดตลาดตามคำาสั่งศาลในราคา 200,000 บาท โดยไม่ทราบว่ารถยนต์คันนี้เป็น


รถยนต์ของนายพุธที่ถูกคนร้ายลักไป และนายจันทร์ได้ขาย รถยนต์คันนี้ให้นายอังคารในราคา 250,000 บาท ต่อมานายอังคาร
ถูกนายพุธฟ้องเรียกรถยนต์คืน และนายอังคารได้ขอให้ศาลหมายเรียกนายจันทร์เข้าเป็นจำา เลยร่วม ศาลได้มีหมายเรียกให้นาย
จันทร์เข้าเป็นจำาเลยร่วม แต่นายจันทร์ไม่ยอมเข้าร่วมเป็นจำาเลยกับนายอังคาร ปรากฏว่าศาลได้พิพากษาให้ นายอังคารเป็น
ฝ่ายแพ้คดีและให้คืนรถยนต์ให้แก่นายพุธ และคดีถึงที่สุดในวันที่ 1 ตุลาคม 2542 นายอังคารจึงมาเรียกร้องให้นายจันทร์รับผิด
เพื่อการรอนสิทธิ์ แต่นายจันทร์ไม่ยอมรับผิด ในวันที่ 12 มีนาคม 2543 นายอังคารได้นำาข้อพิพาทนี้มาฟ้องขอให้ศาลบังคับ
นายจันทร์ให้ รับผิดเพื่อการรอนสิทธิ์ตามมาตรา 482 นายจันทร์ให้การต่อสู้คดีว่า ได้ซื้อรถยนต์คันนี้มาจากการขายทอดตลาด
โดยคำาสั่งศาลจึงไม่ต้องรับผิดเพื่อการรอนสิทธิ์ตามมาตรา 1330 และคดีนี้ขาดอายุความตาม มาตรา 481 ขอให้ศาลพิพากษา
ยกฟ้องนายอังคาร ดังนี้ถ้าท่านเป็นศาลฟังข้อเท็จจริงได้ความดังกล่าวนี้ ท่านจะวินิจฉัยประเด็นต่อไปนี้อย่างไรเพราะเหตุใด
และจะพิพากษาให้ใครเป็นฝ่ายชนะคดี ประเด็นแรก นายจันทร์จะต้องรับผิดเพื่อการรอนสิทธิ์หรือไม่ ประเด็นที่สอง คดีนี้ขาด
อายุความหรือไม่

ธงคำาตอบ หลักกฎหมาย มาตรา 482, มาตรา 193/30


วินิจฉัย มาตรา 482 เป็นบทบัญญัติถึงเรื่องที่ว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิของผู้ซื้อ ต่างกับมาตรา 481 ซึ่งเป็นเรื่องที่
ผูข้ ายจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ แม้ข้อความในมาตรา 482 วรรคท้ายจะบัญญัติถึงความรับผิดของผู้ขายอยู่ดี แต่ก็เป็นเรื่อง
ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 482 มาตราเดียว และมาตรา 482 หาได้บัญญัติอายุความฟ้องร้องไว้ไม่ จึงเห็นได้ว่าการที่นายจันทร์ถูก
ศาลหมายเรียกให้เข้ามาในคดีแล้วไม่ยอมเข้ามา เป็นกรณีนายจันทร์จงใจหลบหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบร้ายแรงตามกฎหมาย
จึงไม่บัญญัติหรือท้าวความให้มีอายุความ 3 เดือนเท่ามาตรา 481 จึงต้องถือว่าอายุความสำาหรับมาตรา 482 นี้ยกเว้นหรือแยก
ต่างหากไปจากอายุความในมาตรา 481 จึงต้องใช้อายุความธรรมดาเสมือนดังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นคือ 10 ปี
(มาตรา 193/30) ฎีกาที่ 489/2507
ประเด็นแรก แม้นายจันทร์จะซือ้ รถยนต์มาจากการขายทอดตลาดตามคำาสั่งศาลและมีสิทธิในรถยนต์คันนี้ดีกว่าเจ้าของที่แท้
จริงก็ตาม (มาตรา 1330) แต่เมื่อนายจันทร์ไม่ยอมเข้าว่าคดีร่วมเป็นจำาเลยกับนายอังคาร นายจันทร์ยังคงต้องรับผิดในการรอน
สิทธิตามมาตรา 482 วรรคท้าย
ประเด็นที่ 2 อายุความตามมาตรา 482 วรรคท้ายนี้ ถือว่าแยกต่างหากจากอายุความตามมาตรา 481 จึงต้องใช้อายุความ
ธรรมดาเสมือนดังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้คือ 10 ปีตามมาตรา 193/30 คดีนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
ข้าพเจ้าเป็นศาลจะพิพากษาให้นายอังคารเป็นฝ่ายชนะคดี

3. นายไก่นำาแหวนเพชรของตนไปขายฝากไว้กับนายไข่ในราคา 1 ล้านบาท มีกำาหนดไถ่คืนภายใน 3 ปี และมีข้อตกลงกันว่า


ห้ามมิให้นายไข่นำาไปจำาหน่ายต่อ เมื่อนายไข่รับซื้อฝากมาได้เพียงเดือนเดียวก็นำาแหวนเพชรวงนี้ไปขายให้นายแดงในราคา 2
ล้านบาท เมื่อนายไก่ขายฝากไปได้ 1 ปี จึงมาขอใช้สิทธิในการไถ่จากนายแดง นายแดงจึงทราบว่าแหวนที่ตนซื้อมาจากนายไข่
เป็นแหวนที่นายไก่นำามาขายฝากไว้ จึงตั้งข้อแม้ว่าถ้านายไก่อยากไถ่คืนก็ได้จะให้ไถ่คืนแต่ต้องไถ่ในราคา 2 ล้านบาท นายไก่
ไม่ยอมจะไถ่ในราคา 1 ล้านบาท นายแดงไม่ยอมจึงปฏิเสธไม่ให้ไถ่คืน ข้ออ้างของนายแดงรับฟังได้หรือไม่ และนายไก่มีสิทธิ
จะไถ่แหวนคืนหรือไม่ เพราะเหตุใด ถ้านายไก่เสียหายจากการไถ่แหวนเพชรคืนไม่ได้จะฟ้องให้นายไข่รับผิดได้หรือไม่

ธงคำาตอบ
หลักกฎหมาย มาตรา 493 "ในการขายฝาก คู่สัญญาจะตกลงกันไม่ให้ผู้ซื้อจำาหน่ายทรัพย์สินซึ่งขายฝากก็ได้ ถ้าและผู้ซื้อ
จำาหน่ายทรัพย์สินนั้นฝ่าฝืนสัญญาไซร้ก็ต้องรับผิดต่อผู้ขายในความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น"
มาตรา 494 ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดั่งจะกล่าวต่อไปนี้… (2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กำาหนด 3
ปีนับแต่เวลาซื้อขาย
มาตรา 498 "สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้น จะนำาใช้ได้เฉพาะต่อบุคคลเหล่านี้คือ….(2) ผู้รับโอนทรัพย์สินหรือรับโอนสิทธิเหนือ
ทรัพย์สินนั้น แต่ในข้อนี้ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์จะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อผู้รับโอนได้รู้ในเวลาโอนว่าทรัพย์สินตกอยู่ในอาศัยแห่งสิทธิไถ่
คืน"
มาตรา 499 ว. 1 "สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กำาหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก"
ในการทำาสัญญาขายฝากแหวนเพชรระหว่างนายไก่และนายไข่มีข้อตกลงกันไม่ให้นายไข่ผู้รับซื้อฝากจำาหน่ายแหวนเพชรที่นำา
มาขายฝากไว้ต่อไปซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้ตามมาตรา 493 แต่ถ้าหากว่าเมื่อนายไข่ฝ่าฝืนสัญญาโดยนำาแหวนเพชรไป
จำาหน่ายต่อให้นายแดง เมื่อนายไก่เกิดความเสียหายใด ๆ นายไก่ก็สามารถฟ้องให้นายไข่รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นได้
ตามมาตรา 493
เมื่อนายแดงซื้อแหวนวงดังกล่าวต่อจากนายไข่โดยไม่ทราบว่าติดสัญญาขายฝากอยู่ เพิ่งจะมา ทราบเมื่อนายไก่มาขอใช้สิทธิ
ในการไถ่ แม้นายไก่พร้อมที่จะชำาระสินไถ่คือจำานวน 1 ล้านบาท ตามมาตรา 499 ว.1 และกำาหนดระยะเวลาขายฝากยังไม่ได้
สิน้ สุดลงตามมาตรา 494 (2) นายแดงก็มีสิทธิปฏิเสธไม่ให้ นายไก่ไถ่แหวนเพชรคืนไปได้ เพราะในขณะรับโอนมานายแดงไม่
ทราบว่าแหวนเพชรที่ตนซื้อมาจากนายไข่นั้นติดสัญญาขายฝากอยู่ (มาตรา 498 (2))
ดังนั้นข้ออ้างของนายแดงที่จะปฏิเสธไม่ให้นายไก่ไถ่แหวนเพชรคืนไปนั้นรับฟังได้ นายไก่ไม่มสี ิทธิไถ่แหวนคืนจากนายแดง ถ้า
อยากจะได้คืนก็ต้องซื้อคืนในราคาที่นายแดงเสนอขาย ถ้าหากนายไก่เสียหายอย่างใดในการไถ่คืนแหวนเพชรจากนายแดง
นายไก่ก็มีสิทธิฟ้องให้นายไข่รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นได้

4. นายชมเป็นพี่ชายนายเชย นายชมได้จดทะเบียนยกที่ดินแปลงหนึ่งและให้สายสร้อยเส้นหนึ่งกับนายเชยโดยตกลงไว้ใน
ทะเบียนด้วยว่านายเชยต้องแบ่งที่ดินแปลงที่ยกให้นี้ครึ่งหนึ่งถวายวัด แต่เมื่อรับโอนที่ดินแปลงนี้มาแล้วนายเชยก็ไม่ยอมแบ่ง
ที่ดินครึ่งหนึ่งให้วัด นายชมจะฟ้องร้องบังคับให้นายเชยปฏิบัติตามข้อตกลงที่จดไว้ในทะเบียนได้หรือไม่ อย่างไร และถ้าสาย
สร้อยเส้นนั้นไม่ใช่ สายสร้อยที่ทำาด้วยทองคำาแท้ ๆ นายเชยจะฟ้องให้นายชมรับผิดเพื่อความชำารุดบกพร่องได้หรือไม่ เพราะ
เหตุใด

ธงคำาตอบ มาตรา 528, มาตรา 529


นายชมเป็นพี่ชายนายเชย นายชมได้จดทะเบียนยกที่ดินแปลงหนึ่งและให้สายสร้อยเส้นหนึ่งกับนายเชยโดยตกลงไว้ในทะเบียน
ด้วยว่านายเชยต้องแบ่งที่ดินแปลงที่ยกให้นี้ครึ่งหนึ่งถวายวัด เป็นการให้ที่มีค่าภารติดพันเพราะเป็นภาระเกี่ยวกับตัวทรัพย์ ที่
ผูร้ ับต้องมีหน้าที่ที่จะปลดเปลื้องภารติดพัน ซึ่งถ้าผู้รับละเลยไม่ชำาระค่าภารติดพัน โดยเงื่อนไขอันระบุไว้ในกรณีสิทธิเลิก
สัญญาต่างตอบแทนกันนั้น ผู้ให้จะเรียกให้ส่งทรัพย์สินที่ให้นั้นคืน ตามบทบัญญัติวา่ ด้วยลาภมิควรได้นั้นก็ได้ เพียงเท่าที่ควร
จะเอาทรัพย์นั้นไปชำาระค่าภารติดพัน แต่กรณีนี้นายเชยต้องแบ่งที่ดินแปลงที่ยกให้นี้ครึ่งหนึ่งถวายวัดเป็นกรณีที่บุคคล
ภายนอกมีสิทธิเรียกร้องให้ชำาระค่าภารติดพัน ซึ่งทำาให้สิทธิเรียกคืนทรัพย์สินในส่วนที่ผู้ให้จะนำาไปชำาระค่าภาระติดพันย่อม
เป็นอันขาดไป ตามมาตรา 528 (10 คะแนน) แต่สัญญาให้ที่มีค่าภารติดพันถือเป็นการให้โดยมีเงื่อนไขอย่างหนึ่ง ดังนั้นแม้
บุคคลภายนอกจะเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ชำาระค่าภารติดพัน และผู้รับไม่ชำาระค่าภาคติดพัน จึงเป็นการที่ผู้รับไม่ปฏิบัติตาม
เงื่อนไขในสัญญาให้ ผู้ให้จึงมีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาได้ตามหลักนิติกรรมสัญญา หรือบอกเลิก
สัญญาให้ก็ได้ เมื่อนายเชยไม่ยอมแบ่งครึ่งหนึ่งให้วัด นายชมจึงฟ้องร้องบังคับให้นายเชยปฏิบัติตามข้อตกลงที่จดไว้ใน
ทะเบียนได้ (5 คะแนน) อนึ่งสัญญาให้เป็นการที่ผู้ให้ให้ทรัพย์สินแก่ผู้รับโดยเสน่หา ผู้รับไม่ต้องตอบแทนอย่างใดกับผู้ให้ ดังนั้น
ถ้าทรัพย์สินเป็นอย่างไรหรือมีสภาพอย่างไรผู้รับก็ต้องรับไปอย่างนั้น ถ้าไม่ต้องการก็มีสิทธิปฏิเสธไม่เข้าทำาสัญญายอมรับการ
ให้ได้ตั้งแต่แรกได้ ส่วนสายสร้อยที่นายชมให้นายเชยนั้นไม่ใช่สายสร้อยที่ทำาด้วยทองคำาแท้ ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องความชำารุดบกพร่อง
และการให้สายสร้อยก็ไม่ใช่เป็นการให้โดยมีภารติดพันแต่อย่างใด มีแต่ภารติดพันในที่ดินเท่านั้น นายเชยจะนำามาตรา 529 มา
ฟ้องให้นายชมรับผิดเพื่อความชำารุดบกพร่องไม่ได้

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 1

1. นายสองทำาสัญญาเช่าเป็นหนังสือเช่าที่ดินจากนายหนึ่งเพื่อปลูกบ้านมีกำาหนดเวลา 3 ปี เมื่ออยู่ในบ้านได้เพียง 1 ปี บ้านถูก


ไฟไหม้หมด นายหนึ่งทราบว่าบ้านหลังนี้ไฟไหม้ถึงกับเป็นลมและเสียชีวิตในทันที นายสามซึ่งเป็นทายาทของนายหนึ่งได้รับ
ทรัพย์มรดกของนายหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว นายสามจึงทำาสัญญาให้นายสี่เช่าที่ดินแปลงที่มีบ้านไฟไหม้นั้นมีกำาหนดเวลา 10 ปี
โดยทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในขณะเดียวกันนายสองได้ก่อสร้างบ้านใหม่ แต่เมื่อนายสามทราบ
เรื่อง นายสามจึงคัดค้านโดยอ้างว่าสัญญาเช่าระงับไปแล้วและอ้างว่านายสี่มีสิทธิในสัญญาเช่า ท่านจงวินิจฉัยว่าข้ออ้างของ
นายสามชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เพียงใด

ธงคำาตอบ นายสองทำาสัญญาเช่าที่ดินจากนายหนึ่งเพื่อปลูกบ้านมีกำาหนดเวลา 3 ปี ต่อมาบ้านถูก ไฟไหม้หมดก็หาทำาให้


สัญญาเช่าระงับไปตามมาตรา 567 แต่อย่างใด เพราะเป็นการทำาสัญญาเช่าที่ดิน เมื่อนายสองทำาเป็นสัญญาจึงเป็นหลักฐาน
ตามมาตรา 538 ที่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามกำาหนดเวลา 3 ปี นายสองจึงสามารถก่อสร้างบ้านและอยู่ต่อได้อีก 2 ปี
สำาหรับสัญญาที่นายสามทำาให้กับนายสี่ แม้วา่ จะทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ก็ไม่ทำาให้นายสี่มีสิทธิดี
กว่านายสองผู้เช่าเดิม ซึ่งสัญญายังไม่สิ้นสุดลง และแม้นายหนึ่งจะเสียชีวิตลง สัญญาเช่าที่ดินไม่ระงับจนกว่าจะครบกำาหนด 3
ปี เพราะสัญญาเช่ามิใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ให้เช่า แต่สัญญาเช่าตกทอดมายังทายาทของผู้ให้เช่าด้วย
2. ก) นายดำาทำาสัญญาเช่ารถสามล้อใช้พลังงานแสงอาทิตย์กับนายขาว มีกำาหนดเวลา 1 ปี ตกลงเก็บค่าเช่าเป็นรายสัปดาห์ ๆ
ละ 2,000 บาท โดยเก็บค่าเช่าทุก ๆ วันเสาร์ เมื่อเช่ามาได้ 6 เดือน นายดำาไม่ชำาระค่าเช่าของวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม และ 30
ตุลาคม นายขาวจึงทำาหนังสือบอกเลิกการเช่าในวันที่ 3 พฤศจิกายน นายดำาต่อสู้ว่านายขาวบอกเลิกการเช่าไม่ถูกต้อง เช่นนี้
นายดำาจะสามารถต่อสู้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย
ข) ถ้าข้อเท็จจริงตามข้อ ก) เป็นสัญญาเช่าซื้อ คำาตอบจะแตกต่างไปหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคำาตอบ ก) นายดำาทำาสัญญาเช่ารถสามล้อกับนายขาว มีกำาหนดเวลา 1 ปี ตกลงเก็บค่าเช่าเป็นรายสัปดาห์ ๆ ละ 2,000


บาท โดยเก็บค่าเช่าทุก ๆ วันเสาร์ เมื่อนายดำาไม่ชำาระค่าเช่าวันที่ 23 ตุลาคม และวันที่ 30 ตุลาคม จึงเป็นการไม่ชำาระค่าเช่าที่
ไม่ได้กำาหนดเป็นรายเดือน จึงสามารถบอกเลิกสัญญาได้ตามมาตรา 560 วรรคแรก นายขาวจึงสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าได้
โดยไม่ต้องบอกกล่าวแก่ผู้เช่าตามมาตรา 560 วรรคสอง นายดำาต่อสู้ไม่ได้
ข) ถ้าข้อเท็จจริงตามข้อ ก. เป็นสัญญาเช่าซื้อ นายขาวสามารถบอกเลิกสัญญาได้ เพราะเป็นการ ผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติด
ๆ กัน ตามมาตรา 574 วรรคแรก นายดำาจะต่อสู้วา่ นายขาวบอกเลิกการเช่าไม่ถูกต้องไม่ได้

3. ก) นางสมรทำาสัญญาจ้างนายใหญ่เป็นลูกจ้าง นางสมรไม่ชอบนายใหญ่เท่าใดนักเพราะไม่ค่อยมีนำ้าใจในการทำางานกับ
ลูกจ้างคนอื่น ๆ ต่อมานายหนุ่มเพื่อนของนางสมรต้องการคนงาน นางสมรจึงสั่งให้นายใหญ่ไปทำางานกับนายหนุ่มแทนแต่นาย
ใหญ่ไม่ยอม นางสมรจึงบอกกับนายใหญ่ว่าถ้าไม่ไปจะถือว่าเป็นการขัดคำาสั่ง เช่นนี้นายใหญ่จะปฏิเสธได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
จงอธิบาย
ข) สัญญาจ้างทำาของ ถ้าผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ จะมีหน้าทีแ่ ละความรับผิดอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ธงคำาตอบ ก) นายใหญ่เป็นลูกจ้างของนางสมร ตามสัญญาจ้างแรงงาน การที่นางสมรให้นายใหญ่ไปทำางานกับนายหนุ่มถือว่า
เป็นการโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกซึ่งต้องได้รับความยินยอมจาก ลูกจ้างก่อน ตามมาตรา 577 วรรคแรก เมื่อนาย
ใหญ่ไม่ยินยอมจึงมีสิทธิปฏิเสธได้ และกรณีดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการขัดคำาสั่งของนายจ้างแต่อย่างใด
ข) ตอบตามมาตรา 590 มาตรา 591 และมาตรา 604 โดยอธิบายตามสมควร (ดูหนังสือหน้า 133-134)

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 1 สอบซ่อม ภาค 1/2542

1. แดงได้ทำาสัญญาเป็นหนังสือให้จำาเลยเช่าบ้านโดยไม่มีกำาหนดเวลา มีข้อสัญญาข้อหนึ่งระบุว่าถ้าผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าต้องการ
บอกเลิกการเช่าให้บอกให้คู่สัญญาทราบก่อนอย่างน้อย 45 วัน สัญญาเช่านี้ ตกลงชำาระค่าเช่าทุก ๆ วันสิ้นเดือน ปรากฏว่า
จำาเลยเช่าบ้านมาเพียง 1 ปี แดงได้ขายบ้านหลังนี้ให้โจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนี้
แล้วโจทก์จึงฟ้องขับไล่ให้จำาเลยออกจากบ้านทันทีโดยมิได้แจ้งให้จำาเลยทราบเลย โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ต้องปฏิบัติตาม
สัญญาที่จะต้องแจ้งให้คู่สัญญาทราบก่อน 45 วัน เพราะข้อตกลงนี้เป็นข้อตกลงที่นอกเหนือจากสัญญาเช่า ถ้าจำาเลยมา
ปรึกษาท่านท่านจะ ให้คำาปรึกษาจำาเลยว่าอย่างไร จงอธิบาย.

ธงคำาตอบ ตอบโดยยกหลักกฎหมาย มาตรา 569 (ป.พ.พ.) คือ


"อันสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่ระงับสิ้นไป เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า
ผูร้ ับโอนย่อมรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่า"
แม้สัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่ากับจำาเลยจะเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำาหนดเวลา แต่มีข้อตกลงให้บอกเลิกสัญญาโดยการบอก
กล่าวให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบก่อน 45 วัน ข้อนกลงเช่นนี้สามารถบังคับกันได้ตามที่ผู้ให้เช่าตกลงกับผู้เช่า ไม่จำาต้อง
ปฏิบัติตามมาตรา 566 ในเรื่องการบอกเลิกสัญญาเช่าที่ไม่มีกำาหนดเวลา
เมื่อโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านเช่ามาจากผู้ให้เช่าโดยที่ผู้ให้เช่าขายบ้านให้โจทก์ สัญญาเช่าบ้านระหว่างจำาเลยกับผู้ให้เช่า
เดิมยังไม่ระงับสิ้นไป แต่โจทก์ต้องกลับมาเป็นผู้ให้เช่าใหม่ และโจทก์จะต้องรับมาซึ่งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเดิม ข้อ
ตกลงที่เกี่ยวกับสัญญาเช่าเดิมย่อมผูกพันโจทก์ด้วย โดยเฉพาะข้อตกลงตามปัญหานี้คือจะต้องมีการบอกกล่าวให้ทราบก่อน
45 วัน ถ้าหากผู้ให้เช่าต้องการบอกเลิกสัญญาย่อมจะต้องผูกพันด้วยและเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับสัญญาเช่าโดยตรง มิใช่ข้อ
ตกลงอื่นนอกเหนือจากสัญญาเช่า โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่าบ้านหลังนี้ทันทีไม่ได้ แต่ถา้ โจทก์ประสงค์จะบอกเลิกสัญญา
โจทก์ต้องแจ้งให้จำาเลยทราบก่อน 45 วันตามข้อสัญญาเดิมทุก

2. (ก) ขาวทำาสัญญาเป็นหนังสือเช่าซื้อบ้านจากดำาหลังหนึ่งมีกำาหนดเวลา 5 ปี โดยตกลงชำาระค่าเช่าซื้อทุก ๆ เดือน เดือนละ


20,000 บาท ขาวอยู่ในบ้านหลังนี้ได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น ขาวก็บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อบ้านและมอบบ้านคืนให้ดำา โดยขาว
อ้างว่าไม่ประสงค์จะเช่าซื้อบ้านหลังนี้แล้วเพราะขาวนอนฝันร้ายทุกคืน ดำาไม่ยอมให้ขาวบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ จงอธิบาย
(ข) ถ้าหากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ คำาตอบของท่านจะแตกต่างไปหรือไม่เพียงใด จงอธิบาย

ธงคำาตอบ (ก) ตอบโดยยกหลักกฎหมาย มาตรา 573 ผูเ้ ช่าซื้อจึงสามารถบอกเลิกสัญญาได้ เพียงแต่ผู้เช่าซื้อจะต้องส่งมอบ


ทรัพย์สินกลับคืนให้กับผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินด้วยก็เป็นการบอกเลิกสัญญาที่ชอบแล้ว
(ข) ตอบตามหลักกฎหมายมาตรา 564 สัญญาเช่ามีกำาหนดเวลายังไม่ระงับสิ้นไปเมื่อยังไม่ครบกำาหนดเวลาตามข้อตกลง และ
ในระหว่างสัญญาดำาเนินอยู่ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาอย่างเช่นสัญญาเช่าซื้อตามมาตรา 573 ไม่ได้

3. (ก) สัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างจะไล่ลูกจ้างออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้ สินไหมทดแทนได้ในกรณีใดบ้าง


จงอธิบาย
(ข) นายดำาทำาสัญญาจ้างนายแดงให้ทาสีและเดินสายไฟฟ้าในบ้านใหม่ทั้งหมด โดยนายดำาจะเป็นผู้จัดหาสีและสายไฟฟ้ามา
ให้ทั้งหมด นายแดงทำางานไปได้ครึ่งหนึ่งปรากฏว่าสายไฟฟ้าไม่มีคุณภาพจึงต้องรื้อทิ้งและทำาใหม่ทำาให้เสียเวลาไปหนึ่งเดือน
นายแดงทำางานเสร็จล่าช้าไปหนึ่งเดือนทำาให้นายดำาเสียโอกาสขายบ้านให้แก่ลูกค้าที่เปลี่ยนใจไปซื้อบ้านอื่นแทน นายดำาจึง
ฟ้องให้นายแดงรับผิดชอบที่ส่งบ้านล่าช้ากว่ากำาหนดเวลาตามสัญญา เช่นนี้ นายแดงจะสามารถต่อสู้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
จงอธิบาย

ธงคำาตอบ (ก) ตอบตามมาตรา 583


(ข) ตามกฎหมาย ผู้รับจ้างจะต้องส่งมอบการงานตามที่กำาหนดเวลาไว้ในสัญญา แต่ถ้าความชักช้าในการที่ทำานั้นเกิดขึ้นเพราะ
สภาพแห่งสัมภาระที่ผู้ว่าจ้างส่งให้ ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 591 ดังนั้น เมื่อนายแดงต้องรื้อสายไฟฟ้าที่ไม่มีคุณภาพ
ทิ้ง ซึ่งนายดำาเป็นผู้จัดหามาทำาให้เสียเวลาไปหนึ่งเดือน จึงเป็นสาเหตุทำาให้นายแดงส่งมอบงานล่าช้าไปหนึ่งเดือน เช่นนี้นาย
แดงสามารถต่อสู้ได้ เพราะความล่าช้าเกิดจากสภาพแห่งสัมภาระ ซึ่งผู้วา่ จ้างส่งให้ตามมาตรา 591

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 1 ภาค 2/ 2542

1. แดง มีร้านขายอาหารอยู่ริมแม่นำ้าเจ้าพระยา แดงได้เช่าเรือลำาหนึ่งจากขาวโดยแดงได้ตกลงกับขาวว่าจะใช้เรือทำาเป็นร้าน


อาหารซึ่งเรือลำานี้จะจอดอยู่ติดกับร้านขายอาหารของแดงที่อยู่ริมแม่นำ้าเจ้าพระยาเท่านั้น สัญญาเช่าระหว่างแดงและขาวเพียง
แต่ตกลงด้วยวาจาและมิได้กำาหนดเวลากันไว้ว่าเช่านานกี่ปีโดยตกลงจ่ายค่าเช่าทุก ๆ วันสิ้นเดือนเป็นเงินเดือนละ 10,000
บาท ปรากฏว่าแดงเช่าเรือมาได้เพียงหนึ่งปีเกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซา แดงได้นำาเรือลำานี้ไปรับจ้างบรรทุกทรายโดยไม่ใช้เรือเป็น
ร้านอาหารต่อไป ขาวทราบเรื่องจึงบอกเลิกสัญญาทันทีและให้ส่งมอบเรือคืนใน 7 วัน แดงไม่ยอมปฏิบัติตามและต่อสู้ว่าขาวจะ
ต้องบอกกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 566 ก่อน ท่านจะวินิจฉัยเรื่องนี้ว่าอย่างไร จงอธิบาย

ธงคำาตอบ หลักกฎหมาย ป.พ.พ.มาตรา 552 และมาตรา 554


วินิจฉัย สัญญาเช่าเรือระหว่างแดงและขาวเป็นการเช่าสังหาริมทรัพย์ คู่สัญญาสามารถตกลงกันด้วยวาจาได้ แดงผู้เช่าได้
ตกลงให้ขาวเช่าเรือโดยใช้เรือทำาเป็นร้านอาหาร ผู้เช่าจึงต้องใช้เรือทำาเป็นร้านอาหารได้เท่านั้น ซึ่งเป็นการใช้ทรัพย์ตามที่
กำาหนดไว้ในสัญญาเช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 552 การที่แดงได้นำาเรือลำานี้ไปรับจ้างบรรทุกทรายโดยไม่ใช้เรือเป็นร้านอาหารต่อ
ไปนั้น เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของ ป.พ.พ.มาตรา 552 ขาวจึงต้องบอกกล่าวให้แดงปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 552 เสีย
ก่อน คือจะต้องบอกกล่าวให้แดงนำาเรือกลับมาทำาเป็นร้านอาหาร ไม่ใช้เรือลำานี้ไปบรรทุกทราย ถ้าแดงผู้เช่าไม่ปฏิบัติตาม ผู้ให้
เช่าคือขาวจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 554
การที่ขาวบอกเลิกสัญญาทันที เพราะเหตุที่แดงใช้เรือไม่ชอบ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 552 นั้น ขาวบอกเลิกไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้จะให้แดงส่งมอบเรือคืนใน 7 วันก็ตาม แม้สัญญาเช่าเรือลำานี้จะเป็นการเช่าที่ไม่มีกำาหนดเวลา ขาวผู้ให้เช่าก็มิจำาเป็นต้อง
บอกกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 566 เสมอไป เพราะการบอกเลิกสัญญาของขาวเป็นเรื่องของการบอกเลิกที่ผู้เช่าใช้เรือโดยไม่
ชอบ จึงต้องนำาหลักของ ป.พ.พ.มาตรา 554 มาใช้บังคับ

2. (ก) มืดได้ตกลงด้วยวาจาเช่าซื้อรถจักรยานยนต์จากเหลืองมีกำาหนดเวลา 3 ปี โดยตกลงชำาระค่าเช่าซื้อทุก ๆ วันสิ้นเดือน ๆ


ละ 1,500 บาท มืดชำาระค่าเช่าซื้อมาทุก ๆ เดือนจนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งเป็นวันครบกำาหนดชำาระค่าเช่าซื้อในเดือนที่
7 พอดี ปรากฏว่ามืดมิได้ชำาระค่าเช่าซื้อโดยอ้างว่าสัญญาเช่าซื้อนี้ไม่ผูกพันมืดเพราะไม่ได้ทำาเป็นหนังสือ แต่อย่างไรก็ตาม
เหลืองได้ออกใบเสร็จรับเงินให้มืดทุก ๆ ครั้งที่มืดได้ชำาระค่าเช่าซื้อ ให้ท่านวินิจฉัยว่ามืดจะต้องผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อรถ
จักรยานยนต์คันนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด
(ข) ถ้าข้อเท็จจริงตามข้อ (ก) เป็นสัญญาเช่าทรัพย์ เมื่อมืดไม่ชำาระค่าเช่าในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 เหลืองจึงบอกเลิก
สัญญาทันทีในวันที่ 8 มีนาคม 2543 ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำาตอบ ก. หลักกฎหมาย ป.พ.พ.มาตรา 572 วรรคท้าย


วินิจฉัย มืดมิต้องผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อรถจักรยานยนต์คันนี้ เพราะสัญญาเช่าซื้อระหว่างมืดกับเหลืองตกลงด้วยวาขามิได้
ทำาเป็นหนังสือ สัญญาเช่าซื้อจึงตกเป็นโมฆะ คู่สัญญาจึงไม่มีความผูกพันกันตามกฎหมายเช่าซื้อ แม้เหลืองได้ออกใบเสร็จรับ
เงินให้แก่มือทุก ๆ ครั้ง ใบเสร็จรับเงินก็มิใช่สัญญาเช่าซื้อที่ทำาเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 วรรค 2
ข. หลักกฎหมาย ป.พ.พ.มาตรา 560
วินิจฉัย สัญญาระหว่างมือกับเหลืองบังคับกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อมือไม่ชำาระค่าเช่าในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543
เหลืองบอกเลิกสัญญาทันที ในวันที่ 8 มีนาคม 2543 มิได้ เหลืองต้องบอกกล่าวให้มือนำาค่าเช่ามาชำาระเสียก่อนเพราะเป็นการ
ตกลงชำาระค่าเช่าเป็นรายเดือน ซึ่งจะต้องให้เวลากับมืดในการนำาค่าเช่ามาชำาระอย่างน้อย 15 วัน ถ้ามืดไม่นำาค่าเช่ามาชำาระ
ตามคำาบอกกล่าว เหลืองจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 560
3. (ก) นายอ้วนทำาสัญญาจ้างนายหมูจากจังหวัดเชียงใหม่มาทำางานเป็นพ่อครัวที่กรุงเทพฯ โดยนายอ้วนออกเงินค่าเดินทางให้
มีกำาหนดเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2542 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 เมื่อทำางานได้ 6 เดือน นายอ้วนให้นายหมูไป
ทำางานเป็นพ่อครัวให้นายผอมซึ่งเป็นญาติกันโดยนายผอมเป็นผู้จ่ายค่าจ้างให้ นายหมูทำางานจนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543
และต้องการเดินทางกลับบ้านที่จังหวัดเชียงใหม่จึงขอค่าเดินทางขากลับจาก นายผอม เช่นนี้ นายผอมจะต้องจ่ายให้หรือไม่
เพราะเหตุใด จงอธิบาย
(ข) สัญญาจ้างทำาของเป็นสัญญาเฉพาะตัวของผู้รับจ้างหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบายโดยยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคำาตอบ
(ก) สัญญาจ้างแรงงานจะเกิดขึ้นต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงกัน ตามมาตรา 575 การที่นายผอมจ่ายค่าจ้างให้ นายหมูที่ทำางานเป็น
พ่อครัวให้ จะถือว่าเป็นนายจ้างของนายหมูไม่ได้ ทัง้ นี้เพราะสัญญาจ้างแรงงานเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาทำาสัญญาระหว่าง
นายอ้วนกับนายหมู เพียงแต่นายอ้วนได้ให้นายหมูไปช่วยงานของนายผอมเท่านั้น เพราะฉะนั้นนายผอมจึงไม่ใช่นายจ้างตาม
มาตรา 575 ที่จะต้องจ่ายเงินค่าเดินทางขากลับให้ตามมาตรา 586 (อธิบายหลักกฎหมายมาตรา 575)
(ข) วัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างทำาของอยู่ที่ผู้รับจ้างตกลงจะทำาการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำาเร็จตามมาตรา 587 ผู้รับจ้างจึงต้อง
ทำาการงานนั้นให้แก่ผู้วา่ จ้างโดยจะเอาการงานที่รับจ้างทั้งหมดหรือแบ่งการแต่บางส่วนไปให้ผู้รับจ้างช่วงทำาอีกทอดหนึ่งก็ได้
ตามมาตรา 607
สัญญาจ้างทำาของจึงไม่เป็นสัญญาเฉพาะตัวของผู้รับจ้าง แต่ถ้าสาระสำาคัญแห่งสัญญาอยู่ที่ความรู้ความสามารถของตัวผู้
รับจ้าง ผูร้ ับจ้างจะเอาไปให้รับจ้างช่วงทำาอีกทอดหนึ่งไม่ได้ (อธิบายหลักกฎหมายมาตรา 607)

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 1 ภาค 2/2542

1. นายหนูทำาสัญญาเป็นหนังสือกันเองเช่าที่ดินจากนายนกเพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัยมีกำาหนด 15 ปี มีข้อสัญญาข้อหนึ่งว่า "ถ้า


สัญญาเช่าที่ดินสิ้นสุดลงไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม ผู้ให้เช่าจะต้องรับซื้อบ้านที่ปลูกบนที่ดินที่เช่าในราคาท้องตลาด" เมื่อนายหนู
เช่าที่ดินมาครบ 3 ปีพอดี นายนกได้ขายที่ดินที่นายหนูเช่าอยู่นี้ให้กับนายมด นายมดจึงบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินแปลงนี้กับนาย
หนู และให้นายหนูรื้อถอนบ้านออกไปด้วย เช่นนี้ นายมดจะบอกเลิกสัญญาเช่าได้หรือไม่ และนายหนูจะต่อสูว้ ่าผู้ให้เช่าต้องรับ
ซื้อบ้านที่ปลูกบนที่ดินที่เช่าในราคาท้องตลาดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำาตอบ นายหนูทำาสัญญาเช่าทรัพย์กับนายนกมีกำาหนดเวลา 15 ปี แต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ จึงสามารถ


ฟ้องร้องบังคับคดีได้แต่เพียง 3 ปีเท่านั้นตามมาตรา 538 ถ้ามีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าไปในระหว่างสัญญาเช่าจะไม่
ทำาให้สัญญาเช่าจะไม่ทำาให้สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ระงับไป ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วย
ตามมาตรา 569
เมื่อนายมดได้ซื้อบ้านและที่ดินมา นายหนูได้เช่าบ้านและที่ดินมาแล้ว 3 ปี นายมดจึงสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าได้
ส่วนข้อสัญญาที่กำาหนดให้ผู้ให้เช่าต้องรับซื้อเรือนไม้ตามราคาในท้องตลาดที่ซื้อขายกันนั้น แม้วา่ จะเป็นเงื่อนไขในสัญญาแต่ก็
เป็นเงื่อนไขหรือข้อสัญญาต่างหากจากสิทธิและหน้าที่ในการเช่า จึงไม่ ผูกพันนายมดผู้รับโอน นายหนูจึงต่อสู้ไม่ได้

2. (ก) นายดำาทำาสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ 1 คันจากนายแดง ตกลงชำาระค่าเช่างวดละ 1 เดือน เป็นจำานวน 24 งวด และมีข้อตกลง


ว่าการชำาระค่าเช่าซื้อตามกำาหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ให้ถือว่าเป็นสาระสำาคัญของสัญญา ถ้ามีการผิดนัดชำาระงวดใดงวดหนึ่ง
นายแดงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที นายดำาชำาระค่าเช่าตลอดมาเป็นเวลา 12 เดือน แต่นายดำาไม่ได้ชำาระค่าเช่าของเดือนที่
13 เพราะมีความจำาเป็นต้องนำาเงินไปรักษาบิดาที่ป่วย และขอนำาเงินมาชำาระให้ในภายหลัง นายแดงไม่ยอมรับและบอกเลิก
สัญญาทันที นายดำาต่อสู้ว่านายแดงยังไม่สามารถบอกเลิกสัญญาได้ตามกฎหมาย เช่นนี้ ถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด จง
อธิบาย
(ข) ถ้าข้อเท็จจริงตามข้อ (ก) เป็นสัญญาเช่าทรัพย์ คำาตอบจะแตกต่างไปหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคำาตอบ (ก) ตามกฎหมายมาตรา 574 ผูใ้ ห้เช่าจะบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีผู้เช่าผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติดๆ กันหรือ


กระทำาผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำาคัญ เมื่อนายดำากับนายแดงได้ทำาสัญญาโดยมีข้อตกลงว่าการชำาระค่าเช่าซื้อตามกำาหนด
เวลาที่ตกลงกันไว้ถือว่าเป็นสาระสำาคัญของสัญญา ถ้ามีการผิดนัดชำาระงวดใดงวดหนึ่งนายแดงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที
ดังนั้นนายดำาได้ทำาผิดสัญญาที่ไม่ได้ชำาระค่าเช่าของเดือนที่ 13 จึงถือว่าเป็นการกระทำาผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำาคัญนาย
แดงจึงบอกเลิกสัญญาได้ นายดำาต่อสู้ไม่ได้
(ข) ถ้าเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ การผิดนัดไม่ชำาระค่าเช่าที่พึงส่งเป็นรายเดือนจะต้องมีการบอกกล่าวก่อนอย่าให้น้อยกว่า 15 วัน
ตามมาตรา 560 วรรคสอง แต่มาตรานี้ไม่ใช่กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงสามารถ
ตกลงกันเป็นประการอื่นได้ ดังนั้นเมื่อคู่สัญญาตกลงกันให้บอกเลิกสัญญาไว้ทันทีถ้ามีการผิดนัดชำาระงวดใดงวดหนึ่ง นายดำา
ได้ผิดนัดชำาระงวดที่ 13 นายแดงจึงสามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันที นายดำาต่อสู้ไม่ได้
3. (ก) นายอ้วนทำาสัญญาจ้างนายผอมเป็นพ่อครัวมีกำาหนดเวลาหนึ่งปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 ตกลงค่าจ้างเดือนละ
10,000 บาท โดยจ่ายทุก ๆ วันที่ 25 ของเดือน ต่อมานายผอมทำางานไม่ดีจึงต้องการเลิกจ้างนายอ้วน จึงบอกเลิกจ้างนายผอม
ในวันที่ 31 มีนาคม 2543 เช่นนี้ นายผอมจะต่อสู้ได้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
(ข) ถ้าผู้ว่าจ้างมีหน้าที่จัดหาสัมภาระ จะมีหน้าที่และความรับผิดอย่างไร จงอธิบาย

ธงคำาตอบ (ก) สัญญาระหว่างนายอ้วนกับนายผอมเป็นสัญญาจ้างแรงงานมีกำาหนดเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 ถึง


วันที่ 31 ธันวาคม 2542 เมื่อนายผอมทำางานเรื่อยมาจนถึงเดือนมีนาคม 2543 จึงกลายเป็นสัญญาไม่มีกำาหนดเวลาตาม
มาตรา 581 ซึ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาได้ตามมาตรา 582 โดยมีการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อน ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึง
กำาหนดจ่ายสินค้าจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำาหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้า
ดังนั้นเมื่อมีการตกลงจ่ายค่าจ้างทุก ๆ วันที่ 25 ของเดือนนายอ้วนบอกเลิกจ้างวันที่ 31 มีนาคม ถึงกำาหนดจ่ายสินจ้างคือวันที่
25 เมษายนก็จะมีผลเลิกสัญญาวันที่ 25 พฤษภาคม นายผอมจึงต่อสู้ได้
(ข) ตอบตามมาตรา 590, 591 และ 604 โดยอธิบายประกอบ

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 1

นายเสาร์เอารถยนต์ของนายอาทิตย์มาให้นายจันทร์เช่า โดยที่นายอาทิตย์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย ต่อมานายอาทิตย์มาเรียกร้อง


ให้นายจันทร์ผู้เช่า ซึ่งครอบครองรถอยู่ในขณะนั้นส่งรถคืนให้ตน ดังนี้ นายเสาร์จะต้องรับผิดต่อนายจันทร์ผู้เช่าหรือไม่

เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 549 ความรับผิดของผู้ให้เช่าในกรณีรอนสิทธิ ให้บังคับด้วยบทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายอนุโลมตาม


สมควร
ส่วนตามมาตรา 475 ถ้าหากมีบุคคลใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อ ในอันที่จะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้
นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายก็ดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี ผู้ขายจะต้องรับผิด
โดยอนุโลมลักษณะสัญญาซื้อขาย การที่นายอาทิตย์เจ้าของมาเรียกร้องรถที่เช่าคืนจากนายจันทร์นั้น เป็นการก่อการรบกวน
ขัดสิทธิของนายจันทร์ผู้เช่าในอันที่จะครองรถที่เช่าโดยปกติสุข นายอาทิตย์มีสิทธิเหนือรถ เพราะเป็นเจ้าของ จึงเป็นการรอน
สิทธิของนายจันทร์ผู้เช่า นายเสาร์ผู้ให้เช่าจึงต้องรับผิดต่อนายจันทร์ผู้เช่า ตามมาตรา 549, 475

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 1

1. นางขจีมีภูมิลำาเนาอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ตกลงให้นายสุขุมเช่าบ้านที่อยู่ที่กรุงเทพ ฯ มีกำาหนดเช่ากัน 5 ปี ค่าเช่าเดือนละ


25,000 บาท แต่การเช่ามิได้ทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พอเช่ากันมาได้ปีครึ่ง นายสุขุมผิดนัดชำาระค่า
เช่า 2 เดือน นางขจีจึงโทรศัพท์ทางไกลทวงถามให้ชำาระ ต่อมานายสุขุมมีจดหมายลงลายมือชื่อของนายสุขุมขอผัดชำาระค่าเช่า
ที่ค้างชำาระไปอีก 2 เดือน นางขจีไม่ยอม ดังนี้ นางขจีจะฟ้องบังคับให้นายสุขุมชำาระค่าเช่าที่ค้างได้หรือไม่

เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 538 การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้อง


รับผิดเป็นสำาคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกำาหนดสามปีขึ้นไป หากมิได้ทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีแต่เพียงสามปี (10 คะแนน) กรณีตามปัญหา แม้สัญญาเช่าระหว่างนาง
ขจีกับนายสุขุม ซึ่งตกลงเช่ากัน 5 ปี จะไม่ได้ทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ก็มีจดหมายลงลายมือชื่อ
ของนายสุขุมขอผัดชำาระค่าเช่าที่ค้างชำาระ การเช่าจึงมีหลักฐานเป็นหนังสือของผู้เช่าคือนายสุขุมซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิ ดเป็น
สำาคัญ ตามมาตรา 538 แล้ว (8 คะแนน) ตามปัญหาหลังเช่ากันมาได้ปีครึ่ง นายสุขุมก็ผิดนัดชำาระค่าเช่า 2 เดือน นายขจีจึง
ฟ้องร้องบังคับคดีเรียกค่าเช่าที่นายสุขุมผิดนัดชำาระได้

2. นายวุฒิตกลงเช่าตึกแถวที่กำาลังก่อสร้างอยู่จากนายสิทธิหนึ่งห้องเพื่อจัดตั้งสำานักงานทนายความ มีกำาหนดเวลาเช่ากัน 3 ปี
ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายแต่ประการใด แต่นายวุฒิได้ให้ค่าเช่าล่วง
หน้านายสิทธิไปแล้ว 3 เดือน เป็นเงิน 30,000 บาท เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว นายสิทธิไม่ยอมส่งมอบห้องตึกแถวแก่นายวุฒิ นาย
วุฒิจึงต้องฟ้องร้องขอให้ศาลบังคับให้นายสิทธิส่งมอบห้องให้แก่ตน โดยอ้างว่าสัญญาเช่าผูกพันใช้บังคับกันได้ เพราะได้ชำาระ
ค่าเช่าล่วงหน้าอันเป็นการชำาระหนี้ตามสัญญาเช่าแก่นายสิทธิถึง 3 เดือน ถ้าท่านเป็นศาล จะตัดสินให้นายวุฒิหรือนายสิทธิ
ชนะคดี

เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 538 การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้อง


รับผิดเป็นสำาคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ตามมาตรา 538 จำากัดเฉพาะการมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลง
ลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำาคัญ จึงจะฟ้องบังคับคดีกันได้ ไม่รวมถึงการชำาระหนี้ลว่ งหน้า (10 คะแนน) กรณีตามปัญหา
แม้นายวุฒิชำาระค่าเช่าล่วงหน้าแล้ว 3 เดือน แต่การเช่าก็ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำาคัญ ซึ่ง
ตามปัญหาก็คือ นายสิทธิผู้ให้เช่า นายวุฒิผู้เช่า จึงฟ้องร้องบังคับคดีให้นายสิทธิส่งมอบห้องให้ตนหาได้ไม่ ตาม ปพพ. มาตรา
538 (8 คะแนน) ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล จะตัดสินให้นายสิทธิเป็นฝ่ายชนะคดี

3. แดงทำาสัญญาเช่าบ้านจากดำาหลังหนึ่ง โดยทำาสัญญาเป็นหนังสือกำาหนดชำาระค่าเช่าทุกวันสิ้นเดือน สัญญาเช่าระบุว่าไม่


อนุญาตให้ผู้เช่าเอาบ้านไปให้เช่าช่วง และสัญญาเช่าฉบับนี้ไม่ได้กำาหนดระยะเวลาการเช่าเอาไว้ ปรากฏว่า แดงเช่าบ้านหลัง
นั้นได้เพียง 7 เดือน แดงก็นำาบ้านนั้นไปให้เขียวเช่าช่วง ดำาจึงถือสาเหตุที่แดงผิดสัญญาเอาบ้านไปให้เขียวเช่าช่วง บอกเลิก
สัญญาทันทีและให้ส่งมอบบ้านคืนภายใน 15 วัน แดงต่อสู้ว่า (ก) ดำาจะบอกเลิกสัญญาทันทีไม่ได้ ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเสีย
ก่อน และ (ข) สัญญาเช่าฉบับนี้เป็นสัญญาเช่าที่ไม่มกี ำาหนดเวลา การใช้เวลาเพียง 15 วันไม่ถูกต้อง ดังนี้ จงวินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้
ของแดงฟังได้หรือไม่ เพียงใด

เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 544 วางหลักกฎหมายไว้ว่า ทรัพย์สินซึ่งเช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงหรือโอนสิทธิของตนอันมีใน


ทรัพย์สินนั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลภายนอก ท่านว่าหาอาจทำาได้ไม่เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นใน
สัญญาเช่า ถ้าผู้เช่าประพฤติฝ่าฝืนบทบัญญัติอันนี้ ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ และตาม ปพพ. มาตรา 566 วางหลัก
กฎหมายไว้ว่า ถ้ากำาหนดเวลาเช่าไม่ปรากฏในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้ไซร้ ท่านว่าคู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิก
สัญญาเช่าในขณะเมื่อสุดระยะเวลาอันเป็นกำาหนดชำาระค่าเช่าก็ได้ทุกระยะ แต่ต้องบอกกล่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ตัวก่อนชั่ว
กำาหนดเวลาชำาระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อย แต่ไม่จำาต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่า 2 เดือน กรณีตามปัญหา (ก) ข้อต่อสู้ของ
แดงฟังไม่ได้ เพราะแดงเอาไปให้เช่าช่วง ผิดสัญญาเช่า ดังนั้น ดำาจึงบอกเลิกสัญญาเช่าทันทีได้ ตาม ปพพ. มาตรา 544 วรรค
2 (ข) ข้อต่อสู้ของแดงฟังไม่ได้ เพราะเป็นการบอกเลิก และเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มกี ำาหนดเวลา ซึ่งต้องบังคับตามมาตรา 566
สัญญาจึงไม่มีกำาหนดเวลาตามมาตรา 566

4. นายนิติตกลงเช่าตึกแถวเก่าแก่ห้องหนึ่งจากนายสิทธิเพื่อเก็บสินค้า มีกำาหนดเวลาเช่า 3 ปี แต่การเช่าไม่มีหลักฐานเป็น


หนังสือ ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท แต่นายนิติได้ชำาระค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่นายสิทธิไป 6 เดือน เป็นเงิน 60,000 บาท ทั้งต่อ
มาก็ชำาระค่าเช่าทุกเดือนไม่ติดค้าง เมื่อเช่ามาได้แล้ว 1 ปี หลังคาตึกได้พังยุบมาแถบหนึ่ง จำาเป็นต้องซ่อมแซมให้เงินจำานวน
มาก ดังนี้ นายนิติมีทางที่จะเรียกร้องให้นายสิทธิซ่อมแซมหลังคาดังกล่าวได้หรือไม่

เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 538 การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้อง


รับผิดเป็นสำาคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกำาหนดเวลากว่าสามปีขึ้นไป หรือกำาหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้
เช่าไซร้ หากมิได้ทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ท่านว่าการเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสาม
ปี และตามมาตรา 550 วางหลักกฎหมายไว้ว่า ผู้ให้เช่าย่อมต้องรับผิดในความชำารุดบกพร่องอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาเช่า
และผู้ให้เช่าต้องจัดการซ่อมแซมทุกอย่างบรรดาซึ่งเป็นการจำาเป็นขึ้น ฯลฯ กรณีตามปัญหา การเช่าระหว่างนายนิติกับสายสิทธิ
ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ฯลฯ แต่นายนิติได้ชำาระค่าเช่าล่วงหน้าให้นายสิทธิไป 6 เดือน เป็นเงิน 60,000 แต่การชำาระค่าเช่าล่วง
หน้าก็ดี การชำาระค่าเช่าโดยไม่ติดค้างก็ดี ไม่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 538 ว่าให้ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
ฉะนั้น นายนิติจะฟ้องร้องบังคับคดีให้นายสิทธิซ่อมแซมหลังคาตึกไม่ได้

5. นายแสงตกลงให้นายสีเช่ารถยนต์นั่งของตน ค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท โดยทำาสัญญาเช่าเป็นหนังสือ แต่ยังไม่ทันได้ส่ง


มอบรถแก่นายสี วันรุ่งขึ้นนายแสงก็ตกลงให้นายสอนเช่ารถคันเดียวกันนี้ ค่าเช่าเดือนละ 6,000 บาท โดยมิได้ทำาสัญญาเช่า
เป็นหนังสือ แต่ได้ส่งมอบรถให้นายสอนครอบครองตามสัญญาเช่าไป นายสีจึงเรียกร้องให้นายสอนส่งมอบรถแก่ตนโดยอ้างว่า
ตนเป็นผู้ตกลงเช่ากับนายแสงก่อน นายสอนจึงนำาเรื่องมาปรึกษากับท่านว่า ต้องส่งมอบรถแก่นายสีหรือไม่ ท่านจะให้คำา
ปรึกษาแก่นายสอนว่าอย่างไร

เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 542 บัญญัติว่า "บุคคลหลายคนเรียกเอาสังหาริมทรัพย์อันเดียวกัน อาศัยมูลสัญญาเช่าต่างราย


ทรัพย์ตกไปอยู่ในครอบครองผู้เช่าคนใดก่อนด้วยสัญญาเช่านั้น คนนั้นมีสิทธิยิ่งกว่าคนอื่น ๆ" จากอุทาหรณ์ เป็นเรื่องการเช่า
สังหาริมทรัพย์ ซึ่งกฎหมายถือว่าผู้เช่าคนใด ครอบครองทรัพย์สินที่เช่าก่อน ผู้นั้นมีสิทธิยิ่งกว่าคนอื่น ๆ ฉะนั้นถือการครอบ
ครองเป็นสำาคัญ มิได้ถือเอาการทำาสัญญาเป็นหนังสือเป็นสำาคัญ ฉะนั้นนายสีจะทำาสัญญาเช่าเป็นหนังสือ แต่เมื่อนายสอนซึ่ง
ไม่ได้ทำาสัญญาเช่าเป็นหนังสือ ได้ครอบครองรถที่เช่าก่อนนายสี จึงมีสิทธิดีกว่านายสี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 542 นายสอนจึงไม่ต้องส่งมอบรถที่เช่าแก่นายสี ข้าพเจ้าให้คำาปรึกษาแก่นายสอนว่า ไม่ต้องส่งมอบรถที่เช่าแก่นายสี

6. นายจุกตกลงให้นายสักเช่าบ้านไม้เก่าแก่หลังหนึ่งซึ่งอยู่ในซอยแห่งหนึ่ง มีกำาหนดเวลาเช่า 2 ปี ค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาท


แต่ไม่ได้ทำาสัญญาเป็นหนังสือ และเกี่ยวกับนายจุกไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เกี่ยวกับนายสักนั้น นายสักได้เคยมี
จดหมายฉบับหนึ่งถึงนายจุกลงลายมือชื่อนายสัก ขอผัดชำาระค่าเช่าที่ค้างอยู่หนึ่งเดือน 1,000 บาท ต่อมาฟ้าเพดานบ้านที่นาย
สักเช่าชำารุดหลุดตกลงมาเป็นจำานวนหลายแผ่น ดังนี้ นายจุกจะฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำาระจากนายสัก และนายสักจะฟ้องให้
นายจุกซ่อมแซมฝ้าเพดานได้หรือไม่

เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 538 การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่


ต้องรับผิดเป็นสำาคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกำาหนดเวลากว่าสามปีขึ้นไป หรือกำาหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้
ให้เช่าไซร้ หากมิได้ทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ท่านว่าการเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียง
สามปี และมาตรา 550 ผูใ้ ห้เช่าต้องจัดการซ่อมแซมทุกอย่างที่เป็นการจำาเป็น เว้นแต่…
ตามปัญหาแยกพิจารณาได้ดังนี้ (ก) จดหมายที่นายสักขอผัดชำาระค่าเช่า ต้องลงลายมือชื่อนายสักย่อมเป็นหลักฐานเป็น
หนังสือที่นายสักต้องรับผิด นายจุกย่อมฟ้องเรียกค่าเช่าจากนายสักได้โดยใช้จดหมายขอผัดชำาระค่าเช่าเป็นหลักฐานในการ
ฟ้องร้องบังคับคดี ตามมาตรา 538 (ข) กรณีที่นายสักจะฟ้องร้องนายจุกให้ซ่อมแซมบ้านนั้น แม้การซ่อมแซมทุกอย่างซึ่ง
เป็นการจำาเป็นที่ผู้ให้เช่าจะต้องจัดการทำาให้ตามมาตรา 550 ก็จริง แต่กรณีนี้การเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนาย
จุกผู้ให้เช่า นายสักจะฟ้องนายจุกให้ซ่อมแซมไม่ได้ นายสักจะฟ้องให้นายจุกซ่อมแซมฝ้าเพดานหาได้ไม่

7. นายสมตกลงเช่าเรือยนต์เร็วลำาหนึ่งจากนายจันทร์ มีกำาหนดเวลาเช่า 1 ปี ค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท แต่ไม่มีหลักฐานเป็น


หนังสือลายมือชื่อนายสม นายจันทร์ นายสมผิดนัดชำาระค่าเช่า 3 เดือน เป็นเงิน 9,000 บาท และนายสมได้เสียค่าใช้จ่ายใน
การซ่อมแซมเล็กน้อยไปเป็นเงิน 300 บาท ดังนี้ นายจันทร์จะฟ้องบังคับให้นายสมชำาระค่าเช่าที่ค้าง และนายสมจะฟ้องบังคับ
ให้นายจันทร์ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเล็กน้อยดังกล่าวได้หรือไม่

เฉลย ตามปพพ. มาตรา 538 บัญญัติว่า การเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือ


ชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำาคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ แต่ตามปัญหา สัญญาเช่าเรือยนต์เร็วซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์
มิใช่อสังหาริมทรัพย์ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 538 แม้สัญญาดังกล่าวจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่
ต้องรับผิดเป็นสำาคัญ ก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
ตามปัญหา เมื่อนายสมผิดนัดชำาระค่าเช่า นายจันทร์จึงฟ้องบังคับให้นายสมชำาระราคาที่ค้างได้
ปพพ. มาตรา 547 บัญญัติวา่ ผู้เช่าต้องเสียค่าใช้จ่ายไปโดยความจำาเป็นและสมควร เพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นเท่าใด ผู้ให้
เช่าจำาต้องชดใช้ให้แก่ผู้เช่า เว้นแต่ค่าใช้จ่ายเพื่อบำารุงรักษาตามปกติและเพื่อซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย (5 คะแนน) ตามปัญหา
นายสมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซ่อมแซมเล็กน้อย ฉะนั้นเมื่อนายสมได้เสียค่าใช้จ่ายไป จึงไม่อาจฟ้องเรียกให้นายจันทร์ชดใช้
ให้ได้ (การตอบแบบนี้ เรียกว่าการตอบแบบรวมวินิจฉัยหรือแบบฟันธง: ที่มา การทำาข้อสอบเนติบัณฑิตยสภา)
8. นายดินตกลงเช่ากระบือซึ่งเป็น...**พาหนะจากนายฟ้ามาใช้ไถนา มีกำาหนดเวลา 6 เดือน ตกลงค่าเช่ากันเดือนละ 200 บาท
นายดินไม่ชำาระค่าเช่าตามกำาหนด อ้างว่าสัญญาเช่าเป็นโมฆะ เพราะมิได้ทำาเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตน
ไม่ต้องชำาระค่าเช่า นายฟ้าจึงนำาเรื่องมาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คำาปรึกษาแก่นายฟ้าประการใดบ้าง

เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 538 การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้อง


รับผิดเป็นสำาคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกำาหนดกว่าสามปีขึ้นไป หรือกำาหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า
หากมิได้ทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสามปี
ตามปัญหา กระบือเป็นสังหาริมทรัพย์ มิใช่อสังหาริมทรัพย์ แม้จะเป็น...**พาหนะ ก็ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 538 ที่การเช่าจะ
ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ฯลฯ หรือต้องทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ฉะนั้นการเช่ากระบือระหว่าง
นายดินและนายฟ้า จึงไม่ต้องทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียน และไม่เป็นโมฆะ ข้าพเจ้าจะให้คำาปรึกษาแก่นายฟ้าว่า นายดินจะ
ต้องชำาระค่าเช่ากระบือแก่นายฟ้า โดยนัยที่ได้วินิจฉัยดังกล่าว

9. นายเดชลักรถยนต์นั่งมาจากนายจุฬา แล้วนำารถที่ลักมาแลกเปลี่ยนกับรถยนต์นั่งของนายสุโข โดยที่ในเวลาแลกเปลี่ยนกัน


นั้น นายสุโขไม่รู้ว่าเป็นรถที่นายเดชลักมา ต่อมานายจุฬาทราบเรื่องเข้า จึงเรียกร้องรถที่ถูกนายเดชลักมาคืนจากนายสุโข ดังนี้
นายเดชจะต้องรับผิดต่อนายสุโขหรือไม่
เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 519 บทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะซื้อขายให้ใช้บังคับถึงการแลกเปลี่ยนด้วย โดยให้ถือว่าผู้เป็นคู่
สัญญาแลกเปลี่ยนเป็นผู้ขายในส่วนทรัพย์สินซึ่งตนได้ส่งมอบและเป็นผู้ซื้อในส่วนทรัพย์สินซึ่งตนได้รับในการแลกเปลี่ยนนั้น
มาตรา 547 หากมีบุคคลใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือ
ทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายก็ดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี ผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น

10. นายแดงตกลงให้นายขาวเช่ารถยนต์นั่งของนายแดง ค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท โดยทำาสัญญาเช่าเป็นหนังสือ แต่ยังไม่ทัน


ได้ส่งมอบรถแก่นายขาว วันรุ่งขึ้นต่อมา นายแดงก็ตกลงให้นายเขียวเช่ารถคันเดียวกันนี้ ค่าเช่าเดือนละ 4,000 บาท แต่มิได้ทำา
สัญญาเช่าเป็นหนังสือ นายแดงได้ส่งมอบรถให้นายเขียวครอบครองตามสัญญาเช่าไปแล้ว นายขาวจึงเรียกร้องให้นายเขียวส่ง
มอบรถแกตน โดยอ้างว่าตนเป็นผู้ตกลงเช่ากับนายแดงก่อน นายเขียวตกลงเช่า นายเขียวจึงนำาเรื่องมาปรึกษากับท่านว่า ต้อง
ส่งมอบรถแก่นายขาวหรือไม่ ทานจะให้คำาปรึกษาแก่นายเขียวอย่างไร

เฉลย ปพพ. มาตรา 542 บัญญัติวา่ บุคคลหลายคนเรียกเอาสังหาริมทรัพย์อันเดียวกัน อาศัยมูลสัญญาเช่าต่างราย ทรัพย์ตก


ไปอยู่ในครอบครองผู้เช่าคนใดก่อนด้วยสัญญาเช่านั้น คนนั้นมีสิทธิยิ่งกว่าคนอื่น ๆ ตามมาตรา 542 นี้เป็นการเช่า
สังหาริมทรัพย์ จะเห็นได้ว่าการเช่าสังหาริมทรัพย์กฎหมายถือเอาการที่ผู้เช่าคนใดครอบครองทรัพย์สินที่เช่าเป็นสำาคัญ มิได้ถือ
เอาการทำาสัญญาเช่าเป็นหนังสือเป็นสำาคัญ ตามปัญหา แม้นายแดงจะทำาสัญญาเช่ากับนายขาว โดยทำาสัญญาเป็นหนังสือ
ก่อนทำาสัญญากับนายเขียว แม้จะไม่ได้ทำาสัญญาเป็นหนังสือก็ตาม แต่นายเขียวเป็นผู้ครอบครองรถที่เช่าก่อนนายขาว จึงมี
สิทธิดีกว่านายขาว นายเขียวจึงไม่ต้องส่งมอบรถที่เช่าแก่นายขาว ข้าพเจ้าจะให้คำาปรึกษาแก่นายเขียวว่า นายเขียวไม่ต้องส่ง
มอบรถที่เช่าแก่นายขาว โดยนัยที่ได้วินิจฉัยดังกล่าว (หมายเหตุ: ตามปัญหาไม่ได้ถามเรื่องรอนสิทธิหรือนายแดงผิดสัญญากับ
นายขาวหรือไม่ ถ้านักศึกษาตอบมา ก็ไม่ได้คะแนน ผู้ใดตอบโดยอ้างว่าทำาสัญญาเป็นหนังสือหรือไม่ทำาเป็นหนังสือก็ไม่ได้
คะแนนเหมือนกัน ปัญหาเกี่ยวกับการทำาเป็นหนังสือหรือไม่ เป็นคำาถามลวงเท่านั้น)
11. สมพงษ์ตกลงเช่าตึกแถว 10 ห้องจากวิจิตร เพื่อเปิดบริษัทนำ้าแร่สังเคราะห์ จำากัด ทำาสัญญาเป็นหนังสือ โดยวิจิตรห้ามมิให้
สมพงษ์เอาตึกแถวไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงเป็นอันขาด แต่มิได้กำาหนดเวลาเช่าไว้ เวลาผ่านไป 9 เดือน สมพงษ์จะไปเรียนต่อต่าง
ประเทศ จึงเอาตึกแถวทั้งหมดให้ใจพันธ์เช่าช่วงต่อเพื่อทำาเป็นสถานบันทึก วิจิตรโกรธมากจึงบอกเลิกสัญญาทันที และให้สม
พงษ์ส่งมอบตึกทั้งหมดคืนภายใน 7 วัน ดังนี้ สมพงษ์จะยกข้อต่อสูว้ ิจิตรอย่างไร และบังคับวิจิตรได้หรือไม่

เฉลย ปพพ. มาตรา 538 บัญญัติวา่ "เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด ลงลายมือชื่อ


ฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำาคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับหาได้ไม่…" และมาตรา 544 บัญญัติวา่ "ทรัพย์สินซึ่งเช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่า
ช่วงหรือโอนสิทธิของตนอันมีในทรัพย์สินนั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้ แก่บุคคลภายนอก ท่านว่าหาอาจทำาได้ไม่ เว้นแต่
จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า" กรณีตามปัญหา การเช่าตึกแถวระหว่างสมพงษ์กับวิจิตร มีการทำาสัญญาเป็น
หนังสือโดยมีข้อตกลงห้ามมิให้สมพงษ์ผู้เช่าเอาตึกแถวให้ผู้อื่นเช่าช่วงต่อ สัญญาเช่าระหว่างสมพงษ์กับวิจิตร จึงบังคับได้ตาม
มาตรา 538 การที่สมพงษ์เอาตึกแถวไปให้ใจพันธ์เช่าช่วงต่อจึงเป็นการผิดสัญญาเช่าที่ทำากับวิจิตร วิจิตรผู้ให้เช่าจึงสามารถ
บอกเลิกสัญญาเช่ากับสมพงษ์ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ตามมาตรา 544 สมพงษ์ผู้เช่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า จึงไม่
สามารถยกข้อต่อสู้ใด ๆ กับวิจิตรผู้ให้เช่าได้ สมพงษ์ผู้เช่าไม่สามารถยกข้อต่อสู้ใด ๆ กับวิจิตรผู้ให้เช่าได้ และไม่สามารถบังคับ
วิจิตรได้

12. นายอรรถตกลงเช่าอาคารไม้เก่าหลังหนึ่งจากนายสิทธิ์เพื่อเป็นบ้านพักคนงาน มีกำาหนด 3 ปี ค่าเช่าเดือนละ 15,000 ชำาระ


ค่าเช่าล่วงหน้าแล้ว 12 เดือน โดยไม่มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือแต่อย่างใด เมื่อเช่าได้ 6 เดือน ฝาห้องพังทลายลงมา คนงาน
ไม่สามารถพักได้ จำาเป็นต้องซ่อมแซมใหญ่ ดังนี้ นายอรรถจะฟ้องร้องต่อศาลให้บังคับนายสิทธิ์ซ่อมแซมฝาห้องได้หรือไม่

เฉลย ปพพ. มาตรา 538 บัญญัติวา่ "เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อ


ฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำาคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกำาหนดเวลากว่าสามปีขึ้นไป หรือกำาหนดตลอดอายุ
ของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าไซร้ หากมิได้ทำาเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ท่านว่าการเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับ
คดีได้แต่เพียงสามปี" และมาตรา 550 บัญญัติว่า "ผูใ้ ห้เช่าย่อมต้องรับผิดในความชำารุดบกพร่องอันเกิดขึ้นระหว่างเวลาเช่า
และผู้ให้เช่าต้องจัดการซ่อมแซมทุกอย่างบรรดาซึ่งเป็นการจำาเป็นขึ้น เว้นแต่การซ่อมแซมชนิดซึ่งกฎหมายหรือจารีตประเพณี
ว่าผู้เช่าจะพึงต้องทำาเอง" กรณีตามปัญหา วินิจฉัยดังนี้ การเช่าระหว่างนายอรรถกับนายสิทธิ์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้นาย
อรรถผู้เช่าจะได้ชำาระค่าเช่าล่วงหน้าแก่นายสิทธิ์ผู้ให้เช่าไปแล้วถึง 12 เดือนก็ตาม ย่อมแสดงว่าไม่มีการติดค้างค่าเช่าแต่
อย่างไร และการที่ฝาห้องพังทลายลงมาจนคนงานไม่สามารถพักได้ ซึ่งจำาเป็นต้องมีการซ่อมแซม เมื่อการเช่าครั้งนี้ไม่มีหลัก
ฐานเป็นหนังสือ นายอรรถผู้เช่าจึงฟ้องร้องต่อศาลให้บังคับนายสิทธิ์ผู้ให้เช่าทำาการซ่อมแซมฝาห้องไม่ได้ นายอรรถจะฟ้องร้อง
ต่อศาลให้บังคับนายสิทธิ์ซ่อมแซมฝาห้องไม่ได้

13. วิชิตตกลงด้วยวาจาให้วิชัยเช่าบ้านเพื่ออยู่อาศัยตลอดอายุของวิชัย และตกลงจะไปทำาหนังสือและจดทะเบียนการเช่าต่อ


พนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมาวิชิตไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา และตั้งรกรากไม่กลับเมืองไทย หลังจากนั้นวิชัยไม่ชำาระค่าเช่าติดต่อ
กัน 6 เดือน วิชิตจึงปรึกษากับท่านเพื่อขอคำาแนะนำาในการดำาเนินคดี ดังนี้ ท่านจะให้คำาแนะนำาแก่วิชิตอย่างไร

เฉลย ปพพ. มาตรา 538 บัญญัติวา่ "เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อ


ฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำาคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกำาหนดเวลากว่าสามปีขึ้นไป หรือกำาหนดตลอดอายุ
ของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าไซร้ หากมิได้ทำาเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ท่านว่าการเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับ
คดีได้แต่เพียงสามปี"
กรณีตามปัญหา การที่วิชัยผู้เช่าและวิชิตผู้ให้เช่าตกลงกันด้วยวาจาเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำา ให้การเช่าครั้งนี้ไม่อาจฟ้อง
ร้องบังคับคดีกันได้ตามกฎหมาย อีกทั้งไม่อยู่ในเงื่อนไขที่เป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือซึ่งจะสามารถ
บังคับกันได้เพียงสามปีแต่อย่างใด เพราะเป็นเพียงการเช่าอสังหาริมทรัพย์กันด้วยวาจาเท่านั้น เมื่อวิชิตผู้ให้เช่ามาปรึกษา
ข้าพเจ้าจะให้คำาแนะนำาว่า วิชิตผู้ให้เช่าไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีเรียกค่าเช่าตามสัญญาได้ แต่สามารถฟ้องขับไล่ได้

14. นายสุดตกลงจ้างนายเอกถมดินที่ดินของนายสุดแปลงหนึ่ง เนื้อที่ 100 ตารางวา คิดเป็นเงินค่าจ้าง 100,000 บาท นายเอก


ไม่มีรถขนดินพอเพียงเพราะรับถมดินไว้หลายแห่ง นายเอกจึงเอางานที่รับจ้างจากนายสุดไปให้นายโทจัดทำาแทน คิดเป็นเงินค่า
จ้าง 80,000 บาท นายสุดรู้เข้าจึงต่อว่านายเอก โดยอ้างว่านายเอกผิดสัญญา เพราะนายสุดไม่ได้จ้างนายโท นายเอกโต้แย้งว่า
นายสุดไม่มีสิทธิมาอ้างว่านายเอกผิดสัญญา เพราะสัญญาจ้างถมดินไม่ได้ทำาเป็นหนังสือ จึงใช้บังคับกันไม่ได้ ท่านเห็นด้วยกับ
ข้ออ้างและข้อโต้แย้งระหว่างบุคคลทั้งสองหรือไม่

เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 587 วางหลักกฎหมายไว้ว่า อันว่าจ้างทำาของคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงรับจะ


ทำาการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำาเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้วา่ จ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำาเร็จแห่งการที่
ทำานั้น และตาม ปพพ. มาตรา 607 วางหลักกฎหมายไว้ว่า ผู้รับจ้างจะเอาการที่รับจ้างทั้งหมดหรือแบ่งการแต่บางส่วนไปให้
ผูร้ ับจ้างช่วงทำาอีกทอดหนึ่งก็ได้ เว้นแต่สาระสำาคัญแห่งสัญญานั้นจะอยู่ที่ความรู้ความสามารถของตัวผู้รับจ้าง แต่ผู้รับจ้างคง
ต้องรับผิดเพื่อความประพฤติหรือความผิดอย่างใด ๆ ของผู้รับจ้างช่วง กรณีตามปัญหา การจ้างถมดินเป็นสัญญาจ้างทำาของ
เพราะมุง่ ถึงผลสำาเร็จของการงานที่ทำา และไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำาสัญญาเป็นหนังสือ ตามปัญหาแยกพิจารณาได้ดังนี้
(ก) ที่นายเอกโต้แย้งว่า สัญญาจ้างถมดินไม่ได้ทำาเป็นหนังสือจึงใช้บังคับกันไม่ได้นั้น ไม่ถูกต้อง ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย (ข) การที่
นายเอกเอางานไปให้นายโทจัดทำาแทน ย่อมทำาได้ตามมาตรา 607 ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างข้อโต้
แย้งระหว่างบุคคลทั้งสอง

15. บริษัทเสือสิงห์ จำากัด ว่าจ้างบริษัทกระทิงแรด จำากัด ก่อสร้างตึกแถวอาคารพาณิชย์ 5 ชั้น รวม 30 ห้อง กำาหนดแล้วเสร็จ
ภายในเวลา 1 ปี คือภายในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2538 ในขณะเดียวกันบริษัทเสือสิงห์ จำากัด ได้ทำาสัญญาขายตึกแถวนี้แก่พ่อค้า
ประชาชนทั่วไป มีกำาหนดเข้าทำาการค้าและพักอาศัยได้ ปรากฏว่าบริษัทกระทิงแรด จำากัด ได้เร่งรัดการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2537 โดยบริษัทเสือสิงห์ จำากัด ได้ทำาการตรวจรับมอบตึกแถวโดยละเอียด และบริษัทกระทิงแรด จำากัด
ก็มิได้ปิดบังจุดบกพร่องแต่อย่างใด แต่พบว่าพื้นดาดฟ้าของตึกใช้ซีเมนต์ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจเป็นปัญญานำ้ารั่วซึมได้ แต่ก็
มิได้ทักท้วงแต่อย่างได โดยเฉพาะตอนฝนตกหนัก ทำาให้ทรัพย์สินเสียหายและใช้ประโยชน์จากตึกแถวไม่ได้เต็มที่ จึงรวมกัน
เรียกร้องให้บริษัทเสือสิงห์ จำากัด รับผิดชอบความเสียหาย บริษัทเสือสิงห์ จำากัด จึงมีหนังสือบอกกว่าให้บริษัทกระทิงแรด
จำากัด รับผิดชอบ ดังนี้ ถ้าท่านเป็นที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทกระทิงแรด จำากัด ท่านจะให้คำาแนะนำาอย่างไร

เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 598 วางหลักกฎหมายไว้ว่า ถ้าผู้ว่าจ้างยอมรับมอบการที่ทำานั้นแล้วทั้งชำารุดบกพร่องมิได้อิดเอื้อน


โดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยาย ผู้รับจ้างก็ไม่จำาต้องรับผิด เว้นแต่ความชำารุดบกพร่องนั้นเป็นเช่นจะไม่พึงพบได้ ในขณะเมื่อ
รับมอบหรือผู้รับจ้างได้ปิดบังความนั้นเสีย กรณีตามปัญหา บริษัทเสือสิงห์ จำากัด ผูว้ ่าจ้าง ได้ตรวจรับมอบตึกแถวโดยละเอียด
ทั้งได้รับทราบถึงความชำารุดบกพร่องของตึกแถวที่ก่อสร้างแล้ว แต่มิได้ทักท้วงโดยอิดเอื้อนหรือแสดงออกชัดหรือโดยปริยายแต่
อย่างใด จึงถือว่าบริษัทกระทิงแรด จำากัด ผู้รับจ้าง ไม่ต้องรับผิด นอกจากนี้ บริษัทกระทิงแรด จำากัด ผู้รับจ้างก็มิได้ปิดบังเรื่องที่
ตนใช้ปูนซีเมนต์ที่ได้ไม่ได้มาตรฐานก่อสร้างดาดฟ้าตึกแถวแต่อย่างได กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นของกฎหมายดังกล่าว ถ้า
ข้าพเจ้าเป็นที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทกระทิงแรด จำากัด จะให้คำาปรึกษาว่า บริษัทกระทิงแรด จำากัดไม่ต้องรับผิดชอบ

16. วิมานรับขนคอมพิวเตอร์ 20 เครื่อง ของสกลจากกรุงเทพ ฯ ไปลำาปางโดยทางรถยนต์ เมื่อวิมานเดินทางถึงกำาแพงเพชร ได้


รับโทรเลขจากสกลให้นำาคอมพิวเตอร์กลับและเดินทางไปส่งที่จังหวัดชุมพร ดังนี้ วิมานจะนำาคอมพิวเตอร์ไปส่งที่หมายที่
ลำาปางต่อไปได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และหากวิมานยอมนำาคอมพิวเตอร์ไปส่งที่ชุมพร วิมานจะมีสิทธิเรียกร้องเพิ่งเติมจากสกล
อย่างไร

เฉลย ปพพ. มาตรา 587 บัญญัติวา่ "อันว่าจ้างทำาของคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำาการงานสิ่ง


ใดสิ่งหนึ่งจนสำาเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผูว้ ่าจ้าง และผูว้ ่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำาเร็จแห่งการที่ทำานั้น" และ
มาตรา 605 บัญญัติวา่ "ถ้าการที่จ้างยังไม่สำาเร็จอยู่ตราบใด ผู้วา่ จ้างอาจบอกเลิกสัญญาได้ เพื่อเสียค่าสินไหมทดแทนให้แก่
ผูร้ ับจ้าง เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่การเลิกสัญญานั้น" กรณีตามปัญหา การที่สกลว่าจ้างให้วิมานขนคอมพิวเตอร์
ไปส่งที่จังหวัดลำาปาง เป็นการจ้างทำาของตามมาตรา 587 ขณะที่วิมานขอนคอมพิวเตอร์มาถึงจังหวัดกำาแพงเพชร ซึ่งยังไม่ถึง
จังหวัดลำาปางตามที่รับจ้าง การงานที่สกลว่าจ้างวิมาน จึงยังไม่แล้วเสร็จ สกลผูว้ ่าจ้างจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาการจ้างขน
คอมพิวเตอร์ไปส่งทีล่ ำาปางได้ ตามมาตรา 605 แต่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับวิมาน ผู้รับจ้างในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดจาก
การเลิกสัญญานั้น เมื่อสัญญาจ้างทำาของเลิกกันแล้ว วิมานจะต้องขนคอมพิวเตอร์กลับไปคืนสกลที่กรุงเทพ ฯ วิมานจะขน
คอมพิวเตอร์ไปส่งทีล่ ำาปางไม่ได้ และการที่สกลให้วิมานนำาคอมพิวเตอร์ไปส่งที่ชุมพร จึงเป็นการจ้างทำาของขึ้นใหม่ หากวิมาน
ตกลงรับจ้างไปส่งที่ชุมพร วิมานย่อมมีสิทธิจะเรียกร้องค่าสินจ้างจากสกลเพิ่มเติมอีกได้ วิมานจะขนคอมพิวเตอร์ไปส่งทีล่ ำาปาง
ไม่ได้ หากวิมานตกลงรับจ้างไปส่งที่ชุมพร วิมานย่อมมีสิทธิจะเรียกร้องค่าสินจ้างจากสกลเพิ่มเติมอีกได้

17. ทวีตกลงจ้างสุเทพติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์บนตึก 5 ชั้น โดยทวีเป็นผู้จัดทำาเสาอากาศโทรทัศน์มาเอง เมื่อสุเทพติดตั้งเสร็จ


ทวีเดินทางไปหาเสียงที่ราชบุรีมีกำาหนด 2 สัปดาห์ ยังไม่ทันได้รับมอบงาน เปรมศักดิ์เพื่อนบ้านข้างเคียงจ้างอาคมมาติดตั้งเสา
อากาศโทรทัศน์ให้ตนบ้าง บังเอิญอาคมพลาดตกจากตึกของเปรมศักดิ์ไปกระแทกสาวลวดสลิงที่ผูกโยงเสาโทรทัศน์บ้านทวี
ทำาให้เสาโทรทัศน์จากบ้านทวีพังทลายลงมาเสียหายทั้งหมด ดังนี้ ระหว่างทวี สุเทพ เปรมศักดิ์ หรืออาคม ใครต้องเป็นผู้รับผิด
ชอบความเสียหายดังกล่าวนั้น (เคยออกข้อสอบแล้ว)

เฉลย ปพพ. มาตรา 587 บัญญัติวา่ "อันว่าจ้างทำาของคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำาการงานสิ่ง


ใดสิ่งหนึ่งจนสำาเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผูว้ ่าจ้าง และผูว้ ่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำาเร็จแห่งการที่ทำานั้น" และ
มาตรา 604 บัญญัติวา่ "ถ้าผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ และการที่จ้างทำานั้นพังทลายหรือบุบสลายลงก่อนได้ส่งมอบกันถูก
ต้องไซร้ ท่านว่าความวินาศอันนั้นตกเป็นพับแก่ผู้รับจ้าง หากความวินาศนั้นมิได้เป็นเพราะการกระทำาของผู้วา่ จ้าง ในกรณีเช่น
ว่านี้ สินจ้างก็เป็นอันต้องไม่ต้องใช้ เว้นแต่ความวินาศนั้นเป็นเพราะการกระทำาของผู้วา่ จ้าง" กรณีตามปัญหา ทวีผู้วา่ จ้างเป็นผู้
จัดหาสัมภาระคือเสาอากาศโทรทัศน์ ตกลงว่าจ้างสุเทพผู้รับจ้างให้ทำาการติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์บนตึก 5 ชั้น สุเทพผู้รับจ้าง
ติดตั้งเสาอากาศเสร็จแล้ว แต่ทวีผู้ว่าจ้างเดินทางไปต่างจังหวัดจึงยังไม่ได้รับมอบงานรวมไปถึงการจ่ายสินจ้างแก่สุเทพอีกด้วย
เมื่อเปรมศักดิ์จ้างอาคมมาติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์บ้านของตนบ้าง และบังเอิญพลาดตกจากตึกของเปรมศักดิ์ไปกระแทก
สายลวดสลิงที่ผูกโยงเสาโทรทัศน์บ้านทวีจนพังทลายลงมาเสียหายทั้งหมด แสดงว่าการที่ทวีจ้างสุเทพให้ติดตั้งเสาอากาศได้
พังทลายก่อนได้ส่งมอบกันถูกต้อง ความวินาศนั้นจึงตกเป็นพับแก่ทวีผู้ว่าจ้างเพราะมิได้เป็นการกระทำาของสุเทพผู้รับจ้าง คือ
ทวีผู้ว่าจ้างจะเรียกค่าเสียหายจากสุเทพไม่ได้ และสุเทพผู้รับจ้างก็ไม่มีสิทธิเรียกสินจ้างจากทวีผู้ว่าจ้าง แต่จากคำาถามที่ว่า ใคร
ต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายดังกล่าวนั้น เมื่อพิเคราะห์โดยละเอียดแล้วเห็นว่า ทวีและสุเทพไม่ต้องรับผิดต่อกัน ส่วน
เปรมศักดิ์ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ใด สำาหรับอาคมเพียงคนเดียวซึ่งเป็นผู้ก่อความเสียหายทั้งหมดขึ้น จึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
1. ความเสียหายของทวีกรณีเสาโทรทัศน์
2. ความเสียหายของสุเทพกรณีที่ไม่ได้รับสินจ้างจากการที่ทำาแก่ทวีคือค่าติดตั้งเสาโทรทัศน์

18. สมบุญจ้างผิวปูหินอ่อนที่บ้าน ผิวรับรองว่าจะทำางานให้เสร็จตามกำาหนดที่ตกลงกันและเรียบร้อยอย่างดี คิดค่าจ้างรายวัน


โดยสมบุญให้ค่าเลี้ยงดูระหว่างทำางาน และจัดหาเครื่องมือกับสัมภาระให้ โดยสมบุญเป็นผู้สั่งให้ผิวทำางานตามที่จ้าง ดังนี้
สัญญาระหว่างสมบุญและผิวเป็นสัญญาจ้างทำาของหรือจ้างแรงงาน เพราะเหตุใด อธิบายให้ละเอียด

เฉลย ปพพ. มาตรา 575 บัญญัติวา่ "อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำางานให้แก่


บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำางานให้" และมาตรา 587 บัญญัติวา่ "อันว่า
จ้างทำาของคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำาการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำาเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียก
ว่าผูว้ ่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำาเร็จแห่งการที่ทำานั้น" กรณีตามปัญหา ระหว่างนายสมบุญและผิวเป็น
สัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่สัญญาจ้างทำาของ (ฎีกาที่ ๑๘๘๕/๒๔๙๗) เพราะตกลงจะให้ค่าจ้างเป็นรายวัน แสดงว่าจะให้ค่าจ้าง
ตลอดเวลาที่ทำางานให้ และสมบุญซึ่งเป็นนายจ้างเป็นผู้สงั่ ให้ผิวลูกจ้างทำางาน แสดงว่าผิวอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของสมบุญ
สัญญาระหว่างสมบุญและผิวไม่เป็นสัญญาจ้างทำาของแต่อย่างใด ส่วนที่ว่ารับรองจะทำาให้จนเสร็จ มีความหมายแต่เพียงว่า
จ้างจนกว่าปูหินอ่อนเสร็จเท่านั้น มิใช่ตกลงจ้างเพื่อผลสำาเร็จของการปูหินอ่อน จึงไม่เป็นสัญญาจ้างทำาของ (หมายเหตุ: การให้
คะแนนข้อนี้ หากตอบตอนวินิจฉัยโดยไปอ้างข้อเท็จจริงอื่น เช่น การเลี้ยงดู การหาเครื่องสัมภาระ ก็ไม่ตรงเรื่องจ้างแรงงาน จะ
ให้เต็ม 10 คะแนนไม่ได้)

19. นายแดงตกลงจ้างนายดำาปลูกบ้านตามแบบแปลนที่กำาหนด โดยนายแดงเป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างให้ทั้งสิ้น


กำาหนดเวลาก่อสร้าง 6 เดือน นายดำาก่อสร้างบ้านเสร็จก่อนกำาหนด 1 เดือน แต่ยังไม่ทันได้ส่งมอบบ้านแก่นายแดง ได้เกิดเพลิง
ไหม้จากบริเวณข้างเคียงลุกลามไหม้บ้านดังกล่าวจนหมด ดังนี้ นายดำามีสิทธิได้รับเงินค่าก่อสร้างบ้านหรือไม่

เฉลย ปพพ. มาตรา 604 บัญญัติวา่ "ถ้าผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ และการที่จ้างทำานั้นพังทลายหรือบุบสลายลงก่อนได้ส่ง


มอบกันถูกต้องไซร้ ท่านว่าความวินาศอันนั้นตกเป็นพับแก่ผู้รับจ้าง หากความวินาศนั้นมิได้เป็นเพราะการกระทำาของผู้ว่าจ้าง
ในกรณีเช่นว่านี้ สินจ้างก็เป็นอันต้องไม่ต้องใช้ เว้นแต่ความวินาศนั้นเป็นเพราะการกระทำาของผู้ว่าจ้าง" กรณีตามปัญหา
วินิจฉัยได้ดังนี้ นายแดงผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระแก่นายดำาผู้รับจ้าง นายดำาผู้รับจ้างได้ก่อสร้างบ้านจนเสร็จก่อนกำาหนดแต่
ยังไม่ทันได้ส่งมอบบ้านแก่นายแดงผู้ว่าจ้าง ได้เกิดเพลิงไหม้บ้านจนหมด มิใช่ความผิดของผู้ว่าจ้างหรือผู้รับจ้าง ดังนี้ ความ
วินาศตกเป็นพับแก่นายแดงผู้ว่าจ้าง แต่นายดำาผู้รับจ้างก็ไม่มีสิทธิได้สินจ้างคือเงินค่าก่อสร้างบ้านจากนายแดงผู้ว่าจ้างแต่
อย่างใด นายดำาไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าก่อสร้าง

20. สัญญาระหว่าง ก. ข. ซึ่งทำาเป็นหนังสือระบุวา่ ก. ตกลงขายรถยนต์ให้ ข. โดยผ่อนชำาระราคากันก่อน งวดแรก 200,000


บาท ที่ค้าง 100,000 บาท ชำาระงวดละ 10,000 บาท ภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน ถ้าค้างชำาระ 3 งวด ผูข้ ายจะยึดรถคืน ดังนี้
ให้ทา่ นวินิจฉัยว่า สัญญาระหว่าง ก. ข. ดังกล่าว เป็นสัญญาซื้อขายหรือสัญญาเช่าซื้อ

เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 572 วางหลักกฎหมายไว้ว่า สัญญาเช่าซื้อคือสัญญาซึ่งเจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินออกให้เช่า


และให้คำามั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำานวนเท่านั้น
เท่านี้คราว (5 คะแนน) ตามปัญหา ก. มิได้เอารถยนต์ออกให้ ข. เช่า โดยมีคำามั่นว่า จะขายรถแก่ ข. สัญญาระหว่าง ข. สัญญา
ระหว่าง ก. ข. จึงไม่เป็นสัญญาเช่าซื้อ (5 คะแนน) ตามสัญญาซึ่งทำาเป็นหนังสือ ระบุว่า ก. ตกลงขายรถยนต์แก่ ข. โดยผ่อน
ชำาระราคากันก่อน งวดแรก 200,000 บาท ที่ค้าง 100,000 บาท ชำาระงวดละ 10,000 บาท ภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน แม้จะ
มีสัญญาว่า ถ้าค้างชำาระ 3 งวด ผูข้ ายจะยึดรถคืน ก็เป็นเพียงข้อตกลงในสัญญาอย่างหนึ่ง จึงเป็นสัญญาซื้อขายรถกันอย่าง
ธรรมดาเท่านั้น จะเรียกว่าเป็นสัญญาซื้อขายผ่อนส่งก็ได้ (เทียบตามฎีกาที่ ๑๙๔๑/๒๕๒๒) (10 คะแนน) สัญญาระหว่าง ก. ข.
เป็นสัญญาซื้อขาย จะเรียกว่าเป็นสัญญาซื้อขายผ่อนส่งก็ได้ หมายเหตุ: นักศึกษาจะตอบว่าเป็นสัญญาซื้อขาย หรือซื้อขายรถ
ผ่อนส่ง ผลก็ไม่แตกต่างกัน

21. ก. ตกลงเช่าซื้อบ้านและที่ดินจากบริษัท ข. ตกลงส่งค่าเช่าซื้องวดละ 20,000 บาท ก. ได้เข้าครอบครองบ้านและที่ดินดัง


กล่าวระหว่างอายุสัญญา ก. ผูเ้ ช่าซื้อส่งเงินให้บริษัท ข. ผู้ให้เช่า ซื้อไปแล้ว 5 งวด เป็นเงินจำานวน 100,000 บาท ต่อมา ก. ผิด
สัญญาชำาระค่าเช่าซื้อ 3 งวด คิดเป็นเงิน 60,000 บาท บริษัท ข. ผู้ให้เช่าซื้อจึงบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้ ก. ผูเ้ ช่าซื้อจะมีสิทธิ
เรียกเงินค่าเช่าซื้อที่ชำาระไปแล้ว 100,000 บาท คืนจากบริษัท ข. หรือไม่ และบริษัท ข. จะมีสิทธิเรียกให้ ก. ผู้เช่าซื้อ ชำาระค่า
เช่าซื้อ 3 งวด ที่ค้างอีก 60,000 บาท และค่าสินไหมทดแทนที่ ก. เข้าครอบครอง ใช้บ้านและที่ดินตลอดเวลาที่ ก. ผูเ้ ช่าซื้อ
ครอบครองอยู่หรือไม่

เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 574 บัญญัติว่า ในกรณีผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติด ๆ กัน หรือกระทำาผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วน


สำาคัญ เจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ ถ้าเช่นนั้นบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อน ให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน
และเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครองทรัพย์สินนั้นได้ด้วย อนึ่งในกรณีกระทำาผิดสัญญาเพราะผิดนัดไม่ใช้เงินซึ่งเป็น
คราวทีส่ ุดนั้น ท่านว่าเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะริบบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อน และกลับเข้าครองทรัพย์สินได้ต่อเมื่อระยะ
เวลาใช้เงินได้พ้นกำาหนดไปอีกงวดหนึ่ง และตาม ปพพ. มาตรา 391 วรรคสาม บัญญัติวา่ "ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำาให้
และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดให้คืน ท่านให้ทำาได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ หรือถ้าในสัญญามีกำาหนด
ว่าให้ใช้เงินตอบแทน ก็ให้ใช้ตามนั้น" กรณีตามปัญหา แยกตอบได้ดังนี้
(1) เงินที่ ก. ผู้เช่าซื้อได้ใช้เงินให้แก่บริษัท ข. ไปแล้ว 100,000 บาทนั้น ก. ผูเ้ ช่าซื้อจะ เรียกคืนไม่ได้ บริษัท ข. ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิ
ริบเอาไว้ตามมาตรา 574 วรรคแรก
(2) เมื่อบริษัท ข. บอกเลิกสัญญาไปแล้ว สัญญาเช่าซื้อก็เป็นอันสิ้นสุดลง บริษัท ข. จะเรียกร้องให้ ก. ผูเ้ ช่าซื้อ ชำาระค่าเช่าซื้อที่
ค้างชำาระ 60,000 บาท ไม่ได้ (ฎีกาที่ ๑๑๙๕/๒๕๑๑ ประชุมใหญ่)
(3) บริษัท ข. ผูใ้ ห้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน เพราะการที่ ก. ไม่ชำาระหนี้ จนบริษัท ข. ต้องบอกเลิกสัญญา อันได้แก่
ค่าที่ ก. เข้าครอบครองใช้บ้านและที่ดินตลอดเวลาที่ ก. ผูเ้ ช่าซื้อครอบครองอยู่ ตาม ปพพ. มาตรา 391 วรรค 3 (ฎีกาที่
1195/2511 ประชุมใหญ่ดังกล่าว)
ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 2 สอบซ่อม ภาค 1/2543

1. นายกล้าต้องการขายที่ดินแปลงหนึ่งให้กับนายแก้ว แต่เนื่องจากนายกล้ากับนายแก้วไม่ค่อยจะถูกกัน นายกล้าจึงมอบให้


นายไก่ไปดำาเนินการแทนให้ นายไก่ก็เข้าดำาเนินการแทนให้นายกล้าจนการซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าวสำาเร็จลุลว่ งด้วยดี และ
เนื่องจากนายกล้าสัญญาว่าจะให้บำาเหน็จแก่นายไก่จำานวนหนึ่งหากงานสำาเร็จ นายไก่จึงทวงถามให้นายกล้าชำาระเงินค่า
บำาเหน็จ แต่นายกล้าปฏิเสธโดยอ้างว่า การซื้อขายที่ดินกฎหมายกำาหนดว่าต้องทำาเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนก็ต้องทำาเป็น
หนังสือด้วย เมื่อนายกล้ากับนายไก่ไม่ได้ตกลงการเป็นตัวแทนกันเป็นหนังสือ สัญญาตัวแทนจึงใช้ไม่ได้และไม่ผูกพันกัน ขอให้
ท่านวินิจฉัยดังนี้
1) นายไก่เป็นตัวแทนนายกล้าหรือไม่ ในการเข้าทำาการแทนนายกล้าเรื่องการขายที่ดินดังกล่าว
2) ข้ออ้างนายกล้ารับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำาตอบ
หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 797 บัญญัติวา่ “อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือ สัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำานาจทำาการแทนบุคคลอีก
คนหนึ่งเรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำาการดั่งนั้น
อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยแต่งตั้งแสดงออกชัดหรือเป็นโดยปริยายก็ย่อมได้”
มาตรา 798 บัญญัติวา่ “ กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องทำาเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้อง
ทำาเป็นหนังสือด้วย…”
วินิจฉัย
1.นายกล้าได้มอบหมายให้นายไก่ไปดำาเนินการขายที่ดินของตน และนายไก่ก็เข้าทำาการแทนนายกล้าจนการซื้อขายที่ดินแปลง
ดังกล่าวสำาเร็จลุล่วง เช่นนี้เป็นการที่นายไก่ตกลงรับทำาการแทนนายกล้าตัวการ นายไก่จึงเป็นตัวแทนนายกล้า ตามมาตรา
797 แห่ง ปพพ.
2.การที่นายกล้าอ้างว่าการซื้อขายที่ดิน กฎหมายกำาหนดว่าต้องทำาเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนก็ต้องทำาเป็นหนังสือตามมาตรา
798 วรรคแรก ปพพ.นั้น เมื่อนายกล้ากับนายไก่ไม่ได้ตกลงทำาการเป็นตัวแทนเป็นหนังสือ สัญญาตัวแทนจึงใช้ไม่ได้นั้น มาตรา
798 มิใช่แบบของสัญญาตัวแทน สัญญาตัวแทนไม่มแี บบแต่อย่างใด เมื่อคู่สัญญาตกลงกันแม้ด้วยวาจาสัญญาตัวแทนก็เกิด
ขึน้ ผูกพันนายไก่ตัวแทน กับนายกล้าตัวการ ตามมาตรา 797 ปพพ.แล้ว ข้ออ้างของนายกล้าจึงฟังไม่ขึ้น

2. นายชมทำาหนังสือสัญญากู้ยืมเงินนางช้อยเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2540 จำานวน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย


กำาหนดชำาระภายใน 3 ปี นายชมมีปัญหาเรื่องเงินเนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดีจึงไม่ได้ชำาระดอกเบี้ยให้นางช้อยติดต่อมาตั้งแต่เริ่มกู้
ยืมเงินนางช้อย นางช้อยทวงถามให้นายชมชำาระมาโดยตลอด แต่นายชมก็ไม่เคยชำาระดอกเบี้ยเลย วันที่ 21 มกราคม 2541
นางช้อยจึงไปพบนายชมที่บ้านแล้วทำาหนังสือสัญญาตกลงกันว่า นายชมยินยอมให้นางช้อยคิดดอกเบี้ยทบต้นในหนี้ที่ค้าง
ชำาระทั้งหมด ต่อมานายชมไม่ชำาระเงินต้นและดอกเบี้ยจนถึงวันที่ 20 มกราคม 2543 ดังนี้นางช้อยจะทวงถามให้นายชมชำาระ
ดอกเบี้ยทบต้นในหนี้จำานวนดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด เพราะเหตุใด

ธงคำาตอบ
หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 655 วรรคแรก “ห้ามท่านมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำาระ แต่ทว่าเมื่อดอกเบี้ยค้างชำาระไม่น้อยกว่า 1 ปี คู่สัญญา
กู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำานวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้ แต่การตกลงเช่นนั้นต้อง
ทำาเป็นหนังสือ”
ตามปัญหาการที่นางช้อยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นในหนี้ที่นายชมค้างชำาระมาตั้งแต่เริ่มกู้ยืมกันนั้นต้องห้ามตามกฎหมาย เพราะ
ตาม ปพพ.มาตรา 655 นั้นมีหลักเกณฑ์ว่าดอกเบี้ยต้องค้างชำาระไม่น้อยกว่าปีหนึ่ง คู่สัญญาจึงจะตกลงให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้
แสดงว่าดอกเบี้ยที่ค้างชำาระตั้งแต่กู้ยืมกันในปีแรกนั้นนางช้อยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คู่สัญญาจะตกลงกันให้ดอกเบี้ยทบ
ต้นได้ต่อเมื่อนายชมค้างชำาระไม่น้อยกว่าปีหนึ่ง ดังนั้นนางช้อยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ในปีที่สอง คือ ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม
2541 เป็นต้นไป ส่วนในปีแรกต้องคิดดอกเบี้ยตามกฎหมายคือร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปีโดยไม่ทบต้น
สรุป 1. นางช้อยคิดดอกเบี้ยทบต้นในปีแรกไม่ได้ คงคิดอัตราดอกเบี้ยได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี
2. นางช้อยคิดดอกเบี้ยทบต้นในปีที่สองเป็นต้นไปได้

3. นายสมทำาสัญญาประกันภัยสินค้าในคลังสินค้าของตนกับบริษัท ทำาดีประกันภัย จำากัด จำานวน 5 ล้านบาท โดยระบุในกรม


ธรรม์ประกันภัยยกประโยชน์ให้นายส่งบุตรชายของตนโดยให้นายส่งเป็นผู้เก็บกรมธรรม์ประกันภัยไว้ ปรากฏว่าหลังทำาประกัน
ภัยแล้ว 20 วัน นำ้าได้ท่วมสินค้าในคลังสินค้าดังกล่าวเสียหายทั้งหมด นายส่งจึงได้แจ้งต่อบริษัท ทำาดีประกันภัย จำากัดว่า ตน
จะเข้าถือประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย เพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนจำานวน 5 ล้านบาท จากบริษัทฯ บริษัท ทำาดีประกันภัย
จำากัด ได้ปฏิเสธสิทธิของนายส่งโดยอ้างว่า
1) นายส่งไม่ได้เป็นผู้ทำาสัญญาประกันภัยฉบับดังกล่าว
2) นายส่งไม่ได้แสดงเจตนาต่อบริษัทฯ ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาฉบับนี้ตั้งแต่แรกที่ทำาสัญญากัน
ดังนี้ท่านเห็นว่าข้ออ้างของบริษัท ทำาดีประกันภัย จำากัด ฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำาตอบ
หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 862 วรรคสาม บัญญัติวา่ "คำาว่า“ผู้รับประโยชน์” ท่านหมายความว่า บุคคลผู้จะพึงจะได้รับค่าสินไหมทดแทน หรือรับ
จำานวนใช้ให้
วรรคสี่ อนึ่ง ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลคนหนึ่งคนเดียวกันก็ได้"
มาตรา 374 บัญญัติวา่ "ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งทำาสัญญาตกลงว่าจะชำาระหนี้แก่บุคคลภายนอกไซร้ ท่านว่าบุคคลภายนอกมีสิทธิ
ที่จะเรียกชำาระหนี้จากเจ้าหนี้โดยตรงได้
ในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอา
ประโยชน์จากสัญญานั้น"
1. ตามปัญหาการที่นายสมทำาสัญญาประกันภัยสินค้าในคลังสินค้าของตนกับบริษัท ทำาดีประกันภัย จำากัด โดยยกประโยชน์ให้
แก่นายส่งนั้น นายส่งย่อมเป็นผู้รับประโยชน์ ตามมาตรา 862 วรรคสาม และในกรณีดังกล่าวผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์
มิใช่บุคคลเดียวกันตามมาตรา 862 วรรคสี่
การที่บริษัท ทำาดีประกันภัย จำากัด ปฏิเสธสิทธิของนายส่งว่านายส่งไม่ได้เป็นผู้ทำาสัญญาฉบับดังกล่าว จึงไม่สามารถเรียกค่า
สินไหมทดแทนได้ ฟังไม่ขึ้น เพราะกรณีตามปัญหาของนายส่ง เรียกค่าสินไหมทดแทนในฐานะผู้รับประโยชน์
2. การที่นายสมทำาสัญญาประกันภัยยกประโยชน์ให้แก่นายส่งบุตรชาย เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก บุคคล
ภายนอกคือนายส่ง มีสิทธิที่จะเรียกชำาระหนี้จากลูกหนี้ คือ บริษัท ทำาดีประกันภัย จำากัดโดยตรงได้ ตามมาตรา 374 วรรคแรก
ปพพ. และการที่นายส่งได้แจ้งต่อบริษัทฯว่า จะเข้าถือประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย เมื่อนำ้าได้ท่วมคลังสินค้าดังกล่าวเสีย
หายนั้น ถือว่าสิทธิของนายส่งได้เกิดขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้คือบริษัท ทำาดีประกันภัย จำากัดว่าจะถือเอา
ประโยชน์จากสัญญานั้น แล้วตามมาตรา 374 วรรคสอง ปพพ. บริษัทจะปฏิเสธสิทธิของนายส่งว่าไม่ได้แสดงเจตนาแก่บริษัทฯ
ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาฉบับนี้ตั้งแต่แรกที่ทำาสัญญากัน ข้ออ้างของบริษัทฯ ดังกล่าวฟังไม่ขึ้น

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 2 ภาค 1/2542

1. นายทอง เป็นตัวแทนขายประกันให้กับบริษัท จงดี จำากัด ประกันภัย โดยมีข้อตกลงเรื่องบำาเหน็จตัวแทนตามธรรมเนียมของ


ธุรกิจประเภทนี้ เนื่องจากบริษัท จงดีจำากัดประกันภัยมีปัญหาด้านการเงิน จึงติดค้างค่าบำาเหน็จแก่นายทองเป็นเงิน 30,000
บาท นายดำาได้ทำาสัญญาประกันชีวิตผ่านนายทองตัวแทนของบริษัท จงดีจำากัดประกันภัย และเมื่อครบกำาหนดการชำาระเบี้ย
ประกัน นายดำาได้นำาเงินจำานวน 25,000 บาท มาชำาระให้กับนายทอง นายทองได้แจ้งบริษัทฯ ว่า ตนจำาเป็นต้องยึดเงินจำานวนนี้
ไว้ เพราะทางบริษัทฯไม่ยอมชำาระค่าบำาเหน็จที่ค้างอยู่ บริษัทฯก็ไม่วา่ กล่าวอะไรกับนายทอง แต่ได้มีหนังสือทวงถามนายดำาให้
ชำาระเบี้ยประกัน ซึ่งนายดำาก็ได้แจ้งบริษัทฯว่า ตนชำาระแล้วผ่านทางตัวแทนคือนายทอง และได้ไปทวงเงิน 25,000 บาท ดัง
กล่าวจากนายทอง โดยโต้แย้งว่า นายทองไม่มีสิทธิยึดหน่วงไว้ เพราะเป็นเงินของนายดำามิใช่เงินของบริษัทฯ เช่นนี้
1) ท่านเห็นว่า เงินจำานวน 25,000 บาทนี้ เป็นทรัพย์สินของบริษัท จงดี จำากัดประกันภัยที่นางทองสามารถยึดหน่วงไว้ได้หรือไม่
2) นายดำาต้องชำาระเบี้ยประกันให้บริษัท จงดีจำากัดประกันภัยใหม่อีกหรือไม่ หากไม่สามารถจะเรียกคืนจากนายทองได้

แนวตอบ
หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 819 บัญญัติวา่ “ ตัวแทนชอบที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินอย่างใด ๆ ของตัวการอันตกอยู่ในความครอบครองของตน เพราะ
การเป็นตัวแทนนั้นเอาไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินบรรดาค้างชำาระแก่ตนเพราะการเป็นตัวแทน”
มาตรา 820 บัญญัติวา่ “ ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอก ในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำาไป
ภายในขอบเขตอำานาจแห่งฐานตัวแทน”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายดำาชำาระเบี้ยประกันให้กับนายทอง กรรมสิทธิ์ในเงินจำานวนนี้ได้ตกเป็นของบริษัท จงดีจำากัดประกัน
ภัยแล้ว ดังนั้นนายทองจึงสามารถยึดหน่วงไว้ได้ เพราะเหตุที่บริษัทฯ ซึ่งเป็นตัวการได้ค้างชำาระบำาเหน็จตัวแทนแก่นายทอง
และเมื่อนายดำาได้ชำาระเบี้ยประกันให้กับตัวแทนของบริษัทฯ โดยถูกต้องครบถ้วนแล้ว บริษัทฯ ในฐานะตัวการก็ต้องรับผิดชอบ
ในการกระทำาของตัวแทนของตน กล่าวคือ ต้องถือว่านายดำาชำาระเบี้ยประกันให้บริษัทฯไปแล้ว จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำาระเบี้ย
ประกันใหม่แต่อย่างใด
สรุป
1. เงินจำานวน 25,000 บาท เป็นทรัพย์สินของทางบริษัทฯที่นายทองสามารถยึดเหนี่ยวไว้ได้
2. นายดำาไม่ต้องชำาระเบี้ยประกันให้กับบริษัทฯอีก

2. นายขาวกู้ยืมเงินนายเขียว 50,000 บาท โดยทำาสัญญากู้ยืมเงินกันเป็นหนังสือมีกำาหนดชำาระภายใน 3 ปี ต่อมานายขาวได้


ย้ายภูมิลำาเนาไปอยู่ต่างจังหวัด เมื่อถึงกำาหนดชำาระหนี้เงินกู้นายขาวไม่สะดวกจะเดินทางมาชำาระหนี้เงินกู้ด้วยตนเอง จึงโอน
เงินเข้าบัญชีเงินฝากของนายเขียวที่ธนาคาร ไทยนคร โดยทางโทรเลข นายเขียวได้รับชำาระหนี้ครบถ้วน แต่เห็นช่องว่างทาง
กฎหมายว่านายขาวไม่มีหลักฐานการใช้เงินแต่อย่างใด จึงฟ้องให้นายขาวใช้หนี้เงินกู้จำานวน 50,000 บาทอีก ดังนั้นนายขาว
จะมีข้อต่อสู้นายเขียวเพื่อจะได้ไม่ต้องชำาระหนี้ดังกล่าวอีกได้หรือไม่ เพียงใด

แนวตอบ
หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 653 วรรค 2 “ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำาสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิก
ถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว”
มาตรา 321 “ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชำาระหนี้อย่างอื่นแทนการชำาระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป”
ตามปัญหาการกู้ยืมเงินระหว่างนายขาวและนายเขียวเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ การนำาสืบการใช้เงินก็ต้องมี
หลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือได้มีการเวนคืนหลักฐานการกู้ยืมเงิน หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสาร
นั้นตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรค 2 จึงจะต่อสู้นายเขียวผู้ให้ยืมได้ แต่การที่นายขาวได้โอนเงินทางโทรเลขเข้าบัญชีเงินฝากของ
นายเขียวที่ธนาคาร ไทยนครนั้นถือเป็นการชำาระหนี้อย่างอื่นตาม ปพพ. มาตรา 321 ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 653 วรรค 2
เมื่อนายเขียวในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ถือว่านายขาวได้ชำาระหนี้เงินกู้ให้นายเขียวแล้ว นายขาวจึงไม่ต้องปฏิบัติตาม
มาตรา 653 วรรค 2 ดังนั้นนายขาวสามารถต่อสู้นายเขียวได้โดยไม่ต้องชำาระหนี้ดังกล่าวอีก (ฎีกา 2965/2531)

3. นายไสวขับรถยนต์ชนรถของนายสนองเสียหาย บริษัท จักรินทร์ประกันภัย จำากัด ที่นายสนองทำาประกันภัยรถยนต์ของตน


ไว้ได้ซ่อมแซมรถยนต์ของนายสนองเป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 บาท บริษัทฯจึงฟ้องเรียกเงินจากนายไสวในฐานะละเมิด ดังนี้
บริษัทจักรินทร์ประกันภัย จำากัด มีสิทธิฟ้องได้หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า นายสนองยังไม่ได้ยื่นฟ้องนายไสวแต่อย่างใด

แนวตอบ
หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 880 “ ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำาของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไป
เป็นจำานวนเพียงใด ผู้รับประกันก็ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียง
นั้น”
กรณีตามปัญหา เมื่อบริษัท จักรินทร์ประกันภัย จำากัด ผู้รับประกันได้ซ่อมรถยนต์ให้แก่นายสนองผู้เสียหายแล้ว ย่อมถือว่าได้
ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยตามกฎหมาย จึงฟ้องเรียกเงินจากนายไสวในฐานละเมิดได้เป็นจำานวน 100,000
บาท แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายสนองยังไม่ได้ยื่นฟ้องนายไสวแต่อย่างใด (ฎีกา 1006/2503)

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 2 ภาค 1/2541

1.สมทรงเป็นเจ้าของร้านขายข้าวสาร แต่งตั้งสมหญิงเป็นตัวแทนทำาหน้าที่ผู้จัดการร้าน โดนมีคำาสั่งให้สมหญิงขายข้าวสารให้


แก่ลูกค้าเงินสดเท่านั้น สมนึกเป็นเพื่อนสนิทของสมหญิงได้มาขอซื้อข้าวสารจากร้านด้วยเงินเขื่อจำานวน 5,000 บาท และสม
หญิงก็ได้ขายให้สมนึกไป ต่อมาถึงกำาหนดชำาระหนี้ สมทรงได้ทำาหนังสือทวงถามค่าข้าวสารจากสมนึก แต่สมนึกก็ไม่ยอมชำาระ
ให้ สมทรงจึงเรียกร้องเอาจากสมหญิง ดังนี้ สมหญิงจะมีข้อต่อสู้เพื่อขอไม่รับผิดต่อสมทรงอย่างไรบ้างหรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวตอบ
หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 812 บัญญัติวา่ “ ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใด ๆ เพราะความประมาทเลินเล่อของตัวแทนก็ดี เพราะไม่ทำาการเป็น
ตัวแทนก็ดี หรือเพราะทำาการโดยปราศจากอำานาจหรือนอกเหนืออำานาจก็ดี ท่านว่าตัวแทนจะต้องรับผิด”
มาตรา 823 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา่ “ถ้าตัวแทนกระทำาการอันใดอันหนึ่งอันปราศจากอำานาจก็ดีหรือทำานอกเหนือขอบอำานาจก็ดี
ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการ เว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น…”
ตามปัญหา การที่สมหญิงขายข้าวสารแก่สมนึกด้วยเงินเชื่อไปนั้น เป็นการที่ตัวแทนกระทำาการโดยนอกเหนือขอบอำานาจ
เนื่องจากสมทรงตัวการได้ให้ขายข้าวสารแก่ลูกค้าด้วยเงินสดเท่านั้น ต่อมาเมื่อสมทรงตัวการได้ทำาหนังสือทวงถามค่าข้าวสาร
จากสมนึกนั้นย่อมเป็นการให้สัตยาบันแก่การที่สมหญิงตัวแทนทำาการนอกเหนือขอบอำานาจ เป็นผลให้การซื้อขายข้าวสารด้วย
เงินเชื่อนั้นผูกพันสมทรงตัวการ ตาม ปพพ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามไม่เป็นผลให้สมหญิงตัวแทนหลุดพ้นจาก
ความรับผิดที่มีต่อสมทรงตัวการอันเนื่องมาจากการกระทำาดังกล่าวที่ทำาให้สมทรงตัวการได้รับความเสียหายจากการที่ไม่ได้รับ
ชำาระหนี้จากสมนึกเป็นเงินจำานวน 5,000 บาท ตาม ปพพ. มาตรา 812 ดังนั้นสมหญิงจึงต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวต่อสมทรง (
นัยคำาพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2512,1394/2526)
สรุป สมหญิงไม่มีข้อต่อสู้ใดเพื่อไม่ขอรับผิดต่อสมทรง

2. สุนันท์ทำาหนังสือกู้ยืมเงินสุนัยไป 800,000 บาทโดยตกลงให้มีการคิดดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อเดือน เมื่อสุนันท์ไม่ชำาระหนี้เงิน


กูส้ ุนัยจึงมีจดหมายทวงถามให้ชำาระหนี้ สุนันท์ตอบจดหมายว่าไม่เคยกู้ยืมเงินสุนัยไปและลงชื่อสุนันท์ในจดหมาย ดังนั้น สุนัย
จะฟ้องเรียกหนี้เงินกู้จำานวน 800,000 บาท และเรียกดอกเบี้ยจากสุนันท์ได้หรือไม่ เพียงใด

แนวตอบ
หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 653 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา่ “การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่าง
หนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำาคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่…”
มาตรา 654 บัญญัติวา่ ”ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำาหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมา
เป็นร้อยละสิบห้าต่อปี”
ตามปัญหา สุนัยฟ้องเรียกต้นเงิน 800,000 บาทจากสุนันท์ได้ เนื่องจากการกู้ยืมรายนี้ได้ทำาหลักฐานการกู้ยืมเงิน คือ สัญญากู้
ยืมเงินเป็นหนังสือไว้ ส่วนการที่สุนันท์ตอบจดหมายว่าไม่เคยกู้เงินสุนัยไป ก็ไม่มีผลให้สัญญากู้ยืมเงินที่ทำาไว้เสียหายไปแต่
อย่างไร สุนัยจึงสามารถฟ้องร้องเรียกต้นเงินจากสุนันท์ได้
ส่วนดอกเบี้ยที่คิดในอัตราร้อยละ 18 ต่อเดือนนั้น เกินอัตราที่กฎหมายกำาหนด ตามมาตรา 654 ดอกเบี้ยตามสัญญาจึงเป็น
โมฆะทั้งหมด ดังนั้น ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยจึงเรียกไม่ได้ แต่สุนัยสามารถเรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับตั้งแต่ผิดนัด
เป็นต้นไปตามมาตรา 224
สรุป สุนัยฟ้องเรียกเงินกู้จำานวน 800,000 บาทได้ และเรียกดอกเบี้ยจากสุนันท์นับตั้งแต่วันที่ผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี

3. สายัณห์เข้าใจว่าบ้านของตนมีราคา 5,000,000 บาท จึงได้ทำาสัญญาประกันวินาศภัยบ้านไว้กับบริษัทยามเย็นประกันภัย


เป็นจำานวน 5,000,000 บาท ต่อมาบ้านถูกไฟไหม้ สายัณห์เรียกร้องให้บริษัทยามเย็นฯ ชดใช้ค่าสินไหม จำานวน 5,000,000
บาท ให้แก่ตน ดังนี้ บริษัทฯ ต้องจ่ายเงินจำานวน 5,000 ,000 บาท ตามที่สายัณห์ได้ทำาสัญญาไว้หรือไม่ ถ้าหากบริษัทฯ พิสูจน์
ได้ว่าบ้านของสายัณห์มีราคาเพียง 2,000,000 บาท เท่านั้น และสายัณห์มีสิทธิเรียกร้องบริษัทอย่างไรบ้าง

แนวตอบ
หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 863 บัญญัติวา่ “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อม
ไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”
มาตรา 874 บัญญัติวา่ “ถ้าคู่สัญญาได้กำาหนดราคาแห่งมูลประกันภัยไว้ ผู้รับประกันภัยชอบทีจ่ ะได้ลดจำานวนค่าสินไหม
ทดแทน ก็แต่เมื่อพิสูจน์ได้ว่าราคาแห่งมูลประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้นั้นเป็นจำานวนสูงเกินไปหนัก และคืนจำานวนเบี้ย
ประกันภัยให้ตามส่วนกับทั้งดอกเบี้ยด้วย”
ตามปัญหา การเอาประกันภัยมากกว่าส่วนได้เสียที่ผู้เอาประกันภัยมีอยู่ ไม่มีผลกระทบถึงความสมบูรณ์ของสัญญาประกันแต่
อย่างใด ตราบที่ผู้เอาประกันภัยมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยแล้วสัญญาย่อมผูกพันกันตามมาตรา 863
ตามทีส่ ายัณห์ทำาสัญญาประกันภัยบ้านไว้จำานวน 5 ล้านบาทโดยเข้าใจว่าบ้านของตนมีราคา 5 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าเมื่อ
บริษัทฯ พิสูจน์ได้ว่าราคาบ้านที่เอาประกันภัยเป็นจำานวนสูงเกินไปหนักคือราคาเพียง 2 ล้านบาท บริษัทก็สามารถลดจำานวน
ค่าสินไหมได้ และคืนจำานวนเบี้ยประกันภัยให้กับสายัณห์ตามส่วนกับทั้งดอกเบี้ย
ดังนั้นสายัณห์มีสิทธิให้บริษัทฯ คืนเบี้ยประกันให้ตนตามส่วนพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามาตรา 874

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 2 สอบซ่อม ภาค 1/2540

1. สำาลีเป็นเจ้าของร้านขายอะไหล่รถยนต์ มอบหมายให้สำารวยเป็นผู้จัดการร้านและอนุญาตให้สำารวยตั้งสำานวนเป็นตัวแทน
ช่วงได้ หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ขณะที่สำาลีไปทำาธุรกิจต่างจังหวัด สำารวยจึงตั้งสำานวนและสำาคัญเป็นตัวแทนช่วง โดยที่สำารวย
ทราบดีว่าสำานวนเคยถูกศาลพิพากษาให้จำาคุกในคดีความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์มาหลายครั้งแล้วไม่แจ้งให้สำาลีทราบ ปรากฏว่า
ต่อมาสำานวนได้ยักยอกเงินของร้านไปเป็นจำานวน 5,000 บาท ดังนี้ การตั้งตัวแทนช่วงของนายสำารวยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
และสำาลีจะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายดังกล่าวจากสำารวยได้หรือไม่ อย่างไร

แนวตอบ
หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 797 บัญญัติวา่ “อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือ สัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำานาจทำาการแทนบุคคลอีก
คนหนึ่งเรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำาการดั่งนั้น
อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยแต่งตั้งแสดงออกชัดหรือเป็นโดยปริยายก็ย่อมได้”
มาตรา 808 บัญญัติวา่ “ตัวแทนต้องทำาการด้วยตนเอง เว้นแต่จะมีอำานาจใช้ตัวแทนช่วงทำาการได้”
มาตรา 813 บัญญัติวา่ “ตัวแทนผู้ใดตั้งตัวแทนช่วงตามที่ตัวการระบุให้ตั้ง ท่านว่าตัวแทนผู้นั้นจะต้องรับผิดเพียงแต่ในกรณีที่
ตนได้รู้วา่ ตัวแทนช่วงนั้นเป็นผู้ที่ไม่เหมาะแก่การหรือเป็นผู้ที่ไม่สมควรไว้วางใจแล้วและมิได้แจ้งความนั้นให้ตัวการทราบหรือ
มิได้เลิกถอนตัวแทนช่วงนั้นเสียเอง”
ตามปัญหา สำารวยผู้จัดการร้านอะไหล่รถยนต์มีอำานาจกระทำาการแทนสำาลีจึงเป็นตัวแทนของสำาลีตาม ปพพ. มาตรา 797
สำารวยจะตั้งสำานวนและสำาคัญเป็นตัวแทนช่วง ซึ่งตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า สำาลีตัวการอนุญาตให้ตั้งสำานวนเป็นตัวแทนช่วงได้
แต่หาได้อนุญาตให้ตั้งสำาคัญเป็นตัวแทนช่วงด้วยไม่ ดังนั้นสำารวยตัวแทนจึงตั้งสำานวนเป็นตัวแทนช่วงได้ แต่จะตั้งสำาคัญเป็น
ตัวแทนช่วงไม่ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 808
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสำารวยตัวแทนทราบว่าสำานวนเคยถูกศาลพิพากษาให้จำาคุกในคดีความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์มาหลายครั้ง
แล้วและไม่แจ้งให้สำาลีตัวการทราบถึงการที่สำานวนตัวแทนช่วงซึ่งสำาลีตัวการอนุญาตให้ตั้งนั้นเป็นผู้ที่ไม่สมควรไว้วางใจ แล้ว
ต่อมาปรากฏว่าสำานวนตัวแทนช่วงได้ยักยอกเงินของร้านไปจำานวน 5,000 บาท เช่นนี้สำารวยตัวแทนจึงต้องรับผิดต่อสำาลี
ตัวการในกรณีดังกล่าวตาม ปพพ. มาตรา 813
สรุป 1. การแต่งตั้งสำานวนเป็นตัวแทนช่วงของสำารวยชอบด้วยกฎหมาย แต่การแต่งตั้งสำาคัญเป็นตัวแทนช่วงของสำารวยไม่ชอบ
ด้วยกฎหมายตาม ปพพ. มาตรา 808
2.สำาลีตัวการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายดังกล่าวได้จากสำารวยตัวแทนได้ตามปพพ. มาตรา 813

2. ตาสอนกู้เงินยายมา จำานวน 40 บาท โดยทำาสัญญาเงินกู้กันเป็นหนังสือมอบให้ยายมาเก็บรักษาไว้ ต่อมาเมื่อหนี้ถึงกำาหนด


ชำาระ ตาสอนได้นำาเงินจำานวนดังกล่าวไปชำาระหนี้ให้แก่ยายมา โดยมีตาสินเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ แต่ไม่ได้ขอสัญญากู้คืน ไม่ได้
แทงเพิกถอนในสัญญากู้และไม่ได้ทำาหลักฐานการชำาระเงินกันเป็นหนังสือแต่อย่างไร ต่อมาตาสอนได้รับหนังสือทวงถามจาก
ทนายความของยายมาให้ชำาระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ดังกล่าว มิฉะนั้นจะฟ้องศาล ดังนี้ หากตาสอนมาปรึกษาท่านในฐานะที่
เป็นนักกฎหมาย ท่านจะให้คำาปรึกษาอย่างไร

แนวตอบ
หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 653 วรรค 2 “ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำาสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิก
ถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว”
ตามปัญหา การกู้ยืมเงินระหว่างตาสอนกับยายมาได้ทำาสัญญากู้ยืมกันเป็นหนังสือ ซึ่งสัญญากู้ยืมดังกล่าวนั้นก็เป็นหลักฐาน
เป็นหนังสือ ดังนั้นการนำาสืบการใช้เงินก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือได้เวนคืนสัญญากู้ยืมเงิน
นั้นแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในสัญญากู้ยืมดังกล่าวแล้วนั้นตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรคสอง แม้วา่ จำานวนเงินที่กู้ยืมจะไม่
เกินกว่า 50 บาทก็ตาม แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าตาสอนได้ไปชำาระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่ยายมาโดยมิได้ขอสัญญากู้ยืมคืน
ไม่ได้แทงเพิกถอนในสัญญากู้ยืมนั้นและไม่ได้ทำาสัญญาการชำาระเงินกันเป็นหนังสือแต่อย่างใด คงมีตาสินเป็นผู้เห็นเหตุการณ์
เท่านั้น เช่นนี้แล้ว ตาสอนจะนำาสืบการใช้เงินดังกล่าวไม่ได้
สรุป ข้าพเจ้าในฐานะนักกฎหมายจะให้คำาปรึกษาแก่ตาสอนว่าตาสอนจะนำาตาสินซึ่งเป็นพยานบุคคลมาสืบถึงการใช้เงินใน
จำานวนดังกล่าวมิได้ ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรคสอง และจะต้องชำาระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่ยายมา มิฉะนั้นจะถูกฟ้องเป็น
คดีต่อศาล

3. สันต์เป็นโรคถุงลมโป่งพองรักษาไม่หายขาด แต่ได้แจ้งกับแพทย์ของบริษัทส่องแสงประกันชีวิตจำากัด ว่าไม่เคยเป็นโรคใด ๆ


มาก่อน เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายสันต์แล้ว เห็นว่ามีสุขภาพปกติ จึงรายงานต่อบริษัทส่องแสงว่าควรรับประกันชีวิต บริษัทฯจึง
ตกลงรับประกันชีวิตสันต์โดยพิจารณาจากความเห็นแพทย์กับคำาขอเอาประกันชีวิต ต่อมาบริษัทฯทราบว่าสันต์เป็นโรคถุงลม
โป่งพอง จึงบอกล้างโมฆียะดังกล่าว สันต์อ้างว่าบริษัทฯประมาทเลินเล่อในการรับประกันภัยจะบอกล้างโมฆียะกรรมไม่ได้
ดังนี้ ท่านเห็นว่าข้อต่อสู้ของสันต์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
แนวตอบ
หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 865 วรรคแรก บัญญัติว่า “ถ้าในเวลาทำาสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้
เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัย
ให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือบอกปัดไม่ยอมทำาสัญญา หรือรู้อยู่แล้วว่าแถลงข้อความอันเป็นเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้น
เป็นโมฆียะ”
มาตรา 866 บัญญัติวา่ “ถ้าผู้รับประกันภัยได้รู้ข้อความจริงดั่งกล่าวในมาตรา 865 นั้นก็ดี หรือรู้อยู่แล้วว่าข้อแถลงเป็นความ
เท็จก็ดี หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากใช้ความระมัดระวังดั่งพึงจะคาดหมายได้แต่วิญญูชนก็ดี ท่านให้ฟังว่าสัญญานั้นเป็นอัน
สมบูรณ์”
ตามปัญหา การที่สันต์เป็นโรคถุงลมโป่งพองเรื้อรังรักษาไม่หาย แจ้งต่อแพทย์ของบริษัทฯว่าไม่เคยเป็นโรคใด ๆ มาก่อนการ
ตรวจร่างกายในการขอเข้าทำาประกันภัย ถือว่า สันต์ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงเกี่ยวกับโรคที่เป็น ซึ่งเรื่องนี้มีความสำาคัญที่
บริษัทต้องทราบเพื่อจะนำาไปประกอบการวินิจฉัยว่าจะรับประกันชีวิตผู้เอาประกันหรือไม่ สัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆียะตา
มาตรา 865
การที่สันต์อ้างว่าเป็นการประมาทเลินเล่อของแพทย์ผู้ตรวจที่ไม่ตรวจร่างกายให้ละเอียด สัญญาประกันชีวิตสมบูรณ์นั้นไม่ได้
มาตรา 866 เพราะการตรวจโรคถุงลมโป่งพองโดยวิธีธรรมดาจะทำาได้ยากนอกจากฉายเอ็กซ์เรย์หรือใช้สีฉีดเข้าไปในปอดแล้ว
ฉายเอ็กซ์เรย์ แต่เมื่อสันต์ปกปิดมิได้แจ้งเรื่องที่เจ็บป่วยให้แพทย์ผู้ตรวจสุขภาพทราบ ก็ไม่มีเหตุที่แพทย์จะต้องฉายเอ็กซ์เรย์
เพื่อตรวจถุงลมของสันต์ การที่บริษัทประกันภัยโดยพิจารณาจากรายงานของแพทย์ประกอบกับคำาขอเอาประกันชีวิต จะฟังว่า
บริษัทประมาทเลินเล่อไม่ได้เพราะหน้าที่เปิดเผยความจริงเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันชีวิต
สรุป ข้อต่อสู้ของสันต์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 2 สอบซ่อม ภาค 2/2540

1. นายจันทร์ตั้งนายพุธเป็นตัวแทนทำาหน้าที่จัดการผลประโยชน์ของนายจันทร์โดยไม่มีบำาเหน็จ และให้มีอำานาจตั้งตัวแทนช่วง
ได้ นายพุธได้ตั้งนายศุกร์เป็นตัวแทนช่วงให้ไปเก็บเงินค่าเช่าจากนางอังคารลูกหนี้ของนายจันทร์ ซึ่งโดยปกตินายพุธก็เคยใช้
นายศุกร์ไปเก็บเงินในกิจการส่วนตัวของนายพุธเสมอมา ปรากฏว่าเมื่อนายศุกร์เก็บเงินจากนางอังคารได้แล้วไม่ยอมส่งมอบให้
แก่นายพุธและได้หลบหน้าไป ดังนี้
ก.ใครมีอำานาจฟ้องเรียกเงินคืนจากนายศุกร์ได้บ้าง
ข. นายจันทร์จะฟ้องเรียกเงินจากนายพุธโดยอ้างว่านายพุธตั้งตัวแทนช่วงโดยประมาทเลินเล่อได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

แนวตอบ
หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 807 บัญญัติวา่ “ตัวแทนต้องทำาการตามคำาสั่งแสดงออกชัดแจ้งหรือโดยปริยายของตัวการ เมื่อไม่มีคำาสั่งเช่นนั้น ก็ต้อง
ดำาเนินตามทางที่เคยทำากันมาในกิจการค้าขายอันเขาให้ตนทำาอยู่นั้น
อนึ่งบทบัญญัติมาตรา 659 ว่าด้วยการฝากทรัพย์นั้น ท่านให้นำามาใช้โดยอนุโลมตามควร”
มาตรา 814 บัญญัติวา่ “ตัวแทนช่วงย่อมรับผิดโดยตรงต่อตัวการฉันใดกลับกันก็ฉันนั้น”
ตามปัญหา ก. นายพุธมีอำานาจตั้งนายศุกร์เป็นตัวแทนได้ตามที่นายจันทร์ได้ให้อำานาจไว้ ดังนั้นนายจันทร์ตัวการเท่านั้นที่มี
อำานาจฟ้องเรียกเงินคืนจากนายศุกร์ตัวแทนช่วง เพราะตัวแทนช่วงย่อมต้องรับผิดต่อตังการโดยตรงตามปพพ.มาตรา 814
ข.นายพุธเป็นตัวแทนไม่มีบำาเหน็จ ดังนั้นความระมัดระวังในการจัดทำากิจการย่อมใช้ในระดับตนเองเหมือนเช่นเคยประพฤติใน
กิจการของตัวเอง ตาม ปพพ. มาตรา 807 ที่ให้นำาบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องฝากทรัพย์มาใช้บังคับ ซึ่งโดยปกติแล้วนายพุธก็เคยใช้
นายศุกร์ให้ไปเก็บเงินในกิจการของตนเองเสมอมา ดังนั้นการที่นายพุธตั้งนายศุกร์เป็นตัวแทนช่วงไปเก็บเงินจากนางอังคารจึง
เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนตามกฎหมายแล้ว ไม่เป็นการประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด ดังนั้นนายพุธไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่
นายจันทร์
นายจันทร์จึงฟ้องเรียกเงินจากนายพุธไม่ได้

2. สมหมายกู้ยืมเงินนายสมบูรณ์จำานวน 400,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 15 % ต่อปี โดยมีข้อสัญญาเป็นหนังสือว่าให้ผู้กู้ส่งดอก


เบี้ยเป็นรายเดือน หากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำาระเดือนใด ผูใ้ ห้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ดอกเบี้ยค้างชำาระถึง 1
ปี ดังนั้นเมื่อสมหมายไม่ได้ผ่อนชำาระหนี้เป็นเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่วันทำาสัญญากู้ยืมเงินกัน สมบูรณ์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจาก
ดอกเบี้ยที่ค้างชำาระในช่วง 6 เดือน ดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

แนวตอบ
หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 655 วรรคแรก “ห้ามท่านมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำาระ แต่ทว่าเมื่อดอกเบี้ยค้างชำาระไม่น้อยกว่าปีหนึ่ง คู่
สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำานวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้ แต่การตกลงเช่น
นั้นต้องทำาเป็นหนังสือ”
ตามปัญหา สัญญากู้ที่ตกลงให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือน หากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำาระเดือนใด ผู้ให้กู้มสี ิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ทันที
โดยไม่ต้องรอให้ดอกเบี้ยค้างชำาระไม่น้อยกว่าปีหนึ่งก่อนนั้น ฝ่าฝืนมาตรา 655 วรรคแรก จึงเป็นโมฆะ ดังนั้นสมบูรณ์ไม่
สามารถคิดดอกเบี้ยทบต้นในช่วง 6 เดือน ที่สมหมายค้างชำาระได้ เนื่องจากดอกเบี้ยค้างชำาระน้อยกว่า 1 ปี แม้จะมีการตกลง
ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นหนังสือก็ตาม

3. เทพทำาสัญญาประกันวินาศภัยรถยนต์ของตนไว้กับบริษัทเพียงฟ้าจำากัดในวงเงิน 500,000 บาท ต่อมาเซียนคนขับรถของ


เทพขับรถยนต์คันดังกล่าวด้วยความประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ของนางฟ้าเสียหายทั้งคัน นางฟ้าจึงเรียกร้องให้บริษัทเพียงฟ้า
จำากัด ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตนจำานวน 800,000 บาท เช่นนี้
1. บริษัทเพียงฟ้า จำากัด จะไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่นางฟ้าโดยอ้างว่านางฟ้าต้องไปเรียกร้องเอาจากเทพผู้เอาประกันภัย
ก่อน
2. หากกรณีดังกล่าว นางฟ้าฟ้องบริษัทเพียงฟ้า โดยเรียกเทพเข้ามาในคดีด้วย และศาลได้พิพากษาให้บริษัทเพียงฟ้า จำากัด
ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นางฟ้าเป็นเงินจำานวน 500,000 บาท แล้ว ส่วนอีก 300,000 บาท บริษัทเพียงฟ้าจำากัด จะให้นางฟ้าไป
เรียกร้องเอาจากเทพผู้เอาประกันเอง
ดังนี้ ท่านเห็นว่าบริษัทเพียงฟ้า จำากัด จะกระทำาได้เพียงใด เพราะเหตุใด

แนวตอบ
หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 887 บัญญัติวา่ “อันว่าประกันภัยคำ้าจุนนั้น คือสัญญาประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนใน
นามของผู้เอาประกันเพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบ
บุคคลผู้เสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันโดยตรงแต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นว่านี้
หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำานวนอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตามสัญญานั้นได้ไม่ ในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับ
ประกันภัยนั้น ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วย
มาตรา 888 บัญญัติวา่ “ถ้าค่าสินไหมทดแทนอันผู้รับประกันภัยได้ใช้ไปโดยคำาพิพากษานั้นยังไม่ได้คุ้มค่าวินาศภัยเต็มจำานวน
ไซร้ ท่านว่าผู้เอาประกันภัยก็ยังคงต้องรับใช้ตามจำานวนที่ยังขาด เว้นไว้แต่บุคคลผู้ต้องเสียหายจะได้ละเลยเสียไม่เรียกเอาตัวผู้
เอาประกันภัยเข้ามาสู้คดีด้วยดังกล่าวไว้ในมาตราก่อน”
วินิจฉัย (ผูพ้ ิมพ์วินิจฉัยเอง เพราะข้อสอบช่วงนีข้ าดหายไป ผู้อ่านกรุณาตรวจสอบความถูกต้องด้วย)
1. ตามปัญหา การที่บริษัทเพียงฟ้า จำากัด จะไม่ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นางฟ้าโดยอ้างว่า ต้องไปเรียกร้องเอาเทพผู้
เอาประกันภัยก่อนนั้นทำาไม่ได้ เนื่องจากความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อบุคคลภายนอกมีความสัมพันธ์สืบเนื่องมาขากความ
รับผิดของผู้เอาประกัน และถือว่าเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาประกันภัยคำ้าจุน ซึ่งเป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกโดยผลของ
กฎหมาย บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายจึงสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยได้โดยตรง ตาม
ปพพ.มาตรา 887 วรรคสอง
สรุป บริษัทเพียงฟ้า จำากัดต้องชดใช้ค่าเสียหายให้นางฟ้าโดยไม่ต้องให้นางฟ้าไปเรียกร้องเอาจากดุสิตผู้เอาประกันภัยก่อน
2. ตามปัญหาการที่ ศาลพิพากษาให้บริษัทเพียงฟ้า จำากัด ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นางฟ้าเป็นจำานวนเงิน 500,000 บาท
แล้ว ส่วนอีก 300,000 บาทบริษัทเพียงฟ้า จำากัด จะให้นางฟ้าไปเรียกร้องเอาจากเทพผู้เอาประกันภัยเอง นั้นชอบด้วย
กฎหมาย ปพพ.มาตรา 888 เนื่องจากเทพทำาสัญญาประกันภัยไว้กับทางบริษัทฯในวงเงิน 500,000 บาท
ดังนั้น บริษัทเพียงฟ้า จำากัด จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับนางฟ้าเป็นจำานวนเงิน 500,000 บาท และเนื่องจากนางฟ้า
เรียกเทพเข้ามาในคดีด้วย จึงสามารถเรียกค่าสินไหมที่ยังไม่ครบตามจำานวนที่เสียหายจริง คือ อีก 300,000 บาทได้จากเทพ
ตามปพพ.มาตรา 887 และ 888

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 2

1. คลองกู้เงินทะเลไป 2 แสนบาท ในขณะเดียวกันแม่นำ้าก็เป็นลูกหนี้คลองค่ารับเหมาก่อสร้าง เป็นเงิน 6 หมื่นบาท ต่อมาคลอง


กลายเป็นบุคคลที่มีหนีส้ ินล้นพ้นตัว ไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำาระหนี้ ดังนี้ ทะเลมาปรึกษาท่านเพื่อจะหาทางให้คลองชำาระหนี้
ท่านจะให้คำาปรึกษาแก่ทะเลอย่างไร

เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ. มาตรา 233 บัญญัติวา่ “ถ้าลูกหนี้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ต้อง
เสียประโยชน์ เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนลูกหนี้ เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้ เว้นแต่ในข้อ
ที่เป็นการของลูกหนี้ส่วนตัวโดยแท้”
ปพพ. มาตรา 234 บัญญัติวา่ “เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นั้นจะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้มาในคดีนั้นด้วย”
วินิจฉัย
กรณีนี้เห็นได้ว่าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินที่จะชำาระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพราะคลองลูกหนี้เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนั้นวิธีที่เจ้า
หนี้จะสามารถรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาเพื่อชำาระหนี้แก่ตนได้นั้น คือต้องให้คลองนั้นฟ้องเรียกเงินค่ารับเหมาก่อสร้างจาก
แม่นำ้าซึ่งเป็นลูกหนี้ของตนเสียก่อน
หากคลองนั้นเพิกเฉยหรือขัดขืนไม่ยอมที่จะบังคับชำาระหนี้ค่ารับเหมาก่อสร้างจากแม่นำ้าแล้ว ทะเลสามารถที่ใช้สิทธิเรียกร้อง
ของลูกหนี้คือ คลองนั้นฟ้องแม่นำ้าได้ในนามของตนเอง ตามนัยมาตรา 233 เพราะการที่คลองไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องของตนนั้น
ทำาให้ทะเลซึ่งเป็นเจ้าหนี้นั้นเสียประโยชน์ เพราะคลองไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำาระหนี้ได้
ในการฟ้องคดีโดยใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นี้ ทะเลต้องขอหมายเรียกให้คลองลูกหนี้ของตนเข้า มาในคดีนี้ด้วยตามนัย มาตรา
234 ทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีนี้มีผลผูกพัน คลองซึ่งจะปฏิเสธไม่รับรู้ผลของคดีนี้ไม่ได้
ดังนั้นจึงแนะนำาให้ทะเลใช้สิทธิเรียกร้องของคลองในนามของตนเองฟ้องแม่นำ้าให้ชำาระหนี้และขอหมายเรียกคลองเข้ามาในคดี
ด้วย

2. นายโดดลักรถยนต์นั่งของนายทิพย์ไป นายทิพย์จึงไม่มีรถใช้ต้องไปเช่ารถของบุคคลอื่นใช้ ขณะเดียวกันนายโดดก็นำารถของ


นายทิพย์ที่ตนลักมานั้นไปใช้ และขับรถชนเสาไฟฟ้าข้างทางโดยอุบัติเหตุ รถเสียหายยับเยินทั้งคัน ดังนี้ นายโดดต้องชดใช้ค่า
เสียหายในการที่นายทิพย์ต้องไปเช่ารถบุคคลอื่นใช้และที่รถพังยับเยินโดยอุบัติเหตุให้นายทิพย์หรือไม่

เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ. มาตรา 420 บัญญัติวา่ “ผู้ใดจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ทำาต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่
ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างอื่นอย่างใดก็ดีท่านว่าผู้นั้นทำาละเมิดจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
เพื่อการนั้น”
ปพพ. มาตรา 439 บัญญัติวา่ “บุคคลผู้จำาต้องคืนทรัพย์ อันผู้อื่นต้องเสียไปเพราะละเมิดแห่งตนนั้น ยังต้องรับผิดชอบตลอดถึง
การที่ทรัพย์นั้นทำาลายลงโดยอุบัติเหตุ หรือการคืนทรัพย์ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างอื่นโดยอุบัติเหตุหรือทรัพย์นั้นเสื่อมลง
โดยอุบัติเหตุนั้นด้วย…”
วินิจฉัย
จากการที่นายโดดลักรถยนต์นั่งของนายทิพย์ไปนั้น เป็นการกระทำาละเมิดต่อนายทิพย์ เพราะการลักรถยนต์นั้นเป็นการจงใจ
เอา ทรัพย์ของผู้อื่นไป โดยผิดกฎหมายจึงทำาให้นายทิพย์เสียหาย เพราะนายทิพย์ไม่มีรถใช้จึงต้องไปเช่ารถของบุคคลอื่นใช้
นายโดดจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายทิพย์เป็นค่าเสียหาย เพราะการที่นายทิพย์ต้องไปเช่ารถคนอื่น เป็นผลโดยตรง
จากการที่นายโดดลักรถยนต์ไปตามนัยมาตรา 420
การที่นายโดดขับรถไปชนเสาไฟฟ้าข้างทางโดยอุบัติเหตุ รถเสียหายยับเยินทั้งคันนั้นก็เป็นกรณีซึ่งทรัพย์นั้นทำาลายลงโดย
อุบัติเหตุ แม้นายโดดจะไม่ได้ขับรถโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม นายโดดก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายทิพย์
ตามนัย มาตรา 439 เพระนายโดดมีหน้าที่ต้องคืนรถที่ตนได้ขโมยมาโดยละเมิดจึงต้องรับผิดแม้วา่ เหตุจะเกิดจากอุบัติเหตุ
ก็ตาม

3. นายแดงเจ้าของร้านค้าไม่อยู่ เด็กชายน้อยอายุ 14 ปี ผูเ้ ยาว์ซึ่งเป็นเด็กซุกซน เข้าจัดการร้านโดยตั้งใจทำาแทนนายแดงและ


โดยที่นายแดงมิได้ว่าขานวานใช้ โดยปราศจากความระมัดระวัง เด็กชายน้อยทำาให้จานที่วางขายแตกไปหลายใบ นอกจากนี้ยัง
ขายผงซักฟอกตำ่ากว่าราคาที่กำาหนดไว้โดยรู้ดีวา่ ต้องขายในราคาเท่าใด ดังนี้เด็ก ชายน้อยต้องรับผิดต่อนายแดงเจ้าของร้านใน
การที่ทำาให้จานแตกหรือไม่ และยังต้องรับผิดในราคาผงซักฟอกที่ยังขาดไปหรือไม่
เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ. มาตรา 420 บัญญัติวา่ “ผู้ใดจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ทำาต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงทรัพย์สินหรือ
สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ผู้นั้นทำาละเมิดจำาต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
ปพพ. มาตรา 429 บัญญัติวา่ “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถ เพราะเหตุเป็นผู้เยาว์ ก็ต้องรับผิดในผลที่ตนทำาละเมิด…”
วินิจฉัย
ตามปัญหา การที่เด็กชายน้อยซุกซนเข้าไปจัดการร้านโดยปราศจากความระมัดระวังทำาให้จานที่วางขายแตกไปหลายใบนั้น
เน้นได้วา่ เด็กชายน้อยนั้น กระทำาโดยประมาทเลินเล่อ โดยทำาให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของนายแดง คือ จานที่วางขาย
อยู่หลายใบ เด็กชายน้อยจึงกระทำาละเมิดต่อนายแดง
นอกจากนี้เด็กชายน้อยยังขายผงซักฟอกตำ่ากว่าราคาที่กำาหนดไว้ โดยรู้ดีว่าต้องขายในราคาเท่ าใด จึงเป็นการที่เด็กชายน้อย
กระทำาโดยจงใจโดยทำาให้เกิดความเสียหายต่อนายแดง เพราะขายตำ่ากว่าราคาทำาให้นายแดงได้เงินน้อยลง เด็กชายน้อยจึง
กระทำาละเมิดต่อนายแดง (มาตรา 420)
เด็กชายน้อยอายุ 14 ปี เป็นผู้เยาว์จริง แต่วัยของเด็กชายน้อยนั้นสามารถที่จะรู้จักผิดชอบในการกระทำาของตนได้แล้ว แม้เด็ก
ชายน้อยจะเป็นผู้เยาว์ก็ตามก็ต้องรับผิดในผลที่ตนทำาละเมิดของตน (มาตรา 429)
เมื่อเด็กชายน้อยทำาละเมิดและต้องรับผิดในผลละเมิดนั้นคือต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นค่าเสียหายซึ่งทำาให้จานแตกและ
ยังต้องชดใช้ราคาค่าผงซักฟอกที่ยังขาดอยู่แก่นายแดงเจ้าของร้านด้วย

4. ตุลาเป็นคนหนี้สินล้นพ้นตัว วันหนึ่งได้ขับรถจักรยานยนต์โดยประมาทเลินเล่อชนธันวาได้รับบาดเจ็บ ตุลาไม่มีเงินจ่ายค่า


รักษาพยาบาล จึงถอดสร้อยคอทองคำาหนัก 1 บาทให้ธันวาไป โดยธันวาเองก็รู้ว่าตุลาเป็นคนหนี้สินล้นพ้นตัว สิงหาซึ่งเป็น
เจ้าของหนี้คนหนึ่งของตุลา รู้ถึงการชำาระหนี้นั้น ได้ฟ้องศาลขอให้เพิกถอนการชำาระหนี้นั้น เพราะตนเป็นเจ้าของหนี้คนแรกและ
หนี้ถึงกำาหนดแล้วต้องชำาระให้ตนก่อน จะชำาระให้แก่ธันวาก่อนไม่ได้ หากท่านเป็นผู้พิพากษา ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของสิงหา
หรือไม่เพราะเหตุใด

เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ. มาตรา 237 บัญญัติวา่ “เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำาลงทั้งรู้อยู่ว่า
จะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำานิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอก
แต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย…”
วินิจฉัย
ตามปัญหา นี้เป็นกรณีซึ่งเจ้าหนี้ใช้สิทธิเพิกถอนการฉ้อฉลหลักเกณฑ์การเพิกถอน การฉ้อฉลของลูกหนี้นั้นต้องเป็นกรณีซึ่งเป็น
นิติกรรม ซึ่งลูกหนี้รู้อยู่ว่านิติกรรมที่ตนทำาลงนั้นทำาให้เจ้าหนี้ของตนเสียเปรียบ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องรู้ถึงข้ออันเจ้าหนี้จะ
เสียเปรียบด้วย เจ้าหนี้จะขอเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้
ความข้อเท็จนั้น การที่ตุลาเป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้นก็แสดงอยู่ในตัวว่าไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำาระหนี้ได้อยู่แล้ว การที่ถอด
สร้อยคอทองคำาให้ธันวาไปแทนค่ารักษาพยาบาลนั้น ธันวาเองก็รู้ว่าตุลาเป็นคนหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนั้นการชำาระหนี้ของตุลา
ย่อมทำาให้สิงหาซึ่งเป็นเจ้าหนี้อีกคนหนึ่งเสียเปรียบเพราะจะไม่สามารถบังคับชำาระหนี้ของตนจากตุลาได้เพราะตุลาไม่มี
ทรัพย์สินพอแต่อย่างไรก็ตาม มูลหนี้ที่เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้ตุลาต้องชำาระหนี้นั้นไม่ใช่มูลหนี้ที่เกิดจากนิติกรรม แต่เป็นมูลหนี้ซึ่ง
เกิดจากละเมิด ซึ่งตามหลักเกณฑ์ มาตรา 237 นั้น ต้องเป็นนิติกรรม ดังนี้กรณีการชำาระหนี้ของตุลาจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์
การเพิกถอนการฉ้อฉลดังกล่าว
ดังนั้นข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของสิงหา สิงหาไม่สามารถฟ้องขอเพิกถอนการชำาระหนี้จากมูลละเมิดได้

5. เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2538 แก้วโดยความประมาทเลินเล่อได้ขับรถขวดได้รับบาดเจ็บ ต่อมาอีก 2 เดือน เมื่อขวดมี


อาการดีขึ้นแล้ว ได้มาพบแก้วเรียกค่าเสียหาย ซึ่งขวดต้องเสียไปในการรักษาตัวเป็นเงิน 50,000 บาท แต่แก้วอ้างว่ามากไป ถ้า
อยากได้ให้ไปฟ้องเอง ขวดจึงฟ้องเรียกค่าเสียหาย 50,000 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ถูกรถชนไป
จนกว่าแก้วจะชำาระ แก้วอ้างว่าหนี้นี้ไม่มีกำาหนดเวลาชำาระหนี้ ขวดไม่ได้เตือนตน หนี้จึงยังไม่ถึงกำาหนดชำาระ และดอกเบี้ยก็ไม่
ได้มีการตกลงไว้จะเรียกร้องกันไม่ได้ดังนี้ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของแก้วหรือไม่เพราะเหตุใด

เฉลย
หลักกฎหมาย ปพพ. มาตรา 206 บัญญัติวา่ “ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มลู ละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่วันทำาละเมิด”
ปพพ. มาตรา 224 บัญญัติวา่ “หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี…”
วินิจฉัย
ตามปัญหา การที่แก้วขับรถชนขวดจนได้รับบาดเจ็บนั้น เป็นกรณีซึ่งเกิดหนี้ขึ้นแล้ว โดยเป็นหนี้อันเกิดจากมูลละเมิด ซึ่งแก้ว
เป็นลูกหนี้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ขวดเจ้าหนี้ตามมาตรา 206 หนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดนั้น ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดนับ
แต่วันทำาละเมิดแล้ว คือ ผิดนัดตั้งแต่วันที่ขับรถชนขวด คือ วันที่ 10 มีนาคม 2538 ดังนั้น เมื่อกฎหมายให้ผิดนัดนับแต่วันทำา
ละเมิดแล้ว เจ้าหนี้คือขวดก็ไม่ต้องเตือนให้และหนี้นั้นต้องชำาระนับแต่วันทำาละเมิดจะอ้างว่าหนี้ไม่ถึงกำาหนดชำาระไม่ได้
ในกรณีดอกเบี้ยนั้น แม้ไม่ได้ตกลงกันก็สามารถเรียกร้องได้ตามกฎหมายถึง มาตรา 224 เพราะค่าเสียหายในมูลละเมิดต้อง
จ่ายเป็นเงินตามทีข่ วดเรียกร้อง เพื่อเป็นหนี้เงินก็มีดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำาหนด เมื่อขวดผิดนัดไม่ชำาระหนี้ก็ต้องเสียดอกเบี้ย
ซึ่งผิดนัดตามกฎหมาย แม้จะมิได้ตกลงกันไว้เจ้าหนี้ก็เรียกร้องได้
ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับแก้วทั้งสองกรณี เพราะว่าขวดไม่ต้องเตือน หนี้นั้นถึงกำาหนดชำาระแล้วนับแต่วันทำาละเมิดและสามารถ
เรียกดอกเบี้ยได้ตามกฎหมายแม้ไม่ตกลงกันไว้

6. ก่อเมาสุราขับรถยนต์ชนเกิดได้รับบาดเจ็บ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2540 เกิดต้องเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลอยู่ 3 วัน


เมื่อออกจากโรงพยาบาลเสียค่ารักษาไป 5,000 บาท เกิดไปหาก่อที่บ้านเพื่อให้ชำาระค่ารักษาพยาบาล แต่ก่อไม่อยู่จึงบอกกับ
ขาว ซึ่งเป็นน้องของก่อเวลาผ่านไปอีก 2 เดือน ก่อก็ไม่นำาเงินมาชำาระเกิดจึงฟ้องก่อเรียกค่ารักษาพยาบาล และดอกเบี้ยตั้งแต่
วันที่ศาลพิพากษา ดังนี้ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของก่อหรือไม่เพราะเหตุใด

เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ.มาตรา 206 บัญญัติว่าในกรณีหนี้อันเกิดจากมูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาทำาละเมิด
ปพพ.มาตรา 224 บัญญัติวา่ หนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
วินิจฉัย
กรณีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ผิดนัดโดยการผิดนัดนี้เกิดจากก่อขับรถชนเกิดในขณะเมาสุรา ดังนั้น มูลหนี้ที่เกิดเป็นมูลหนี้อันเกิดจาก
การละเมิด เมื่อหนี้เกิดจากมูลละเมิดแล้ว ก่อซึ่งเป็นลูกหนี้นั้น ได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่วันทำาละเมิดคือวันที1 มกราคม 2540 ที่ก่อ
อ้างว่าตนยังไม่ผิดนัดนั้นไม่ถูกต้องเพราะหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดนั้นผิดนัดทันทีนับแต่วันที่เกิดละเมิดโดยผลของกฎหมายตาม
ม.206 จึงไม่ต้องมีการเตือนทั้งขาวไม่ได้บอกก็ไม่เป็นข้ออ้างแต่อย่างไร
เมื่อเกิดหนี้เงินนั้นจากมูลละเมิดแล้วกฎหมายให้คิดดอกเบี้ยได้ในระหว่างผิดนัด ฉะนั้นถือได้ว่าก่อผิดนัดนับแต่วันทำาละเมิดคือ
วันที่ 1 มกราคม 2540 ดังนั้นดอกเบี้ยต้องคิดนับแต่วันทำาละเมิดตาม ม.224 มิใช่คิดแต่วันที่ศาลมีคำาพิพากษาดังนี้จึงไม่เห็น
ด้วยกับข้ออ้างของก่อในทุกกรณี

7. ก้อนให้เงินเขียดกู้ไป 2 แสนบาท ต่อมาก้อนทำาหนังสือโอนสิทธิการเป็นเจ้าหนี้ของตนให้คล่อง คล่องได้โทรศัพท์มาบอก


เขียด เขียดโกรธมากและไม่เชื่อว่ามีการโอนหนี้ดังกล่าวไป เพราะก้อนและเขียดตกลงห้ามโอนกันไว้แต่คล่องบอกว่าตนไม่รู้
เขียดจึงโทรศัพท์ไปต่อว่าก้อน ก้อนจึงส่งแฟกซ์มาถึงเขียดอีกว่าได้โอนหนี้กันไปให้คล่องจริงดังนี้เขียดจะต้องชำาระหนี้ให้แก่ก้อน
หรือคล่องเพราะเหตุใด

เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ.ม.303 บัญญัติวา่ “สิทธิเรียกร้องนั้นท่านว่าจะพึงกันได้เว้นไว้แต่สภาพแห่งสิทธิ์นั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้”
ความที่กล่าวมานี้ย่อมไม่ใช้บังคับหากคู่กรณีได้แสดงเจตนาเช่นนี้ ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำาการ
โดยสุจริต
ปพพ.ม.306 วรรคแรก บัญญัติว่า “การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำาระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้น ถ้าไม่ทำาเป็นหนังสือ
ท่านว่าไม่สมบูรณ์ อนึ่งการโอนหนี้นั้นท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไป
ยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น คำาบอกกล่าวหรือความยินยอมเช่นว่านี้ท่านว่าต้องทำาเป็นหนังสือ
วินิจฉัย
กรณีนี้เป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง การที่ก้อนได้โอนการเป็นเจ้าหนี้ของตนที่มีต่อเขียดไปให้คล่องนั้นย่อมทำาได้ เพราะเป็น
สิทธิเรียกร้องซึ่งไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายแต่อย่างใด อีกทั้งการโอนหนี้นั้นได้ทำาเป็นหนังสือระหว่างก้อนและคล่องแล้วการโอน
สิทธิเรียกร้องนี้จึงสมบูรณ์
ถึงแม้ว่าเขียดจะอ้างว่าตนและก้อนได้ตกลงห้ามโอนสิทธิเรียกร้องนี้ก็ตามกฎหมายห้ามยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้
สุจริต คล่องเป็นผู้รับโอนสุจริตไม่รู้ว่ามีข้อตกลงห้ามโอนกันดังกล่าวดังนั้น เขียดจะอ้างข้อตกลงนี้ต่อคล่องไม่ได้
ทั้งต่อมาก้อนได้แฟกซ์มาถึงเขียดแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้คล่องไปแล้วซึ่งก็เท่ากับว่าแม้ในตอนแรกคล่องเพียงแต่
โทรศัพท์ไปแจ้งให้เขียดทราบนั้นจะยกหนี้เป็นข้อต่อสู้เขียดไม่ได้ก็ตาม แต่ต่อมาได้มีการบอกกล่าวเป็นหนังสือทางแฟกซ์มายัง
เขียดแล้วแม้ว่าก้อนจะเป็นผู้แจ้งมาเอง ก็ถือว่าการแจ้งนั้นสมบูรณ์ทำาเป็นหนังสือแล้วตามมาตรา 306 เขียดจะยินยอมหรือไม่
ไม่เป็นข้อสำาคัญเมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องสมบูรณ์เขียดต้องชำาระหนี้ให้คล่องมิใช่ก้อน

8. แคล้วไม่ชอบกู้เมื่อเดินผ่านบ้านกู้แคล้วจึงแกล้งแหย่ให้สุนัขกู้โกรธอยู่เสมอ ๆ วันหนึ่งแคล้วเดินผ่านหน้าบ้านกู้ และได้แหย่


สุนัขให้โกรธแล้วก็เดินหนีไป กู้ออกมาพบจึงเปิดประตูให้สุนัขของตนออกไปกัดแคล้ว แต่แคล้วใส่กางเกงหนาสุนัขของกู้ตัวเล็ก
จึงกัดไม่เข้าดังนี้กู้ต้องรับผิดหรือไม่เพราะเหตุใด
เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ.ม.420 “ผูใ้ ดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำาต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัย
ก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดก็คือท่านว่าผู้นั้นทำาละเมิด จึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
ปพพ.ม. 433 วรรคแรก บัญญัติว่า “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทน
เจ้าของ จำาต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายแต่ใดๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้วา่
ตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่นหรือพิสูจน์ได้ว่า
ความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น
กรณีนี้เป็นเรื่องบุคคลใช้สัตว์เป็นเครื่องมือในการทำาละเมิดผู้นั้นได้เปิดประตูโดยปล่อยให้สุนัขของตนไปกัดแคล้วนั้นเป็นการ
กระทำาโดยจงใจ ให้บุคคลอื่น คือแคล้วได้รับความเสียหาย โดยใช้สุนัขเป็นเครื่องมือในการทำาละเมิด โดยสุนัขได้ไปกัดแคล้ว
ตามเจตนาของตน ดังนี้กู้ต้องรับผิดเพื่อละเมิดซึ่งตนได้กระทำาไปโดยใช้สุนัขคือสัตว์ในการทำาละเมิด
แม้วา่ กางเกงแคล้วจะไม่ขาดก็ตามถือว่ากู้ได้ทำาละเมิดแล้วเพราะการที่สุนัขไปกัดแคล้วนั้น แม้ว่ากางเกงไม่ขาด แคล้วไม่ได้รับ
บาดเจ็บก็เป็นการละเมิดสิทธิของแคล้วแล้วกู้จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ม.420
กู้ไม่ต้องรับผิดตาม ม.433 ในฐานะเจ้าของสุนัขเพราะกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องที่เจ้าของบกพร่องในการดูแลรักษาสัตว์แต่อย่างไรแต่
เป็นเรื่องจงใจทำาละเมิด

9. ก้องเป็นหนี้ซื้อของเชื่อจุ่นอยู่เป็นเงินหนึ่งแสนบาท โดยปกติจุ่นจะแจ้งให้ก้องทราบล่วงหน้าแล้วส่งพนักงานมาเก็บเงินที่ค้าง
ชำาระ ต่อมาจุ่นพบก้องที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งจึงแจ้งให้ก้องนำาเงินค่าซื้อของมาชำาระให้ตน ก้องบอกว่าตนพร้อมจะชำาระแต่ให้จุ่น
ทำาใบแจ้งหนี้เป็นหนังสือมาก่อนแล้วให้พนักงานมาเก็บเงินเหมือนเคย แต่จุ่นไม่ปฏิบัติตาม ต่อมาอีก 3 เดือน จุ่นฟ้องก้องเรียก
เงินหนึ่งแสนบาทพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ตนทวง ก้องอ้างว่าจุ่นไม่บอกกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่มีทำาเป็นหนังสือ
ทั้งตนยังไม่ผิดนัด เพราะเป็นความผิดของเจ้าหนี้เองที่ผิดนัดไม่ส่งพนักงานไปเก็บเงิน จุ่นเรียกดอกเบี้ยไม่ได้ จุ่นมาปรึกษาท่าน
ท่านจะให้คำาปรึกษาจุ่นอย่างไร

เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ. มาตรา 203 ถ้าเวลาอันจะพึงชำาระหนี้มิได้กำาหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าย่อม
จะเรียกให้ชำาระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำาหนี้ของตนได้โดยฉับพลันดุจกัน
ปพพ. มาตรา 224 หนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
วินิจฉัย
กรณีนี้เป็นเรื่องหนี้ไม่มีกำาหนดเวลาชำาระเพราะเป็นหนี้ซื้อของเชื่อ ทั้งไม่สามารถที่จะอนุมานได้จากพฤติการณ์ใด ๆ ก็ไม่ได้วา่
จะชำาระหนี้กันเมื่อใด เพราะโดยปกติทางเจ้าหนี้จะเป็นผู้เรียกให้ลูกหนี้ชำาระหนี้เอง
หนี้ไม่มกี ำาหนดเวลาชำาระนั้น หนี้ถึงกำาหนดชำาระเมื่อเกิดหนี้ขึ้น ซึ่งเจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำาระหนี้โดยพลัน และฝ่ายลูก
หนี้ก็มีหน้าที่ต้องชำาระให้กับเจ้าหนี้โดยพลันเช่นกัน เมื่อจุ่นเรียกให้ก้องชำาระหนี้แล้วที่ร้านอาหารเพราะเป็นหนี้ไม่กำาหนดเวลา
ชำาระ ก้องมีหน้าที่ที่จะต้องชำาระโดยพลันทั้งก้องเองก็บอกว่าตนพร้อมที่จะชำาระหนี้แล้ว และเวลาก็ล่วงเลยมานานถึง 3 เดือน
แล้ว ก้องจะอ้างว่าจุ่นบอกกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ทำาเป็นหนังสือไม่ได้ เพราะการบอกกล่าวให้ชำาระหนี้ตามกำา
หมายไม่ได้กำาหนดให้ต้องทำาเป็นหนังสือการที่จุ่นเรียกให้ก้องชำาระหนี้ด้วยวาจาจึงเป็นการชอบแล้ว
เมื่อก้องไม่ชำาระหนี้ เมื่อจุ่นเรียกให้ชำาระหนี้แล้ว ก้องผิดนัดนับแต่เวลาที่จุ่นทวง การที่จุ่นไม่ส่งพนักงานมาเก็บเงินไม่ทำาให้ก้อง
หลุดพ้นจากการชำาระหนี้ ดังนั้นเมื่อก้องผิดนัดจึงต้องชำาระทั้งเงินค่าซื้อของเชื่อจำานวนหนึ่งแสนบาทและยังต้องเสียดอกเบี้ยใน
จำานวนเงินดังกล่าวนับแต่เลาที่ผิดนัดด้วยร้อยละ 7.5 ต่อปี
ดังนั้นข้ออ้างของก้องฟังไม่ขึ้น ก้องผิดนัดนับแต่วันที่จุ่นทวงถามให้ชำาระหนี้ และต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผิดนัดนั้นด้วย

10. หนึ่งเป็นเจ้าหนี้สองอยู่ 3 แสนบาท กิจการของสองขาดทุนมากไม่มีทรัพย์สินพอจะชำาระหนี้ให้หนึ่ง สองจึงตกลงจ้างสามมา


เป็นผู้จัดการกิจการแทนตน เพราะสามมีความสามารถในการบริหาร จึงจ้างในราคาแพง โดยสามเองก็รู้ว่าสองเป็นคนหนี้สิน
ล้นพ้นตัวแต่ก็รับจ้างทำางานนี้ ต่อมาหนึ่งรู้ถึงนิติกรรมนี้เห็นว่าสองต้องจ่ายเงินมากขึ้นทำาให้ตนเสียเปรียบเพราะจะได้รับชำาระ
หนี้ไม่เพียงพอ จึงฟ้องขอเพิกถอนสัญญาจ้างดังกล่าวสองมาปรึกษาท่านท่านจะแนะนำาสองอย่างไร

เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ. มาตรา 237 บัญญัติวา่ เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำาลงทั้งรู้อยู่ว่าจะ
เป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำานิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอก
แต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริง อันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำาให้โดยเสน่หา ท่านว่า
เพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝา่ ยเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนหน้านี้ ท่านมิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใด ๆ อันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน
วินิจฉัย
กรณีนี้เป็นเรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลโดยเจ้าหนี้คือหนึ่ง การเพิกถอนการฉ้อฉลจะทำาได้ต่อเมื่อลูกหนี้ทำานิติกรรมจำาหน่ายจ่าย
โอนทรัพย์สินของตนเองจนทำาให้เจ้าหนี้เสียเปรียบคือไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำาระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้เพียงพอ ทั้งผู้ได้ลาภงอกก็
ต้องรู้อยู่ด้วยว่าเป็นการทำาให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
สองเป็นลูกหนี้กิจการของสองขาดทุนมากไม่มีทรัพย์สินพอชำาระหนี้ให้หนึ่ง การที่สองได้ตกลงจ้างสามมาเป็นผู้จัดการกิจการ
แทนตน เป็นการทำานิติกรรม คือ สัญญาจ้าง โดยค่าจ้างนั้นได้จ้างกันในราคาแพง ซึ่งสามเองในที่นี้เป็นผู้ได้ลาภงอกโดยเป็นผู้ที่
เข้าทำานิติกรรมกับลูกหนี้และได้ประโยชน์จากสัญญาจ้างนี้
ทั้งสองและสามต่างคนต่างก็รู้อยู่ว่า สองไม่มีเงินพอชำาระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ คือ หนึ่ง แต่สามก็ยังรับจ้าง คือยินยอมทำานิติกรรม
ทั้งที่รู้อยู่วา่ จะเป็นทางให้เจ้าหนีข้ องสองเสียเปรียบ คือไม่ได้รับเงินเพียงพอเพื่อชำาระหนี้นั่นเอง
สัญญาจ้างนี้แม้นเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์จริง แต่เจ้าหนี้คือ หนึ่งสามารถขอเพิกถอนนิติกรรมที่เกิดจากการฉ้อฉลนี้เสียได้ โดย
ต้องฟ้องเป็นคดีขอเพิกถอนสัญญาจ้างนี้เสีย ทำาให้สัญญาจ้างไม่มีผลบังคับ

11. ขำาเป็นเจ้าของรถยนต์และให้บุคคลอื่นเช่ารถเพื่อใช้ขับเป็นรถรับจ้าง คุ้มเป็นลูกจ้างขำามีหน้าที่ทำาบัญชีและดูแลจัดการ


ความเรียบร้อยของรถยนต์ที่ให้เช่า และคุ้มมักจะขับรถยนต์ของขำาไปรับลูกของตนกลับบ้านอยู่เสมอ โดยขำาก็ยินยอม วันหนึ่ง
ระหว่างทางคุ้มขับรถของขำาไปรับลูกฝนตกถนนลื่น คุ้มรีบขับรถไป ปรากฏว่ารถเบรคไม่อยู่ไปชนรถของงอ เสียหาย งอ จึงฟ้อง
เรียกค่าเสียหายจากขำาซึ่งเป็นนายจ้างและคุ้มลูกจ้าง ดังนี้ขำาและคุ้มต้องชดใช้ค่าเสียหายอย่างไรหรือไม่เพราะเหตุใด
เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ.มาตรา 420 บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำาต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่
ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีท่านว่าผู้นั้นทำาละเมิดจึงต้องชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนเพื่อการนั้น”
ปพพ. มาตรา 425 บัญญัติวา่ “นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำาไปในทางการที่จ้างนั้น”
คุ้มเป็นลูกจ้างขำาเมื่อคุ้มขับรถยนต์ไปรับลูกของตน เมื่อฝนตกถนนลื่นรถเบรคไม่อยู่ไปชนรถของ งอ เสียหาย นั่นคือคุ้มขับรถ
ด้วยความประมาทเพราะฝนตกถนนลื่น ถ้าไม่ขับด้วยความเร็วเกินควรก็คงไม่ชนรถของ งอ เสียหาย ดังนั้นคุ้มทำาละเมิดตาม
มาตรา 420 เพราะกระทำาโดยประมาทเลินเล่อทำาให้เบรคของ งอ เสียหาย ใครผิดกฎหมาย ดังนั้น คุ้มกระทำาละเมิดตามมาตรา
420 เป็นความรับผิดในการกระทำาของตนเองดังนั้นคุ้มต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้งอในผลละเมิดที่ตนได้กระทำา
ส่วนขำาเป็นนายจ้างคุ้ม เมื่อลูกจ้างขำาละเมิด แม้ว่านายจ้างคือขำาจะมิได้กระทำาเองก็ตาม กฎหมายก็ให้นายจ้างต้องร่วมรับผิด
ด้วย ซึ่งเป็นความรับผิดในการกระทำาของบุคคลอื่น ซึ่งความรับผิดนี้ต้องเป็นการละเมิดของลูกจ้างขำากระทำาในทางการที่จ้าง
คือในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้าง
วินิจฉัย
คุ้มแม้จะเป็นลูกจ้างของขำาก็ตาม แต่ในขณะที่คุ้มทำาละเมิดนั้น คุ้มไม่ได้ทำาละเมิดในทางการที่จ้างเพราะงานที่จ้าง ซึ่งคุ้มมีหน้า
ที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาคือ มีหน้าที่ทำาบัญชีและดูแลจัดการความเรียบร้อยของรถยนต์ที่ให้เช่า แม้ว่าขำานายจ้างจะยินยอมให้
คุ้มใช้รถยนต์ของตนก็ไม่เป็นเหตุให้ขำาต้องรับผิดร่วมกับคุ้ม แต่อย่างใดเพราะการที่คุ้มขับรถยนต์ไปรับลูกเป็นการทำาไปนอก
ทางการที่จ้างเป็นเรื่องส่วนตัวของลูกจ้างเองดังนั้นขำานายจ้างจึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย

12. ก เช่ารถ ข ไปเที่ยวต่างจังหวัด กำาหนดส่งคืนรถ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ปรากฏว่าเมื่อ ก ขับรถไปเที่ยวนั้นนำ้าท่วมทาง


ขาด ก กลับมาไม่ทันวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ครั้นวันที่นำ้าลดสามารถเดินทางได้ ก รีบกลับเพื่อจะนำารถมาคืนให้ ข เมื่อกลับมา
ถึงบ้านของ ก วันรุ่งขึ้นเป็นวันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542 ก จึงพักผ่อน 1 วัน ครั้นวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 ซึ่งเป็นวันจันทร์ ก
จึงนำารถไปส่งให้ ข ปรากฏว่า ง ขับรถประมาทเลินเล่อชนรถ ข ซึ่ง ก ขับอยู่ไฟไหม้เสียหายทั้งคัน ก บาดเจ็บต้องนอนพักรักษา
ตัวอยู่โรงพยาบาลอยู่หลายวัน ข จึงฟ้อง ก เรียกค่าเสียหาย ก อ้างว่าตนไม่ต้องรับผิด เพราะว่าเหตุเกิดจาก ง ซึ่งประมาท
เลินเล่อดังนั้นท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก หรือไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ.มาตรา 204 วรรค 2 ถ้าได้กำาหนดเวลาชำาระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้ไม่ได้ชำาระหนี้ตามกำาหนดไซร้ท่านว่าลูก
หนี้ตกเป็นผูผ้ ิดนัด โดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำาระหนี้ซึ่งได้
กำาหนดเวลาลงไว้ อาจคำานวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว
ปพพ.มาตรา 205 ตราบใดการชำาระหนี้นั้นยังมิได้กระทำาลง เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตราบนั้น
ลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่
ปพพ.มาตรา 217 ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างที่ตนผิดนัด ทั้งจะ
ต้องรับผิดชอบในการที่การชำาระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนัดนั้นด้วย เว้นแต่ความเสีย
หายนั้นถึงแม้ว่าตนจะได้ชำาระหนี้ ทันเวลากำาหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง
วินิจฉัย
ตามข้อเท็จจริง เมื่อ ก เช่ารถ ข โดยมีกำาหนดส่งคืนรถวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 นั้นเป็นกรณีที่หนี้นั้นมีกำาหนดชำาระแน่นอนตาม
วันแห่งปฏิทิน ซึ่งตามมาตรา 204 วรรค 2 หากว่าเมื่อถึงกำาหนดวันดังกล่าวแล้ว ก ซึ่งเป็นลูกหนี้ ไม่นำารถที่เช่ามาคืน ข ซึ่งเป็น
เจ้าหนี้แล้ว ก ได้ชื่อว่าผิดนัดโดยที่ ข ไม่ต้องเตือนเลย
ต่อมาปรากฎว่าในขณะหนี้ยังไม่ถึงกำาหนดชำาระ นำ้าท่วมทางขาดซึ่งตามมาตรา 205 นั้นเป็นกรณีซึ่งทำาให้ ก ยังมาชำาระหนี้ไม่
ได้ เพราะทางขาด ซึ่งเป็นพฤติการณ์ซึ่งเกิดขึ้นโดยที่ ก ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้นแม้ว่าจะเลยกำาหนดส่งคืนรถไปแล้ว เพ
ราะก ไม่สามารถกลับบ้านได้ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2542 ในขณะนั้นถือว่า ก ก็ยังไม่ผิดนัด แต่เมื่อ ก กลับมาถึงบ้านแล้วยังไม่
รีบนำารถส่งคืนรถให้ ข กลับรอไปจนถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 แล้วจึงค่อยขับรถไปคืน ข ดังนี้เห็นได้ว่า ก นั้นผิดนั้น เพราะเลย
กำาหนดเวลาชำาระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินแล้วทั้งพฤติการณ์ซึ่งทำาให้ลูกหนี้ไม่ผิดนัดก็ผ่านพ้นไปแล้ว แม้วา่ การที่รถของ ข ไหม้
เสียหายทั้งคันทำาให้การชำาระหนี้เป็นพ้นวิสัยซึ่งมิใช่ความผิดของ ก ก ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิด เพราะเหตุเกิดในระหว่างที่ ก
ผิดนัดด้วยตามมาตรา 217
ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก ก ต้องรับผิดในการชำาระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะอุบัติเหตุซึ่งเกิดในระหว่างที่ ก ผิดนัด
ก ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ ข

13. ก ข และ ค เป็นลูกหนี้ร่วมกันกู้เงิน ง ไป 30,000 บาท ต่อมา ก ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเมื่อหนี้ถึงกำาหนดชำาระ


ง ฟ้อง ก ข และ ค ให้ชำาระหนี้แก่ตน ผู้อนุบาลของ ก หาเป็นโมฆียะ ข ค ก็อ้างว่าตนหลุดพ้นจากความรับผิดชอบเช่นกัน เพราะ
ข ค เป็นลูกหนี้ร่วมกับ ก เมื่อ ก มีสิทธิอย่างใด ข ค ก็มีสิทธิเช่นเดียวกับ ก ดังนี้ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก ข และ ค หรือไม่
เพราะเหตุใด

เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ.มาตรา 291 ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทำาการชำาระหนี้โดยทำานองซึ่งแต่ละคนจำาต้องชำาระหนี้สิ้นเชิงไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้
ชอบที่จะได้รับชำาระหนี้เชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว(กล่าวคือลูกหนี้ร่วมกัน)ก็ดี เจ้าหนี้จะเรียกชำาระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่ง
สิน้ เชิง หรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทวั่ ทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำาระเสร็จสิ้นเชิง
ปพพ.มาตรา 295 วรรคแรก ข้อความจริงอื่นใด นอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 292 ถึง 294 นั้นเมื่อเป็นเรื่องเท้าถึงตัวลูกหนี้ร่วมกัน
คนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น เว้นแต่จะ ปรากฏว่ากับสภาพแห่งหนี้นั้นเอง
วินิจฉัย
ก ข และ ค เป็นลูกหนี้ร่วมกู้เงิน ง ไป 30,000 บาท ตามมาตรา 291 เห็นได้วา่ ก ข ค ร่วมกันผูกพันในสัญญาเงินกู้อันเดียวกัน
บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นลูกหนี้หลายคนต้องร่วมผูกพันกันเป็นลูกหนี้ร่วม
ผลของการเป็นลูกหนี้ร่วม คือ เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำาระหนี้ได้โดยสิ้นเชิง โดยลูกหนี้ทั้งปวงยังคงต้องผูกพันกันอยู่
จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำาระจนเสร็จสิ้นแล้ว
การที่ ก อ้างว่าหลุดพ้นจากการชำาระหนี้ เพราะหย่อนความสามารถนั้น เป็นกรณี ก อ้างเหตุส่วนตัวเพื่อเป็นข้อยกเว้นตาม
มาตรา 295 วรรค 1 ซึ่งให้ถือว่าเป็นไปเพื่อคุณและโทษเฉพาะตัวลูกหนี้คนนั้นเท่านั้น ก ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
หลังจาก ก ได้ก่อหนี้แล้วดังนั้น ในขณะที่หนี้เกิดขึ้น ก ยังเป็นบุคคลซึ่งมีความสามารถอยู่ ดังนี้ ระหว่าง ก และ ง เป็นหนี้ที่
สมบูรณ์ ก ไม่สามารถอ้างเหตุสว่ นตัวดังกล่าวให้หลุดพ้นจากการชำาระหนี้ นิติกรรมไม่เป็นโมฆียะ ก ยังคงต้องชำาระหนี้
ข และ ค ก็ไม่หลุดพ้นจากการรับผิดเช่นกัน เพราะ ข้ออ้างของ ก เป็นเหตุส่วนตัวเป็นคุณและโทษเฉพาะตัวลูกหนี้คนใดคนหนึ่ง
ลูกหนี้คนอื่น ๆ จะยกขึ้นกล่าวอ้างไม่ได้ ข และ ค เป็นลูกหนี้ร่วมไม่หลุดพ้นความรับผิด
ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก ข และ ค เพราะบุคคลทั้ง 3 เป็นลูกหนี้ร่วม เมื่อหนี้ถึงกำาหนดชำาระ ก ขและคต้องชำาระหนี้
ให้แก่ง

14. ก ขับรถรับจ้างรับหนึ่งไปส่งที่สถานีรถไฟหัวลำาโพงโดยความประมาทเลินเล่อของ ก ขับด้วยความเร่งรีบเลี้ยวออกจากซอย


ข ขับรถรับจ้างอีกคันหนึ่งด้วยความประมาทเลินเล่อเลี้ยวเข้าซอยดังกล่าวด้วยความเร็วเป็นเหตุให้รถซึ่ง ก และ ข ขับชนกัน
หนึ่งได้รับบาดเจ็บจากการที่รถทั้ง 2 ชนกัน หนึ่งฟ้องขอให้รับผิดต่อตน ข อ้างว่าตนไม่ต้องรับผิดแต่ผู้เดียว ก เองก็ต้องร่วมรับ
ผิดต่อ ข ด้วย เพราะ ก เองก็ประมาท

เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ.มาตรา 420 ผูใ้ ดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำาต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี
อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีท่านว่าผู้นั้นทำาละเมิด จึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการ
นั้น
ปพพ.มาตรา 432 ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทำาละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกัน
รับผิดชอบร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอด กรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าใน
จำาพวกที่ทำาละเมิดร่วมกันนั้น คนไหนเป็นผู้ที่ก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วย
อนึ่ง บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำาละเมิด ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำาละเมิดร่วมกันด้วย
ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆกันเว้นแต่โดย
พฤติการณ์ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น
วินิจฉัย
การที่ ก และ ข ขับรถชนกันเป็นเหตุให้หนึ่งได้รับบาดเจ็บนั้น ก และ ข ทำาละเมิดต่อต่อหนึ่ง เพราะทั้ง ก และ ข ขับรถโดยความ
ประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้หนึ่งได้รับบาดเจ็บจากความประมาทเลินเล่อขอ ก และ ข ซึ่งเป็นกรณีทำาให้หนึ่งเสียหายต่อ
ร่างกาย ก และ ข ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หนึ่งในการทำาละเมิดนั้นตามมาตรา 420
ที่ ข อ้างว่าตนไม่ต้องรับผิดแต่ผู้เดียว ก เองต้องร่วมรับผิดด้วยเพราะ ก เองประมาทเลินเล่อทำาให้เกิดเหตุ การที่จะร่วมกันรับ
ผิดในกรณีร่วมกันทำาละเมิดนั้นต้องได้ความว่าบุคคลหลายคนนั้นร่วมกันทำาละเมิดจึงจะร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
อย่างลุกหนี้ตามมาตรา 432
แต่กรณีนี้เป็นกรณี ก และ ข ได้ประมาทเลินเล่อก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่นในเหตุเดียวกัน แต่ไม่ได้ร่วมกันทำาละเมิดจึงไม่
เข้ามาตรา 432 จึงไม่ต้องร่วมกันรับผิด
ทั้ง ก และ ข ต้องรับผิดฐานละเมิด แต่แยกกันรับผิด โดยรับผิดมากน้อย แล้วแต่ความร้ายแรงนั้น
ดังนั้น ข้าพเจ้าจะแนะนำาให้หนึ่งฟ้องทั้ง ก และ ข เรียกค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดต่อหนึ่ง แต่ไม่ใช่ร่วมกันรับผิดคือ ต่างคน
ต่างรับผิดตาม มาตรา 420 ตามแต่ความร้ายแรงของผลการทำาละเมิดของแต่ละฝ่าย

15. ก้อยกู้เงินข้องไป 50,000 บาท ตกลงกันว่าให้ใช้เงินคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันทำาสัญญา หลังจากเงินกู้ไปได้ 11 เดือน ก้อย


ได้นำาเงินที่กู้ไปคืนข้อง แต่ระหว่างทางถูกรถยนต์ของคุดชนได้รับบาดเจ็บสาหัสต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล หลังจาก
รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลได้ 3 เดือน ข้องฟ้องก้อยให้ชำาระหนี้เงินกู้ดังกล่าว แต่ก้อยอ้างว่าตนยังไม่ผิดนัด เพราะประสบ
อุบัติเหตุอันเนื่องมาจากตนได้นำาเงินไปคืนให้ข้องนั่นเองทั้งข้องเองก็ยังไม่ได้เตือนตนให้ชำาระหนี้
ดังนั้นท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของก้อยอย่างไรหรือไม่เพราะเหตุใด

เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ.มาตรา 204 วรรค 2 “ถ้าได้กำาหนดเวลาชำาระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชำาระหนี้ตามกำาหนดไซร้ ท่านว่าลูก
หนี้ตกเป็นผูผ้ ิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย…..”
ปพพ.มาตรา 205 “ตราบใดการชำาระหนี้ยังมิได้กระทำาลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตราบนั้น
ลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่”
วินิจฉัย
ก้อยกู้เงินข้องไปโดยมีข้อตกลงว่าจะใช้เงินคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันทำาสัญญา ข้อตกลงในสัญญานี้ถือว่าการชำาระหนี้สามารถ
จะกำาหนดนับได้ตามวันแห่งปฏิทิน เพราะสามารถนับวันทำาสัญญาไปครบ 1 ปี เมื่อใดก็ต้องชำาระหนี้เมื่อนั้น ดังนี้จึงเป็นหนี้ที่ได้
กำาหนดเวลาชำาระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินแล้ว
ต่อมาก้อยถูกรถชนได้รับบาดเจ็บรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลนาน 3 เดือน แต่ก้อยก็ยังคงมีหน้าที่จะต้องชำาระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำาหนด
คือ เมื่อครบ 1 ปี นับแต่วันสำาสัญญา เมื่อก้อยไม่ชำาระหนี้ตามกำาหนด ก้อยจึงผิดนัดซึ่งตามกรณีตามมาตรา 204 วรรค 2 ถือว่า
ก้อยตกเป็นผูผ้ ิดนัดโดยที่ข้องไม่จำาเป็นต้องเตือนแต่อย่างใดเลยดังนั้นข้ออ้างของก้อยนั้นไม่ถูกต้อง
ก้อยอ้างว่าตนประสบอุบัติเหตุต้องนอนอยู่ที่โรงพยาบาลมาเป็นข้อแก้ตัวที่ก้อยจะยังไม่ชะระหนี้ไม่ได้เพราะเหตุหรือพฤติการณ์
ตาม ม . 205 ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบต้องเป็นเหตุขัดขวางที่ไม่อาจก้าวล่วงไปได้เลย แต่กรณีตามข้อเท็จจริงนี้เป็นแต่เพียง
เหตุขัดข้องซึ่งอาจจะก้าวล่วงได้ คือสามารถให้บุคคลอื่นไปชำาระหนี้แทนได้ ลูกหนี้จะถือเอาเป็นพฤติการณ์อันขัดขวางตนไว้มิ
ให้ต้องรับผิดชอบไม่ได้ (ฎ 166/2478)
ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของก้อย ก้อยเป็นผู้ผิดนัดโดยต้องชำาระหนี้ ข้องไม่ต้องเตือนและจะเอา ม. 205 เพื่อเป็นข้อแก้ตัว
ไม่ได้

16. แดง เหลือง เขียว ร่วมกันกู้เงินเจริญไป 60,000 บาท ปรากฏว่าเมื่อเวลาผ่านไป 9 ปี แดงได้นำาเงินมาผ่อนชำาระให้เจริญ


บางส่วน ต่อมาเวลาล่วงเลยมา 10 ปีเศษ เจริญต้องการเงินคืนจากลูกหนี้ทั้งสามคนนี้จึงฟ้องลูกหนี้ทั้ง 3 คนดังกล่าว ให้ชำาระ
หนี้ที่ร่วมกันกู้ไปทั้ง แดง เหลือง เขียว จึงมาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คำาแนะนำาแก่เขาทั้ง 3 คนอย่างไร

เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ.มาตรา 291 “ถ้าบุคคลหลายคน จะต้องกระทำาการชำาระหนี้โดยกำาหนดซึ่งแต่ละคนจำาต้องชำาระหนี้สินแล้วไซร้ แม้ถึงว่า
เจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำาระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว (กล่าวคือลูกหนี้ร่วมกัน) ก็ดี เจ้าหนี้จะเรียกชำาระหนี้จากลูกหนี้แค่คน
ใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือโดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำาระเสร็จ
สิน้ เชิง
ปพพ. มาตรา 295 ข้อความจริงอื่นใด นอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 292 ถึง 294 นั้น เมื่อเป็นเรื่องเท้าตัวถึงลูกตัวหนี้ร่วมกันคนใด
ก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น เว้นแต่จะปรากฏว่าขัดกับสภาพแห่งหนี้นั้นเอง
ความที่ว่ามานี้ เมื่อจะกล่าวโดยเฉพาะก็คือว่าให้ใช้แก่การให้คำาบอกกล่าว การผิดนัด การที่หยิบยกอ้างความผิด การชำาระหนี้
อันเป็นพ้นวิสัยแก่ฝ่ายลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งกำาหนดอายุความหรือการที่อายุความสะดุดหยุดลงและการที่สิทธิเรียกร้องเกลื่อน
กลืนกันไปกับหนี้สิน
วินิจฉัย
แดง เหลือง เขียว ร่วมกันกู้เงินเจริญไป ดังนั้นบุคคลทั้ง 3 จึงเป็นลูกหนี้ร่วม และต้องผูกพันที่จะชำาระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้โดยสิ้นเชิง
ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไป 9 ปี แดงแต่ผู้เดียวได้นำาเงินบางส่วนมาผ่อนชำาระหนี้ให้แก่เจริญ จึงเป็นกรณีซึ่งแดงรับสภาพหนี้โดยการ
ชำาระหนี้บางส่วน เป็นเหตุให้อายุความคือระยะเวลาที่ล่วงไปแล้วนี้ ไม่นับเข้าในอายุความ และให้เริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ แม้
ต่อมาเวลาจะล่วงเลยมา 10 ปีเศษแล้วก็ตามหนี้ของแดงก็ยังไม่ขาดอายุความ
เหลือง และเขียว แม้จะเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับแดงแต่มิได้มีสว่ นในการชำาระหนี้บางส่วนกับแดงแต่อย่างใด เพราะกรณีเป็นเรื่อง
ท้าวถึงตัวลูกหนี้ร่วมคนใดก็ย่อมเป็นเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น กรณีเรื่องอายุความนี้เป็นคุ ณแก่เหลืองและ
เขียว เหลือง เขียวจึงสามารถยกกำาหนดอายุความมาเป็นข้อต่อสู้ เจริญว่าหนี้กู้ยืมนั้นขาดอายุความแล้ว เพราะได้กู้ยืมกันมา
เกิน 10 ปี แล้ว ตาม ม. 295 ดังนี้ เหลือง เขียวจึงหลุดพ้นไม่ต้องชำาระหนี้ให้แก่เจริญ
แต่แดงไม่สามารถยกเรื่องอายุความในกรณีเหลืองกับเขียวมากล่าวอ้างได้ เพราะตนได้รับสภาพหนี้ ซึ่งทำาให้อายุความในส่วน
ของตนสะดุดลงเป็นโทษเฉพาะตัวของแดง แดงจึงยังคงต้องผูกพันที่จะต้องชำาระหนี้ให้กับเจริญแต่เพียงผู้เดียว

17. ก่อมาเยี่ยมข้องที่บ้านของข้อง ขณะนั่งคุยกันที่ระเบียง ก่อได้สูบบุหรี่และถามข้องว่าไม่มีที่เขี่ยบุหรี่หรือ ข้องบอกว่าไม่มีก่อ


จึงดีดบุหรี่ทิ้งไปนอกบ้านไปถูกเสื้อของคดซึ่งเดินผ่านมาไหม้เป็นรู คดจึงฟ้องทั้งก่อ และข้อง ให้รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
แก่ตน ดังนี้ข้องมาปรึกษาท่าน ๆ จะให้คำาแนะนำาแก่ข้องอย่างไร

เฉลย
หลักกฎหมาย
ปพพ.มาตรา 420 “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำาต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี
อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำาละเมิด จำาต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการ
นั้น”
ปพพ.มาตรา 436 “บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิดชอบในความเสียหาย อันเกิดเพราะของตกหล่นจากโรงเรือนนั้น หรือเพราะ
ทิ้งขว้างของไปตกในที่อันมิควร”
วินิจฉัย
การที่ก่อมาอยู่ที่บ้านข้อง แล้วดีดบุหรี่ไปนอกบ้านไปถูกเสื้อของคดไหม้เป็นรูนั้น เป็นกรณีซึ่งก่อได้กระทำาโดยประมาทเลินเล่อ
โดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้บุหรี่ถูกเสื้อของคดเสียหายไหม้เป็นรู ดังนั้นก่อจึงกระทำาละเมิดต่อคดี ตาม ม.420 ซึ่งเป็นความรับ
ผิดในการกระทำาด้วยตนเอง ต้องชดใช้ค่าสินไหมให้คดเพราะเหตุละเมิดตามม.420 นี้
ข้องเป็นเจ้าของบ้าน เป็นผู้ครอบครองโรงเรือนก็จริงแต่กรณีนี้ความเสียหายเกิดเพราะก่อเป็นผูท้ ำาละเมิดความเสียหายมิได้เกิด
จากของตกหล่นจากโรงเรือนหรือเพราะทิ้งขว้างตกในที่อันมิควร แต่เป็นกรณีมีบุคคลประมาทเลินเล่อทำาละเมิด เพียงแต่บุคคล
ผูท้ ำาละเมิดอยู่ในบ้านของข้องเท่านั้น ดังนั้นข้องมิได้ทำาละเมิดจึงไม่ต้องรับผิด

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 2
1. นายสมบัติกับนายสำารวยเป็นเพื่อนกัน นายสำารวยกู้เงินนายสมบัติไป 4,000 บาท นายสำารวยผิดนัดชำาระหนี้มา 2 เดือนแล้ว
นายสมบัติเป็นช่างซ่อมรถ นายสำารวยนำารถยนต์ราคา 600,000 บาท มาให้นายสมบัติซ่อม คิดค่าซ่อม 2,000 บาท ตกลงชำาระ
ค่าซ่อมเมื่อซ่อมเสร็จแล้ว เมื่อซ่อมรถเสร็จ นายสำารวยก็ไม่ชำาระ นายสมบัติจึงยึดหน่วงรถของนายสำารวยที่ตนครองครองไว้
อ้างว่าเป็นประกันหนี้ที่นายสำารวยติดค้างอยู่รวมเป็นเงิน 6,000 บาท จนกว่าจะได้รับชำาระหนี้ นายสำารวยโต้แย้งว่า ไม่ว่าเป็น
หนี้เงินกู้หรือหนี้ค่าซ่อมรถ นายสมบัติไม่มสี ิทธิยึดหน่วงรถไว้ เพราะราคารถสูงกว่าจำานวนหนี้มากนัก ท่านเห็นด้วยกับข้อโต้
แย้งของนายสำารวยหรือไม่

เฉลย
ปพพ.มาตรา 241 วรรคแรกบัญญัติว่า “ผู้ใดเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่น และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วย
ทรัพย์สินซึ่งครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้ชำาระหนี้ก็ได้ แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ
เมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงกำาหนด”
ตามปัญหา แยกพิจารณาได้ดังนี้
(ก) หนี้เงินกู้ของนายสำารวยมิใช่หนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่นายสมบัติเกี่ยวด้วยรถที่ตนครอบครองไว้ ดังนั้นนายสมบัติจะยึด
หน่วงรถไว้ไม่ได้ ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับข้อโต้แย้งของนายสำารวยในผลที่ว่ายึดไม่ได้
(ข) สำาหรับหนี้ค่าซ่อมรถ เป็นหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่นายสมบัติเกี่ยวด้วยรถยนต์ของนายสำารวยที่นำามาให้นายสมบัติซ่อม
และนายสมบัติครอบครองไว้นั้น นายสมบัติจึงมีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์ไว้ได้ จนกว่าจะได้รับชำาระหนี้ค่าซ่อม แม้รถยนต์จะมีราคา
สูงกว่าหนี้ค่าซ่อมมากเพียงใดก็ตาม ทั้งหนี้ของนายสำารวยก็ถึงกำาหนดชำาระแล้ว ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับข้อโต้แย้งของนาย
สำารวย

2. นายดำาใช้ไม้ตีบังคับลิงของนายแดงให้ลักมะพร้าวจากต้นของนายเขียวเพื่อนบ้านใกล้เคียงมาให้นายดำา ลิงเกรงกลัว จึงทำา


ตามที่ถูกนายดำาบังคับ นายเขียวมาเรียกร้องให้นายดำาและนายแดงร่วมกันคืนมะพร้าวหรือใช้ราคา ถ้าท่านเป็นนายดำาหรือ
นายแดงจะโต้แย้งประการใดหรือไม่

เฉลย
ปพพ. มาตรา 420 บัญญัติไว้มีใจความสำาคัญว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำาต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหาย
แก่ทรัพย์สิน….ผูน้ ั้นทำาละเมิด จำาต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ปพพ. มาตรา 433 บัญญัติไว้มีใจความสำาคัญว่า ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ เจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษา
ไว้แทนเจ้าของสัตว์จำาต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น
ตามมาตรา 420 เป็นความรับผิดของบุคคลในการกระทำาของตนเอง ส่วนตามมาตรา 433 เป็นความรับผิดของบุคคลในความ
เสียหายที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์
ตามปัญหา เป็นการที่นายดำาใช้ลิงของนายแดงเป็นเครื่องมือในการกระทำาละเมิดโดยบังคับให้ลิงลักมะพร้าวจากต้นของนาย
เขียว เป็นความรับผิดของนายดำาในการกระทำาของตนเอง มิใช่ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์ซึ่งเจ้าของสัตว์
จะต้องรับผิดตามมาตรา 433 นายดำาจึงต้องรับผิดต่อนายเขียวตามมาตรา 420 นายแดงเจ้าของลิงไม่ต้องรับผิดตามมาตรา
433 ถ้าข้าพเจ้าเป็นนายดำา จะไม่โต้แย้งกับนายเขียว แต่ถ้าเป็นนายแดงจะโต้แย้งกับนายเขียวโดยนัยดังกล่าว
3. นายจันทร์ขายบ้านและที่ดินให้นายเสาร์ แต่มิได้ทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย การซื้อ
ขายตกเป็นโมฆะเสียเปล่า ต่างก็เข้าใจว่าสัญญามีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย นายจันทร์ได้ส่งมอบบ้านและที่ดินให้นายเสาร์
ครอบครอง ลูกจ้างของนายเสาร์รีดผ้าให้นายเสาร์ตามหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ ทำาให้ไฟไหม้บ้านเสียหายไปแถบหนึ่ง ดังนี้
นายจันทร์มีสิทธิเรียกบ้านและที่ดินคืนได้หรือไม่ และนายเสาร์และลูกจ้างของนายเสาร์ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นาย
จันทร์หรือไม่

เฉลย
(ก) ในข้อที่ว่านายจันทร์จะเรียกบ้านและที่ดินคืนได้หรือไม่นั้น
ปพพ. มาตรา 406 วรรคแรก ตอนแรกบัญญัติว่า บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำาเพื่อชำาระหนี้
ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบแล้ว
ไซร้ บุคคลนั้นจำาต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา
และวรรค 2 ตอนแรกบัญญัติวา่ บทบัญญัติอันนี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงกรณีที่ได้ทรัพย์มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้
เป็นขึ้นด้วย
ตามปัญหา การที่มิได้ทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย การซื้อขายตกเป็นโมฆะเสียเปล่าและ
นายจันทร์ได้ส่งมอบบ้านและที่ดินให้นายเสาร์ครอบครองแล้วนั้น เป็นการได้ทรัพย์มาเพราะเหตุที่มิได้มีได้เป็นขึ้นตาม
ปพพ.มาตรา 406 วรรค 2 และทำาให้นายจันทร์เสียเปรียบ เป็นการได้ทรัพย์มาโดยลาภมิควรได้ นายเสาร์จึงต้องคืนบ้านและ
ที่ดินให้นายจันทร์ตามมาตรา 406 วรรคแรก
(ข) ในข้อที่ว่านายเสาร์และลูกจ้างนายเสาร์ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจันทร์หรือไม่นั้น
ปพพ.มาตรา 420 บัญญัติว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำาต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายแก่ทรัพย์สิน ผู้นั้น
ทำาละเมิด จำาต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
มาตรา 425 บัญญัติวา่ นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำาไปในทางการที่จ้าง
ตามปัญหา เมื่อการซื้อขายบ้านและที่ดินตกเป็นโมฆะเสียเปล่าตาม (ก) บ้านและที่ดินยังเป็นของนายจันทร์อยู่ การที่ลูกจ้าง
นายเสาร์รีดผ้าให้นายเสาร์ตามหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำาให้ไฟไหม้บ้านเสียหาย เป็นการกระทำาละเมิดตามมาตรา 420
ลูกจ้างนายเสาร์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย เหตุละเมิดได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้างเพราะเกิดเหตุเมื่อลูกจ้างรีดผ้าให้ตาม
หน้าที่ นายเสาร์จึงต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างด้วยตามมาตรา 425

4. ก ข และ ค ร่วมกันกู้เงิน ง ไป 60,000 บาท เพื่อจะไปลงทุนกิจการค้าร่วมกัน ต่อมาหนี้ถึงกำาหนดชำาระ ทั้ง ก ข และ ค เพิก


เฉยไม่ชำาระหนี้ ง จึงฟ้อง ก และ ข ให้ชำาระหนี้ให้แก่ตน คนละ 30,000 บาท ส่วน ค นั้นเป็นนักศึกษานิติศาสตร์ มสธ. ง สงสาร
ไม่อยากให้ ค เป็นความในศาล จึงไม่ฟ้อง ค
ก และ ข ต่อสู้ ง ว่าต่างรับผิดเป็นจำานวนเท่า ๆ กัน คือ คนละ 20,000 บาท ดังนี้ ก และ ข จึงรับผิดชอบร่วมกันเพียง 40,000
บาท อีก 20,000 บาท ง ต้องไปฟ้อง ค อีกต่างหาก
ดังนี้ ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก และ ข อย่างไรหรือไม่เพราะเหตุใด

เฉลย
ปพพ.มาตรา 291 บัญญัติว่า “ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทำาการชำาระหนี้โดยทำานองซึ่งแต่ละคนจำาต้องชำาระหนี้โดยสิ้นเชิงไซร้
แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะด้รับชำาระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว (กล่าวคือ ลูกหนี้ร่วม) ก็ดี เจ้าหนี้จะเรียกชำาระหนี้จากลูกหนี้
แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะใช้
ชำาระเสร็จสิ้นเชิง”
ปพพ.มาตรา 296 บัญญัติว่า “ในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันทั้งหลายนั้นท่านว่า ต่างคนต่างต้องรับผิดชอบเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่
จะได้กำาหนดเป็นอย่างอื่น….”
กรณีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ร่วมซึ่งเป็นบุคคลหลายคนซึ่งมีหน้าที่ร่วมกันที่จะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้จะได้รับชำาระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่
โดยส่วนหรือจะเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ร่วมพร้อมกันก็ได้ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิของ ง ซึ่งสามารถที่จะเรียกร้องให้ ก และ ข เท่านั้นที่
จะต้องชำาระหนี้ให้ ง
ระหว่างลูกหนี้ร่วมด้วยกันแล้ว ลูกหนี้ต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน แม้ว่า ก และ ข จะปฏิเสธไม่ชำาระเกินส่วนของตนไม่ได้
ก็ตาม เพราะต้องผูกพันอยู่จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำาระหนี้โดยสิ้นเชิง แต่เมื่อ ก และ ข ได้ชำาระหนี้แก่ ง โดยครบถ้วนไว้แล้ว ก็มี
สิทธิที่จะไล่เบี้ยส่วนทีแ่ ต่ละคนได้ออกเกินไปแทน ค ได้
ดังนั้น ข้าพเจ้าไม่เห็นชอบกับข้ออ้างของ ก และ ข โดยเห็นว่า ก และ ข ต้องชำาระหนี้เงินกู้คนละ 30,000 บาท ตามที่ ง ฟ้อง แต่
ทั้ง ก และ ข ก็มสี ิทธิจะไปไล่เบี้ยเอาจาก ค ในส่วนที่แต่ละคนได้จ่ายเกินไป คือคนละ 10,000 บาท

5. ข กู้เงิน ก ไป 100,000 บาท ในขณะเดียวกัน ค ก็เป็นลูกหนี้ของ ข โดยเป็นหนี้เงินค่าซื้อของเชื่อที่ซอื้ ไปจาก ข 50,000 บาท


ต่อมา ข กลายเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่มีทรัพย์สินใดเหลืออยู่เลย และ ข ก็ไม่ยอมฟ้องเรียกค่าซื้อของเชื่อจาก ค
ดังนี้ ก ได้มาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คำาปรึกษาแก่ ก อย่างไร เพื่อ ก จะได้รับชำาระหนี้ จาก ข

เฉลย
ปพพ.มาตรา 233 บัญญัติว่า “ถ้าลูกหนี้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้อง หรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ต้อง
เสียประโยชน์ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนลูกหนี้ เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้
เว้นแต่ในข้อที่เป็นการของลูกหนี้ส่วนตัวโดยแท้”
ปพพ.มาตรา 234 บัญญัติว่า “เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นั้นจะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้มาในคดีนั้นด้วย”
กรณีนี้เป็นเรื่องการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ซึ่งเป็นวิธีการที่เจ้าหนีส้ ามารถควบคุมกองทรัพย์สินของลูกหนี้ รวมทั้งให้เจ้าหนี้
ใช้วิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินที่บุคคลภายนอกต้องชำาระแก่ลูกหนี้ด้วย
ก สามารถใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้คือ ข ฟ้อง ค ในนามของตนเอง เพราะการที่ ข เพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องของตนโดยไม่
ฟ้องร้อง ค นั้น เป็นเหตุให้เจ้าหนี้คือ ก เสียประโยชน์เพราะ ข เองไม่มีทรัพย์สินที่จะชำาระหนี้ได้ครบถ้วน
ในการฟ้องคดีที่จะเรียกให้ ค ชำาระหนี้นั้น ก จะต้องขอหมายเรียก ข ลูกหนี้เข้ามาในคดีด้วย ตาม ม.234 ทั้งนี้เพื่อให้การ
พิจารณาพิพากษาคดีมีผลผูกพัน ข ซึ่ง ข จะปฏิเสธไม่รับรู้ผลของคดีไม่ได้
ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงแนะนำาให้ ก ใช้สิทธิเรียกร้องของ ข ฟ้อง ค ในนามของตน ให้ ค ชำาระหนี้ และหมายเรียก ข เข้ามาในคดีด้วย

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 2 ภาค 2/2547

1. แดงไปซื้อชุดนำ้าชาจากเหลือง 1 ชุด ราคา 20,000 บาท ประกอบด้วยกานำ้าชา 1 ใบ และ ถ้วยนำ้าชา 4 ใบ เพื่อจะนำาไป


ประกวด ขณะเหลืองห่อให้นั้นได้ทำาถ้วยนำ้าชาตกแตกไป 1 ใบ เหลืองจึงลดราคาให้ 5,000 บาท แต่แดงไม่ยอมรับซื้อชุดนำ้าชาที่
เหลือ และจะเรียกค่าเสียหายด้วย ทั้งสองตกลงกันไม่ได้จึงมาปรึกษาท่าน จะให้คำาปรึกษาอย่างไร
2. ต้อยเป็นเจ้าหนี้เงินกู้ของแดงอยู่ 5,000 บาท เมื่อถึงกำาหนดชำาระ ต้อยจึงไปทวงหนี้จากแดง แดงไม่ยอมจ่ายและยังพูดจาไม่
ดีและไม่เหมาะสมกับต้อย ต้อยโกรธมากจึงตบหน้าแดงไปหนึ่งครั้ง แดงเรียกร้องค่าเสียหายจากต้อยเป็นเงิน 2,000 บาท ต้อย
ยอมตกลงแต่ขอให้หักเงินจากเงิน 5,000 บาท ที่แดงเป็นหนี้อยู่ แดงปฏิเสธอ้างไม่เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นคนละครั้งจะนำามาหักกลบ
กันไม่ได้ ....ถามว่า ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของแดงหรือไม่ เพราะอะไร

3. อ้อยและโต้งเป็นเพื่อนบ้านกันมีบ้านอยู่ติดกัน ต้นไม้ของโต้งอยู่ติดริมรั้วบ้านแผ่กิ่งก้านเข้ามาในเขตบ้านของอ้อย อ้อยเห็น


ว่ากิ่งไม้จะหักอยู่แล้วจึงบอกโต้งให้ตัดกิ่งไม้เสีย โต้งก็เพิกเฉย อ้อยจึงตัดสินใจตัดกิ่งไม้เอง ขณะกำาลังตัดและกิ่งไม้จวนจะขาด
จากต้น อ้อยได้ดันกิ่งไม้นั้นไปยังเจตบ้านโต้ง เพื่อให้ไม้หล่นอยู่ในเขตบ้านของโต้ง ปรากฏว่ากิ่งไม้ไปกระทบถูกตุ่มนำ้า ทำาให้ตุ่ม
นำ้าของโต้งแตกเสียหาย ....ถามว่า โต้งจะเรียกร้องค่าเสียหายจากอ้อยได้หรือไม่

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 2 ภาค 1/2547

1. ดาวยืมรถยนต์เดือนไปเที่ยวงานลอยกระทงที่จังหวัดสุโขทัย หลังเสร็จงานลอยกระทง ดาวกลับมาแต่ไม่นำารถมาคืนเดือน


กลับนำาไปเที่ยวต่อรถเกิดไปเฉี่ยวชนกับรถของจันทร์ ดาวนำารถมาคืนให้เดือนโดยไม่ได้ซ่อมให้ ดาวบอกให้เดือนไปเรียกร้องค่า
เสียหารเอากับจันทร์เป็นคนผิด ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับข้ออ้างของดาว

2. นำาเงิน แดง และขาว ร่วมกันกู้ยืมเงินจากดำา 6 หมื่นบาท โดยเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ดำาได้ปลดหนี้ให้นำ้าเงิน 2 หมื่นบาท ต่อมาดำา


ได้เรียกร้องให้นำ้าเงินและแดงชำาระหนี้ นำ้าเงินอ้างว่าดำาได้ปลดหนี้ให้กับตนเองแล้ว แดงอ้างว่าดำาปลดหนี้ให้นำ้าเงินตนก็มสี ่วน
จากการที่ดำาปลดหนี้ให้นำ้าเงินให้ดำาเรียกร้องเอาจากขาว ท่านมีความเห็นกับข้ออ้างของนำ้าเงินและแดงอย่างไร เพราะอะไร

3. ข กับ ค เป็นเพื่อนกัน ง นำาสุนัขมาฝากให้ ข ช่วยเลี้ยง ค เดินมา ข อยากแกล้ง ค จึงยุให้สุนัขกัด ค แต่สุนัขตัวเล็กกัด ค ไม่


เข้า ค โกรธจึงฟ้อง ข กับ ง ให้รับผิดในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ข กับ ง มาปรึกษาท่าน ท่านแนะนำา ข กับ ง ไปอย่างไร

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 3 ภาค 1/2547

1. นายสมชายจดทะเบียนสมรสกับนางแดง ต่อมาไม่นานก็ไปจดทะเบียนสมรสกับนางดำาอีก หลังจากนั้นนางแดงถึงแก่ความ


ตายนายสมชายจึงจดทะเบียนสมรสกับนางขาวซ้อนเข้าไปอีก นายสมชายอยู่กินกับนางดำาเพียงผู้เดียวและเก็บรวบรวมเงิน
เดือนของตนได้เป็นเงิน 200,000 บาท นอกจากนั้นยังส่งไปรษณีย์บัตรทายผลฟุตบอลยูโรชิงโชคได้รางวัลเป็นรถเบนซ์อีก 1 คัน
ต่อมานางขาวจดทะเบียนอย่ากับนายสมชายและมาฟ้องศาลขอแบ่งเงินกับรถเบนซ์ดังกล่าว ดังนี้
ถ้าท่านเป็นศาลจะพิพากษาให้แบ่งทรัพย์สินทั้งสองอย่างแก่นางขาวบ้างหรือไม่ เพียงใด

2. นายสมบัติ อายุ 18 ปี บิดาถึงแก่ความตายไปนานแล้ว ส่วนมารดาไปทำางานที่ไต้หวันไม่ติดต่อกลับมาเลยจนถึงบัดนี้เป็น


เวลา 3 ปีเศษแล้ว นายสุเทพ อายุ 21 ปี ผูเ้ ป็นน้าของนายสมบัติประสงค์จะเป็นผู้ปกครองของนายสมบัติและนายสมบัติเองก็
ประสงค์จะใช้นามสกุล "วงศ์โสภา" ของนายสุเทพ จึงยินยอมให้นายสุเทพมายื่นคำาร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้ปกครองของตน และ
สัง่ ให้ตนใช้นามสกุลของนายสุเทพได้ จงวินิจฉัย ศาลจะมีคำาสั่งตามความประสงค์ของนายสมบัติและนายสุเทพได้หรื่อไม่
เพียงใด

3. นายวันดีเขียนพินัยกรรมขึ้นมาฉบับหนึ่งลงวันที่ 3 มกราคม 2546 มีข้อความยกเงินสดถวายวัดผาสุกดี จำานวน 100,000


บาท ยกเครื่องเพชรทั้งหมดให้นางพิมพาภริยา และยกเงินสด 30,000 บาท ให้นายประสิทธิ์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรม นายวันดีลง
ลายมือชื่อในพินัยกรรมแล้วเก็บใส่ลิ้นชักไว้ อีก 1 เดือนต่อมานายวันดีได้นำาพินัยกรรมที่ทำาไว้มาขีดฆ่าข้อความที่ยกเงินถวาย
วัดผาสุกดีออก แล้วเก็บพินัยกรรมใส่ลิ้นชักไว้ใหม่ โดยมิได้ลงลายมือชื่อในส่วนที่ขีดฆ่า นายวันดีถึงแก่กรรมด้วยอาการหัวใจ
ล้มเหลว เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2547 จงพิจารณาว่าพินัยกรรมของนายวันดีมีผลบังคับใช้เพียงใด หรือไม่

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 3

นายสายัณท์ อายุ 23 ปี มีความรักใคร่ชอบพอกับนางสาวสนธยา ซึ่งมีอายุ 21 ปี พากันไปเที่ยวทะเลด้วยกัน และนายสายัณท์


ทำาการหมั้นนางสาวสนธยาด้วย แหวนเรือนทองฝังเพชร โดยไม่มผี ู้ใหญ่เป็นสักขีพยานทั้งเลยสักคน และคืนที่เที่ยวนายสายั
ณท์ กับนางสาวสนธยาก็ได้ร่วมประเวณีกัน พอกลับมานางสาวสนธยาก็ซื้อชุดแต่งงาน 15000 บาท และค่าเสียหายที่ลาออก
จากงานเพื่อจะไปอยู่สหรัฐกับนายสายัณห์ ก็เรียกได้ด้วย แต่นายสายัณท์กลับไปจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่น อยากทราบว่า
นางสาวสนธยา เรียกร้องค่าเสียหายแก่การร่วมประเวณีคืนนั้นกันได้ไหมนางสาวสนธยาก้มีความสุขด้วยเช่นกัน และค่าซื้อชุด
แต่งงาน รวมทั้งค่าที่ได้ออกจากงานที่ทำาด้วย รวมทั้งต้องคืนแหวนทองฝังเพชรให้นายสายัณท์หรือเปล่า

นายเสมา อายุ 50 ปี โสด จดทะเบียนรับนาย ช้างอายุ 34 ปี และ น.ส.แก้วอายุ 30 ปีอีกคนหนึ่ง ซึ่ง น.ส.แก้วในขณะนั้นเป็น
บุตรบุญธรรมของนายขวัญอยู่ ต่อมานายเสมาค้าขายขาดทุนไม่มีรายได้ จึงเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบุตร บุญธรรมได้
หรือไม่ ?

นายจันทร์พ่อหม้ายมีบุตร 1 คนคือ นายอังคาร และมาอยู่กินกันฉันสามีภรรยากับนางศุกร์ นายจันทร์ได้พิมพ์พินัยกรรมฉบับ


หนึ่งเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 43 ยกรถยนต์ทะเบียน (กค.1526 ) กทม. 1 คันให้นายอังคาร และเงินสด 10,000 ให้กับนางศุกร์ โดยมี
นายแสวงและสมานเพื่อนบ้านเป็นพยาน ลงลายมือชื่อในพินัยกรรม 6 เดือนต่อมานายจันทร์ไม่มีเงินจึงนำารถยนต์คันดังกล่าว
ไปขายให้กับนายแสวง ซึ่งเป็นข้อกำาหนดในพินัยกรรม ต่อมานายจันทร์ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล รางวัลที่ 1 ได้นำาเงินมาซื้อ
รถยนต์คืนจากนายแสวง นายแสวงเห็นว่าเป็นเพื่อนจึงจำาใจขายคืนรถยนต์ให้อีก 1 เดือนต่อมา นายจันทร์ตายด้วยโรคมะเร็ง
ถามว่าพินัยกรรมมีผลอย่างไร ?

ข้อสอบกฎหมายพาณิช 1

1. นางขจีมีภูมิลำาเนาอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ตกลงให้นายสุขุมเช่าบ้านที่อยู่ที่กรุงเทพ ฯ มีกำาหนดเช่ากัน 5 ปี ค่าเช่าเดือนละ


25,000 บาท แต่การเช่ามิได้ทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พอเช่ากันมาได้ปีครึ่ง นายสุขุมผิดนัดชำาระค่า
เช่า 2 เดือน นางขจีจึงโทรศัพท์ทางไกลทวงถามให้ชำาระ ต่อมานายสุขุมมีจดหมายลงลายมือชื่อของนายสุขุมขอผัดชำาระค่าเช่า
ที่ค้างชำาระไปอีก 2 เดือน นางขจีไม่ยอม ดังนี้ นางขจีจะฟ้องบังคับให้นายสุขุมชำาระค่าเช่าที่ค้างได้หรือไม่
เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 538 การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้อง
รับผิดเป็นสำาคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกำาหนดสามปีขึ้นไป หากมิได้ทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีแต่เพียงสามปี กรณีตามปัญหา แม้สัญญาเช่าระหว่างนางขจีกับนาย
สุขุม ซึ่งตกลงเช่ากัน 5 ปี จะไม่ได้ทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ก็มีจดหมายลงลายมือชื่อของนาย
สุขุมขอผัดชำาระค่าเช่าที่ค้างชำาระ การเช่าจึงมีหลักฐานเป็นหนังสือของผู้เช่าคือนายสุขุมซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำาคัญ ตาม
มาตรา 538 แล้ว ตามปัญหาหลังเช่ากันมาได้ปีครึ่ง นายสุขุมก็ผิดนัดชำาระค่าเช่า 2 เดือน นายขจีจึงฟ้องร้องบังคับคดีเรียกค่า
เช่าที่นายสุขุมผิดนัดชำาระได้

2. นายวุฒิตกลงเช่าตึกแถวที่กำาลังก่อสร้างอยู่จากนายสิทธิหนึ่งห้องเพื่อจัดตั้งสำานักงานทนายความ มีกำาหนดเวลาเช่ากัน 3 ปี
ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายแต่ประการใด แต่นายวุฒิได้ให้ค่าเช่าล่วง
หน้านายสิทธิไปแล้ว 3 เดือน เป็นเงิน 30,000 บาท เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว นายสิทธิไม่ยอมส่งมอบห้องตึกแถวแก่นายวุฒิ นาย
วุฒิจึงต้องฟ้องร้องขอให้ศาลบังคับให้นายสิทธิส่งมอบห้องให้แก่ตน โดยอ้างว่าสัญญาเช่าผูกพันใช้บังคับกันได้ เพราะได้ชำาระ
ค่าเช่าล่วงหน้าอันเป็นการชำาระหนี้ตามสัญญาเช่าแก่นายสิทธิถึง 3 เดือน ถ้าท่านเป็นศาล จะตัดสินให้นายวุฒิหรือนายสิทธิ
ชนะคดี

เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 538 การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้อง


รับผิดเป็นสำาคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ตามมาตรา 538 จำากัดเฉพาะการมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลง
ลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำาคัญ จึงจะฟ้องบังคับคดีกันได้ ไม่รวมถึงการชำาระหนี้ลว่ งหน้า กรณีตามปัญหา แม้นายวุฒิ
ชำาระค่าเช่าล่วงหน้าแล้ว 3 เดือน แต่การเช่าก็ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำาคัญ ซึ่งตามปัญหา
ก็คือ นายสิทธิผู้ให้เช่า นายวุฒิผู้เช่า จึงฟ้องร้องบังคับคดีให้นายสิทธิส่งมอบห้องให้ตนหาได้ไม่ ตาม ปพพ. มาตรา 538 ถ้า
ข้าพเจ้าเป็นศาล จะตัดสินให้นายสิทธิเป็นฝ่ายชนะคดี

3. แดงทำาสัญญาเช่าบ้านจากดำาหลังหนึ่ง โดยทำาสัญญาเป็นหนังสือกำาหนดชำาระค่าเช่าทุกวันสิ้นเดือน สัญญาเช่าระบุว่าไม่


อนุญาตให้ผู้เช่าเอาบ้านไปให้เช่าช่วง และสัญญาเช่าฉบับนี้ไม่ได้กำาหนดระยะเวลาการเช่าเอาไว้ ปรากฏว่า แดงเช่าบ้านหลัง
นั้นได้เพียง 7 เดือน แดงก็นำาบ้านนั้นไปให้เขียวเช่าช่วง ดำาจึงถือสาเหตุที่แดงผิดสัญญาเอาบ้านไปให้เขียวเช่าช่วง บอกเลิก
สัญญาทันทีและให้ส่งมอบบ้านคืนภายใน 15 วัน แดงต่อสู้ว่า (ก) ดำาจะบอกเลิกสัญญาทันทีไม่ได้ ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเสีย
ก่อน และ (ข) สัญญาเช่าฉบับนี้เป็นสัญญาเช่าที่ไม่มกี ำาหนดเวลา การใช้เวลาเพียง 15 วันไม่ถูกต้อง ดังนี้ จงวินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้
ของแดงฟังได้หรือไม่ เพียงใด

เฉลย ตาม ปพพ. มาตรา 544 วางหลักกฎหมายไว้ว่า ทรัพย์สินซึ่งเช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงหรือโอนสิทธิของตนอันมีใน


ทรัพย์สินนั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลภายนอก ท่านว่าหาอาจทำาได้ไม่เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นใน
สัญญาเช่า ถ้าผู้เช่าประพฤติฝ่าฝืนบทบัญญัติอันนี้ ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ และตาม ปพพ. มาตรา 566 วางหลัก
กฎหมายไว้ว่า ถ้ากำาหนดเวลาเช่าไม่ปรากฏในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้ไซร้ ท่านว่าคู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิก
สัญญาเช่าในขณะเมื่อสุดระยะเวลาอันเป็นกำาหนดชำาระค่าเช่าก็ได้ทุกระยะ แต่ต้องบอกกล่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ตัวก่อนชั่ว
กำาหนดเวลาชำาระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อย แต่ไม่จำาต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่า 2 เดือน กรณีตามปัญหา (ก) ข้อต่อสู้ของ
แดงฟังไม่ได้ เพราะแดงเอาไปให้เช่าช่วง ผิดสัญญาเช่า ดังนั้น ดำาจึงบอกเลิกสัญญาเช่าทันทีได้ ตาม ปพพ. มาตรา 544 วรรค
2 (ข) ข้อต่อสู้ของแดงฟังไม่ได้ เพราะเป็นการบอกเลิก และเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มกี ำาหนดเวลา ซึ่งต้องบังคับตามมาตรา 566
สัญญาจึงไม่มีกำาหนดเวลาตามมาตรา 566

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 1 สอบซ่อม ภาค 1/2544

มกราบุกรุกที่ดินของกุมภาเพื่อเลี้ยงไก่ชนขาย ต่อมากุมภาขายที่ดินแปลงนั้นแก่มีนาโดยจดทะเบียนการซื้อขายถูกต้องทุก
อย่าง และมีนาก็ทราบเหตุการณ์บุกรุกที่ดินของกุมภาเป็นอย่างดี เมื่อมีนาเข้าไปในที่ดินเพื่อครอบครองใช้ประโยชน์ในฐานะ
เจ้าของและถูกมกราขัดขวาง มีนาจึงเรียกร้องให้กุมภารับผิดชอบโดยอ้างว่าตนถูกรอนสิทธิ ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของมีนา
หรือไม่ และกุมภาผู้ขายจะต้องส่งมอบที่ดินที่ขายแก่มีนาหรือไม่

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 4

1. นายเกิดลงทุน 50,000 บาท นายไก่ลงทุน 50,000 บาท นายกว้างลงทุน 40,000 บาท เข้าหุ้นส่วนทำาอู่ซ่อมรถยนต์ สิน้ ปีแรก
ห้างฯ เป็นหนี้ค่าอะไหล่บริษัทสมพรอะไหล่ยนต์ เป็นเงิน 50,000 บาท นายไก่ขอลาออกจากหุ้นส่วน ดังนี้นายไก่ต้องรับผิดใน
หนี้ของห้างฯ หรือไม่ นายเกิดและนายกว้างก็ยังดำาเนินการอู่ซ่อมรถยนต์ต่อ พร้อมทั้งไปจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
นิติบุคคล นายเกิดได้ซื้ออะไหล่จากบริษัทสมพรฯ และค้างชำาระหนี้อีก 20,000 บาท บริษัทสมพรฯ ได้ฟ้อง นายเกิด นายกว้าง
ให้รับผิดชำาระหนี้ จงอธิบายว่าบุคคลทั้งสองต้องรับผิดชำาระหนี้ของห้าง ฯ อย่างไร หรือไม่

เฉลย
ตาม ปพพ. มาตรา 1051 บัญญัติไว้ว่า ตามปัญหานายไก่ต้องรับผิดในหนี้ของห้างฯ ที่เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากห้างหุ้นส่วน
และต้องรับผิดไม่จำากัดจำานวนจนกว่าจะหมดอายุความของหนี้ ตามหลักกฎหมายที่ว่า “ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไป
แล้วยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนไป” (มาตรา 1051)
แต่เมื่อห้างหุ้นส่วนได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและค้างชำาระหนี้ 20,000 บาท เจ้าหนี้ของห้างฯ จะฟ้องให้นายเกิดและนายก
ว้างร่วมกันรับผิดชำาระหนี้ได้ เพราะการซื้ออะไหล่เป็นกิจการที่เป็นธรรมดาของการค้าของห้างฯ แต่เนื่องจากห้างฯเป็น
นิติบุคคลมีตัวตนต่างหากจากห้างหุ้นส่วน เจ้าหนี้ของห้าง ฯ จะฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนให้ชำาระหนี้ได้ตามหลีกกฎหมายที่ว่า “เมื่อใด
ห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนผิดนัดชำาระหนี้เมื่อนั้นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนชอบที่จะเรียกชำาระหนี้เอาแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคน
หนึ่งก็ได้” ดังนั้นบริษัท สมพรฯ จึงเรียกให้เกิดแลกว้างชำาระหนี้

2. นายดำามีหุ้นซึ่งออกให้แก่ผู้ถือจำานวน 200 หุ้น และหุ้นระบุชื่อจำานวน 100 หุ้น นายดำาได้โอนขายหุ้นของนายดำาจำานวน 100


หุ้น ให้แก่นายแดง เป็นหุ้นผู้ถือ 70 หุ้น และหุ้นระบุชื่อ 30 หุ้น นายดำาส่งมอบใบหุ้นทั้ง 2 ชนิด ให้แก่นายแดงไป
การโอนหุ้นของนายดำาที่โอนให้นายแดงถูกต้องหรื อไม่ เพียงใด ถ้าไม่ถูกต้อง นายดำาจะต้องทำาอย่างไร

เฉลย
ปพพ.มาตรา 1129 , ปพพ.มาตรา 1135
ตามปัญหา นายดำามีหุ้นออกให้แก่ผู้ถือจำานวน 200 หุ้น หุ้นระบุชื่อจำานวน 100 หุ้น นายดำาโอนหุ้นผู้ถือ 70 หุ้น ให้แก่นายแดง
ตามหลักกฎหมายที่กำาหนดในเรื่องการโอนหุ้นผู้ถือตามมาตรา 1135 นั้นสามารถโอนกันได้เพียงการส่งมอบเท่านั้น ดังนี้ผู้ถือ
หุ้น 70 หุ้น ของนายดำาที่โอนให้แก่นายแดงนั้น สมบูรณ์ สำาหรับกรณีหุ้นระบุชื่อจำานวนอีก 30 หุ้น นั้นการโอนดังกล่าวไม่มีผล
เพราะการโอนหุ้นระบุชื่อ ตามหลักกฎหมายมาตรา 1129 กำาหนดให้ทำาเป็นหนังสือมีพยานอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อ และ
ลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน หากไม่ทำาการโอนตามที่กฎหมายกำาหนด การโอนตกเป็นโมฆะ ดังนั้นการโอนหุ้น 30 หุ้น ของ
นายดำาให้กับนายแดงนั้นตกเป็นโมฆะ นายดำาจะต้องทำาหนังสือตามที่กฎหมายกำาหนด พร้อมทั้งระบุหมายเลขหุ้นไว้ท้าย
หนังสือด้วย
ดังนั้น การโอนหุ้น 70 หุ้น นั้น มีผลสมบูรณ์ ส่วนการโอนหุ้นระบุชื่อ 30 หุ้น นั้น ตกเป็นโมฆะ

3. นายใหญ่มีความประสงค์จะทำาการค้า จึงได้รวบรวมสมาชิกได้ 7 คน มีนายเล็ก นายกลาง นายจิ๋ว ซึ่งเป็นน้องชายของนาย


ใหญ่ และนายเสือ นายสิงห์ และนางแมว ซึ่งเป็นเพื่อนของนายใหญ่ จึงได้จัดตั้งบริษัทใหญ่ยิ่ง จำากัด ขึ้น มีทุนจดทะเบียน 1
ล้านบาท และมีผู้ถือหุ้นอีกประมาณ 20 คน บริษัทได้ดำาเนินการมา 1 ปี ได้กำาไรดีมาก นายใหญ่พยายามบีบผู้ถือหุ้นจากทุกคน
ขายหุ้นให้นายใหญ่บ้าง ให้นายเล็ก นายกลาง และนายจิ๋วบ้าง ยังเหลือผู้ถือหุ้นคือ นายเสือ นายสิงห์ และนางแมว เท่านั้นที่ยัง
เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ ต่อมาในปีที่สอง บริษัททำากำาไรมากกว่าปีแรก 3 เท่า นายใหญ่จึงพยายามที่จะบีบให้นายเสือ นายสิงห์ และ
นางแมวขายหุ้นของบริษัทให้นายใหญ่ นายสิงห์ทนแรงบีบไม่ไหว จึงถอนตัวออกไป โดยโอนขายหุ้นให้กับนายใหญ่ ส่วยนาย
เสือกับนางแมวไม่ยอมขายหุ้นให้นายใหญ่ จึงคิดที่จะเลิกบริษัทใหญ่ยิ่ง จำากัด แต่ทั้งสองคนไม่แน่ใจว่าจะทำาได้หรือไม่
นายเสือกับนางแมว จึงมาปรึกษาท่านว่า หากจะเลิกบริษัทจะสามารถฟ้องศาลขอให้เลิกบริษัทได้หรือไม่ ขอให้ท่านให้คำา
แนะนำากับคนทั้งสอง

เฉลย
ปพพ.มาตรา 1237(4) นอกจากนี้ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทด้วยเหตุต่อไปนี้ คือ
(4) ถ้าจำานวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนเหลือไม่ถึงเจ็ดคน
จากปัญหา บริษัทใหญ่ยิ่ง ได้จัดขึ้นโดยมีนายใหญ่ เล็ก กลาง จิ๋ว เสือ สิงห์ และแมว เป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ของบริษัท บริษัทดำาเนินการมามีผู้ถือหุ้นอื่นอีกมาก แต่หลังจากบริษัทได้กำาไร ถูกบีบให้ขายหุ้นให้พี่น้อง จึงเหลือผู้ถือหุ้น
จำานวน 7 คนเท่านั้น ต่อมาในปีที่สอง นายสิงห์ขายหุ้นให้กับนายใหญ่อีก จึงทำาให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทเหลืออยู่เพียง 6 คน ตาม
หลักกฎหมายมาตรา 1237 (4) ได้กำาหนดไว้ว่าหากผู้ถือหุ้นลดน้อยลงเหลือไม่ถึง 7 คน ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทได้ บริษัทใหญ่
ยิ่งเหลือผู้ถือหุ้นอยู่ คือ ใหญ่ เล็ก กลาง จิ๋ว เสือ และแมว จำานวน 6 คน จึงเป็นเหตุหนึ่งที่จะฟ้องศาลให้สั่งยกเลิกบริษัทได้
นายเสือ และนางแมว จึงสามารถฟ้องศาลขอให้เลิกบริษัทได้
4. นิด หน่อย และน้อยเข้าหุ้นส่วนประกอบกิจการค้าเสื้อผ้าสำาเร็จรูป และได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ต่อมาน้อยต้องการออกจากห้างหุ้นส่วน น้อยต้องปฏิบัติอย่างไร และเมื่อน้อยออกจากห้างหุ้นส่วนไปแล้ว น้อยยังต้องรับผิดใช้
หนี้สินของห้างหุ้นส่วนอย่างไร หรือไม่

เฉลย
ตามปัญหาห้างหุ้นส่วนนี้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และไม่ได้กำาหนดเวลาเลิกห้างฯ ไว้การที่นายน้อยต้องการออกจาก
ห้างหุ้นส่วน ก็เท่ากับต้องการที่จะเลิกห้างฯด้วย ซึ่งนายน้อยต้องบอกกล่าวการเลิกห้าง โดยบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหก
เดือน ก่อนสิ้นรอบปีทางบัญชี (1056)
ตามหลักกฎหมายที่ว่า “ถ้าห้างหุ้นส่วนนั้นตั้งขึ้นโดยไม่มกี ำาหนดกาลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติ ท่านว่าจะเลิกได้ต่อเมื่อผู้เป็น
หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งบอกเลิก เมื่อสิ้นรอบปีทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้น และผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นต้องบอกกล่าว ความจำานง
เลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือน”
สำาหรับความรับผิดในหนี้ของห้างฯ นั้น น้อยต้องรับผิดในหนี้ของห้างฯ ที่เกิดขึ้น ขณะที่ตนเป็นหุ้นส่วนอยู่ และรับผิดไม่เกินสอง
ปี นับแต่วันที่ออกจากห้างฯ ( 1058 )
ตามหลักกฎหมายที่ว่า “ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน อันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้น
ก่อนที่ตนออกจากห้างหุ้นส่วนนั้น ย่อมมีจำากัดเพียง 2 ปี นับแต่เมื่อออกจากห้างหุ้นส่วน

5. นายสิงห์โอนหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือให้แก่นายเม่น จำานวน 150 หุ้น โดยทำาเป็นหนังสือมีลายมือชื่อ นายสิงห์ นายเม่น และ


พยาน 1 คน ระบุหมายเลขหุ้นครบถ้วนทุกประการ เมื่อนายเม่นถือหุ้น 150 หุ้นนั้นอยู่ประมาณ 3 เดือน นายเม่นประสงค์ที่จะ
เปลี่ยนหุ้นที่ถืออยู่นั้นเป็นหุ้นระบุชื่อ เนื่องจากกิจการบริษัทกำาไรดี จึงอยากที่จะมีชื่อในใบหุ้น นายเม่นพบใครก็ถามว่าเปลี่ยน
ได้หรือไม่ บางคนก็บอกว่าเปลี่ยนได้ บางคนบอกไม่ได้ และบางคนยังบอกว่าการโอนหุ้นที่นายสิงห์โอนให้แก่นายเม่นไม่ถูกต้อง
เพราะหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ ไม่ต้องทำาเป็นหนังสือแต่อย่างใด จะทำาเฉพาะหุ้นระบุชื่อเท่านั้น นายเม่นจึงสับสน ได้มาปรึกษาท่าน
ว่า
1. การโอนหุ้นที่นายเม่นได้มานั้นถูกต้องหรือไม่
2. การขอเปลี่ยนหุ้นออกให้แก่ผู้ถือเป็นหุ้นระบุชื่อทำาได้หรือไม่
ให้ทา่ นให้คำาแนะนำาแก่นายเม่น

เฉลย
ตามปพพ.มาตรา 1135 บัญญัติไว้ว่า “หุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือนั้น ย่อมโอนกันได้เพียงการส่งมอบใบหุ้นแก่กัน
จากคำาถามในประเด็นแรกที่ว่าการที่นายสิงห์โอนหุ้นให้แก่นายเม่นนั้นถูกต้องหรือ ไม่ จากการที่กฎหมายกำาหนดในเรื่องการ
โอนหุ้นชนิดที่เป็นหุ้นผู้ถือนั้น เนื่องจากเป็นหุ้นที่ได้ชำาระเงินครบแล้ว จึงสามารถที่จะโอนกันได้โดยการส่งมอบใบหุ้นให้ก็ถือว่า
เป็นการถูกต้องแล้ว ตามหลักกฎหมายมาตรา 1135 ดังนั้นการที่นายสิงห์โอนหุ้นชนิดผู้ถือให้นายเม่นนั้นเป็นเรื่องที่ทำาได้ไม่ขัด
ต่อกฎหมายแต่อย่างใด เพราะความถูกต้องอยู่ที่การส่งมอบให้นั่นเอง ดังนั้นการโอนหุ้นที่นายเม่นได้มาจึงเป็นการถูกต้องแล้ว
ตามปพพ.มาตรา 1136 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ทรงใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ ย่อมมีสิทธิจะมาขอเปลี่ยนเอาใบหุ้นชนิดระบุชื่อได้ เมื่อ
เวนคืนใบหุ้นชนิดฉบับออกให้แก่ผู้ถือนั้นให้ขีดฆ่าเสีย”
จากคำาถามในประเด็นที่สอง ที่นายเม่นจะขอเปลี่ยนหุ้นชนิดผู้ถือเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อนั้น สามารถที่จะทำาได้ เพราะกฎหมาย
อนุญาตให้ผู้ทรงใบหุ้นชนิดถือนั้นใช้สิทธิในการขอเปลี่ยนประเภทใบหุ้นได้ เมื่อนายเม่นเป็นผู้ทรงใบหุ้น ดังกล่าวจึงเป็นผู้มสี ิทธิ
ที่จะขอเปลี่ยนใบหุ้นเป็นใบหุ้นระบุชอื่ ได้ ตามหลักกฎหมายมาตรา 1136 ที่กล่าวมาข้างต้น
ดังนั้นนายเม่นสามารถที่จะขอเปลี่ยนใบหุ้นที่ได้รับการโอนมาโดยถูกต้องจากนายสิงห์ได้ตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้

6. นายสินได้รวบรวมเพื่อนจำานวน 8 คน ดำาเนินการจัดตั้งบริษัทสินสหาย จำากัด ขึ้นมา หลังจากที่ได้จดทะเบียนบริษัทเป็นที่


เรียบร้อย ได้ให้นายสินเป็นกรรมการผู้จัดการ ยังไม่ทันที่นายสินจะเริ่มลงมือบริหารงานของบริษัทสินสหายจำากัดแต่อย่างใด
นายสินถูกบริษัทแสนสี่จำากัด ซื้อตัวไปเป็นผู้จัดการด้วยเงินเดือนที่สูงมาก นายสินจึงมิได้ดำาเนินกิจการของบริษัทสินสหายแต่
อย่างใดเลย ทำาให้เพื่อนในทีมผู้ก่อตั้ง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นกลุ้มใจมาก พบนายสินเมื่อใดก็เร่งรัดให้นายสินดำาเนินการ นายสินก็
รับปากแล้วก็ไม่ทำาอะไร เวลาผ่านไปหนึ่งปีครึ่ง เพื่อนทั้ง 8 คน ซึ่งมีนายแก้วเป็นแกนนำา จึงปรึกษากันว่า จะทำาอย่างไรกับ
บริษัทสินสหายจำากัด ซึ่งนายแก้วและเพื่อน ๆได้ชำาระค่าหุ้นกันไปบ้างแล้ว นายแก้วก็เสนอข้อคิดกับเพื่อนผู้ถือหุ้นว่า ถ้าเป็น
เช่นนั้นเลิกบริษัทไปเลยดีกว่า ซึ่งเพื่อนก็เห็นด้วย แต่นายกิ่งค้านว่าบริษัทตั้งมาแล้ว จะเลิกได้อย่างไร กฎหมายจะยอมให้เลิก
หรือ
นายแก้วจึงมาปรึกษาท่านว่า จะสามารถเลิกบริษัทได้หรือไม่ และถ้าเลิกจะต้องทำาอย่างไร

เฉลย
ตามปพพ.มาตรา 1237 (2) บัญญัติไว้วา่ “นอกจากนี้ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทจำากัดด้วยเหตุต่อไปนี้ (1) ………..
(2) ถ้าบริษัทไม่เริ่มทำาการภายในหนึ่งปีนับแต่วันจดทะเบียน หรือหยุดทำาการถึงหนึ่งปีเต็ม…….
จากคำาถามนายสินและเพื่อนได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยตั้งให้นายสินเป็นกรรมการผู้จัดการ แต่ด้วยเหตุ
ที่บริษัทแสนสี่ได้มาซื้อตัวนายสินไปนั้น ทำาให้นายสินไม่คิดที่จะมาเริ่มดำาเนินกิจการของบริษัทสินสหายแต่อย่างใด ไม่ว่านาย
แก้วและเพื่อน ๆ จะทวงถามอย่างไรก็ตาม นายสินก็ไม่เข้ามาดำาเนินกิจการของบริษัทสินสหาย จนเวลาล่วงเลยมาเป็นเวลา
ปีกว่า นายแก้วจึงเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับบริษัทสินสหาย โดยขอให้เลิกบริษัท แต่มีผู้คัดค้านว่า จดทะเบียนบริษัท
แล้วจะเลิกไม่ได้
ในหลักการเรื่องการยกเลิกบริษัทนั้นกฎหมายกำาหนดว่าถ้ากำาหนดกันไว้เข้าเกณฑ์ตามมาตรา 1236 ก็ให้เป็นไปตามนั้น แต่
หากมีเหตุที่บริษัทไม่สามารถดำาเนินการได้ตามที่กฎหมายกำาหนดไว้ตามมาตรา 1236 แล้วก็สามารที่จะปฏิบัติตามมาตรา
1237 ได้โดยสามารถที่จะร้องขอให้ศาลสั่งให้เลิกบริษัทได้ตามเหตุที่กำาหนดไว้
ซึ่งตามปัญหาข้างต้นนั้นเป็นเรื่องที่บริษัทได้จดทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยแต่บริษัทไม่เริ่มทำาการ กฎหมายกำาหนดให้เป็นเหตุที่
สามารถที่จะร้องขอให้เลิกบริษัทได้ การที่นายแก้วเสนอให้มีการเลิกบริษัทนั้นเป็นสิ่งทีท่ ำาได้ โดยการร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมี
คำาสั่งให้เลิกบริษัท เพราะบริษัทสินสหายไม่มีการเริ่มทำาการภายในเวลาหนึ่งปี นับตั้งแต่เริ่มจดทะเบียนมา
ดังนั้นตามที่นายแก้วและเพื่อนได้เสนอให้เลิกบริษัทนั้น สามารถเลิกบริษัทได้ด้วยเหตุที่ไม่เริ่มดำาเนินกิจการภายในหนึ่งปีนับแต่
เมื่อได้จดทะเบียนบริษัท โดยการร้องขอต่อศาลให้ศาลมีคำาสั่งให้เลิกบริษัทสินสหายได้ตามที่กล่าวมาข้างต้น

7. นายเจริญ และนายสุข เป็นหุ้นส่วนกัน ในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการค้าไม้ นายเจริญขายไม้


ของหุ้นส่วนให้นายศิริ เป็นเงินเชื่อ 100,000 บาท ต่อมานายเจริญเดินทางไปดูงานต่างประเทศเป็นเวลานาน นายสุขจึงทำา
หน้าที่หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯแทน และได้เรียกให้นายศิริ ชำาระค่าไม้ แต่นายศิริไม่ยอมชำาระ
นายสุขจะฟ้องศาลบังคับให้นายศิริชำาระหนี้ดังกล่าวได้หรือไม่

เฉลย
ตามปพพ.มาตรา 1049 ว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขาย ซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนหาได้
ไม่
ตามปัญหา ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ซึ่งมีนายเจริญและนายสุขเป็นหุ้นส่วนกันนั้น นายเจริญเป็นผู้ขายไม้ของห้างฯแต่
ผูเ้ ดียวให้แก่นายศิริ นายสุขหุ้นส่วนอีกคนหาได้เกี่ยวข้องเป็นผูข้ ายด้วยไม่ ฉะนั้นแม้นายเจริญไปต่างประเทศ และมีนายสุขเป็น
ผูจ้ ัดการห้างฯในขณะที่นายเจริญไปต่างประเทศก็ตาม นายสุขจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่นายศิริซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการ
ค้าขายของห้างฯซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนไม่ได้
ฉะนั้นศาลย่อมพิพากษาให้ยกฟ้องคดีที่นายสุขเป็นโจทก์ฟ้องนายศิริ แต่นายสุขก็มีทางแก้ไขโดยให้นายเจริญลงชื่อในคำาฟ้อง
พร้อมมอบอำานาจให้นายสุขฟ้องแทน
( ฉะนั้น นายสุขไม่มีอำานาจฟ้องนายศิริให้ชำาระหนี้ให้แก่ตนได้ แต่ห้างหุ้นส่วนมีอำานาจที่จะเรียกชำาระหนี้จากนายศิริได้ โดย
นายสุขให้นายเจริญลงชื่อในคำาฟ้อง หรือมอบอำานาจให้นายสุขฟ้องแทนได้ )

8. นายเล็กทำาธุรกิจในด้านการส่งเสื้อผ้าสำาเร็จรูป ออกไปขายในต่างประเทศจนประสบความสำาเร็จเป็นอย่างดีจึงได้คิดขยับ
ขยายกิจการ พร้อมทั้งจะให้ลูก ๆ ของตนเข้ามามีส่วนร่วมและช่วยบริหารกิจการด้วย นายเล็กจึงได้ดำาริที่จะจัดตั้งบริษัทขึ้นเพื่อ
ดำาเนินกิจการ โดยจะให้ลูก ๆ ของตนเข้าร่วมเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการ และเพื่อที่จะรักษาบริษัทนี้ไว้ให้เป็นกิจการเฉพาะของ
สมาชิกในครอบครัว นายเล็กจึงมีความประสงค์จะตั้งเงื่อนไขในการถือหุ้นว่า หุ้นของบริษัทนี้ผู้ที่ถือหุ้นจะนำาไปโอนให้แก่บุคคล
อื่นไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นคนอื่น
เช่นนี้นายเล็กอยากทราบว่า ตามกฎหมายแล้วจะสามารถทำาได้หรือไม่ ถ้าทำาได้จะต้องทำาอย่างไร

เฉลย
ตามปกติ หุ้นในบริษัทนั้นต้องถือว่าสามารถโอนกันได้เสมอ แต่กฎหมายยินยอมให้บริษัทมีข้อจำากัดในการโอนได้บ้างกรณี
ทั้งนี้เพราะบริษัทอาจมีความจำาเป็นหรือเหตุผลบางประการที่จะต้องสงวนสิทธิในการโอนหุ้นของผู้ถือหุ้นไว้ เช่น ในกรณีที่ผู้ถือ
หุ้นของบริษัทเป็นบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ก็อาจมีข้อจำากัดการโอนเพื่อป้องกันมิให้การโอนหุ้นให้แก่บุคคลนอกกลุม่ อย่างใน
กรณีของนายเล็กที่ต้องการสงวนหุ้นไว้เฉพาะสมาชิกในครอบครัว ดังนี้เป็นต้น บริษัทที่นายเล็กจะก่อตั้งขึ้นนีม้ ีผู้ถือหุ้นเป็น
จำานวนน้อย คงจะตั้งในรูปของบริษัทเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สำาหรับวิธีการนั้นก็คือ จะต้องกำาหนดข้อจำากัดการโอนนั้นไว้ในข้อบังคับของบริษัทว่า การโอนหุ้นให้แก่บุคคลใด จะต้องได้รับ
ความยินยอมจากผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่เสียก่อน (ปพพ.มาตรา 1129)
ส่วนในกรณีของบริษัทมหาชนจะตั้งข้อกำาหนดการโอนหุ้นไม่ได้ เว้นแต่เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายเฉพาะ ( พรบ.มหาชน มาตรา
70)

9. บริษัทสีสวยจำากัด ประกอบธุรกิจด้านการทำาป้ายโฆษณา มีนายสีและนายสวยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และเป็นกรรมการของบริษัท


ซึ่งปรากฏว่า นับตั้งแต่เปิดกิจการมา บริษัทต้องประสบภาวะขาดทุนมาโดยตลอด เพราะนายสีกับนายสวยยังไม่มีความ
ชำานาญด้านนี้พอ อีกทั้งยังไม่ระมัดระวังในการทำางาน ทำาให้ป้ายที่ทำาขึ้นสำาหรับลูกค้าบกพร่อง ไม่ได้อย่างที่ลูกค้าต้องการ จึง
ต้องทำาขึ้นใหม่เพื่อเปลี่ยนให้ลูกค้าอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทำาให้บริษัทไม่มีกำาไร ขณะนี้บริษัทสีสวยจำากัด
ขาดทุนไปแล้วกว่า 200,000 บาท แต่นายสีและนายสวย ก็ดูเหมือนว่าจะไม่เดือดร้อนอะไร เช่นนี้อยากทราบว่า
ก) นายสด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่งของบริษัท แต่มิได้เป็นกรรมการ จะฟ้องร้องนายสีและนายสวย ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัท
ได้หรือไม่
ข) ธนาคารสุโขทัย ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เงิน...**้้ของบริษัท สีสวยจำากัด อยู่ 100,000 บาท จะมีสิทธิฟ้องร้องนายสีและนายสวยด้วยได้
หรือไม่อย่างไร

เฉลย
ในการประกอบกิจการของบริษัท กรรมการต้องใช้ความเอื้อเฟื้อ สอดส่องอย่างบุคคลค้าขาย ผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง
(มาตรา 1168) โดยต้องเอาใจใส่ในการจัดการงานของบริษัทยิ่งกว่าวิญญูชนธรรมดา ถ้ากรรมการทำาความเสียหายให้แก่บริษัท
บริษัทจะฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมจากกรรมการได้ ถ้าบริษัทไม่ฟ้อง ผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งก็สามารถฟ้องได้ หรือแม้แต่เจ้าหนี้ของ
บริษัท ก็มีสิทธิฟ้องบังคับให้กรรมการที่ทำาให้เกิดความเสียหาย ขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ โดยเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้อง
ให้ชำาระหนี้ได้เพียงเท่าจำานวนหนี้ที่ตนมีอยู่ต่อบริษัทเท่านั้น (มาตรา 1169)
ตามปัญหา นายสีและนายสวยไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง ทำาให้บริษัทได้รับความเสียหาย บริษัทจึงมีสิทธิฟ้องนายสีและนาย
สวยได้ แต่เมื่อบริษัทไม่ฟ้อง ดังนั้น
ก) นายสดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทก็สามารถฟ้องได้ (มาตรา 1169)
ข) ธนาคารสุโขทัยก็สามารถฟ้องนายสีและนายสวยได้เช่นกันในฐานะเจ้าหนี้ แต่จะฟ้องได้เฉพาะเท่าจำานวนที่บริษัทเป็นหนี้อยู่
คือ 100,000 บาท เท่านั้น

10. นายเอก นายโท และนายตรี เข้าหุ้นกันตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญเจริญดี โดยดำาเนินกิจการโรงฆ่า...** มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บ


เงินจากผูน้ ำาสุกรเข้าไปฆ่าในโรงฆ่า...** ทั้งนี้หา้ งหุ้นส่วนดังกล่าวได้ตั้งให้นายเอกเป็นผู้จัดการ นายเอกได้ไปซื้อเชื่อสุกรของ
นายจัตวามา 1 ตัว แล้วนำาสุกรมาฆ่าเสียเอง ทั้งยังไม่ชำาระหนี้ค่าสุกรให้นายจัตวา นายจัตวาได้ทวงถามให้นายเอกชำาระหนี้
นายเอกก็เพิกเฉย ดังนี้นายจัตวาจะฟ้องให้นายเอก นายโท นายตรี รับผิดในหนี้ดังกล่าวร่วมกันได้หรือไม่

เฉลย
ตามปพพ.มาตรา 1050 บัญญัติไว้ว่าการใด ๆ อันหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง ได้จัดทำาไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้น
ส่วน นั้น ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ย่อมมีความผูกพันในการนั้น ๆ ด้วย และต้องร่วมกันรับผิดโดยไม่จำากัดจำานวน ในการ
ชำาระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้น เพราะจัดการไปเช่นนั้น
ตามปัญหาการที่นายเอก นายโท นายตรี เข้าหุ้นส่วนกันตั้งโรงฆ่าสุกร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บเงินจากผู้นำาเข้าสุกรไปฆ่านั้น
การที่นายเอกหุ้นส่วนผู้จัดการไปซื้อเชื่อสุกรของนายจัตวา มาฆ่าเสียเองนั้นเป็นการกระทำาการค้าขายนอกวัตถุประสงค์ของ
ห้าง และตามปัญหาไม่ปรากฏว่านายเอกได้ทำาไปในฐานะตัวแทนของนายโท และนายตรี ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น และไม่ปรากฏว่า
นายโทและนายตรีเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการนั้น
ดังนั้นนายโทและนายตรีจึงไม่ต้องรับผิดต่อนายจัตวา ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก นายเอกจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในการชำาระหนี้
ให้นายจัตวา

11. บริษัทสวัสดิ์จำากัด มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท มีนายสวัสดิ์กับพวกเป็นผู้ถือหุ้นราว 80 % ของทุนจดทะเบียน ทางบริษัทมี


ความประสงค์จะเพิ่มทุนอีก 1 ล้านบาท แต่ทั้งนายสวัสดิ์กับพวกมีความคิดว่า ต้องการที่จะเพิ่มอัตราส่วนการถือหุ้นของกลุ่ม
ตนให้มากยิ่งขึ้นในบริษัท และต้องการลดอำานาจของกลุ่มผู้ถือหุ้นข้างน้อยลง จึงตกลงกันว่าจะเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่กลุ่ม
ของตน ในอัตราส่วน 1:1 คือผู้ถือหุ้นเดิม 1 หุ้น ซื้อหุ้นใหม่ได้ 1 หุ้น ส่วนกลุ่มผู้ถือหุ้นข้างน้อยนั้น จะเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนใน
อัตราส่วน 1:2 คือถือหุ้นเดิม 2 หุ้นซื้อใหม่ได้ 1 หุ้น เช่นนี้ นายสวัสดิ์ต้องการทราบว่าจะทำาได้หรือไม่อย่างไร เมื่อนายสวัสดิ์มา
ปรึกษาท่าน ท่านจะให้คำาตอบแก่นายสวัสดิ์อย่างไร

เฉลย
ในการเพิ่มทุนของบริษัทนั้น กฎหมายกำาหนดว่าบรรดาหุ้นออกใหม่ต้องเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิม ตามอัตราส่วนจำานวนหุ้นที่เขา
ถืออยู(่ มาตรา 1222) ทั้งนี้เพื่อให้อัตราส่วนการถือหุ้นในบริษัทภายหลังการเพิ่มนั้นเป็นไปเช่นเดียวกันก่อนการเพิ่มทุน เช่น
บริษัท ก มีหุ้นจดทะเบียน 1000 หุ้น นาย ข ถือหุ้นอยู่ 100 หุ้น ซึ่งเท่ากับ 10 % ของทุนจดทะเบียน ถ้าบริษัทเพิ่มทุนออกหุ้น
ใหม่ 500 หุ้น นาย ข ย่อมมีสิทธิได้ 50 หุ้น เป็นต้น
ดังนั้นการที่นายสวัสดิ์จะเสนอขายหุ้นแก่กลุ่มผู้ถือหุ้นข้างน้อย ในอัตรา 2 :1 ซึ่งจะทำาให้ผู้ถือหุ้นกลุ่มข้างน้อยมีสิทธิซื้อหุ้นเพียง
ครึ่งหนึ่งของจำานวนหุ้นเพิ่มทุนที่มีสิทธิซื้อ จึงไม่สามารถกระทำาได้เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย
12. บริษัทสีสันประกอบธุรกิจด้านการทำาป้ายโฆษณา มีนายสี และ นายสันเป็นผู้ถือหุ้น และเป็นกรรมการของบริษัทในการ
ประกอบกิจการปีแรก บริษัทก็ประสบกับการขาดทุน ในปีที่สองบริษัทไม่ขาดทุนแต่ก็ไม่กำาไร ส่วนในปีที่สามนั้น บริษัทประสบ
กับการขาดทุนอีก นายสีเห็นว่าตนไม่เคยได้รับประโยชน์จากการตั้งบริษัทนี้เลย ก็ประสงค์จะเลิกบริษัทเสีย แต่นายสันไม่ยอม
เช่นนี้นายสี อยากทราบว่าตนจะฟ้องศาลขอให้เลิกบริษัทเสียได้หรือไม่

เฉลย
ตามปพพ. มาตรา 1237 กำาหนดไว้ในเรื่องการเลิกบริษัทโดยคำาสั่งศาล จะกระทำาได้ในกรณีดังต่อไปนี้
1. มีการกระทำาผิดในรายงานการประชุมตั้งบริษัท หรือทำาผิดในการประชุมตั้งบริษัท
2. บริษัทไม่เริ่มทำาการภายใน 1 ปี นับแต่วันจดทะเบียน หรือหยุดทำาการถึงหนึ่งปีเต็ม
3. การค้าของบริษัททำาไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียวและไม่มีหวั งจะกลับฟื้นตัวได้
4. จำานวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงเหลือไม่ถึงเจ็ดคน
การที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัทเพราะเหตุที่บริษัทขาดทุนนั้น จะต้องปรากฏว่าบริษัทขาดทุนอย่างเดียว คือขาดทุนหลาย ๆ ปีติดต่อ
กัน และจะต้องไม่มีหวังที่จะกลับฟื้นคืนกำาไรได้ด้วย จึงเป็นเหตุที่ศาลจะสั่งให้เลิกบริษัทได้ เพราะเพียงแต่บริษัทระสบการ
ขาดทุนยังไม่เป็นเหตุที่ศาลจะสั่งให้เลิกบริษัท เพราะในการค้าย่อมมีกำาไรและขาดทุนคละกันไป
กรณีของบริษัทสีสันนั้นนายสีจะขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทไม่ได้ เพราะการขาดทุนของบริษัทยังไม่มีลักษณะเป็นการติดต่อกันอัน
จะถือได้ว่าบริษัทไม่มีหวังจะกลับมาฟื้นตัวได้อีก อีกทั้งในปีที่สองบริษัทก็ไม่ขาดทุน ดังนั้นบริษัทอาจจะสามารถทำากำาไรใน
อนาคตได้ จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีขาดทุนแต่อย่างเดียวและไม่มีหวังจะกลับฟื้นตัวได้
ดังนั้น นายสีจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องศาลขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทได้

13. นายเก่งและนายกล้าได้ตกลงกันด้วยวาจาว่า จะประกอบธุรกิจรับขนส่งคนโดยสารร่วมกัน โดยนายเก่งเป็นผู้ออกเงินซื้อ


รถยนต์โดยสาร ส่วนนายกล้าเป็นผู้ขับรถโดยสารคันดังกล่าว และเมื่อมีรายได้หรือผลกำาไร ก็จะแบ่งกันคนละครึ่ง วันหนึ่งขณะ
ที่นายกล้าได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวเพื่อรับจ้างขนส่งคนโดยสารตามปกติ นายกล้าได้ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์นาง
เดือนเสียหาย ดังนี้นางเดือนจะฟ้องนายเก่งและนายกล้า ให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าทดแทนหรือไม่

เฉลย
ตามปพพ.มาตรา 1012 อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อ
กระทำากิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำาไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำานั้น
มาตรา 1025 อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวง
ของหุ้นส่วนโดยไม่จำากัด
มาตรา 1050 การใด การใดอันผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำาไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนนั้น ท่าน
ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในการนั้น ๆ ด้วย และจะต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำากัดจำานวนในการชำาระหนี้
อันได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะจัดการไปเช่นนั้น
ตามปัญหา นายเก่งและนายกล้าได้ตกลงที่จะประกอบธุรกิจรับส่งคนโดยสารร่วมกัน โดยตกลงกันด้วยวาจา ซึ่งตาม
ปพพ.มาตรา 1012 ไม่ได้กำาหนดรูปแบบของการทำาสัญญาไว้ว่าจะต้องทำาเป็นหนังสือหรือแบบใด ดังนั้นการที่ตกลงกันด้วย
วาจาก็สามารถที่จะกระทำาได้ ดังนั้นการที่นายเก่งและนายกล้าตกลงกันนั้นจึงเป็นสัญญาเข้าห้างหุ้นส่วนที่ถูกต้อง
การเข้าห้างหุ้นส่วนกันนั้นเป็นการเข้าห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนต้องร่วมรับผิดในหนี้ร่วมกัน โดยไม่จำากัดจำานวน ใน
กิจการที่เป็นกิจการค้าของห้าง ตามปพพ.มาตรา 1025 การที่นายกล้าขับรถยนต์เพื่อรับจ้างขนส่งคนโดยสาร โดยประมาทชน
รถยนต์ของนางเดือนนั้นถือเป็นการกระทำาที่เป็นธรรมดาการค้าของห้าง ตามปพพ.มาตรา 1050 การกระทำาดังกล่าวจึงผูกพัน
หุ้นส่วนทุกคนและห้างหุ้นส่วน
ดังนั้นนางเดือนจึงสามารถที่จะฟ้องนายเก่งและนายกล้าให้ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้

14. นายมีนได้ร่วมกับเพื่อนเพื่อจัดตั้งบริษัทมีนาจำากัด ในการออกหุ้นนั้นได้กำาหนดมูลค่าหุ้นไว้หุ้นละ 100 บาท และได้กำาหนด


ไว้ใสหนังสือบริคณห์สนธิว่าอาจจะขายหุ้นในราคาที่มากกว่ามูลค่าที่กำาหนดไว้นั้น บริษัทจึงได้กำาหนดราคาหุ้นไว้เป็นมูลค่าหุ้น
ละ 140 บาท เมื่อประชุมจัดตั้งบริษัทเสร็จ ปรากฏว่านายมีน นายเมษ และนายกันย์ ได้เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัททั้ง
สามคน กรรมการทั้งสามคนจึงได้เรียกเก็บค่าหุ้นครั้งแรกเป็นจำานวนร้อยละ 30 เช่นนี้ อยากทราบว่าการดำาเนินการเรียกเก็บ
ค่าหุ้นดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย
ตามปพพ. มาตรา 1105 วรรค 3 อนึ่งเงินส่งใช้ค่าหุ้นคราวแรกนั้น ต้องมิได้น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าแห่งมูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้
จากปัญหา การที่บริษัทมีนาได้กำาหนดมูลค่าหุ้นไว้นั้นในราคา 100 บาท นั่นคือมูลค่าหุ้นที่กำาหนดไว้ สำาหรับการที่กำาหนดใน
หนังสือบริคณห์สนธิว่าให้จำาหน่ายในราคาที่มากกว่ามูลค่าได้นั้นเป็นสิ่งที่ทำาได้ แต่ราคาที่เป็นมูลค่าในหุ้นก็คือ 100 บาท ดัง
นั้นเมื่อกรรมการ คือนายมีน นายเมษ และนายกันย์ เรียกเก็บค่าหุ้นคราวแรกนั้นกฎหมายกำาหนดให้เรียกเก็บอย่างน้อยร้อยละ
25 จากมูลค่าหุ้นที่ตั้งไว้ นั่นหมายถึงการเรียกเก็บครั้งแรกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 การที่กรรมการเรียกเก็บร้อยละ 30 จึง
สามารถที่จะกระทำาได้ เพราะเงินที่เรียกเก็บครั้งแรกนั้นเพื่อนำาไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจ จึงอยู่ในวิสัยที่กรรมการจะใช้ดุลพินิจใน
การเรียกเก็บ โดยกฎหมายกำาหนดว่าไม่ให้ตำ่ากว่าร้อยละ 25 เท่านั้น
ดังนั้นการที่กรรมการเรียกชำาระค่าหุ้นครั้งแรกร้อยละ 30 นั้นเป็นการกระทำาที่ถูกต้อง

15. นายแดง นายดำา และนายเหลือง เข้าหุ้นกันทำาการค้า โดยมีนายแดงเป็นผู้จัดการ นายเหลืองและนายดำาสงสัยว่านายแดง


ทุจริตเบียดบังเงินของห้างฯ จึงต้องการให้นายฟ้านักบัญชีและเป็นผู้ที่นายเหลืองและนายดำาไว้วางใจเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วย
เพื่อที่นายฟ้าจะได้เข้ามาควบคุมทางด้านการเงินของห้างฯ นายเหลืองและนายดำาจึงบอกนายแดงว่า จะให้นายฟ้ามาเข้าหุ้น
ส่วนด้วย แต่นายแดงไม่ยินยอม เมื่อเป็นเช่นนี้จึงถามว่า
ก. ถ้านายแดงไม่ยินยอมให้นายฟ้าเข้ามาเป็นหุ้นส่วน นายฟ้าจะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ข. นายเหลืองและนายดำาจะให้นายแดงออกจากตำาแหน่งผู้จัดการไปโดยไม่ต้องเลิกห้างได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย
ข้อ ก ตามหลักกฎหมายในเรื่องการชักนำาบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วยได้บัญญัติไว้ในมาตรา 1040 ที่ว่า “ห้ามมิให้ชักนำา
บุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดด้วยกันทุกคน เว้นแต่จะได้ตกลงกัน
ไว้เป็นอย่างอื่น”
ตามปัญหาการที่นายดำาและนายเหลืองจะให้นายฟ้าเข้ามาเป็นหุ้นส่วน แต่เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากนายแดงผู้เป็นหุ้นส่วน
คนหนึ่งนั้น เท่ากับว่าหุ้นส่วนทุกคนไม่ยินยอมให้นายฟ้าเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วย
ดังนั้นนายฟ้าจึงไม่สามารถเข้ามาเป็นหุ้นส่วนได้แต่อย่างใด
ข้อ ข ตามหลักกฎหมายในเรื่องการให้ผู้จัดการออกจากตำาแหน่งนั้น ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 1036 ว่า “อันหุ้นส่วนผู้จัดการจะ
เอาออกจากตำาแหน่งได้ก็ต่อเมื่อ ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่นยินยอมพร้อมกัน เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น”
ตามปัญหา ถ้านายดำาและนายเหลืองต้องการเอานายแดงออกจากตำาแหน่งผู้จัดการก็สามารถที่จะกระทำาได้โดยที่นายดำาและ
นายเหลือง ยินยอมพร้อมใจกันให้นายแดงออกจากตำาแหน่งผู้จัดการ
ดังนั้น นายดำาและนายเหลือง สามารถเอานายแดงออกจากตำาแหน่งผู้จัดการของห้างฯนั้นได้ หากทั้งสองคนนั้นมีความเห็นเป็น
เช่นเดียวกัน

16. บริษัททิพย์รุ่งเรืองจำากัด มีทุนจดทะเบียนสี่ลา้ นบาท แบ่งออกเป็น 40,000 หุ้น ๆ ละ 100 บาท ต่อมาบริษัทมีทุนเหลือ
เพราะได้ยกเลิกโครงการบางโครงการไป กรรมการของบริษัทเห็นว่าสมควรที่จะต้องลดทุนของบริษัทลงให้เหลือเพียงหนึ่งล้าน
ห้าแสนบาท จึงมาปรึกษาท่าน
ก. การลดทุนของบริษัทใช้มติเสียงข้างมากจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นได้หรือไม่ อย่างไร
ข. จะลดทุนลงให้เหลือเพียงหนึ่งล้านห้าแสนบาทได้หรือไม่ กฎหมายมีข้อจำากัดในเรื่องการลดทุนไว้อย่างไร

เฉลย
ข้อ ก จากปัญหา มีหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ดังนี้
มาตรา 1224 ว่า บริษัทจำากัดจะลดทุนของบริษัทลงด้วยลดมูลค่าแต่ละหุ้น ๆ ให้ตำ่าลง หรือลดจำานวนหุ้นให้น้อยลง โดยมติ
พิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้นก็ได้
การลดทุนจะทำาได้ก็ต่อเมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้ลดทุนได้ แต่การลดทุนนั้นต้องเป็นมติพิเศษ จากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น
จะเป็นมติธรรมดาที่ถือเสียงข้างมากเท่านั้นไม่ได้
ดังนั้นการลดทุนนั้นกรรมการบริษัทจะต้องจัดให้มีการประชุม 2 ครั้ง คือประชุมครั้งแรกที่ประชุมเห็นชอบกับมติลดทุนไม่น้อย
กว่า 3 ใน 4 และต่อมาให้มีการประชุมครั้งที่สองโดยที่ประชุมเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 และนำามติพิเศษไปจดทะเบียน
ด้วยเหตุนี้จึงจะใช้มติเสียงข้างมากเท่านั้นไม่ได้
ข้อ ข จากปัญหา มีหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ดังนี้
มาตรา 1225 อันทุนของบริษัทนั้นจะลดลงไปให้ถึงตำ่ากว่าจำานวนหนึ่งในสี่ของทุนทั้งหมดหาได้ไม่
การที่บริษัททิพย์รุ่งเรืองจำากัดจะลดทุนลงเหลือ 1,500,000 บาทนั้น สามารถที่จะกระทำาได้ เพราะกฎหมายมีข้อจำากัดในเรื่อง
การลดทุนว่าจะลดทุนลงไปให้ตำ่ากว่าหนึ่งในสี่ของทุนทั้งหมดไม่ได้ คือเมื่อบริษัทลดทุนแล้ว ทุนที่เหลือจะมีตำ่ากว่าหนึ่งในสี่ของ
ทุนเดิมไม่ได้ ซึ่งจากการที่บริษัททิพย์รุ่งเรืองมีทุนจดทะเบียน 4,000,000 บาทนั้น จึงสามารถลดทุนลงได้เหลือตำ่าสุด คือไม่ตำ่า
กว่า 1,000,000 บาท
ดังนั้น การที่บริษัททิพย์รุ่งเรืองต้องการที่จะลดลงเหลือ 1,500,000 บาทนั้นจึงสามารถที่จะกระทำาได้ เพราะยังเหลือทุน
มากกว่าหนึ่งในสี่ของทุนจดทะเบียน

17. บริษัทนำ้าใสจำากัด ต้องการที่ควบบริษัทเข้ากับบริษัทนำ้าดื่มไทยจำากัด เพื่อให้การดำาเนินการควบบริษัทเป็นไปด้วยความถูก


ต้อง บริษัทนำ้าใสจึงได้แจ้งความการควบบริษัทไปยังเจ้าหนี้ต่าง ๆ ของบริษัท เมื่อบริษัทเครื่องกรองไทยจำากัด ซึ่งเป็นเจ้าหนี้
ของบริษัทนำ้าใสจำากัด ได้รับแจ้ง ก็เกรงว่าตนจะไม่ได้รับชำาระหนี้ เมื่อบริษัททั้งสองควบเข้าด้วยกัน จึงได้ใช้สิทธิของเจ้าหนี้
คัดค้านการควบบริษัทดังกล่าว ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เมื่อเป็นเช่นนี้การควบบริษัททั้งสองจะดำาเนินการต่อไปได้
หรือไม่ เพียงใด
เฉลย
ตามปพพ.มาตรา 1240 ได้กำาหนดวิธีการการควบบริษัทว่า “บริษัทต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่เจ็ดครั้งเป็นอย่างน้อย
และส่งคำาบอกกล่าวไปยังบรรดาผู้ซึ่งบริษัทรู้วา่ เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทด้วยจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ บอกให้ทราบรายการที่
ประสงค์จะควบบริษัทเข้ากัน และขอให้เจ้าหนี้ผมู้ ีข้อคัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใด ในการควบบริษัทเข้ากันนั้นส่งคำาคัดค้านไป
ภายในหกเดือนนับแต่วันที่บอกกล่าว ถ้าไม่มีใครคัดค้านภายในกำาหนดเช่นว่านั้น ก็ให้ถือว่าไม่มีคำาคัดค้าน
ถ้าหากมีเจ้าหนี้คัดค้าน บริษัทจะจัดการควบเข้ากันมิได้ จนกว่าจะได้ใช้หนี้หรือได้ให้ประกันเพื่อหนี้รายนั้น”
จากปัญหาการที่บริษัทนำ้าใสจะควบเข้ากับบริษัทนำ้าดื่มไทย เป็นบริษัทนำ้าดื่มไทยจำากัด นั้นได้แจ้งความการควบบริษัทให้บริษัท
เครื่องกรองไทยจำากัดซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทนำ้าใสทราบและบริษัทเครื่องกรองไทยได้ทำาการคัดค้านการควบบริษัทดังกล่าว
ภายใน 7 วัน ซึ่งมีผลทำาให้การคัดค้านเป็นผล เพราะกฎหมายกำาหนดให้ทำาการคัดค้านได้ภายในเวลาหกเดือน นับแต่วันที่ได้
รับคำาบอกกล่าวตามมาตรา 1240 วรรคแรก
เมื่อการคัดค้านเป็นผลจึงทำาให้บริษัททั้งสองยังไม่สามารถที่จะทำาการควบกันได้ จนกว่าบริษัทนำ้าใสจะชำาระหนี้ให้กับบริษัท
เครื่องกรองไทยเป็นที่เรียบร้อย หรือไม่ก็ต้องจัดให้มีการประกันเพื่อหนี้นั้นก่อนจึงจะสามารถทำาการควบบริษัทดังกล่าวได้
มาตรา 1240 วรรค 3
ดังนั้นบริษัททั้งสองยังควบกันไม่ได้จนกว่าบริษัทนำ้าใสจะชำาระหนี้หรืจัดให้มีการประกันเพื่อหนี้ดังกล่าวก่อนจึงจะสามารถควบ
บริษัททั้งสองเข้ากันได้

18. นายแดง นายเหลือง และนายเขียว ได้รวมหุ้นกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามสหายยานยนต์ ประกอบกิจการซ่อมรถยนต์ โดย


แต่ละคนลงหุ้นเท่ากัน คนละ 200,000 บาท ประกอบกิจการได้ 2 ปี กิจการไม่ดีมแี ต่ขาดทุนมาโดยตลอด จนท้ายสุดเงินลงทุน
เหลือเพียง 500,000 บาท และห้างฯ ยังเป็นหนี้ค่าซื้ออะไหล่จากบริษัทรวมยนต์ จำานวน 100,000 บาท อีกทั้งยังค้างคืนเงินค่า
ใช้จ่ายที่นายแดงออกไปเพื่อชำาระหนี้ห้าง ฯ อีก 70,000 บาท
ผูเ้ ป็นหุ้นส่วนเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะเลิกห้างฯ และชำาระบัญชีต่อไป นายแดงจึงมาปรึกษาท่านว่ากรณีนี้ตามกฎหมาย เมื่อ
เลิกห้างฯและชำาระบัญชีแล้ว นายแดงจะได้รับเงินที่ลงทุนไปนั้นคืนหรือไม่ และถ้าได้รับคืนจะได้รับคืนเป็นจำานวนเท่าไร

เฉลย
ตามกฎหมายในเรื่องการชำาระบัญชีของห้างฯ ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 1062 ที่ว่า “การชำาระบัญชีให้ทำาโดยลำาดับดังนี้ คือ
(1) ให้ชำาระหนี้ทั้งหลายซึ่งค้างแก่บุคคลภายนอก
(2) ให้ชดใช้เงินทดลองและค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกของตนไป เพื่อจัดการค้าของห้างฯ
(3) ให้คืนทุนทรัพย์ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ลงเป็นหุ้น
ตามปัญหา เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันก็ต้องดำาเนินการชำาระบัญชีตามกฎหมายข้างต้น คือ เมื่อเลิกห้าง ฯ ห้างมีเงินเหลืออยู่
500,000 บาท ต้องชำาระบัญชี ดังนี้
(1) ชำาระหนี้ทั้งหลายซึ่งค้างชำาระแก่บุคคลภายนอก กรณีนี้ต้องชำาระหนี้ค่าซื้ออะไหล่รถยนต์ให้กับบริษัทรวมยนต์ เป็นเงิน
100,000 บาท
ดังนั้น คงเหลือเงินหลังจากชำาระหนี้ 500,000 – 100,000 = 400,000 บาท
(2) ให้ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกของตนไปเพื่อจัดการงานของห้างฯ กรณีนายแดงได้ออกเงินค่าใช้
จ่ายไปทั้งสิ้น 70,000 บาท
ดังนั้น คงเหลือเงินหลังจากหักเงินทดรองจ่ายของนายแดง 400,000– 70,000 = 330,000 บาท
(3) ให้คืนทุนทรัพย์ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ลงหุ้น กรณีนี้ผู้เป็นหุ้นส่วนลงหุ้นเท่ากัน การคิดทุนทรัพย์ก็ต้องเฉลี่ยไปสามส่วน
ดังนั้น การคืนทุนทรัพย์ของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน 330,000 / 3 = 110,000 บาท
กรณีตามปัญหา นายแดงและผู้เป็นหุ้นส่วนทั้ง 3 คน จะได้เฉลี่ยคืนเป็นเงินคนละ 110,000 บาท

19. บริษัททิพย์สามัคคี จำากัด มีทุนจดทะเบียน 5,000,000 บาท แบ่งออกเป็น 50,000 หุ้น ๆ ละ 100 บาท ต่อมาบริษัทต้องการ
ขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น ประธานกรรมการจึงเรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อขอมติในการเพิ่มทุน ในที่สุดที่ประชุมคณะ
กรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เพิ่มทุนของบริษัทได้ โดยให้เพิ่มทุนด้วยวิธีการเพิ่มมูลค่าหุ้นเป็นหุ้นละ 150 บาท ดังนี้ให้ท่าน
วินิจฉัยว่า
ก. การเพิ่มทุนของบริษัททิพย์สามัคคีจำากัด โดยอาศัยมติเอกฉันท์ของคณะกรรมการของบริษัทจะกระทำาได้เพียงใด หรือไม่
ข. การเพิ่มทุนด้วยการเพิ่มมูลค่าหุ้นจาก 100 บาท เป็น 150 บาท ของบริษัททิพย์สามัคคีจำากัด ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือ
ไม่ อย่างไร

เฉลย
มาตรา 1220 บริษัทจำากัดอาจเพิ่มทุนของบริษัทขึ้นได้ด้วยออกหุ้นใหม่ โดยมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
1) จะเห็นได้ว่าการเพิ่มทุนของบริษัทจำากัดนั้นจะทำาขึ้นได้โดยมติพิเศษของที่ระชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น กรรมการของบริษัทจะ
ประชุมกันเองระหว่างกรรมการด้วยกัน แล้วลงมติให้เพิ่มทุนของบริษัทจำากัดไม่ได้ แม้จะมีมติเป็นเอกฉันท์ก็ตาม ต้องมีการ
เรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น และมติที่ได้ต้องเป็นมติพิเศษพิเศษด้วย จึงจะเป็นมติการเพิ่มทุนที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น มติการ
เพิ่มทุนของบริษัททิพย์สามัคคีจำากัด ดังกล่าวจึงมิใช่มติที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย
2) การเพิ่มทุนในบริษัทจำากัดทำาได้เพียงวิธีเดียว คือการออกหุ้นใหม่โดยมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น จากโจทก์ข้างต้น บริษัท
ทิพย์สามัคคีจำากัดเดิมมีทุนจดทะเบียนอยู่ 5,000,000 บาท แบ่งเป็น 50,000 หุ้น ๆ ละ 100 บาท หากต้องการเพิ่มทุนอีก
2,500,000 บาท บริษัทต้องออกหุ้นใหม่อีก 25,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาทเท่าเดิม แล้วเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหลายใน
บริษัทก่อนตามส่วนจำานวนที่เขาถือหุ้นอยู่ จึงเป็นการเพิ่มทุนที่ ชอบด้วยกฎหมาย การเพิ่มทุนโดยการเพิ่มมูลค่าหุ้นจาก 100
บาท เป็น 150 บาท จึงเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
20. บริษัทครัวไทย จำากัด ได้ทำาการควบบริษัทครัวอินเตอร์ จำากัด เป็นที่เรียบร้อยแล้ว บริษัทไม้ยางไทย จำากัด ผู้ค้าส่งกับบริษัท
ครัวไทย จำากัด ผู้เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทครัวไทย จำากัด อยู่จำานวน 200,000 บาท ได้ใช้สิทธิทำาการคัดค้านการควบบริษัทครัว
ไทย จำากัด แต่ทำาการคัดค้านเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำาหนด คำาคัดค้านจึงไม่มีผล บริษัททั้งสองจึงควบเข้ากันโดยดำาเนินการ
ในนามของบริษัทครัวอินเตอร์ จำากัด เมื่อเป็นเช่นนี้บริษัทไม้ยางไทย จำากัด จึงเรียกให้บริษัทครัวอินเตอร์ จำากัด ชำาระหนี้ให้กับ
ตน ตามจำานวนที่บริษัทครัวไทย จำากัด เป็นหนี้ตนอยู่ จำานวน 200,000 บาท
บริษัทครัวอินเตอร์ จำากัด ได้ปฏิเสธการชำาระหนี้ให้แก่บริษัทไม้ยางไทย จำากัด ว่าเป็นหนี้เดิมของบริษัทครัวไทย จำากัด บริษัท
ครัวอินเตอร์ จำากัด ไม่จำาเป็นต้องรับผิดชอบในหนี้เดิมแต่อย่างใด
ถามว่าบริษัทครัวอินเตอร์ จำากัด จะปฏิเสธการชำาระหนี้ให้แก่บริษัทไม้ยางไทย จำากัด ดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย
ตามปพพ. มาตรา 1243 วางหลักไว้ว่า บริษัทใหม่นี้ย่อมได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบเข้า
กันนั้นทั้งสิ้น
จากปัญหา บริษัทครัวไทยจำากัด ได้ควบเข้ากับบริษัทครัวอินเตอร์ จำากัด เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั่นหมายถึงการดำาเนินกิจการใน
บริษัทครัวอินเตอร์ซึ่งใช้ชื่อเดิมของบริษัทครัวอินเตอร์จำากัดนั้น ได้รวมกิจการของบริษัทครัวไทยเข้ามาด้วยทั้งหมด ซึ่งการที่
บริษัทครัวไทยมีหนี้อยู่กับบริษัทไม้ยางไทยจำากัด จำานวน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) นั้น จะตกมาเป็นของบริษัทครัว
อินเตอร์จำากัดด้วย ตามหลักกฎหมายมาตรา 1243 ที่กล่าวมาข้างต้น บริษัทครัวอินเตอร์จึงไม่อาจปฏิเสธการชำาระหนี้ให้แก่
บริษัทไม้ยางไทยได้
ดังนั้น บริษัทครัวอินเตอร์จำากัด ไม่สามารถปฏิเสธการชำาระหนี้ให้แก่บริษัทไม้ยางไทยจำากัดได้ แต่อย่างใด

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 1

1. นายเอกทำาสัญญาซื้อขายรถยนต์กับนายโท ตกลงซื้อขายที่ราคา 3,000,000 บาท และได้วางมัดจำาไว้ 500,000 บาท ส่วนที่


เหลืออีก 2,500,000 บาท นัดชำาระในวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 โดยมีข้อตกลงว่าถ้านายเอกไม่ชำาระเงินในวันดังกล่าว นายโทมี
สิทธิริบเงินมัดจำาและนายเอกต้องนำารถมาคืน ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 นายเอกได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้กับนาย
ตรีในราคา 3,500,000 บาท เมื่อถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 นายเอกผิดนัดไม่ชำาระหนี้ และนายโทได้รู้เรื่องที่นายเอกขายรถไป
จึงกล่าวอ้างว่า กรรมสิทธ์ในรถยนต์ยังเป็นของตน นายเอกไม่มีสิทธิขายให้กับผู้อื่นได้ ข้อกล่าวอ้างนี้ฟังได้หรือไม่ อย่างไร

อ้างหลักกฏหมาย มาตรา 458 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำาสัญญาซื้อขายกัน


กรรมสิทธิ์ในรถยนต์โอนไปยังนายเอกแล้วตั้งแต่ขณะทำาสัญญาซื้อขาย เพราะสัญญาซื้อขายที่ทำากันเป็นสัญญาที่มีเงื่อนเวลา
การชำาระเงิน แต่มิได้มีเงื่อนไขในเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ ส่วนสัญญาที่ทำาเพิ่มเติมก็มีผลบังคับได้เพราะไม่ขัดต่อความสงบ
เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่ก็ไม่ได้ขัดขวางการโอนกรรมสิทธิแห่งรถยนต์พิพาทแต่อย่างใด ดังนั้นนายเอกจึงมี
สิทธิ์ขายรถยนต์ให้นายตรี และกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ก็ได้โอนไปเป็นของนายตรีเช่นกัน
ดังนั้นข้ออ้างของนายโทฟังไม่ขึ้น ส่วนนายโท ก็คงต้องไปฟ้องเรียกร้องให้นายเอกรับผิดในเรื่องหนี้ค้างชำาระรวมทั้งค่าเสียหายที่
เกิดขึ้นต่อไป

2. นงคราญทำาสัญญาเช่าบ้านจากนงนุชลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายมีระยะเวลา 2 ปี เมื่อครบกำาหนดอายุสัญญา นงคราญยังคง


อาศัยอยู่ต่อไปและได้จ่ายค่าเช่าให้กับนงนุช แต่นงนุชเห็นว่าสัญญาเช่าหมดอายุ จึงไม่รับเงินและส่งเงินคืนให้กับนงคราญ
นงคราญกล่าวอ้างว่าเป็นสัญญาเช่าใหม่ที่ไม่มีกำาหนดเวลา และถ้านงนุชจะยกเลิกการเช่าต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อน ให้
วินิจฉัยว่าคำากล่าวอ้างของนงคราญฟังได้หรือไม่ อย่างไร

อ้างหลักกฏหมาย มาตรา 564 อันสัญญาเช่านั้นท่านว่าย่อมระงับไปเมื่อสิ้นเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ มิพักต้องบอกกล่าวก่อน


และมาตรา 570 ในเมื่อสิ้นกำาหนดเวลาเช่าซึ่งได้ตกลงกันไว้นั้น ถ้าผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่
ทักท้วงไซร้ ท่านให้ถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำาสัญญาใหม่ต่อไปไม่มกี ำาหนดเวลา
เมื่อสิ้นสุดเวลาตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าก็เป็นอันระงับโดยที่นงนุชไม่จำาเป็นต้องบอกกล่าว อีกทั้งการที่นงนุชไม่รับค่าเช่าและ
ส่งคืนค่าเช่าดังกล่าวถือว่ามีการทักท้วงแล้วจึงไม่ถือว่าเป็นการต่อสัญญาเช่าใหม่ไปเป็นสัญญาเช่าไม่มีกำาหนดเวลา
สรุปว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดและระงับไปแล้ว นงคราญไม่สามารถอาศัยอยู่ในบ้านเช่าได้ต่อไป และคำากล่าวอ้างของนงคราญฟังไม่
ได้
3. นาย ก. ได้โอนกิจการร้านอาหารในโรงแรมให้กับนาย ข. โดยนาย ข. ยินยอมรับโอนลูกจ้างทั้งหมดโดยนับอายุงานต่อเนื่อง
ให้ด้วย นาย ก.จึงตกลงโอนลูกจ้างของตนในส่วนร้านอาหารทั้งหมด 25 คน แต่ลูกจ้างทั้งหมดไม่ยินยอม ในวันที่ 30 ตุลาคม
นายก.จึงมีหนังสือแจ้งให้ลูกจ้างไปลงลายมือชื่อในทะเบียนลูกจ้างของนาย ข.ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ถ้ามิยินยอมจะถือว่า
ลูกจ้างนั้นได้ลาออกและพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ทำาให้ไม่ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินชดเชยตาม
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ให้วินิจฉัยว่าหนังสือแจ้งดังกล่าวก่อให้เกิดผลทางกฎหมายหรือไม่อย่างไร

อ้างหลักกฎหมาย มาตรา 577 นายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย ลูกจ้างจะ


ให้บุคคลภายนอกทำางานแทนตนก็ได้เมื่อนายจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย ถ้าคู่สัญญาทำาการฝ่าฝืนบทบัญญัตินี้ คู่สัญญาอีกฝ่าย
หนึ่งจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้
และมาตรา 582 ถ้าคู่สัญญาไม่ได้กำาหนดลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าใด ท่านว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาด้วยการ
บอกกล่าวล่วงหน้า ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำาหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญกันเมื่อถึงกำาหนดจ่าย
สินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็อาจทำาได้ แต่ไม่จำาต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสามเดือน อนึ่งเมื่อบอกกล่าวดั่งว่านี้ นายจ้างจะให้
สินจ้างแก่ลูกจ้างเสียให้ครบจำานวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำาหนดที่บอกกล่าวนั้นทีเดียวแล้วปล่อยลูกจ้างจาก
งานเสียในทันทีก็อาจทำาได้
เนื่องจากการที่นายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลภายนอกตามหลักกฎหมายที่
ได้กล่าวอ้างข้างต้น แต่ในเมื่อลูกจ้างไม่ยินยอมตาม นาย ก. ผูเ้ ป็นนายจ้างจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ารวม
ทั้งค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำาหนด ส่วนหนังสือแจ้งให้ลูกจ้างไปลงทะเบียนลูกจ้างของนาย ข. และให้ถือว่าลูกจ้างได้ลาออก
และพ้นสภาพ หากไม่ปฏิบัติตามนั้น เป็นโมฆะและใช้บังคับไม่ได้

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 2

1. ต้อยได้วา่ จ้างให้สมรตัดชุดแต่งงานโดยนัดว่าจส่งชุดแต่งงานในวันที่ 8 ก.ค. และจใช้ชุดแต่งงานในวันที่ 10 ก.ค. ในวันที่ 11


ก.ค. สมรได้นำาชุดแต่งงานมาส่งให้กับต้อยขณะที่ต้อยกำาลังจะไปฮานิมูล ต้อยได้ปฏิเสธไม่รับชุดแต่งงานและได้เรียกเงินค่า
มัดจำาคืน แต่สมรได้แย้งและจะใช้เงินให้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งเท่านั้น ถ้าต้อยมาปรึกษาท่านท่านจะให้คำาปรึกษาว่าอย่างไร

2. อำานาจเป็นลูกหนี้มีหนี้สิ้นล้นพ้นตัว แดง ซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งขจองอำานาจและกำาลังจะขอใช้สิทธิ์ยึดทรัพย์สินของอำานาจ


และอำานาจมีรถยนต์อยู่คันหนึ่งมี่ราคา 5 แสนบาท อำานาจกลัวว่าแดงจะมายึดจึงได้นำาไปขายให้กับเดชา แต่เดชาไม่อยากจะ
ซื้อเนื่องจากรถยนต์ดังกล่าวไม่มีใครอยากซื้อในตลาดขายยาก อำานาจอยากจะขายเลยลดให้เหลือ 3 แสนบาท เดชาจึงรับซือ้ ไว้
จากนั้นอำานาจได้กลับมาบ้านแล้วเล่าเรื่องทั้งหมดให้อำานวยซึ่งเป็นพี่ชายฟัง อำานวยได้ฟังแล้วนึกเสียดายรถยนต์จึงได้ไปขอซื้อ
รถยนตืคืนจากเดชาในราคา 350000 บาท เดชาเห็นว่าซื้อไว้เพียงวันเดียวก็ได้กำาไรตั้งห้าหมื่นบาทจึงยอมตกลงขายไห แดง
ทราบเรื่องได้ร้องศาลว่าการที่อำานาจขายรถยนต์นั้นเป็นการฉ้อแลจึงขอให้ระงับ ให้นักสึกาแสดงความคิดเห็น

3. อ้วยมีนกแก้วช่างพูดอยู่ตัวหนึ่ง และอ้วนก็ไม่ชอบแอ๋วซึ่งเป็นเพื่อนบ้านอยู่ขา้ งๆ บ้านกันวันหนึ่งมีผู้ชายมาพักอยู่ที่บ้านแอ๋


วอ้วยทราบเรื่องจึงสอนให้นกแก้วพูดว่า "แอ๋วมีชู้" เมื่อนกหัดพูดได้ชัดเจนแล้วอ้วนได้นำากรงนกแก้วไม่แขวนไว้ที่หน้าบ้านแล้วก็
ออกไปทำางาน เมื่อมีคนเดินผ่านหน้าบ้านอ้วยนนกแก้วก้ได้พูดว่า แอ๋วมีชู่ อยู่ตลอด แอ๋วได้มาปรึกษาท่านท่านจะให้คำาปรึกษา
กับแอ๋วอย่างไร
ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 2

1. นาย ก ทำาสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร ในวงเงิน 200,000 บาท โดยธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 และ


ธนาคารคิดดอกเบี้ยทบต้นมาตั้งแต่เริ่มต้น ต่อมานาย ก. เสียชีวิต และมีหนี้ค้างชำาระกับธนาคาร 150,000 บาท ถามว่า
ธนาคารจะเรียกเก็บหนี้ค้างชำาระ 150,000 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยทบต้นจากทายาทของนาย ก. ได้หรือไม่

อ้างหลักกฎหมาย ม 655 ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำาระ แต่ทว่าเมื่อ


ดอกเบี้ยค้างชำาระไม่น้อยกว่าปีหนึ่ง คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้
คิดดอกเบี้ยในจำานวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงนั้นต้องทำาเป็นหนังสือ
ส่วนประเพณีการค้าขายที่คำานวณดอกทบต้นในบัญชีเดินสะพัดก็ดี ในการค้าขายอย่างอื่นทำานองเช่นว่านี้ก็ดี หาอยู่ในบังคับ
แห่งบทบัญญัติซึ่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นไม่
เนื่องจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี (Overdraft) เป็นสัญญาที่มีลักษณะเดียวกับสัญญากู้ยืมเงิน โดยเป็นสัญญาซึ่งมีลักษณะ
เป็นสัญญากู้ยืมเงินบวกด้วยสัญญาบัญชีเดินสะพัด และมีการตัดทอนบัญชีหนี้ระหว่างกันตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด ดังนั้น
การที่ธนาคารคิดดอกเบี้ยทบต้นกับบัญชีของนาย ก. ก็สามารถทำาได้ เป็นข้อยกเว้นการห้ามคิดดอกเบี้ยทบต้น ตามมาตรา
655 วรรค 2 ดังนั้นสรุปได้วา่ ธนาคารสามารถเรียกเก็บหนี้ค้างชำาระ 150,000 บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยทบต้นจากทายาทของนาย
ก. ได้

2. นาย ก มอบหมายให้นาย ข เป็นตัวแทนไปขายรถให้นาย ค ก่อนส่งมอบรถ รถของนาย ก เกิดชำารุด นาย ข จึงนำารถยนต์คัน


ดังกล่าวไปซ่อมกับ นาย ง และนาย ข ออกค่าซ่อมรถเป็นเงิน 20,000 บาทไปก่อน นาย ข จะเรียกเก็บค่าซ่อม พร้อมทั้ง
ดอกเบี้ย จากนาย ก ได้หรือไม่ โดยนาย ก อ้างว่า นาย ข ไม่แจ้งให้ตนทราบก่อนที่จะนำารถไปซ่อม

อ้างหลักกฎหมาย มาตรา 800 ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำานาจแต่เฉพาะการ ท่านว่าจะทำาการแทนตัวการได้แต่เพียงในสิ่งที่จำาเป็น


เพื่อให้กิจอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสำาเร็จลุลว่ งไป
และมาตรา 816 ถ้า ในการจัดทำากิจการ อันเขามอบหมายแก่ตนนั้น ตัวแทนได้ออกเงินทดรอง หรือ ออกเงินค่าใช้จ่ายไป ซึ่ง
พิเคราะห์ตามเหตุ ควรนับว่า เป็นการจำาเป็นได้ไซร้ ท่านว่า ตัวแทนจะเรียกเอาเงินชดใช้ จากตัวการ รวมทั้งดอกเบี้ย นับแต่วันที่
ได้ออกเงินไปนั้นด้วย ก็ได้
ถ้า ในการจัดทำากิจการ อันเขามอบหมายแก่ตนนั้น ตัวแทนต้องรับภาระ เป็นหนี้ขึ้น อย่างใดหนึ่งอย่างใด ซึ่งพิเคราะห์ตามเหตุ
ควรนับว่า เป็นการจำาเป็นได้ไซร้ ท่านว่า ตัวแทนจะเรียกให้ตัวการ ชำาระหนี้แทนตน ก็ได้ หรือถ้า ยังไม่ถึงเวลา กำาหนดชำาระหนี้
จะให้ตัวการ ให้ประกันอันสมควร ก็ได้
ถ้า ในการจัดทำากิจการ อันเขามอบหมายแก่ตนนั้น เป็นเหตุให้ตัวแทน ต้องเสียหาย อย่างหนึ่งอย่างใด มิใช่เป็นเพราะ ความผิด
ของตนเองไซร้ ท่านว่า ตัวแทน จะเรียกเอาเงิน ค่าสินไหมทดแทน จากตัวการ ก็ได้
นาย ข ตัวแทนได้รับมอบหมายจาก นาย ก. ตัวการ ให้ไปทำาการขายรถ แต่วา่ รถยนต์คันดังกล่าวเกิดชำารุด นาย ข. จึงจำาต้อง
นำารถยนต์ไปซ่อม ซึ่งเป็นการทำาในสิ่งที่จำาเป็นตามมาตรา 800 เพื่อให้บรรลุการที่ตัวการได้มอบหมาย อีกทั้ง นาย ข. ยังได้ออก
เงินทดรองจ่ายไปก่อน ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ตามเหตุ ควรนับได้ว่า เป็นการจำาเป็นและตามสมควร เพราะหากไม่นำารถไปซ่อมก่อน ก็
คงจะไม่สามารถนำารถไปขายให้กับ นาย ค. ได้ ดังนั้น การออกเงินทดรองค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถ ย่อมเข้าตามหลักกฎหมาย
มาตรา 816 จึงสามารถเรียกให้ตัวการ คือนาย ก. ชดใช้เงินค่าซ่อม 20,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันที่ได้ออกค่าซ่อมได้
ด้วย

3. นายชิวทำาประกันรถยนต์ กับบริษัทรักษ์ทรัพย์ จำากัด โดยปิดบังข้อเท็จจริงว่ารถยนต์คันดังกล่าวเคยโดนชน ในวันที่ 1


กรกฎาคม 2548 ต่อมาบริษัทรักษ์ทรัพย์รู้โดยบังเอิญว่า นายชิวปิดบังข้อเท็จจริงดังว่าในวันที่ 1 กันยายน 2548 แต่ก็มิได้ทำา
ประการใด เวลาล่วงเลยจนถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2548 รถยนต์ของนายชิวถูกชนจากรถคันอื่น และต้องเข้าอู่ซ่อมเสียค่าใช้จ่าย
30,000 บาท ถามว่าบริษัทรักษ์ทรัพย์ต้องรับผิดเสียค่าสินไหมทดแทนหรือไม่

อ้างหลักกฎหมาย มาตรา 861 อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้


เงินจำานวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัย หากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดั่งได้ระบุไว้ในสัญญาและใน การนี้บุคคลอีกคน
หนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย
และ มาตรา 865 ถ้าในเวลาทำาสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัย
ความทรงชีพ หรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริง ซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ย
ประกันภัยสูงขึ้นอีก หรือ ให้บอกปัดไม่ยอมทำาสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็น ความเท็จไซร้ท่านว่าสัญญานั้น
เป็นโมฆียะ
ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำาหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับ ประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้น
ภายใน กำาหนดห้าปีนับแต่วันทำาสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป
การที่นายชิวปิดบังข้อความจริง ในเรื่องที่รถยนต์คันดังกล่าวเคยโดนชนมาก่อน ซึ่งเป็นข้อความจริงที่อาจจะได้จูงใจให้บริษัท
รักษ์ทรัพย์จำากัด เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรืออาจบอกปัดไม่รับทำาประกันภัยกับนายชิว ส่งผลให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะ
อย่างไรก็ตาม ภายหลังบริษัทรักษ์ทรัพย์ ได้ทราบข้อมูลอันจะบอกล้างสัญญาประกันภัยดังกล่าวได้ แต่มิได้ใช้สิทธิบอกล้าง
ภายในเวลา 1 เดือนตามหลักกฎหมายมาตรา 865 วรรคสอง ทำาให้สิทธิในการบอกล้างเป็นอันระงับสิ้นไป และสัญญาประกัน
ภัยสมบูรณ์ ดังนั้นเมื่อเกิดความวินาศขึ้นกับรถยนต์ของนายชิวในภายหลัง บริษัทรักษ์ทรัพย์จำาต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้
กับนายชิวตามหลักของสัญญาประกันภัยมาตรา 861 ที่อ้างข้างต้น

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 2

1.แดงไปซื้อชุดนำ้าชาจากเหลือง 1 ชุด ราคา 20,000 บาท ประกอบด้วยกานำ้าชา 1 ใบ และ ถ้วยนำ้าชา 4 ใบ เพื่อจะนำาไป


ประกวด ขณะเหลืองห่อให้นั้นได้ทำาถ้วยนำ้าชาตกแตกไป 1 ใบ เหลืองจึงลดราคาให้ 5,000 บาท แต่แดงไม่ยอมรับซื้อชุดนำ้าชาที่
เหลือ และจะเรียกค่าเสียหายด้วย ทั้งสองตกลงกันไม่ได้จึงมาปรึกษาท่าน จะให้คำาปรึกษาอย่างไร

2. ต้อยเป็นเจ้าหนี้เงินกู้ของแดงอยู่ 5,000 บาท เมื่อถึงกำาหนดชำาระ ต้อยจึงไปทวงหนี้จากแดง แดงไม่ยอมจ่ายและยังพูดจาไม่


ดีและไม่เหมาะสมกับต้อย ต้อยโกรธมากจึงตบหน้าแดงไปหนึ่งครั้ง แดงเรียกร้องค่าเสียหายจากต้อยเป็นเงิน 2,000 บาท ต้อย
ยอมตกลงแต่ขอให้หักเงินจากเงิน 5,000 บาท ที่แดงเป็นหนี้อยู่ แดงปฏิเสธอ้างไม่เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นคนละครั้งจะนำามาหักกลบ
กันไม่ได้ ....ถามว่า ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของแดงหรือไม่ เพราะอะไร
3. อ้อยและโต้งเป็นเพื่อนบ้านกันมีบ้านอยู่ติดกัน ต้นไม้ของโต้งอยู่ติดริมรั้วบ้านแผ่กิ่งก้านเข้ามาในเขตบ้านของอ้อย อ้อยเห็น
ว่ากิ่งไม้จะหักอยู่แล้วจึงบอกโต้งให้ตัดกิ่งไม้เสีย โต้งก็เพิกเฉย อ้อยจึงตัดสินใจตัดกิ่งไม้เอง ขณะกำาลังตัดและกิ่งไม้จวนจะขาด
จากต้น อ้อยได้ดันกิ่งไม้นั้นไปยังเจตบ้านโต้ง เพื่อให้ไม้หล่นอยู่ในเขตบ้านของโต้ง ปรากฏว่ากิ่งไม้ไปกระทบถูกตุ่มนำ้า ทำาให้ตุ่ม
นำ้าของโต้งแตกเสียหาย ถามว่า โต้งจะเรียกร้องค่าเสียหายจากอ้อยได้หรือไม่

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 3 ภาค 1/2548

1. นายเอกชัยอายุ 24 ปี หมั้นกับน.ส.นิภา อายุ 17 ปี โดยบิดามารดาของหญิงยินยอม นายเอกชัยสัญญาว่าจะนำาของมาหมั้น


คือเงิน 200,000 บาท และทองคำาแท่ง 10 บาท แต่พอวันหมั้น กลับนำาเงิน 100,000 บาทมาหมั้น และสัญญาว่าของหมั้นที่
เหลือจะนำามาให้ในวันหลัง และให้สินสอดบิดามารดาหญิงเป็นเงิน 50,000 บาท 1 เดือนหลังจากหมั้นนายเอกชัยนำาทองคำามา
ให้อย่างเดียว 2 เดือนหลังจากนั้นได้สมรสกันตามประเพณี แต่ไม่มีการจดทะเบียนสมรส แต่น.ส.นิภายังไม่พอใจที่นายเอกชัย
ไม่นำาของหมั้นที่เหลือมาให้จึงไม่ยอมให้ร่วมประเวณีและไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับนายเอกชัย นายเอกชัยจะบอกเลิก
สัญญาหมั้นแล้วเรียกทรัพย์สินทั้งหมดคืนได้หรือไม่

การหมั้นระหว่างนายเอกชัยกับ นิภา ไม่ขัดกับ ม.1435 และได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาของนิภาผู้เยาว์ ตาม


ม.1436 มีเงิน 100,000 บาท ที่รับไว้เป็นของหมั้น ที่รับมอบจากนายเอกชัย ตาม ม.1437 ว.1 และมีเงินสินสอด 50,000 บาท
ที่มอบให้แก่บิดามารดาของนิภา ตาม ม.1437 ว.3 ส่วนทองคำาแท่งหนัก 10 บาทที่นำามามอบทีหลังไม่เป็นของหมั้นเพราะมิได้
ส่งมอบให้ในขณะหมั้น แต่เป็นการให้โดยเสน่หา ดังนั้นการหมั้นของเอกชัยและนิภาจึงสมบูรณ์
แต่การที่นิภาไม่พอใจที่นายเอกชัยไม่นำาเงินมาให้อีก 100,000 บาทแม้จะเข้าพิธีสมรสกัน แต่ไม่ยอมร่วมประเวณีและไม่ยอม
จดทะเบียนสมรสถือได้วา่ นายเอกชัยและนิภายังไม่ได้สมรสกันตามกฎหมายตาม ม.1457 ทีว่ ่าการสมรสตามประมวล
กฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น
การที่นายเอกชัยไม่นำาเงินที่ขาดมาให้ ไม่เป็นกรณีมีเหตุสำาคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้นทำาให้หญิงไม่ควรสมรสกับชายตาม
ม.1443 หรือเหตุกระทำาชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง ตาม ม.1444 ถือได้ว่านิภาเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น
เอกชัยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้น และเรียกของหมั้นและสินสอดคืนได้ แต่ทองคำาเป็นการให้โดยเสน่หาเรียกคืนไม่ได้
ตอบจะให้คำาแนะนำาให้นายเอกบอกเลิกสัญญาหมั้น ให้นิภาคืนของหมั้นคือเงิน 100,000 บาทและคืนเงินสินสอด
50,000 บาท
ส่วนทองคำาเรียกคืนไม่ได้

2. สมศรีจดทะเบียนสมรสกับสามารถ ระหว่างที่สามารถไปราชการชายแดน สมศรีได้เสียกับเขาทราย หลังจากนั้น 7 เดือนได้


คลอดบุตรคือเด็กชายเอ สามารถทราบเรื่องจึงได้ฟ้องหย่าและได้จดทะเบียนหย่ากันวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 หลังจากนั้น
สมศรีได้คลอดบุตรคือเด็กหญิงบีเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2544 ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกับเขาทราย เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์
2545 และได้คลอดบุตรคือเด็กชายซี ถามว่าเด็กชายเอ เด็กหญิงบี และเด็กชายซีเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของใคร

การสมรสระหว่างสมศรีกับสามารถสมบูรณ์ ตาม ม.1457


เด็กชายเอ เป็นบุตรโดยชอบกฎหมายของสามารถเพราะเกิดระหว่างสมรสตาม ม.1536
เด็กหญิงบีเกิดภายหลัง 310 วันนับแต่การสมรสสิ้นสุด บี จึงไม่ใช่บุตรโดยชอบกฎหมายของสามารถ ตาม ม.1536 เด็กหญิงบี
เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสมศรี ตาม ม.1546
เด็กชายซีคลอดภายหลังจากที่สมศรีจดทะเบียนสมรสใหม่กับเขาทราย ดังนั้นเด็กชาย ซี เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของเขา
ทราย ตาม ม.1537
ตอบ 1.เด็กชายเอ เป็นบุตรโดยชอบกฎหมายของสามารถ
2.เด็กหญิงบีเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสมศรี
3.เด็กชาย ซี เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของเขาทราย

3. นายเอได้สมรสกับนางบี และมีพี่ชายร่วมบิดาคือตรี มีเพื่อนรักชื่อสนิท นายสนิทมีบุตรหนึ่งคนชื่อเด็กชายไทยแท้ นายเอได้


ตกลงแยกกันอยู่กับนางบี ต่อมานายเอทำาพินัยกรรมถูกต้องตามกฎหมายยกเงินสดให้นายตรี และนายสนิทคนละ 1,000,000
บาท แต่นายสนิทได้ตายลง หลังจากนายสนิทตายนายเอป่วยและตาย และมีเงินสดอยู่ในธนาคาร 2,000,000 บาท จะแบ่ง
มรดกกันอย่างไร

นายเอ ทำาพินัยกรรมยกเงินสดให้นายตรีและนายสนิทคนละ 1,000,000 บาทปรากฎว่านายสนิทซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมได้ตาย


ไปก่อนนายเอผู้ทำาพินัยกรรมพินัยกรรมส่วนของนายสนิทย่อมตกไปตาม ม.1698(1) แม้นายสนิทจะมีบุตรชอบด้วยกฎหมาย
คือเด็กชายไทยแท้ เด็กชายไทยแท้ก็ไม่มสี ิทธิรับมรดกแทนที่นายสนิทผู้รับพินัยกรรมเพราะการรับมรดกแทนที่จะมีได้ก็แต่
ทายาทโดยธรรม ตาม ม.1642 มรดกส่วนของนายสนิทจึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ตาม ม.1620 วรรค 2 ประกอบ 1699
ทายาทโดยธรรมของนายเอกมี
1.นางบีภริยา ตาม ม.1629 วรรคท้าย ถึงแม้จะแยกกันอยู่ก็ไม่ทำาให้การสมรสสิ้นสุดลง เพราะการสมรสจะสิ้นสุดลงด้วยความ
ตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน ตาม ม.1501
2.นายตรี พี่ชายร่วมบิดาเดียวกัน ตาม ม.1629 (4 )
ตาม ม.1635 ( 3 )นางบี ภรรยามีสิทธิรับมรดก 2 ส่วน ใน สาม ของเงิน 1 ล้านบาทในส่วนทายาทโดยธรรม และ นายตรี มีสิทธิ
รับมรดก 1 ส่วน ใน 3 ส่วนของเงิน 1 ล้านบาทในส่วนของทายาทโดยธรรม
สรุป มรดกของนายเอ 2 ล้านบาทแบ่งได้คือ
1. นายตรี 1 ล้านบาทในฐานะผู้รับพินัยกรรม และ 1 ใน 3 ส่วนของ 1 ล้านบาทในส่วนของทายาทโดยธรรม
2.นางบีได้ 2 ใน 3 ส่วนของ 1 ล้านบาทในส่วนของทายาทโดยธรรม

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 3

1. นายนุกูล และนางกุหลาบเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งสองมีบุตร 1 คน คือ นายอำานาจ นายอำานาจมีภริยาที่


ชอบด้วยกฎหมายคือนางสร้อยคำาทั้งสองไม่มีบุตรด้วยกัน นายอำานาจอยากมีบุตรจึงไปได้นางมะลิเป็นภริยาโดยไม่ชอบด้วย
กฎหมาย ทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กหญิงก้อยซึ่งนายอำานาจได้อุปการะส่งเสียเลี้ยงดูตลอดมาพร้อมทั้งให้ใช้นามสกุล
ต่อมานางสร้อยคำาไปจดทะเบียนรับเด็กชายเก่งซึ่งเป็นหลานชายมาเป็นบุตรบุญธรรมของตนโดยนายอำานาจให้ความยินยอม
ให้นางสร้อยคำารับเด็กชายเก่งเป็นบุตร บุญธรรม หลังจากนั้นนายอำานาจได้เดินทางไปทำาธุระที่จังหวัดเชียงใหม่เกิดอุบัติเหตุรถ
ควำ่าถึงแก่ความตาย นายอำานาจมีมรดก 800,000 บาท จงแบ่งมรดกของนายอำานาจ

ธงคำาตอบ หลักกฎหมาย มาตรา 1599, 1629(2), 1630 วรรคสอง, 1635(1) มาตรา 1629 วรรคท้าย, 1627, 1629(1)
เมื่อนายอำานาจตายมรดกของนายอำานาจตกทอดแก่ทายาททันที ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 ทายาทของ นายอำานาจได้แก่นาย
นุกูลและนางกุหลาบบิดามารดาซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำาดับที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629(2) ทั้งสองมีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง
เสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1630 วรรคสอง
นางสร้อยคำาเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 วรรคท้าย ได้รับส่วนแบ่งเสมือน
ตนเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635(1) ส่วนนางมะลิเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่เป็นทายาทโดยธรรม
ไม่มสี ิทธิได้รับมรดกของนายอำานาจ
เด็กหญิงก้อยเป็นบุตรนอกสมรสที่บิดารับรองแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 จึงเป็นผู้สืบสันดาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา
1629(1) มีสิทธิได้รับมรดกของนายอำานาจ ส่วนเด็กชายเก่งเป็นบุตรบุญธรรมของนางสร้อยคำา แม้นายอำานาจจะให้ความ
ยินยอมให้นางสร้อยคำารับเด็กชายเก่งเป็นบุตรบุญธรรมก็ไม่ถือว่าเด็กชายเก่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายอำานาจ เด็กชายเก่งจึง
ไม่มสี ิทธิรับมรดกของนายอำานาจ
สรุป มรดกของนายอำานาจ 800,000 บาทจึงตกได้แก่ นายนุกูล นางกุหลาบ นางสร้อยคำา และเด็กหญิงก้อยคนละ 200,000
บาท

2. นายสมศักดิ์และนางสมศรีเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งสองไม่มีบุตรด้วยกัน นายสมศักดิ์มีน้องชายร่วมบิดา


เดียวกัน 1 คน คือ นายสมชาย และมีลุง 1 คน ชื่อนายสมาน นายสมานมีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 1 คน คือ เด็กชายเอก นายสม
ศักดิ์มีเงินสด 1,200,000 บาท ได้ทำาพินัยกรรมยกเงินสดในธนาคารให้กับนายสมชายและนายสมานคนละ 600,000 บาท แต่
ไม่ได้ยกให้นางสมศรีภริยาเพราะนางสมศรีภริยามีฐานะรำ่ารวยมาก ปรากฏว่าหลังจากทำาพินัยกรรมไปได้ 3 เดือน นายสมาน
ได้ป่วยเป็นมะเร็งในลำาไส้และได้ถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นอีก 2 เดือน นายสมศักดิ์ได้ถึงแก่ความตาย ดังนี้ให้ท่านแบ่งมรดก
ของนายสมศักดิ์

ธงคำาตอบ หลักกฎหมาย มาตรา 1698(1), 1642, 1699, 1620 วรรคสอง มาตรา 1629 วรรคท้าย, 1635(3), 1629(4)
นายสมศักดิ์ได้ทำาพินัยกรรมยกเงินสดให้แก่นายสมชายและนายสมานคนละ 600,000 บาท แต่ปรากฏว่านายสมานซึ่งเป็น
ผูร้ ับพินัยกรรมได้ตายก่อนผูท้ ำาพินัยกรรม พินัยกรรมย่อมตกไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1698(1) แม้นายสมานผู้รับพินัยกรรมจะมี
บุตรชอบด้วยกฎหมายคือเด็กชายเอก เด็กชายเอกก็ไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่นายสมานผู้รับพินัยกรรม เพราะการรับมรดก
แทนที่จะมีได้เฉพาะทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1642 เท่านั้น มรดกส่วนของนายสมานจึงตกทอดแก่ทายาทโดย
ธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1699 ประกอบมาตรา 1620 วรรคสอง ทายาทโดยธรรมของนายสมศักดิ์ได้แก่นางสมศรีภริยาซึ่งเป็น
ทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 วรรคท้าย นางสมศรีจึงมีสิทธิได้รับมรดกของนายสมศักดิ์สองส่วนในสามเท่ากับ
400,000 บาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635(3) และนายสมชายซึ่งเป็นน้องร่วมบิดาเดียวกันเป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1629(4) มีสิทธิได้รับมรดกของนายสมศักดิ์หนึ่งส่วนในสาม นายสมชายจึงได้รับมรดกของนายสมศักดิ์เท่ากับ 200,000
บาท
สรุป มรดกของนายสมศักดิ์ 1,200,000 บาทจึงตกได้แก่ นางสมศรี 400,000 บาท นายสมชาย 600,000 บาท ในฐานะผู้รับ
พินัยกรรมและ 200,000 บาท ในฐานะทายาทโดยธรรม

3. นายแดงมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน คือ นายดำา นายขาว และนางเหลือง นายแดงตายโดยไม่ได้ทำาพินัยกรรมไว้


ทรัพย์มรดกของนายแดงมีเงินฝากในธนาคาร 1,000,000 บาท มีสร้อยคอทองคำาเครื่องเพชรและทรัพย์สินอื่น ๆ 200,000 บาท
รวมมูลค่าเป็นเงินทั้งสิ้น 1,200,000 บาท หลังจากนายแดงตาย นายดำาได้ปิดบัง มิให้ทายาทอื่นทราบว่านายแดงมีเงินฝาก
ประจำาที่ธนาคาร 500,000 บาท ส่วนนายขาวได้ยักย้ายสร้อยคอทองคำาของนายแดงไปเป็นประโยชน์สว่ นตัว จำานวน 200,000
บาท โดยทายาทอื่นไม่ทราบว่านายแดงมีทรัพย์สินดังกล่าว ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนายแดง
ธงคำาตอบ หลักกฎหมาย มาตรา 1599, 1629(3), 1633, มาตรา 1605 วรรคแรก
นายแดงตายโดยไม่ได้ทำาพินัยกรรมไว้ มรดกของนายแดง 1,200,000 บาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมทั้งสามคือนายดำา
นายขาว และนางเหลือง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 1629(3) ทายาททั้งสามจึงมีสิทธิได้รับมรดกของ
นายแดงคนละส่วนเท่า ๆ กัน คือคนละ 400,000 บาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1633... หลังจากนายแดงตาย นายดำาได้ปิดบังมิให้
ทายาทอื่นทราบว่านายแดงมีเงินฝากประจำาที่ธนาคาร 500,000 บาท การกระทำาของนายดำาเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก
มากกว่าส่วนที่ตนจะได้รับโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำาให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่น นายดำาจึงถูกกำาจัดมิให้ได้รับมรดกเลย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605 วรรคแรก มรดกส่วนของนายดำาจึงตกแก่นายขาวและนางเหลืองคนละส่วนเท่า ๆ กันคือคนละ
200,000 บาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1633... ส่วนนายขาวได้ยักย้ายสร้อยคอทองคำาของนายแดงไปเป็นประโยชน์ส่วนตน
จำานวน 200,000 บาท โดยทายาทอื่นไม่ทราบว่านายแดงมีทรัพย์สินดังกล่าว นายขาวกระทำาการโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำาให้
เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ซึ่งเป็นการยักย้ายน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้รับ นายขาวจึงถูกกำาจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่
ได้ยักย้ายนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605 วรรคแรก มรดกที่นายขาวยักย้ายไป 200,000 บาท จึงตกได้แก่ นางเหลือง... ส่วนนาง
เหลืองมิได้ปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกจึงได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมจำานวน 400,000 บาท และได้รับในส่วนของ
นายดำา 200,000 บาท และส่วนของนายขาวอีก 200,000 บาท
สรุป มรดกของนายแดง 1,200,000 บาท จึงตกได้แก่ นายขาว 400,000 บาท นางเหลือง 800,000 บาท

4. นายอาทิตย์มีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 3 คน คือ นายจันทร์ นายอังคาร และนายพุธ และมีน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน 1


คน คือ นายเสาร์ นายเสาร์มีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 1 คน ชื่อเด็กชายวิน นายจันทร์มีนิสัยเกเรเป็นนักเลงอันธพาลและใช้จ่าย
เงินสุรุ่ยสุร่าย นายอาทิตย์จึงทำาพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนทั้งหมด 2,700,000 บาท ให้แก่นายอังคาร นายพุธบุตรชายของ
ตน และนายเสาร์น้องชายคนละ 900,000 บาท หลังจากนายอาทิตย์ตายแล้ว นายเสาร์ไม่ต้องการได้รับมรดกของพี่ชาย
ต้องการจะยกเงินที่ตนได้รับตาม พินัยกรรมให้แก่หลานจึงได้ไปทำาหนังสือสละมรดกโดยชัดแจ้งมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนายอาทิตย์

ธงคำาตอบ หลักกฎหมาย มาตรา 1608 วรรคท้าย, 1698 (3), 1617 มาตรา 1699, 1620 วรรคสอง,1629(1), 1633..........
นายอาทิตย์มีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 3 คน คือ นายจันทร์ นายอังคาร และนายพุธ นายอาทิตย์ได้ทำาพินัยกรรมยกทรัพย์สินของ
ตนทั้งหมด 2,700,000 บาท ให้แก่นายอังคาร นายพุธบุตรชาย และนายเสาร์ น้องชายคนละ 900,000 บาท โดยมิได้ทำา
พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่นายจันทร์ ถือว่านายจันทร์ผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคท้าย ซึ่งกรณีนี้เป็นการตัดโดยมิได้ระบุตัวทายาทผู้ถูกตัดไว้ให้ชัดเจน ทายาทจึงมีสิทธิได้รับมรดกใน
ฐานะทายาทโดยธรรม หลังจากนายอาทิตย์ตายแล้ว นายเสาร์ได้ทำาหนังสือสละมรดกโดยชัดแจ้งมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
การสละมรดกของนายเสาร์มีผลสมบูรณ์ ข้อกำาหนดในพินัยกรรมย่อมตกไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1698(3) มรดกที่นายเสาร์สละ
ย่อมไม่ตกไปเป็นของเด็กชายวินบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายเสาร์เพราะผู้รับพินัยกรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของผู้
นั้นไม่มีสิทธิจะรับมรดกที่ได้สละแล้วนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1617 มรดกที่ได้สละแล้วจึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1699 ประกอบมาตรา 1620 วรรคสอง ทายาทโดยธรรมของนายอาทิตย์ได้แก่ นายจันทร์ นายอังคาร และนาย
พุธ ซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629(1) ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับมรดกคนละส่วนเท่า ๆ กัน คือคนละ 300,000 บาท
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1633
สรุป มรดกของนายอาทิตย์ 2,700,000 บาท จึงตกได้แก่...นายจันทร์ 300,000 บาทในฐานะทายาทโดยธรรม... นายอังคาร
900,000 บาท ในฐานะผู้รับพินัยกรรมและ 300,000 บาท ในฐานะทายาทโดยธรรม... นายพุธ 900,000 บาท ในฐานะผู้รับ
พินัยกรรมและ 300,000 บาท ในฐานะทายาทโดยธรรม

5. ดำากับแดงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งสองมีบุตรชายด้วยกันสามคนคือ หนึ่ง สอง สาม ดำาอยากได้บุตรสาว


จึงไปจดทะเบียนรับนางสาวจิตรามาเป็นบุตรบุญธรรมอีกคนโดยได้รับความยินยอมจากแดงภริยาแล้ว ต่อมาอีก 1 ปี ดำาก็ตาย
ลง ดำาตายมีมรดกเป็นเงินสด 5 ล้านบาท หลังจากดำาตายได้เพียง 1 วัน หนึ่งก็ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตลงอีกคนหนึ่ง พอหนึ่ง
ตายได้เพียง 5 วัน สองเสียใจมากที่พ่อกับพี่ตายลงในเวลาไล่เลี่ยกันจึงได้ทำาหนังสือสละมรดกทั้งหมดโดยมอบไว้แก่พนักงาน
เจ้าหน้าที่ และไปบวชเป็นพระอยู่ที่วัดดอนไก่แจ้ จงวินิจฉัยว่ามรดกของดำาคือเงินสด 5 ล้านบาท จะตกได้แก่ใครบ้าง

หลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 1629, 1627, 1635, 1516, 1630


แดงเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของดำา ฉะนั้น จึงเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของดำาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635
หนึ่ง สอง และสาม เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของดำาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629(1)
จิตราเป็นบุตรบุญธรรมของดำา จึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627
ในเบื้องต้นมรดกของดำาจึงตกแก่ทายาทโดยธรรมคือ แดง หนึ่ง สอง สาม และจิตรา คนละส่วนเท่า ๆ กันคือคนละ 1 ล้านบาท
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635(1)
สองสละมรดกจึงไม่มสี ิทธิได้รับมรดก จึงต้องเอาส่วนของสองที่สละแล้วไปแบ่งแก่ทายาทอื่นทุกคน รวมทั้งหนึ่งที่ได้ตายไปก่อน
แล้วด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 ที่ว่าการที่ทายาทสละมรดกนั้น มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย ดังนั้นทั้ง แดง
หนึ่ง สาม และจิตรา จึงได้รับส่วนแบ่งมรดกเพิ่มขึ้นอีกคนละ 2 แสนห้าหมื่นบาท
เมื่อหนึ่งตาย ส่วนของหนึ่งคือ 1 ล้าน 2 แสน 5 หมื่นบาท จึงตกทอดแก่ทายาทของหนึ่ง ซึ่งหนึ่งมีมารดาที่เป็นทายาทตาม
1629 (2) มีสิทธิได้รับมรดกเพียงผู้เดียว เพราะสองและสามนั้นเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับหนึ่งเป็นาทายาทตาม
1629 (3) ทั้ง 2 คนจึงไม่มสี ิทธิได้รับมรดกของหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1630 วรรคแรก

6. นายกรและนางเขียว จดทะเบียนสมรสกัน แต่ไม่มีบุตร นายกรแต่ผู้เดียวจึงไปจดทะเบียนรับนายเอ และนายบี เป็นบุตร


บุญธรรมโดยมีนางเขียวเป็นผู้ให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมของนายกร ในส่วนของนายเอนั้น นายเอมีบุตรที่ชอบด้วย
กฎหมายคือ ด.ญ.ซี ต่อมานายกรและนางเขียวมีบุตรด้วยกันคือ ด.ช.ดำา นายเอนั้นเป็นผู้ดูแลนายกรและนางเขียวอย่างดี นาง
เขียวจึงทำาพินัยกรรมยกเงินของตน จำานวน 800,000 บาท ให้แก่นายเอแต่ผู้เดียว หลังจากนั้นไม่นานนายเอประสบอุบัติเหตุ
ถึงแก่ความตาย ต่อมาอีก 5 เดือน นางเขียวถึงแก่ความตาย จงแบ่งมรดกเงินจำานวน 800,000 บาท ของนางเขียว

หลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 1598/25, 1598/26, 1598/27, 1620, 1627, 1629, 1633, 1635, 1639, 1643, 1698, 1699
วินิจฉัย เมื่อเอผู้มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ย่อมทำาให้พินัยกรรมนั้นเป็นอันไร้ผล ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1698, 1699 และไม่อาจมีการรับมรดำาแทนที่ในทายาทโดยพินัยกรรมได้ตามมาตรา 1639, 1643 มกรดกตาม
พินัยกรรมที่ไร้ผลนี้ย่อมตกแก่ทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1620
โดยมรดกของนางเขียวย่อมตกได้แก่ นายกรคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 วรรค 2
และตกได้แก่ นายดำาบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627
แต่สำาหรับนายเอและนายบีนั้นมิใช่ ทายาท โดยธรรมของนางเขียว เพราะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1598/25, 15988/27 นั้น นาง
เขียวเป็นเพียง แต่ให้ความยินยอมเพื่อทำาให้การรับบุตรบุญธรรมของนายกรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หาทำาให้นายเอและนาย
บีกลับกลายเป็นทายาทโดยธรรมของนางเขียวด้วยไม่ มรดกคือ เงินจำานวน 800,000 บาท นั้น ย่อมตกแก่นายกรและนายดำา
ตามมาตรา 1633, 1635 โดยได้รับคนละส่วนเท่า ๆ กัน
สรุป มรดกคือ เงิน 800,000 บาท ของนางเขียวย่อมตกแก่นายกรสามี ที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา
1629 วรรค 2 และตกแก่นายดำาบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1629 (1) ประกอบ 1627 โดยไม่รับคนละ 400,000 บาท
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1633, 1635

7. นายเอกมีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน คือ นายโท นายตรี และนายจัตวา นายโทมีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ชื่อ นางแก้ว มี


บุตรด้วยกัน 1 คน คือ ด.ญ.เกด ส่วนนายตรีเป็นพ่อหม้ายมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน คือ ด.ช.ต่อ นายโทโกรธนายเอกที่
ชอบดุด่าตน นายโทจึงนำาปืนไปยิงนายเอก แต่นายเอกไม่ตาย นายโทต้องคำาพิพากษาถึงที่สุดว่าได้พยายามฆ่านายเอกโดย
เจตนา นายเอกได้ทำาพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดจำานวน 300,000 บาท ให้แก่นายตรีและนายจัตวาคนละครึ่ง ต่อมานายตรี
ถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุ หลังจากนั้นนายเอกถึงแก่ความตาย ดังนี้ ให้ท่านแบ่งมรดกของนายเอก

หลักกฎหมาย มาตรา 1606(1), มาตรา 1620 วรรค 2, มาตรา 1629 (3), มาตรา 1639, มาตรา 1642, มาตรา 1698(1),
มาตรา 1699
วินิจฉัย การที่นายเอกได้ทำาพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดจำานวน 300,000 บาท ให้แก่นายตรีและนายจัตวาคนละครึ่งนั้น เมื่อ
นายเอกถึงแก่กรรม นายจัตวาจึงได้รับมรดกครึ่งหนึ่งตามพินัยกรรม คือ 150,000 บาท แต่นายตรีผู้รับ พินัยกรรมอีกคนหนึ่งนั้น
ตายก่อนนายเอกผู้ทำาพินัยกรรม ข้อกำาหนดในพินัยกรรมในส่วนที่ยกทรัพย์สินให้นายตรีครึ่งหนึ่งจึงเป็นอันตกไป ตามมาตรา
1698(1)
ดังนั้นจึงต้องนำาทรัพย์มรดกครึ่งหนึ่งที่ยกให้นายตรีตามพินัยกรรม ไปแบ่งแก่ทายาทโดยธรรมของนายเอก ตาม มาตรา 1620
วรรค 2 ประกอบกับ มาตรา 1699 ซึ่งทายาทโดยธรรมที่เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของนายเอกตามมาตรา 1629(3) คือ
นายโท นายตรี และนายจัตวา แต่นายโทต้องคำาพิพากษาถึงที่สุดว่าพยายามฆ่านายเอกเจ้ามรดกโดยเจตนา นายโทจึงถูก
กำาจัดมิให้รับมรดกของนายเอกเลยตามมาตรา 1606(1) โดยนายโทถูกกำาจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ด.ญ.เกดในฐานะ
ผูส้ ืบสันดานของนายโทจึงเข้ารับมรดกแทนที่ในส่วนที่นายโทพึงจะได้รับตาม มาตรา 1639 ประกอบกับมาตรา 1642 ส่วน
มรดกที่จะตกทอดแก่นายตรีในฐานะทายาทโดยธรรมนั้น ด.ช.ต่อผู้สืบสันดานของนายตรีเข้ารับมรดกแทนทีนายตรีได้ ตาม
มาตรา 1639 ประกอบด้วย มาตรา 1642 ดังนั้น มรดกจำานวน 150,000 บาท จึงตกได้แก่ ด.ญ.เกด ด.ช.ต่อ และนายจัตวา
คนละเท่า ๆ กัน คือ คนละ 50,000 บาท

8. นายเอกเป็นข้าราชการพลเรือนในสังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง นายเอกสมรสกับนางใหญ่ แต่ไม่มีบุตร นายเอกมีชีวิต


สมรสที่ล้มเหลว ต้องการจะหย่าขาดจากนางใหญ่ แต่นางใหญ่ไม่ยินยอมจดทะเบียนหย่าให้ นายเอกจึงแยกไปอยู่กินกับนาง
น้อย ต่อมานายเอกเกษียณอายุราชการโดยเลือกรับเงินบำานาญ หลังจากนั้นนายเอกป่วยเป็นโรคมะเร็งขั้นร้ายแรงจึงเป็นห่วง
ว่า เมื่อตนเสียชีวิตไปแล้วนางน้อยจะลำาบาก และต้องการจะทำาพินัยกรรมกำาหนดการเผื่อตายในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(1) ที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างนายเอกกับนางใหญ่ นายเอกต้องการจะยกส่วนของตนให้นางน้อย
(2) เมื่อนายเอกเสียชีวิตแล้ว จะมีผมู้ ีสิทธิได้รับบำาเหน็จตกทอด หรือบำานาญตกทอด นายเอกต้องการให้นางน้อยเป็นผู้มีสิทธิ
ดังกล่าว
(3) เมื่อนายเอกเสียชีวิตแล้ว นายเอกต้องการอุทิศศพของตนให้โรงพยาบาลศิริราช เพื่อประโยชน์ในการศึกษาของนักศึกษา
แพทย์
ให้ทา่ นแนะนำานายเอก

หลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 1600, 1603, 1646 วินิจฉัย การทำาพินัยกรรมก็คือการแสดงเจตนาทำานิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งเป็น


ไปตามหลักของเสรีภาพในการทำาสัญญา โดยที่ผู้รับพินัยกรรมนั้นจะเป็นบุคคลใด ๆ ก็ได้ ไม่จำากัดว่าจะต้องเป็นบุคคลที่อยู่ใน
ข่ายที่จะเป็นทายาทโดยธรรมด้วย และจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น ดังนั้น
(1) นายเอกสามารถทำาพินัยกรรมยกสินสมรสส่วนของตนให้นางน้อย การทำาพินัยกรรมเกี่ยวกับสินสมรสนั้นทำาได้ เพียงแต่สามี
หรือภริยาไม่มีอำานาจทำาพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้บุคคลอื่นเท่านั้น (มาตรา 1481) (2) สิทธิต่าง ๆ ก็เป็น
มรดกได้ ถ้าเป็นสิทธิของผู้ตายหรือซึ่งผู้ตายมีสิทธิได้รับอยู่แล้วก่อนที่จะถึงแก่ความตาย สำาหรับสิทธิที่จะได้รับบำาเหน็จหรือ
บำานาญตกทอดนั้น กฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นสิทธิของบุคคลที่กำาหนดไว้โดยเฉพาะเจาะจง เช่น สามีหรือภริยา บิดา มารดา
รวมทั้งบุตรของข้าราชการที่ตายโดยอาศัยเงื่อนไขคือความตายของข้าราชการผู้นั้น สิทธิที่จะได้รับเงินดังกล่าวมิใช่เป็นสิทธิของ
ผูต้ ายจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นมรดกได้ ดังนั้น นายเอกจึงไม่อาจทำาพินัยกรรมยกสิทธิที่จะได้รับบำาเหน็จตกทอด หรือบำานาญ
ตกทอดให้ผู้ใดได้ (3) การทำาพินัยกรรมนั้น มาตรา 1646 ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องเป็นการแสดงเจตนากำาหนดการเผื่อตายใน
เรื่องทรัพย์สินเท่านั้น ดังนั้น แม้จะเป็นการแสดงเจตนาในการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องทรัพย์สินก็อาจอยู่ในรูปของพินัยกรรมได้ ดังเช่น
การแสดงเจตนาทำาพินัยกรรมอุทิศศพของตนเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ก็สามารถทำาได้ โดยระบุให้
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นผู้มีสิทธิในศพของตน เป็นต้น

9. นายวุฒิมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายชื่อนางฟ้า นายวุฒิมีพี่ชายร่วมมารดาหนึ่งคนชื่อนายวัฒน์ และมีน้องชายร่วมบิดาหนึ่ง


คนชื่อนายวิทย์ นายวุฒิมีย่าชื่อนางลำาดวน นายวุฒิโกรธนางฟ้าเพราะนางฟ้าไปจดทะเบียนรับเด็กหญิงขวัญลูกของน้องชาย
เป็นบุตรบุญธรรมของนางฟ้าเพียงคนเดียว ซึ่งนายวุฒิไม่เห็นด้วย เพราะต้องการให้นางฟ้าจดทะเบียนรับหลานของตนเป็นบุตร
บุญธรรมมากกว่า ทั้งสองทะเลาะกันนายวุฒิจึงได้แยกมาอยู่กับนางลำาดวนย่าของตนเป็นเวลา 10 ปีเศษจึงถึงแก่ความตาย
นายวุฒิมีมรดก 600,000 บาท จงแบ่งมรดกของนายวุฒิ

การที่นายวุฒิและนางฟ้าสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย แยกกันอยู่โดยยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมาย มิได้สิ้นไปซึ่งสิทธิ


โดยธรรมในการสืบมรดกซึ่งกันและกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1628
นายวุฒิมีพี่ชายร่วมมารดาหนึ่งคนชื่อนายวัฒน์ และมีน้องชายร่วมบิดาหนึ่งคนชื่อนายวิทย์ ทั้งสองคนถือเป็นทายาทโดยธรรม
ลำาดับที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629(4) และนายวุฒิมีย่าคือนางลำาดวน ย่าถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมลำาดับที่ 5 ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1629(5) นางลำาดวนซึ่งเป็นย่าเป็นทายาทที่อยู่ในลำาดับถัดลงไปจึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกของนายวุฒิตาม ป.พ.พ.มาตรา
1629 ประกอบมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง
นายวุฒิมีนางฟ้าเป็นคู่สมรสและมีพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา นางฟ้าคู่สมรสจึงมีสิทธิได้รับมรดกของนายวุฒิสองส่วนใน
สาม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1635(3) คือ 400,000 บาท นายวัฒน์กับนายวิทย์ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมมารดาหรือร่วมบิดาได้ 200,000
บาท ทั้งสองได้รับส่วนแบ่งคนละส่วนเท่าๆ กัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1633 คือ คนละ 100,000 บาท ส่วนเด็กหญิงขวัญไม่มี
สิทธิได้รับมรดกของนายวุฒิ เพราะมิใช่บุตรบุญธรรมของ นายวุฒิ

10. นายเอนกได้บวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ในระหว่างที่บวชอยู่ได้จดทะเบียนรับนายอนันต์มาเป็น


บุตรบุญธรรม ต่อมาอีก 5 เดือน พระภิกษุเอนกก็ได้รับที่ดินมา 1 แปลง จำานวน 5 ไร่ โดยมีโยมมารดาเป็นผู้ยกให้ หลังจากนั้น
พระภิกษุเอนกก็ได้ขายที่ดินแปลงนั้นไปได้เงินมาจำานวน 20 ล้านบาท และได้นำาไปฝากธนาคารไว้ ต่อมาก็ได้ดอกเบี้ยจากเงิน
ฝากเพิ่มขึ้นอีก 1 แสนบาท หลังจากนั้นเพียง 1 เดือน พระภิกษุเอนกก็ป่วยเป็นโรคหัวใจวายถึงแก่มรณภาพ จงวินิจฉัยว่า
มรดกของพระภิกษุเอนกจะตกทอดแก่ใครบ้าง เพราะเหตุใด

หลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 1623, 1624, 1627 และ มาตรา 1629


พระภิกษุเอนกได้รับที่ดินจากโยมมารดามา 1 แปลง จำานวน 5 ไร่ ในระหว่างที่บวชอยู่ ดังนั้นจึงถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาใน
ระหว่างที่อยู่ในสมณเพศ แม้ต่อมาจะได้ขาย และได้เงินมาจำานวน 20 ล้านบาท และนำาไปฝากธนาคารได้ดอกเบี้ยจากเงินฝาก
เพิ่มขึ้นอีกจำานวน 1 แสนบาท ก็ถือว่าจำานวนเงินทั้งหมดดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุเอนกได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณ
เพศด้วย ดังนั้นเมื่อพระภิกษุเอนกได้ถึงแก่มรณภาพ เงินจำานวนทั้งหมดย่อมตกเป็นสมบัติของวัดสองพี่น้องซึ่งถือเป็นภูมิลำาเนา
ที่พระภิกษุเอนกได้จำาพรรษาอยู่ ส่วนนายอนันต์บุตรบุญธรรมของพระภิกษุเอนกในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1627
และมาตรา 1629 ไม่มสี ิทธิได้รับส่วนแบ่งในเงินฝากและดอกเบี้ยนั้น เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่พระภิกษุเอนกได้มีมาก่อนบวชจึง
ไม่ใช่มรดกที่จะตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1624 แต่ต้องตกเป็นสมบัติของวัดตามที่กฎหมายมาตรา 1623 ได้กำาหนดไว้

11. นางขาวมีสามีที่ชอบด้วยกฎหมาย คือนายดำา มีบุตร 1 คน ชื่อนายใหญ่ นายใหญ่มีบุตรนอกกฎหมาย 1 คน ชื่อ ด.ช.เล็ก


โดยนายใหญ่ได้ไปแจ้งการเกิดว่า ด.ช.เล็กเป็นบุตรของตนและนายใหญ่ได้ให้การอุปการะเลี้ยงดู ด.ช.เล็กมาตลอด นางขาว
และนายดำา ได้ไปจดทะเบียนรับ น.ส.ฟ้า อายุ 18 ปีมาเป็นบุตร บุญธรรม ต่อมานายใหญ่เป็นมะเร็งถึงแก่ความตาย วันหนึ่ง
นางขาวทะเลาะกับนายดำา นายดำาได้นำาปืนมายิงนางขาวถึงแก่ความตายต่อหน้า น.ส.ฟ้า น.ส.ฟ้าได้ไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่
ตำารวจว่านางขาวถูกยิงถึงแก่ความตาย แต่ไม่ทราบว่าใครยิง เพราะกลัวว่านายดำาจะต้องรับโทษ ต่อมาศาลได้พิพากษาถึงที่
สุดว่า นายดำาฆ่านางขาวตายโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 นางขาวมีมรดกคือเงินสด 300,000 บาท
ดังนี้ ให้ทา่ นแบ่งมรดกของนางขาว

หลักกฎหมาย มาตรา 1606(1), (3), 1627, 1629(1), 1639 และ มาตรา 1643
วินิจฉัย การที่นายดำาต้องคำาพิพากษาถึงที่สุดว่าได้มีเจตนาฆ่านางขาวถึงแก่ความตายทำาให้นายดำาถูกกำาจัดมิให้รับมรดกของ
นางขาวฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606(1)
ส่วน น.ส.ฟ้าผู้เป็นบุตรบุญธรรมถือว่าเป็นผูส้ ืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1627 จึงมีสิทธิรับมรดก
ของนางขาวในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629(1) แต่การที่ น.ส.ฟ้ารู้อยู่แล้วว่า นางขาวถูกนายดำาฆ่าตายโดยเจตนา
แต่มิได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำารวจ เพราะกลัวว่านายดำาจะถูกลงโทษนั้น ย่อมทำาให้ น.ส.ฟ้าถูกกำาจัดมิให้รับมรดกของนางขาวฐาน
เป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606(3) โดยในกรณีนี้ไม่เข้าข้อยกเว้นของการที่จะไม่ถูกกำาจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1606(3)
ตอนท้าย เหตุเพราะ น.ส.ฟ้าอายุเกิน 16 ปี แล้ว และ น.ส.ฟ้าก็มิใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายดำา
ส่วนการที่นายใหญ่ได้ไปแจ้งการเกิดว่า ด.ช.เล็กเป็นบุตรของตนและได้ให้การอุปการะเลี้ยงดู ด.ช.เล็กมาตลอดถือว่า ด.ช.เล็ก
เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตามมาตรา 1627 และ ด.ช.เล็กนั้นเป็นผูส้ ืบสันดานโดยตรงของนายใหญ่ ด.ช.เล็กจึงมี
สิทธิรับมรดกแทนที่นายใหญ่ได้ตามมาตรา มาตรา 1639 ประกอบกับมาตรา 1643 ดังนั้นมรดกของนางขาวคือเงินสด
300,000 บาท จึงตกได้แก่ ด.ช.เล็กแต่เพียงผู้เดียว
สรุป มรดกของนางขาวคือเงินสด 300,000 บาท จึงตกได้แก่ ด.ช.เล็ก แต่เพียงผู้เดียว

12. นายโชคมีบุตรชอบด้วยกฎหมายสองคนชื่อนายดีและนายมี นายดีจดทะเบียนรับนายสุข เป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วย


กฎหมาย นายโชคมีมรดกทั้งสิ้นจำานวน 4 แสนบาท หลังจากนายโชคตายแล้ว นายดียักย้ายปิดบังทรัพย์มรดกเป็นของตนเอง
จำานวน 2 แสนบาท ดังนี้ให้ท่านแบ่งมรดกจำานวน 4 แสนบาทของ นายโชค

หลักกฎหมาย ป.พ.พ. 1605, 1607, 1629(1), 1633


วินิจฉัย นายดีและนายมีเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายโชคเมื่อนายโชคตายมีสิทธิได้รับมรดกคนละ 2 แสนบาท ตาม
ป.พ.พ. 1629(1) และ 1633 แต่นายดีได้ยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดกจำานวน 2 แสนบาท จึงเป็นผู้ถูกกำาจัดมิให้รับมรดกตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1605 นายสุขบุตรบุญธรรมของนายดีแม้จะไม่ใช่ผสู้ ืบสันดานโดยตรงของนายดี มีสิทธิเข้าสืบมรดกเท่าที่นายดี
พึงจะได้รับตาม ป.พ.พ. 1607 และผู้สืบสันดานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1607 บุตรบุญธรรมก็เป็นผู้สืบสันดานตามความหมายนี้
ดังนั้นนายสุขเข้าสืบมรดกแทนนายดีโดยได้รับมรดกจำานวน 2 แสนบาท (ฎ 478/2539)
สรุป มรดกจำานวน 4 แสนบาทของนายโชคตกแก่
นายมีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 2 แสนบาท
นายสุข (สืบแทนนายดี) 2 แสนบาท
นายดีถูกกำาจัดมิได้รับมรดกเลย

ข้อสอบกฎหมาย

1. นางต้อยจะแต่งงานจึงจ้างนางสมรให้ตัดชุดวิวาห์ให้ นัดให้ส่ง วันที่ 8 และวันที่ 10 คือวันสมรส แต่นางสมรมาวันที่ 11 นาง


ต้อยจึงไม่ยอมรับชุดวิวาห์และจะขอคืนมัดจำา แต่นางสมรไม่ยอมและบอกว่าจะยอมให้หักเบี้ยปรับ 7.5 แทนคำาของนางต้อยฟัง
ขึน้ รึไม่

2. นายเอ มีเจ้าหนี้คือ นายแดง และนายเอได้ซื้อรถมา ราคา 500000 บาท พอรู้ว่านายแดงจะมายึดทรัพย์ตน จึงได้เอารถไป


ขายที่เต๊นท์ ๆ รับซื้อราคา 3 แสนบาท และพอกลับมาบ้านได้เจอพี่ชายคือ นาย บี เล่าให้นายบีฟังว่าขายรถเพื่อหนีหนี้ นายบีจึง
ไปซื้อรถกลับมาจากเต๊นท์ ในราคา 3 แสนห้าหมื่นบาท ต่อมานายแดงตามมาที่บ้านเพื่อจะยึดรถ และนายแดงรู้ว่านาย เอ
ต้องการจะขายรถหนีหนี้ นายแดงจะสามารถ ยึดรถได้หรือไม่( ฟ้องร้องเสร็จแล้ว)

3. นางอ้อม เห็นมีผู้ชายมานอนบ้านนางแอ๋ว จึงได้สอนให้นกแก้วพูดทุกวันว่า "นางแอ๋วมีชู้ " และคิดว่าเมื่อใดที่นกแก้วพูดได้ดี


จะนำาไปไว้หน้าบ้าน ต่อมาพอนกแก้วพูดได้ดีแล้ว จึงนำามาแขวนไว้หน้าบ้าน คนผ่านไปมา นกแก้วก็จะพูดว่า"นางแอ๋วมีชู้ " ถาม
ว่านางแอ๋วมาปรึกษาท่าน ว่าจะทำาอย่างไร

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 3 สอบซ่อม ภาค 1/2548


(ชื่อ ตัวละคร จำาไม่ค่อยได้ ใช้ชื่อสมมุติแทน)

1. สามารถ อายุ 27 ปี หมั้นกับ จินดา อายุ 22 ปี โดยไม่มผี ู้ใหญ่รับรู้ด้วย ของหมั้นได้แก่ แหวนเพชร 1 วง ราคา 200,000 บาท
ภายหลังการหมั้น 6 เดือน สามารถถูกตำารวจจับข้อหาค้ายาบ้าและสามารถรับสารภาพ จินดาต้องการเลิกสัญญาหมั้น จึงมา
ปรึกษาว่าจะทำาได้หรือไม่ อย่างไร
2. สมรสจดทะเบียนแต่งงานกับสมรัก เมื่อ 14 ก.พ.2546 อีก 1 เดือนต่อมา สมรสต้องไปทำางานต่างประเทศเป็นระยะเวลา 1 ปี
โดยไม่ได้กลับมาเลย สมรักเหงาจึงไปคบหากับยืนยงคนรักเก่าและได้เสียกัน 3 เดือนต่อมา สมรสประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตใน
ต่างประเทศ 1 เดือนต่อมา สมรักจดทะเบียนแต่งงานกับยืนยง ต่อมาไม่นานสมรถคลอดบุตรคือเด็กหญิงนก เมื่อ 20 พ.ย.2546
คำาถามว่าเด็กหญิงนก เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของใคร

3. นาย A สมรสกับ นางชาลี มีบุตร 1 คนคือนายพิภพ นายพิภพ สมรสกับนาง B ไม่มีบุตรด้วยกัน ต่อมานายพิภพแอบได้เสีย


กับนางละไม มีบุตรด้วยกัน 1 คนคือเด็กหญิงนกซึ่งนายพิภพให้ใช้นามสกุลด้วยและอุปการะเลี้ยงดูมาตลอด นาง B จด
ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม 1 คนโดยนายพิภพยินยอมคือเด็กชายบอย ต่อมานายพิภพเสียชีวิต มีกองมรดก 8 ล้านบาท ให้แบ่ง
กองมรดกของนายพิภพ

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 2

1. นาย ก ทำาสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร ในวงเงิน 200,000 บาท โดยธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 และ


ธนาคารคิดดอกเบี้ยทบต้นมาตั้งแต่เริ่มต้น ต่อมานาย ก. เสียชีวิต และมีหนี้ค้างชำาระกับธนาคาร 150,000 บาท ถามว่า
ธนาคารจะเรียกเก็บหนี้ค้างชำาระ 150,000 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยทบต้นจากทายาทของนาย ก. ได้หรือไม่

ตอบ
อ้างหลักกฎหมาย ม 655 ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำาระ แต่ทว่าเมื่อ
ดอกเบี้ยค้างชำาระไม่น้อยกว่าปีหนึ่ง คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้
คิดดอกเบี้ยในจำานวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงนั้นต้องทำาเป็นหนังสือ
ส่วนประเพณีการค้าขายที่คำานวณดอกทบต้นในบัญชีเดินสะพัดก็ดี ในการค้าขายอย่างอื่นทำานองเช่นว่านี้ก็ดี หาอยู่ในบังคับ
แห่งบทบัญญัติซึ่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นไม่

เนื่องจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี (Overdraft) เป็นสัญญาที่มีลักษณะเดียวกับสัญญากู้ยืมเงิน โดยเป็นสัญญาซึ่งมีลักษณะ


เป็นสัญญากู้ยืมเงินบวกด้วยสัญญาบัญชีเดินสะพัด และมีการตัดทอนบัญชีหนี้ระหว่างกันตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด ดังนั้น
การที่ธนาคารคิดดอกเบี้ยทบต้นกับบัญชีของนาย ก. ก็สามารถทำาได้ เป็นข้อยกเว้นการห้ามคิดดอกเบี้ยทบต้น ตามมาตรา
655 วรรค 2 ดังนั้นสรุปได้วา่ ธนาคารสามารถเรียกเก็บหนี้ค้างชำาระ 150,000 บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยทบต้นจากทายาทของนาย
ก. ได้

2. นาย ก มอบหมายให้นาย ข เป็นตัวแทนไปขายรถให้นาย ค ก่อนส่งมอบรถ รถของนาย ก เกิดชำารุด นาย ข จึงนำารถยนต์คัน


ดังกล่าวไปซ่อมกับ นาย ง และนาย ข ออกค่าซ่อมรถเป็นเงิน 20,000 บาทไปก่อน นาย ข จะเรียกเก็บค่าซ่อม พร้อมทั้ง
ดอกเบี้ย จากนาย ก ได้หรือไม่ โดยนาย ก อ้างว่า นาย ข ไม่แจ้งให้ตนทราบก่อนที่จะนำารถไปซ่อม

ตอบ
อ้างหลักกฎหมาย มาตรา 800 ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำานาจแต่เฉพาะการ ท่านว่าจะทำาการแทนตัวการได้แต่เพียงในสิ่งที่จำาเป็น
เพื่อให้กิจอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสำาเร็จลุลว่ งไป
และมาตรา 816 ถ้า ในการจัดทำากิจการ อันเขามอบหมายแก่ตนนั้น ตัวแทนได้ออกเงินทดรอง หรือ ออกเงินค่าใช้จ่ายไป ซึ่ง
พิเคราะห์ตามเหตุ ควรนับว่า เป็นการจำาเป็นได้ไซร้ ท่านว่า ตัวแทนจะเรียกเอาเงินชดใช้ จากตัวการ รวมทั้งดอกเบี้ย นับแต่วันที่
ได้ออกเงินไปนั้นด้วย ก็ได้
ถ้า ในการจัดทำากิจการ อันเขามอบหมายแก่ตนนั้น ตัวแทนต้องรับภาระ เป็นหนี้ขึ้น อย่างใดหนึ่งอย่างใด ซึ่งพิเคราะห์ตามเหตุ
ควรนับว่า เป็นการจำาเป็นได้ไซร้ ท่านว่า ตัวแทนจะเรียกให้ตัวการ ชำาระหนี้แทนตน ก็ได้ หรือถ้า ยังไม่ถึงเวลา กำาหนดชำาระหนี้
จะให้ตัวการ ให้ประกันอันสมควร ก็ได้
ถ้า ในการจัดทำากิจการ อันเขามอบหมายแก่ตนนั้น เป็นเหตุให้ตัวแทน ต้องเสียหาย อย่างหนึ่งอย่างใด มิใช่เป็นเพราะ ความผิด
ของตนเองไซร้ ท่านว่า ตัวแทน จะเรียกเอาเงิน ค่าสินไหมทดแทน จากตัวการ ก็ได้

นาย ข ตัวแทนได้รับมอบหมายจาก นาย ก. ตัวการ ให้ไปทำาการขายรถ แต่วา่ รถยนต์คันดังกล่าวเกิดชำารุด นาย ข. จึงจำาต้อง


นำารถยนต์ไปซ่อม ซึ่งเป็นการทำาในสิ่งที่จำาเป็นตามมาตรา 800 เพื่อให้บรรลุการที่ตัวการได้มอบหมาย อีกทั้ง นาย ข. ยังได้ออก
เงินทดรองจ่ายไปก่อน ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ตามเหตุ ควรนับได้ว่า เป็นการจำาเป็นและตามสมควร เพราะหากไม่นำารถไปซ่อมก่อน ก็
คงจะไม่สามารถนำารถไปขายให้กับ นาย ค. ได้ ดังนั้น การออกเงินทดรองค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถ ย่อมเข้าตามหลักกฎหมาย
มาตรา 816 จึงสามารถเรียกให้ตัวการ คือนาย ก. ชดใช้เงินค่าซ่อม 20,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันที่ได้ออกค่าซ่อมได้
ด้วย

3. นายชิวทำาประกันรถยนต์ กับบริษัทรักษ์ทรัพย์ จำากัด โดยปิดบังข้อเท็จจริงว่ารถยนต์คันดังกล่าวเคยโดนชน ในวันที่ 1


กรกฎาคม 2548 ต่อมาบริษัทรักษ์ทรัพย์รู้โดยบังเอิญว่า นายชิวปิดบังข้อเท็จจริงดังว่าในวันที่ 1 กันยายน 2548 แต่ก็มิได้ทำา
ประการใด เวลาล่วงเลยจนถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2548 รถยนต์ของนายชิวถูกชนจากรถคันอื่น และต้องเข้าอู่ซ่อมเสียค่าใช้จ่าย
30,000 บาท ถามว่าบริษัทรักษ์ทรัพย์ต้องรับผิดเสียค่าสินไหมทดแทนหรือไม่

ตอบ
อ้างหลักกฎหมาย มาตรา 861 อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้
เงินจำานวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัย หากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดั่งได้ระบุไว้ในสัญญาและใน การนี้บุคคลอีกคน
หนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย
และ มาตรา 865 ถ้าในเวลาทำาสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัย
ความทรงชีพ หรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริง ซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ย
ประกันภัยสูงขึ้นอีก หรือ ให้บอกปัดไม่ยอมทำาสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็น ความเท็จไซร้ท่านว่าสัญญานั้น
เป็นโมฆียะ
ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำาหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับ ประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้น
ภายใน กำาหนดห้าปีนับแต่วันทำาสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป
การที่นายชิวปิดบังข้อความจริง ในเรื่องที่รถยนต์คันดังกล่าวเคยโดนชนมาก่อน ซึ่งเป็นข้อความจริงที่อาจจะได้จูงใจให้บริษัท
รักษ์ทรัพย์จำากัด เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรืออาจบอกปัดไม่รับทำาประกันภัยกับนายชิว ส่งผลให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะ
อย่างไรก็ตาม ภายหลังบริษัทรักษ์ทรัพย์ ได้ทราบข้อมูลอันจะบอกล้างสัญญาประกันภัยดังกล่าวได้ แต่มิได้ใช้สิทธิบอกล้าง
ภายในเวลา 1 เดือนตามหลักกฎหมายมาตรา 865 วรรคสอง ทำาให้สิทธิในการบอกล้างเป็นอันระงับสิ้นไป และสัญญาประกัน
ภัยสมบูรณ์ ดังนั้นเมื่อเกิดความวินาศขึ้นกับรถยนต์ของนายชิวในภายหลัง บริษัทรักษ์ทรัพย์จำาต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้
กับนายชิวตามหลักของสัญญาประกันภัยมาตรา 861 ที่อ้างข้างต้น

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 3

1. นายเอกชัยอายุ 24 ปี หมั้นกับน.ส.นิภา อายุ 17 ปี โดยบิดามารดาของหญิงยินยอม นายเอกชัยสัญญาว่าจะนำาของมาหมั้น


คือเงิน 200,000 บาท และทองคำาแท่ง 10 บาท แต่พอวันหมั้น กลับนำาเงิน 100,000 บาทมาหมั้น และสัญญาว่าของหมั้นที่
เหลือจะนำามาให้ในวันหลัง และให้สินสอดบิดามารดาหญิงเป็นเงิน 50,000 บาท 1 เดือนหลังจากหมั้นนายเอกชัยนำาทองคำามา
ให้อย่างเดียว 2 เดือนหลังจากนั้นได้สมรสกันตามประเพณี แต่ไม่มีการจดทะเบียนสมรส แต่น.ส.นิภายังไม่พอใจที่นายเอกชัย
ไม่นำาของหมั้นที่เหลือมาให้จึงไม่ยอมให้ร่วมประเวณีและไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับนายเอกชัย นายเอกชัยจะบอกเลิก
สัญญาหมั้นแล้วเรียกทรัพย์สินทั้งหมดคืนได้หรือไม่

การหมั้นระหว่างนายเอกชัยกับ นิภา ไม่ขัดกับ ม.1435 และได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาของนิภาผู้เยาว์ ตาม


ม.1436
มีเงิน 100,000 บาท ที่รับไว้เป็นของหมั้น ที่รับมอบจากนายเอกชัย ตาม ม.1437 ว.1 ของหมั้นได้ตกเป็นของนิภาทันที ตาม
ม.1437 .2 และมีเงินสินสอด 50,000 บาท ที่มอบให้แก่บิดามารดาของนิภา ตาม ม.1437 ว.3 ส่วนทองคำาแท่งหนัก 10 บาทที่
นำามามอบทีหลังไม่เป็นของหมั้นเพราะมิได้ส่งมอบให้ในขณะหมั้น แต่เป็นการให้โดยเสน่หา ดังนั้นการหมั้นของเอกชัยและนิภา
จึงสมบูรณ์
แต่การที่นิภาไม่พอใจที่นายเอกชัยไม่นำาเงินมาให้อีก 100,000 บาทถือว่าเกิดเหตุสำาคัญแก่ชาย แม้จะเข้าพิธีสมรสกัน แต่ไม่
ยอมร่วมประเวณีและไม่ยอมจดทะเบียนสมรสถือได้ว่านายเอกชัยและนิภายังไม่ได้สมรสกันตามกฎหมายตาม ม.1457 ที่
ว่าการสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น
การที่นายเอกชัยไม่นำาเงินที่ขาดมาให้ เป็นกรณีมีเหตุสำาคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้นทำาให้หญิงไม่ควรสมรสกับชายตาม ม.1443
ตามฎ.1089/2492 (ในหนังสือมสธ.ก็มีนะฎีกานี้)
นิภามีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้น และของหมั้นจึงตกเป็นของนิภาตาม ม.1437 ว.2 และนิภาก็มีเหตุอันอ้างได้ตามกฎหมายที่จะ
ไม่ทำาการสมรส ตาม ม.1443 จึงไม่ถือว่านิภาผิดสัญญาหมั้น นายเอกชัยเรียกของหมั้นคืนนั้นไม่ได้ด้วยเหตุนี้ ประเด็นการหมั้น
จึงสิ้นสุดไป
เมื่อการที่นภิ าไม่ยอมสมรส(หมายถึงการสมรสตามประมวลกฎหมายนี้นะ) เพราะเหตุเกิดจากฝ่ายชายดังนั้น เอกชัยไม่
สามารถเรียกสินสอดคืนได้ แต่ทองคำาเป็นการให้โดยเสน่หาซึ่งเรียกคืนไม่ได้
ตอบ
จะให้คำาแนะนำาให้ว่านายเอกชัยจะให้นิภาคืนของหมั้นคือเงิน 100,000 บาทและคืนเงินสินสอด 50,000 บาทและทองคำาเรียก
คืนไม่ได้ เพราะนิภามีเหตุอันอ้างได้ตามกฎหมายตาม ม. 1443 และตามแนว ฎ.1089/2492

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 3 (เนติบัณฑิต)

1. จำาลองอายุ 24 ปี ขอหมั้นจำาเรียงอายุ 18 ปีต่อบิดามารดาของจำาเรียง โดยจำาเรียงได้ตกลงยินยอมด้วย จำาลองตกลงจะนำา


แหวนเพชร 1 วงราคา 200,000 บาท ทองคำาหนัก 20 บาทและรถยนต์ 1 คันราคา 500,000 บาท มามอบให้เป็นของหมั้น เมื่อ
ถึงวันหมั้น จำาลองนำาแหวนเพชร 1 วงซึ่งได้ขอยืมมาจากจำาลักษณ์พี่สาวโดยจำาลักษณ์ทราบดีวา่ จำาลองจะนำาแหวนนี้ไปหมั้น
จำาเรียงมามอบให้จำาเรียงพร้อมกับทะเบียนรถยนต์สว่ นรถยนต์นั้นจำาลองสัญญาว่าจะนำามามอบให้ภายใน 1 เดือนนอกจากนั้น
จำาลองได้ทำาสัญญากู้มอบให้แก่จำาเรียง 1 ฉบับแทนทองคำา ซึ่งจำาลองมิได้นำามามอบให้จำาเรียง ในสัญญากู้นี้ระบุว่าจำาลองได้กู้
เงินจำาเรียงเป็นจำานวน 100,000 บาท จะชำาระให้ในวันสมรสและในวันเดียวกันนั้นเอง จำาลองได้นำาเงิน 80,000 บาทซึ่งกู้มา
จากจำารูญเพื่อนสนิทมามอบให้แก่บิดามารดาของจำาเรียงเพื่อตอบแทนการที่จำาเรียงยอมสมรส ทั้งสองฝ่ายตกลงให้จำาลองและ
จำาเรียงสมรสกันในอีก 3 เดือนข้างหน้า หนึ่งเดือนถัดมา จำาลองได้นำารถยนต์มามอบให้จำาเรียงตามที่ตกลงไว้ และเมื่อถึง
กำาหนดวันสมรสทั้งคู่ได้เข้าพิธีสมรสกันตามประเพณี โดยยังมิได้จดทะเบียนสมรส จำาเรียงโกรธที่จำาลองไม่ชำาระหนี้เงินกู้ให้แก่
ตนตามสัญญา จึงไม่ยอมร่วมหลับนอนด้วย จำาลองจึงขอบอกเลิกสัญญาหมั้น เรียกของหมั้นและสินสอดคืน ดังนี้ ให้ท่าน
วินิจฉัยสิทธิของจำาลองและจำาเรียงว่ามีประการใดบ้างและกรณีจะเป็นอย่างไรหากจำาลองมิได้บอกเลิกสัญญาหมั้นแต่กลับ
ขอร้องให้จำาเรียงจดทะเบียนสมรสซึ่งจำาเรียงได้ปฏิเสธตลอดมา

แนวคำาตอบ
การหมั้นของจำาลองกับจำาเรียงสมบูรณ์ไม่ขัดต่อเงื่อนไขแห่งการหมั้นในเรื่องอายุตามมาตรา 1435 เพราะทั้งคู่มีอายุครบ 17 ปี
บริบูรณ์แล้วและไม่ขัดต่อเงื่อนไขในเรื่องความยินยอมของบิดามารดาตามมาตรา 1436 เพราะจำาลองได้ขอหมั้นจำาเรียงต่อบิดา
มารดาของจำาเรียง จำาลองตกลงจะมอบของหมั้นให้แก่จำาเรียงหลายอย่างแต่ปรากฏว่าเมื่อถึงวันหมั้นจำาลองนำาเพียงแหวน
เพชร 1 วงซึ่งได้ยืมมาจากจำาลักษณ์พี่สาวโดยจำาลักษณ์ทราบดีว่าจำาลองจะนำาแหวนนี้ไปหมั้นจำาเรียงมามอบให้จำาเรียงพร้อม
กับทะเบียนรถยนต์ ฉะนั้นของหมั้นจึงมีเพียงแหวนเพชร 1 วง เท่านั้น เนื่องจากการหมั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบ
หรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงในขณะหมั้นตามมาตรา 1437 ส่วนทองคำาหนัก 20 บาท และรถยนต์ 1 คันตามที่
ตกลงไว้ ไม่ใช่ของหมั้นเนื่องจากจำาลองไม่ได้ส่งมอบให้จำาเรียงในขณะทำาการหมั้น การที่จำาลองทำาสัญญากู้มอบให้แก่จำาเรียง
1 ฉบับแทนทองคำา ซึ่งจำาลองมิได้นำามามอบให้แก่จำาเรียง สัญญากู้ไม่ใช่ของหมั้น เพราะของหมั้นต้องส่งมอบให้แก่หญิงใน
ขณะหมั้น สัญญากู้เป็นเพียงสัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นในวันข้างหน้าสัญญากู้ไม่เป็นของหมั้นและจำาเรียงจะบังคับให้
จำาลองชำาระหนี้ตามสัญญากู้ไม่ได้ เนื่องจากไม่มีมูลหนี้เดิมต่อกัน
นอกจากนั้นจำาลองได้นำาเงิน 80,000 บาท มามอบให้แก่บิดามารดาของจำาเรียง เพื่อตอบแทนการที่จำาเรียงยอมสมรส เงิน
80,000 บาท นี้ จึงเป็นสินสอดตามมาตรา 1437 วรรค 3
ต่อมาจำาลองได้นำารถยนต์มามอบให้จำาเรียงตามที่ตกลงกันไว้ รถยนต์คันนี้ไม่ใช่ของหมั้น เพราะไม่ได้มอบให้ในขณะหมั้นแต่
เป็นการให้โดยเสน่หา ทั้งคู่ได้เข้าพิธีสมรสกันตามประเพณีโดยยังมิได้จดทะเบียนสมรส จึงยังมิใช่สามีภริยากันตามกฎหมาย
เนื่องจากการสมรสต้องจดทะเบียนสมรสตามมาตรา 1457
จำาลองขอบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยอ้างเหตุว่าจำาเรียงไม่ยอมร่วมหลับนอนด้วย ไม่ได้ เนื่องจากทั้งคู่ยังไม่ได้เป็นสามีภริยากัน
ตามกฎหมายจึงไม่มีหน้าที่ต้องอยู่กินกันฉันสามีภริยาตามมาตรา 1461 การที่จำาลองบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยไม่มีเหตุอันจะ
อ้างกฎหมายได้ จึงเป็นการผิดสัญญาหมั้น จะเรียกของหมั้นและสินสอดคืนไม่ได้ แต่จำาลองไม่ต้องชำาระหนี้ตามสัญญากู้เพราะ
สัญญากู้ไม่ใช่ของหมั้น และไม่มีมูลหนี้เดิม นอกจากนี้ยังต้องชดใช้ค่าทดแทนฐานผิดสัญญาหมั้นแก่จำาเรียงด้วยตามมาตรา
1440
ส่วนจำาเรียง มีสิทธิ์ บอกเลิกสัญญาหมั้นได้ โดยอ้างการที่จำาลองไม่ปฏิบัติการชำาระหนี้ตามสัญญากู้เป็นเหตุสำาคัญที่ทำาให้ตน
ไม่สมควรสมรสด้วยตามมาตรา 1443 จำาเรียงไม่ต้องคืนของหมั้นและบิดามารดาของจำาเรียงไม่ต้องคืนสินสอดให้แก่จำาลองอีก
ทั้งจำาลองจะเรียกรถยนต์คืนจากจำาเรียงก็ไม่ได้ เพราะเป็นการให้โดยเสน่หา เมื่อจำาลองมิได้ประพฤติเนรคุณ จึงทำาให้เรียกคืน
ไม่ได้ แต่จำาเรียงไม่อาจเรียกให้จำาลองชำาระหนี้ตามสัญญากู้ได้ เพราะสัญญากู้ไม่ใช่ของหมั้น และไม่มีมูลหนี้เดิมอันจะเป็นเหตุ
ให้เรียกร้องกันตามสัญญาได้
หากจำาลองได้ขอร้องให้จำาเรียงจดทะเบียนสมรส แต่จำาเรียงได้ปฏิเสธตลอดมา ถือเป็นกรณีที่จำาเรียงผิดสัญญาหมั้นต้องคืน
แหวนหมั้นและสินสอดให้แก่จำาลอง แต่รถยนต์ไม่ต้องคืนเพราะเป็นการให้โดยเสน่หา นอกจากนั้นจำาเรียงยังต้องชดใช้ค่า
ทดแทนแก่จำาลองฐานผิดสัญญาหมั้น ตามมาตรา 1440 อีกด้วย

2. นาย ก เคยทำาพินัยกรรมไว้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2476 ยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นาง ข ซึ่งเป็นภรรยา ในวันนี้ นาย ก


ประสงค์ทำาพินัยกรรมใหม่เพื่อให้แบ่งปันมรดกดังนี้
1.ให้ดช. ค บุตรชายได้รับอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด
2.ให้ดญ. ง บุตรหญิงได้รับเงิน 10,000 บาท
3.ให้นาง ข ได้รับทรัพย์มรดกที่เหลือทั้งหมด
4. ให้นาง ง.เป็นผู้จัดการมรดกจัดการศพและปกครองทรัพย์ไว้เพื่อเด็กชาย ค และเด็กหญิง ง
ให้ทา่ นร่างพินัยกรรมขึ้นเพื่อให้นาย ก และพยานลงลายมือชื่อ

ธงคำาตอบ
เขียนขึ้นโดยอาศัยหลัก ในป.พ.พ.มาตรา 1656 และ 1687
หลักในการพิจารณาคำาตอบ
1.เป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์
2.ไม่มีข้อความฟุ่มเฟือย
3.ข้อกำาหนดพินัยกรรมให้เป็นไปตามที่ตั้งไว้ในปัญหา
4.พินัยกรรมได้ร่างขึ้นเพื่อความรอบคอบตามสมควรเพื่อขจัดปัญหาอาจกระทบกระเทือนความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรม

3. นายใช้สมรสกับนส.ช้อยโดยทำาสัญญาก่อนสมรสไว้ว่าทรัพย์สินทุกอย่างที่ฝ่ายใดมีมาก่อนสมรสให้เป็นสินส่วนตัวของฝ่าย
นั้น ปรากฏว่านส.ช้อยมีที่ดินแปลงหนึ่งก่อนสมรส ครั้นสมรสกันแล้วและนางช้อยตกลงกันฉีกสัญญาก่อนสมรสนั้นทิ้งเสีย แล้ว
โอนใส่ชื่อนายใช้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวแล้วแทนนางช้อย ภายหลังนายใช้ขายกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นให้แก่นายชาญ
ไปดังนี้นางช้อยขะขอให้ทำาลายนิติกรรมการขายนี้ได้หรือไม่

ธงคำาตอบ
สัญญาก่อนสมรสที่กำาหนดให้ที่ดินเป็นสินส่วนตัวของนางช้อย จะเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล การฉีก
หนังสือสัญญาจึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรส การที่นางช้อยโอนที่ดินใส่ชื่อนายใช้สามีนั้นเป็นสัญญาระหว่างสมรส
ซึ่งนางช้อยอาจบอกล้างได้ แต่นิติกรรมการขายระหว่างนายใช้กับนายชาญนั้น นางช้อยจะขอให้ทำาลายได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่า
นายชาญรับซื้อไว้โดยไม่สุจริต (ป.พ.พ. ม.1459 1464 37)

4. เด็กเกิดก่อนสมรสจะเป็นบุตรชอบด้วยกฏหมายของบิดาได้ในกรณีใดบ้างและเป็นบุตรชอบด้วยกฏหมายของมารดาหรือไม่

ธงคำาตอบ
เป็นบุตรชอบ ด้วยกฎหมายของบิดาในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
1.บิดามารดาได้สมรสกัน
2.บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร
3.ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดาเสมอ( ป.พ.พ.ม.1525 1526)

5. นาย ก ทำาพินัยกรรมแบบมีพยานลุกนั่งยกสมบัติของตนทั้งหมดให้นาย ข กับนาย ค คนละครึ่งในพินัยกรรมมีพยานลง


ลายมือชื่อ 3 คนคนหนึ่งเป็นภรรยาของนาย ข ผู้รับพินัยกรรม นาย ก ตาย จ บุตรคนเดียวของนาย ก ไม่ยอมปฏิบัติตามคำาสั่ง
ในพินัยกรรมให้วินิจฉัยสิทธิของ ข ค และ จ ว่ามีอยู่หริอไม่อย่างไร

ธงคำาตอบ
คู่สมรสของพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นโมฆะเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการยก
ทรัพย์สมบัติให้แก่ ข ทรัพย์สมบัติส่วนนี้จึงเป็นมรดกไม่มพี ินัยกรรมตกได้แก่ทายาทโดยธรรม ของกคือ จ ส่วน ค มีสิทธิได้รับ
ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ( ป.พ.พ.มาตรา 1620 1653 1699 1705)

6. เด็กหญิงสา ได้จดทะเบียนสมรสกับนายแสงและอยู่ร่วมกับนายแสง จนมีครรภ์ ต่อมาปรากฏว่าขณะทำาการสมรสนั้นเด็ก


หญิงสา อายุเพียง 14 ปีเท่านั้น แต่บิดามารดาของเด็กหญิงสา ก็ยินยอมไม่คัดค้านการสมรสนั้น การสมรสของเด็กหญิงสา
เป็นการสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่

ธงคำาตอบ
การสมรสของเด็กหญิงสาผิดบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1445 (1) โดยปกติอาจถูกเพิกถอนได้ แต่เมื่อปรากฏว่าเด็กหญิงสา
มีครรภ์กับนายแสงก่อนเด็กหญิงสามีอายุครบกำาหนดต้องถือว่าการสมรสของเด็กหญิงสาสมบูรณ์มาแต่เวลาสมรส (ป.พ.พ.
ม.1489)

7. (ก)ในกรณีที่ศาลพิพากษาว่าบุตรนอกสมรสเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายการเป็นบุตรชอบด้วยกฏหมายนั้นจะมีผลตั้งแต่เมื่อ
ใด
(ข) บุตรนอกสมรสซึ่งมีหลักฐานฟังได้ว่าขณะบิดามีชีวิตอยู่บิดาได้รับรองต่อคนทั่วๆไปว่าเป็นบุตรแต่ศาลเพิ่งพิพากษาว่าเป็น
บุตรชอบด้วยกฏหมายภายหลังเมื่อบิดาถึงแก่กรรมไปแล้วบุตรคนนี้จะได้รับมรดกบิดาได้หรือไม่

ธงคำาตอบ
(ก) การเป็นบุตรชอบด้วยกฏหมายต้องนับแต่วันที่คำาพิพากษาถึงที่สุดตามป.พ.พ.มาตรา 1530 (3) และฎีกาที่ 210/2491
(ข) ถ้ามีหลักฐานฟังได้ว่าบิดาได้รับรองอย่างในปัญหานี้ย่อมมีผลย้อนหลังถึงวันเกิดของบุตรบุตรจึงมีสิทธิรับมรดกของบิดาได้
ป.พ.พ.มาตรา 1524 และ 1627 คำาพิพากษาฏ.ที่446/2493

8. นายแดงมีภรรยาโดยกฏหมายอยู่แล้วแต่ภายหลังร้างกับภรรยาเดิมไปทำาการสมรสกับหญิงอื่นโดยจดทะเบียนสมรสกับหญิง
นั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และเกิดบุตรกับหญิงนั้น ภายหลังเมื่อนายแดงตายแล้วภริยาเดิมได้ฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการ
สมรสระหว่างนายแดงกับหญิงคนที่กล่าวนั้น ศาลมีคำาสั่งเพิกถอนโดยพิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะ ให้ท่านวินิจฉัยว่า
บุตรนายแดงซึ่งเกิดด้วยหญิงที่ถูกเพิกถอนการสมรสนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของนายแดงหรือไม่โดยยกกฏหมาย
ประกอบ

ธงคำาตอบ
การสมรสของนายแดงขัดต่อป.พ.พ.มาตรา 1445(3)เป็นโมฆะตามป.พ.พ.มาตรา 1490 จึงไม่ใช่กรณีที่การสมรสอาจจะถูกเพิก
ถอนได้ กรณีไม่เข้าป.พ.พ.มาตรา 1532 บุตรของนายแดงไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฏหมาย

9. นายแดงมีนิสัยชอบเสพสุราทำาการสมรสกับนางสาวขาวก่อนทำาการสมรสนายแดงได้ทำาสัญญาให้ไว้แก่นางสาวขาวว่าจะ
เลิกเสพสุราอย่างเด็ดขาด ถ้าเสพสุราอีกให้ภรรยาฟ้องหย่าได้ครั้นทำาการสมรสกันแล้วนายแดงยังคงเสพสุราอยู่ดังเดิมภริยา
นายแดงจะอาศัยสัญญาก่อนสมรสนั้นฟ้องหย่าได้หรือไม่ หากทำาสัญญากันดั่งนี้ภายหลังทำาการสมรส จะมีผลแตกต่างกัน
อย่างไรหรือไม่

ธงคำาตอบ ตามป.พ.พ.พ.มาตรา 1458 สัญญาก่อนสมรสทำาได้แต่ในเรื่องทรัพย์สินและการที่นายแดงผิดสัญญาก่อนสมรสที่จะ


เลิกเสพสุราก็ไม่เป็นเหตุฟ้องหย่าอย่างใดอย่างหนึ่งตามป.พ.พ.มาตรา 1500 ภริยานายแดงจะอาศัยเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ แต่
ถ้าสัญญาดังนี้ทำากันภายหลังสมรสเป็นทัณฑ์บน ภริยานายแดงย่อมถือเป็นเหตุที่จะหย่าได้ตามป.พ.พ.มาตรา 1500(7)

10. นายขาวซึ่งกำาพร้าบิดามารดาสมรสกับนางเขียวก่อนใช้ป.พ..พ.บรรพ 5 เกิดบุตรด้วยกัน 3 คน ภายหลังเมื่อใช้


ป.พ.พ.บรรพ 5 แล้ว นางเขียวตาย นายขาวสมรสกับนางเหลืองไม่มีบุตรด้วยกัน ต่อมานายขาวตายมีที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดก
อันเป็นสินสมรสระหว่างนางเขียวกับนายขาวอยู่หนึ่งแปลง และเป็นสินสมรสระหว่างนายขาวกับนางเหลืองอีกหนี่งแปลงดังนี้
ในกรณีทุกฝ่ายมีสินเดิมจะแบ่งที่ดินสองแปลงนั้นเป็นมรดกของนายขาวแก่ทายาทอย่างใด

ธงคำาตอบ แบ่งที่ดินที่เป็นสินสมรสระหว่างนายขาวกับนางเขียวออกเป็น 3 ส่วนเป็นสินสมรสส่วนของนางเขียวเสีย 1 ส่วน ซึ่ง


ตกได้แก่ทายาทของนางเขียวอีกสองส่วนเป็นสินสมรสส่วนของนายขาวตกเป็นมรดกของขาวและแบ่งที่ดินที่เป็นสินสมรส
ระหว่างนายขาวกับนางเหลืองออกเป็นสองส่วน เป็นสินสมรสส่วนของนางเหลือง 1 ส่วนเป็นสินสมรสส่วนของนายขาว 1 ส่วน
ตกเป็นมรดกของนายขาว ที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของนายขาวในที่ดินทั้งสองแปลงมารวมกันแล้วแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่บุตรนาย
ขาว 3 คนและนางเหลือง คนละ 1 ส่วนเท่าๆกันทั้งนี้เมื่อสินเดิมถ้าขาด ได้หักสินสมรสแล้วทั้งสองกรณี (พรบ.ให้ใช้บทบัญญัติ
บรรพ 5 แห่งป.พ.พ.พ.ศ.2477 มาตรา 4 (1)กฏหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 ) ป.พ.พ.มาตรา 1517 1629(1)และ 1635 (1)

11. นายดำาและนางแดงซึ่งมิใช่เป็นสามีภรรยากันตามกฏหมายได้สมัครใจได้เสียกันและเกิดบุตรด้วยกันคนหนึ่งแต่ไมมีผูอื่น
ทราบว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของนายดำา ต่อมานายดำาไม่ให้เงินค่าเลี้ยงดูบุตรนั้น นางแดงขอให้นายดำารับรองบุตรนั้นว่าเป็นบุตร
ชอบด้วยกฏหมายของนายดำา นายดำาปฏิเสธ นางแดงจะมีทางบังคับให้นายดำารับรองบุตรนั้นตามกฏหมายบ้างหรือไม่
ธงคำาตอบ ไม่มี เพราะกรณิไม่เข้าเกณฑ์ที่จะฟ้องขอให้รับรองบุตรได้ตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1529 (คำาพิพากษาฏี
กาที่ 368/2499)

ข้อสอบกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน
1. หนึ่งทราบว่าที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่งของตนถูกสองครอบครองปรปักษ์เสียแล้ว หนึ่งจึงขายที่ดินนั้นแก่สาม ภายหลังการจด
ทะเบียนโอนแล้วสามจึงทราบว่าสองครอบครองที่ดินนั้นอยู่ สามจึงขายที่ดินนั้นต่อให้สี่โดยมีข้อสัญญาว่าให้สี่เป็นผู้ดำาเนินการ
ขับไล่สองเอง เมื่อจดทะเบียนโอนแล้วสี่จึงยื่นคำาขาดให้สองออกไปจากที่ดินนั้นภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะฟ้องร้องดำาเนินคดี
ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าสองจะมีข้อต่อสู้อย่างไรหรือไม่

เฉลย
ตามปพพ. มาตรา 1299 วรรค 2 ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจาก
นิติกรรม สิทธิของผู้ได้มานั้นถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้จด
ทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริต
แล้ว
ตามปัญหา สามซื้อที่ดินจากหนึ่งโดยภายหลังจากจดทะเบียนโอนแล้วจึงทราบว่าสองครอบครองที่ดินนั้นอยู่ แสดงว่าในขณะที่
จดทะเบียนโอน สามยังไม่ทราบว่าสองเป็นผู้ครอบครองที่ดินนั้น จึงถือว่าสามเป็นผู้ซื้อโดยสุจริต ดังนี้สามจึงเป็นบุคคล
ภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว สิทธิครอบครองปรปักษ์ของสองนั้น
เมื่อยังมิได้จดทะเบียนจึงยกเป็นข้อต่อสู้สามไม่ได้ตาม ปพพ. มาตรา 1299 วรรค 2 ดังกล่าว
สีเ่ ป็นผู้รับโอนที่ดินนั้นต่อจากสาม เมื่อสามซึ่งเป็นผู้โอนได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว สี่ซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมมี
สิทธิเช่นเดียวกับสามผู้โอน โดยไม่ต้องวิเคราะห์วา่ สี่จะเป็นผู้ได้สิทธิโดยเสียค่าตอบแทน หรือโดยสุจริตหรือไม่ สี่จึงมีสิทธิดีกว่า
สองผู้ครอบครองปรปักษ์ (เทียบคำาพิพากษาฎีกาที่ 1015/2485)
ดังนั้น สองจึงไม่มขี ้อต่อสูแ้ ต่ประการใด

2. สมชายทะเลาะกับแฟนสาวและโกรธที่แฟนสาวคืนแหวนทองซึ่งตนให้เป็นของขวัญจึงขว้างแหวนทองนั้นทิ้งไปในกองขยะ
แล้วจากไป สมศรีเห็นเหตุการณ์จึงเข้าไปค้นหาจนพบแหวนทองนั้น สุดสวยอยู่ในเหตุการณ์ด้วยเห็นว่าแหวนทองนั้นสวยมาก
จึงขอซื้อ สมศรีเกรงว่าเก็บไว้อาจมีปัญหายุ่งยากจึงขายแหวนทองนั้นให้สุดสวยไป วันรุ่งขึ้น สมชายนึกเสียดายแหวนทองนั้นจึง
กลับไปหาที่เดิมและทราบความจริงว่า สุดสวยเป็นคนรับซื้อแหวนทองนั้นไว้ สมชายจึงตามไปทวงแหวนนั้นคืนจากสุดสวย
ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าสุดสวยจะมีข้อต่อสู้อย่างไรหรือไม่

เฉลย
ตาม ปพพ.มาตรา 1319 ถ้าเจ้าของสังหาริมทรัพย์เลิกครอบครองทรัพย์ด้วยเจตนาสละกรรมสิทธิไซร้ ท่านว่าสังหาริมทรัพย์นั้น
ไม่มีเจ้าของ
มาตรา 1318 บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิแห่งสังหาริมทรัพย์อันไม่มีเจ้าของโดยเข้าถือเอา เว้นแต่การเข้าถือเอานั้นต้องห้าม
ตามกฎหมาย หรือฝ่าฝืนสิทธิของบุคคลอื่นที่จะเข้าถือเอาสังหาริมทรัพย์นั้น
ตามปัญหา สมชายทะเลาะกับแฟนสาวและโกรธที่แฟนสาวคืนแหวนทองซึ่งตนให้เป็นของขวัญ จึงขว้างแหวนทองนั้นทิ้งไปใน
กองขยะ ถือได้วา่ สมชายเลิกครอบครองสังหาริมทรัพย์ด้วยเจตนาสละกรรมสิทธิแล้ว แหวนทองนั้นจึงเป็นสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มี
เจ้าของ ตาม ปพพ. มาตรา 1319 ดังกล่าว
สมศรีเข้าไปค้นหาจนพบแหวนทองนั้น จึงถือได้ว่าสมศรีได้มาซึ่งกรรมสิทธิแห่งแหวนทองนั้นซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์อันไม่มี
เจ้าของ โดยเข้าถือเอา ตาม ปพพ. มาตรา 1318 ดังกล่าว สุดสวยเป็นผู้รับซื้อแหวนทองนั้นจากสมศรีผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ
สุดสวยจึงได้กรรมสิทธิในแหวนทองนั้นโดยชอบ
ฉะนั้น สุดสวยจึงมีข้อต่อสู้ตามหลักกฎหมายดังกล่าว

3. นาย ก. ไปทำางานในต่างประเทศและมีภรรยาใหม่ที่นั่น จึงขาดการติดต่อกับนาง ข. ภรรยาเดิม ต่อมานาง ข. ขัดสนมากจึง


แอบอ้างไปเอาช้างของนาย ก. ซึ่งนาย ก. ฝากญาติเลี้ยงไว้โดยบอกว่านาย ก. ให้มาเอาคืน แล้วนำาช้างนั้นไปขายให้นาย ค.
โดยบอกว่าตนเป็นเจ้าของช้างเอง นาย ค. ไม่ทราบเรื่องเข้าใจว่าจริง จึงรับซื้อไว้โดยมิได้มีการโอนกันทางทะเบียนแต่ประการ
ใด 6 ปีต่อมานาย ก. กลับจากต่างประเทศและทราบเรื่องดังกล่าวจึงไปทวงช้างนั้นคืนจากนาย ค. โดยแจ้งว่าตนเป็นเจ้าของ
ที่แท้จริง อีกทั้งการซื้อขาย...พาหนะ เมื่อไม่ทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ ดังนี้ให้ท่าน
วินิจฉัยว่า นาย ค. จะมีข้อต่อสู้อย่างไร หรือไม่

เฉลย
ตามปพพ. มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยความเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ
ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้
ท่านว่าบุคคลนั้นได้
ตามปัญหา ค. ซื้อช้างซึ่งเป็น...พาหนะจาก ข. โดยมิได้มีการโอนกันทางทะเบียน การซื้อขายดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม
กฎหมาย แต่เนื่องจาก ค. รับซือ้ ช้างนั้นไว้โดยมิทราบว่า ข. มิใช่เจ้าของที่แท้จริงจึงถือได้ว่า ข. ได้ครอบครองช้างซึ่งเป็น
สังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นไว้โดยสุจริต ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ โดยได้ครอบครอบติดต่อกันเป็นเวลา 6 ปีซึ่งเกินกว่า 5 ปีตาม
กฎหมาย และไม่ปรากฏว่าเป็นการครอบครองโดยไม่สงบ หรือไม่เปิดเผยแต่ประการใด ค จึงได้กรรมสิทธิ์ในช้างนั้นโดยการ
ครอบครองปรปักษ์ ตาม ปพพ. มาตรา 1382 ดังกล่าว
ฉะนั้น ค. จึงมีข้อต่อสู้ ข ได้โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ตามหลักกฎหมายดังกล่าว

4. จันทร์ได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำานาจให้อังคารนำาที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่งไปจำานอง แต่อังคารได้แก้ไขหนังสือมอบอำานาจนั้น
แล้วไปทำานิติกรรมโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ตนเอง หลังจากนั้นอังคารได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินแปลงดังกล่าวแก่
นายพุธ โดยพุธไม่ทราบเรื่องความเป็นมาและได้จ่ายเงินค่าซื้อฝากไปเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า จันทร์จะมีสิทธิขอให้
เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและขายฝากดังกล่าวได้หรือไม่โดยอาศัยบทกฎหมายใด

เฉลย
ตามปพพ. มาตรา 1336 “ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำาหน่ายทรัพย์สินของตน และได้ซึ่ง
ดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัด
ขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น โดยมิชอบด้วยกฎหมาย”
ตามปัญหา การที่จันทร์ได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำานาจให้อังคารนำาที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่งไปจำานอง แต่อังคารกลับแก้ไขหนังสือ
มอบอำานาจนั้น แล้วนำาไปทำานิติกรรมโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวแก่ตนเองนั้น เห็นได้ว่าเป็นการกระทำาโดยปราศจากอำานาจ
ดังนั้น ถือว่านิติกรรมโอนขายที่ดินดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวจึงยังคงเป็นของจันทร์อยู่ อังคาร
ไม่มสี ิทธิใดที่จะนำาที่ดินแปลงดังกล่าวไปขายฝากได้ แม้พุธจะได้ซื้อฝากโดยจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว และกระทำาการโดยสุจริต
ก็ไม่ทำาให้เกิดสิทธิใดซึ่งเป็นไปตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน (คำาพิพากษาฎีกาที่ 1048/2536)
ฉะนั้น จันทร์เจ้าของกรรมสิทธิจึงมีสิทธิติดตามเอาคืนโดยฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและขายฝากดังกล่าวได้ โดย
อาศัยอำานาจของเจ้าของกรรมสิทธิตามมาตรา 1336 ดังกล่าว
5. เสนอให้สนองอยู่อาศัยทำากินในที่ดินมือเปล่าแปลงหนึ่งของตนได้โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า สนองอยู่ทำากินได้ 2 ปี ก็ไปขอให้ทาง
ราชการออก สทก. (หนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำากินในที่ดินได้ชั่วคราว) ให้แก่ตนเองโดยนายเสนอไม่ทราบ
เรื่อง อีก 10 ปีต่อมา เสนอต้องการใช้ที่ดินแปลงดังกล่าว จึงขอให้สนองย้ายออกไปแต่สนองไม่ยอมโดยต่อสู้ว่าตนได้สิทธิครอบ
ครองโดยชอบแล้ว ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า เสนอจะมีข้อต่อสู้อย่างไร หรือไม่

เฉลย
ตามปพพ. มาตรา 1381 “บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครอง บุคคลนั้นจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการ
ยึดถือได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองว่าไม่เจตนาจะถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไป หรือตนเองเป็นผู้ครอบครอง
โดยสุจริต อาศัยอำานาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก”
ตามปัญหา การที่เสนอให้สนองอยู่อาศัยทำากินในที่ดินมือเปล่าแปลงหนึ่งของตนโดยไม่ต้องเสียค่าเช่านั้น เห็นได้ว่าสนองอยู่ใน
ที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของเสนอ ถือว่าสนองยึดถือที่ดินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครอง แม้สนองจะไปขอให้ทาง
ราชการออก สทก.1 ให้แก่ตนเอง ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ เช่นนี้แม้สนองจะ
ไปขอให้ทางราชการออกหนังสือดังกล่าวช้านานเพียงใด ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ ขึ้น สนองยังคงอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบ
ครองอยู่นั่นเอง (คำาพิพากษาฎีกาที่ 1720/2536)
ฉะนั้น ตราบใดที่สนองยังมิได้บอกกล่าวไปยังเสนอว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินดังกล่าวแทนเสนออีกต่อไป แม้สนองจะยึดถืออยู่
นานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง เสนอจึงมีข้อต่อสู้ตามมาตรา 1381 ดังกล่าว

6. สุกทำาสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงหนึ่งให้แก่ใส แต่สุกผิดสัญญา ใสจึงฟ้องสุกให้โอนโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวให้ตามสัญญา


ทั้งสองฝ่ายตกลงทำาสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมให้สุกโอนที่ดินให้แก่ใส แต่ในขณะที่ยังมิได้
ทำาการโอนกัน เจ้าหนี้ของสุกได้ฟ้องสุกและจะบังคับคดียึดที่ดินแปลงดังกล่าว ดังนี้ใสจะมีข้อต่อสู้เจ้าหนี้ของสุกอย่างไร หรือไม่

เฉลย
ตาม ปพพ. มาตรา 1300 “ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสีย
เปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจด
ทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทน ซึ่งผู้รับโอนกระทำาการโดยสุจริตนั้น ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้
เพิกถอนทะเบียนไม่ได้”
ตามปัญหา การที่สุกทำาสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงหนึ่งให้แก่ใสนั้น สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวก่อให้เกิดเพียงบุคคลสิทธิ
ยังไม่ทำาให้ใสเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน แต่เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำาสัญญา
ประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมให้สุกโอนที่ดินให้แก่ใสแล้ว แม้จะยังมิได้จดทะเบียนโอน ใสก็เป็น
บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะได้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแล้ว ตาม ปพพ. มาตรา 1300 ดังกล่าว เจ้าหนี้ของสุกจะบังคับ
คดียึดที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นทางเสียเปรียบแก่ใสไม่ได้ ( คำาพิพากษาฎีกาที่ 4137/2533 )
ฉะนั้น ใสจึงมีข้อต่อสู้เจ้าหนี้ของสุกได้ โดยยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 1300 ดังกล่าว

7. เกศได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงหนึ่งโดยการครอบครองปรปักษ์ แต่ยังมิได้นำาไปจดทะเบียน ต่อมาเกล้าได้จดทะเบียนรับโอน


มรดกที่ดินแปลงดังกล่าวตามพินัยกรรม เกล้าจึงได้แจ้งให้เกศออกไปจากที่ดินแปลงดังกล่าว มิฉะนั้นจะฟ้องร้องดำาเนินคดี
ดังนี้ให้ท่านวินิฉัยว่าเกศจะมีข้อต่อสู้อย่างไร หรือไม่

เฉลย
ตาม ปพพ. มาตรา 1300 “ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสีย
เปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจด
ทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทน ซึ่งผู้รับโอนกระทำาการโดยสุจริตนั้น ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้
เพิกถอนทะเบียนไม่ได้”
ตามปัญหา เกศได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงหนึ่งโดยการครอบครองโดยปรปักษ์แล้วแต่ยังมิได้นำาไปจดทะเบียน เกศจึงเป็นบุคคลผู้
อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตามมาตรา 1300 ดังกล่าว การที่เกล้าจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดิน
แปลงดังกล่าวตามพินัยกรรม จึงเป็นทางเสียเปรียบแก่เกศผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ในเมื่อเกล้า
ได้รับโอนโดยทางมรดกซึ่งเป็นการได้มาโดยเสน่หามิได้มีค่าตอบแทน แม้จะได้จดทะเบียนรับโอนแล้ว เกศก็เรียกให้เพิกถอน
ทางทะเบียนได้ ( เทียบคำาพิพากษาฎีกาที่ 1886/2536 )
ฉะนั้น เกศจึงมีข้อต่อสู้โดยฟ้องให้เพิกถอนทางทะเบียนได้ตามมาตรา 1300 ดังกล่าว

8. สีให้แสงเช่าที่ดินมือเปล่าแปลงหนึ่งของตนโดยคิดค่าเช่าเป็นส่วนแบ่งข้าวเปลือกจากการทำานาในที่ดินแปลงดังกล่าว ต่อมา
สีถึงแก่กรรม จากนั้นแสงก็ไม่ได้ชำาระค่าเช่าและแสดงตนเป็นเจ้าของที่ดินเสียเองอีก 5 ปี ต่อมาสวยทายาทผู้รับมรดกของสี
ทราบเรื่องจึงยื่นคำาขาดให้แสงออกไปจากที่ดินแปลงดังกล่าวมิฉะนั้นจะฟ้องร้องดำาเนินคดี ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าแสงจะมีข้อ
ต่อสู้หรือไม่ อย่างไร

เฉลย
ตาม ปพพ. มาตรา 1381 “บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครอง บุคคลนั้นจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการ
ยึดถือได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองว่าไม่เจตนาจะถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไป หรือตนเองเป็นผู้ครอบครอง
โดยสุจริต อาศัยอำานาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก”
ตามปัญหาแสงเช่าที่ดินมือเปล่าแปลงหนึ่งจากสี โดยเสียค่าเช่าเป็นส่วนแบ่งข้าวเปลือกจากการทำานาในที่ดินแปลงดังกล่าว
แสงจึงเป็นบุคคลผู้ยึดถือที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนสี ผู้ครอบครองตามมาตรา 1381 ดังกล่าว แสงจะเปลี่ยน
ลักษณะแห่งการยึดถือได้ก็แต่โดยการบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองว่า ไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองอีกต่อไป
หรือตนเองเป็นผู้ครอบครองโดยสุจริต อาศัยอำานาจใหม่จากบุคคลภายนอก ในเมื่อแสงเพียงแสดงตนเป็นเจ้าของโดยมิได้บอก
กล่าวไปยังผู้ครอบครอง และมิได้อำานาจใหม่จากบุคคลภายนอกแต่ประการใด แม้แสงจะยึดถือที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่นาน
เท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง (เทียบคำาพิพากษาคดีฎีกาที่ 699/2536)
ฉะนั้น แสงจึงไม่มีข้อต่อสู้แต่ประการใด ตามนัยสำาคัญแห่งมาตรา 1381 ดังกล่าว

9. บริษัท ก. ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์ บริษัท ก. ได้ซื้อรถยนต์คันหนึ่งจากนาย


แดงซึ่งนำามาขาย ณ ที่ทำาการของบริษัท แต่แท้จริงแล้วรถยนต์คันดังกล่าวเป็นของบริษัท ข. ซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายแลก
เปลี่ยนรถยนต์เช่นเดียวกัน แต่รถยนต์คันดังกล่าวถูกคนร้ายฉ้อโกงไปเมื่อ 3 ปีก่อน บริษัท ข. ทราบเรื่องจึงได้ทวงรถยนต์คันดัง
กล่าวคืนจากบริษัท ก. ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า บริษัท ก. จะมีข้อต่อสู้อย่างไร หรือไม่
เฉลย
ตาม ปพพ. มาตรา 1332 “บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาดหรือในท้องตลาดหรือจากพ่อค้า ซึ่งขายของ
ชนิดนั้นไม่จำาต้องคืนแก่เจ้าของที่แท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา”
ตามปัญหา บริษัท ก. ได้ซื้อรถยนต์คันหนึ่งจากนายแดงซึ่งนำามาขาย ณ ที่ทำาการของบริษัท ดังนี้บริษัท ก. จึงมิใช่ผู้ซื้อทรัพย์สิน
มาจากการขายทอดตลาด หรือในท้องตลาด และไม่ปรากฏว่านายแดงเป็นพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นแต่ประการใด บริษัท ก. จึง
ไม่มสี ิทธิที่จะยึดถือรถยนต์คันดังกล่าวไว้ตาม มาตรา 1332 ดังกล่าว บริษัท ก. ต้องคืนรถยนต์คันดังกล่าวให้แกบริษัท ข.
เจ้าของที่แท้จริงโดยไม่ได้รับการคุ้มครองในส่วนของราคาที่ซื้อมาแต่ประการใด ( เทียบคำาพิพากษาฎีกาที่ 493/2536)
ฉะนั้น บริษัท ก. จึงไม่มขี ้อต่อสู้แต่ประการใด ตามนัยสำาคัญแห่งมาตรา 1332 ดังกล่าว

10. ที่ตื้นเขินชายตลิ่งแห่งหนึ่งซึ่งนำ้าท่วมถึงราวปีละ 3 เดือน เพชรได้ครอบครองทำาประโยชน์ในที่ตื้นเขินนั้นมาเป็นเวลากว่า 10


ปี ส่วนพลอยเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดที่ติดชายตลิ่งนั้น ทั้งเพชรและพลอยต่างก็อ้างกรรมสิทธิ์เหนือที่ตื้นเขินดังกล่าว ดังนี้ให้
ท่านวินิจฉัยว่าเพชรหรือพลอยจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ตื้นเขินชายตลิ่งดังกล่าวหรือไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย
ตามปพพ. มาตรา 1304 สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือ
สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น…(2) ทรัพย์สินสำาหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางนำ้า ทางหลวง ทะเลสาบ
มาตรา 1305 ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ตามปัญหา ที่ตื้นเขินชายตลิ่งซึ่งนำ้าท่วมถึงนั้นย่อมเป็นทรัพย์สินสำาหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ตามมาตรา 1304 (2) ดังกล่าว ที่ตื้นเขินนั้นจึงมิใช่ที่งอกริมตลิ่ง ฉะนั้นพลอยเจ้าของที่ดินมีโฉนดที่ติดชายตลิ่งนั้นจึงหาได้
กรรมสิทธิ์ในที่ตื้นเขินนั้นไม่ (เทียบคำาพิพากษาฎีกาที่ 350/2522) เมื่อที่ตื้นเขินนั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินผู้ใดเข้าครอบ
ครองเป็นเวลานานเท่าใด ก็หาอาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินได้ไม่ ตามมาตรา 1306 ดังกล่าว ฉะนั้น แม้เพชรจะ
ได้ครอบครองทำาประโยชน์ในที่ตื้นเขินนั้นเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ก็หาได้กรรมสิทธิ์แต่อย่างใดไม่
ฉะนั้น ทั้งเพชรและพลอยหาได้กรรมสิทธิ์ในที่ตื้นเขินชายตลิ่งนั้นไม่ ตามมาตรา 1304 (2) และมาตรา 1306 ดังกล่าว
กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน

11. ปูเป็นเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่งมีเนื้อที่ 10 ไร่ เป็นที่ตาบอดไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ปูได้แบ่งขายที่ดินจำานวน 3 ไร่ ให้แก่


ปลาโดยจดทะเบียนโอนกันเรียบร้อยแล้ว ต่อมาทางราชการได้ตัดถนนผ่านหน้าที่ดินของปูแต่ไม่ผา่ นที่ดินของปลา ด้วยเหตุนี้
ปลาจึงเรียกให้ปูเปิดทางจำาเป็นให้ตนผ่านออกสู่ถนนสาธารณะ โดยอ้างสิทธิไม่ต้องเสียค่าทดแทนตามกฎหมาย ดังนี้ให้ท่าน
วินิจฉัยว่าข้ออ้างไม่ต้องเสียค่าทดแทนของปลารับฟังได้หรือไม่

เฉลย
ตาม ปพพ. มาตรา 1350 ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกัน เป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกสู่สาธารณะไซร้ ท่านว่าเจ้าของ
ที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนและไม่ต้องเสียค่าทดแทน
ตามปัญหา ปูได้แบ่งขายที่ดินให้แก่ปลาโดยจดทะเบียนโอนกันเรียบร้อยแล้ว ต่อมาทางราชการจึงได้ตัดถนนผ่านหน้าที่ดินของ
ปู เช่นนี้เห็นได้ว่าทางสาธารณะได้เกิดขึ้นภายหลังจากได้แบ่งแยกที่ดินแล้ว มิใช่กรณีแบ่งแยกที่ดินเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มี
ทางออกสู่สาธารณะ อันเป็นผลให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ไม่มีทางออกนั้นมีสิทธิเรียกเอาทางเดินบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกโดยไม่
ต้องเสียค่าทดแทนตามมาตรา 1350 กรณีนี้จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ปลาจึงเรียกให้ปูเปิดทางจำาเป็นให้ตนผ่านออกสู่
สาธารณะ โดยอ้างสิทธิไม่ต้องเสียค่าทดแทนไม่ได้ (เทียบคำาพิพากษาฎีกาที่ 629/2522)
ฉะนั้น ข้ออ้างไม่ต้องเสียค่าทดแทนของปลาจึงหารับฟังได้ไม่

12. กิ่งยื่นคำาร้องขอออกหนังสือรับรองการทำาประโยชน์และนำาเจ้าพนักงานไปรังวัดที่ดินผืนหนึ่งโดยเข้าใจเป็นที่รกร้างว่างเปล่า
แต่แท้จริงแล้วที่ดินผืนนั้นเป็นส่วนหนึ่งในเขตที่ดินมือเปล่าของแก้ว อีกปีเศษต่อมา กิ่งนำารถไปไถทีด่ ินนั้นเพื่อเข้าทำาประโยชน์
แก้วทราบเรื่องจึงยื่นคำาขาดให้หยุดกระทำาการและขนย้ายทรัพย์สินออกไป ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า กิ่งจะมีข้อต่อสู้อย่างใด หรือ
ไม่

เฉลย
ตาม ปพพ. มาตรา 1375 เข้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่ง
การครอบครอง เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่าซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครองได้
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง
ตามปัญหา การที่กิ่งยื่นคำาร้องขอออกหนังสือรับรองการทำาประโยชน์และนำาเจ้าพนักงานไปรังวัดที่ดินในเขตที่ดินมือเปล่าของ
แก้วนั้น เห็นได้ว่ากิ่งยังมิได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินนั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแย่งการครอบครอง แต่เมื่อกิ่งนำารถไปไถ
ที่ดินนั้นเพื่อเข้าทำาประโยชน์จึงถือได้ว่าการแย่งการครอบครองได้เกิดขึ้นแล้ว แต่ระยะเวลาการแย่งการครอบครองยังไม่ครบปี
หนึ่ง แก้วจึงยังไม่ขาดสิทธิในการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามมาตรา 1375 ดังกล่าว (เทียบคำาพิพากษาฎีกาที่
596/2530)
ฉะนั้น กิ่งจึงไม่มีข้อต่อสู้แต่ประการใด ตามนัยแห่งมาตรา 1375 ดังกล่าว

13. หมอกซื้อที่ดิน น.ส.3 แปลงหนึ่งจากการขายทอดตลาดตามคำาสั่งของศาล โดยไม่ทราบว่าที่ดินนั้นเป็นทุ่งหญ้าที่ชาวบ้านใช้


เลี้ยง...ร่วมกัน หมอกได้เข้าครอบครองทำาประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเป็นเวลาปีเศษก็ถูกทางราชการยื่นคำาขาดให้ออกไปจาก
ที่ดินนั้น ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า หมอกจะมีข้อต่อสู้อย่างใด หรือไม่

เฉลย
ตามปพพ. มาตรา 1304 สาธารณสมบัติแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้
เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น…(2) ทรัพย์สินสำาหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
มาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำานาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือ
พระราชกฤษฎีกา
ตามปัญหา ที่ดินซึ่งเป็นทุ่งหญ้าที่ชาวบ้านใช้เลี้ยง...ร่วมกันนั้นเป็นทรัพย์สินสำาหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน อันเป็นสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดินตามมาตรา 1304 (2) ดังกล่าว เมื่อที่ดินที่หมอกซื้อเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้หมอกจะซื้อจากการขาย
ทอดตลาดตามคำาสั่งของศาลโดยสุจริต หมอกก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินแปลงนั้น เพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กัน
มิได้ตามมาตรา 1305 ดังกล่าว (เทียบคำาพิพากษาฎีกาที่ 2622/2522)
ฉะนั้น หมอกจึงไม่มขี ้อต่อสูแ้ ต่ประการใด ตามมาตรา 1304 (2) และมาตรา 1305 ดังกล่าว
14. เสือสร้างบ้านหลังหนึ่งแต่ได้ทำาถังส้วมซีเมนต์รุกลำ้าเข้าไปฝังอยู่ในที่ดินของช้าง โดยเข้าใจว่าอยู่ในเขตที่ดินของตนเอง เมื่อ
มีการรังวัดตรวจสอบเขตจึงทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว เสือจึงเสนอเงินค่าตอบแทนแก่ช้างเป็นค่าใช้ที่ดิน แต่ช้างไม่ยอมและ
ยืนยันให้เสือรื้อถอนออกไป ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า เสือจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอย่างใด หรือไม่

เฉลย
ตาม ปพพ.มาตรา 1312 วรรค 1 บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกลำ้าเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของ
โรงเรือนที่สร้างขึ้น แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินนั้น และจดทะเบียนเป็นภารจำายอม…
ตามปัญหา เสือทำาถังส้วมซีเมนต์รุกลำ้าเข้าไปฝังอยู่ในที่ดินของช้างโดยเข้าใจว่าอยู่ในเขตที่ดินของตนเอง แต่ถังส้วมซีเมนต์มิใช่
โรงเรือนและอยู่นอกโรงเรือนไม่เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรือน แม้เสือจะกระทำาโดยสุจริตก็ไม่ได้รับ การคุ้มครองตามมาตรา 1312
วรรค 1 ดังกล่าว แม้เสือจะเสนอเงินตอบแทนแก่ช้างเป็นค่าใช้ที่ดิน แต่ช้างไม่ยอม เสือก็ต้องรื้อถอนถังส้วมซีเมนต์นั้นออกไป (
เทียบคำาพิพากษาฎีกาที่ 2316/2522)
ฉะนั้น เสือจึงไม่ได้การคุ้มครองตามมาตรา 1312 วรรค 1 แต่ประการใด

15. ขนุนปลอมหนังสือมอบอำานาจของบิดา ไปจดทะเบียนโอนขายเรือนแพให้แก่ทุเรียน โดยทุเรียนไม่ทราบ เข้าใจว่าเป็นการ


โอนโดยชอบ อีก 6 ปีต่อมา บิดาของขนุนทราบเรื่องจึงเรียกให้ทุเรียนส่งมอบเรือนแพนั้นคืนแก่ตน มิฉะนั้นจะฟ้องร้องดำาเนินคดี
ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าทุเรียนจะมีข้อต่อสู้อย่างไรหรือไม่

เฉลย
ตาม ปพพ. มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินผู้อื่นไว้โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของถ้าเป็น
อสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่า
บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
ตามปัญหา ทุเรียนซื้อเรือนแพจากขนุน และได้จดทะเบียนโอนกันเรียบร้อย โดยทุเรียนไม่ทราบว่าขนุนปลอมหนังสือมอบ
อำานาจของบิดา เข้าใจว่าเป็นการโอนโดยชอบ จึงเห็นได้ว่าทุเรียนกระทำาโดยสุจริต และได้ครอบครองเรือนแพนั้นด้วยเจตนา
เป็นเจ้าของ และไม่ปรากฏว่าทุเรียนครอบครองโดยไม่สงบหรือโดยไม่เปิดเผยแต่ประการใด แม้เรือนแพนั้นจะมิใช่ของขนุนผู้
ขาย แต่เมื่อทุเรียนมิได้ครอบครองแทนผู้อื่น แต่ได้ครอบครองโดยความสงบ และโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสำาหรับ
เรือนแพซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ติดต่อกันเป็นระยะเวลาเกินห้าปี ทุเรียนจึงได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382 ดังกล่าว (เทียบคำา
พิพากษาฎีกาที่ 969/2536)
ฉะนั้น ทุเรียนจึงมีข้อต่อสู้โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้ตามมาตรา 1382 ดังกล่าว

16. บุญมาให้บุญมีเข้าทำากินในที่ดินมือเปล่าของตนแทนการชำาระดอกเบี้ย บุญมีเห็นว่าอย่างไรเสียก็ไม่ได้รับชำาระหนี้แน่จึงได้


ไปขอออก น.ส. 3 ก. ในที่ดินดังกล่าวเป็นชื่อของตน จนปีเศษต่อมา บุญมาทราบเรื่องจึงยื่นคำาขาดให้บุญมีออกไปจากที่ดินดัง
กล่าว มิฉะนั้นจะฟ้องร้องดำาเนินคดี ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าบุญมีจะมีข้อต่อสู้อย่างไร หรือไม่

เฉลย
ตาม ปพพ. มาตรา 1381 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครอง บุคคลนั้นจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการ
ยึดถือได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองว่าไม่เจตนาจะถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไปหรือตนเองเป็นผู้ครอบครอง
โดยสุจริตอาศัยอำานาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก
ตามปัญหา บุญมาให้บุญมีเข้าทำากินในที่ดินมือเปล่าของตนแทนการชำาระหนี้ดอกเบี้ยนั้นเห็นได้วา่ บุญมีได้ยึดถือที่ดินดังกล่าว
อยู่ในฐานะเป็นผูแ้ ทนบุญมาผู้ครอบครอง การที่บุญมีไปขอออก น.ส.3 ก. ในที่ดินนั้นเป็นชื่อของตนโดยเห็นว่าอย่างไรเสียก็ไม่
ได้ชำาระหนี้แน่นั้นยังถือไม่ได้วา่ เป็นการบอกกล่าวไปยังบุญมาผู้ครอบครองว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินดังกล่าวแทนบุญมาผู้
ครอบครองต่อไป จึงยังมิใช่การแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ปพพ. มาตรา 1381 แต่ประการใด ดังนี้แม้บุญ
มีจะยึดถือที่ดินนั้นเป็นเวลาช้านานเพียงไรก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง (เทียบคำาพิพากษาฎีกาที่ 3417/2527)
ดังนั้น บุญมีจึงไม่มีข้อต่อสู้บุญมาแต่ประการใด

17. ขาวได้กรรมสิทธิ์ส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของแดงโดยการครอบครองปรปักษ์มาเป็นเวลานานแล้วแต่มิได้จดทะเบียน ต่อ


มาแดงได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งแปลงให้แก่เขียว โดยเขียวทราบว่าขาวครอบครองที่ดินส่วนนั้นอยู่แล้ว แต่สำาคัญผิดว่าเป็น
ที่ดินนอกโฉนดและเข้าใจว่าเป็นที่ดินของขาวเอง ภายหลังจากจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงนั้นแล้ว เขียวจึงทราบว่าที่ดินส่วนที่
ขาวครอบครองนั้นอยู่ในเขตโฉนดที่ซื้อจากแดง ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าขาวจะเพิกถอนการจดทะเบียนของเขียวในส่วนที่ดินที่ตน
ครอบครองได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย
ตาม ปพพ. มาตรา 1300 ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสีย
เปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจด
ทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทน ซึ่งผู้รับโอนกระทำาการโดยสุจริตนั้น ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้
เพิกถอนทะเบียนไม่ได้
ตามปัญหา ขาวได้กรรมสิทธิ์สว่ นหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของแดงโดยการครอบครองปรปักษ์มาเป็นเวลานานแล้วแต่มิได้จด
ทะเบียน ต่อมาแดงได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งแปลงให้แก่เขียว เมื่อเขียวทราบว่าขาวครอบครองที่ดินส่วนนั้นอยู่แล้วย่อมถือ
ได้ว่าเขียวเป็นผู้รับโอนโดยไม่สุจริต แม้เขียวจะสำาคัญผิดว่าเป็นที่ดินอยู่นอกโฉนดและเข้าใจว่าเป็นที่ดินของขาวเองก็ไม่อาจ
เป็นข้ออ้างที่จะทำาให้เขียวเป็นผู้จดทะเบียนรับโอนโดยสุจริตได้แต่ประการใด ฉะนั้นการจดทะเบียนดังกล่าวจึงเป็นทางเสีย
เปรียบแก่ขาวผู้ครอบครองปรปักษ์ซึ่งอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนอยู่ก่อนตาม ปพพ. มาตรา 1300 (เทียบคำา
พิพากษาฎีกาที่ 265/2530)
ดังนั้น ขาวจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนของเขียวในส่วนที่ดินที่ตนครอบครองได้

18. กมล กวินทว์ และกระจ่าง ออกเงินกันคนละสามแสนบาท สองแสนบาท และหนึ่งแสนบาทตามลำาดับ ร่วมกันซื้อรถตู้คัน


หนึ่งราคาหกแสนบาท เพื่อวิ่งรับส่งคนโดยสารระหว่างหลักสี่ – ปากเกร็ด หลังจากวิ่งรถได้สองปี กวินทร์ได้เสนอความเห็นว่า
ควรเปลี่ยนเส้นทางเดินจากเดิมเป็น ปากเกร็ด – หมอชิต เนื่องจากมีผู้โดยสารมากกว่า ส่วนกมลเสนอความเห็นว่าควรขายรถตู้
คันดังกล่าวแล้วนำาเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนเนื่องจากเศรษฐกิจในช่วงนี้ไม่ดี ทั้งสามคนได้ปรึกษาหารือกันแล้ว ปรากฏผลดังนี้
กระจ่างเห็นว่าควรเปลี่ยนเส้นทางเดินรถและไม่ควรขายรถ กมลเห็นว่าไม่ควรเปลี่ยนเส้นทางเดินรถแต่ควรขายรถ กวินทร์เห็น
ด้วยทั้งสองกรณีว่าจะขายรถหรือจะเปลี่ยนเส้นทางเดินรถก็ได้ ดังนี้ท่านเห็นว่าจะเปลี่ยนเส้นทางเดินรถหรือจะขายรถตู้คันดัง
กล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
เฉลย
ตามปพพ. มาตรา 1358 “วรรคสาม” ในเรื่องจัดการอันเป็นสารสำาคัญ ท่านว่าต้องตกลงกันโดยคะแนนเสียงข้างมากแห่ง
เจ้าของรวม และคะแนนข้างมากนั้นต้องมีส่วนไม่ตำ่ากว่าครึ่งหนึ่งแห่งค่าทรัพย์สิน
การเปลี่ยนแปลงวัตถุที่ประสงค์นั้น ท่านว่าจะตกลงกันได้ก็แต่เมื่อเจ้าของรวมเห็นชอบทุกคน
ตามปัญหา การที่กมล กวินทร์ และกระจ่าง เป็นเจ้าของรวมในรถตู้คันหนึ่ง โดยกมลมีสว่ นราคาสามแสนบาท กวินทร์สองแสน
บาท กระจ่างหนึ่งแสนบาท ต่อมามีความประสงค์จะเปลี่ยนเส้นทางเดินรถจากปากเกร็ด – หลักสี่ เป็นปากเกร็ด – หมอชิต ซึ่ง
เป็นการจัดการอันเป็นสารสำาคัญตาม ปพพ. มาตรา 1358 วรรคสาม ต้องตกลงกันโดยคะแนนเสียงข้างมากและมีส่วนราคาไม่
ตำ่ากว่าครึ่งหนึ่งของค่าทรัพย์สิน ปรากฏว่ามีผู้เห็นด้วยสองรายคือ กระจ่างและกวินทร์ซึ่งเป็นเสียงข้างมากและมีส่วนราคารวม
กันแล้วได้สามแสนบาทอันไม่ตำ่ากว่าครึ่งของราคาทั้งหมดหกแสนบาท ย่อมสามารถกระทำาได้
ส่วนการขายรถตู้คันดังกล่าวเพื่อนำาเงินมาแบ่งปันกันนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุที่ประสงค์ตาม ปพพ.มาตรา 1358 วรรคสี่
ต้องตกลงกันโดยได้รับความเห็นชอบของเจ้าของรวมทุกคน ปรากฏว่ามีผู้เห็นชอบสองคน คือ กมลกับกวินทร์ส่วนกระจ่างไม่
เห็นชอบด้วย แม้วา่ กระจ่างจะมีสว่ นราคาหนึ่งแสนบาทน้อยกว่าเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ก็ตาม ดังนั้นจึงไม่สามารถขายรถตู้คันดัง
กล่าวได้
ดังนั้น เห็นว่าเปลี่ยนแปลงเส้นทางเดินรถได้ แต่ขายรถตู้คันดังกล่าวไม่ได้ ตามเหตุผลดังกล่าว

19. ชาติยอมออกจากที่ดินมือเปล่าของตนเพราะหลงเชื่อคำาบอกกล่าวของเจ้าพนักงานว่าที่ดินนั้นเป็นที่สาธารณะ ภายหลัง 10


ปีเศษต่อมามีการรังวัดสอบเขตที่ดินใหม่ ปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวอยู่นอกเขตสาธารณะ ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า ชาติจะเรียกร้อง
ที่ดินดังกล่าวคืนได้หรือไม่เพระเหตุใด

เฉลย
ตาม ปพพ. มาตรา 1377 ถ้าผู้ครอบครองสละเจตนาครอบครอง หรือไม่ยึดถือทรัพย์สินต่อไปไซร้ การครอบครองย่อมสิ้นสุดลง
ถ้าเหตุอันมีสภาพเป็นเหตุชั่วคราวมีมาขัดขวางมิให้ผู้ครอบครองยึดถือทรัพย์สินไซร์ ท่านว่าการครอบครองไม่สิ้นสุดลง
ตามปัญหา การที่ชาติยอมออกจากที่ดินมือเปล่าของตนเพราะหลงเชื่อคำาบอกกล่าวของเจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินนั้นเป็นที่
สาธารณะ ภายหลัง 10 ปีเศษต่อมามีการรังวัดสอบเขตที่ดินใหม่ปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวอยู่นอกเขตที่สาธารณะนั้น เห็นได้ว่า
ชาติยินยอมออกจากที่ดินดังกล่าวเป็นเวลาถึง 10 ปีเศษแล้ว ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันมีสภาพเป็นการชั่วคราวมาขัดขวาง มิให้ชาติ
ยึดถือทรัพย์สินตาม ปพพ. มาตรา 1377 วรรคสอง จึงถือได้วา่ ชาติสละเจตนาครอบครองหรือไม่ยึดถือที่ดินนั้นต่อไป การครอบ
ครองของชาติจึงสิ้นสุดลงตาม ปพพ. มาตรา 1377 วรรคหนึ่ง (คำาพิพากษาฎีกาที่ 2954/2523)
ดังนั้น ชาติจะเรียกร้องที่ดินดังกล่าวคืนหาได้ไม่

20. เสือนำาพินัยกรรมไปจดทะเบียนรับมรดกที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่งมาเป็นของตน โดยไม่ทราบว่าเป็นพินัยกรรมปลอม แล้วนำา


มาจดทะเบียนขายฝากให้แก่ช้าง โดยช้างก็ไม่ทราบเรื่องพินัยกรรมปลอมแต่อย่างใด ต่อมาปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่ดินแปลงนั้น
เป็นส่วนที่เป็นมรดกของแมวซึ่งยังมิได้จดทะเบียน ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าแมวจะเรียกให้ช้างส่งมอบที่ดินดังกล่าวคืนแก่ตนได้
หรือไม่เพราะเหตุใด

เฉลย
ตาม ปพพ. มาตรา 1336 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำาหน่ายทรัพย์สินของตน และได้ซึ่ง
ดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้และมีสิทธิขัดขวาง
มิให้ผู้อื่นสอดเข้ามิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ตามปัญหา การที่เสือนำาพินัยกรรมปลอมไปจดทะเบียนรับมรดกที่ดินมีโฉนดปลงหนึ่งมาเป็นของตน แล้วนำาไปจดทะเบียนขาย
ฝากให้แก่ช้างนั้น เห็นได้ว่าเสือไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์และไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะทำานิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้ ฉะนั้นช้างจึงเป็น
ผูร้ ับขายฝากจากผู้ซึ่งไม่มสี ิทธิใด ๆ แม้ช้างจะได้จดทะเบียนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ได้รับการคุ้มครองตามหลักผู้รับ
โอน ไม่มีสิทธิดีกว่าผู้รับโอน ฉะนั้น แมวเจ้าของที่แท้จริงจึงมีสิทธิติดตามเอาคืนจากช้างผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ตาม ปพพ.
มาตรา 1336 ดังกล่าว
ดังนั้น แมวจึงเรียกให้ช้างส่งมอบที่ดินดังกล่าวคืนแก่ตนได้

21. เสนาะและสะอาดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในสวนมะพร้าวแปลงหนึ่งโดยมีส่วนคนละครึ่ง เสนาะได้เข้าไปปลูกบ้านอยู่


อาศัยในสวนมะพร้าวดังกล่าว และเก็บผลมะพร้าวในสวนนั้นขายตลอดมาโดยสะอาดซึ่งอยู่ต่างจังหวัด ไม่ทราบเรื่อง ทั้งเสนาะ
ก็ไม่เคยบอกเล่าหรือขออนุญาตจากสะอาดเลย ต่อมาสะอาดทราบเรื่องดังกล่าว ประสงค์จะฟ้องขับไล่เสนาะให้ออกไปจาก
สวนมะพร้าวและเรียกเงินที่ขายผลมะพร้าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย
ตามปพพ. มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ
ท่านให้สันนิฐานไว้ก่อนว่า เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิ์ได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น
ตามปัญหา การที่เสนาะและสะอาดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกันในสวนมะพร้าวแปลงหนึ่งโดยมีส่วนคนละครึ่ง เสนาะได้
เข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัยอยู่ในสวนมะพร้าวดังกล่าวนั้นสามารถกระทำาได้เพราะเป็นการใช้ทรัพย์สินในฐานะที่ตนเป็นเจ้าของ
รวมคนหนึ่ง ตามมาตรา 1360 วรรคหนึ่งแห่ง ปพพ. โดยไม่ถือว่าละเมิดต่อสะอาดซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง แม้สะอาดจะ
ไม่ทราบเรื่องและเสนาะก็ไม่เคยขออนุญาตก็ตาม เพราะผลมะพร้าวเป็นดอกผลของทรัพย์สินคือสวนมะพร้าวที่เสนาะและ
สะอาดมีส่วนคนละครึ่ง เมื่อไม่มีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นตามมาตรา 1360 วรรคสองแห่ง ปพพ. ให้สันนิฐานไว้ก่อนว่า
เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ มีสิทธิ์ได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น สะอาดจึงมีสว่ นในเงินค่าขายผลมะพร้าวครึ่งหนึ่ง
ดังนั้น เห็นว่าสะอาดฟ้องขับไล่เสนาะให้ออกไปจากมะพร้าวไม่ได้และสะอาดมีสิทธิ์เรียกร้องเงินค่าขายผลมะพร้าวจากเสนาะ
ได้ครึ่งหนึ่งของทั้งหมด

ข้อสอบเก่ากฎหมายพาณิชย์ 3

1. ชาติกู้เงินศักดิ์ 100000 บาท โดยเอกทำาสัญญาคำ้าประกัน ต่อมาชาติได้ขอให้เชิญเข้าทำาสัญญาคำ้าประกันหนี้รายนี้อีกฉบับ


หนึ่ง เมื่อหนี้ถึงกำาหนดชำาระ ชาติไม่ชำาระ หนี้ให้ศักดิ์ ศักดิ์จึงมาทวงถามจากเอก เอกเกรงจะเสียชื่อเสียงจึงชำาระเงินให้ทั้งหมด
แล้วไปเรียกร้องเอาจากชาติ แต่ชาติไม่มีเงินชำาระให้ ดังนี้เอกมีสิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวจากเชิญได้หรือไม่ เพียงใด

แนวตอบ
มาตรา 682 วรรค สอง มาตรา 693
จากบทบัญญัติข้างต้น เมื่อเอกได้ชำาระหนี้ตามสัญญากู้เงินให้แก่ศักดิ์เจ้าหนี้แล้ว เอกย่อมเข้ารับช่วงสิทธิ์ของศักดิ์ บรรดามี
เหนือชาติลูกหนี้ และมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากชาติได้เต็มจำานวน แต่เมื่อปรากฏว่าชาติไม่มีเงินชำาระให้ เอกก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอากับ
เชิญซึ่งเป็นผู้คำ้าประกันอีกคนได้ แม้จะมิได้ทำาสัญญาคำ้าประกันร่วมกันกับเชิญก็ตาม แต่ทั้งเอกและเชิญต่างก้มีความรับผิด
อย่างลูกหนี้ร่วมต่อศักดิ์เจ้าหนี้ตามม.682 วรรค 2 เมื่อเอกชำาระหนี้ให้ศักดิ์แล้ว เอกย่อมรับช่วงสิทธิจากศักดิ์มาไล่เบี้ยเอาจาก
เชิญได้ แต่มสี ิทธิไล่เบี้ยได้เพียงกึ่งหนึ่งของจำานวนเงินที่ได้ชำาระไปเท่านั้น

2. นายสินกู้เงินนายพันธุ์ 6 แสนบาท โดยนายชาตินำาที่ดินแปลงหนึ่งราคา 3 แสน บาท มาจำานองเป็นประกันหนี้เมื่อหนี้ครบ


กำาหนด นายสินไม่ชำาระหนี้ นายพันธุ์จะบังคับจำานองที่ดิน นายชาติจึงชำาระหนี้เงินกู้ 6 แสนบาทให้นายนายพันธุ์เพื่อมิให้มีการ
บังคับจำานอง แล้วนายชาติเรียกให้นายสินชำาระเงิน 6 แสนบาทคืนตน นายสินปฏิเสธอ้างว่า ที่ดินจำานองมีราคาเพียง 3 แสน
บาท จะขอชำาระเงินเพียง 3 แสน บาท เท่าราคาที่ดิน นายชาติจึงนำา เรื่องนี้มาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คำาแนะนำาแก่นายชาติ
อย่างไร

แนวตอบ
มาตรา 724 วรรค หนึ่ง
จากข้อเท็จจริงในปัญหา นายชาติได้จำานองที่ดินของตนเป็นประกันหนี้ที่นายสินกู้เงินนายพันธุ์ 6 แสนบาท จึงเป็นเรื่องที่นาย
ชาติจำานองทรัพย์เป็นประกันหนี้ที่ผู้อื่นเป็นลูกหนี้ เมื่อนายชาติเข้าชำาระหนี้แทนนายสินลูกหนี้ 6 แสนบาท เต็มจำานวนหนี้โดย
มิได้มีการบังคับจำานองที่ดินของนายชาติ ดังนั้น นายชาติก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องนายสินให้ชำาระหนี้คืนแก่ตนได้ 6 แสนบาท เท่า
จำานวนที่ได้ชำาระหนี้แทนไป แม้ที่ดินจำานองจะมีราคาเพียง 3 แสนบาทก็ตาม นายสินลูกหนี้จะขอชำาระ เงิน 3 แสนบาทเท่า
ราคาที่ดินไม่ได้
ข้าพเจ้าจะแนะนำาให้นายชาติเรียกร้องให้นายสินชำาระเงิน 6 แสนบาท เท่าที่ได้เข้าชำาระหนี้แทนนายสิน

3. แสดออกตั๋วแลกเงิน สั่งให้ครามจ่ายเงินให้ส้มจำานวน 5 แสนบาทส้มสลักหลังโอนให้ฟ้า ฟ้าสลักหลังดอนให้เขียว ม่วงอาวัล


ฟ้า เขียวได้ยื่นตั๋วให้ครามรับรอง ตั๋วเงินถึงกำาหนด เขียวเรียกให้ใครชำาระเงินตามตั๋วได้บ้าง

แนวตอบ
ปพพ.มาตรา 937 940 967 900 914
ตามปัญหาครามรับผิดต่อเขียวในฐานะเป็นผู้จ่ายที่ได้ลงลายมือชื่อรับรองตั๋วแลกเงิน(มาตรา 967 900 )
แสดรับผิดต่อเขียวในฐานะลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน (มาตรา 914 967 )
ส้มและฟ้ารับผิดต่อเขียวในฐานะผู้สลักหลัง (มาตรา 914)
ม่วงรับผิดต่อเขียวในฐานะผู้อาวัลฟ้า (มาตรา 940) ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกัน

4. นายน้อยกู้เงินนายใหญ่ไป 2 หมื่นบาท โดยมีนายกลางเป็นผู้คำ้าประกัน เมื่อหนี้ถึงกำาหนดชำาระน้อยไม่มีเงินจึงส่งจดหมาย


ถึงใหญ่ขอขยายกำาหนดชำาระหนี้ออกไปอีก 2 เดือน โดยรับรองว่าจะชำาระหนี้ให้แน่นอนโดยกลางไม่ได้รู้เห็นเรื่องจดหมายดัง
กล่าวด้วย เมื่อครบกำาหนด 2 เดือนแล้ว ใหญ่จึงทวงถามน้อยให้ชำาระหนี้ แต่น้อยไม่ชำาระหนี้ อีกเช่นนี้ใหญ่จะมีสิทธิเรียกร้อง
เอาจากกลางได้หรือไม่

แนวตอบ
ปพพ.ม.700
การผ่อนเวลาในมาตราดังกล่าว หมายถึงกรณีที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงกันให้มีการขยายกำาหนดเวลาชำาระหนี้ออกไปอีกระยะ
หนึ่งและข้อตกลงดังกล่าวต้องมีผลผูกพันเจ้าหนีว้ ่าถ้ายังไม่ถึงกำาหนดที่ขยายออกไปนั้นเจ้าหนี้ยังไม่มีสิทธิจะเรียกร้องให้ลูกหนี้
ชำาระหนี้ได้
สำาหรับกรณีที่น้อยส่งจดหมายขอขยายกำาหนดชำาระหนี้ออกไปอีก 2 เดือนนั้นเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวไม่มีผลผูกพันตาม
กำาหนดเวลานั้นจึงไม่ใช่กรณีที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ตามม.700 ดังนั้นเมื่อหนี้ถึงกำาหนดชำาระแล้ว แม้ใหญ่จะเรียกร้องให้น้อย
ชำาระหนี้หลังจากครบกำาหนดไปแล้ว 2 เดือนและน้อยไม่ชำาระหนี้ให้ ใหญ่ก็มีสิทธิเรียกร้องเอาจากกลางในฐานะผู้คำ้าประกันได้
กลางยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด

5. นายสมกู้เงินนายสัก 4 แสนบาท โดยนายทรัพย์นำาที่ดินแปลงหนึ่งราคา 7 แสนบาท มาจำานองเป็นประกัน เมื่อหนี้เงินกู้ครบ


กำาหนด นายสมไม่ชำาระหนี้ นายสักจึงบังคับจำานอง ขายทอดตลาดที่ดินของนายทรัพย์ ได้เงินสุทธิชำา ระหนี้ 3 แสนบาท นาย
ทรัพย์เรียกให้นายสมชำาระราคาที่ดิน 7 แสนบาท แต่นายสมปฏิเสธอ้างว่านายสักได้รับชำาระหนี้จากการบังคับจำานองเพียง 3
แสนบาท นายทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกให้ตนชำาระหนี้ได้ 3 แสนบาทเท่านั้น ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของนายสมหรือไม่

แนวตอบ
ปพพ.มาตรา 724 วรรคสอง
ตามข้อเท็จจริง ในปัญหา นายทรัพย์นำาที่ดินของตนราคา 7 แสนบาท มาจำานองประกันหนี้ที่นายสมกู้เงินนายสักไป 4 แสน
บาท จึงเป็นเรื่องที่นายทรัพย์จำานองที่ดินเป็นประกันหนี้ของผู้อื่น เมื่อนายทรัพย์มิได้เข้าชำาระหนี้แทนนายสมลูกหนี้ แต่ให้นาย
สักเจ้าหนี้บังคับจำานองที่ดินของตนได้เงินชำาระหนี้ 3 แสนบาท นายทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกให้นายสมชำาระเงินคืนแก่ตนได้เพียง 3
แสนบาท เท่าจำานวนที่นายสักเจ้าหนี้ได้รับชำาระหนี้จากการบังคับจำานองที่ดินนายทรัพย์จะไปเรียกร้องให้นายสมชำาระเงินกู้แก่
ตน 7 แสนบาท เท่าราคาที่ดินจำานองไม่ได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าว การที่นายสมลูกหนี้ยืนยันขอชำาระหนี้คืนแก่นายทรัพย์เพียง 3 แสนบาท จึงเป็นข้ออ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย
ทุกประการ ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับข้ออ้างของนายสม

6. มกรา ออกตั๋วแลกเงินสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ กุมภาส่งมอบตั๋วแลกเงินให้มีนา มีนาสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินให้เมษา ตั๋วแลกเงิน


ถึงกำาหนดชำาระ เมษาเรียกให้ใครชำาระหนี้ตามตั๋วแลกเงินฉบับนี้ได้บ้าง

แนวตอบ
ปพพม. 900 921 967 940 914
ข้อเท็จจริงตามปัญหา
มีนารับผิดในฐานะอาวัลมกรา ตามม.921 การสลักหลังต๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล)
สำาหรับผู้สั่งจ่าย
กุมภาไม่ต้องรับผิดเพราะมิได้ลงลายมือชื่อในตั๋วแลกเงิน (ม.900)

7. นายเฉลิมสั่งจ่ายเช็คจำานวนเงิน 100 ล้านบาท ให้แก่นายฉลาด นายฉลาดสลักหลังโอนให้แก่นายเฉลียว นายเฉลียวสลัก


หลังโอนให้แก่นายเฉลา โดยนายเฉลารู้อยู่ว่านายเฉลียวได้รับสลักหลังเช็คมาด้วยการข่มขู่นายฉลาด ดังนี้ หากนายฉลาดมา
ปรึกษาท่านเพื่อจะเรียกเช็คคืนจากนายเฉลา ท่านจะให้คำาปรึกษาแก่นายฉลาดอย่างไรจึงจะชอบด้วยกฎหมาย

เฉลย
ปพพ.มาตรา 905 วรรคสอง
ตามกฏหมายลักษณะตั๋วเงินบัญญัติเป็นใจความว่า ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใด ต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครองท่านว่าผู้ทรง
ซึ่งแสดงให้ปรากกสิทธิของตนในตั๋วด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย หาจำาต้องสละ
ตั๋วเงินไม่ เว้นแต่ได้มาโดยทุจริตหรือได้มาด้วยความประมาทเลิ่นเล่ออย่างร้ายแรง หมายความว่าในเรื่องตั๋วเงินนั้นผู้รับโอนอาจ
มีสิทธิดีกว่าผู้โอน คือ ผู้ทรงอาจมีสิทธิดีกว่าผู้สลักหลังแก่ตนได้ ยกวันสองกรณีที่ผู้ทรงไม่มีสิทธิดีกว่าผู้สลักหลัง คือกรณีที่ผู้ทรง
ได้ตั๋วมาโดยทุจริตหรือได้มาด้วยความประมาทเลิ่นเล่ออย่างร้ายแรง
ตามอุทาหรณ์ นายเฉลาผู้ทรงซึ่งรับสลักหลังเช็คมาจากนายเฉลียวรู้อยู่ว่านายเฉลียวได้รับลักหลังเช็คมาด้วยการข่มขู่นาย
ฉลาดแต่ทั้งๆรู้เช่นนั้นยังรับโอนเช็คนั้นมา ดังนี้นายเฉลาผู้ทรงได้เช็คมาโดยทุจริต มีสิทธิเท่ากับนายเฉลียว นายเฉลาผู้ทรงจึงจำา
ต้องคืนเช็คให้แก่นายฉลาด หากนายฉลาดมาปรึกษา ข้าพเจ้าจะให้คำาปรึกษาให้นายฉลาดเรียกเช็คคืนจากนายเฉลา...

8. นายดอด หยิบเช็คธนาคารนครทน จำากัด ของนายดีพี่ชาย เขียนสั่งจ่ายเงินจำานวน 1 แสนบาท ให้นายมาก โดยลงลายมือชื่อ


เป็นนายดี ตามลายมือชื่อนายดีที่ตนเคยเห็นอยู่เสมอ ๆ นายมากสลักหลัง โอนเช็คให้นายมี นายมีนำาเช็คไปยื่น ธนาคารนคร
ทน จำากัด ให้ใช้เงิน สมุห์บัญชีของธนาคารได้จ่ายเงินให้นายมีไป 1 แสนบาท โดยไม่ได้ตรวจสอบลายมือชื่อของนายดีผู้สั่งจ่าย
กับตัวอย่างลายมือที่นายดีให้ไว้กับธนาคาร เนื่องจากเห็นว่านายดีลูกค้าชั้นดีของธนาคาร ประกอบกับเป็นเงินจำานวนไม่มาก
นัก ต่อมานายดีตรวจสอบบัญชีของตนเห็นว่ารายการถอนเงิน 1 แสนบาทนั้นตนไม่ได้เขียนเช็คสั่งจ่ายแต่ประการใด จึง
สอบถามนายดอดน้องชาย นายดอดรับว่าตนได้สั่งจ่ายเงินจำานวนนั้นไปโดยปลอมลายมือชื่อนายดี ดังนี้ นายดีจะฟ้องให้
ธนาคารรับผิดใช้เงินจำานวน 1 แสนบาท ได้หรือไม่ เพียงใด

เฉลย
ปพพ.ม.991 ม.1009
กรณีตามปัญหาเป็นเรื่องความรับผิดของธนาคารในการจ่ายเงินตามที่มีผู้นำาตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถามมา
เบิกต่อธนาคาร ตามปพพ.ม.1009 การที่นายดอด ได้นำา เช็คของนายดีมาเขียนสั่งจ่ายเงินจำานวน 1 แสนบาท โดยลงลายมือชื่อ
นายดีเป็นการปลอมลายมือชื่อนายดีผู้สงั่ จ่าย เมื่อนายมีนำาเช็คมาทวงถามให้ธนาคารนครทนจำากัดใช้เงิน สมุห์บัญชีได้จ่ายเงิน
ไปโดยไม่ได้ตรวจสอบลายมือชื่อนายดีผู้สั่งจ่ายจากตัวอย่างลายมือชื่อที่ให้ไว้กับธนาคาร ถือว่าสมุห์บัญชีประมาทเลินเล่อ แม้
สมุห์บัญชีจ่ายเงินไปตามการค้าปกติ โดยสุจริตก็ตาม สมุห์บัญชีเป็นตัวแทนของธนาคารนครทน จำากัด มีหน้าที่ตรวจสอบ
ลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายเมื่อมีผู้นำาเช็คมาทวงถามให้ธนาคารใช้เงิน เนื่องจากมีนิติสัมพันธ์กับธนาคารตามสัญญาบัญชีเดิน
สะพัด ปพพ.ม.1009 คุ้มครองกรณีที่ลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือของผู้สลักหลังปลอมเท่านั้น ถือว่าธนาคาร ไม่มีหน้าที่ต้องไป
ตรวจสอบลายมือชื่อบุคคลเหล่านั้น เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงานของธนาคาร แต่ถ้าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายปลอม
ก็เท่ากับนายดีผู้สั่งจ่ายไม่ได้สั่งจ่ายเงินตามเช็คนั้น ธนาคารจึงไม่มีหน้าที่จ่ายเงินจากบัญชีของนายดีตาม ปพพ.ม.991..
เมื่อธนาคารจ่ายเงินไปกรณีลายมือชื่อปลอม ธนาคารต้องรับผิดต่อผู้จ่าย นายดีจึงมีสิทธิฟ้องให้ธนาคารรับผิดใช้เงินจำานวน 1
แสน บาท แก่ตน.
9. เสถียรกู้เงินสถิตย์ จำานวน 6 หมื่นบาท โดยจดทะเบียนจำานองที่ดินของตนเป็นประกันจำานวน 6 หมื่นบาท และสาธร คำ้า
ประกันหนี้ดังกล่าว ต่อมาเสถียรผิดนัดไม่ชำาระหนี้ และหนี้ตามสัญญาเงินกู้ยืมขาดอายุความ
1.สถิตย์จะฟ้องบังคับจำานองได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
2.สถิตย์จะฟ้องสาธรผู้คำ้าประกันให้ชำาระหนี้จำานวน 6 หมื่นบาท ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย
1. ใช้ปพพ.ม.744(1) ม.745
ตามปัญหานีแ้ ม้หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความฟ้องร้องแล้วก้ตาม แต่สัญญาจำานองไม่ระงับเพราะ
เหตุหนี้ที่จำานองเป็นประกันขาดอายุความ เสถียรเจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องบังคับจำานองได้
2. ปพพ.ม.694
ตามปัญหาเมื่อสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเสถียรเป็นหนี้สถิตย์อันเป็นหนี้ประธานขาดอายุความทำาให้เจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับ
คดีได้ สาธรผู้คำ้าประกันย่อมยกข้อต่อสู้ของเสถียรลูกหนี้ต่อสู้สถิตย์ได้ ดังนั้นหากสถิตย์จะฟ้องสาธรผู้คำ้าประกันสาธรสามารถ
ยกข้อต่อสู้ของเสถียรเรื่องหนี้เงิน...้้ยืมขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ตนหลุดพ้นจากความรับผิดได้.

10. นายอาทิตย์ ออกตั๋วแลกเงินสั่งนายอังคารให้จ่ายเงินแก่นายพุธ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2545 ก่อนตั๋วถึงกำาหนด นายพุธ สลัก


หลังตั๋ว ดอนให้แก่นายพฤหัส ครั้นถึง วันที่ 5 ธันวาคม 2545 นายอังคารขอผลัดไปชำาระเงินให้ในวันที่ 24 ธันวาคม 2545 ดังนี้
การกระทำาของนายอังคาร ถือว่ามีการผ่อนวันใช้เงินหรือไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย
ตั๋วแลกเงินต้องมีรายการอันหนึ่งคือ วันถึงกำาหนดใช้เงิน และปพพ.ม.903 บัญญัติวา่ ในการใช้เงินตามตั๋วท่านห้ามมิให้ให้วัน
ผ่อน ซึ่งหมายถึง ก่อนวันถึงกำาหนดใช้เงิน ผู้ทรงตั๋วเงินตกลงยินยอมเลื่อนกำาหนดเวลาใช้เงินออกไป แต่การที่ตั๋วเงินถึงกำาหนด
ใช้เงินแล้ว ลูกหนี้คือผู้จ่ายขอผ่อนเวลาชำาระเงินไปฝ่ายเดียว จึงไม่ใช่การผ่อนเวลาอันต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ตามอุทาหรณ์ ตั๋วแลกเงินถึงกำาหนดชำาระเงินวันที่ 5 ธันวาคม 2545 แล้วนายอังคารผู้จ่ายขอผ่อนเวลาชำาระเงินตามตั๋วแลกเงิน
ไปฝ่ายเดียว ซึ่งนายพฤหัสผู้ทรงไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยการกระทำาของนายอังคารจึงไม่ถือว่ามีการผ่อนวันใช้เงิน อันต้องห้าม
ตามกฏหมาย..

11. ก.ทำาสัญญากู้เงิน ข. 6 แสนบาท กำาหนดชำาระหนี้ 1 ปี โดยแบ่งเป็น 12 งวดๆละ 5 หมื่นบาท พร้อมดอกเบี้ย ถ้าผิดนัดไม่


ชำาระงวดใด ให้ถือว่าผิดนัดชำาระหนี้ทั้งหมด ให้ ข. มีสิทธิฟ้อง ก.ได้ทันที ซึ่งในสัญญาดังกล่าว ค.ได้ลงชื่อเป็นผู้คำ้าประกัน ถ้า
ปรากฏว่า ก. ชำาระหนี้ได้เพียง 3 งวดก็ไม่ชำาระอีก แม้ ข. จะได้ทวงถามแล้วก็ตาม เช่นนี้ ข.มีสิทธิฟ้องให้ ค.ชำาระหนี้ที่ค้างชำาระ
ทันทีก่อนถึงกำาหนด 1 ปี ได้หรือไม่

เฉลย
ตามปพพ.มาตรา 686
กรณีตามอุทาหรณ์ แม้หนี้ตามสัญญากู้ระหว่างกัญญากู้ระหว่าง ก.และข.จะมีกำาหนดระยะเวลาแน่นอนคือ 1 ปี แต่เนื่องจาก
สัญญา มีข้อกำาหนดให้แบ่งชำาระหนี้เป็นงวดๆถ้าผิดนัดไม่ชำาระงวดใด ให้ถือว่าผิดชำาระหนี้ทั้งหมด เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวมิได้
มีวัตถุประสงค์ ขัดต่อกฏหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อสัญญานี้จึงมีผลผลใช้บังคับได้เช่นนี้
เมื่อกัญญาผิดนัดไม่ชำาระหนี้ตั้งแต่งวดนี้ที่4 จึงต้องถือว่า ก. ผิดนัดไม่ชำาระหนี้ทั้งหมด มีผลให้วิชัยมีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้ก.
ชำาระหนี้ที่ค้างชำาระทั้งหมดได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงกำาหนด 1 ปี ก็ได้
เมื่อก.ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ก็ชอบจะเรียกให้ ค.ในฐานะผู้คำ้าประกันชำาระหนี้ได้แต่นั้น แม้หนี้รายนี้ยังไม่ถึงกำาหนด 1 ปีก็ตาม
ดังนั้น ข. มีสิทธิฟ้อง ค. ให้ชำาระหนี้ได้ทันที.

12. บุ้งนำาที่ดินไปจดทะเบียนจำานองเป็นประกันหนี้เงินกู้เบี้ยวจำานวน 2 แสนบาท หลังจากที่จดทะเบียนจำานอง บุ้งได้ให้บูนเช่า


ที่ดินเพื่อปลูกบ้านโดยจดทะเบียนการเช่าต่อมาเบี้ยวจะฟ้องบังคับจำานองที่ดินดังกล่าว ดังนี้เบี้ยวจะขอให้บุ้งลบสิทธิตาม
สัญญาเช่านั้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

แนวตอบ
ปพพ. มาตรา 722
ตามปัญหา การที่ผู้รับจำานองจะขอให้ลบสิทธิที่จดทะเบียนหลังการจำานองนั้น สิทธิที่จะขอให้ลบจะต้องเป็นภาระจำายอมหรือ
ทรัพยสิทธิ กรณีนี้การที่บุ้งให้บูนเช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้านเป็นเพียงบุคคลสิทธิ แม้ได้จดทะเบียนการเช่าก็เป็นสิทธิที่ไม่อาจขอให้มี
การลบจากทะเบียนได้แม้สิทธิตามสัญญาเช่าจะได้จดทะเบียนภายหลังการจดทะเบียนจำานองก็ตาม ดังนี้เบี้ยวจะขอให้บุ้งลบ
สิทธิตามสัญญาเช่าไม่ได่เพราะเหตุผลดังกล่าว.

13. จิ๋วออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำานวน 4 หมื่นบาท ให้แจ๋วเพื่อชำาระหนี้ แต่ต่อมาแจ๋วได้แก้ไขจำานวนเงินในเช็คเป็น 4 แสนบาทเพื่อ


ฉ้อโกงจิ๋ว โดยจิ๋วมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย แจ๋วสลักหลังเช็คโอนไปให้จ๊อด จ๊อดสลักหลัง โอนให้จ๋อย จ่อยนำาเช็คไปเบิกเงินจาก
ธนาคารธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากไม่มีเงินพอในบัญชี ดังนี้ใครบ้างต้องรับผิดต่อจ๋อย

เฉลย
ปพพ.มาตรา 1007
ตามปัญหาเห็นว่า เมื่อแจ๋วแก้ไขจำานวนเงินในเช็คจาก 4 หมื่นบาท เป็น 4 แสนบาท เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำาคัญ
โดยจิ๋วเป็นคู่สัญญาผู้ต้องรับผิดตามเช็คมิได้ยินยอมด้วยทำาให้เช็คฉบับนั้นเสียไป แต่เช็คฉบับนั้นยังคงใช้ได้ต่อแจ๋วคู่สัญญาซึ่ง
เป็นผู้ทำาการแก้ไขเปลี่ยนแปลง และจ๊อดผู้สลักหลัง ภายหลังเช็คที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว
ดังนั้นแจ๋วและจ๊อดต้องรับผิดต่อจ๋อยผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย

14. ปูนนำาบ้านพร้อมที่ดินไปจดทะเบียนจำานองเป็นประกันหนี้ปาน จำานวน 5 แสนบาท หลังจากนั้นปูนได้แอบไปจดทะเบียน


สิทธิเก็บกินในที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ปุ๋ยมารดาจนตลอดชีวิตของมารดาต่อมาปูนมาใช้หนี้ปานจะบังคับจำานอง จึงขอให้ปูน
ลบสิทธิเก็บกินออกจากทะเบียน ดังนี้ปานจะทำาได้หรือไม่ เพียงใด

เฉลย ปพพ.มาตรา 722


ตามปัญหา การที่ผู้รับจำานองจะขอให้ลบสิทธิที่จดทะเบียนหลังการจำานองนั้น สิทธิที่จะขอให้ลบจะต้องเป็นภารจำายอมหรือ
ทรัพยสิทธิ กรณีนี้ปูนได้แอบจดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้ปุ๋ยมารดาเป็นการจดทะเบียนทรัพยสิทธิโดยผู้รับจำานองมิได้ยินยอมด้วย
สิทธิ จำานองย่อมเป็นใหญ่กว่าทรัพยสิทธิอย่างอื่น หากว่าเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของปานผู้รับจำานอง ปานก็ให้ลบทรัพยสิทธินั้น
ได้ กรณีปูนได้จดทะเบียนสิทธิเก็บกินตลอดชีวิตปุ๋ยมารดาย่อมเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของปานผู้รับจำานอง ปานย่อมมีสิทธิขอ
ให้ปูนลบทะเบียนสิทธิเก็บกินนั้นได้.

15. เมษออกตั๋วแลกเงินสั่งให้พจน์จ่ายเงินให้ทิศจำานวน 3 แสนบาท ทิศสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินให้กาด กาดสลักหลัง


และส่งมอบตั๋วแลกเงินให้ใหญ่ โดยมีเงื่อนไข ในคำาสลักหลังว่า ใหญ่จะมีสิทธิตามตั๋วแลกเงินต่อเมื่อใหญ่สอบเข้าทำางานในห้าง
สรรพสินค้าได้ดังนั้นเมื่อตั๋วแลกเงินครบกำาหนดใหญ่จะไล่เบี้ยให้ใครใช้เงินตามตั๋วแลกเงินให้ตนได้หรือไม่ เพียงใด

เฉลย
ปพพ.มาตรา 904 914 920 922
ตามปัญหา การที่กาดสลักหลังโดยมีเงื่อนไขในคำาสลักหลังว่าใหญ่จะมีสิทธิตามตั๋วแลกเงินต่อเมื่อใหญ่สอบเข้าทำางานในห้าง
สรรพสินค้าได้ ดังนี้เป็นเงื่อนไขในคำาสลักหลังถือว่าเงื่อนไขนั้นไม่ได้เขียนไว้เลย และตั๋วโอนไปยังใหญ่โดยไม่มีเงื่อนไข ตาม
ม.920 922 ใหญ่ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับสลักหลังตาม ม.904 ใหญ่มสี ิทธิไล่เบี้ยจากเมษในฐานะผู้สั่งจ่าย
ทิศและกาดในฐานะผู้สลักหลัง ตามม.914 ส่วนพจน์ ผู้จ่ายไม่ต้องรับผิดเนื่องจากยังไม่ได้รับรองตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าว.

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 3 ภาค 2/2548

1. กุ้งกู้เงินปู จำานวน 30,000 บาท เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2546 โดยมี ปลาเป็นผู้คำ้าประกัน มีกำาหนดชำาระหนี้เมื่อครบ 1 ปี เมื่อ
ครบกำาหนดชำาระหนี้ กุ้งเพิกเฉยไม่ชำาระหนี้ ปูเองก็ไม่ได้ทวงถามให้ชำาระหนี้แต่อย่างใด จนเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2548 ปูได้
ฟ้องให้ปลาชำาระหนี้ ปลาอ้างเรื่องที่ปูยอมผ่อนระยะเวลาชำาระหนี้ให้แก่กุ้ง โดยปลามิได้ยินยอมด้วย ปลาย่อมหลุดพ้นไม่ต้อง
รับผิดในการชำาระหนี้ ดังนั้นข้อต่อสู้ของ ปลา ที่มีต่อ ปู ฟังขึ้นหรือไม่เพราะเหตุใด

หลักกฎหมายปพพ.700 เป็นการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาชำาระหนี้แก่ลูกหนี้ (ยืดเวลาการชำาระหนี้ให้ยาวออกไป)ผูค้ ำ้าประกันย่อม


หลุดพ้นจากความรับผิด วรรค 2 ถ้าคำ้าประกันตกลงกับเจ้าหนี้เรื่องผ่อนเวลาการชำาระหนี้ ผู้คำ้าฯหาหลุดพ้นจากความรัผิดไม่
ตามปัญหา เป็นการคำ้าประกันหนี้ที่กำาหนดเวลาชำาระหนีมีกำาหนดแน่นอน(หนึ่งปีนักแต่ 5 เมษายน 46) ตามปพพ.204 วรรค 2
ตามปฎิทิน ปูเจ้าหนี้ไม่ได้ผ่อนเวลาชำาระหนี้ให้กุ้งแต่ประการใดเพีงแต่ยังไม่ฟ้องร้องบังคับชำาระนี้เท่านั้น ฉะนั้นปลาหาหลุดพ้น
จากความรับผิดไม่ผิด ประเด็นข้อกฎหมายตามปัญหาว่าเป็นการผ่อนเวลาให้กับลูกหนี้หรือไม่ ต้องทำาความเข้าใจว่าการผ่อน
เวลาก็คือการยืดเวลาการชำาระหนี้ออกไป ในระหว่างการผ่อนเวลาเจ้าหนี้จะฟ้องร้องบังคับคดีระหว่างผ่อนเวลาไม่ได้นั้นเอง
การผ่อนฯก็เป็นข้อตกลงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ โดยผู้คำ้าไม่ตกลงด้วยผู้คำ้าหลุดพ้นจากความรับผิด แต่ถ้าตกลงด้วยตามวรรค
2 ผู้คำ้าก็ไม่พ้นผิด

2. หนึ่งทำาสัญญากู้เงินสอง 3,000,000 บาท โดยมีสามนำาที่ดินมาคำ้าประกันจำานอง ในขณะที่จำานองนั้นสามได้ทำาสัญญาขาย


ที่ดินให้แก่สี่ เมื่อครบกำาหนดชำาระหนี้ สองได้มีหนังสือบอกกล่าวการบังคับจำานองไปถึงหนึ่งและสาม โดยบอกให้ชำาระหนี้
ภายในหนึ่งเดือน เมื่อไม่ได้รับการชำาระหนี้ สองจึงไปฟ้องให้ศาลบังคับจำานองที่ดินนั้น ปรากฏว่าสองชนะคดี ดังนั้น สองจะ
สามารถบังคับจำานองของสี่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

หลักกฎหมายปพพ.มาตรา 728 , 735 เป็นการที่ผู้รับจำานองจะบังคับจำานองกฎหมายบังคับให้ต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยัง


ลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำาระหนี้ในเวลาอันสมควรซึ่งกำาหนดในคำาบอกกล่าว และถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติการชำาระหนี้ เจ้าหนี้จะฟ้อง
ร้องต่อศาลให้ศาลมีคำาสั่งึดเอาทรัพย์สินซึ่งจำานองหรือนำาไปขายทอดตลาด ตามปัญหาถ้าจะบังคับจำานองเอาแก่ผู้รับโอน
ทรัพย์สินซึ่งจำานองคือสี่ก็ทำาได้แต่ต้องมีจดหมายบอกกล่าวหนึ่งเดือนก่อนจึงจะบังคับจำานองได้ ฉะนั้นสองบังคับจำานองสี่ได้
ตามเหตุผลดังกล่าว ข้อสังเกตของเรื่องนี้เป็นการที่มีบุคคลภายนอกเข้ามาจำานองประกันชำาระหนี้เงินกู้ ต่อมาผู้จำานองนำาไป
ขายต่อจึงมีประเด็นว่าผู้รับจำานองจะบับคับจำานองได้หรือไม่ คำาตอบได้แต่ต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้รับโอนหรือซ้อ
ทรัพย์สินที่ติดจำานองเป็นเวลาหนึ่งเดือนก่อนจึงจะบังคับจำานองได้ หลักสำาคัญของการจำานองเป็นเพียงผู้จำานองนำาทรัพย์สิน
ตรา ไว้(ตราไว้หมายถึงทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าที่)โดยไม่ส่งมอบทรัพย์แก่ผู้รับจำานอง(ไม่โอนกรรมสิทธิ์ให้
นั้นเอง) จึงทำาให้ผู้จำานองโอนหรือขายทรัพย์สินให้แก่ผู้อื่นได้ แต่กฎหมายต้องให้ความเป็นธรรมแก่ผู้รับจำานองที่เสียประโยชน์
ย่อมบังคับจำานองแก่ผู้รับโอนหรือซื้อทรัพย์สินที่ติดจำานองได้ตามกฎหมายที่อ้างมาดังกล่าว

3. ดำาปลอมลายมือชื่อแดงสั่งจ่ายเช็คของแดงจำานวน 50,000 บาท จากนั้นสลักหลังส่งมอบให้แก่ขาว ขาวนำาเช็คไปยื่นให้


ธนาคารจ่ายเงินแก่ตน ธนาคารเห็นว่าเป็นเช็คของแดงซึ่งเป็นลูกค้าชั้นดีของธนาคาร ประกอบกับขณะนั้นมีลูกค้าเข้ามาใช้
บริการเป็นจำานวนมาก ธนาคารจึงไม่ได้ทำาการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็ค จึงจ่ายเงินให้กับขาวไป และต่อมาแดงตรวจสอบพบ
ว่าเงินจำานวน 50 ,000 บาทหายไปจากบัญชีจึงได้ไปตรวจสอบกับธนาคาร แดงจึงขอให้ธนาคารรับผิดชอบชดใช้เงินที่หายไป
จากการสั่งจ่ายเงิน ธนาคารอ้างว่าธนาคารไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบลายมือชื่อของผู้ลงลายมือในเช็คทุกคน
ธนาคารไม่ต้องรับผิด จากกรณีดังกล่าวแดงจะเรียกร้องให้ธนาคารรับผิดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 4 ภาค 2/2548

1. ก้อย กล้วย แก้ว ตกลงเข้าห้างหุ้นส่วนกัน โดยนำาทุนมาลงทะเบียนคนละ 1 ล้านบาท โดยตกลงให้แก้วเป็นผู้จัดการ ต่อมา


ได้ให้แก้วไปขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำามาใช้ในกิจการ โดยมีกบเป็นผู้จัดการธนาคาร โดยในครั้งนั้นได้กู้เงินจำานวน 2 ล้าน (
ธนาคารได้อนุมัติการกู้ยืมแล้ว) กบเห็นว่ากิจการของห้างหุ้นส่วนมีกำาไรดี จึงขอบอกกับแก้วว่าขอเข้าเป็นหุ้นส่วนด้วย โดยแก้ว
บอกว่าขอมาปรึกษา ก้อยกับกล้วยก่อน เมื่อนำาเรื่องที่กบขอเข้าเป็นหุ้นส่วนมาปรึกษาก้อยกับกล้วยแล้ว ปรากฏว่า แก้วกับก้อย
เห็นด้วย แต่กล้วยไม่เห็นด้วย ดังนั่น กบจะเข้าเป็นหุ้นส่วนได้หรือไม่ และต่อมาปรากฏว่ากล้วยลาออกจากหุ้นส่วน กล้วยต้อง
รับผิดในหนี้ของหุ้นส่วนหรือไม่ โดยปรากฏว่าขณะที่กล้วยลาออก ห้างหุ้นส่วนเป็นหนี้ธนาคารอยู่ 1 ล้านบาท

2. จิ๋มก้บจ๋อยตกลงโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ ของบริษัทรำ่ารวยจำากัด ให้กัน โดยได้ทำาเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อจิ๋ม(ผูโ้ อน) กับ


จ๋อย (ผู้รับโอน) และมีแจ๋วกรรมการผู้จัดการบริษัทรำ่ารวยจำากัด เป็นพยานลงลายมือชื่อรับรอง โดยบริษัทรำ่ารวยไม่ได้จดแจ้ง
การโอนหุ้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ดังนั้น จ๋อยจะนำาการโอนหุ้นนี้มาใช้ยันกับบริษัทรำ่ารวยจำากัดได้หรือไม่

3. เด่นเป็นกรรมการบริษัทฟ้าใสเคมีภัณฑ์จำากัด โดยบริษัทประกอบกิจการเกี่ยวกับการจำาหน่ายอุปกรณ์เคมีภัณฑ์ทั้งหลาย ที่


จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นไม่นานดาวเพื่อนสาวของเด่นได้มาชวนให้เด่นเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนห้างหุ้นส่วนดาวสวยเคมีภัณฑ์จำากัด
ที่จังหวัดเชียงใหม่ เด่นก็ได้ตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนโดยนำาเงินมาลงทุน 1 ล้านบาท โดยจำากัดความรับผิดไม่เกิน 1 ล้านบาท โดย
ไม่ได้รับความยินยอมจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแต่อย่างใดการกระทำาของเด่นเป็นการกระทำาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุ
ใด
ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 1 ภาค 2/2548

นาย ก จะซื้อทองให้แฟนเลยเข้าไปร้านทองขอดูทอง 50 สตางค์ ถามว่าเท่าไรเจ้าของร้านบอก 5000 นาย ก บอกแพงไป 4500


ได้ไหม เจ้าของร้านทองบอกได้ แต่พอจ่ายตังนาย ก กลับลืมกะเป๋าสตางค์มา เลยจะขอเอาทองไปก่อนและอ้างว่าสัญญาเกิด
แล้ว ถามว่าเจ้าของร้านทองมีสิทธิ์ไม่ให้ทองนาย ก หรือไม่ และสัญญามีผลอย่างไร

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 4 ภาคการศึกษาพิเศษ /2548

1. นายดำา แดง เขียว เปิดห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน โดยไม่ได้ตกลงว่าใครเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ดำา แดงลงหุ้นแปดแสน


เขียวลงหุ้น 2 แสน และมีข้อตกลงว่า ถ้าห้างต้องใช้เงินมากกว่า 2 แสน ให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของหุ้นส่วน ห้างต้องการซื้อ
รถในราคา 5 แสนมาใช้ในกิจการ โดยดำา และเขียวเห็นชอบ แดงไม่เห็นชอบ ห้างซื้อรถได้หรือไม่

2. หนึ่งโอนหุ้นระบุชื้อให้ สอง โดยทำาเป็นหนังสือและลงลายมือหนึ่งสองและมีพยานรับรองถูกต้อง โดยบริษัทและกรรมการไม่


ได้รู้เห็น และยังไม่ได้จดทะเบียนโอนหุ้นกับบริษัท สอง (ผู้รับโอน) จะเอาหุ้นนี้มายันกับบริษัท แล้วเข้าประชุมผู้ถือหุ้นตาม ม.
1176 ได้หรือไม่

3. สุทนเป็นกรรมการบริษัทท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์ จัดท่องเที่ยวทัว่ ไทย มี สนง. อยู่ที่ภูเก็ต ทำางานมาเหนื่อย จึงขอพักเหนื่อย


แต่งตั้งให้นาย ศรเป็นกรรมการแทน ระหว่างพักผ่อน นางสาวโมรีมาชวนให้ไปทำาธุรกิจเปิดบริษัท จัดท่องเที่ยวทั่วไทย เหมือน
กัน มีสำานังานในจังหวัดเดียวกัน พอเปิดแล้ว นางสาวโมรีก็ให้นายสุทนเป็นกรรมการในระยะแรกไปก่อน การกระทำาของนายสุ
ทนครั้งนี้ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทแรกไม่รู้ การกระทำาของนายสุทนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 2 ภาคการศึกษาพิเศษ /2548

1. ก. ยืม รถ จักรยาน ของ ข. ไป บอกว่า จะคืนให้ภายใน 7 วัน พอผ่านไป 7 วัน ข. ไป พบ ก. ที่ ตลาด บอกว่า ให้คืน จักรยาน
ที่ยืมไป ก. รับปาก เวลาผ่านมา ปรากฏว่า บ้าน ก. ถูกไฟไหม้ ทำาให้จักรยาน ไฟไหม้ ไปด้วย ข. จึงขอให้ ก. ชดใช้ ค่าจักรยาน
แต่ ก. บอกว่า ที่บอกว่าให้คืนที่ตลาดนั้น ควรให้ระยะเวลาพอสมควร ไถอว่าตนเองผิดนัด ถามว่า ข. จะให้ ก. ชดใช้ค่าเสียหาย
ได้หรือไม่

2. ก.ทำาสัญญาให้ ข . กู้ยืมเงิน 50,000 บาท เมื่อยังไม่ถึงเวลา ชำาระเงิน ก. ร้อนเงิน จึงโอนเงินกู้ ให้ ค. ทำาหนังสือสัญญา กัน
เรียบร้อย ต่อมา ข. ลูกหนี้ ถูกรางวัลได้ ทองมา 4 บาท จึงนำาทอง ไปเพื่อใช้หนี้ให้กับ ก. ก. จึงบอกว่า ได้โอนหนี้ให้ ค. แล้ว และ
ทอง 4 บาทนั้นชำาระได้แค่ดอกเบี้ย ไม่สามารถชำาระเงินกู้ได้หมด ข. ไม่ยอมจึงขู่ให้ ก. รับทองไว้ ก. จึงรับไว้ ต่อมา ค.ได้มี
หนังสือ ไปถึง ข. ให้ชำาระหนี้ ข. อ้างว่าได้ชำาระ หนี้ให้ ก. แล้ว ถ้า ค. มาปรึกษา ท่านจะให้คำาแนะนำาอย่างไร

3. นาย ก. เป็นเพื่อนบ้าน นาย ข . ไปมาหาสู่กัน ก. ไปใช้โทรสารที่บ้าน ข. เป็นประจำา แล้ว ข. ก็อนุญาติ ทุกที มาวันนึง ก. ไป
หา ข. ที่บ้าน แต่ ข. ไม่อยู่ ก. จึงได้ใช้ โทรสารของ ก. และ ใช้โทรศัพท์โทรไปต่างประเทศ ด้วย ข.กลับมาเห็นเข้า จึงโกรธมาก
จะฟ้อง ก. ได้หรือไม่

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 3 ภาคการศึกษาพิเศษ /2548

นายเมษาพ่อหม้ายมีบุตร 2 คนคือกุมภาและมีนา.เมื่อเลิกกับภรรยาเก่ามาอยู่กับซ่อนกลิ่น ต่อมาเมษาทำาพินัยกรรมโดยมี


ซ่อนกลิ่นลงชื่อเป็นพยานโดยยกรถเก๋ง ทะเบียน.....ให้มีนา และเงิน 50,000 บาท ให้กุมภา ต่อมาเมษาขับรถเก๋งคันที่ทำา
พินัยกรรมยกให้ มีนาชนเกิดอุบัติเหตุนอน โรงพยาบาล 2 เดือน หลังจากนั้น เมื่อออกจาก รพ.จึงซื้อรถเก๋งคันใหม่6 เดือนต่อมา
เมษาตายด้วยหัวล้มเหลว โดยมีมรดกเป็นเงิน 200,000 บาท ที่ดิน 1 แปลงที่เชียงใหม่ และรถเก๋งคันที่ซื้อใหม่ ดังนี้ให้แบ่ง
มรดก

ข้อสอบกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน ภาคการศึกษาพิเศษ /2548

1. นาย ก. ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ในที่ดินของ ข. ข.ได้เอาที่ดินไปจำานองธนาคาร ต่อมา ข.ตาย ค.เป็นทา


ยาสโดยธรรม ข. ได้ไถ่จำานองและเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเป็นชื่อของ ข. โดยที่ไม่รู้ว่า ก.ครอบครองปรปักษ์ และค.ฟ้องขับไล่
ก.ออกจากที่ดินโดยอ้างว่าตนได้เสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้าง ค. หรือไม่ เพราะเหตุใด

2. ปี 2535 .ก. ได้รับชื้อฝากที่ดินจาก ข.โดยได้รับคำาแนะนำาจาก ค.ชึ่งเป็นหลานของ ข. โดยกำาหนดระยะเวลา 1 ปี ในความเป็น


ริงนาย ค. ได้เข้าไปปลูกผักในที่ดินแปลงดังกล่าวก่อนที่จะขายฝาก ต่อมา ปี 2548 ข.ได้นำาเจ้าหน้าที่มารังวัดที่ดิน ค.ไม่ไห้รังวัด
โดยอ้างว่าตนครอบครองปรปักษ์ แล้ว ท่านเห็นด้วยกับ ค. หรือไม่ เพราะเหตุใด

3. ก. กับ ข. มีที่ดินติดต่อกัน ข.สร้างบ้านสองชั้น ชายคาชั้นที่สองลำาเข้ามาในที่ ก. ประมาณ 5 เมตร โดยที่ ก.รู้เมื่อตอนที่นำาเจ้า


หน้าทีม่ าวัด หลังจากนั้นอีก 5 ปี ก.ฟ้องให้ ข.รื้อออก ข.อ้างว่าฟ้องไม่ได้เพราะขาดอายุความต้องฟ้องภายใน 1 ปี ท่านเห็นด้วย
กับ ข.หรือไม่เพราะเหตุใด

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 3 ภาคการศึกษาพิเศษ /2548

1. นายมกรารับนายกุมภาเข้าทำางาน โดยมีนายเมษาคำ้าประกันให้กรณี กุมภาไม่ทำาตามสัญญา ต่อมามกราให้กุมภาไปเก็บ


เงินให้แต่กุมภาไม่ส่งให้มกรา มกราจึงเรียกให้ใช้เงินภายใน 45 วัน เมื่อครบ 45 วัน กุมภาไม่จ่ายให้ มกรามาทวงเมื่อเวลาผ่าน
ไป 2 เดือน กุมภาก็ยังไม่มอบเงินให้ มกราจึงฟ้องทั้งกุมภา และเมษา โดยเมษาต่อสู้ว่า มกรายินยอมผ่อนชำาระหนี้ให้กุมภาเอง
ตนไม่ได้ยินยอม จึงพ้นความรับผิด ข้อต่อสู้เมษาฟังขึ้นหรือไม่

2. ถามเกี่ยวกับการที่แดงให้ภรรยาไปจดทะเบียนจำานองที่ดิน ต่อมาเจ้าหนี้จดหมายบอกกล่าวให้ใช้หนี้ โดยบอกภรรยาของ


แดงให้ชำาระหนี้ในเวลาที่กำาหนดให้ เจ้าหนี้สามารถฟ้องบังคับจำานองได้หรือไม่

3. แดงออกเช็คสั่งจ่ายให้ดำา จำานวน 120,000 บาท โดยขีดฆ่าคำาว่า ผู้ถือออก แล้วต่อมา ดำาสลักหลังโอนให้เขียว เข้มปลอม


ลายมือชื่อเข้ม แล้วสลักหลังโอนให้ขาว และขาวโอนให้เขียดต่อมา เขียดนำาเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคาร ธนาคารก็ใช้เงินตามเช็ค
โดยธนาคารอ้างว่าลายมือชื่อของแดงถูกต้องและการใช้เงินเป็นไปโดยปกติในทางการค้าแล้ว คำาถามว่า แดงจะฟ้องร้องให้
ธนาคารใช้เงินคืนจำานวนดังกล่าวได้หรือไม่

ข้อสอบกฎหมายพาณิชย์ 1 ภาคการศึกษาพิเศษ /2548

1. หนึ่งซื้อรถจากสอง ราคา 200,000.-บาท ชำาระเงินไป 100,000.- บาท ที่เหลือตกลงจะชำาระ 10 งวด ๆ ละ 20,000.-บาท พอ


ผ่อนมาได้ประมาณ 5 งวด หนึ่งนำารถคันดังกล่าวไปจำานำากับสาม และไม่ได้ชำาระเงินงวดนั้น สองทราบว่าหนึ่งนำารถไปจำานำากับ
สาม จึงมาทวงรถคืนจากหนึ่ง บอกว่ารถเป็นกรรมสิทธิ์ของสอง หนึ่งจะนำารถของสองไปจำานำาไม่ได้ ถามว่าข้ออ้างของสองฟังได้
หรือไม่

2. ก เช่าบ้านจาก ข ทำาสัญญาตกลงว่าจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือน ทุกวันสิ้นเดือน เช่ามาได้ไม่กี่เดือน ในวันสิ้นเดือนต่อมา ก ไม่


ได้ชำาระค่าเช่า ข จึงให้ทนายเขียนหนังสือบอกเลิกสัญญากับ ก และเรียกร้องค่าเสียหายจาก ก ถามว่า ข มีสิทธิ์ทำาได้หรือไม่

3. ก จ้างให้ ข ซ่อมแซมหลังคาบ้าน พอส่งมอบงานไปได้ 4 ปี ก พบว่าหลังคาชำารุด จึงรีบบอกให้ ข ทำาการแก้ไข ปรับปรุง แต่ ข


อ้างว่าได้ส่งมอบงานมา กว่า 1 ปี แล้ว ตนไม่ต้องรับผิด ถามว่า ข้ออ้างของ ข ฟังได้หรือไม่
กฎหมายภาษีอากร

ข้อสอบกฎหมายภาษีอากร ภาคการศึกษาพิเศษ /2548

1. นาย ก เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง มีรายได้ 2 ล้านบาท มีภรรยาที่สมรสถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีรายได้ มีบุตร 2 คน ๆ หนึ่ง 6


เดือน อีกคนหนึ่ง 2 ขวบ นาย ก สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เท่าไร และหักค่าลดหย่อนได้เท่าไร อะไรบ้าง ให้อธิบาย

ม.40(7 ) หักค่าใช้จ่ายเหมาจ่าย ร้อยละ 70 คือ 1,400,000 บาท


หักค่าลดหย่อน
ผูม้ ีเงินได้ ( นาย ก ) 30,000 บาท
ภรรยา 30,000 บาท
บุตร ( ไม่ได้ศึกษา ) คนละ 15,000 x 2 = 30,000 บาท
รวมหักค่าลดหย่อน = 90,000 บาท

2. นาย ข มีรายได้จากค่าเช่า เดือนละ 3 หมื่นบาท ตั้งแต่เดือน ม.ค.- ต.ค. และเสียชีวิตลงในเดือน พ.ย. นาย ข. มีภรรยา 1 คน
ถามว่า นาย ข ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษีนั้นหรือไม่ หักค่าใช้จ่ายเป็นจำานวนเท่าใด และหักค่าลดหย่อนเป็น
จำานวนเท่าใด ยื่นเสียภาษีในนามของใคร และใครเป็นผู้ยื่นเสียภาษี ให้อธิบาย ไม่ต้องคำานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร วางหลักเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายไว้วา่
หลักที่ 1 การให้เช่าทรัพย์ ( โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง บ้าน ) ให้หักค่าใช้จ่ายเหมาอัตราร้อยละ 30
หลักที่ 2 กรณีผมุ้ ีเงินได้ เสียชีวิตระหว่างปีภาษี บุคคลผู้นั้น จะต้องเสียภาษีจนถึง ณ.วัน เวลาที่เสียชีวิตโดยมีผู้จัดการมกดก
บุตร หรือคู่สมรส เป็นผู้เสียภาษีให้ในนามของบุคคลผู้เสียชีวิต
จากข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้มา เมื่อปรับกับหลักกฎหมายแล้ว วินิจฉัยได้ว่า
นาย ข มีรายได้จากการเช่าบ้าน 30,000 x 11 = 330,000 บาท
หักค่าใช้จ่าย อัตราร้อยละ 30 = 99,000 บาท
หักค่าลดหย่อน
ผูม้ ีเงินได้ ( นาย ข ) 30,000 บาท
ภรรยา 30,000 บาท
รวมหักค่าลดหย่อน 60,000 บาท
จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า
นาย ข หักค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำานวน 99,000 บาท หักค่าลดหย่อนเป็นเงินจำานวน 60,000 บาท และเสียภาษีในนามของ นาย ข
โดยมี ผู้จัดการมรดก หรือ บุตร หรือ คู่สมรส เป็นผู้ยื่นเสียภาษีให้
3. ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ตัวอย่างเช่น บริษัท A จดทะเบียนนิติบุคคลต่างประเทศ ประกอบธุรกิจสายการบิน ขนส่งผู้โดยสาร
จาก กรุงเทพไป สิงคโปร์ และ จาก กรุงเทพ ไปเชียงใหม่ บริษัท A ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ อย่างไร

รายได้จากกรุงเทพไปเชียงใหม่ฐานกำาไรสุทธิ์30%
รายได้จากกรุงเทพไปสิงคโปร์ฐานรายรับก่อนหักรายจ่าย 3%

กฎหมายอาญา

ข้อสอบกฎหมายอาญา 1 ภาค 2/2548

1. หนึ่งและโท ทะเลาะกัน หนึ่งชักปืนยิงโท แต่โทไม่ตาย หนึ่งจึงยิงซำ้าแต่พลาดถูกตรีตาย ถามว่าหนึ่งผิดฐานใด

เฉลย ข้อ 1. แม้จะเป็นการกระทำาโดยพลาดแต่หนึ่งมีเจตนาที่จะฆ่า โท ทีว่ ่า มีเจตนา เพราะกระทำาโดยรู้สำานึก ประสงค์ต่อผล


และย่อมเล็งเห็นผลเนื่องจากว่าถ้ากระสุนถูกโทแล้วโทต้องตาย ดังนั้น หนึ่งผิดฐานฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนา

2. ดีและชั่วทะเลาะโต้เถียงกัน ชั่วท้าดีต่อย แต่ดีไม่รับคำาท้า เดินกลับบ้าน ชั่วเลยตามไปชกต่อยดี ดีจึงกอดปลำ้ากับชั่วจนตกลง


ไปในคลองด้วยกัน ชั่วกดดีจมนำ้าและกัด ดีจึงกัดหูชั่วขาด ดีมีความผิดฐานใดหรือไม่

เฉลย ข้อ 2. จากคำาถาม แม้จะมีการทะเลาะโต้เถียงแต่ขณะนั้นยังมิได้ต่อยตี เมื่อชั่วท้าชกต่อยแล้วดีไม่รับคำาท้าพร้อมกันนั้นก็


เดินกลับบ้านย่อมแสดงว่าดีมิได้สมัครใจเข้าวิวาทแล้ว เหตุการณ์โต้เถียงตอนแรกยุติลงแล้ว การที่ดีต้องกอดปลำ้ากับชั่วหลัง
จากที่ชั่วชกต่อยดีนั้นเป็นการป้องกันตนเองและเมื่อตกลงไปในคลองนำ้าแล้วชั่วยังกดดีให้จมนำ้าซึ่งถือว่าเป็นเหตูการณ์บังคับ
หากดีไม่กัดหูชั่วดีอาจจะจมนำ้าตายก็เป็นได้ การกระทำาของดีเป็นการป้องกันตนพอสมควรแก่เหตุ ดีไม่มีความผิด

3. กิ่งกับก้านรูว้ ่ากบมีนาฬิกาเรือนทองฝังเพชร กิ่งและก้านอยากได้ จึงร่วมกันฆ่ากบ โดยกิ่งใช้ปืนยิงกบ ก้านใช้มีดฟันกบ จน


กบถึงแก่ความตาย กิ่งและก้านจึงเอานาฬิกาไป โกงรู้ว่าทั้ง 2 ร่วมกันฆ่ากบ แล้วเอานาฬิกามา ทั้ง 2 ให้โกงซ่อนนาฬิกาให้ โกง
ก็ช่วยเอาไปซ่อนให้ ทั้ง 3 ถูกจับได้ พนง.สอบสวนตั้งข้อหากิ่งและก้านเป็นตัวการร่วมฐานฆ่ากบโดยเจตนา ส่วนโกงเป็นผู้
สนับสนุนในการกระทำาความผิด ท่านเห็นด้วยกับข้อหานี้หรือไม่ เพราะเหตุใด
เฉลย ข้อ 3. ข้าฯทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับ พนง. สอบสวน ที่เห็นด้วยคือการตั้งข้อหากิ่งและก้านเป็นตัวการร่วม เพราะ
ตัวการนั้นมีหลักกฎหมายวางไว้ว่าถ้าบุคคล 2 คนร่วมกันกระทำาผิดบุคคลทั้ง 2 นั้นคือตัวการ ส่วนที่ตั้งข้อหาต่อโกงว่าเป็นผู้
สนับสนุนนั้นข้าฯไม่เห็นด้วย เพราะว่าผู้สนับสนุนคือผู้ที่ให้ความสะดวก สนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำาผิดทั้งก่อนกระทำาและขณะ
กระทำาแต่จากคำาถามนี้ไม่ปรากฏว่าโกงได้มีสว่ นอำานวยความสะดวกหรือสนับสนุนกิ่งและก้าน การนำานาฬิกาไปซ่อนนั้นเกิดขึ้น
หลังจากความผิดสำาเร็จแล้ว โกงจึงมิใช่ผู้สนับสนุน

ข้อสอบกฎหมายอาญา 1 ภาคการศึกษาพิเศษ /2548

1. นาย ก ต้องการเอาหินข้างปา นาย ข.แต่นาย ข หลบทัน ก้อนอิฐ จึงไปถูก นาง ค. แล้วเสียหลักตกนำ้าตาย

กรณีตามปัญหาการที่นาย ก. เอาหินขว้างปานาย ข. นั้นเป็นการกระทำาที่มีเจตนาทำาร้ายนาย ข. และเป็นการกระทำาที่ถึงขั้น


ลงมือกระทำาความผิดแล้วแต่การกระทำานั้นไม่บรรลุผล นาย ก. จึงมีความผิดฐานพนานามทำาร้ายนาย ข. ตาม ปอ. 295+80
การที่นาย ก. เอาก้อนอิฐขว้างปานาย ก. แต่พลาดไปถูกนาง ค. จนเป็นเหตุให้นาง ค. เสียหลักตกนำ้าตายนั้นเป็นการทำาร้าย
ร่างกายโดยพลาดตาม ปอ. 60 และการทำาร้ายนั้นเป็นเหตุให้นาง ค. จมนำ้าตายและความตายความตายของนาง ค. นั้นเป็นผล
โดยตรงและเป็นผลที่ตามธรรมดายอมเกิดขึ้นได้จากการทำาร้ายของนาง ก. นาย ก.จึงมีความผิดฐานทำาร้ายร่างกายผู้อื่น(นาง
ค.)จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายโดยพลาดตาม ปอ. 290+60 อีกฐานหนึ่ง

2. นายแดง เป็นเจ้าของช้างซึ่งตกมันอยู่ ได้เอาเชือกผูกช้างไว้กับต้นไม้ ซึ่งจริงๆแล้วจะต้องใช้โซ่ลา่ ม ปรากฏว่าช้างเชือกหลุด


วิง่ ไปจะเอางาแทง นายดำา ๆ จึงเอาปืนยิงช้างตาย ถามว่า นายดำาต้องรับผิดอย่างไร

กรณีตามปัญหาการที่ช้างตกมันของนายแดงวิ่งไปจะเอางาแทงนายดำานั้นเป็นภยันตรายที่เกิดจากการปทุษร้ายอันละเมิดก่อ
กฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การที่นายดำาใช้ปืนยิงช้างตายนั้นเป็นการที่จำาต้องกระทำาเพื่อป้องกันชีวิตของนายดำา
และได้กระทำาไปพอสมควรแก่เหตุ อันเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ปอ. 68 นายดำาจึงไม่ต้องรับผิดอาญาฐานใด
เลย

3. ไก่ ต้องการ ฆ่าเป็ด จึงได้ทำาการวางแผนเพื่อที่จะฆ่าเป็ด นายห่านเป็นศัครูของเป็ดเหมือนกัน ต้องการฆ่าเป็ดเหมือนกัน จึง


ได้ไปจ้างวานนายไก่ 3,000 ให้ไปฆ่า นายเป็ด โดยที่นายห่านไม่รู้ว่านายไก่ต้องการฆ่านายเป็ด เหมือนกัน นายไก่ต้องการเงิน
ใช้จึงตกลงตามที่นายห่านเสนอ เพราะตนเองก็ต้องการฆ่านายเป็ดอยู่แล้ว
ถามว่านายห่าน ต้องรับผิดหรือไม่

กรณีตามปัญหาการที่นายไก่ผู้ถูกใช้ตกลงรับตามคำาจ้างวานของนายห่านเพื่อที่จะไปฆ่านายเป็ดนั้นเป็นการตกลงปลงใจคิด
ไตร่ตรองไว้ก่อนในการที่จะฆ่านายเป็ด
ถ้านายไก่ผู้ถูกใช้(นายไก่)ได้กระทำาการฆ่านายเป็ดตามที่ใช้ ผู้ใช้(นายห่าน) ต้องรับโทษเสมือนตัวการในความผิดตาม ปอ.
289(4)+84 วรรคสอง
ถ้าความผิดมิได้กระทำาลงเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำา ยังไม่ได้กระทำาหรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้(นายห่าน)ต้องรับโทษหนึ่งในสามตาม
ปอ.84 วรรคสองเช่นกัน

เด็กหญิงแดงอายุ 12 ปี 9 เดือน รักใคร่ชอบพอกับเด็กชายดำา อายุ 13 ปี 9 เดือน เด็กหญิงแดงยินยอมให้เด็กชายดำา ร่วม


ประเวณีด้วย ทั้งนี้โดยให้เด็กหญิงขาว อายุ 13 ปี 8 เดือน คอยดูต้นทางอยู่ใกล้ๆ
จงวินิจฉัยความรับผิดในทางอาญาของเด็กชายดำา
ในกรณีของเด็กหญิงแดงและเด็กหญิงขาวนั้นจะถือว่าเป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผูส้ นับสนุนอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกับเด็กชายดำาได้
หรือไม่ เพราะเหตุใด

แนวตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ผูใ้ ดกระทำาชำาเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน
โดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษ.....
ถ้าการกระทำาความผิดตามวรรคแรก เป็นการกระทำาแก่เด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี ต้องระวางโทษ..........
มาตรา 74 เด็กอายุกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่เกินสิบสี่ปี กระทำาการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาล
มีอำานาจที่จะดำาเนินการดังต่อไปนี้ .….
มาตรา 83 ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำาของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำาความผิดด้วยกันนั้นเป็น
ตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำาหนดไว้สำาหรับความผิดนั้น
มาตรา 84 ผูใ้ ดก่อให้ผู้อื่นกระทำาความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผูน้ ั้นเป็น
ผูใ้ ช้ให้กระทำาความผิด
ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำาความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ
ถ้าความผิดมิได้กระทำาลง ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำา ยังไม่ได้กระทำาหรือเหตุอื่นใด ผูใ้ ช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่ง
ในสามของโทษที่กำาหนดไว้สำาหรับความผิดนั้น

ปรับข้อเท็จจริง ความรับผิดของเด็กชายดำา มีความผิดตามมาตรา 277 วรรคสอง แต่ได้รับยกเว้นโทษ ตามมาตรา 74 เพราะ


อายุน้อยกว่า 14 ปี ความรับผิดของเด็กหญิงแดง แม้เด็กหญิงแดงจะมีสว่ นร่วมในการกระทำาผิดของเด็กชายดำาแต่ก็ไม่เป็น
ตัวการ ผู้ใช้ หรือผูส้ นับสนุน ในการกระทำาความผิดตามมาตรา 277 ของเด็กชายดำาเพราะตนเป็นบุคคลที่กฎหมายตามมาตรา
277 ประสงค์จะคุ้มครอง ความรับผิดของเด็กหญิงขาว เป็นตัวการตามมาตรา 83 ในการกระทำาความผิดตามมาตรา 277
วรรคสอง ของเด็กชายดำา เป็นตัวการได้เพราะกฎหมายมาตรา 277 ใช้คำาว่า “ผู้ใด” เด็กหญิงขาวจึงมีความผิดเป็นตัวการ แต่ไม่
ต้องรับโทษเพราะอายุน้อยกว่า 14 ปีตามมาตรา 74

นายเขียวต้องการฆ่านายม่วง จึงไปดักซุ่มยิงตรงทางที่คาดว่านายม่วงจะเดินมา ระหว่างที่รอนายม่วงอยู่นั้น นายเขียวเห็นนาย


ฟ้า ศัตรูอีกคนหนึ่งของนายม่วง เดินมาจึงชวน นายฟ้าให้มาร่วมในการฆ่าด้วย โดยให้นายฟ้าคอยดูต้นทางส่วนนายเขียวจะ
เป็นผู้ยิง นายฟ้าตกลงด้วย นอกจากนั้นนายฟ้ายังให้ปืนแก่นายเขียวในการใช้ยิงนายม่วงด้วย เมื่อได้ปืนของนายฟ้า นายเขียว
จึงเก็บปืนของตนที่นำาติดตัวมาไว้และใช้ปืนของนายฟ้าคอยจ้องเล็งจะยิงนายม่วง ก่อนที่นายม่วงจะเดินมาถึง นายฟ้าได้บอก
เลิกการดูต้นทางให้แก่นายเขียว และขอตัวกลับบ้านไปก่อน ต่อมานายเหลืองได้เดินมาตรงนั้น นายเขียวเข้าใจว่าเป็นนายม่วง
จึงใช้ปืนของนายฟ้ายิงนายเหลืองตาย จงวินิจฉัยความผิดของ
1.นายเขียวต่อนายเหลือง
2 นายเขียวต่อนายม่วง
3 นายฟ้าต่อนายเหลือง
4 นายฟ้าต่อนายม่วง

แนวตอบ
ความรับผิดของนายเขียวต่อนายเหลือง
มีความผิดฐานฆ่านายเหลืองโดยเจตนา โดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามมาตรา 289 (4 ) เป็นเจตนาฆ่าประเภทประสงค์ต่อผลตาม
มาตรา 59 โดยจะยกเอาความสำาคัญผิดในตัวบุคคลมาเป็นข้อแก้ตัวว่าไม่มีเจตนาฆ่าไม่ได้ตามมาตรา 61
ความรับผิด ของนายเขียวต่อนายม่วง
แม้นายเขียวจะมีเจตนาฆ่านายม่วงแต่เมื่อนายเขียวได้ห่านายเหลืองดดยเจตนาโดยสำาคัญผิดว่าเป็นนายม่วง ดังนั้นระหว่าง
นายเขียวต่อนายม่วง นายเขียวจึงไม่มีความผิดใดๆต่อนายม่วง
ความรับผิดของนายฟ้าต่อนายเหลือง
นายฟ้าเป็นผู้สนับสนุนนายเขียวในการที่นายเขียวฆ่าผู้อื่น แม้วา่ นายเขียวซึ่งเป็นผู้ลงมือจะกระทำาโดยสำาคัญผิดในตัวบุคคล ก็
ถือว่าอยู่ในขอบเขตของการสนับสนุน ตามมาตรา 87 นายฟ้าจึงเป็นผู้สนับสนุนนายเขียวในการฆ่านายเหลือง จึงต้องรับผิด
ตาม มาตรา 289 (4 ) ประกอบมาตรา 86
นายฟ้าไม่ใช่ตัวการในการฆ่านายเหลือง เพราะไม่มีการกระทำาร่วมกันและไม่มีเจตนาร่วมกันกับนายเขียวในขณะที่นายเขียว
ยิงนายเหลือง แต่เป็นผู้สนับสนุน เพราะให้ปืนแก่นายเขียวในการใช้ยิงนายม่วง ( แต่ความจริงใช้ยิงนายเหลือง)
ความรับผิดของนายฟ้าต่อนายม่วง
เมื่อนายเขียวผูล้ งมือ ไม่ต้องรับผิดต่อนายม่วง นายฟ้าก็ไม่เป็นผู้สนับสนุนนายเขียวในการฆ่านายม่วง
ข้อนี้ไม่ใช่เป็นการกระทำาโดยพลาดเพราะในที่เกิดเหตุมีผู้เสียหายเพียงคนเดียว คือนายเหลือง จึงไม่ใช่การกระทำาโดยพลาด

1 ต้องการฆ่า 2 จึงไปจ้าง 3 ให้ไปวางยาพิษ 2 และวันต่อมา 2 ไปว่ายนำ้าที่สระนำ้าในหมู่บ้านซึ่ง 3 ทำาหน้าที่เป็นครูฝึกและมีหน้า


ที่ดูแลผู้ที่มาใช้บริการในสระว่ายนำ้านั้นด้วย เมื่อ 2 ว่ายนำ้าเล่นอยู่สักพักหนึ่งก็เกิดเป็นตะคริวและจมนำ้า 3 เห็นเหตุการณ์โดย
ตลอดแต่ไม่เข้าไปช่วย 2 จึงจมนำ้าตาย จงวิเคราะห์ความผิดของ 1 และ 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา

แนวตอบ 1 ต้องการฆ่า 2 (มีเจตนาคิดฆ่า) จึงไปจ้าง 3 ให้ไปวางยาพิษ 2 (ตกลงใจฆ่า และลงมือกระทำาความผิดโดยการจ้าง


3 และความผิดของ 1 เป็นความผิดสำาเร็จแล้ว ) ......(.ตรงนี้คำาถามไม่ได้บอกว่า 3 ปฏิเสธ หรือไม่ ) และวันต่อมา 2 ไปว่ายนำ้าที่
สระนำ้าในหมู่บ้านซึ่ง 3 ทำาหน้าที่เป็นครูฝึกและมีหน้าที่ดูแลผู้ที่มาใช้บริการในสระว่ายนำ้านั้นด้วย เมื่อ 2 ว่ายนำ้าเล่นอยู่สักพัก
หนึ่งก็เกิดเป็นตะคริวและจมนำ้า 3 เห็นเหตุการณ์โดยตลอดแต่ไม่เข้าไปช่วย ......(ถึงตรงนี้ความผิดของ 3 เกิดขึ้นแล้ว คือเจตนา
จะปล่อย 2 ให้จมนำ้าตาย) 2 จึงจมนำ้าตาย ( เป็นผลจากการกระทำาของ 3 คือฆ่าคนตายโดยการงดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือ
ตามหน้าที่ของ 3 ) บางท่านอาจจะมองว่า 1 จ้างให้ 3 ไปวางยา แต่ 3 ยังไม่ได้วางยา 2 ความผิดของ 1 และ 3 จึงไม่เกี่ยวกัน
แต่ก็จะได้คำาตอบเหมือนกัน

หลักกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้อง มาตรา 59 บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำาโดยเจตนา..............


มาตรา 59 วรรคท้าย การกระทำาให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำาเพื่อป้องกัน
ผลนั้นด้วย
มาตรา 84 ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำาความผิดไม่วา่ ด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใดผู้นั้นเป็นผู้
ใช้ให้การะทำาความผิด
มาตรา 289 ผู้ใด
(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน....................
ต้องระวางโทษ........
ปรับข้อเท็จจริง
ความผิดของ 1
การที่ 1 ต้องการฆ่า 2 จึงไปจ้าง 3 ให้ไปวางยาพิษ 2 นั้น 1 ได้กระทำาความผิดอาญา ฐานเป็นผู้ใช้ ให้ผู้อื่นกระทำาความผิดตาม
มาตรา 84 ประกอบมาตรา 59 วรรคหนึ่ง
ความรับผิดของ 3
การที่ 3 เห็น 2 เป็นตะคริวในขณะว่ายนำ้าอยู่ในสระนำ้าในหมู่บ้าน ซึ่ง 3 เองมีหน้าที่เป็นครูฝึกและมีหน้าที่ดูแลผู้ที่มาใช้บริการใน
สระว่ายนำ้านั้นด้วย โดยที่เมื่อ 3 เห็นเหตุการณ์โดยตลอด แต่กลับนิ่งเฉย ไม่เข้าไปช่วย 3 ปล่อยให้ 3 จมนำ้าตาย ย่อมถือได้ว่า 3
มีเจตนาฆ่า 2 โดยงดเว้นการกระทำาเพื่อป้องกันกับผลนั้นด้วย ตาม มาตรา 59 วรรคแรกและวรรคท้าย จึงถือได้ว่า 3 มีเจตนา
ฆ่า 2 ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม มาตรา 289 (4)
สรุป
1 มีความผิดฐาน เป็นผู้ใช้
2 มีความผิดฐานฆ่า คนตายโดยเจตนาด้วยการงดเว้นการกระทำาเพื่อป้องกันผลนั้น โดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ข้อนี้มีข้อที่โต้แย้งได้ คือการที่ 1 จ้างให้ 3 ไปวางยาพิษ 2 แต่ 3 ไม่ได้ฆ่า 2 โดยการวางยา กลับฆ่าด้วยการปล่อยให้จมนำ้าตาย
ตรงนี้ถ้าคำาถามขยายความมาอีกว่า
3 กำาลังหาโอกาสวางยา 2 อยู่ วันต่อมา 2 ไปว่ายนำ้าในสระนำ้าของหมู่บ้านซึ่ง 3 มีหน้าที่เป็น................อันนี้จะชัดเจนยิ่งขึ้น คือ
3 ยอมรับการจ้างของ 1 ความผิดของ 1 ก็จะเปลี่ยนไป ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการตาม ม.84 วรรคสองด้วย
และคำาถามที่ว่า 3 ได้ไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ การที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันดูแลความปลอดภัยให้กับผู้อื่น ละเลยนิ่ง
เฉย โดยรู้ดีอยู่แล้วว่า ผลแน่ชัดของการนิ่งเฉยเป็นเช่นไร ย่อมถือได้ว่าได้ไตร่ตรองแล้ว กรณีนี้คือการปล่อยคนที่เป็นตะคริวจม
นำ้าโดยไม่มีใครช่วยผลแน่นอนก็คือจมนำ้าตาย

ข้อสอบกฎหมายอาญา 2

1. พลตำารวจสิงห์ได้รับมอบปืนจากสถานีตำารวจ เพื่อใช้ในราชการแล้วนำาปืนไปจำานำา โดยมิได้คิดจะไถ่ถอนคืน เพื่อไปใช้หนี้


พนันบอล จงวินิจฉัยว่าพลตำารวจสิงห์มีความผิดฐานใดบ้าง เพราะเหตุใด

แนวตอบ ผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ เนื่องจากเข้าองค์ประกอบของความผิด เนื่องจากเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่


จัดการและรักษาทรัพย์ แล้วยักยอกทรัพย์ไป( เอาไปจำานำา โดยไม่คิดไถ่ถอน ) โดยทุจริต( เพื่อใช้หนี้พนันบอลของตนเอง )

2. ก เป็นหนี้ ข จำานวน 50,000 บาท แล้วไม่มีเงินใช้คืน วันหนึ่งเจอภรรยาของ ข จึงหลอกว่าจะพาไปเอาเงินที่บ้านเพื่อน


ภรรยาของ ข กลัวว่าจะไม่ได้เงินจึงไปด้วย เมื่อไปถึง นาย ก ก็ได้โทรไปหานาย ข ว่าให้นำาสัญญาเงินกู้มาให้ตน แล้วจะคืน
ภรรยาให้ ข ก็รับปากไปอย่างนั้นเอง แล้วไปแจ้งตำารวจมาจับ ก จงวินิจฉัยว่า ก มีความผิดฐานใดบ้าง เพราะเหตุใด

แนวตอบ ผิดฐานหน่วยเหนี่ยวกักขัง... เพื่อค่าไถ่ เพื่อการพาภรรยาของ ข.ไปโดยหลอกลวง เท่ากับเป็นการพาไปโดยเขาไม่


สมัครใจ และการโทรไปหานาย ข ว่าให้นำาสัญญาเงินกู้มาให้ตน เป็นการกระทำาเพื่อเรียกค่าไถ่ เพราะค่าไถ่เป็นการเรียก
ทรัพย์สินเพื่อปล่อยตัวภรรยา( แม้ ข จะไม่ทำาตาม ก็เป็นการเรียกค่าไถ่แล้ว )

3. ก นั่งเรือข้ามฟาก ทำาสร้อยล่วงลงไปในคลอง แต่ก็ไม่ได้คิดจะไปตามเอาคืน เพราะนึกเสียว่าฟาดเคราะห์ นาย ข ว่ายนำ้าอยู่


ใกล้ ๆ จึงดำานำ้าไปหาดูแล้วเจอ และไม่คิดจะนำาไปคืน จงวินิจฉัยว่า ข ผิดฐานใดบ้าง เพราะเหตุใด

แนวตอบ เป็นการยักยอกทรัพย์สินหาย เพราะทรัพย์นั้นพ้นจากการครอบครองของเจ้าของทรัพย์ไปแล้วจากข้อเท็จจริงที่ว่าทำา


สร้อยล่วงลงไปในคลอง แต่ก็ไม่ได้คิดจะไปตามเอาคืน แต่ไม่มีข้อเท็จจริงใดที่บ่งบอกว่าเจ้าของสละการเป็นเจ้าของ หรือสละ
กรรมสิทธิ์ในสร้อยเส้นนั้น ดังนั้น การที่ ข เห็นว่าสร้อยนั้นเป็นของ ก ที่ทำาหล่นลงนำ้า และเอาสร้อยนั้นไปเป็นของตน จึงทำาผิด
ฐานยักยอกทรัพย์สินหาย

ข้อสอบกฎหมายอาญา 2

เอ จอดรถจักรยาน ไว้ที่หน้าบ้าน บี คู่อริของ เอ เดินผ่านมาเห็นจึงขี่จักรยานคันดังกล่าวของ เอ ไปหาหญิงคนรัก ในหมู่บ้าน


เดียวกัน โดย บี จอดจักรยานไว้ริมถนนแล้วเดินเข้าไปในบ้านของหญิงคนรัก ระหว่างนั้นเอง ด.ช. ซี อายุ 6 ปี วิง่ เล่นผ่านมาเห็น
เข้าอยากได้ จึงนำาไปขี่เล่น หลังจากนั้น ได้นำาไปจอดซ่อนไว้ในสวนหลังบ้านตน

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายอาญา (ว่าด้วยเรื่องความผิดเกี่ยวกับทรัพย์)
มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป โดยทุจริต ผู้นั้นกระทำาความผิดฐานลักทรัพย์ ต้อง
ระวางโทษ.......
มาตรา 1 (1) โดยทุจริต หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำาหรับตนเองหรือผู้อื่น
มาตรา 59 บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำาโดยเจตนา.........
มาตรา 59 วรรค สอง กระทำาโดยเจตนาได้แก่ การกระทำาโดยรูส้ ำานึกในการกระทำาและในขณะเดียวกันผู้กระทำาประสงค์ต่อผล
หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำานั้น
มาตรา 73 เด็กอายุยังไม่เกิน 7 ปี กระทำาการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ
ปรับข้อเท็จจริงเข้ากับหลักกฎหมาย การที่บี ขี่รถจักรยานของ เอซึ่งจอดอยู่ที่หน้าบ้านของเอ ไปบ้านหญิงคนรัก ของตน แล้ว
จอดรถไว้ริมถนน นั้นยังไม่เข้าข่ายเป็นความผิด ตาม ม.334 เพราะ บี มิได้มีเจตนา เอาไปเพื่อเป็นของตนเองหรือเพื่อเป็นของ
คนอื่น บีเพียงแต่นำาไปใช้ขี่ไปบ้านหญิงคนรักเท่านั้น และ บี ก็มิได้ซุกซ่อนรถจักรยานไว้แต่อย่างใดเพียงแต่จอดไว้ข้างถนนซึ่ง
เป็นทางสาธารณะ ยังถือไม่ได้วา่ บี มีเจตนาทุจริต ความผิดของ บี จึงยังไม่ครบองค์ประกอบในความผิดฐานลักทรัพย์......
ส่วน ด.ช. ซี เมื่อเห็นจักรยานจอดอยู่ริมถนน เกิดความรู้สึกอยากได้ จึงนำาไปขี่เล่น หลังจากนั้น ได้นำาไปซ่อนไว้ในสวนหลังบ้าน
ตน จะเห็นได้ว่า ด.ช.ซี มีเจตนาอยากเป็นเจ้าของรถจักรยาน ได้ขี่พาจักรยานไปและยังนำาไปซ่อนไว้ในสวนหลังบ้านเป็นการเอา
ทรัพย์ของผู้อื่นไป ด้วยเจตนาทุจริต เพื่อประโยชน์แก่ตนเองแล้ว ดังนั้นด.ช. ซี จึงกระทำาความผิดฐานลักทรัพย์คือรถจักรยาน
ของ เอ จะต้องรับผิดตามมาตรา 334 ประกอบมาตรา 59 แต่เนื่องจากด.ช. ซี มีอายุ 6 ปี ยังไม่เกิน 7 ปี จึงไม่ต้องรับโทษ ตาม
มาตรา 73
หมายเหตุ
คำาว่าไม่ต้องรับโทษ หมายความว่า ได้กระทำาความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าต้องระวางโทษ นั่นคือมีความผิด แต่ได้รับ
การยกเว้น ไม่ต้องรับโทษ ไม่เหมือนคำาว่า ไม่มีความผิด

ก ยืมเงิน ข 50,000 บาท แล้วไม่มีเงินชำาระคืน วันหนึ่งเห็น ค ซึ่งเป็นภรรยาของ ข กำาลังจะขึ้นรถแท็กซี่ จึงไปหลอก ค ว่าจะพา


ไปเอาเงินที่บ้านเพื่อน ค กลัวจะไม่ได้เงินจึงไปกับ ก แล้ว ก ก็โทรไปหา ข ให้เอาสัญญาเงินกู้มาให้ตน แล้วจึงจะคืนภรรยาของ
ก ให้ ก็ก็ตกปากรับคำาไปอย่างนั้น แล้วจึงไปแจ้งตำารวจ และจับกุมตัว ก ได้ จงวินิจฉัยว่า ก ผิดฐานใดบ้านหรือไม่ เพราะเหตุใด

ข้อสอบกฎหมายอาญา 2 ภาค 2/2547

1. นายเขียว นายขาวและพวกอีก 4 คน สมคบกันวางแผนจะไปเผาโรงเรียนโดยแยกกันเดินทาง นายขาวและพวกอีก 4 เดิน


ทางไปล่วงหน้าด้วยรถคันหนึ่ง ส่วนนายเขียวเดินทางด้วยรถอีกคันหนึ่ง นายเขียวแวะปั๊มป์นำ้ามั้นเพื่อซื้อนำ้ามันเชื้อเพลิงเบ็นซิน
จำานวน 5 ลิตร ใส่ถังเพื่อใช้ในการวางเพลิงเผาโรงเรียน พอนายเขียวไปถึงพบว่าที่โรงเรียนนั้นมีตำารวจจัดเวรยามตรวจตราอยู่
ตลอดเวลา นายเขียวตัดสินใจยกเลิกละรีบหนีออกจากที่นั้น ซึ่งนายขาวและพวกได้หลบหนีกันไปก่อนหน้านั้นแล้ว ถามว่า นาย
เขียว นายขาวและพวกอีก 4 คน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานความผิดอะไร เพราะอะไร

ตัวบท
ปอ. มาตรา 210 ผูใ้ ดสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำาความผิด อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 นี้ และความ
ผิดนั้นมี กำาหนดโทษจำาคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ผู้นั้นกระทำาความผิดฐาน เป็นซ่องโจร ต้องระวางโทษจำาคุก........
ปอ. มาตรา 217 ผูใ้ ดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำาคุก ตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึง
หนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ปอ. มาตรา 219 ผูใ้ ดตระเตรียมเพื่อกระทำาความผิดดังกล่าวใน มาตรา 217 หรือ มาตรา 218 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับ
พยายามกระทำา ความผิดนั้น ๆ
วินิจฉัยปรับบท
นายเขียวกับนายขาวและพวกอีก 4 คนสมคบกันไปกระทำาความผิดวางเพลิง นั้นเป็นไปตามบทบัญญัติไว้ในภาค 2 ทั้งหมดจึง
มีความผิดฐานเป็นซ่องโจร
นายเขียวแวะปั้มเพื่อซื้อนำ้ามันไปเป็นเชื้อเพลิง จึงเท่ากับเป็นการตระเตรียมเพื่อการวางเพลิงนายเขียวจึงมีความผิดตาม ม.219
เป็นขั้นพยายามกระทำาความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์
สรุป
นายเขียว มีความผิดฐานเป็นซ่องโจร และพยายามวางเพลิงเผาทรัพย์
นายขาวและพวกอีก 4 คนมีความผิดฐานเป็นซ่องโจร

2. นายเด่นชัยเป็นทนายความของนายสยม นายเด่นชัยรู้ข้องมูลเกี่ยวกับมีบัญชีเงินฝากธนาคารของนายสยมเป็นอย่างดี
นายเด่นชัยได้นำาเรื่องนี้ไปบอกให้ทนายความของนายสนองได้รู้ ซึ่งนายสนองกำาลังมีคดีความอยู่กับนายสยมอยู่ ต่อมานาย
สนองได้ฟ้องร้องขออายัดบัญชีเงินฝากดังกล่าวของนายสยม ถามว่านายเด่นชัยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ฐานอะไรเพราะอะไร

ตัวบท
มาตรา 323 ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่น โดยเหตุ ที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ โดยเหตุที่ประกอบอาชีพเป็นแพทย์
เภสัชกร คนจำาหน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล นักบวช หมอความ ทนายความ หรือผู้สอบบัญชีหรือโดยเหตุที่เป็นผู้ช่วย
ในการประกอบ อาชีพนั้น แล้วเปิดเผยความลับนั้นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษ.......
วินิจฉัยปรับบท
นายเด่นชัยเป็นทนายความของนายสยม ซึ่งมีคดีความอยุ่กับนายสนอง การที่นายเด่นชัยได้ลว่ งรู้ข้อมูลบัญชีเงินฝากของนาย
เด่นชัย จากการทำางานในอาชีพทนายความ และได้นำาความลับนั้นไปเปิดเผยต่อทนายความของนายสนอง ซึ่งสร้างความเสีย
หายให้กับนายสยม ฉนั้นนายเด่นชัยจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานผู้ประกอบอาชีพนั้น แล้วเปิดเผยความลับอันทำาให้
บุคคลอื่นเสียหายจึงมีความผิดตาม ม. 323
สรุป
นายเด่นชัยมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานผู้ประกอบอาชีพนั้น แล้วเปิดเผยความลับอันทำาให้บุคคลอื่นเสียหาย

3. นายบีมไปเช่าบ้านของนายแดน บ้านของนายแดนมีทรัพย์สินอยู่เป็นจำานวนมาก นายบีมอยู่บ้านเช่าของนายแดนได้ 2 เดือน

ไม่มีเงินจะจ่ายค่าเช้าบ้าน นายบีมจึงแอบเอาเตาไฟฟ้าที่อยู่ในครัวของบ้านนายแดนไปขาย ได้เงินมาจ่ายเป็นค่าเช่าบ้านให้


นายแดน
โดนนายแดนไม่รู้เรื่องนี้ จงวินิจฉัยว่านายบีมมีความผิดฐานอะไร เพราะอะไร

ตัวบท
ปอ. มาตรา 352 ผูใ้ ดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน
หรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำาความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ จำาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท
หรือทั้งจำาทั้งปรับ
วินิจฉัยปรับบท
การที่นายบีมเช่าบ้านของนายแดนนั้น และบ้านนั้นมีทรัพย์สินอยุ่เป็นจำานวนมาก ถือได้วา่ นายบีมได้ครอบครองทรัพย์ของผุ้อื่น
ที่อยู่ในบ้านเช่านั้นด้วยเช่นกัน การที่นายบีมนำาเตาไฟฟ้าที่อยุ่ในบ้านนั้นไปขายและนำาเงินมาจ่ายเป็นค่าเช่าบ้านจีงถือได้วา่
เป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ที่ตนครอบครองไปโดยทุจริต จึงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
สรุป
นายบีมมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของนายแดน ตามมาตรา 352 เพราะได้เบียดบังเอาทรัพย์ที่ตนครอบครองไปโดยทุจริต

ข้อสอบกฎหมายอาญา 1

1. นายวารินขุดบ่อเลี้ยงปลาตามทฤษฎีเศรษฐกิจแบบพอเพียงต่อมานายวารินจับปลาโดยต่อสายไฟลงไปในนำ้าเพื่อให้กระแส
ไฟฟ้าไปช๊อตปลา แต่ในขณะเดียวกันเด็ญหญิงวารีซึ่งเป็นบุตรสาวกำาลังเล่นนำ้าอยู่ใต้สะพาน ซึ่งนายวารินไม่ทันเห็นจึงทำาการ
ปล่อยกระแสไฟฟ้าไปช๊อตปลาเป็นเหตุให้เด็กหญิงวารีถึงแต่ความตาย ถามว่าการกระทำาของนายวารินผิดกฎหมายหรือไม่
สถานใด

2. ไก่อยากให้ขาวตาย จึงใช้เขียวไปซื้อยาพิษที่ตลาดเพื่อให้เขียวนำาไปใส่ในอาหารให้ขาวกิน เขียวไปซื้อยาพิษที่ตลาดแต่


ระหว่างเกิดกลับใจจึงซื้อแป้งมัน นำาไปใส่อาหารให้เขียวกินแทน เขียวจึงไม่ตาย ถามว่าไก่มีความผิดหรือไม่ฐานใด

3.หนึ่งกับสองทะเลาะอยู่กับขาว วันหนึ่งหนึ่งเห็นขาวนั่งกินข้าวต้มอยู่ในร้านอาหาร จึงไปบอกสอง สองจึงรีบมากับหนึ่ง พอ


สองเห็นขาวจึงเข้าทำาร้ายขาวทันที แต่หนึ่งยืนดูอยู่ด้วย จากนั้นสองหนี หนึ่งก็หนีตามสองไปด้วยกัน ดังนี้หนึ่งมีความผิดฐานใด

ข้อสอบกฎหมายอาญา 2 ภาค 1/2548

1. นายโจจะสมัครเข้า บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง แต่มีการสอบภาษาอังกฤษ ซึ่งนายโจไม่เก่งในวิชาภาษาอังกฤษ จึงได้จ้างนายจิม


พี่ชายฝาแฝดของตนซึ่งเก่งภาษาอังกฤษเข้าสอบและเซ็นชื่อลงในบัญชีลายชื่อผู้เข้าสอบ นายจิมและนายโจ มีความผิดทาง
อาญาฐานใดหรือไม่ ?

2. นายเกย์เห็นนายเบิ้มร่วมประเวณีกับนางฝนภรรยาของ ผจก.บริษัทที่ทั้งสองทำางานอยู่ จึงไปบอกให้นายเบิม้ อยู่เวรแทนตน


ในช่วงวันหยุดชดเชยวันปีใหม่ถ้าไม่อยู่แทนจะไปบอก ผจก. และคนอื่นๆ ในบริษัท แต่เบิ้มไม่กลัวเพราะกำาลังจะลาออกอยู่แล้ว
จึงไม่ยอมอยู่เวรแทน ใครต้องรับผิดอาญาฐานใดบ้าง? เพราะอะไร?

3. เป้าเช่าที่ดินซึ่งมีบ่อเลี้ยงปลาอยู่ด้วยจากหนึ่ง เป้าได้ปิดกั้นและปลูกต้นไม้ล้มลุกไว้ ต่อมาหนึ่งได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวทั้ง


แปลงให้นายหมึกไป โดยเป้ายังครอบครองอยู่ในฐานะผู้เช่า หมึกได้เข้าไปตัดต้นไม้ลม้ ลุกที่เป้าปลูกไว้ทิ้งเสีย หมึกจะต้องรับผิด
อาญา(เฉพาะเรื่องทรัพย์สิน) หรือไม่? เพราะเหตุใด?

ข้อสอบกฎหมายอาญา 1

1. กรณ์ยกกระถางต้นไม้อยู่ที่ระเบียงหน้าบ้านชั้นสอง กระถางต้นไม้ลื่นหลุดมือตกลงมาโดนนัท ซึ่งเดินผ่านมาพอดีศีรษะแตก


นัทเข้าใจว่ากรณ์ทำาร้ายตน เพราะไม่ถูกกันอยู่ นัทจึงหยิบก้อนหินขว้างถูกกรณ์บาดเจ็บ และก้อนหินยังเลยไปถูกแจกันลาย
ครามพีทด้วย ดังนี้กรณ์และนัท จะต้องรับผิดทางอาญาอย่างไรหรือไม่

2. แอนเห็นสุนัขตัวหนึ่งมาเห่าสุนัขของตนอยู่หน้าบ้านจึงไปไล่สุนัขตัวนั้น สุนัขตัวนั้นเห็นแอนมาไล่เข้าใจว่าจะตี จึงวิ่งมากัด


แขน แอนจึงใช้ไม้ตีสุนัขตัวนั้น สุนัขพอถูกตีจะมากัดแอนอีก แอนจึงตึซำ้า พอดีบีเจ้าของสุนัขตัวนั้นเดินตามหาสุนัขที่หลบหนี
ออกจากบ้านเห็นเข้าพอดี เข้าใจว่าแอนจะทำาร้ายสุนัขของตนจึงใช้ไม้ตีแอนบาดเจ็บ ดังนี้แอนและบี จะต้องรับผิดทางอาญา
อย่างไรหรือไม่

3. สมจิตรทราบดีว่าจิตลดาเป็นโรคจิตรชอบไล่ทำาร้ายผู้อื่น สมจิตรจึงเอามีดไปให้จิตลดา แล้วหลอกให้จิตลดาขณะไม่รู้ผิด


ชอบทำาร้ายราตรี ราตรีถูกจิตลดาทำาร้าย ไปปรึกษาสมหญิงแล้วชวนกันมาทำาร้ายจิตลดาได้รับบาดเจ็บ โดยมีสมชายเป็นคนชี้
ที่หลบซ่อนของจิตลดา ดังนี้สมจิตร ราตรี สมหญิง และสมชาย จะต้องรับผิดทางอาญาอย่างไรหรือ

ข้อสอบกฎหมายอาญา 2 ภาคการศึกษาพิเศษ /2548

1. เสี่ยโต้งชื้อรยน์มือสองให้ต้อยนักร้องคาเฟ่ที่ตนติดพันอยู่และใด้เช่าบ้านให้ต้อยอยู่ด้วย วันหนึ่งต้อยกำาลังเช็ดรถที่จอดนอกรั้ว
บ้านเพื่อนของต้อยโทรศัพท์มาบอกว่าเสี่ยโต้งไปติดพันนักร้องคนใหม่ต้อยโกรธมากจึงเอานำ้ามันราดรถยนต์และจุดไฟเผารถคัน
ดังกล่าวเพื่อประชดเสี่ยโต้งบังเอิญขณะนั้นมีลมพัดแรงและเปลวไฟกำาลังลุกลามใกล้ถึงตัวบ้านแต่ฝนได้ตกลงมาก่อนทำาให้ไฟ
ดับก่อนถึงตัวบ้าน ดังนี้ต้อยต้องรับผิดตาม ประมวลกฏหมายอาญาฐานใดบ้างหรือไม่เพราะเหตุใด

หลักกฎหมาย
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 217 ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำาคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่ง
หมื่นสี่พันบาท
มาตรา 220 ผู้ใดกระทำาให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์ของผู้อื่น
ต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าการกระทำาความผิดดังกล่าวในวรรคแรก เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 218 ผู้กระทำาต้องระวาง
โทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 218
ปรับข้อเท็จจริง
จากกรณีปัญหา เสี่ยโต้งชื้อรถยนต์มือสองให้ต้อยนักร้องคาเฟ่ที่ตนติดพันอยู่และได้เช่าบ้านให้ต้อยอยู่ด้วย วันหนึ่งต้อยกำาลัง
เช็ดรถที่จอดนอกรั้วบ้าน เพื่อนของต้อยโทรศัพท์มาบอกว่าเสี่ยโต้งไปติดพันนักร้องคนใหม่ ต้อยโกรธมากจึงเอานำ้ามันราด
รถยนต์และจุดไฟเผารถคันดังกล่าวเพื่อประชดเสี่ยโต้ง
การเผารถยนต์ของต้อยเป็นการเผาทรัพย์สินของตนเอง มิใช่เผาทรัพย์สินของผู้อื่น ต้อยจึงไม่มีความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์
ของผู้อื่น แต่บังเอิญขณะนั้นมีลมพัดแรงและเปลวไฟกำาลังลุกลามใกล้ถึงตัวบ้านและบ้านหลังดังกล่าวเป็นบ้านที่เสี่ยโต้งได้เช่า
ให้ต้อยอยู่ บ้านจึงเป็นทรัพย์ของผู้อื่น การที่ต้อยจุดไฟเผารถยนต์ของตนเองแต่ไฟได้ลุกไหม้จนใกล้จะถึงตัวบ้านนั้น เข้าข่าย
กระทำาความผิดตามหลักกฎหมายที่ว่า ผู้ใดกระทำาให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใดๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่
บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของบุคคลอื่น ต้องระวางโทษ แม้ฝนจะได้ตกลงมาก่อนทำาให้ไฟดับก่อนถึงตัวบ้าน ก็ตาม
ต้อยจึงมีความผิดฐาน กระทำาให้เกิดเพลิงไหม้ จนน่าจะเป็นอันตรายแก่ทรัพย์ของผู้อื่นต้องระวางโทษตามกฎหมายกำาหนด
สรุป
ต้อยต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานกระทำาให้เกิดเพลิงไหม้ จนน่าจะเป็นอันตรายแก่ทรัพย์ของผู้อื่น ตามหลัก
กฎหมายที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

2. นางบัวและนางสาวน้อยบุครสาวทำางานก่อสร้างโดยพักอาศัยในบ้านพักคนงานบริ เวณที่ก่อสร้างนางบัวทราบว่านายหนุ่ม
คนงานที่ทำางานก่อสรางอยู่ด้วยกันชอบแอบมองนางสาวน้อย วันหนึ่งนางบัวเห็นนายหนุ่มยืนอยู่คนเดียวในบริเวรที่ก่อสร้าง
นางบัวจึงเดินเข้าไปใกล้นายหนุ่มและใช้มีดปลายแหลมแทงที่ตาของนายหนุ่ม โดยประสงค์ให้นายหนุ่มตาบอดและเสียโสม
อย่างติดตัว แต่งนางบัวแทงไม่ถูกเพราะนายหนุ่มหลบทัน ดังนั้นนายหนุ่มต้องรับผิดตามประมวลกฏหมายอาญาฐานใดบ้าง
หรือไม่
หลักกฎหมาย
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 59 บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำาโดยเจตนา..............
มาตรา 80 ผู้ใดลงมือกระทำาความผิดแต่กระทำาไปไม่ตลอด หรือกระทำาไปตลอดแล้วแต่การกระทำานั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายาม
กระทำาความผิด
ผูใ้ ดพยายามกระทำาความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำาหนดไว้สำาหรับความผิดนั้น
มาตรา 295 ผู้ใดทำาร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำาความผิดฐานทำาร้ายร่างกาย
ต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ
ปรับข้อเท็จจริง
ตามกรณีปัญหา นางบัวและนางสาวน้อยบุตรสาวทำางานก่อสร้างโดยพักอาศัยในบ้านพักคนงานบริเวณที่ก่อสร้างนางบัวทราบ
ว่านายหนุ่มคนงานที่ทำางานก่อสรางอยู่ด้วยกันชอบแอบมองนางสาวน้อย วันหนึ่งนางบัวเห็นนายหนุ่มยืนอยู่คนเดียวในบริเวณ
ที่ก่อสร้าง นางบัวจึงเดินเข้าไปใกล้นายหนุ่มและใช้มีดปลายแหลมแทงที่ตาของนายหนุ่ม โดยประสงค์ให้นายหนุ่มตาบอดและ
เสียโฉมอย่างติดตัว แต่นางบัวแทงไม่ถูกเพราะนายหนุ่มหลบทัน การกระทำาของนางบัว ดังกล่าวเป็นการเจตนาทำาร้ายร่างกาย
ผูอ้ ื่น(นายหนุ่ม) และนางบัวได้ลงมือกระทำาความผิดไปโดยตลอดแล้ว คือได้ใช้มีดปลายแหลมแทงไปที่ตาของนายหนุ่มแล้ว แต่
นายหนุ่มหลบทัน การกระทำาการกระทำาความผิดของนางบัวจึงไม่บรรลุผล การกระทำาของนางบัวจึงเป็นการกระทำาความผิด
ฐานพยายามทำาร้ายร่างกายผู้อื่น ต้องระวางโทษ ตามที่กฎหมายกำาหนด
สรุป
นางบัว ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานพยายามทำาร้ายร่างกายผู้อื่น

3. นายเข้าไปในร้านขายของของนายสน เพื่อชื้อของเชื่อแต่นายสนไม่ยอมขายให้เพราะนายมลเคยชื้อของเชื่อไปแล้วแต่ยังไม่
ได้ให้เงิน นายมลจึงตรงเข้าไปหยิบของที่ตนต้องการจะชื้อเอง แล้วรีบเดินจะออกไปจากร้านโดยไม่ได้จ่ายเงิน นายสองชึ่งเป็น
บุตรชายของนายสน เข้าขัดขว้างนายมลไม่ให้ออกไปจากร้านนายมลจึงเอาขวดสุรานั้นจะตีศีรษะนายสองแต่ยังไม่ทันได้ตี นาย
สองกลัวจึงถอยออก แล้วนายมลจะเอาของนั้นออกไปจากร้าน พอดีตำารวจเดินเข้าประตูร้านมาจึงเจอกับนายมล ของที่นายมล
ถือจึงตกลงพื้น นายมลกลัวจึงวิ่งหนีไปดังนี้ นายมลต้องรับผิดตามประมวลกฏหมายอาญาฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุ

หลักกฎหมาย
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำาความผิดฐานลักทรัพย์ ต้อง
ระวางโทษจำาคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท
มาตรา 336 ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำาความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกินห้าปี และ
ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจผู้กระทำาต้องระวางโทษจำาคุกตั้งแต่สองปีถึงเจ็ดปี และปรับ
ตั้งแต่สี่พันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ปรับข้อเท็จจริง
ตามปัญหา นายมล เข้าไปในร้านขายของของของนายสน เพื่อชื้อของเชื่อแต่นายสนไม่ยอมขายให้ เพราะนายมลเคยชื้อของ
เชื่อไปแล้วแต่ยังไม่ได้ให้เงิน นายมลจึงตรงเข้าไปหยิบของที่ตนต้องการจะชื้อเอง แล้วรีบเดินจะออกไปจากร้านโดยไม่ได้จ่าย
เงิน การกระทำาดังกล่าวของนายมล เป็นการกระทำาผิด กฎหมายอาญาในหมวดของความผิดต่อทรัพย์คือนายมลเอาทรัพย์ของ
นายสนไปโดยไม่จ่ายเงินเป็นการเอาไปโดยทุจริต มีความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว และการลักทรัพย์ของนายมลเป็นการฉกฉวย
เอาไปซึ่งหน้าของนายสน ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ นายมลจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ในขณะที่นายมลกำาลังจะออกจากร้านไป
นั้นนายสองซึ่งเป็นบุตรชายของนายสน เข้าขัดขว้างนายมลไม่ให้ออกไปจากร้านนายมลจึงเอาขวดสุรานั้นจะตีศีรษะนายสอง
แต่ยังไม่ทันได้ตี นายสองกลัวจึงถอยออก การกระทำาดังกล่าวของนายมลยังมิใช่เป็นความผิดจากการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้
อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ซึ่งต้องรับโทษเพิ่ม เมื่อนายสองถอยไปแล้วนายมลจะเอาของนั้นออกไปจากร้าน พอดี
ตำารวจเดินเข้าประตูร้านมาจึงเจอกับนายมล ของที่นายมลถือจึงตกลงพื้น นายมลกลัวจึงวิ่งหนีไป แม้นายมลจะทำาของตกลง
พื้น แล้ววิ่งหนีไปโดยไม่ได้นำาของไปด้วย ก็ไม่ได้เป็นเหตุให้ การกระทำาของ นายมลพ้นความผิด การกระทำาความผิดของนาย
มลเป็นความผิดสำาเร็จแล้ว นายมลยังคงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
สรุป
นายมล ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามหลักกฎหมายดังกล่าวแล้วข้างต้น

กฎหมายวิธีสบัญญัติ

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 1

นายดำาและนายแดงสัญชาติไทย มีภูมลิ ำาเนาที่ประเทศลาว ทำาการซื้อขายบ้านและที่ดินที่ประเทศลาว โดยทำาสัญญาซื้อขาย


กันที่ประเทศลาว นายแดงไม่ยอมโอนบ้านและที่ดินให้นายดำา นายดำาขอศาลไทยบังคับให้นายแดงโอนบ้านและที่ดินได้หรือไม่
อย่างไร บ้านและที่ดินตั้งอยู่ที่ประเทศลาว

ให้วางหลักกฎหมายตาม ปวิพ.มาตรา 4(1) มาตรา 4 ทวิ มาตรา 4 ตรี ก็เพียงพอครอบคลุมทุกประเด็นที่ถาม แล้วลอง


พิจารณาดังนี้
1.ดำา-แดง มีสัญชาติไทย ไม่เข้าหลักฯ ม.4 ตรี คำาว่า"คำาฟ้องอื่น” ของมาตรานี้หมายถึงคำาฟ้องที่ไม่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ถึง
แม้โจทย์จะมีสัญญาชาติไทยก็ตาม แต่เนื่องจาก มาตรานี้ใช้บังคับเฉพาะกับสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ไม่รวมอสังหาริมทรัพย์ ฟ้อง
ตามมาตรานี้ไม่ได้
2.ภูมลิ ำาเนาทั้งสองคนอยู่นอกราชอาณาจักร ไม่เข้าหลักฯ ม.4(1) เพราะจำาเลยไม่มีภูลำาเนาอยู่ในเขตศาล และมูลคดีไม่ได้เกิด
ขึน้ ในเขตศาล (แต่ถา้ จำาเลยมีภูมิลำาเนาอยู่นอกราชอาณาจักร ถ้ามูลคดีเกิดในเขตศาลก็ฟ้องศาลไทยได้) ฟ้องตามาตราไม่ได้
3.เป็นข้อพิพาทเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ให้พิจารณา ม. 4 ทวิ ไม่เข้าหลักฯมาตรานี้อีก เพราะอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาทมิได้ตั้ง
อยู่ในเขตศาล และจำาเลยก็ไม่มีภูมิลำาเนาอยู่ในเขตศาล ฟ้องตามมาตรานี้ไม่ได้อีก

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 2

1. ข้อก. จำาเลยตาย ก่อนมีการยื่นฟ้อง หลังจากจำาเลยตายไม่ถึง 1 ปี ศาลสัง่ ให้ทายาทเข้ามาเป็นคู่ความ


ข้อ ข. จำาเลยตายหลังยื่นฟ้อง ศาลสั่งให้ทายาทเข้ามาในคดีเมื่อเกิน 1 ปี
คำาสั่งของศาลชอบหรือไม่
2. ไม้ซุงของนาย ง. ลอยไปชนเสาคอนกรีตเรือนแพของนาย ก.ในแม่นำาเจ้าพระยาเสียหาย โจทก์(ก)ฟ้องจำาเลย(ง) ว่าจำาเลย
ประมาทเลินเล่อ โดยโจทก์ต้องจ่ายค่าซ่อมแซมเรือนแพไป 30,000 บาท จำาเลยต่อสู้ว่าไม่ได้ประมาท เพราะแม่ไหลเชี่ยวแรง
และลูกจ้างของจำาเลยเป็นผู้ดูแล จำาเลยไม่ได้ดูแล โจทก์นำาสืบไม่ได้และไม่ติดใจสู้คดี ถ้าท่านเป็นศาลจะดำาเนินการอย่างไร

3. นายหนึ่งและนายสองกู้เงินนายดำา โดยมีนายสามเป็นผู้คำ้าประกัน ต่อมานายหนึ่งถูกเจ้าหนี้รายหนึ่งฟ้องล้มละลาย ศาลมีคำา


สัง่ ให้พิทักษ์ทรัพย์นายหนึ่ง แต่นายหนึ่งเจรจาประนอมนี้ได้สำาเร็จและศาลเห็นชอบ นายสองไม่ทราบเรื่อง จึงไม่ได้ยื่นคำาขอรับ
ชำาระหนี้ไว้ ดังนี้ เมื่อหนี้ถึงกำาหนดเวลา นายดำาจะฟ้องนายหนึ่ง นายสองและนายสามเพื่อให้ชำาระหนี้ได้หรือไม่ เพียงใด

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3

นายสมชาย ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องว่า นายกล้าหาญกระทำาความผิดฐานยักยอก ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา


มาตรา 352 ศาลตรวจคำาฟ้องแล้วเห็นว่าถูกต้อง จึงสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้อง ถ้าปรากฏว่า
(ก) ในวันไต่สวนมูลฟ้อง นายกล้าหาญมาศาลและขอยื่นคำาให้การต่อสู้คดีพร้อมทั้งขอสืบพยานเพื่อหักล้างพยานโจทก์ โดย
อ้างว่าในการดำาเนินคดีอาญา ศาลต้องเปิดโอกาสให้จำาเลยได้ต่อสู้ดดีอย่างเต็มที่ กรณีหนึ่ง
(ข)ในวันไต่สวนมูลฟ้องพยานโจทก์ไม่มาศาล ศาลจึงพิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ต่อมาอีก 5 วัน นายสมชาย
โจทก์ยื่นคำาร้องต่อศาลขอให้ยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ โดยอ้างว่าที่พยานโจทก์ไม่มาศาลในวันไต่สวนมูลฟ้องเนื่องจาก
พยานป่วยต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล อีกกรณีหนึ่ง
ในแต่ละกรณีดังกล่าว ศาลพึงอนุญาตตามคำาขอของนายกล้าหาญ และคำาร้องของ นายสมชายหรือไม่ เพราะเหตุใด (ตอบโดย
อ้างหลักกฎหมายด้วย)

ก) หลักกฎหมาย ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๖๕ วรรค๒และวรรค ๓


วินิจฉัย สำาหรับคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ป.วิ.อาญา วางหลักไว้ว่าในชั้นไต่สวนมูลฟ้องนั้นก่อนที่ศาลจะประทับฟ้อง มิให้ถือว่า
จำาเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น คือถือว่าผู้ถูกฟ้องยังไม่เป็นจำาเลยนั่นเอง ผู้ถูกฟ้องซึ่งยังไม่ตกเป็นจำาเลยนี้จะมาศาลหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้
จะยี่นคำาให้การหรือดำาเนินการใดๆเกี่ยวกับคดีนั้นมิได้ เว้นแต่กฎหมายอนุญาตให้กระทำาได้อย่างเดียว คือ การซักค้านพยาน
โจทก์
กรณีตามปัญหา นายกล้าหาญ มาศาลและยื่นคำาให้การต่อสู้คดีพร้อมทั้งขอสืบพยาน จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อาญา
มาตรา ๑๖๕ วรรค ๒และ วรรค๓
ดังนั้นศาลพึงไม่อนุญาตตามคำาขอของ นายกล้าหาญ
(ข) หลักกฎหมาย ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๖๖ วรรค ๑และ๒
วินิจฉัย กรณีที่โจทก์ จะร้องขอให้ศาลยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ได้ตาม ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๖๖ วรรค ๒ นั้น ต้องเป็นกรณี
ที่ศาลยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มาศาลตามกำาหนดนัดไต่สวนมูลฟ้อง
ตามปัญหา ศาลพิพากษายกฟ้องพราะโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๖๖ วรรค ๒ แต่อย่างใด

ดังนั้น ศาลพึงไม่อนุญาตตามคำาร้องของ นายสมชาย

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 1 ภาค 2/2547

1. โจทก์ฟ้องจำาเลยที่ 1 ได้กระทำาโดยประมาทเลินเล่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และจำาเลยที่ 2 เป็น ผูค้ ำ้าประกันจำาเลยที่ 1


ขอให้ศาลบังคับให้จำาเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำาเลยที่ 1 ให้การว่าได้กระทำาโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์
เสียหายจริง แต่จำาเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ และให้การอ้างว่า จำาเลยที่ 1 มิได้กระทำาประมาทดังโจทก์ฟ้อง ในวันนัดชี้สองสถาน
ศาลกำาหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำาเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อทำาให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ ใครมีภาระการพิสูจน์

หลักกฎหมาย
เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมีหลักกฎหมายว่า
มาตรา 84 ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใด ๆ เพื่อสนับสนุนคำาฟ้องหรือคำาให้การของตน ให้หน้าที่
นำาสืบข้อเท็จจริงนั้นตกแก่คู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้าง
วินิจฉัย
การที่โจทก์ฟ้องจำาเลยที่ 1 ได้กระทำาโดยประมาทเลินเล่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และฟ้องจำาเลยที่ 2 เป็นผู้คำ้าประกัน
จำาเลยที่ 1 ซึ่งจำาเลยที่ 1 ได้ให้การยอมรับ ดังนั้นจำาเลยที่ 1 ไม่มีภาระการพิสูจน์ แต่จำาเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ
การที่จำาเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ เมื่อศาลกำาหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำาเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อทำาให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
หรือไม่ เป็นการกำาหนดประเด็นข้อพิพาทตามฟ้องของโจทก์ ดังนั้น หน้าที่นำาสืบข้อเท็จจริงย่อมตกแก่โจทก์ ซึ่งเป็นผู้กล่าว
อ้างว่าจำาเลยที่ 1 ได้กระทำาโดยประมาทเลินเล่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
สรุป
โจทก์มีภาระการพิสูจน์ เพราะโจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างว่าจำาเลยที่ 1 ได้กระทำาโดยประมาเลินเล่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

2. นายดำาและนายแดงสัญชาติไทย มีภูมลิ ำาเนาที่ประเทศลาว ทำาการซื้อขายบ้านและที่ดินที่ประเทศลาว โดยทำาสัญญาซื้อขาย


กันที่ประเทศลาว นายแดงไม่ยอมโอนบ้านและที่ดินให้นายดำา นายดำาขอศาลไทยบังคับให้นายแดงโอนบ้านและที่ดินได้หรือไม่
อย่างไร

หลักกฎหมาย
เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมีหลักกฎหมายว่า
มาตรา 4 ตรี คำาฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ทวิ ซึ่งจำาเลยมิได้มีภูมิลำาเนาในราชอาณาจักร และมูลคดีมิได้เกิดขึ้น
ในราชอาณาจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือภูมิลำาเนาในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลแพ่ง หรือต่อศาล
ที่โจทก์มีภูมิลำาเนาอยู่ในเขตศาล
วินิจฉัย
การที่นายดำาและนายแดงพิพาทกันในเรื่องอสังหาริมทรัพย์นั้น ก็ไม่สามารถนำามาตรา 4 ทวิ มาใช้ได้ เนื่องจากสังหาริมทรัพย์
นั้นอยู่ในประเทศลาว และนายแดง ( จำาเลย ) มีภูมลิ ำาเนาอยู่ในประเทศลาว จึงต้องนำามาตรา 4 ตรี มาใช้ เนื่องจากนายดำา
( โจทก์ ) มีสัญชาติไทย แม้มูลคดีจะเกิดในประเทศลาวก็ตาม นายดำาจึงสามารถฟ้องนายแดงต่อศาลแพ่งได้ ตามมาตรา 4
ตรี นี้ แต่ไม่สามารถฟ้องต่อศาลที่นายดำา ( โจทก์ ) มีภมู ิลำาเนาอยู่ในเขตศาลได้ เนื่องจากนายดำามีภูมิลำาเนาอยู่ในประเทศลาว
สรุป
นายดำาสามารถขอให้ศาลไทยบังคับให้นายแดงโอนบ้านและที่ดินให้แก่ตนได้ โดยยื่นคำาฟ้องต่อศาลแพ่ง

3. นายเอกฟ้องนายโทขอแบ่งทรัพย์มรดกตามเอกสารฉบับหนึ่งซึ่งนายเอกอ้างว่าเป็นพินัยกรรม ศาลพิพากษายกฟ้องว่ามิใช่
พินัยกรรม คดีถึงที่สุด ต่อมานายเอกฟ้องนายโทขอแบ่งทรัพย์ โดยอ้างเอกสารเดียวกัน ซึ่งนายเอกอ้างในคดีหลังว่าเอกสารดัง
กล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอม ความของบุคคลอื่นซึ่งยกทรัพย์ให้แก่นายเอก คำาฟ้องของนายเอกในคดีหลังเป็นฟ้องซำ้า
หรือไม่ อย่างไร

หลักกฎหมาย
เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมีหลักกฎหมายว่า
มาตรา 148 คดีที่ได้มีคำาพิพากษาหรือคำาสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัย
โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เว้นในกรณีต่อไปนี้
1 ) …..
2 ) .….
3 ) …..

วินิจฉัย
การที่นายเอกฟ้องนายโทในคดีแรกนั้น ประเด็นที่พิพาท คือ พินัยกรรม โดยอาศัยเหตุ คืออ้างเอกสาร ซึ่งศาลก็ได้วินิจฉัยไป
แล้วว่ามิใช่พินัยกรรม ต่อมานายเอกฟ้องนายโทซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันอีก แต่ประเด็นที่พิพาทกันในคดีหลังนั้น คือ สัญญา
ประนีประนอมยอมความ แม้วา่ จะอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีแรก คือ อ้างเอกสารฉบับเดิม ก็ไม่ถือว่าเป็นการฟ้องซำ้า
ตามมาตรา 148 เพราะแม้จะเป็นคู่ความเดียวกัน และอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน แต่ประเด็นที่พิพาทนั้น ไม่ใช่ประเด็นอย่าง
เดียวกัน ประเด็นแรกเป็นเรื่องพินัยกรรม แต่ประเด็นหลังเป็นเรื่องสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลยังไม่ได้วินิจฉัย
ประเด็นที่ว่าเอกสารนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่
สรุป
คำาฟ้องของนายเอกในคดีหลังไม่เป็นฟ้องซำ้า เพราะประเด็นในคดีแรกกับคดีหลัง ไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน เนื่องจากศาลยังไม่ได้
วินิจฉัยประเด็นที่วา่ เอกสารนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 2 ภาค 2/2547


1. โจทก์ฟ้องจำาเลยเรียกเงินกู้จำานวน 500,000 บาท จำาเลยยอมรับว่ากู้เงินจริง แต่ฟ้องแย้งว่าโจทก์ยังเป็นหนี้ค่าจ้างว่าความ
และค่าเดินทางซึ่งโจทก์เคยจ้างให้จำาเลยว่าความในคดีก่อนอยู่ 350,000 บาท ขอหักกลบลบหนี้ และขอให้ศาลบังคับให้โจทก์
ชำาระเงินดังกล่าวแก่ตนด้วย ศาลสัง่ รับคำาให้การและฟ้องแย้งของจำาเลย และสั่งให้จำาเลยนำาเงินค่าธรรมเนียมชำาระภายใน 7
วัน เมื่อพ้นกำาหนดเวลาแล้วจำาเลยไม่ชำาระค่าธรรมเนียม ศาลจึงสั่งจำาหน่ายคดีในส่วนฟ้องแย้งของจำาเลย ให้วินิจฉัยว่า คำาสั่ง
รับฟ้องแย้งและคำาสั่งจำาหน่ายคดีของศาลดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

หลักกฎหมาย
เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมีหลักกฎหมายว่า
มาตรา 174 ในกรณีต่อไปนี้ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง คือ
1) ....
2) โจทก์เพิกเฉยไม่ดำาเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำาหนดไว้เพื่อการนั้น โดยได้ส่งคำาสั่งให้แก่โจทก์โดย
ชอบแล้ว
มาตรา 177 วรรค 3 จำาเลยจะฟ้องแย้งมาในคำาให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่
เกี่ยวกับคำาฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำาเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก
วินิจฉัย
การที่โจทก์ฟ้องจำาเลยเรื่องเงินกู้ กับการที่จำาเลยฟ้องแย้งมาในคำาให้การว่าโจทก์เป็นหนี้ค่าจ้างว่าความและค่าเดินทางแก่
จำาเลย ฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของจำาเลยเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกันดังนั้น เมื่อฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำาฟ้องเดิม ศาลต้องสั่งให้
จำาเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก ตามมาตรา 177 วรรค 3
แต่เมื่อศาลรับฟ้องแย้งของจำาเลย จำาเลยจึงเป็นโจทก์ในส่วนฟ้องแย้งนั้น ( นั่นคือ เป็นโจทก์ในคดีเรียกค่าจ้างว่า
ความและค่าเดินทาง ) การที่ศาลสั่งให้จำาเลยวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลภายใน 7 วัน แล้วจำาเลยไม่นำาเงินมาชำาระภาย
กำาหนดเวลาดังกล่าว ถือว่าโจทก์ในส่วนฟ้องแย้งเพิกเฉยไม่ดำาเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำาหนด ซึ่งเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา
174 ( 2 ) ศาลสามารถจำาหน่ายคดีได้ตามมาตรา 132 ( 1 )
สรุป
คำาสั่งรับฟ้องแย้งของศาลไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมนั้น ศาลต้องสั่งให้จำาเลยฟ้องเป็นคดีต่าง
หาก คำาสั่งจำาหน่ายคดีในส่วนฟ้องแย้งของศาลชอบด้วยกฎหมาย เพราะโจทก์ในส่วนฟ้องแย้งไม่ดำาเนินคดีภายในเวลาที่ศาล
กำาหนด ถือว่าโจทก์ในส่วนฟ้องแย้งทิ้งฟ้องแย้ง ศาลสามารถจำาหน่ายคดีในส่วนฟ้องแย้งได้

2. ศาลมีคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ 3 เดือนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ยึดสินค้าทั้งหมดในร้านขายเครื่อง


คอมพิวเตอร์ของลูกหนี้ ซึ่งรวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ของนายเอกที่นำามาฝากขายและตั้งโชว์อยู่ในร้านของลูกหนี้ด้วย นายเอก
ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเป็นของตนและขอคืน แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่คืนให้
เช่นนี้ ถ้านายเอกมาปรึกษาท่านว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ของนายเอกหรือไม่ และถ้ามีสิทธิยึด
เครื่องคอมพิวเตอร์ นายเอกควรทำาอย่างไร ท่านจะแนะนำาพร้อมเหตุผลอย่างไร

หลักกฎหมาย
เนื่องจากพระราชบัญญัติล้มละลายมีหลักกฎหมายว่า
มาตรา 109 ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย อันแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้
1 ) …..
2 ) …..
3 ) สิ่งของซึ่งอยู่ในความครอบครอง หรืออำานาจสั่งการ หรือสั่งจำาหน่ายของลูกหนี้ ในทางการค้าหรือธุรกิจของ
ลูกหนี้ ด้วยความยินยอมของเจ้าของอันแท้จริง โดยพฤติการณ์ซึ่งทำาให้เห็นว่าลูกหนี้เป็นเจ้าของในขณะที่มี
การของให้ลูกหนี้นั้นล้มละลาย
มาตรา 92 บุคคลใดได้รับความเสียหายเพราะสิ่งของตนถูกยึดไปตามมาตรา 109 ( 3 ) มีสิทธิขอรับชำาระหนี้สำาหรับราคาสิ่ง
ของได้ ภายในกำาหนดเวลาตามมาตรา 91 แต่ให้นับจากวันที่ใช้สิทธิขอรับชำาระหนี้ได้
มาตรา 91 เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำาระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องยื่นคำาขอรับชำาระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำาหนด
เวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
วินิจฉัย
การที่นายเอกนำาเครื่องคอมพิวเตอร์มาฝากลูกหนี้ในคดีล้มละลายเพื่อขาย โดยตั้งโชว์อยู่ในร้ายขายเครื่องคอมพิวเตอร์ของลูก
หนี้นั้น ถือว่าเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถยึดเพื่อจำาหน่ายแล้วแบ่งแก่เจ้าหนี้ในคดีล้ม
ละลายได้ เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของนายเอกนั้น อยู่ในความครอบของลูกหนี้ อีกทั้งยังเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใน
อำานาจการสั่งจำาหน่ายของลูกหนี้ ซึ่งนายเอกยินยอมให้จำาหน่าย ตามมาตรา 109
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ของนายเอกไป นายเอกจึงเป็นผู้เสียหายที่ถูกยึดสิ่งของไป
นายเอกจึงมีสิทธิขอรับชำาระหนีส้ ำาหรับราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ตามมาตรา 92 โดยยื่นคำาขอรับชำาระหนี้ต่อเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์ภายใน 2 เดือน นับจากวันที่ถูกยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ไป ตามมาตรา 91
สรุป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ของนายเอกได้ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ของนายเอกอยู่ในความครอบ
ของลูกหนี้ อีกทั้งยังเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในอำานาจการสั่งจำาหน่ายของลูกหนี้ ซึ่งนายเอกก็ยินยอมให้ลูกหนี้จำาหน่ายได้
นายเอกควรยื่นคำาขอรับชำาระหนี้จากกองทรัพย์สินในคดีล้มละลายของลูกหนี้ โดยยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 2
เดือน นับแต่วันที่ถูกยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ไป

3. โจทก์ฟ้องจำาเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ขอให้ศาลบังคับจำาเลยโอนที่ดินที่พิพาทให้โจทก์ ระหว่างพิจารณาโจทก์และ


จำาเลยทำาสัญญาประนีประนอมยอมความว่า โจทก์ยอมชำาระเงิน 700,000 บาท ให้แก่จำาเลยภายใน 1 ปี และจำาเลยจะโอน
ที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับชำาระเงิน ศาลพิพากษาตามยอม แล้วปรากฏว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ชำาระเงินจำานวนดัง
กล่าวให้แก่จำาเลย จนเวลามาถึง 9 ปี โจทก์จึงนำาเงิน 700,000 บาท มาชำาระให้แก่จำาเลย และให้จำาเลยไปดำาเนินการโอนที่ดิน
ให้แก่โจทก์ตามคำาพิพากษา จำาเลยปฏิเสธไม่ยอมรับ และไม่จดทะเบียนโอนที่ดินให้ อ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอม
ความที่ทำาไว้ต่อศาล ส่วนโจทก์อ้างว่า โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ภายใน 10 ปี ให้ท่านวินิจฉัยว่า จำาเลยต้องรับชำาระเงิน 700,000
บาท และจดทะเบียนโอนที่ดินที่พิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่เพราะเหตุใด

หลักกฎหมาย
เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมีหลักกฎหมายว่า
มาตรา 271 ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี ( ลูกหนี้ตามคำาพิพากษา ) มิได้ปฏิบัติตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่งศาลทั้ง
หมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ ( เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษา ) ชอบทีจ่ ะร้องขอให้บังคับคดี
ตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่งนั้น ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง โดยอาศัยคำาสั่งและคำา
บังคับที่ออกตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่งนั้น
วินิจฉัย
การที่ศาลมีคำาพิพากษาให้โจทก์นำาเงินมาชำาระค่าที่ดินแก่จำาเลยจำานวน 700,000 บาท ภายใน 1 ปี และให้จำาเลยโอนที่ดินให้
แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับชำาระเงินนั้น คำาพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความ ซึ่งคู่ความมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำาพิพากษา
แม้อีก 9 ปีต่อมา โจทก์จะนำาเงินจำานวน 700,000 บาท มาชำาระแก่จำาเลย จำาเลยก็ต้องโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามคำาพิพากษา
เนื่องจากคู่ความสามารถร้องขอให้บังคับคดีตามคำาพิพากษาได้ 10 ปี ตามมาตรา 271
สรุป
จำาเลยต้องรับชำาระเงินจำานวน 700,000 บาท จากโจทก์ และต้องจดทะเบียนโอนที่ดินที่พิพาทให้แก่โจทก์ เพราะคำาพิพากษา
ผูกพันคู่ความ คู่ความสามารถร้องขอให้บังคับคดีตามคำาพิพากษาได้ภายใน 10 ปี

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3

พงส. สน.A ได้รับสำานวนทำาความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องไปยัง พงอ. พร้อมด้วยสำานวนการสอบสวนรวม 2 สำานวน ดังนี้


(ก) สำานวนแรกผ้ต้องหาวางยาพิษผู้ตายในบ้านพักของผู้ตายซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้ องที่ สน.B แต่ผู้ตายถึงแก่ความตายที่โรง
พยาบาลซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่ สน.A และตำารวจจับผู้ต้องหาได้ในเขตท้องที่ สน.A สำานวนหนึ่ง
(ข) สำานวนหลัง ผู้ต้องหานำาโทรศัพท์มือถือที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หมายเลขประจำาเครื่องมาปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณ
ความถี่เป็นหมายเลขประจำาเครื่องของผู้เสียหายซี่งได้รับอนุญาตจาก กสท. ที่บริษัทของผู้ต้องหาซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่ สน.B
แต่ผู้เสียหายนำาโทรศัพท์มือถือไปใช้ในเขตท้องที่ สน.A แล้วถูกคลื่นรบกวน และตำารวจจับผู้ต้องหาได้ในเขตท้องที่ สน.A อีก
สำานวนหึ่ง
ให้วินิจฉัยว่า พงอ. จะรับคดีทั้งสองสำานวนนี้ไว้ดำาเนินการต่อไปหรือไม่ เพราะเหตุใด

(ก) ผู้ต้องหาวางยาพิษในบ้านพักของผู้ตาย ความผิดอาญาที่ผู้ต้องหากระทำาย่อมเกิดขึ้นที่บ้านพักของผู้ตายซึ่งตั้งอยู่ในเขต


อำานาจของสน. B ส่วนที่ผู้ตายถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลเป็นผลของการกระทำาผิด (ฎ.3337/2543)หาใช่เป็นความผิดต่อ
เนื่องตาม ม.19(3) ไม่ ดังนั้นเขตอำานาจสอบสวนจึงต้องพิจารณาตาม ม.18 พงส.สน.A สามารถสอบสวนได้ตาม ม.18 วรรค
สอง (สำาหรับในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ขา้ ราชการตำารวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำารวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อย
ตำารวจตรีขึ้นไป มีอำานาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดหรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำานาจของตน หรือผู้ต้องหามี
ที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำานาจของตนได้)
****แต่เมื่อไม่ปรากฎว่ามีเหตุจำาเป็นหรือเพื่อความสะดวกอย่างไรที่จะให้พงส.แห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับเป็นผู้รับผิดชอบ
ดำาเนินการสอบสวน
*****กรณีย่อมเข้าเกณฑ์ปกติซึ่งต้องเป็นหน้าที่ของ พงส.แห่งท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตาม ม.18
วรรค 3 ซึ่งก็คือ พงส. สน.B หาใช่ พงส.สน.A อันเป็นท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับไม่
ดังนั้นการที่ ***พงส.สน.A ซึ่งไม่ใช่พงส.ผูร้ ับผิดชอบ*** เป็นผู้สรุปทำาความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องไปยังพงอ. พร้อมด้วย
สำานวนเพื่อให้พงอ.พิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ปวิอ.ม.140 , 141 พงอ.จะไม่รับสำานวนคดีนี้ไว้ดำาเนินการ
(ข) ผูต้ ้องกานำาโทรศัพท์มือถือที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หมายเลขประจำาเครื่องมาปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็น
หมายเลขประจำาเครื่องของผู้เสียหายซึ่งได้รับอนุญาตจากกสท. แม้ผู้ต้องหาจะกระทำาการดังกล่าวที่บริษัทของผู้ต้องหาซึ่งตั้ง
อยู่ในท้องที่สน.B ก็ตาม แต่ผลของการกระทำาเกิดขึ้นแก่โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ทำาให้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายถูก
รบกวน จึงเป็นความผิดต่อเนื่องที่กระทำาต่อเนื่องกับระหว่างท้องที่ที่บริษัทของผู้ต้องหาตั้งอยู่กับท้องที่ที่ผู้เสียหายนำาโทรศัพท์
มือถือไปใช้แล้วเกิดเหตุขัดข้อง ซึ่งอยู่ในท้องที่ สน.A (ฎ.781/2543)
****กรณีจึงเป็นความผิดที่ผู้ต้องหากระทำาต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ กันเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปตาม ม.19(3) เมื่อปรากฎว่า
จับผู้ต้องหาได้ในเขตท้องที่สน.A ****กรณีย่อมต้องด้วย ม.19 วรรคสอง (ก) ที่กฎหมายบัญญัติให้พงส.สน.A ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับ
ผูต้ ้องหาได้เป็นพงส.ผูร้ ับผิดชอบในการสอบสวน
ดังนั้นการที่พงส.สน.A ได้สรุปทำาสำานวนความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปยัง พงอ. พร้อมด้วยสำานวนสอบสวนคดีนี้เพื่อ
ให้ พงอ. พิจารณาตาม ปวิอ.ม.140 , 141 จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย พงอ. ต้องรับสำานวนคดีนี้ไว้เพื่อดำาเนินการต่อไป

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 1

1. นาย ข เป็นลูกหนี้เงินกู้ นายดำา นาย ข ขอดำาเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลอนุญาต ไม่ต้องชำาระค่าธรรมเนียมศาล ต่อมา


นาย ข ต้องการ ฎีกา ศาลรับคำาฎีกา แล้วสั่งให้ นาย ข ส่งสำาเนาฎีกาให้ โจทย์แก้ฏีกา ภายในกำาหนด 5 วัน
จนครบเวลาที่ ศาลกำาหนด นาย ขไม่ขอให้ส่งสำาเนาฯ เพราะนาย ข ไม่มีค่าส่งให้เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้ ศาลจะสั่งคดีนี้ว่า
อย่างไร จึงจะชอบด้วยกฏหมาย

2. นายสมชายและนางสมศรี ร่วมกันกู้เงินจำานวน 300,000 บาทจากนางสาว(ชื่ออะไรจำาไม่ได้) เมื่อถึงกำาหนดไม่ชำาระ


นางสาว..ฟ้องนายสมชายเป็นคดีต่อศาล ศาลพิพากาษาให้นายสมชาย ชำาระหนี้ให้แก่โจทก์ แต่นายสมชาย ไม่ยอมทำาตาม
นางสาว... จึงร้องขอต่อศาลขอให้ออกหมายบังคับคดีให้ยึดทรัพย์ของนายสมชายและนางสมศรี ดังนี้ หากท่านเป็นศาลจะสั่ง
คำาร้องของนางสาว...อย่างไรจึงจะชอบด้วยกฎหมาย

3. นายหนึ่งและนายสองกู้เงินนายดำา โดยมีนายสามเป็นผู้คำ้าประกัน ต่อมานายหนึ่งถูกเจ้าหนี้รายหนึ่งฟ้องล้มละลาย ศาลมีคำา


สัง่ ให้พิทักษ์ทรัพย์นายหนึ่ง แต่นายหนึ่งเจรจาประนอมนี้ได้สำาเร็จและศาลเห็นชอบ นายสองไม่ทราบเรื่อง จึงไม่ได้ยื่นคำาขอรับ
ชำาระหนี้ไว้ ดังนี้ เมื่อหนี้ถึงกำาหนดเวลา นายดำาจะฟ้องนายหนึ่ง นายสองและนายสามเพื่อให้ชำาระหนี้ได้หรือไม่ เพียงใด
ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3

ก.ถูก ข.ใช้ไม้ตีศรีษะแตก ก.โจทก์ฟ้อง ข. จำาเลยในความผิดฐานทำาร้ายร่างกาย ศาลชั้นต้นพิจารณาลงโทษจำาเลยตามมาตรา


390 ป.อาญา โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลลงโทษจำาเลยตามมาตรา 290 ป.อาญา ให้วินิจฉัยว่าศาลอุทธรณ์จะรับคำาอุทธรณ์ จะ
รวบรวมพยานหลักฐานและรับฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้หรือไม่

กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 ภาค 2/2548

1. นายชายมีภูมิลำาเนาอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำารวจหนองจอก ได้ชิงทรัพย์นายชาติในเขตท้องที่สถานีตำารวจมีนบุรี นายชาติไม่


ยอมเกิดการต่อสู้กันนายชายได้รับบาดเจ็บระหว่างต่อสู้ได้กระชากสร้อยคอนายชาติ และได้พาทรัพย์นั้นไปอยู่บ้านของตน ในที่
เกิดเหตุนั้นไม่มีผู้ใดเห็นเหตุการณ์ นายชายไปรักษาที่โรงพยาบาลและขายสร้อยคอในเขตท้องที่สถานีตำารวจหนองจอก
พนักงานสืบสวนเขตท้องที่สถานีตำารวจมีนบุรีสืบทราบว่านายชายอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำารวจหนองจอก จึงขอความร่วมมือให้
สถานีตำารวจหนองจอกช่วยจับนายชายให้ และจับนายชายได้ที่บ้านพัก ดังนั้น สถานีตำารวจเขตหนองจอกมีอำานาจในการ
สืบสวนดำาเนินคดีแทนสถานีตำารวจมีนบุรีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

2. นายศักดิ์กับนายสุขเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายกบ นายศักดิ์ถูกนายเขียดใช้อาวุธปืนฆ่านายศักดิ์ตาย นายกบ


จึงเป็นโจทย์ยื่นโฟ้องนายเขียดฐานฆ่านายศักดิ์ตายคดีอยู่ระหว่างพิจารณานายกบป่วยหนักและเสียชีวิต นายสุขจะขอดำาเนิน
คดีต่อจากนายกบจึงมาปรึกษาท่านจะให้คำาแนะนำานายสุขอย่างไร เพราะเหตุใด

3. นายผันเป็นโจทก์ฟ้องนายผิวฐานทำาร้ายร่างกายถูกตีที่ศีรษะ ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีและพิพากษาให้นายผิวมีความผิดฐาน
ทำาร้ายร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ นายผันไม่พอใจคำาพิพากษาจึงอุทธรณ์ให้
ศาลลงโทษนายผิว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จะเรียกสำานวนและสืบพยานใหม่ได้หรือไม่
เพราะเหตุใด

กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3

พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องนายวิชัยจำาเลยฐานฆ่านายบุญมีโดยเจตนา ศาลสอบคำาให้การ นายวิชัยจำาเลยปฏิเสธว่าไม่ได้


กระทำาผิดตามฟ้องโดยไม่ได้ตั้งประเด็นต่อสู้ เมื่อพนักงานอัยการโจทก์นำาพยานบุคคลเข้าสืบ นายวิชัยจำาเลยก็ไม่ได้ซักค้าน
พยานโจทก์ในประเด็นป้องกันตัว ครั้นถึงนัดสืบพยานจำาเลย นายวิชัยจำาเลยจะนำาสืบพยานว่าตนได้กระทำาโดยป้องกันตัว ดังนี้
นายวิชัยจำาเลยกระทำาได้หรือไม่

เฉลย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติว่า เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจำาเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และศาล
เชื่อว่าเป็นจำาเลยจริงศาลต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำาเลยฟัง และถามจำาเลยว่าได้กระทำาผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้ว่า
อย่างไร คำาให้การของจำาเลยศาลต้องจดไว้ ถ้าจำาเลยไม่ยอมให้การ ศาลต้องจดรายงานไว้และดำาเนินการพิจารณาต่อไป (
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคสอง)
ถ้าจำาเลยให้การปฏิเสธ โจทก์จะต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ว่าจำาเลยได้กระทำาผิด จำาเลยอาจให้การปฏิเสธลอยๆ เพียงว่า จำาเลย
ได้ทราบฟ้องแล้วขอให้การปฏิเสธโดยไม่ได้ตั้งประเด็นข้อต่อสู้ในคำาให้การก็ได้ หรือจะปฏิเสธโดยมีข้อต่อสู้อย่างไรก็ได้
จะเห็นได้ว่า คดีที่จำาเลยให้การปฏิเสธ ศาลต้องจดคำาให้การของจำาเลยไว้เสมอ แต่ก็ไม่ห้ามที่จำาเลยจะยื่นคำาให้การปฏิเสธของ
ตนเองเป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาล ซึ่งในกรณีนี้ศาลต้องจดไว้ในรายงานกระบวนการพิจารณาของศาลรวมไว้ในสำานวน
ข้อเท็จจริงตามปัญหาเมื่อศาลสอบถามคำาให้การของนายวิชัยจำาเลย นายวิชัยจำาเลยย่อมให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำาผิดตาม
ฟ้องโดยไม่ตั้งประเด็นต่อสู้ได้ เพราะโดยปกติจำาเลยมักจะปฏิเสธลอยๆ โดยไม่ตั้งประเด็นต่อสู้ ซึ่งโดยหลักทั่วไปคำาให้การของ
จำาเลยในคดีอาญาไม่ต้องตั้งประเด็นเหมือนในคดีแพ่ง แม้นายวิชัยจำาเลยจะให้การปฏิเสธไว้ลอยๆ และมิได้ซักค้านพยานโจทก์
ในเรื่องป้องกัน ตัวนายวิชัยจำาเลยก็สามารถนำาสืบในเรื่องป้องกันตัวได้ ทั้งนี้เพราะกระบวนการพิจารณาความในคดีอาญานั้น
ต่างกับคดีแพ่ง ในคดีอาญาจำาเลยไม่ให้การอย่างใดเลยก็ไม่เป็นไร และไม่ว่าจำาเลยจะให้การต่อสู้อย่างไรหรือไม่ให้การเลยก็
เป็นหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ที่จะต้องนำาพยานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์การกระทำาความผิดของจำาเลยตามฟ้องก่อนเสมอไป และเมื่อสืบ
พยานโจทก์แล้ว จำาเลยก็มีสิทธินำาพยานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 174) ดังนั้น นายวิชัยจำาเลยสามารถนำาสืบพยานจำาเลยว่าตนได้กระทำาไปโดยป้องกันตัวได้ (ฎีกาที่ 862/2503)
(สอบไล่ ภาค 2/2528)
นาย ก. ยื่นฟ้องในฐานะเป็นบิดาของนาย ข. ผูเ้ ยาว์ กล่าวหาว่า นาย ค. ขับรถโดยประมาทชนรถนาย ข. ทำาให้นาย ข.บาดเจ็บ
สาหัส เป็นความผิดฐานกระทำาโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญาฐานหนึ่ง กับฝ่าฝืน
พระราชบัญญัติการจราจรทางบกอีกฐานหนึ่ง ข้อเท็จจริงได้ความว่า นาย ข.ยังบาดเจ็บสาหัสอยู่ในโรงพยาบาล และอุบัติเหตุ
ครั้งนี้เกิดขึ้นจากความประมาทของ นาย ข. และนาย ค. ทั้งสองฝ่าย ส่วนนาย ก. เป็นบิดาของนาย ข. จริง แต่มิได้จดทะเบียน
สมรสกับมารดาของนาย ข. ในขณะยื่นฟ้อง เพิ่งมาจดทะเบียนสมรสกับมารดาของนาย ข. ในระหว่างการพิจารณาคดีนี้ ดังนี้
ถ้าการกระทำาของนาย ค. เป็นความผิดทั้งสองฐาน จงวินิจฉัยว่า นาย ก. มีอำานาจฟ้องคดีนี้หรือไม่

เฉลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้วางหลักเกี่ยวกับผู้เสียหายไว้ว่า “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความ
เสียหายเนื่องจากการกระทำาผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำานาจจัดการแทนได้ดังบัญญัติไว้ในกฎหมาย ซึ่งได้แก่
1. ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำาต่อผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
2. ผูบ้ ุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำาร้ายถึงตาย หรือบาดเจ็บไม่สามารถ
จัดการเองได้
ผูซ้ ึ่งมีอำานาจจัดการแทนผู้เสียหายดังกล่าวมีอำานาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
กรณีตามปัญหาสำาหรับข้อหากระทำาโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายสาหัส มูลกรณีเข้าเกณฑ์ที่นาย ก. ใน
ฐานะบิดาตามความเป็นจริงจะจัดการยื่นฟ้องนาย ข. ได้ ตามนัยหลักกฎหมายดังกล่าว (มาตรา 5 (2) ) เพราะคำาว่า
“บุพการี” ซึ่งมีอำานาจจัดการแทนผู้เสียหายในกรณีนี้หมายถึงบุพการีตามความเป็นจริง ไม่จำาเป็นต้องเป็นบุพการีตามกฎหมาย
อย่างไรก็ดีข้อเท็จจริงได้ความว่า นาย ข. เองมีส่วนประมาทร่วมอยู่ด้วย ถือว่า นาย ข. มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในการกระทำา
ผิดของนาย ค. นาย ก. บิดาของนาย ข. ย่อมไม่อาจจัดการยื่นฟ้องแทนได้
ส่วนข้อหาฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจราจรทางบก ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจขรทางบกกำาหนดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือของ
เจ้าพนักงานในการ...**คุมระการจราจรให้เป็นไปโดยเรียบร้อยเพื่อสวัสดิการของสังคมโดยส่วนรวม มิได้มุ่งหมายจะคุ้มครอง
เอกชนคนใดคนหนึ่งโดนเฉพาะอย่างความผิดฐานการะทำาโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมาย
อาญา ดังรั้น นาย ข. จึงมิใช่ผู้ที่จะอ้างความคุ้มครองตามกฎหมาย และไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ เมื่อนาย ข.
มิใช่ผู้เสียหาย นาย ก. จึงไม่อาจจัดการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องแทน นาย ข. ในข้อหานี้ด้วย
อนึ่ง เมื่อนาย ข. มิใช่ผู้เสียหายแล้ว กรณีนี้ย่อมไม่จำาเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นตามกฎหมายว่าการจดทะเบียนสมรสของนาย ก.
จะมีผลย้อนหลังให้นาย ก. มีฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ นาย ข. มาตั้งแต่ยื่นฟ้องหรือไม่ (มาตรา 5 (1) และประเด็น
ตามกฎหมายว่ามูลกรณีเข้าเกณฑ์ที่จะจัดการฟ้องในข้อหาฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจราจรทางบกแทนนาย ข. ในฐานะผู้บุพการี
(มาตรา 5 (2) )ได้หรือไม่แต่ประการใด

ในคดีอาญามี นาย ก. นาย ข. และนาย ค. ร่วมกระทำาความผิดด้วยกันฐานฆ่าผู้อื่น ตำารวจจับนาย ก. ได้โดยในชั้นสอบสวน


นาย ก. ให้การรับสารภาพและว่านาย ข. และนาย ค. ร่วมกระทำาความผิดด้วย อัยการได้ยื่นฟ้องนาย ก. ต่อศาล และศาลมีคำา
พิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษไปแล้ว ต่อมาตำารวจจับนาย ข. และนาย ค. ได้ แต่อัยการได้ฟ้องเฉพาะนาย ข. ต่อศาล สำาหรับนาย
ค. นั้นอัยการสั่งไม่ฟ้องเพราะหลักฐานไม่พอ ซึ่งได้ให้ตำารวจสอบไว้เป็นพยาน ต่อมาบุตรของผู้ตายได้ฟ้องนาย ค. ในเรื่องร่วม
กันฆ่าผู้อื่น และศาลมีคำาสั่งให้รวมการพิจารณากับคดีของอัยการ เช่นนี้ อัยการจะฟ้องนาย ก. นาย ค. เป็นพยานในชั้นศาลได้
หรือไม่ ให้ยกหลักกฎหมายและเหตุผลประกอบ
เฉลย
เกี่ยวกับการอ้างบุคคลเป็นพยาน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาวางหลักไว้ว่า “ห้ามมิให้โจทก์อ้างจำาเลยเป็น
พยาน” (มาตรา 232) ดังนั้นตามหลักแล้วโจทก์ไม่ว่าจะเป็นพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายจะอ้างจำาเลยในคดีนั้นเป็นพยานไม่
ได้
คำาว่า “จำาเลย” นั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(3) หมายความถึง “บุคคลผู้ถูกฟ้องยังศาลแล้วโดย
ข้อหาว่าได้กระทำาความผิด”
ด้วยเหตุนี้ หากบุคคลใดที่เป็นผู้กระทำาความผิดแต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ยังไม่เรียกว่าเป็นจำาเลย โจทก์ย่อมอ้างเป็นพยานได้
และจำาเลยในที่นี้ต้องเป็นจำาเลยในคดีที่โจทก์ฟ้องอยู่นั้นโดยเป็นคดีเกี่ยวกันจะรวมการพิจารณาก็ได้ ถือว่าเป็นคดีเดียวกันแล้ว
โจทก์จะอ้างจำาเลยที่ร่วมพิจารณาคดีเดียวกันเป็นพยานไม่ได้ แต่หากฟ้องคนละคดี อาจจะแยกฟ้องหรือฟ้องคนละครั้งโดยไม่มี
การรวมพิจารณาเช่นนี้ไม่ต้องห้ามที่โจทก์จะอ้างมาเป็นพยาน
กรณีตามปัญหาสำาหรับ ก. นั้นจะเห็นได้ว่าถูกฟ้องเป็นคนละคดีกับ ข. และศาลพิพากษาลงโทษ ก.ไปแล้วจึงไม่ตกเป็นจำาเลย
ในคดีเดียวกับ ข. ดังนั้นอัยการโจทก์จึงอ้าง ก. เป็นพยานในคดีที่ฟ้อง ข. ได้แม้จะได้ความว่าร่วมกระทำาผิดกับ ข. ก็ตาม
สำาหรับ ค. นั้นจะเห็นได้ว่าผู้เสียหายเป็นบุตรของผู้ตายได้ฟ้องเป็นจำาเลย และศาลได้สั่งรวมพิจารณาคดีกับคดีของพนักงาน
อัยการโจทก์แล้ว คดีจึงตกเป็นจำาเลยในคดีเดียวกับที่อัยการยื่นฟ้อง แม้พนักงานอัยการจะได้ให้ตำารวจสอบไว้เป็นพยานก็จะ
อ้างในชั้นศาลไม่ได้เพราะต้องห้ามตามหลักกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นพนักงานอัยการโจทก์จะอ้าง ก. เป็นพยานไม่ได้

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำาเลยในความผิดฐานชิงทรัพย์ โจทก์มีประจักษ์พยาน 2 ปาก แต่โจทก์ไม่สามารถนำาพยานมาเบิกความ


ที่ศาลได้ โจทก์จึงส่งคำาให้การชั้นสอบสวนของประจักษ์พยานต่อศาลแทน ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาลงโทษจำาคุก
จำาเลยในความผิดฐานชิงทรัพย์จำาคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำาเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์จำาคุก 4 ปี จำาเลยยื่นฎีกาว่า
พยานหลักฐานที่โจทก์นำาสืบมานั้นเป็นคำาให้การชั้นสอบสวนจึงเป็นพยานบอกเล่า ไม่สามารถรับฟังลงโทษจำาเลยได้ ขอให้ศาล
ฎีกาพิพากษายกฟ้อง ดังนี้ ฎีกาของจำาเลยต้องห้ามหรือไม่

เฉลย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วางหลักไว้ว่าในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือ
เพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำาคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับหรือทั้งจำาทั้งปรับ แต่โทษจำาคุกไม่เกิน 5 ปี ห้ามมิให้คู่ความ
อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
กรณีตามปัญหาศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำาเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์จำาคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำาเลยมีความผิดฐาน
ชิงทรัพย์เช่นเดียวกัน เพียงแต่แก้ให้ลงโทษจำาคุก 4 ปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงจำาคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้
อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่จำาเลยฎีกาว่าพยานโจทก์เป็นพยานบอกเล่าไม่อาจรับฟังลงโทษจำาเลยได้นั้น เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายจึงไม่
ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมาย ฎีกาของจำาเลยจึงไม่ต้องห้าม

โจทก์ฟ้องคดีอาญาขอให้ศาลลงโทษจำาเลยในความผิด 2 กระทง คือทำาร้ายผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายตามประมวล


กฎหมายอาญา มาตรา 295 มีอัตราโทษจำาคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท และความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลาง
คืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) ซึ่งมีอัตราโทษจำาคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000
บาท ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำาเลยมีความผิดทั้งสองกระทงแต่จำาเลยอายุเพียง 15 ปี ไม่ควรลงโทษจำาคุกให้ส่งตัว
จำาเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางมีกำาหนด 3 ปี จำาเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำาความผิดฐานทำาร้ายร่างกาย
และไม่ได้ลักทรัพย์ตามฟ้อง ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายอฟ้อง จงอธิบายโดยยก
หลักกฎหมายประกอบว่าอุทธรณ์ของจำาเลยต้องห้ามตามหลักกฎหมายหรือไม่เพราะเหตุใด

เฉลย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ วางหลักไว้ว่า “ห้ามมิให้อุทธรณ์คำาพิพากษาศาลชั้นต้นใน
ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำาหนดไว้ให้จำาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ
ทั้งจำาทั้งปรับ เว้นแต่
(1) จำาเลยต้องคำาพิพากษาให้ลงโทษจำาคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจำาคุก
(2) จำาเลยต้องคำาพิพากษาให้ลงโทษจำาคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้
(3) ศาลพิพากษาว่า จำาเลยมีความผิดแต่รอการลงโทษไว้ หรือ
(4) จำาเลยต้องคำาพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินกว่าห้าร้อยบาท
กรณีตามปัญหา กระทงที่จำาเลยถูกฟ้องว่ากระทำาความผิดฐานทำาร้ายร่างกายนั้นมีอัตราโทษจำาคุกเพียงสองปีหรือปรับไม่เกิน
4,000 บาท อัตราโทษไม่เกินกว่าที่กำาหนดไว้ข้างต้น การที่ศาลพิพากษาว่าจำาเลยมีความผิดแต่ให้ส่งตัวไปฝึกอบรมที่สถาน
พินิจและคุ้มครองเด็กกลาง ไม่เป็นการพิพากษาลงโทษจำาคุกหรือกักขังหรือรอการกำาหนดโทษแต่อย่างใด จึงต้องห้ามมิให้
อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่จำาเลยอุทธรณ์ว่าจำาเลยไม่ได้กระทำาความผิดฐานทำาร้ายร่างกายและฐานลักทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานไม่
ถูกต้องนั้นเป็นการอุทธรณ์เกี่ยวกับดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์
ของจำาเลยในความผิดฐานทำาร้ายร่างกายจึงต้องห้ามตามกฎหมาย
ความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนนั้นมีอัตราโทษจำาคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปีซึ่งมีอัตราโทษเกินกว่าที่กฎหมายกำาหนดไว้ข้าง
ต้นจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จำาเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนได้

ก. ลักสลากกินแบ่งรัฐบาลราคาฉบับละ 20 บาทจำานวน 2 ฉบับของ ข.ไป ปรากฏว่าฉบับหนึ่งถูกรางวัลเป็นเงิน 5,000 บาท


ก.จึงเอาไปขึ้นเงิน ต่อมาเจ้าพนักงานจับ ก. และอัยการยื่นฟ้อง ก. ฐานลักทรัพย์ ขอให้จำาเลยคืนเงินรางวัลจำานวน 5,000 บาท
แก่ผู้เสียหายกับค่าใช้จ่ายทีผ่ ู้เสียหายต้องเสียไปในการเนินคดี ศาลพิจารณาแล้วพิพากษาลงโทษจำาเลยกับสั่งให้จำาเลยคืนเงิน
รางวัลจำานวน 5,000 บาทแก่ผู้เสียหาย ส่วนคำาขออื่นให้ยก ดังนี้ คำาสั่งของศาลชอบหรือไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 วางหลักไว้ว่า คดีลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก
ฉ้อโกง ยักยอกหรือรับของโจร ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำาผิดคืน
เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญาก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย
จากหลักกฎหมายดังกล่าว อัยการจึงมีอำานาจเรียกร้องทรัพย์สินคืนหรือเรียกเอาราคาทรัพย์สินตามประเภทคดีรวม 9 ประเภท
และมีอำานาจจำากัดเฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่ต้องสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำาผิดคืนเท่านั้น
การเรียกร้องอย่างอื่น เช่น ค่าเสียหายในการละเมิดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปเนื่องจากการทำาผิด รวมทั้งการเรียกร้องประการอื่น
นอกจากที่เรียกคืนทรัพย์หรือเรียกให้ชดใช้ราคาทรัพย์ผู้เสียหายจะต้องดำาเนินการเอง
ตามปัญหา คำาสั่งที่สั่งให้จำาเลยใช้คืนเงินรางวัล 5,000 บาท นั้นชอบแล้ว เพราะว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลฉบับที่ถูกรางวัลย่อมมี
มูลค่าเท่ากับรางวัลที่ได้รับ เมื่ออัยการฟ้องคดีอาญาฐานลักทรัพย์จึงมีอำานาจเรียกให้ ก. ชดใช้คืนเงินรางวัลแทน ข. ได้ ตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43
สำาหรับค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายต้องเสียไปในการดำาเนินคดีคำาสั่งศาลที่สั่งให้ยกคำาขอในส่วนนี้ชอบแล้ว เพราะอำานาจของอัยการ
คามมาตรานี้จำากัดเฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำาผิดนั้น และ
อัยการได้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหาย ดังนั้น อัยการจึงไม่มอี ำานาจขอให้จำาเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ ข. ต้องเสียไป
ในการดำาเนินคดีให้แก่ ข.
สรุป คำาสั่งศาลที่สั่งให้จำาเลยใช้คืนเงินรางวัล และยกคำาขอของอัยการที่ให้จำาเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ ข. ต้องเสียไปในการ
ดำาเนินคดีนั้น ชอบแล้ว

โจทก์ฟ้องจำาเลยในคดีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำาคุกจำาเลย


จำาเลยฎีกา ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ยื่นคำาร้องขอถอนฟ้อง ศาลถามจำาเลยแล้วจำาเลยไม่คัดค้าน ศาลฎีกาจึง
อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้มีคำาพิพากษายกคำาพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาลงโทษจำาคุกจำาเลย ดังนี้ คำา
พิพากษาของศาลอุทธรณ์จะมีผลอย่างไร

เฉลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 วางหลักไว้ว่า คดีอาญาที่ได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้วจะนำามาฟ้องอีกหา
ได้ไม่ เว้นแต่จะเข้าอยู่ในข้อยกเว้นดังต่อไปนี้
ฯลฯ
(3) ถ้าผู้เสียหายไดยื่นฟ้องคดีอาญาๆว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย การถอนฟ้องนี้ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้นใหม่
เว้นแต่คดีตามความผิดต่อส่วนตัว
จากหลักกฎหมายดังกล่าว ในกรณีที่ผู้เสียหายได้ถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวซึ่งตนได้เป็นโจทก์ฟ้องไปแล้ว พนักงาน
อัยการย่อมไม่มสี ิทธิฟ้องคดีนั้นใหม่เพราะถือว่าคดีอาญาได้ระงับไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
39 (2) และการถอนฟ้องนี้ย่อมมีผลไปถึงศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาด้วย
ตามปัญหา ความผิดฐานยักยอกทรัพย์เป็นความผิดต่อส่วนตัวซึ่งยอมความกันได้ เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องในระหว่างที่คดีอยู่ใน
ชั้นศาลฎีกาโดยจำาเลยไม่ได้คัดค้าน และศาลฎีกาอนุญาตให้ให้โจทก์ถอนฟ้องได้ สิทธิในการนำาคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) คำาพิพากษาของศาลอุทธรณ์แม้จะพิพากษาลงโทษจำาเลยไว้ก็
ย่อมระงับไปในตัวไม่มีผลบังคับต่อไป ศาลฎีกาจึงไม่จำาเป็นต้องมีคำาพิพากษาให้ยกคำาพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษา
ลงโทษจำาคุกจำาเลยแต่อย่างใด
สรุป คำาพิพากษาของศาลอุทธรณ์ไม่มีผลบังคับแก่จำาเลย เพราะโจทก์ถอนฟ้องคดีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิด
ต่อส่วนตัว คดีอาญาระงับไปแล้วคำาพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมระงับไปในตัว

นาย ก. บิดานางสาว ข. มีความประสงค์จะยื่นฟ้องกล่าวหานาย ค. เนื่องจากนาย ค. พรากนางสาว ข. ผู้เยาว์ไปเพื่อการ


อนาจาร และต่อมาในระหว่างอยู่กินกัน นาย ค. เมาสุราใช้กำาลังทุบตีนางสาว ข. จนเป็นเหตุให้นางสาว ข. ถึงแก่ความตาย ข้อ
เท็จจริงได้ความว่า นางสาว ข. สมัครใจหนีตามนาย ค. ไปเอง ส่วนนาย ก. นั้นเป็นบิดาของนางสาว ข. จริง แต่ไม่ได้จด
ทะเบียนสมรสกับมารดาของนางสาว ข. และไม่ปรากฏว่านาย ก. ได้จดทะเบียนรับรองนางสาว ข. เป็นบุตร ดังนี้ ถ้าการกระทำา
ของนาย ค. เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์และทำาร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย จงวินิจฉัยว่า นาย ก. มีอำานาจเป็น
โจทก์ยื่นฟ้องนาย ค. ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้วางหลักเกี่ยวกับผู้เสียหายไว้ว่า “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความ
เสียหายเนื่องจากการกระทำาผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำานาจจัดการแทนได้ ดังได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย ซึ่งได้แก่
1. ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำาต่อผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
2. ผูบ้ ุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำาร้ายถึงตาย หรือบาดเจ็บไม่สามารถ
จัดการเองได้
ผูซ้ ึ่งมีอำานาจจัดการแทนผู้เสียหายดังกล่าวมีอำานาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
สำาหรับกรณีตามปัญหา ขอแยกพิจารณาเป็นสองประเด็น
สำาหรับปัญหาผู้เยาว์ นาย ก. เป็นผู้เสียหายเนื่องจากนาย ค. พรากนางสาว ข. ไปเสียจากความดูแลของตน มิใช่กรณีที่นางสาว
ข. เป็นผู้เสียหายและนาย ก. จัดการยื่นฟ้องแทนในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม (มาตรา 5(1) ) หรือ ในฐานะเป็นผู้บุพการี
(มาตรา 5(2) ) นาย ก. จึงย่อมมีอำานาจเป็นโจทก์ฟ้องนาย ค. ในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ได้
ส่วนข้อหาทำาร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ถึงแม้โดยนิตินัย นาย ก. จะไม่มีความสัมพันธ์ฉันบิดาและ
บุตรกับนางสาว ข. ก็ตาม แต่นาย ก. ก็เป็นบิดาที่แท้จริงของนางสาว ข. ผูเ้ สียหายซึ่งถูกทำาร้ายถึงแก่ความตาย จึงถือเป็นผู้
บุพการีตามนัยหลักกฎหมายดังกล่าวที่จะจัดการยื่นฟฟ้องคดีแทนนางสาว ข. ได้ (มาตรา 5(2) ) นาย ก. จึงมีอำานาจเป็นโจทก์
ฟ้องนาย ค. ฐานทำาร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกัน

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 2

โจทก์ฟ้องให้บังคับชำาระหนี้ตามสัญญาและขอให้ยึดทรัพย์จำาเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำาสั่งตาม
คำาขอ ต่อมาศาลชั้นต้น พิพากษายกฟ้องและสั่งให้ถอนการยึดทรัพย์นั้นด้วย โจทก์อุทธรณ์และร้องขอต่อศาลอุทธรณ์ให้สั่งยึด
ทรัพย์จำาเลยชั่วคราว ในระหว่างอุทธรณ์ก่อนมีคำาพิพากษาศาลอุทธรณ์มีคำาสัง่ ให้ ยึดทรัพย์นั้นต่อไป จำาเลยจึงยื่นฎีกาขอให้
ถอนการยึดทรัพย์นั้น โจทก์ค้านอ้างว่าจำาเลยไม่มีสิทธิฎีกา เนื่องจากกฎหมายกำาหนดให้จำาเลยยื่นคำาขอต่อศาลให้ถอนหมาย
ยึดชั่วคราวเท่านั้น คำาค้านของโจทก์ฟังขึ้นหรือไม่

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 ภาค 1/2548

โจทก์ฟ้องจำาเลยในข้อหาปล้นทรัพย์ สืบพยานโจทก์จำาเลยได้ข้อเท็จจริงว่า จำาเลยที่ 1,2,3 ไม่ได้ปล้นทรัพย์โจทก์แต่พยายาม


ข่มขืนกระทำาชำาเรา ซึ่งโทษกระทำาชำาเราน้อยกว่าปล้นทรัพย์ ศาลจะลงโทษจำาเลยทั้ง 3 ในฐานพยายามข่มขืนกระทำาชำาเราได้
หรือไม่ เพราะเหตุใด

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3
นายสมปอง ยื่นฟ้องนายสมชายข้อหาหมิ่นประมาท สาเหตุเนื่องมาจากนายสมชายกล่าวคำาหมิ่นประมาท นายสมปอง ระ
หว่างศาลพิจรณาคดี นายสมปองเป็นลมตาย และนายสมปองมีญาติอยู่เพียง ๒ คนคือ นายหนึ่ง ซึ่งเป็นปู่ และนายสองซึ่งเป็น
ลูกชาย มีอายุ ๑๖ ปี
ทั้งนายหนึ่งและนายสองต่างยื่นคำาร้องต่อศาล ขอดำาเนินคดี นายสมชายข้อหาหมิ่นประมาทแทนนายสมปองต่อไป
ดังนี้ ศาลจะอนุญาตตามคำาร้อง ของนายหนึ่งและนายสองหรือไม่ เพราะเหตุใด

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 1

1. 18 เมษายน 2548 ก.ยื่นฟ้องนาย ข. ให้ชำาระเงินคืนโดยระบุคำาฟ้องว่า ข.มีภูมลิ ำาเนาอยู่ จ.นนทบุรี ศาลประทับรับฟ้อง เมื่อ


ส่งหมายเรียกและสำาเนาฟ้อง กลับส่งไม่ได้ ต่อมา ก.ยื่นคำาร้องขอแก้ไขคำาฟ้องว่า เดิม ข.มีภูมลิ ำาเนาอยู่ นนทบุรี แต่ได้ย้ายไป
อยู่ปทุมธานีเมื่อ 18 ธันวาคม 2547 ถามว่า ถ้าหากท่านเป็นศาลจะมีคำาสั่งอย่างไร

2. คดีแรก เอกฟ้องโท ว่าขับรถประมาท ให้ชำาระค่าเสียหาย 200,00.- พร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่านายโทขับรถ


ประมาท ให้ชำาระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย ต่อมา 25 วัน นายโทยื่นอุทธรณ์ ให้พิพากษากลับยกฟ้อง และในวันเดี่ยวกัน นาย
โทยื่นคำาฟ้องในคดีหลังในมูลฟ้องเดียวกัน โดยให้นายเอกชำาระค่าซ่อมรถพร้อมดอกเบี้ย ให้วินิจฉัยว่าคดีหลัง เป็นฟ้องซำ้า หรือ
การดำาเนินกระบวนการพิจารณาซำ้า

3. นายมี ฟ้องนายมา ให้ชำาระหนี้พร้อมดอกเบี้ย ในสัญญากู้ยืมเงิน นายมาให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินกัน แต่ได้ซื้อสินค้าจาก


นายมีแล้วยังชำาระเงินไม่หมด จึงลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยมื เงินไว้ให้ แต่ได้ชำาระค่าสินค้าหมดแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานการชำาระ
หนี้และไม่มีการทำาลายสัญญากู้ นายมาจะนำาพยานบุคคลมาสืบหักล้างได้หรือไม่

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 2

1. โจทก์ฟ้องหย่าอ้างเหตุหย่าตามกฎหมาย จำาเลยให้การไม่มีเหตุหย่าพร้อมฟ้องแย้งขอให้แบ่งท่ดินสินสมรสให้จำาเลยครึ่งหนึ่ง
ศาลสั่งรับฟ้องและฟ้องแย้ง โจทก์ให้การว่าฟ้องแย้งไม่ชอบ ขอให้ศาลสั่งยกฟ้องแย้ง คำาสั่งรับฟ้องและฟ้องแย้งของศาลชอบ
หรือไม่ ( ตอบ ม. 173 )

2. โจทย์ฟ้องขับไล่จำาเลยจากตึกแถวว่าเป็นตึกแถวของโจทย์ พร้อมเรียกค่าเสียหายเดือนละ 500 บาท จำาเลยให้การปฏิเสธว่า


ตึกแถวเป็นของแม่จำาเลย จำาเลยมีสิทธิ์อยู่ไม่น่าทำาให้โจทย์เสียหาย .........จำาต่อไม่ได้ ทราบแต่ว่าดูในเล่ม 1 หน้า 198 ฎีกาที่
1619/2506 ส่วนที่ยกเลิกแล้ว ไม่กล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นของจำาเลย (ตอบ ม. 224 ว. 2)

3. ด และ ล กู้เงิน ข 5,000,000 โดย ก คำ้าประกัน ทำาธุรกิจขาดทุน ข เรียกชำาระหนี้ ด จ่าย 2,500,000 ก จ่าย 1,000,000 ส่วน
ล ไม่มีเงินชำาระ ข ฟ้อง ล ล้มละลาย หลังพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ด ก ข ต่างขอรับชำาระหนี้คนละ 5,000,000 จงวินิจฉัยว่า แต่ละ
คนรับชำาระหนี้ได้คนละเท่าไหร่ (ตอบ ม.9 ม 101)

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 ภาค 2/2548


1. นายชายมีภูมิลำาเนาอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำารวจหนองจอก ได้ชิงทรัพย์นายชาติในเขตท้องที่สถานีตำารวจมีนบุรี นายชาติไม่
ยอมเกิดการต่อสู้กันนายชายได้รับบาดเจ็บระหว่างต่อสู้ได้กระชากสร้อยคอนายชาติ และได้พาทรัพย์นั้นไปอยู่บ้านของตน ในที่
เกิดเหตุนั้นไม่มีผู้ใดเห็นเหตุการณ์ นายชายไปรักษาที่โรงพยาบาลและขายสร้อยคอในเขตท้องที่สถานีตำารวจหนองจอก
พนักงานสืบสวนเขตท้องที่สถานีตำารวจมีนบุรีสืบทราบว่านายชายอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำารวจหนองจอก จึงขอความร่วมมือให้
สถานีตำารวจหนองจอกช่วยจับนายชายให้ และจับนายชายได้ที่บ้านพัก ดังนั้น สถานีตำารวจเขตหนองจอกมีอำานาจในการ
สืบสวนดำาเนินคดีแทนสถานีตำารวจมีนบุรีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

2. นายศักดิ์กับนายสุขเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายกบ นายศักดิ์ถูกนายเขียดใช้อาวุธปืนฆ่านายศักดิ์ตาย นายกบ


จึงเป็นโจทย์ยื่นโฟ้องนายเขียดฐานฆ่านายศักดิ์ตายคดีอยู่ระหว่างพิจารณานายกบป่วยหนักและเสียชีวิต นายสุขจะขอดำาเนิน
คดีต่อจากนายกบจึงมาปรึกษาท่านจะให้คำาแนะนำานายสุขอย่างไร เพราะเหตุใด

3. นายผันเป็นโจทก์ฟ้องนายผิวฐานทำาร้ายร่างกายถูกตีที่ศีรษะ ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีและพิพากษาให้นายผิวมีความผิดฐาน
ทำาร้ายร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ นายผันไม่พอใจคำาพิพากษาจึงอุทธรณ์ให้
ศาลลงโทษนายผิว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จะเรียกสำานวนและสืบพยานใหม่ได้หรือไม่
เพราะเหตุใด

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3

นายสมปองยื่นฟ้องนายสมชายข้อหาหมิ่นประมาท สาเหตุเนื่องจาก นายสมชายกล่าวคำาหมิ่นประมาทนายสมปอง ระหว่าง


ศาลพิจารณาคดี นายสปองเป็นลมตาย นายสมปองมีญาติเพียง ๒ คน คือ ปู่ อายุ๘๐ ปี ชื่อ นายหนึ่ง และลูกชายอายุ ๑๖ ปี
คือ นายสอง ทั้งนายหนึ่งและนายสอง ต่างยื่นคำาร้องต่อศาล ขอดำาเนินคดี นายสมชาย ข้อหาหมิ่นประมาท แทนนายสมปอง
ต่อไป ดังนี้ถ้าเป็นศาลท่านจะอนุญาตตามคำาร้อง ของนายหนึ่ง และนายสองหรือไม่ เพราะเหตุใด...

หลักกฎหมาย ป.วิอาญาม.๕(๑),ม. ๒๙
เมื่อผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ป.วิอาญา ม. ๒๙ กำาหนดให้ ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา ของผู้เสียหายที่แท้จริง
สามารถยื่นคำาร้องต่อศาลขอเข้ามาดำาเนินคดีแทนผู้ตายต่อไปก็ได้
กรณีตามปัญหา เมื่อนายสมปอง ยื่นฟ้อง นายสมชายแล้วเป็นลมตายลง ถึงแม้ข้อหาที่ฟ้องจะเป็นข้อหาหมิ่นประมาท ก็เป็น
กรณีตาม ป.วิอาญา ม. ๒๙
ดังนั้น นายหนึ่งซึ่งเป็นปู่ ของนายสมปอง ถือว่าเป็นผู้บุพการี ของนายสมปอง จึงมีสิทธิเข้าดำาเนินคดีนายสมชาย ในข้อหา
หมิ่นประมาทแทนนายสมปองต่อไปได้
ส่วนนายสองนั้นแม้จะเป็นลูกชาย ของนายสมปอง ซึ่งถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน แต่เนื่องจากนายสอง มีอายุ ๑๖ ปี ยังอยู่ในฐานะ
ผูเ้ ยาว์ ซึ่งกฎหมายกำาหนดให้
ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมเป็นผู้จัดการแทน ในกรณีความผิดอาญาได้กระทำาต่อผู้เยาว์ ตามป.วิอาญา ม. ๕(๑) ผู้เยาว์จึงไม่อาจฟ้อง
คดีอาญา และไม่สามารถเข้ารับมรดกความทางอาญาด้วย
ดังนั้น ศาลจึงต้องสั่งอนุญาต ตามคำาร้องของนายหนึ่ง และ ยกคำาร้องของนายสอง ตามหลักกฎหมายดังกล่าว และได้ปรับ
วินิจฉัยแล้วข้างต้น
1. ก. กับ ข. เป็นลูกหนี้ร่วม ค. จำานวน 600000 บาท ข.ได้ใช้หนี้ให้ ค.ไปแล้วบางส่วนเป็นจำานวนเงิน 500000 บาท ต่อมา ก.ถูก
เจ้าหนี้รายอื่นฟ้องล้มละลาย ค.ขอชำาระหนี้ส่วนที่เหลือ 100000 บาท ถามว่า ข. จะขอชำาระหนี้ได้เท่าไร และถ้า ค.ไม่ขอชำาระ
หนี้ ข.จะขอชำาระหนี้ได้เท่าไร

2. ก. ฟ้องขับไล่ ข. ออกจากที่ ข. ให้การว่าและฟ้องแย้งว่าที่เป็นของตนและถ้าออกไปต้องเสียค่าใช้จ่าย 3000 ในการที่ตนได้


ถมทีส่ ่วนที่เป็นหลุมและค่าฟ้องขับไล่ผู้คนที่อาศัยอยู่ก่อนนี้ออกไป ศาลจะรับคำาให้การและฟ้องแย้งจำาเลยหรือไม่

3. ก.ฟ้อง ข. ออกจากห้องเช่า เรียกค่าเช่าเดือนละ 3000 บาท ข.ให้การว่าสัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ และฟ้อง


ของโจทก์เคลือบคลุมไม่รู้วา่ เช่าที่ใด ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ ข.แพ้คดี ให้ออกจากที่และใช้ค่าเสียหายเดือนละ 50 บาท จนถึงวัน
ที่ออกไป ข.อุทธรณ์เรื่องฟ้องเคลือบคลุม และฎีกาว่าสัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษได้หรือไม่

ข้อสอบกฎหมายวิธีสบัญญัติ 1 ภาคการศึกษาพิเศษ /2548

1. โจทก์ฟ้องจำาเลย เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 ให้ชำาระหนี้ ระหว่างพิจารณาจำาเลยเสียชีวิต บุตรได้ขอเข้ามาเป็นคู่ความ


แทนที่จำาเลย เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2549 โดยอ้างว่าเพิ่งกลับจากต่างประเทศ ศาลสั่งอนุญาตและมีคำาพิพากษาให้จำาเลยใช้เงิน
โจทก์ ถามว่า คำาสั่งศาลชอบหรือไม่ บุตรผู้ตายต้องรับชำาระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ อย่างไร

2. นายโท ฟ้องขับไล่ นายเอก ให้ออกจากที่พิพาทเนื่องจากหมดสัญญาเช่าแล้ว ต่อมาได้ตกลงประนีประนอมยอมความกัน


ศาลได้มีคำาพิพากษาตามที่คู่ความตกลง โดยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ โดยตกลงว่า นายโท ได้ทำาสัญญาขายที่ให้นายเอก และให้นาย
เอกชำาระเป็นงวดๆ รวม 10 ปี ต่อมาหลังจากนั้น นายโท จึงได้ยื่นฟ้องนายเอก ฟ้องขับไล่จากที่พิพาทดังกล่าวอีก โดยอ้างว่า
นายเอก ไม่ทำาตามที่ตกลง นายเอกปฏิเสธ และโต้แย้งว่าได้ชำาระเงินเป็นวงดๆ ตลอดตามตกลงแล้ว นายโทยอมรับตามคำาโต้
แย้งของนายเอก

3. โจทก์ฟ้องว่าจำาเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำาเลยที่ 2 ว่าขับรถประมาทชนรถของโจทก์ได้รับความเสียหาย ให้รับผิดเรื่องละเมิดร่วม


กัน เนื่องจากจำาเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำาเลยที่ 2 พร้อมเรียกค่าเสียหายจำานวนหนึ่ง จำาเลยทั้งสองให้ปฏิเสธว่า จำาเลยที่ 1 ไม่
ได้ทำาละเมิดในทางกางจ้างงาน เพราะจำาเลยที่ 1 แอบเอารถไปใช้โดยพลการ จำาเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายตาม
ฟ้อง แต่ในการนำาสืบ โจทก์และจำาเลย ก็ไม่ได้นำาสืบให้เห็นถึงกรณีตามอ้างในคำาฟ้องหรือในคำาให้การของจำาเลยแต่อย่างใด
ถ้าท่านเป็นศาล ท่านจะรับฟังพยานหลักฐานได้หรือไม่ อย่างไร

You might also like