You are on page 1of 95

พระธรรมวิสุทธิมงคล

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
วัดเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) บ้านตาด ตำ�บลบ้านตาด
อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
จิตว่างเพราะวางกาย
ถ้าท่านผู้ ใดประสงค์จะพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน
ท่านผู้นั้นกรุณาพิมพ์ ได้ตามประสงค์
โดยไม่ต้องขออนุญาตแต่อย่างใด
นอกจากพิมพ์เพื่อจำ�หน่ายจึงขอสงวนลิขสิทธิ์
เพราะผู้แสดงไม่ต้องการอะไร
ยิ่งกว่าใจที่เป็นสมบัติล้นค่ากว่าสมบัติใดๆ ในโลก

พิมพ์ครั้งที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๔


จำ�นวนพิมพ์ ๕,๐๐๐ เล่ม
รวบรวมต้นฉบับ วิลาวัณย์ เอื้อวงศ์กูล
ออกแบบ/จัดรูปเล่ม บันลือ กุณรักษ์
ภาพประกอบ จากหนังสือหยดน้ำ�บนใบบัว
ประสานงานโรงพิมพ์ จิตติ กิจพงษ์ประพันธ์
พิมพ์ที่ หจก.ขอนแก่นการพิมพ์
ถนนรื่นรมย์ อ.เมือง
จ.ขอนแก่น ๔๐๐๐๐
โทรศัพท์ ๐๔๓ ๒๒๑๙๓๘
คำ�นำ�
จิตว่างเพราะวางกาย เป็นกัณฑ์เทศน์หนึ่งที่องค์หลวงตาพระมหาบัว
ญาณสัมปันโน เทศน์ โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่
๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙ หรือเมื่อ ๓๕ ปีที่แล้ว นับเป็น ๑ ใน ๘ กัณฑ์
เทศนาซึ่งคณะผู้จัดพิมพ์ขอน้อมนำ�มาบรรจุไว้ ในหนังสือเล่มนี้ เพื่อน้อมถวาย
เป็นอาจาริยบูชาแด่พระธรรมวิสุทธิมงคล หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
และเพื่อเป็นมรณานุสติสำ�หรับผู้ยังมีชีวิตอยู่ทุกคน โดยจัดพิมพ์เพื่อแจกเป็น
ธรรมทานเนื่องในงานพระราชทานเพลิงสรีระสังขารองค์หลวงตาพระมหาบัว
ญาณสัมปันโน วันเสาร์ที่ ๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔ ณ วัดเกสรศีลคุณ
(วัดป่าบ้านตาด) บ้านตาด ตำ�บลบ้านตาด อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ขออานุภาพแห่งคุณพระรัตนตรัยและอานิสงส์แห่งบุญที่ ได้จากการ
ทำ�หนังสือเล่มนี้น้อมถวายเป็นอาจาริยบูชาและขอน้อมส่งดวงวิญณาณของ
องค์หลวงตาพระมหาบัวไปสู่มรรคผลอันเป็นนิพพานด้วยเทอญ และขอให้
ข้าพเจ้าตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาที่ ได้สละกำ�ลังกายกำ�ลังทรัพย์ ในการจัดพิมพ์
หนังสือเล่มนี้จงเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ
ทุกประการ เป็นผลปัจจัยให้ถึงซึ่งพระนิพพานในอนาคตด้วยเทอญ

คณะผู้จัดพิมพ์
สารบัญ
ไม่มีอะไรตาย ๗
ความตายเป็นธรรมดา ๑๙
จิตว่างเพราะวางกาย ๒๙
จงพยายามเปลี่ยนเสื้อให้ทันสมัยก่อนตาย ๔๓
ใจไม่เคยตาย ๕๗
หัดตาย ๖๕
ตอบปัญหาเรื่องนิพพาน ๗๙
เมรุ ๙๑
ไม่มีอะไรตาย
เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๙

การประพฤติตัวก็เหมือนเราเดินทาง ย่อมสำ�คัญทางผิดว่าเป็นทางถูก
แล้วเดินไป ถ้าไม่หลงก็ไม่เดินทางผิด เดินทางทีถ่ กู เรื่อยๆ ไป ถ้าไม่หลงก็ไม่ท�ำ ผิด
ไม่พูดผิด ไม่คิดผิด ไม่ถือผิด ผลก็ ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ตัวเอง
การหลงทางก็เป็นโทษอันหนึง่ ทีท่ �ำ ให้เสียเวล่�ำ เวลาและเหนื่อยเปล่าๆ
การทำ�ผิด การพูดผิด คิดผิด ก็ทำ�ให้ทั้งเสียเวลา ทั้งเป็นโทษทุกข์เกิดขึ้นแก่ตัว
นี่คือผลที่เกิดขึ้นจากการทำ�ผิด พูดผิด คิดผิด ของผู้ประพฤติตามอารมณ์ ใจ
ชอบ
พระพุทธเจ้าทรงสอนเพื่อให้ทราบว่า ใจเรามักมีความเห็นผิดอยู่เสมอ
ให้พยายามแก้สง่ิ ทีผ่ ดิ อยูภ่ ายในใจ ทีจ่ ะระบายออกทางกาย วาจา ทางใจ ให้เป็น
ความผิดนั้น กลับให้เป็นความถูกต้องดีงามอยู่เสมอ ให้พยายามแก้สิ่งที่ผิดอยู่
ภายในจิต ผลจะถึง “สมหวัง” เพราะเหตุที่ถูกต้องผลย่อมดีเสมอไป ถ้าเหตุผิด
ผลนั้นจะลบล้างเหตุไม่ได้ คือจะปิดกั้นไว้ไม่อยู่ ต้องแสดงเป็นความทุกข์ร้อน
ต่าง ๆ ออกมา
คำ�ว่า “ความหลง” นี้ เมื่อนับจำ�นวนคนหลงจะมีเท่าไร คนที่รู้จะมี
เท่าใด ถ้าจะเทียบกับ “คนรู้” ว่ามีเท่าใดนั้น ก็เหมือนกับเอาฝ่ามือหย่อนลง
ไปในแม่น้ำ�มหาสมุทรฝ่ามือกว้างขนาดไหน แม่น้ำ�มหาสมุทรกว้างขนาดไหน
๘ ไม่มีอะไรตาย

เมื่อเทียบกันแล้วต่างกันยิ่งกว่า “ฟ้ากับน้ำ�” ซึ่งน่าใจหายใจคว่ำ�ทีเดียว


สัตว์ โลกที่ลุ่มหลงอยู่ใน “วัฏสงสาร” นี้มีจำ�นวนมากเพียงไร ในแม่น้ำ�
มหาสมุทรยังแคบ เพราะสัตว์ โลกที่ตกอยู่ในห้วงแห่งความลุ่มหลงนั้นมีถึง
“สามโลก” ด้วยกัน ฉะนั้นมหาสมุทรจึงแคบนิดเดียว จะพูดกันเพียงว่า ผู้รู้
มีจำ�นวนน้อย ผู้ที่หลงมีจำ�นวนมากมาย
คำ�ว่า “ความหลง” เพียงคำ�เดียวเท่านี้มันถูกกับทุกรูปทุกนาม บรรดา
สัตว์สังขารที่มีวิญญาณครองกระเทือนไปทั่วโลกธาตุ รวมแล้วทั้งสามโลกธาตุ
เป็นที่อยู่แห่งปวงสัตว์ที่ลุ่มหลงทั้งนั้น ผู้ที่รู้จริงๆ ไม่มีอยู่ในโลกทั้งสามเลย
ไปนิพพานกันหมด
สัตว์ โลกที่อยู่ด้วยความลุ่มหลง ไม่ว่าท่านว่าเรามีจำ�นวนมาก เพียง
แต่เราไม่อาจจะนับได้ ทั้งๆ ที่มีรูปร่างมองเห็นกันด้วย “ตาเนื้อ” ทั้งที่ไม่มอง
เห็นด้วยตาเนื้อ ก็อยู่ในอำ�นาจแห่งความหลงที่ครอบงำ�ไว้ และผู้ที่จะมาแนะนำ�
สั่งสอน ให้อุบายวิธีการแก้ความหลงนี้ก็มีน้อยมาก
ครั้งแรกก็มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ลุ่มหลงก่อนหน้าตรัสรู้ เมื่อตรัสรู้
ธรรมเป็นความรู้แจ่มแจ้งขึ้นมา ก็ทรงนำ� “ธรรม” มาสอนเพื่อแก้ความหลง
และแสดงให้เห็นโทษของความหลง ให้เห็นคุณค่าแห่งความรู้ โดยแสดงทั้ง
เหตุทั้งผล ทั้งฝ่ายดีฝ่ายชั่ว จนกระทั่งประชาชนที่มุ่งหวังต่อความรู้ความฉลาด
เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์อย่างเต็มใจอยู่แล้ว ได้ยินได้ฟังก็เกิดความเชื่อ
ความเลื่อมใส ประพฤติปฏิบัติตาม “ธรรม” ท่าน จึงกลายเป็น “ผู้รู้” ขึ้นมาโดย
ลำ�ดับลำ�ดา ที่เราให้นามว่า “สาวกอรหันต์” เป็นลำ�ดับมา และท่านเหล่านั้นได้
“ปรินิพพาน” ไปเรื่อยๆ หรือล่วงเลยไปเป็นลำ�ดับ ความมืดมิดปิดตาของโลกก็
ยิ่งมีกำ�ลังมากขึ้น ทั้งโลกเต็มไปด้วยความหลง
ผู้ท่ีจะมาชี้แจงสั่งสอนให้รู้แจ้งเห็นจริงในความหลงทั้งหลายเหล่านั้น
ก็ไม่คอ่ ยมีเสียแล้ว โลกนีจ้ งึ อยูด่ ว้ ยความมืดมิดปิดตากัน ถึงจะมีหตู าอันสว่างอยู่
ก็สว่างตามกระแสของโลกไปเสีย ไม่ใช่สว่างด้วยความจริง คือรู้จริงเห็นจริง
ดังพระพุทธเจ้าและพระสาวกท่านรูเ้ ห็นมา ก็เลยกลายเป็น “หูหนาตาเถื่อน” ไป
คำ�ว่า “เถื่อน” ก็คอื ป่าเถื่อนหรือปลอมนัน่ เอง ตามีอยูก่ ป็ ลอม หูมอี ยู่
ก็ปลอม คือรับทราบหรือได้ยินแต่สิ่งที่ “จอมปลอม” เข้ามาแทรกสิงใจสัตว์
ไม่มีอะไรตาย ๙

ให้มืดมิดขึ้นโดยลำ�ดับ เพราะการได้เห็นและการได้ยินเป็นต้น ซึ่งล้วนแต่สิ่ง


จอมปลอมหลอกลวงให้ลุ่มหลงเรื่อยมา อันเป็นการเสริมสร้างให้คนป่าเถื่อน
มากขึ้น ทุกวันนี้คนรู้ขั้น “ปัญญาชน” หรือคนป่าเถื่อนกันแน่? ทำ�ไมจึงก่อแต่
“วินาศกรรม” “ฆาตกรรม” แก่กันอยู่ทุกแห่งทุกหนทั้งที่การศึกษาว่าเจริญเต็มที่
ทั้งนี้เพราะสิ่งที่แสดงออกทั้งหลายมันมีแต่สิ่งที่ให้หลงให้ โง่ เป็นทาง
อบายมุขแทบทั้งนั้น จิตก็ลุ่มหลงอย่างเต็มตัวอยู่แล้ว เมื่อสัมผัสกันก็ยิ่งเข้ากัน
ได้ง่าย และกลมกลืนกันได้อย่างรวดเร็ว ความจริงคืออรรถธรรมจึงแทรกเข้าไป
ได้ยาก เพราะฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติธรรมและการฟังธรรมที่เป็นความดี
จึงรู้สึกฝืนใจแทบจะลากกันไปไม่ไหว ลากจากสิ่งที่จิตชอบนั้นแล ซึ่งส่วนมาก
เป็นของเลว คือความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะตัณหา ซึ่งมีอยู่ภายใน
จนแทบมองหาใจไม่เห็น ใจมีแต่ของปลอมบรรจุไว้เต็มเอี๊ยดจนน่ากลัว ทั้งๆ ที่
ต่างคนต่างมีด้วยกันยังอดกลัวไม่ได้ ทั้งนี้เพราะมีมากต่อมาก เหลือหูเหลือตา
ล้นหัวใจแทบหาที่เก็บไม่ได้
สิ่งที่ปลอมกับของปลอมจึงเข้ากันได้ง่าย เช่นเดียวกับคนชั่วกับคนชั่ว
เข้ากันได้ง่าย เป็นเพื่อนเป็นมิตรสนิทสนมกันง่าย คนดีก็เข้ากับคนดีได้ง่าย
เป็นพวกของใครของเราไป ข้างนอกก็เป็นเครื่องหลอก ข้างในก็เป็นผู้ชอบรับ
สิ่งหลอกลวง จึงเข้ากันได้อย่างสนิทติดจม จนไม่สนใจคิดจะถอนหรือถอนไม่ขึ้น
นอกจากจะเชื่อตายใจกับสิ่งนั้น ๆ แทบหลับสนิทไปถ่ายเดียว
การปฏิบัติตนเพื่อแก้สิ่งจอมปลอมทั้งหลายที่เคยเป็น “นาย” บนหัวใจ
มานานออกจากใจ จึงต้องฝืน ปราชญ์ท่านเคยฝืนมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้า
องค์ไหน ๆ พาฝืนมาเป็นลำ�ดับลำ�ดา เพราะท่านเคยถูกผูกถูกมัดถูกทรมานจาก
“กิเลสวัฏวน” มามากต่อมากนานแสนนาน จนเห็นภัยและพ้นภัยด้วยการฝืน
การต่อสู้ และนำ� “ธรรม” ที่เป็นผลอันเกิดจากการต่อสู้มาสอนพวกเรา เพื่อการ
ฝืนการต่อสู้กิเลสทุกประเภท ไม่ให้ท้อถอยปล่อยตัวให้กิเลสย่ำ�ยีเหมือนผักปลา
ซึ่งขายขี้หน้าชาวพุทธ ไม่น่าให้อภัยเลย
ผู้เห็นตนเป็นของมีค่ามากกว่าสิ่งใด จึงควรนำ� “ธรรมอันล้นค่า” มาเป็น
เครื่องปฏิบัติดำ�เนินด้วยความไม่นอนใจ อย่างไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่า “ความดี”
จำ�ต้องฝืนความชั่วของชั่วอยู่โดยดี ดังพวกเราประพฤติปฏิบัติอยู่เวลานี้ ก็คือ
๑๐ ไม่มีอะไรตาย

ความฝืนสิ่งไม่ดีเพื่อความดีด้วยหัวใจชาวพุทธ แม้ออกมาอยู่ในวัดเพื่อปฏิบัติ
บำ�เพ็ญอยู่แล้ว ความรู้สึกอันดั้งเดิมย่อมมีอยู่ภายในใจเสมอ คือความขี้เกียจ
มักง่ายอ่อนแอ ความคล้อยตามสิ่งเคยคล้อยตาม ความเชื่อในสิ่งที่เคยเชื่อ
คือกิเลสชนิดต่างๆ ซึ่งเปรียบเหมือนเพลงลูกทุ่ง ย่อมยังมีอยู่ในใจ
การฝืนสิ่งเหล่านี้จึงเป็นความยากลำ�บากลำ�บนสำ�หรับผู้ปฏิบัติ แม้จะมี
ความมุง่ มัน่ ต่ออรรถต่อธรรมมากเพียงไร ก็จ�ำ ต้องได้ฝนื สิง่ ทีเ่ ป็นขวากเป็นหนาม
อยู่ภายในใจเราอยู่โดยดี กระทั่งไม่มีเหลืออยู่ในใจเลยนั่นแล จึงหาอะไรมา
ขวางหน้าไม่ได้
การปฏิบตั ธิ รรมเป็นของยาก ของลำ�บากมาแต่กาลไหนๆ ก็เพื่อเบิกทาง
ที่ถูกกิเลสปิดบัง ให้เห็นเหตุเห็นผล เห็นต้นเห็นปลาย ของอรรถของธรรม
ภายในใจ จนกว่าจะปรากฏผลขึน้ มาเป็นเครื่องสนับสนุนจิตใจให้มกี �ำ ลัง ความเชื่อ
ความเลื่อมใส ความพากเพียร ความอุตส่าห์พยายามขึ้นโดยลำ�ดับ จากนั้น
ก็ค่อยสะดวกสบาย ถึงจะยากลำ�บาก ผลที่พึงใจเป็นขั้นๆ ก็ปรากฏอยู่ภายในใจ
แล้ว แม้จะมีการฝืนอยู่บ้างก็ฝืนด้วยความพอใจ ที่จะเพิ่มพูนความสงบสุขที่ตน
มีอยู่แล้ว ให้มีกำ�ลังและความสว่างไสวยิ่งขึ้น
ข้อสำ�คัญก็คือความเห็นโทษแห่งความเป็นอยู่ด้วยความหลง ความ
เพลิดเพลินเลื่อนลอยบังอยู่ด้วยความหลง คือความประมาทนอนใจ ไม่มีสติ
ปัญญาคิดประโยชน์ ใส่ตน ยืนอยู่ด้วยความหลง นอนอยู่ด้วยความหลง เดินไป
ด้วยความหลง ในอิริยาบถทั้งสี่เป็นไปด้วยความหลง ความใฝ่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ
การมาเกิดก็มาด้วยความหลง มาอยู่ในโลกก็มาอยู่ด้วยความหลง จะไปข้างหน้า
ภพหน้าก็ ไปด้วยความหลง ความเห็นโทษสิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นเครื่องเตือนใจตน
ได้ดีเพื่อไม่ให้ประมาทนอนใจ ใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญอยู่เสมอ จะมีทาง
เห็นโทษสิ่งเหล่านี้ขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นหนทางให้เกิดความอุตส่าห์พยายาม
พิจารณาแยกแยะสิ่งเหล่านี้ออกจากใจ พอมีทางเล็ดลอดไปได้ตามกำ�ลังความ
สามารถ
อย่างไรก็อย่าลืมคำ�ว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” จะอยู่ในสภาพใดอิริยาบถ
ใดก็ตาม ให้ระลึกถึงท่านเสมอ ทั้งฝ่ายเหตุฝ่ายผลที่พระองค์ได้ทรงดำ�เนินมา
ก่อนแล้ว และทรงได้รับผลเป็นที่พอพระทัยมาแล้ว จึงทรงนำ�มาประกาศสอน
ไม่มีอะไรตาย ๑๑

โลกทั้งหลาย ว่าพระพุทธเจ้าทรงดำ�เนินอย่างไร ความทุกข์ความลำ�บากก็ ไม่มี


ใครจะเกินพระพุทธเจ้าไปได้ เพื่อความรู้ความเห็นในธรรมทั้งหลาย จนทรงรู้แจ้ง
เห็นชัด ไม่มีสิ่งใดปิดบังลี้ลับ นำ�ธรรมที่เปิดเผยในพระทัยนั้นมาสั่งสอนโลก
เพื่อได้ทำ�ตามพระองค์ ที่เรียกว่า “ตามเสด็จ”
“ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ” ไม่มีอันใดจะประเสริฐเลิศยิ่งกว่า “ธรรม”
ในบรรดาโลกทั้งสาม คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก ธรรมเป็นธรรมชาติ
ประเสริฐสุด ที่ควรยึดถือเป็นสรณะทั้งฝ่ายเหตุและฝ่ายผล ไม่มีทางปลีกและ
เป็นอย่างอื่น นอกจากนำ�ผู้ปฏิบัติให้ถึงแดนแห่งความเกษมโดยถ่ายเดียว
สมนามว่า “ธรรมเป็นของประเสริฐ” ทั้งโดยสมมุติและโดยหลักธรรมชาติ
ดังนั้นการปฏิบัติตนตามธรรมแม้จะยากลำ�บากเพียงไร ก็ควรถือว่านี้
คืองานอันประเสริฐเพื่อความพ้นจากกองทุกข์ ไม่ใช่งานเพื่อความล่มจมฉิบหาย
อย่าถือเอาความกลัวตายเพราะความพากเพียรมาเป็นใหญ่ จะมากีดขวาง
ทางเดินเพื่อความหลุดพ้นแล้วก้าวไม่ออก เพราะกลัวลำ�บาก กลัวแต่จะตาย
เพราะความอ่อนแอฉุดลากให้เป็นไป
“สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” ให้ระลึกถึงพระสงฆ์สาวกท่าน ท่านเป็นคน
เหมือนกันกับเรา ออกมาจากตระกูลต่างๆ เวลาออกมาท่านก็เป็นเหมือนเราๆ
ท่านๆ นี้แล เมื่อมาบวชเป็นพระแล้ว ก็คือคนเป็นพระนั่นเอง แต่ท่านอุตส่าห์
พยายามดำ�เนินอย่างไรบ้างจึงได้เป็น “สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” ของพวกเรา ท่าน
ก็เป็นคนเหมือนกัน ทำ�ไมท่านเลิศท่านประเสริฐยิ่งกว่าเรา เรายึดนี้เป็นหลัก
หากว่าท่านไม่มีความอุตส่าห์พยายามฝ่าฝืนอย่างจริงจัง ท่านจะเป็นผู้วิเศษวิโส
และเป็นสรณะของโลกได้อย่างไร ขอให้ยึดท่านเป็นหลักใจจะได้มีกำ�ลังใจ เวลา
กิเลสตัวขี้เกียจอ่อนแอ ตัวขี้สงสัย ตัวตำ�หนิตนว่า “บุญน้อยวาสนาน้อย” ไม่มี
ความเพียรเกิดขึ้น เพราะ “สรณะทั้งสาม” เป็นเครื่องประกันมรรคผลนิพพาน
อย่างมั่นใจอยู่แล้ว
จะเอาความตายเข้ามาฝังไว้ ในใจทั้งๆ ที่ใจนั้นคือความรู้ไม่เคยตายเลย
ทำ�ไมจึงเอาความตายเข้าไปฝังไว้ ในหัวใจเรา เอาป่าช้าไปทับถมใจเราซึ่งไม่เคย
ตายทำ�ไมนั่นเป็นความเห็นผิดอย่างยิ่ง จะทำ�อะไรกลัวแต่จะตาย ไม่ทราบว่า
“ความตาย” มีความหมายกว้างแคบขนาดไหน อะไรเป็นผู้ตาย?
๑๒ ไม่มีอะไรตาย

ใจเคยเป็นอย่างนี้ ไม่เคยตายแต่ไหนแต่ไรมา เป็นแต่เพียงเปลี่ยน


รูปเปลี่ยนร่าง เปลี่ยนสถานขั้นภูมิกำ�เนิดไปตามบุญตามกรรมเท่านั้น ที่โลกว่า
“เกิด” ว่า “ตาย”แต่ก็คือเวลาตายแล้วก็ ไปถือ “ปฏิสนธิวิญญาณ” “วิญญาณ”
เกิดใหม่เรื่อยๆ สูงๆ ต่ำ�ๆ ลุ่มๆ ดอนๆ ตามยถากรรม หรือตามบุญตามกรรม
ที่ตนได้สร้างสมอบรม อบรมมามากน้อยนั่นเอง ส่วนใจไม่เคยตาย จึงไม่ควร
เอาความตายไปผูกมัดจิตใจ
พูดง่ายๆ ไม่ต้องเอา “ความตาย” ไปแขวนคอหัวใจ จะเป็นการสร้าง
อุปสรรคสร้างความท้อถอย ความอ่อนแอ หมดความพากเพียรให้แก่ตน แทนที่
จะผ่านไปได้ แต่ความกลัวตายไปกีดกั้นทางเดินเสียก็ ไปไม่ได้ สิ่งไม่มีอย่าไป
หาเรื่องใส่ให้มีขึ้น มันเกิดโทษแก่ตนเอง
คำ�ว่า “สิ่งไม่มี” คืออะไร? คือความตายนั่นแหละไม่มีอยู่ใน “จิต” จิต
เป็นธรรมชาติไม่ตาย แม้มีกิเลสตัณหาอาสวะปกคลุมอยู่มากน้อยก็ตาม จิตเป็น
ผู้ทนทานต่อสิ่งเหล่านี้เรื่อยมา ทุกข์ก็ยอมรับว่าทุกข์ แต่ไม่ยอมฉิบหายสลายตัว
ไปเพราะถูกทุกข์ทั้งหลายบีบคั้นทำ�ลายเลย เป็นความรู้อยู่เช่นนั้น เป็นจิตอยู่
เช่นนั้น แม้จะตกนรกอเวจีก็ ไม่ตาย หากทนทุกข์ทรมานไปตามความหนักเบา
แห่งกรรมที่ตนทำ�มาเท่านั้น จึงไม่มีอะไรในโลกจะเหนียวแน่นทนทานเหมือนใจ
เลย
มาเป็นมนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นอะไร ก็คือจิตดวงไม่ตายนี้แลไปเกิดและมา
เกิด เป็นเจ้าของแห่ง “ภพกำ�เนิด” นั้นๆ ขณะนี้ใจก็อยู่ในธาตุขันธ์ที่เราเห็นอยู่
นี้ ธาตุขันธ์อันนี้เป็นของเรา ร่างกายนี้เป็นของเรา จิตมาอาศัยธาตุขันธ์นี้อยู่ไป
ชั่วกาล แล้วก็เปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติไปตามความจำ�เป็นที่ “วิบากกรรม” จะพา
ให้เป็นไป
เพราะฉะนั้น การพิจารณาทุกข์ มีทุกขเวทนาเป็นต้นที่เกิดขึ้นภายใน
ขันธ์ ก็กลัวจะตาย นี่ก็เพราะสร้างขวากสร้างหนามกีดกันทางดำ�เนิน ให้เดินเพื่อ
ความรู้จริงเห็นจริงในเวทนาไม่ได้ ความจริงมีอยู่ไม่ยอมเดินให้เข้าถึงความจริง
เพราะความหลงมันบังคับนั่นเอง “ความหลงบังคับ” คืออะไร ก็ความกลัวตาย
ทั้งๆ ที่ความตายไม่มีอยู่ภายในจิตแต่ก็กลัวตายนี้แล เราเคยเชื่อ “กิเลส” ในคำ�ว่า
“ตายๆ ” นี้มานาน จะทำ�อะไรก็กลัวแต่จะตายๆ ธรรมท่านจึงสอนให้รู้เข้าไปถึง
ไม่มีอะไรตาย ๑๓

ตรงนี้ ให้เข้าถึงความจริงว่า “จิตไม่ตาย” นี้คือความจริงแท้


สิ่งเหล่านั้นสลายตัวลงไปตามสภาพของมันมันก็ ไม่ตาย ทุกขเวทนา
จะเกิดขึ้นมากน้อยภายในธาตุในขันธ์ ให้กำ�หนดพิจารณาตามความจริงของมัน
เพราะมันเป็นความจริงแต่ละอย่างๆ อยู่แล้ว หากไม่พิจารณาให้เห็นตามความ
เป็นจริงแล้ว จิตเราไม่เว้นที่จะหวั่นไหว ที่จะเป็นทุกข์ลำ�บากลำ�บนไปนาน ซึ่งแม้
ปัจจุบันที่ร่างกายจะสลายตัวไปที่เรียกว่า “ตาย” นั้น บางรายถึงกับไม่มีสติ
ประคองตัวเลย ตายไปแบบ “ไม่เป็นท่า” ราวกับสัตว์ตาย ไม่มีสติสตังเอาเลย
นี่เพราะความไม่ได้ฝึกหัดให้รู้เรื่องต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัว มีทุกขเวทนาเป็นต้น
นั่นเอง
ถ้าจิตพิจารณาตามธรรม เชื่อพระพุทธเจ้า ก็ ไม่ควรจะเอา “ป่าช้า”
เข้ามาตั้งภายในจิต ไม่ควรจะเอา “ป่าช้า” เอาความกลัวตายไปมัดจิตซึ่งไม่ใช่
ผู้ตาย ให้กลายเป็นความอ่อนแอท้อถอยไปได้ ซึ่งเป็นการสร้างขวากหนามไว้
กีดกั้นทางเดินตัวเองให้หาทางออกไม่ได้
ความจริงมีอย่างใดให้พิจารณาไปตามความจริง ตามหลักธรรม
ท่านสอนไว้
“เอ้า ทุกข์จะเกิดขึ้นมากน้อยภายในธาตุขันธ์ จะหมดทั้งตัวนี้
ก็ให้ทราบ ทุกข์นี้มีอยู่รอบตัว แต่ไม่ใช่จิต แม้จิตจะเป็นทุกข์ก็เป็นเวทนา
อย่างหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่จิตเป็นเวทนา ไม่ใช่เวทนาเป็นจิต “เวทนา อนิจฺจา”
“เวทนา อนตฺตา” นั่น!
ฟังซิ ท่านบอกว่าเป็น “จิต” ไหมล่ะ แต่จิตหลงไปยึดเวทนามาเป็น
ตนต่างหากจึงเป็นทุกข์ไม่มีประมาณจนดับไม่ลง และตายไปกับความสำ�คัญว่า
“เวทนาเป็นตน” ตนเป็นเวทนาอย่างไม่รู้ตัว
“เวทนา อนิจฺจา” คืออะไร มันมีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ มีดับ มีสลายไป
นี่เป็นอนิจฺจาหรืออนิจฺจํ “เวทนา อนตฺตา” มันเป็นสภาพอันหนึ่งที่ปรากฏตัว
ขึ้นมาเท่านั้น โดยมันเองก็ ไม่ได้สำ�คัญว่า ตนเป็นอนตฺตา หรืออตฺตา หรือเป็น
อะไร แต่เป็นความปรากฏขึ้นแห่งสภาพธรรมอันหนึ่งเท่านั้น
ให้จิตผู้เป็น “นักรู้” อยู่ตลอดเวลาได้รู้สิ่งนี้ตามความเป็นจริงของมัน
ไม่ใช่สิ่งเหล่านี้จะมาประหารจิตให้ฉิบหาย จึงไม่เป็นสิ่งน่ากลัว แต่เป็นสิ่งที่จะ
๑๔ ไม่มีอะไรตาย

พิจารณาให้รู้ ที่ท่านเห็นความจริงของทุกขเวทนาที่มาปรากฏตัวนั้น ท่านรู้ท่าน


เห็นอย่างที่อธิบายมา
“สัญญา” ก็หลอกว่า “อันนั้นเป็นเรา อันนี้เป็นของเรา” “อันนี้ทุกข์
มากขึ้นแล้วนี่” “ทุกข์มากอย่างนี้” “เดี๋ยวตายนะถ้าไม่หยุดภาวนา” มันหลอก
จงทราบไว้ “สัญญา”นั้น ก็เกิดมาจาก “จิต” นั่นแหละ เป็นอาการของจิต แต่
กลับมาหลอกจิตให้เอนเอียงให้หวั่นไหวไปได้ ถ้าจิตไม่มีปัญญาไม่มีสติ ไม่ทราบ
ความจริงของสัญญาว่า “อนิจฺจา อนตฺตา”
ความจริง “สญฺญา อนิจฺจา” จะมาทำ�ลายจิตใจเราได้อย่างไร “สญฺญา
อนตฺตา” มันก็เป็นสภาพอันหนึ่ง เช่นเดียวกับขันธ์ทั้งหลาย ไม่มีอะไรผิดกัน
“รูปํ อนตฺตา” นั่นฟังซิ รูปํ มันก็เป็น อนตฺตา จะอาศัยมันได้ที่ไหน จะว่าเป็น
“เรา” เป็น “ของเรา” ได้ที่ไหน เป็นความจริงอันหนึ่งเท่านั้น!
จงอย่าฝืนความจริง อย่าไปแย่งความจริงของเขา ความจริงจงหาเอา
ด้วย “สติ ปัญญา” ของเราเอง จะไม่ยุ่งไม่แย่งเขา จะสบายใจหายห่วงไม่มีบ่วง
ผูกมัดจิตใจต่อไป
รูปมันก็ “สักแต่ว่า” รูปแห่งธาตุขันธ์ เวทนาก็ “สักแต่ว่า” เวทนา
ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราจะไปคว้าเอามาทับถมจิตใจให้เกิดความเดือดร้อน
ไปทำ�ไม เพราะเวทนานั้นก็เป็นของร้อนอยู่แล้ว แบกหามเข้ามาเผาตนทำ�ไม
ถ้าเป็นความฉลาดแล้วจะไม่เข้าไปยึด ไม่เข้าไปแบกหาม จะต้องพิจารณาตาม
ความจริงของมัน ทุกขเวทนาขนาดไหนก็รู้ตามความจริงของมันด้วยสติปัญญา
เพราะจิตเป็นนักรู้ ไม่มีถอยเรื่องรู้ๆ รู้อยู่กับจิต
ขอให้ส่งเสริมสติ เป็นผู้คอยกำ�กับให้ดีเถิด แม้ขณะที่จิตจะดับก็
จะไม่เผลอเพราะสติกำ�กับจิต จิตทำ�หน้าที่รู้ความหมายต่างๆ แต่การพิจารณา
แยกแยะต่างๆ เป็นเรื่องของ “ปัญญา” แยกแยะให้เห็นเป็นตามความจริง
จะได้ชื่อว่า “เป็นผู้ฉลาดในการเรียนเรื่องของตัว” ตามหลักศาสนาที่ให้เรียน
รู้ตัวเองเป็นสำ�คัญ
คำ�ว่า “โลกวิทู” ถ้าไม่รู้แจ้งเห็นจริงในโลกในขันธ์นี่ จะหมายถึง
“โลกวิทู” แห่งโลกใด นี้เป็นอันดับแรกทีเดียว พระพุทธเจ้าทรงรู้และสั่งสอนไว้
คำ�ว่า “โลกวิทู” “รู้แจ้งโลก” รู้แจ้งโลกของพระพุทธเจ้า ก็ต้องรู้แจ้งธาตุแจ้ง
ไม่มีอะไรตาย ๑๕

ขันธ์ และรู้พร้อมทั้งละกิเลสตัณหาอาสวะนี้โดยสิ้นเชิงก่อน แล้วจึงไปรู้สภาพ


แห่งโลกทั่วๆ ไปที่เรียกว่า“โลกวิทู” รู้แจ้งโลกทั่วไป
คุณสมบัติของสาวกในบทนี้ก็มีได้เหมือนกันที่เป็น “โลกวิทู” คือ รู้แจ้ง
โลกในธาตุในขันธ์ โดยรอบขอบชิด พร้อมทั้งละกิเลสทั้งมวล แล้วยังมี “ญาณ”
หยัง่ ทราบสภาพทัง้ หลายตามกำ�ลังแห่งนิสยั วาสนาของแต่ละองค์ ส่วน “โลกวิท”ู
ซึ่งเป็น “อัตสมบัติ” ได้แก่รู้เท่าปล่อยวางอุปาทานในขันธ์และกิเลสทั้งปวงนั้น
สาวกมีได้ด้วยกันทุกองค์บรรดาที่เป็นอรหันต์ ส่วน “โลกวิทู” เกี่ยวกับความ
หยั่งทราบเหตุการณ์ ตลอดรู้อุปนิสัยของโลกในแง่ต่างๆ นั้นมีกว้างแคบต่างกัน
พรรษาต้นๆแห่งการบวช
ความตายเป็นธรรมดา
เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๙

คำ�ว่า “เที่ยง” หรือ “แน่นหนามั่นคง” หรือ “จีรังถาวร” เป็นสิ่งที่โลก


ต้องการในส่วนที่พึงปรารถนา เช่น ความสุข เป็นต้น แต่สิ่งดังกล่าวจะหาได้
ที่ไหน? เพราะในโลกนี้เต็มไปด้วยสิ่งที่ขัดต่อความต้องการของโลกทั้งนั้น คือ
เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ไปเสียสิ้น
มีแต่เรื่อง อนิจฺจํ ความไม่เที่ยงถาวรรอบตัวทั้งภายในและภายนอก
ถ้าว่าสุขก็มีทุกข์แทรกเข้ามาเสีย อนตฺตา แทรกเข้ามาเสีย ทุกสิ่งจึงเต็มไปด้วย
“ไตรลักษณ์” คือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ซึ่งหาสิ่งใดมาทำ�ลายเพื่อความจีรังถาวร
ไม่ได้ นอกจาก “ธรรมปฏิบัติ” อย่างเดียว ดังปราชญ์ดำ�เนินมาแล้ว และผ่าน
พ้นแหล่งอันแสนทุกข์กันดารนี้ ไปได้แล้ว
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ โดยถูกต้อง หาที่คัดค้านไม่ได้เลย ในเรื่อง
สภาวธรรมเหล่านี้ เพราะเป็นของตายตัว ธรรมก็แสดงความจริงที่มีอยู่อย่าง
ตายตัวนั้น ไม่ต้องหาอะไรมาเพิ่มเติม
คำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ อย่าเข้าใจว่าท่านหาอะไร
มาส่งเสริมเพิ่มเติมสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้นหรือให้ลดน้อยลงไป หรือไม่มีก็หา
เรื่องว่ามี อย่างนี้ ไม่มี ท่านแสดงตามหลักความจริงล้วนๆ ทั้งนั้น ไม่ว่า
พระพุทธเจ้าพระองค์ ใด
๒๐ ความตายเป็นธรรมดา

จุดของศาสนาอันแท้จริงที่สอนเพื่อดำ�เนินและหลีกเลี่ยง “ไตรลักษณ์”
เหล่านี้ ได้พอควร ท่านก็สอนไว้แล้วว่า “สพฺพปาปสฺส อกรณํ” – การไม่ทำ�ชั่ว
ทั้งปวง หนึ่ง “กุสลสฺสูปสมฺปทา” – การยังกุศลหรือความฉลาดในสิ่งที่ชอบธรรม
ให้ถึงพร้อม หนึ่ง “สจิตฺตปริโยทปนํ” – การทำ�จิตของตนให้ผ่องใสจนกระทั่งถึง
ความบริสทุ ธิ์ หนึง่ “เอตํ พุทธฺ าน สาสนํ” – เหล่านี้ เป็นคำ�สัง่ สอนของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย
คือว่านี้เป็นคำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ไม่มีองค์ ใด
แสดงให้แตกต่างจากนี้ ไป เพราะความจริงทั้งหลายไม่มีของแตกต่างไม่ว่าจะ
เป็นสมัยใดก็ตาม มีเรื่องของ อนิจจฺ ํ ทุกขฺ ํ อนตฺตา อยู่ประจำ�โลกมานมนาน แม้
พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ตรัสรูข้ น้ึ มา คือเป็นเวลาระหว่าง “สุญญกัป” ไม่มคี �ำ สัง่ สอน
แสดงเรื่องความจริงเหล่านี้ก็ตาม ความจริงเหล่านี้เคยมีมาดั้งเดิม มีมาตั้งกัป
ตั้งกัลป์โน่นอยู่แล้ว
สิ่งที่เราต้องการจะหาได้จากที่ไหน โลกอันแสนกว้างก็เต็มไปด้วยสิ่ง
เหล่านี้ทั้งนั้น เมื่อคิดอย่างนี้ก็เหมือนจะหาที่เหยียบย่าง หาที่ปลงจิตปลงใจ
ลงไม่ได้ เพราะหมดสถานที่จะวางใจพึ่งเป็น พึ่งตายได้ แต่สถานที่ว่าปลงจิต
ปลงใจลงไม่ได้นั้นแล คือสถานที่ที่ปลงจิตปลงใจลงได้ เพราะเป็นหลักธรรมที่
พึงปลงลงได้ ด้วยการพิจารณาให้เห็นตามความจริง
พระพุทธเจ้าทรงสำ�เร็จความมุ่งหวังจากสถานที่นั้น พระสงฆ์สาวก
ที่เป็นสรณะของพวกเราทั้งหลายก็สำ�เร็จความมุ่งหวังในจุดนั้น ธรรมที่ได้
นำ�มาประกาศสอนโลกให้สัตว์ทั้งหลายได้ยึดถือตลอดมาก็ออกมาจากจุดนั้นคือ
ใจ ซึ่งห้อมล้อมอยู่ด้วยกอง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา นั้นแล
แม้เป็นที่ยอมรับกันเกี่ยวกับเรื่อง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ที่มีอยู่เต็มโลก
ก็ตาม แต่ก็ ไม่มีผู้เฉลียวใจต่อไตรลักษณ์ พอจะนำ�มาพิจารณาเพื่อถือเอา
ประโยชน์ได้บ้าง นอกจากตำ�หนิโดยไม่คิดหาทางออกจากสิ่งเหล่านี้ ด้วยการ
พิจารณา “ไตรลักษณ์” นี้เป็นทางเดินเพื่อก้าวล่วงไปได้ ดังปราชญ์ทั้งหลาย
มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ด้วยเหตุนี้เราชาวพุทธจึงควรพิจารณา เพื่อแก้ไขส่งเสริมสิ่งที่บกพร่อง
ให้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมขั้นต่างๆ ที่จะพึงได้รับจากการพิจารณา อนิจฺจํ ทุกฺขํ
ความตายเป็นธรรมดา ๒๑

อนตฺตา ซึ่งเป็นสัจธรรมอันประเสริฐ
การที่เราบำ�เพ็ญอยู่เวลานี้ และบำ�เพ็ญเรื่อยมานี้แล คือการดำ�เนิน
เพื่อหลบหลีกปลีกภัย ทั้งหลายโดยลำ�ดับ จนบรรลุถึง “มหาสมบัติอันพึงหวัง”
จากนั้นจะเรียกว่า “นิจฺจํ” เป็นของเที่ยงก็ ได้ เพราะไม่มีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้อง
ไม่มีอะไรเข้ามาทำ�ลายจิตใจให้เดือดร้อนวุ่นวาย จะเรียกว่า “บรมสุข” ก็ ไม่ผิด
จะเรียกว่า “อตฺตา” ก็ ไม่น่าจะผิด เพราะเป็น “ตน” แท้ คือตนในหลักธรรมชาติ
ไม่มี “สมมติ” น้อยใหญ่ แม้ปรมาณูเข้ามาเกี่ยวข้องใจ แต่ไม่ได้หมายถึงว่า
“อตฺตา” ที่เป็นคู่กับ “อนตฺตา” นั้นเป็นความสมมุติอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นทาง
ดำ�เนินเพื่อพระนิพพาน
แนวทางแห่งการประพฤติปฏิบัติ เพื่อความแคล้วคลาดปลอดภัย
ไปโดยลำ�ดับทั้งภายนอกภายใน ไม่มีสิ่งใดจะนอกเหนือไปจากพระโอวาท
คำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้านี้เลย เพราะฉะนั้นศาสนาจึงไม่มีทางล้าสมัย
เป็น “มัชฌิมา” อยู่ในท่ามกลางแห่งความประพฤติ เพื่อแก้กิเลสทุกประเภท
เสมอไป ไม่มีคำ�ว่า “ล้าสมัย” เป็นธรรมเหมาะสมกับโลกทุกกาลทุกสมัย
จึงเรียกว่า “มัชฌิมา” คือ ถูกต้องดีงาม เหมาะสมกับความประพฤติ
จะประพฤติตัวให้เป็นเช่นไรในทางที่ดี ด้วยหลักธรรมที่ท่านสอนไว้แล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความราบรื่นดีงามด้วยกันทั้งนั้น เฉพาะอย่างยิ่งการประพฤติ
ต่อจิตใจ การอบรมจิตใจยิ่งเป็นสิ่งสำ�คัญมากในตัวเรา เวลานี้เรามีความแน่ใจ
หรือยังว่า เราได้หลักเป็นที่พึงพอใจ หรือเริ่มจะได้หลักเป็นที่พึงพอใจบ้างแล้ว
ไม่เดือดร้อนวุ่นวายเมื่อคิดถึงเรื่องอนาคต
นับตั้งแต่ขณะต่อไปนี้ จนกระทั่งอวสานแห่งชีวิต และตลอดไปถึง
ภพหน้า ชาติหน้า เราเป็นที่แน่ใจได้แล้วหรือยัง
พระพุทธเจ้าท่านไม่สอนให้คนโง่และนอนใจ อยู่ ไปอย่างไม่ค ิด
นักปฏิบัติธรรมต้องคิดต้องพิจารณาเสมอเรื่องความเป็นมาว่า อายุเราเป็นมา
ผ่านมาแล้วเท่าไร เมื่อลบแล้วมีอะไรบ้างที่เหลืออยู่ ต่อไปจะหาอะไรมาบวก
มาเพิ่มขึ้นในสิ่งที่เราต้องการ หรือจะมีแต่เครื่องหมายลบไปเรื่อยๆ ถ้าอย่างนั้น
ก็แสดงว่า “ขาดทุน”
๒๒ ความตายเป็นธรรมดา

เราทุกคนเกิดมาไม่ต้องการ “ความขาดทุน” การค้าขายขาดทุนย่อม


ไม่ดี โลกไม่ปรารถนากัน อะไรๆ ก็ตามขึ้นชื่อว่า “ขาดทุน” ขาดแล้วขาดเล่า
ขาดไม่หยุดไม่ถอยก็ล่มจมไปได้
เราถ้าขาดทุนภายในใจ ขาดทุนจากคุณธรรมที่พึงได้พึงถึง มีแต่สิ่ง
ที่ไม่ดีคือกิเลส เหยียบย่ำ�ทำ�ลายอยู่ตลอดมา หาเวลาเอาชนะมันไม่ได้สักที
ก็ย่อมล่มจมได้เช่นเดียวกับสมบัติภายนอก เพราะฉะนั้น จึงควรสังเกตสอดรู้
เรื่องของตัวตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ด้วยการใคร่ครวญโดยทางสติปัญญา
เฉพาะอย่างยิ่ง จิตตภาวนา เป็นเรื่องสำ�คัญมาก ที่จะนำ�มาทดสอบ
ตนให้เห็นประจักษ์ ไม่มีความรู้ ใดที่จะแหลมคมยิ่งกว่าความรู้ที่เกิดขึ้นจากด้าน
จิตตภาวนา จะสอดแทรกไปหมดบรรดาความจริงที่มีอยู่ทั่วสรรพางค์กายและ
จิตใจ ตลอดสิ่งเกี่ยวข้องทั่วไป ไม่ว่าดี ชั่ว หยาบ ละเอียด จะนอกเหนือปัญญา
ไปไม่ได้
การคิดค้นดูสง่ิ ที่ไม่เป็นสาระในการนี้ เพื่อให้ยดึ เอาสิง่ ทีเ่ ป็นสาระขึน้ มา
จากการค้นคิดพินิจพิจารณานี้เป็นสิ่งที่ทำ�ได้ ดังพระพุทธเจ้าเคยดำ�เนินมาแล้ว
การพิจารณา อนิจฺจํ คือความไม่เที่ยง ความแปรสภาพแห่งสังขาร
ร่างกายและสิ่งทั่วๆ ไปนั้นแล เป็นอารมณ์ ให้จิตมีหลักยึดอันเป็นหลักเกณฑ์
เป็นสาระแก่นสารทางภายใน นักปราชญ์ท่านพิจารณาร่างกายซึ่งเป็นของ
ไม่เที่ยงนี้แล ที่ได้คุณธรรมซึ่งเป็นที่แน่ใจขึ้นมาเป็นพักๆ ตอนๆ จนตลอดทั่วถึง
หนังสือเราอ่านมาจนติดปากชินใจ อ่านที่ไหนก็เจอแต่เรื่อง อนิจฺจํ
เรื่อง ทุกฺขํ เรื่อง อนตฺตา ซึ่งมีอยู่กับตัวเราที่นั่งเฝ้านอนเฝ้ากันอยู่ตลอดเวลา
แต่ไม่สะดุดจิตสะดุดใจอย่างนี้ก็ ไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา
พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ได้สอนอย่างลอยๆ นี่ ผู้ที่ท่านจดจารึกใน
คัมภีร์ต่างๆ ก็ ไม่ได้จารึกแบบลอยๆ ผู้อ่านอ่านแบบลอยๆ ไม่ได้คิด ก็เลยกลาย
เป็นว่าศาสนาเป็นของไม่จำ�เป็น เป็นของลอยๆ ไปเสีย เหลือแต่ตำ�ราคือตัว
หนังสือในกระดาษ ทั้งๆ ที่ตัวเราเป็นคน “ลอยๆ” เราก็ ไม่รู้ ไพล่ไปเห็นศาสน
ธรรมอันเป็นธรรมประเสริฐเลิศโลก ว่าเป็นเรื่อง “ลอยๆ” ไปเสีย ความจริงก็
คือตัวเรานั้นแล “ลอยลม” หาหลักยึดไม่ได้ และก็มาเสียตัวเราที่ตรงนี้ เพราะ
มองข้ามตัวและมองข้ามธรรม ซึ่งเป็นสารคุณอันยิ่งใหญ่ไปเสีย
ความตายเป็นธรรมดา ๒๓

ฉะนั้น จึงต้องใช้ความพยายามพิจารณาให้ถึงใจ เรื่อง “ทุกฺขํ” ก็ให้


ชัดในตัวเราเพราะมีอยู่ในตัวเราทำ�ไมไม่รู้ พระพุทธเจ้าทำ�ไมท่านรู้ว่าอะไรเป็น
ทุกข์ และเป็นอะไร อันความทุกข์นั้นนอกจากขันธ์และจิตใจแล้ว ไม่มีอะไรเป็น
ทุกข์ ในโลกนี้ เพราะเราเป็นผู้รับผิดชอบในธาตุในขันธ์นี้ ตั้งแต่วันอุบัติขึ้นมาจน
กระทั่งวันอวสานแห่งชีวิต จะต้องรับผิดชอบกันเรื่อยไปเช่นนี้ หนักเบาอย่างไร
เราต้องรับภาระทั้งมวลตลอดไป จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทางที่พ้นภัย เรื่อง
“อนิจฺจํ” มีอะไรแปรบ้าง หรือไม่แปร ดูภายในตัวเรานี้ซิ ดูที่อื่นมันห่างไกลไป
จะกลายเป็น “งมปลานอกสุ่ม” งมเอาในสุ่มคือในตัวเราเองนี้แหละ ค้นที่ตรงนี้
มีอะไรแปรบ้างเราเห็นอยู่ทุกระยะ ถ้าใช้ปัญญาพิจารณา
ท่านว่า “ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา มรณมฺปิ ทุกฺขํ” เราสวดเสียจน
ชินปากแต่ ใจไม่อยู่กับ “ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา มรณมฺปิ ทุกฺขํ” เผ่นไปไหน
ก็ ไม่รู้ เลยสักแต่ว่าสวด สักแต่ว่ากันไป เป็นทำ�นองธรรมเนียมกันไป แต่กิเลส
ที่อยู่บนหัวใจเรามันไม่ได้ “ทำ�นองธรรมเนียม” มันเป็นกิเลสจริงๆ มันก่อกวน
จริงๆ ทำ�ความทุกข์ ให้เราจริงๆ ไม่สนใจคิดกัน จะตามทันกิเลสตัววางเพลิง คือ
ความทุกข์ร้อนแก่ตัวเราได้อย่างไร
การแก้กิเลส การแก้ความไม่ดีภายในตัวภายในใจ จึงต้องทำ�ด้วยความ
จดจ่อ ทำ�ด้วยความอุตส่าห์พยายาม ทำ�ด้วยความปักจิตปักใจจงใจจริงๆ ทำ�ด้วย
ความพากเพียรจริงๆ หนักก็สู้เบาก็สู้ เช่นเดียวกับเราตกน้ำ� แล้วพยายาม
แหวกว่ายขึ้นบนบก กำ�ลังมีเท่าไรต้องทุ่มเทกันลงไป จนกระทั่งชีวิตหาไม่แล้ว
จึงจะยอมจมน้ำ�ตาย หากมีกำ�ลังพอตะเกียกตะกายอยู่แล้วจะไม่ยอมจมน้ำ�ตาย
อั นนี ้ ก็ เช่ นเดี ย วกัน ให้สมกับ ที่พระพุท ธเจ้าประทานโอวาทแก่สัตว์โลก
ด้วยพระเมตตาอย่างเต็มพระทัย จะเข้ากันได้กับหลักพระเมตตา ที่ทรงสั่งสอน
โลกด้วยอรรถด้วยธรรมทุกส่วน เราสนองพระเมตตาท่านด้วยการประพฤติ
ปฏิบัติเพื่อความสุขความเจริญแก่ตัว ทำ�ไมจะทำ�ไม่ได้ ควรสนองพระเมตตา
ท่านด้วยการปฏิบัติธรรม ก็ทำ�เพื่อเราอย่างเดียวเท่านั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้มา
แบ่งสันปันส่วนอะไรจากพวกเราเลย
วันหนึ่งคืนหนึ่งผ่านไป ผ่านไปอยู่เรื่อยๆ ถ้าจะสะดุดใจเราก็ควรจะ
สะดุด ผ่านไปเท่าไรก็หมดไปเท่านั้น ไม่มีการย้อนกลับมาอีกในความผ่านไป
๒๔ ความตายเป็นธรรมดา

แห่งร่างกายเราทุกส่วน วัน คืน ปี เดือน มีมืดกับแจ้ง จะผ่านไปหรือผ่านมา


ก็มีแต่ “มืด กับ แจ้ง”เท่านั้น ตื่น “มืด” ตื่น “แจ้ง” หาประโยชน์อะไรกัน
สังขารร่างกายนับวันเวลา “ผ่านไปๆ” โดยลำ�ดับ ไม่มีการย้อนกลับ
สำ�หรับร่างกายอันนี้ จะต้องผ่านไปถึงที่สุดจุดหมายปลายทางของเขาในวันหนึ่ง
ที่ว่า“ปลายทาง” นั้นก็คือที่สุดแห่งชีวิตนั้นแล ไม่ใช่ปลายทางที่เราต้องการ
ความตายไม่มีใครต้องการ ต้องกลัวด้วยกันทุกคน เพราะความเกิดกับความ
ตายเป็นของคู่กันอยู่แล้ว เมื่อเกิดแล้วต้องตาย แต่สัตว์ โลกกลัวกันแต่ความ
ตาย ส่วนความเกิดไม่กลัว จึงโดนความตายอันเป็นผลของความเกิดอยู่ไม่หยุด
เรียนตรงนี้ให้เห็นชัดเจนจะได้หายสงสัย เรียนอะไรก็ ไม่หายสงสัยถ้า
ไม่เรียนตัวเอง เพราะตัวเองเป็นผู้หลง ตัวเองเป็นผู้ยึด ตัวเองเป็นผู้รับผลแห่ง
ความยึดถือของตน หรือเรียกว่า ตัวเองเป็นผู้รับผลแห่งความทุกข์ของตัว ต้อง
เรียนที่ตรงนี้ ปฏิบัติให้เข้าใจที่ตรงนี้ จะได้หายสงสัย
“ชาติปิ ทุกฺขา” เรียนให้ถึงใจ ขณะที่เริ่มเกิดนั้นมันเป็นทุกข์
แสนสาหัส แต่ เราจำ�ไม่ได้ รอดตายมาแล้วถึงมาเป็นมนุษย์ ท่านบอกว่า
“ชาติปิ ทุกฺขา” ท่านพูดด้วยความจริง แต่เราจับไม่ได้เสีย จึงเหมือน
ไม่ใช่ของจริง “ชราปิ ทุกฺขา” ความงกๆ งันๆ สี่ขาห้าขา สี่เท้าห้าเท้า
ไม้ยันนู้นยันนี้ดีที่ไหน? เป็นสุขที่ไหน? มันกองทุกข์ทั้งมวล “มรณมฺปิ ทุกฺขํ”
ก่อนที่จะตายก็เป็นทุกข์กระวนกระวายแสนสาหัส ทั้งผู้มีชีวิตทั้งผู้ที่จะผ่านไป
ต่างคนต่างมีความทุกข์เดือดร้อนด้วยกัน ไม่มีกองทุกข์อันใดที่จะมากยิ่งกว่า
กองทุกข์ ในเวลานั้น
ผู้เป็นญาติเป็นมิตร ผู้เกี่ยวข้อง ลูกเต้าหลานเหลน สามีภรรยา
ต้องเดือดร้อนเต็มหัวใจ ในขณะนั้นผู้ที่จะผ่านไปก็เดือดร้อนเต็มตัว กลัวจะตาย
เพราะไม่อยากตาย เมื่อเป็นเช่นนั้นจะไม่เรียกว่า “ทุกข์” อย่างไรเล่า
ถ้าเรียนให้เห็นตามความจริงแล้ว ทำ�ไมจะไม่ได้สติปัญญาจาก
การพิจารณานี้ สิ่งทั้งปวงทำ�ไมจึงเป็น “ไตรลักษณ์” เล่า ก็เพราะเป็น
“กฎธรรมชาติ” มาดั้งเดิม ใครๆ บังคับไม่ได้ทั้งนั้น มันถึงเป็นไปเช่นนั้น หาก
เป็นสิ่งที่บังคับได้ โลกนี้ ไม่มีป่าช้า เพราะสัตว์หรือบุคคลบังคับมันได้ด้วยกันว่า
ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตาย
ความตายเป็นธรรมดา ๒๕

แต่นี่เป็นสิ่งที่สุดวิสัย ทั่วโลกดินแดนจึงต้องยอมรับกัน ทั้งที่ขัดใจ


ฝืนใจ นี่คือเรื่องของ ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา มรณมฺปิ ทุกฺขํ
สิ่งเหล่านี้อยู่ที่ไหนที่อธิบายอยู่เวลานี้ ก็อยู่กับเราทุกคนไม่บกพร่อง
จำ�ต้องเจอด้วยกัน แม้ผู้เทศน์ก็พ้นไปไม่ได้เพราะเป็นความจริงเสมอกัน
ท่านจึงเรียกว่า “สัจธรรม” พวกเราจงเรียน “สัจธรรม” ให้เข้าใจสัจธรรม และ
พยายามตักตวงสติปัญญาความฉลาดแหลมคมให้พอในขณะที่สิ่งเหล่านี้ยังไม่
สลายตัว ซึ่งขณะนี้กำ�ลังเป็นเครื่องมือทำ�งานอยู่ด้วยดี ให้ได้รับผลประโยชน์
ตามกำ�ลัง ไม่เสียเวลาไปเปล่า
การภาวนานั่นแหละทำ�ให้เราทราบเรื่องเหล่านี้ ได้ดี พระพุทธเจ้าก็
ภาวนาจึงทรงทราบเรื่องเหล่านี้ และนำ�ธรรมเหล่านี้มาสอนสัตว์ โลก เราก็
ดำ�เนินตามท่าน ให้ทราบเรื่องธรรมเหล่านี้ประจักษ์ ใจ และพ้นทุกข์ไปอย่าง
หายห่วงในปัจจุบันชาติได้เป็นดีที่สุด สมภูมิผู้ปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ไม่ต้อง
มาเกิดและตายอีกต่อไป
เราเคยไปเมืองนอกเมืองนา ทวีปไหนเราก็เคยไป ไปดูโลกนั้นโลกนี้
ดูโลกไหนก็ ไม่หายสงสัย ดูโลกไหนก็แบกกองทุกข์ ไม่มีอะไรบกพร่อง มี “ทุกข์”
ติดตามไปทุกแห่งทุกหน ตัวเราไปที่ไหนเป็นทุกข์ ในที่นั่น ถ้าเป็นสุขรื่นเริงบ้าง
ก็เป็นความสำ�คัญของตนต่างหาก แต่พอได้เห็นทุกข์ภายในนี้ เพราะการดูโลก
ภายในตัวนี้ ด้วยการปฏิบัติภาวนา ก็จะปรากฏเป็น “โลกวิทู” ผู้รู้แจ้งโลกขึ้น
มา หายสงสัยเรื่องโลก โลกนอกโลกใน โลกใกล้หรือไกลก็ตาม เมื่อได้พิจารณา
รู้เห็นเบญจขันธ์นี้ตลอดทั่วถึงแล้ว จะมีความสุขขึ้นมาในจุดนี้ จนถึงขั้นสุดท้าย
อันสมบูรณ์อย่างไม่มีปัญหา
พิจารณาอย่างไร การพิจารณาขันธ์ เริ่มต้นก็พิจารณารูปกายอย่างที่
ว่านี้แหละ ดูความแปรปรวน ซึ่งเราก็ทราบอยู่ชัดๆ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นในขันธ์
อันนี้ พิจารณาให้เห็น
ใจนั้นตามหลักธรรมชาติแล้วไม่ใช่เป็นผู้สุข ไม่ใช่เป็นผู้ทุกข์ เป็นผู้รู้
เฉยๆ ถ้าพิจารณาให้เข้าถึงความจริงจริงๆ แล้วต้องเป็นอย่างนั้น
ทุ กข์ เป็น อนิจฺจํ ทุกฺข ํ อนตฺตา เพราะมัน เป็น ไตรลัก ษณ์
สุขก็เป็นไตรลักษณ์ ที่อยู่ใน “วงสมมุติ” และเป็นไตรลักษณ์ด้วยกันทั้งนั้น
๒๖ ความตายเป็นธรรมดา

ปัญญาพิจารณาให้ชัดเจน โดยอาศัยธาตุขันธ์เป็น “หินลับปัญญา” ให้คมกล้า


ขึ้นโดยลำ�ดับ เพราะแยกส่วนแบ่งส่วนแห่งร่างกายให้เห็นตั้งแต่ยังไม่ตาย เริ่ม
ดูป่าช้าภายในนี้แหละก่อนตาย ดูตั้งแต่ขณะยังเป็นๆ นี้แหละ อย่าด่วนให้
เขานำ�ไปสู่ป่าช้าไปสู่เมรุ เราดูป่าช้าของเราก่อน ดูตั้งแต่ข้างนอกข้างใน ดู
เข้าไปโดยละเอียดทั่วถึง
จิตจะมีความเพลิดเพลินใน “ธรรมวิจารณ์” เมื่อเห็นของจริงของ
สกลกายนี้มากน้อย แทนที่จะมีความอิดหนาระอาใจ มีความท้อถอยอ่อนแอ
เศร้าหมองภายในจิตใจ หรืออับเฉาเศร้าใจเหมือนโลกที่สัมผัสและเป็นกัน
แต่ไม่เป็นเช่นนั้น ยิ่งเป็นความรื่นเริงบันเทิงไปตามกระแสแห่งการพิจารณา
เพราะเป็นสายที่จะนำ�ใจออกจากทุกข์ โดยลำ�ดับ เนื่องจากใจถูกกดถ่วงจาก
อุปาทานเครื่องจองจำ�ของกิเลสมานาน พอมีทางออกได้จึงกระหายว่ายแหวก
เพื่อพ้นไป
ขณะพิจารณาร่างกาย จิตใจสงบเบาโดยลำ�ดับ เพราะการพิจารณาก็ดี
การรู้เห็นก็ดี เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายคลายความกำ�หนัดยินดี และปล่อยวาง
ภาระหนักคือ “ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา” พร้อมอุปาทานในจิต ที่เคยคิดว่าเป็น
เราเป็นของเรา ทั้งๆ ที่กองทุกข์เต็มอยู่กับความยึดความถือนั้น
เมื่อได้หยั่งทราบด้วยปัญญาแล้ว ความยึดความถือจะทนอยู่ไม่ได้
ย่อมถอยและสลัดตัวออกตามกำ�ลังสติปัญญา จนสลัดออกได้ โดยสิ้นเชิง
การพิจารณา “ขันธ์ห้า” มีรูปเป็นต้น อันได้แก่ร่างกาย และเวทนา คือ
ความสุข ความทุกข์ และเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ โดยยึดเอาทุกข์ซึ่งเป็นเรื่องสำ�คัญ
ขึ้นมาพิจารณา ให้เห็นทั้งทางที่อาศัยกายเกิดขึ้น ระหว่างกายกับทุกขเวทนา
กระทบกันหรือรบกัน ที่พูดว่า “รบกัน”
กุฎิของหลวงตาที่วัดป่าบ้านตาดสมัยต้นๆ
จิตว่างเพราะวางกาย
เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙

ขณะฟังเทศน์ ให้จิตอยู่กับตัวไม่ต้องส่งออกไปที่ไหน ให้รู้อยู่จำ�เพาะตัว


เท่านั้น แม้แต่ที่ผู้เทศน์ก็ ไม่ให้ส่งออกมา จะเป็นทำ�นองคนไม่อยู่บ้าน ใครมาที่
บ้านก็ ไม่ทราบทั้งคนร้ายคนดี จิตส่งออกมาอยู่ข้างนอก ความรู้สึกภายในก็ด้อย
ลงไปไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ถ้าจิตอยู่กับที่ความรู้สึกภายในมีเต็มที่ ความสัมผัส
แห่งธรรมก็เต็มเม็ดเต็มหน่วย ผลประโยชน์เกิดจากการฟังธรรมก็ต้องเกิดขึ้น
ในขณะทีจ่ ติ เรามีความรูส้ กึ อยูก่ บั ตัวไม่สง่ ออกภายนอก มีแต่กระแสธรรมทีเ่ ข้าไป
สัมผัสใจเต็มเม็ดเต็มหน่วย จิตใจก็มีความสงบเย็นในขณะฟังธรรมทุกๆ ครั้งไป
เพราะเสียงธรรมกับเสียงโลกผิดกัน เสียงธรรมเป็นเสียงทีเ่ ย็น เสียงโลก
เป็นเสียงที่แผดเผาเร่าร้อน ความคิดในแง่ธรรมกับความคิดในแง่โลกก็ต่างกัน
ความคิดในแง่โลกเกิดความไม่สงบทำ�ให้วุ่นวาย ผลก็ทำ�ให้เป็นทุกข์ ความคิดใน
แง่ธรรมให้เกิดความซาบซึ้งภายในใจ จิตมีความสงบเยือกเย็น ท่านจึงเรียกว่า
“ธรรม” เรียกว่า “โลก” แม้อาศัยกันอยู่ก็ ไม่ใช่อันเดียวกัน โลกกับธรรมต้อง
ต่างกันเสมอไป เช่นเดียวกับผู้หญิงและผู้ชายที่อยู่ด้วยกัน มองดูก็รู้ว่านั่นคือ
ผู้หญิง นี่คือผู้ชาย อยู่ด้วยกันก็รู้ว่าเป็นคนละเพศ เพราะลักษณะอาการ
ทุกอย่างนั้นต่างกัน เรื่องของธรรมกับเรื่องของโลกจึงต่างกันโดยลักษณะนี้เอง
วันนี้เป็นวันถวายเพลิงศพท่านอาจารย์กว่า ไปปลงอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา
๓๐ จิตว่างเพราะวางกาย

และเคารพศพท่าน ขณะไปถึงพอก้าวขึ้นไปสู่เมรุท่านก็ ไปกราบ เพราะมีความ


สนิทสนมกับท่านมานาน อาจล่วงเกินท่านโดยไม่มีเจตนาก็เป็นได้ เลยต้องไป
กราบขอขมาท่าน
ท่านเป็นคนไม่ชอบพูด มาคิดดูเรื่องปฏิปทาการดำ�เนินของท่านโดย
ลำ�ดับ ท่านไม่เคยมีครอบครัว ท่านเป็นพระปฏิบัติมาอยู่กับท่านอาจารย์มั่น
ท่านอาจารย์ได้ชมเชยเรื่องการนวดเส้นถวายท่าน เพราะบรรดาลูกศิษย์ที่มาอยู่
อุปถัมภ์อุปัฏฐากท่านมีมากต่อมากเรื่อยมา ซึ่งมีนิสัยต่างๆ กัน ท่านเคยพูด
เสมอว่าการนวดเส้นไม่มีใครสู้ท่านอาจารย์กว่าได้เลย ท่านว่า “ท่านกว่านี้
เราทำ�เหมือนกับหลับ ท่านก็เหมือนกับหลับอยู่ตลอดเวลา เราไม่ทำ�หลับท่านก็
เหมือนหลับตลอดเวลา แต่มือที่ทำ�งานไม่เคยลดละความหนักเบา พอให้ทราบ
ว่าท่านกว่านี้หลับไปหรือง่วงไป”
นี่ท่านอาจารย์มั่นท่านชมท่านอาจารย์กว่า แต่ดูอาการนั้นเป็นเรื่อง
ของคนสัปหงก “เวลานวดเส้นให้เรานี้ สัปหงกงกงันเหมือนคนจะหลับ แต่มือนั้น
ทำ�งานอย่างสม่ำ�เสมอ แสดงว่าไม่หลับ พระนอกนั้นถ้าลงมีลักษณะสัปหงก
แล้ว มือมันอ่อนและตายไปกับเจ้าของแล้ว” ท่านว่า
ท่านอาจารย์มั่นท่านเป็นพระพูดตรงไปตรงมาอย่างนั้นว่า “มือมันตาย
เจ้าของกำ�ลังสลบ” ก็คือกำ�ลังสัปหงกนั่นเอง ว่าเจ้าของกำ�ลังสลบแต่มือมันก็
ตายไปด้วย ตายไปก่อนเจ้าของ ท่านว่า “ท่านกว่าไม่เป็นอย่างนั้น การอุปถัมภ์
อุปัฏฐากเก่งมาก!”
ทำ�ให้เราคิดย้อนหลังไปว่า เวลาท่านอุปถัมภ์อุปัฏฐากท่านอาจารย์มั่น
ดูจะเป็นสมัยที่อยู่ทางอำ�เภอท่าบ่อหรือที่ไหนบ้างออกจะลืมๆ ไปเสียแล้ว
จากนั้นจิตใจของท่านก็เขวไปบ้าง การปฏิบัติก็เขวไปในตอนหนึ่ง คือ
ท่านคิดอยากจะสึก ตอนเหินห่างจากท่านอาจารย์มน่ั ไปนาน แต่แล้วท่านก็กลับตัว
ได้ตอนที่ท่านอาจารย์มั่นกลับมาจากเชียงใหม่ เลยกลับตัวได้เรื่อยมาและไม่สึก
อยู่มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้และถึงวาระสุดท้ายของท่าน
ได้ไปดูเมรุท่านดูหีบศพท่าน กราบแล้วก็ดูพิจารณาอยู่ภายใน นี่เป็น
วาระสุดท้ายของชีวิตมาถึงแค่นี้ เดินไปไหนก็เดิน เที่ยวไปไหนก็ ไป แต่วาระ
สุดท้ายแล้วจำ�ต้องยุติกัน ไม่มีความเคลื่อนไหวไปมา วาระที่ขึ้นเมรุนี้ แต่จิตจะไม่
จิตว่างเพราะวางกาย ๓๑

ขึ้นเมรุด้วย!
ถ้าจิตยังไม่สิ้นจากกิเลสอาสวะ จิตจะต้องท่องเที่ยวไปอีก ที่ขึ้นสู่เมรุ
นี้มีเพียงร่างกายเท่านั้น ทำ�ให้คิดไปมากมาย แม้แต่นั่งอยู่นั่นก็ยังเอามาเป็น
อารมณ์คิดเรื่องนี้อีก ปกติจิตทุกวันนี้ ไม่เหมือนแต่ก่อน ถ้ามีอะไรมาสัมผัสแล้ว
ใจชอบคิดหลายแง่หลายทางในธรรมทั้งหลาย จนเป็นที่เข้าใจความหมายลึก
ตื้นหยาบละเอียดแล้ว จึงจะหยุดคิดเรื่องนั้นๆ
ขณะนั้นพิจารณาถึงเรื่อง “วัฏวน” ที่วนไปวนมา เกิดขึ้นมาอายุสั้น
อายุยาว ก็ท่องเที่ยวไปที่นั่นมาที่นี่ ไปใกล้ไปไกล ผลสุดท้ายก็มาที่จุดนี้ จะไปไหน
ก็มีกิเลสครอบงำ�เป็นนายบังคับจิตไปเรื่อยๆ จะไปสู่ภพใดก็เพราะกรรมวิบาก
ซึ่งเป็นอำ�นาจของกิเลสพาให้เป็นไป ส่วนมากเป็นอย่างนั้น มีกรรม วิบาก และ
กิเลส ควบคุมไปเหมือนผู้ต้องหา ไปสู่กำ�เนิดนั้นไปสู่กำ�เนิดนี้ เกิดที่นั่นเกิดที่นี่
ก็เหมือนผู้ต้องหา ไปด้วยอำ�นาจกฎแห่งกรรม โดยมีกิเลสเป็นผู้บังคับบัญชาไป
สัตว์ โลกเป็นอย่างนี้ด้วยกัน ไม่มี ใครที่จะเป็นคนพิเศษในการท่องเที่ยวใน
“วัฏสงสาร” นี้ ต้องเป็นเช่นเดียวกัน ผู้ที่เป็นคนพิเศษคือผู้ที่พ้นจากกงจักร คือ
เครื่องหมุนของกิเลสแล้วเท่านั้น
นอกนัน้ ร้อยทัง้ ร้อย มีเท่าไรเหมือนกันหมด เป็นเหมือนผูต้ อ้ งหา คือไม่ได้
ไปโดยอิสระของตนเอง ไปเกิดก็ ไม่ได้เป็นอิสระของตนเอง อยู่ในสถานที่ใด
ก็ ไม่เป็นอิสระของตนเอง ไม่ว่าภพน้อยภพใหญ่ภพอะไรก็ตาม ต้องมีกฎแห่ง
กรรมเป็นเครื่องบังคับบัญชาอยู่เสมอ ไปด้วยอำ�นาจของกฎแห่งกรรม เป็นผู้
พัดผันพาให้ไปสูก่ �ำ เนิดสูงต่�ำ อะไรก็ตาม กรรมดีกรรมชัว่ ต้องพาให้เป็นไปอย่างนัน้
ไปสู่ที่ดีมีความสุขรื่นเริง ก็เป็นอำ�นาจแห่งความดี แต่ที่ยังไปเกิดอยู่ก็เพราะ
อำ�นาจแห่งกิเลส ไปต่ำ�ก็เพราะอำ�นาจแห่งความชั่ว และกิเลสพาให้ไป
คำ�ว่า “กิเลส” นี้จึงแทรกอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะไปภพใด แม้ที่สุด
พรหมโลก ก็ยังไม่พ้นที่กิเลสจะต้องไปปกครอง ถึงชั้น “สุทธาวาส” ก็ยังต้อง
ปกครองอยู่ สุทธาวาส ๕ ชั้นคือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิษฐา เป็น
ชั้นๆ สุทธาวาส แปลว่าที่อยู่ของผู้บริสุทธิ์ ถ้าแยกออกเป็นชั้นๆ อวิหาเป็น
ชั้นแรก ผู้ที่สำ�เร็จพระอนาคามีขั้นแรก อตัปปาเป็นชั้นที่สอง เมื่อบารมีแก่กล้า
แล้วก็ ได้เลื่อนขึ้นชั้นนี้ เลื่อนขึ้นชั้นนั้นๆ จนถึงชั้นสุทธาวาส ก็ยังไม่พ้นที่กิเลส
๓๒ จิตว่างเพราะวางกาย

จะไปบังคับจิตใจ เพราะเวลานั้นยังมีกิเลสอยู่ ถึงจะละเอียดเพียงใดก็เรียกว่า


กิเลส อยู่นั่นแล จนกระทั่งพ้น เมื่อจิตเต็มภูมิแล้วในชั้นสุทธาวาส ก็ก้าวเข้าสู่
อรหัตภูมิและถึงนิพพาน นั่นเรียกว่า “เป็นผู้พ้นแล้วจากโทษแห่งการจองจำ�”
นี่พูดตามวิถีความเป็นไปของกิเลสที่เรียกว่า วัฏวน แล้วพูดไปตาม
วิถีแห่งกุศลที่สนับสนุนเราให้เป็นไปโดยลำ�ดับๆ จนกระทั่งผ่านพ้นไปได้ ด้วย
อำ�นาจของบุญกุศลที่ได้สร้างไว้นี้ ส่วนอำ�นาจของกิเลสที่จะให้คนเป็นอย่างนั้น
ไม่มีทาง มีแต่เป็นธรรมชาติที่กดถ่วงโดยถ่ายเดียว
บุญกุศลเป็นผู้ผลักดันสิ่งเหล่านี้ออก ช่วยตัวเองเป็นลำ�ดับๆ ไป
เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนให้บำ�เพ็ญกุศลให้มาก หากจะยังตะเกียกตะกายเวียน
ว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอยู่ ก็มีสิ่งที่ช่วยต้านทานความทุกข์ร้อนทั้งหลายพอ
ให้เบาบางลงได้ เช่น เวลาหนาวมีผ้าห่ม เวลาร้อนมีน้ำ�สำ�หรับอาบสรง เวลา
หิวกระหายก็มีอาหารรับประทาน มีที่อยู่อาศัย มีหยูกยาเครื่องเยียวยารักษา
พอไม่ให้ทุกข์ทรมานอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย บุญกุศลคอยพยุงอยู่เช่นนี้จนกว่า
จะพ้นไปได้ตราบใดตราบนัน้ จึงจะหมดปัญหา แม้เช่นนัน้ บุญกุศลก็ยงั ปล่อยไม่ได้
จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายที่บุญกุศลจะสนับสนุนได้
ที่กล่าวมาทั้งนี้เป็นคำ�พูดของนักปราชญ์ ผู้เฉลียวฉลาดแหลมคม
ในโลกทั้งสามไม่มีใครเสมอเหมือนได้ คือพระพุทธเจ้า ถ้าใครไม่เชื่อพระพุทธเจ้า
แล้วก็แสดงว่า ผูน้ น้ั หมดคุณค่าหมดราคา ไม่มสี าระอันใดเลยพอทีจ่ ะรับความจริง
ไว้ได้ แสดงว่ากายก็ปลอมทั้งกาย จิตก็ปลอมทั้งจิต ไม่สามารถรับความจริง
อันถูกต้องนั้นได้ เพราะความจริงกับความปลอมนั้นต่างกัน
ธรรมเป็นของจริง แต่จิตเป็นของปลอม ปลอมเต็มที่จนไม่สามารถจะ
รับธรรมไว้ได้ อย่างนี้มีมากมายในโลกมนุษย์เรา ส่วนใจด้านหนึ่งจริงอีกด้านหนึ่ง
ปลอม ยังพอจะรับธรรมไว้ได้ รับธรรมขั้นสูงไม่ได้ ก็ยังรับขั้นต่ำ�ได้ตามกำ�ลัง
ความสามารถของตน นี่ก็แสดงว่ายังมีขาวมีดำ�เจือปนอยู่บ้างภายในจิต ไม่ดำ�
ไปเสียหมดหรือไม่ปลอมไปเสียหมด คนเราถ้าไม่เชื่อพระพุทธเจ้าก็แสดงว่า
หมดคุณค่าภายในจิตใจจริงๆ ไม่มีชิ้นดีอะไรพอที่จะรับเอาสิ่งที่ดีไว้ ได้เลย
ใจไม่รับธรรมไม่รับสงฆ์ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน
แต่เรานับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ที่เรียกว่า “พุทฺธํ ธมฺมํ
จิตว่างเพราะวางกาย ๓๓

สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” อย่างเทิดทูนฝังไว้ ในจิตใจ แสดงว่าจิตของเรามีความจริง


มีหลักมีเกณฑ์ มีสาระสำ�คัญ จึงรับเอา ธรรมสาระ มีพระพุทธเจ้า พระธรรม
พระสงฆ์ เป็นต้น เข้าสู่จิตใจ ฝากเป็นฝากตาย มอบกายถวายตัวประพฤติ
ปฏิบัติตามท่าน ยากลำ�บากเพียงไรก็ ไม่ท้อถอย เพราะความเชื่อในพระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์เป็นสำ�คัญ เรียกว่า จิตนัน้ มีสาระสำ�คัญกับธรรมตามกำ�ลัง
ความสามารถของตนอยูแ่ ล้ว จึงไม่ควรตำ�หนิตเิ ตียนตนว่าเป็นผูม้ วี าสนาน้อย
การติเตียนตนโดยที่ไม่พยายามพยุงตัวขึ้น และกลับเป็นการกดถ่วง
ตัวเองให้ทอ้ ถอยลงไปนัน้ เป็นการติเตียนทีผ่ ดิ ไม่สมกับคำ�ว่า “รักตน” ความรักตน
ต้องพยุง จุดไหนที่มีความบกพร่องต้องพยายามพยุง ส่งเสริมจุดบกพร่อง
ให้มีความสมบูรณ์ขึ้นมาเป็นลำ�ดับ สมชื่อสมนามว่าเป็นผู้รักตน และสมกับว่า
“พุทฺธํ ธมฺมํ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” เราถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นหลัก
ชีวิตจิตใจ หวังท่านช่วยประคับประคอง หรือพยุงจิตใจของตนให้เป็นไปตาม
หลักธรรม อันเป็นธรรมมหามงคลสูงส่งที่สุดในโลกทั้งสาม
ในสากลโลกนี้ถ้าพูดถึง “สาระ” หรือสาระสำ�คัญแล้ว ก็มีอยู่เพียง
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เท่านั้น สรุปแล้วมี “ธรรม” เท่านั้นเป็นธรรม
ฝากเป็นฝากตายได้ตลอดกาลตลอดภพตลอดชาติ จนถึงที่สุด คือ วิมุตติพระ
นิพพาน
ใน “วัฏวน” ที่เราวกวนกันอยู่นี้ ไม่มีอันใดที่จะเป็นเครื่องยึดด้วย
ความแน่ใจและร่มเย็นใจเหมือนธรรมะนี้เลย ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ พระ
ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม คำ�ว่าพระธรรมรักษาคืออย่างไร? ทำ�ไมธรรม
จึงมารักษาคน ต้นเหตุเป็นมาอย่างไร?
ต้นเหตุคือคนต้องรักษาธรรมก่อน เช่นเราทั้งหลายรักษาธรรมอยู่ใน
เวลานี้ รักษาธรรมคือรักษาตัว ดำ�เนินตามหลักธรรมที่ท่านสั่งสอนไว้ ไม่ให้
เคลื่อนคลาดจากหลักธรรม พยายามรักษาตนให้ดีในธรรม ด้วยความประพฤติ
ทางกาย ทางวาจา ตลอดถึงความคิดทางใจ อันใดที่เป็นข้าศึกต่อตนและ
ผู้อื่นอันนั้นไม่ใช่ธรรม ท่านเรียกว่า “อธรรม” เราพยายามกำ�จัดสิ่งเหล่านี้ออก
ดำ�เนินตามหลักธรรมที่ท่านสั่งสอน ดังที่เราทั้งหลายทำ�บุญให้ทาน รักษาศีล
และอบรมสมาธิภาวนา ฟังเทศน์ฟังธรรมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ ชื่อว่าเป็น
๓๔ จิตว่างเพราะวางกาย

ผู้ปฏิบัติธรรม นี่คือการรักษาธรรม
การปฏิบัติธรรมด้วยกำ�ลังและเจตนาดีของตนเหล่านี้ชื่อว่ารักษาธรรม
ผลต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมรักษาเราขึ้นมา คำ�ว่า ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ ให้
ตกไปในที่ชั่ว นั้นก็คือ ผลของธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติของเรานี้แล เป็นเครื่อง
สนับสนุนและรักษาเรา ไม่ใช่อยู่ๆ พระธรรมท่านจะโดดมาช่วยโดยที่ผู้นั้น
ไม่สนใจกับธรรมเลย ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเหตุที่พระธรรมจะรักษา
ก็คือเราเป็นผู้รักษาธรรมมาก่อน ด้วยการปฏิบัติตามธรรม ผลที่เกิดขึ้นจาก
การรักษาธรรมนั้น ก็ย่อมนำ�เราไปในทางแคล้วคลาดปลอดภัย มีความอยู่เย็น
เป็นสุข ที่ท่านเรียกว่า ธรรมรักษาผูป้ ฏิบตั ธิ รรม การปฏิบัติธรรมมีความหนักแน่น
มั่นคงละเอียดลออมากน้อยเพียงไร ผลเป็นเครื่องสนองตอบแทนที่เห็นชัด
ประจักษ์ ใจ ก็ยิ่งละเอียดขึ้นไปโดยลำ�ดับๆ ตามเหตุที่ทำ�ไว้นั้นๆ จนผ่านพ้นไป
จากภัยทั้งหลายได้ โดยสิ้นเชิงที่เรียกว่า “นิยยานิกธรรม” นำ�ผู้ปฏิบัติธรรมเต็ม
สติกำ�ลังความสามารถนั้นให้ผ่านพ้นจาก “สมมุติ” อันเป็นบ่อแห่ง อนิจฺจํ ทุกฺขํ
อนตฺตา หรือแหล่งแห่งการเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้ ไปเสียได้อย่างหายห่วงถ่วง
เวลา
พระพุทธเจ้าเป็นผู้หายห่วง พระอริยสงฆ์เป็นผู้หายห่วงได้ด้วยการ
ปฏิบัติธรรม ธรรมรักษาท่าน พยุงท่านจนถึงภูมิแห่งความหายห่วง ไม่มีอะไร
เป็นอารมณ์เยื่อใยเสียดาย เป็นผู้สิ้นภัย สิ้นเวรสิ้นกรรม สิ้นวิบากแห่งกรรม
โดยตลอดทั่วถึง คือพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกท่าน
ธรรมจึงเป็น “ธรรมจำ�เป็น” ต่อสัตว์ โลกผู้หวังความสุขเป็นแก่นสาร
ฝังนิสัยสันดานเรื่อยมาแต่กาลไหนๆ ผู้หวังความสุขความเจริญจำ�ต้องปฏิบัติ
ตนตามธรรมด้วยดีเพื่อความหวังดังใจหมายไม่ผิดพลาด ซึ่งเป็นการสร้างความ
เสียใจในภายหลังไม่มีประมาณ ซึ่งสัตว์ โลกไม่พึงปรารถนากัน
อันความหวังนัน้ หวังด้วยกันทุกคน แต่สง่ิ ทีจ่ ะมาสนองความหวังนัน้
ขึน้ อยูก่ บั การประพฤติปฏิบตั ขิ องตนเป็นสำ�คัญ เราอย่าให้มคี วามหวังอยูภ่ ายในใจ
อยู่อย่างเดียว ต้องสร้างเหตุอันดีที่จะเป็นเครื่องสนองตอบแทนความหวังนั้น
ด้วยดี ดังเราทั้งหลายได้ปฏิบัติธรรมเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันและปฏิบัติต่อไป
โดยลำ�ดับ นีแ้ ลคือการสร้างความหวังไว้ โดยถูกทางความสมหวังจะไม่เป็นของใคร
จิตว่างเพราะวางกาย ๓๕

จะเป็นสมบัติอันพึงใจของผู้สร้างเหตุ คือกุศลธรรมไว้ดีแล้วนั่นแล ไม่มีผู้ ใด


จะมาแย่งไปครองได้ เพราะเป็น “อัตสมบัติ” ของแต่ละบุคคลที่บำ�เพ็ญไว้
เฉพาะตัว ไม่เหมือนสมบัติอื่นที่โลกมีกัน ซึ่งมักพินาศฉิบหายไปด้วยเหตุต่างๆ
มีจากโจรผู้ร้าย เป็นต้น ไม่ได้ครองด้วยความภูมิใจเสมอไป ทั้งเสี่ยงต่อภัย
อยู่ตลอดเวลา
ไปกราบที่เมรุท่านวันนี้ ก็เห็นประชาชนมากมาย และเกิดความสงสาร
ทำ�ให้คิดถึงเรื่องความเป็นความตาย เฉพาะอย่างยิ่งคิดถึงองค์ท่านที่ประพฤติ
ปฏิบัติมาก็เป็นวาระสุดท้าย ร่างกายทุกส่วนมอบไว้ที่เมรุ เป็นอันว่าหมด
ความหมายทุกสิ่งทุกประการภายในร่างกาย จิตใจเรายังจะต้องก้าวไปอีกก้าว
ไปตามกรรม ตามวิบากแห่งกรรมไม่หยุดยั้ง ไม่มาสุดสิ้นอยู่ที่เมรุเหมือนร่างกาย
แต่จะอยู่ด้วยกรรมและวิบากแห่งกรรมเท่านั้นเป็นผู้ควบคุมและส่งเสริม
กรรมและวิบากแห่งกรรมอยู่ที่ไหนเล่า? ก็อยู่ที่จิตนั่นแหละจะเป็น
เครื่องพาให้เป็นไป ที่ไปดูไปปลงอนิจจังธรรมสังเวชกันที่นั่น ก็ด้วยความระลึก
รู้สึกตัวว่าเราทุกคนจะต้องเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นจงพยายามสร้างความดี
ไว้ ให้เต็มที่ จนเพียงพอแก่ความต้องการเสียแต่บัดนี้ จะเป็นที่ภูมิใจทั้งเวลา
ปกติและเวลาจวนตัว
ใครก็ตามที่พูดและกระทำ�ไม่ถูกต้องตามอรรถตามธรรม อย่าถือมา
เป็นอารมณ์ ให้เป็นเครื่องก่อกวนใจโดยไม่เกิดประโยชน์อะไร นอกจากเกิดโทษ
ขึ้นมากับตัวเอง เพราะความคิดไปพูดไปกับอารมณ์ไม่เป็นประโยชน์นั้น
ผู้ ใดจะเป็นสรณะของเรา ผู้ ใดจะเป็นที่พงึ่ ที่ยึดที่เหนี่ยวของเรา เป็นคติ
เครื่องสอนใจเราในขณะที่เราได้เห็นได้ยินได้ฟัง ผู้นั้นแลคือกัลยาณมิตร
ถ้าเป็นเพื่อนด้วยกันนับแต่พระสงฆ์ลงมาโดยลำ�ดับ จะเป็นเด็กก็ตาม ธรรมนั้น
ไม่ใช่เด็ก คติอันดีงามนั้นยึดได้ทุกแห่งทุกหนทุกบุคคล ไม่ว่าผู้หญิงผู้ชาย ไม่ว่า
เด็กว่าผู้ ใหญ่ยึดได้ แม้แต่กับสัตว์เดรัจฉาน ตัวใดมีอัธยาศัยใจคอดีก็น่ายึดเอา
มาเทียบเคียง ถือเอาประโยชน์จากเขาได้
ผูท้ เ่ี ป็นคนรกโลก อย่านำ�เข้ามาคิดให้รกรุงรังภายในจิตใจเลย รกโลก
ให้มันรกอยู่เฉพาะเขา โลกของเขาเอง รกในหัวใจของเขาเอง อย่าไปนำ�อารมณ์
ของเขามารกโลกคือหัวใจเรา นั้นเป็นความโง่ไม่ใช่ความฉลาด เราสร้างความ
๓๖ จิตว่างเพราะวางกาย

ฉลาดทุกวัน พยายามเสาะแสวงหาความฉลาด ทำ�ไมเราจะไปโง่กบั อารมณ์เหล่านี้


ปฏิบัติไปอย่ามีความหวั่นไหวต่อสิ่งใด ไม่มี ใครรับผิดชอบเรายิ่งกว่าเรา
จะรับผิดชอบตัวเองในขณะนี้โดยธรรม จนถึงวาระสุดท้ายปลายแดนแห่ง
ชีวิตของเราหาไม่ เราจะต้องรับผิดชอบตัวเราเองอยู่ตลอดสาย จะเป็นภพหน้า
หรือภพไหนก็ตาม ความรับผิดชอบตนนี้จะต้องติดแนบไปกับตัว แล้วเราจะสร้าง
อะไรไว้เพื่อสนองความรับผิดชอบของเราให้เป็นที่พึงพอใจ นอกจากคุณงาม
ความดีนี้ ไม่มี!
เราไม่ได้ตำ�หนิเรื่องโลก เราเกิดมากับโลกธาตุขันธ์ทั้ง ๕ ร่างกายนี้
ก็เป็นโลกทั้งนั้น พ่อแม่เราก็เป็นโลก ทุกสิ่งทุกอย่างที่มารักษาเยียวยาก็เป็นโลก
เราเกิดมากับโลกทำ�ไมจะดูถูกโลกว่าไม่สำ�คัญ ทั้งนี้เพื่อจะเป็นเครื่องเตือนตนว่า
จะไม่อาจยึดเป็นหลักเป็นฐานเป็นกฎเกณฑ์ได้ตลอดไป การหวังพึ่งเป็นพึ่งตาย
กับสิ่งนั้นจริงๆ มันพึ่งไม่ได้! เพราะฉะนั้น เราจึงเห็นความสำ�คัญของมันในขณะ
ปัจจุบันที่เป็นเครื่องมือที่จะใช้ทำ�งานให้เป็นผลเป็นประโยชน์ทั้งทางโลกและ
ทางธรรม แต่เราอย่าถือว่าเป็นสาระสำ�คัญจนกระทั่งลืมเนื้อลืมตัวและหลงไป
ตามโลก ไม่คิดถึงอนาคตของตนว่าจะเป็นอย่างไรภายในใจซึ่งเป็นส่วนสำ�คัญ
ว่าจะได้รับผลอะไรบ้าง
ถ้ามีแต่ความเพลิดเพลินจนไม่รู้สึกตัว มัวยึดแต่ร่างกายนี้ว่าเป็นเรา
เป็นของเรา กจ็ ะเป็นความเสียหายสำ�หรับเราเองที่ไม่ได้คดิ ให้รอบคอบต่อธาตุขนั ธ์
อันนี้ เราทุกคนเป็นโลก พึ่งพาอาศัยกันไปตามกำ�ลังของมันไม่ปฏิเสธ โลก
อยู่ด้วยกันต้องสร้างอยู่สร้างกิน เพราะร่างกายนี้มีความบกพร่องต้องการอยู่
ตลอดเวลาจะอยู่เฉยๆ ไม่ได้ ต้องพานั่ง พานอน พายืน พาเดิน พาขับถ่าย
พารับประทาน อะไรทุกสิง่ ทุกประการล้วนแต่จะนำ�มาเยียวยารักษาความบกพร่อง
ของร่างกายซึ่งเป็นโลกนี้เอง
เมื่อเป็นเช่นนั้น ไม่ทำ�งานหรือคนเราอยู่เฉยๆ อยู่ไม่ได้ ต้องทำ�งาน
เพื่อธาตุขันธ์ นี่เป็นความจำ�เป็นสำ�หรับเราทุกคน ในขณะเดียวกันก็เป็น
ความจำ�เป็นสำ�หรับจิตทีต่ อ้ งเรียกหาความสุขความเย็นใจ ร้องเรียกหาความหวัง
หาความสมหวัง ร้องเรียกหาความช่วยเหลือจากเราเช่นเดียวกับธาตุขันธ์นั้นแล
จิตว่างเพราะวางกาย ๓๗

เราอย่าลืมความรู้สึกอันนี้ซึ่งมีอยู่ภายในใจของโลกที่ยังปรารถนากัน
แม้จะมีวัตถุสมบัติอะไรมากมาย ความหิวโหยของจิต ความเรียกร้อง
ของจิต จะแสดงอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นเครื่องสนองตอบแทนกันให้เหมาะสม
ทั้งภายนอกและภายใน จำ�ต้องขวนขวายไปพร้อมๆ กันด้วยความไม่ประมาท
ภายนอกได้แก่ร่างกาย ภายในได้แก่จิตใจ เราจึงต้องสร้างสิ่งเยียวยารักษา
เป็นเครื่องบำ�รุงไว้ ให้พร้อมมูลทั้ง ๒ ประการ
ส่วนร่างกายก็เสาะแสวงหาทรัพย์สมบัติเงินทองมาไว้สำ�หรับเวลา
จำ�เป็น คุณงามความดีก็เสาะแสวงหาเพื่อเป็นเครื่องบรรเทาจิตใจ หรือพยุง
ส่งเสริมจิตใจให้มีอาหารเครื่องหล่อเลี้ยงเช่นเดียวกับส่วนร่างกายจนมีความสุข
สบาย เฉพาะอย่างยิ่งสร้างสติสร้างปัญญาขึ้นให้รอบตัว เราเกิดมาไม่ได้เกิด
มาเพื่อความจนตรอกจนมุม เราเกิดมาเป็นคนทั้งคน เฉพาะอย่างยิ่งหลักวิชา
ทุกแขนงสอนให้คนฉลาดทั้งนั้น ทางโลกก็ดี ทางธรรมก็ดี สอนแบบเดียวกัน
เฉพาะทางธรรมที่พระพุทธเจ้าผู้ซึ่งฉลาดแหลมคมที่สุด ทรงสั่งสอน
วิชาชนิดทีม่ นุษย์ไม่สามารถสอนกันได้ รูอ้ ย่างทีม่ นุษย์ไม่สามารถรูก้ นั ได้ ถอดถอน
สิ่งที่มนุษย์หึงหวงที่สุด ไม่สามารถจะถอดถอนกันได้ แต่พระพุทธเจ้าถอดถอน
ได้ทั้งสิ้น เวลามาสอนโลกไม่มีใครที่จะสอนแบบพระองค์ได้ ผู้นี้เป็นผู้ที่น่ายึดถือ
กราบไหว้อย่างยิ่ง ผลที่ปรากฏจากความฉลาดแหลมคมของพระพุทธเจ้าก็คือ
ได้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลก สั่งสอนโลกจนสะเทือนกระทั่งวัน
ปรินิพพาน แม้นิพพานแล้วยังประทานธรรมไว้เพื่อสัตว์ โลกได้ปฏิบัติตามเพื่อ
ความเกษมสำ�ราญแก่ตน ไม่มีอะไรบกพร่องสำ�หรับพระองค์เลย ท่านผู้นี้แล
สมพระนามว่าเป็น สรณํ คจฺฉามิ โดยสมบูรณ์ของมวลสัตว์ ในไตรภพไปตลอด
อนันตกาล
เราพยายามสร้างเนื้อสร้างตัวคือจิตใจ ให้มีความสมบูรณ์พูนสุขไป
ด้วยคุณงามความดี ความฉลาดภายในอย่าให้จนตรอกจนมุม พระพุทธเจ้าไม่พา
จนตรอก ไม่เคยทราบว่าพระพุทธเจ้าจนตรอก ไปไม่ได้และติดอยู่ที่ตรงไหนเลย
ติดตรงไหนท่านก็ฟันตรงนั้น ขุดตรงนั้นจนทะลุไปได้ไม่จนมุม ไม่ใช่ติดอยู่แล้ว
นอนอยู่นั่นเสีย จมอยู่นั่นเสีย อย่างสัตว์ โลกทั้งหลายที่จนตรอกจนมุมแล้ว
ท้อถอยอ่อนแอถอนกำ�ลังออกไปเสีย อย่างนี้ใช้ไม่ได้ สุดท้ายก็ยิ่งจมใหญ่ ยิ่งกว่า
๓๘ จิตว่างเพราะวางกาย

คนตกน้ำ�ท่ามกลางมหาสมุทรทะเลหลวง
ที่ถูกติดตรงไหน ขัดข้องตรงไหน นั้นแลคือคติธรรมอันหนึ่ง เป็นเครื่อง
พร่�ำ สอนเราให้พนิ จิ พิจารณา สติปญ ั ญาจงผลิตขึน้ มาให้ทนั กับเหตุการณ์ทข่ี ดั ข้อง
แม้จะประสบเหตุการณ์อนั ใดก็ตาม อย่าเอาความจนตรอกจนมุมมาขวางหน้าเรา
จงเอาสติปญ ั ญาเป็นเครื่องบุกเบิก อะไรมันขวางบุกเบิกเข้าไปเรื่อยๆ คนเรา
ไม่ใช่จะโง่ไปเรื่อยๆ แต่ไม่ใช่จะฉลาดมาตัง้ แต่วนั เกิด ต้องอาศัยการศึกษาอบรม
อาศัยการพินิจพิจารณา อาศัยการอบรมสั่งสอนของครูอาจารย์ อาศัยการ
ค้นคว้า ความฉลาดจะเกิดขึ้นโดยลำ�ดับๆ และไม่มีประมาณ ในน้ำ�มหาสมุทร
จะว่ากว้างแคบอะไรก็ตาม ปัญญายังแทรกไปได้หมด และกว้างลึกยิ่งกว่า
แม่น้ำ�มหาสมุทร!
ความโง่อะไรจะโง่ยงิ่ กว่าจิตไม่มี ถ้าทำ�ให้ โง่ โง่จนตัง้ กัปตัง้ กัลป์ เกิดด้วย
ความโง่ ตายด้วยความโง่ อยู่ด้วยความโง่ โง่ตลอดไป ถ้าจะให้ โง่ ใจต้องโง่
อย่างนั้น! ถ้าจะให้ฉลาด ฉลาดที่สุดก็ที่ใจดวงนี้! ฉะนั้น จงพยายาม เราต้องการ
อะไรเวลานี้นอกจากความฉลาด เพราะความฉลาดพาให้คนดี พาคนให้พ้นทุกข์
ไม่ว่าทางโลกทางธรรมพาคนผ่านพ้นไปได้ทั้งนั้นไม่จนตรอกจนมุมถ้ามีความ
ฉลาด นี่เรากำ�ลังสร้างความฉลาดให้กับเรา จงผลิตความฉลาดให้มากให้พอ
เฉพาะอย่างยิง่ เราแบกหามเบญจขันธ์อนั นีม้ านาน เราฉลาดกับมันแล้วหรือยัง?
ส่วนมากมีแต่บ่นให้มันโดยที่มันไม่รู้สึกตัวกับเราเลย บ่นให้แข้งให้ขา
อวัยวะส่วนต่างๆ ปวดนั้นปวดนี้บ่นกันไป มันออกมาจากใจนะความบ่นน่ะ
ความไม่พอใจนะ การบ่นนั้นเหมือนกับเป็นการระบายทุกข์ ความจริงไม่ใช่การ
ระบายทุกข์ มันกลับเพิ่มทุกข์ แต่เราไม่รู้สึกตัวว่ามันเป็นทุกข์สองชั้นขึ้นมาแล้ว
ขณะนี้รู้หรือยัง ถ้ายัง ขณะต่อไป วันเวลาเดือนปีต่อไปจะเจอกับปัญหาเพิ่ม
ทุกข์สองชั้นอีก ชนิดไม่มีทางสิ้นสุดยุติลงได้
เรื่องของทุกข์น่ะ เรียนให้รู้ตลอดทั่วถึง ขันธ์อยู่กับเรา สมบัติเงินทอง
มีอยู่ในบ้านเรา มีมากน้อยเพียงไรเรายังมีทะเบียนบัญชี เรายังรู้ว่าของนั้นมี
เท่านั้น ของนี้มีเท่านี้ เก็บไว้ที่นั่นเท่านั้น เก็บไว้ที่นี่เท่านี้ เรายังรู้เรื่องของมัน
จำ�นวนของมัน เก็บไว้ ในสถานที่ใด ยังรู้ได้ตลอดทั่วถึง
แต่สกลกายนี้ ธาตุขันธ์ของเรานี้ เราแบกหามมาตั้งแต่วันเกิด
จิตว่างเพราะวางกาย ๓๙

เรารู้บ้างไหมว่ามันเป็นอย่างไร มีอะไรอยู่ที่ไหน มันมีดีมีชั่ว มีความสกปรกโสมม


หรือมีความสะอาดสะอ้านที่ตรงไหน มีสาระสำ�คัญอยู่ที่ตรงไหน ไม่เป็นสาระ
สำ�คัญมีอยู่ที่ตรงไหน มี อนิจฺจํ หรือ นิจฺจํ ที่ตรงไหนบ้าง มีทุกฺขํ หรือ สุขํ ที่ตรง
ไหนบ้าง มีอนตฺตา หรือ อตฺตา อยู่ที่ตรงไหนบ้าง ควรค้นให้เห็นเหตุผล เพราะ
มีอยู่กับตัวด้วยกันทุกคน
ในธาตุในขันธ์ จงใช้สติปญ
ั ญาขุดค้นลงไป พระพุทธเจ้าทรงสอนส่วนมาก
อยากจะว่าร้อยทั้งร้อยว่า รูปํ อนตฺตา นั่น! ฟังซิ รูปํ อนิจฺจํ คำ�ว่า อนิจฺจํ คืออะไร
มันเตือนเราอยู่ตลอดเวลา ความ อนิจฺจํ มันเตือน ถ้าหากจะพูดแบบนักธรรม
กันจริงละก็ มันเตือนเราอยู่ตลอดเวลา อย่าประมาท อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา
อย่าไปถือไฟ รู้ไหม อนตฺตา มันเป็นไฟ ถือแล้วร้อนนะ ปล่อยๆ ซิถือไว้ทำ�ไม
ไฟน่ะ
รูปํ แยกออกไป รูปมันมีกี่อาการ อาการอะไรบ้าง ดูทั้งข้างนอกข้างใน
ดูให้เห็นตลอดทั่วถึง พระพุทธเจ้าท่านดูและรู้ตลอดทั่วถึง ปัญญาไม่มีจนตรอก
รู้ทั่วถึงไปหมดถ้าจะพาให้ทั่วถึง ถ้าจะให้ติดตันอยู่ตลอดเวลาก็ติด เพราะไม่ได้
คิดได้ค้น
สำ�คัญจริงๆ ก็คือร่างกายมันมีหนังหุ้มดูให้ดี สอนมูลกรรมฐาน ท่านว่า
เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ พอมาถึง “ตโจ” เท่านั้นหยุด ท่านเรียกว่า
“ตจปัญจกกรรมฐาน” แปลว่า กรรมฐานมีหนังเป็นที่ห้า นี่แปลตามศัพท์นะ
พอมาถึง “ตโจ” แล้วทำ�ไมถึงหยุดเสีย ท่านสอนพระสงฆ์ผู้บวชใหม่ก็เป็น
เช่นเดียวกัน และอนุโลมปฏิโลม คือว่าถอยหลังย้อนกลับ
จงพยายามเปลี่ยนเสื้อให้ทันสมัยก่อนตาย
เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๙

เมื่อตะกี้นี้เราได้พูดกันถึงเรื่อง “เปลี่ยนเสื้อ” เปลี่ยนเสื้อนั้นมีหลาย


ชนิด เปลี่ยนเสื้อดีเป็นเสื้อขาดก็มี ระวังให้ดีนะ เปลี่ยนเสื้อคน เอาเสื้อสัตว์มาใส่
ก็มี นั่น ระวัง! เช่นเรานั่งอยู่เวลานี้ เราสมมุตินะเราจะขยะแขยงไหม เรานั่งอยู่
เวลานี้เราใส่เสื้อมนุษย์ แล้วไปเอาเสื้อหมามาใส่ มันยุ่งไหม นั่นต้องคิด!
การพูดเช่นนี้ กรุณาอย่าถือว่าเป็นการต่ำ� เป็นความต่ำ� แต่เป็นเรื่อง
ความจริง ที่เอามาเทียบเคียงให้ทราบว่า ความสูง ความต่ำ� เกิดจากความดี
และชั่ว ที่พาให้เหลื่อมล้ำ�ต่ำ�สูงต่างกัน ภายในจิตใจของสัตว์ โลก จึงต้องเทียบ
ให้ฟัง นี่เราเทียบใกล้ๆ นี้ก็น่าขยะแขยงแล้ว แล้วเรื่องมันจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ
ถ้าหากเราประมาทให้ตวั เอง เคยสูงแล้วมันจะต่�ำ ลงไปได้ เคยดีแล้วมันจะชัว่ ลงได้
เพราะฉะนั้น เราจงพยายามที่จะให้ดีขึ้นยิ่งกว่านี้ ไปโดยลำ�ดับ ถ้าเปลี่ยนเสื้อ
ก็เปลีย่ นเสือ้ ทีร่ าคาเท่านีข้ น้ึ เป็นราคาเท่านัน้ เสือ้ คุณภาพของมันเป็นอย่างนีแ้ ล้ว
เลื่อนคุณภาพของมันขึ้นไปโดยลำ�ดับ ตามคุณภาพของจิตเราที่มีมากน้อยนั่น
แหละ
คุณธรรม คุณภาพ คุณธรรมที่มีอยู่ภายในจิตใจนั้นแล เป็นเหตุที่จะ
ทำ�ให้เปลี่ยนสภาพสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้าหากคุณธรรมไม่ค่อยมี มันเป็นบาปธรรม
แทรกอยู่ภายในจิตก็เปลี่ยน “ลงไป” เรื่อยๆ เปลี่ยนเสื้อดี เป็นเสื้อขาดไปละ
๔๔ จงพยายามเปลี่ยนเสื้อให้ทันสมัยก่อนตาย

เปลี่ยนเสื้อคน เป็นเสื้อสัตว์ เป็นเสื้อเปรต เสื้อผี เป็นไปได้หมด


จิตนี่เป็นของไม่แน่นอน เพราะมีเครื่องหมุนจิตให้เป็นไปในแง่ต่างๆ ได้
เครื่องหมุนอันนั้นก็เป็นความชั่วนั่นเองที่หมุนไปทางต่ำ� ไม่มีความดีที่จะหมุน
ให้ไปทางสูงเลยมีแต่เหตุชั่วทั้งนั้น แล้วเรามักจะคล้อยตามสิ่งที่ชั่วสิ่งที่ไม่ดีอยู่
เสมอ ทั้งที่เราไม่ปรารถนาความชั่ว แต่ความคล้อยตามนั้นบ่งบอกอย่างชัดเจน
เราควรสังเกตตอนนี้ ระมัดระวังตอนนี้ให้ดี!
การปฏิ บ ั ติใ ดๆ ก็ต าม งานใดก็ต ามในโลกนี้ ไม่เ หมือนกับงาน
คือการปฏิบัติต่อจิตใจ ซึ่งเป็นงานละเอียดลออ และรวดเร็วที่สุด กำ�หนดไม่ทัน
รู้ไม่ทัน ทั้งๆ ที่ตัวจิตก็เป็นตัวรู้เป็นตัวปรุง แต่ที่ว่า “รู้ไม่ทัน” คือ สติรู้ไม่ทัน สติ
เราต้องผลิตขึ้นมา ต้องพยายามอบรม พยายามตั้งสติ ตั้งท่าตั้งทาง เช่นเดียว
กับเราเดินไปในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย เช่น ที่เป็นขวากเป็นหนาม เป็นต้น
เราต้องระมัดระวัง ความระมัดระวังตั้งจิตตั้งใจเดินนั้นแล ท่านเรียกว่า “สติ”
เช่น ระวังจิตไม่ให้คิดไปในแง่ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งไม่ดี ขัดกับธรรม คือ
ความต้องการของเรา ที่จะให้จิตสงบในเวลาภาวนา เป็นต้น ความระมัดระวัง
เช่นนี้ ท่านเรียกว่า “สติ” เราพยายามระมัดระวังเสมอ พยายามอบรมความ
ระวังนี้ให้มากขึ้น ความระวังเรื่อยๆ ก็เป็นความเคยชินภายในตัวเอง แล้วค่อย
รู้เรื่องรู้ราว มีสติเป็นพื้นขึ้นมาโดยลำ�ดับ จนกลายเป็น “มหาสติ มหาปัญญา”
ขึ้นได้ จากสติที่ล้มลุกคลุกคลาน จากปัญญาที่ล้มลุกคลุกคลาน นี่แหละท่านจึง
สอนให้อบรม สอนให้บำ�รุงสติ โดยลำ�ดับ
พวกเราอยู่ในฐานะที่จะต้องเปลี่ยนเสื้ออย่างที่ว่านั้น เพราะกฎบังคับ
มีอยู่ภายในใจแม้เราจะไม่รู้ก็ตาม กฎอันนี้เป็นสิ่งที่ลี้ลับ อันเกินความรู้ของตน
จะสามารถรู้เห็นเรื่องของตัวได้ แต่มีท่านผู้สามารถรู้ได้เป็นพระองค์แรก คือ
พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ท่าน ท่านเหล่านี้ ไม่ต้องสงสัยว่า ท่านจะไม่ทราบสิ่ง
ลึกลับเหล่านี้
ถ้าท่านไม่ทราบ ท่านก็ถอดถอนแก้ไขไม่ได้ สิ่งลึกลับอันนี้จะเป็นความ
ลึกลับเฉพาะสติปัญญาที่ยังไม่สามารถเท่านั้น แต่เมื่อสติปัญญาสามารถแล้ว
ก็เปิดเผยขึ้นมาหมด ไม่มีอะไรลี้ลับ
ขึ้นชื่อว่า “สมมุติภายในใจ” แล้ว จะต้องถูกปัญญารื้อถอนขึ้นมาจน
จงพยายามเปลี่ยนเสื้อให้ทันสมัยก่อนตาย ๔๕

หมดสิ้น แล้วพ้นจากความ “สมมุติ” ท่านเรียกว่า “วิมุตติ” นั่นแหละ ความจริง


ทั้งหลายที่มีอยู่ภายในจิตใจของเรานี้ ไม่ว่าส่วนดีส่วนชั่ว มันเป็นความจริง
แต่ละอย่างๆ ด้วยกัน แต่เราไม่สามารถที่จะทราบสิ่งลึกลับที่มีอยู่ในตัวเราได้
นี่เป็นเหตุให้เกิดความประมาทนอนใจไม่ระมัดระวัง โดยเข้าใจว่า “สิ่งนั้นไม่มี”
บ้าง ทั้งๆ ที่ท่านผู้รู้ก็บอกว่า “มี” สิ่งนั้นเป็นภัยเราเข้าใจว่าไม่เป็นภัยบ้าง ทั้งๆ ที่
สิ่งนั้นเป็นภัยที่มีอยู่ภายในใจเราด้วย เลยทำ�ให้ประมาทนอนใจ แล้วเป็นความ
ไม่สนใจด้วย เป็นความเข้าใจดียิ่งกว่าท่านผู้รู้อีกด้วย ทั้งๆ ที่โง่ที่สุด มันก็อยู่กับ
ความโง่นั่นแหละ กิเลสตัวว่าฉลาด! ผู้ที่ฉลาดจริงๆ แล้วท่านไม่อวด คนโง่มัก
อวดฉลาดเสมอ ไม่ว่าใครๆ มักอวด นี่เราพูดกันในเรื่องของ “ธรรม”
หากว่าเราแม้มีความหยิ่งภายในใจเราว่าเป็นผู้ฉลาด แต่ใคร่ต่อการ
ปฏิบัติจิตตภาวนา ยังไงก็ ไปไม่พ้นที่จะทราบตามความจริงที่พระพุทธเจ้าทรง
สัง่ สอน ซึง่ มีอยูก่ บั ตัวเราเองตัง้ แต่ขน้ั หยาบจนถึงขัน้ ละเอียด และขัน้ ละเอียดสุด
เพราะพระองค์ทรงนำ�สิ่งที่จริงอยู่ภายในใจของสัตว์ทั้งนั้นออกมาแสดง ให้สัตว์
โลกทั้งหลายได้รู้ ได้เห็น ได้ดู ได้ชม ไม่ใช่เอามาจากที่อื่นใด เพราะ “ธรรม”
ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนี้ ไม่ได้สอนแบบปลอมๆ
พระพุทธเจ้าไม่ได้รู้ “ธรรม” อย่างปลอมๆ จะมาสอนโลกแบบหลอกลวง
ได้อย่างไร ปฏิบัติก็จริง รู้ก็จริง สิ่งที่รู้ สิ่งที่ละ ก็เป็นของมีจริง และรู้ได้จริง
ละได้จริง จึงมาสอนโลกด้วยความจริงนั้นๆ
สอนพวกเราก็นำ�เรื่องของพวกเราทั้งนั้นออกมาสอนเรา แม้จะนำ�
เรื่องของผู้ ใดออกมาสอนก็ตาม เรื่องนั้นเป็นอย่างเดียวกัน เช่น ความโลภ
พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงถึงเรื่อง ความโลภ ความโกรธ ความหลง แม้จะ
แสดงเรื่องของบุคคลใดก็ตาม ก็คือเรื่องของเรานั่นแหละ
สำ�หรับเราผู้ตั้งใจศึกษาเพื่อถอด เพื่อถอนกิเลส หรือเพื่อส่งเสริม
ธรรม สิ่งเหล่านั้นมีอยู่ภายในใจเราด้วยกัน เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าสอนโลก
จึงไม่ได้มุ่งต่อผู้หนึ่งผู้ ใดโดยเฉพาะ แต่มุ่งต่อสัตว์ โลกที่ควรจะได้รับประโยชน์
ตามกำ�ลังของตน เพราะพระพุทธเจ้ามิใช่ผู้คับแคบตีบตัน เว้นเฉพาะบุคคล
ที่ควรสงเคราะห์เป็นกรณีพิเศษ พระองค์ก็ทรงสงเคราะห์เป็นรายบุคคลไปบ้าง
นอกนั้นธรรมก็เป็นธรรมกลางๆ ให้เหมาะสมกับพุทธบริษัทที่สดับธรรมจากท่าน
๔๖ จงพยายามเปลี่ยนเสื้อให้ทันสมัยก่อนตาย

พุทธบริษัทนั้นๆ ย่อมมีกิเลสประเภทเดียวกัน
ฉะนั้น การสอนธรรมแต่ละครั้งจึงปรากฏว่ามีผู้ได้รับผลประโยชน์
ตลอดถึงบรรลุมรรค ผล นิพพาน มีจำ�นวนมาก เพราะเหตุไรจึงเป็นเช่นนั้น?
ก็เพราะเรื่องความจริงนั้นเหมือนกัน แสดงเรื่องความจริงออกมาเป็นกลางๆ
เท่านั้น ใครก็ “โอปนยิโก” คือ น้อมเข้ามาสู่ตัว ท่านพูดถึงความโลภ ความโลภ
ของเราก็มี พูดถึงความโกรธ ความหลง ก็ต่างคนต่างมี พูดถึงเรื่องละความโลภ
ความโกรธ ความหลง ต่างคนก็พยายามละด้วยกัน ท่านเทศน์ ให้รู้ สอนให้รู้
ต่างคนต่างมีความรู้อยู่แล้ว และสนใจฟังด้วย ทำ�ไมจะไม่รู้
ธรรมเหมือนกัน กิเลสอาสวะเหมือนกัน พระพุทธเจ้าประทานแก่ผู้ ใด
ก็ตาม บรรดาผู้ที่มีความสนใจหวังผลประโยชน์จากการฟัง ก็ต้องได้รับผลมาก
ไปตามเหตุ ถ้าเราจะเสาะแสวงดูโทษที่มีอยู่ภายในตัวเรา เราก็ควรจะทราบได้
อย่างชัดเจนทำ�ไมจะไม่ทราบ สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนและตำ�หนิติเตียนนั้น
มีอยู่กับใครถ้าไม่มีอยู่กับพวกเราที่มีกิเลสด้วยกันนี้ ก็เมื่ออยู่กับพวกเราแล้ว
ทำ�ไมเราจะไม่ทราบว่าอันใดเป็นกิเลส ถ้าทราบว่าอันนั้นเป็นกิเลส และกิเลส
เป็นภัย เราจะต้องมีความกลัว ความขยะแขยง ถ้าท่านสอนวิธี “ละ” เราจะ
ต้องรีบนำ�มาปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ แล้วได้ผลขึ้นมาโดยลำ�ดับ นี้ประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่ง สิ่งที่มีอยู่ในตนก็ให้ท่านสอน ถ้าไม่โง่จะให้ท่านสอน
ทำ�ไม มันมีด้วยกันทุกคน สติปัญญาก็มีอยู่ด้วยกันแต่ไม่ทราบ นี่แหละท่านจึง
เรียกว่า “พวกเราโง่” เหยียบย่ำ�ไปมาอยู่กับความจริงทั้งหลาย ก็ ไม่ทราบ
ให้พยายามเปลีย่ นเสือ้ เปลีย่ นเสือ้ เรื่อยๆ เอาจนกระทัง่ ถึง “เสือ้ ทันสมัย”
ไม่ต้องไปหามาจากเมืองนอกเมืองนาที่ไหนกัน ส่วนมากสิ่งใดที่ว่าทันสมัยแล้ว
จะต้องมาจากเมืองนอก เมืองเราไม่มี เพราะเหตุใดถึงไม่มี? น่าคิดอยู่มาก สติ
ปัญญาเราก็พอ มีมือเท้าเราก็พอมี ทำ�ไมถึงไม่ทันสมัย มันไม่ทันที่หัวใจของ
กิเลสนั่นเอง ที่มันพาคน “เห่อ” จนลืมเนื้อลืมตัว และเอาจนฉิบหาย เพราะมัน
ยังไม่ยอมรู้สึกตัวว่าโง่ ล้าสมัย สิ่งที่ซื้อมานั้นทันสมัยอยู่หรอก แต่ตนนั่นซิ มัน
เห่อ มันโง่ มันจึงล้าสมัยไปโดยไม่รู้ตัว
พูดง่ายๆ อย่างนี้ ถ้าจะพิจารณาตามเหตุตามผลแล้วมันทันด้วยกันนัน่ แล
สัตว์ก็ทันสมัยไปตามสัตว์แต่ละประเภท คนก็ทันสมัยกันแต่ละชาติแต่ละภาษา
จงพยายามเปลี่ยนเสื้อให้ทันสมัยก่อนตาย ๔๗

ถ้าไม่โง่ ไม่ดูถูกกัน ต่างสัตว์ ต่างคน ต่างหาเลี้ยงตัวเอง ไปดูถูกกันทำ�ไม ถ้า


ไม่ใช่คนเลวคนล้าสมัยของมนุษย์น่ะ!
เอ้า ย่นเข้าภายในอีก การทันสมัยน่ะ คืออะไร? เปลี่ยนเรื่อยๆ ด้วย
สติปัญญา คือ เปลี่ยนอารมณ์ส่วนหยาบด้วยอุบายวิธีแห่งการพิจารณา เรา
จะทราบภายในใจเราโดยลำ�ดับ
ครั้งแรกที่ยังไม่เคยอบรมไม่เคยปฏิบัติศึกษาศาสนาเลย จิตใจของเรา
เป็นอย่างไร? พูดไม่ถูก เพราะเราไม่สนใจ พอมาปฏิบัติศาสนา เฉพาะอย่างยิ่ง
คือการอบรม “ภาวนา” จิต ทั้งๆที่เคยคิดเคยปรุงเรื่องราวอยู่ตลอดเวลา
แต่ก่อนเราไม่ค่อยสนใจว่า “อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ” แต่พอมาฝึกหัด
อบรมภาวนา ชักจะทราบขึ้นมาโดยลำ�ดับ “วันนี้จิตชักยุ่ง” ซึ่งแต่ก่อนมันก็ยุ่ง
อยู่แล้วแต่เราไม่ทราบ พอมาฝึกหัดภาวนาเข้า พอจิตชักยุ่ง และจิตกระทบ
กระเทือนอะไร ก็รู้ได้เร็วขึ้น อะไรมาสัมผัส คอยแต่จะกระทบกระเทือนใจ
ให้เจ้าตัวรู้เสมอ
แต่ก่อนขออภัย! ใจเป็นหลังหมี มันดำ�ไปหมดจึงไม่รู้ อะไรมาถูกก็ดำ�
ไปด้วยกันหมด มันดำ�เต็มที่จนหาที่สกปรกไม่เจอ อะไรมาถูกมันก็ดำ�เหมือนกัน
ไปหมด แต่ถา้ มีด�ำ ๆ ด่างๆ บ้าง อะไรมาถูกมันก็ทราบได้บา้ ง นีเ่ วลาอบรมกับไม่เคย
อบรมเลยมันผิดกันมาก อะไรมากระทบกระเทือน มันเป็นอันเดียวกันหมด ทีนี้
พอจิตเราได้รับการอบรมแล้ว มีความสงบเยือกเย็นบ้าง พอมีสิ่งใดมาสัมผัส
มากระทบกระเทือนบ้าง มันรู้ได้เร็ว แต่เราไม่ได้คิดว่า ความรู้ได้เร็วนี้ เกิดขึ้นมา
เป็นขึ้นมา เพราะการอบรม
เราก็มาคิดเสียว่า “โอ้ แต่ก่อนเราไม่ภาวนา ก็ ไม่เห็นเป็นอะไร พอมา
ภาวนาแล้วจิตชักเป็นนั่น ชักเป็นนี่ สิ่งที่มากระทบกระเทือน ทำ�ให้รู้ได้เร็ว
เพราะความรับรู้ของเรา มันคล่องแคล่วขึ้น สติมีพอจะทราบสิ่งนั้น สิ่งนี้แล้ว
ก็ค่อยทราบขึ้นเป็นลำ�ดับ ยิ่งจิตมีความสงบเยือกเย็นมากขึ้น เป็นฐานแห่ง
ความสงบประจำ�ใจ อะไรมาผ่าน ให้ผิดปกติแห่งความสงบ จะทราบทันที
แล้วพยายามแก้ไข จะทราบทั้งสาเหตุด้วยว่า วันนี้จิตไม่ค่อยสะดวก เป็นเพราะ
เหตุนั้น นี่คือ ความระมัดระวัง เพราะเรื่องสติที่เราเคยอบรมมาเรื่อยๆ จนมีสติ
ให้ทราบเรื่องของตัวได้เร็วขึ้น แม้ที่สุด ความเคลื่อนไหวของตัวเอง เกี่ยวข้อง
๔๘ จงพยายามเปลี่ยนเสื้อให้ทันสมัยก่อนตาย

กับเรื่องใดก็ทราบ สิ่งอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง มาสัมผัส จิตเรานำ�สิ่งเหล่านั้นเข้ามา


ครุ่นคิดต่างๆ จนเกิดเป็นอารมณ์ขึ้นมา ใจก็ทราบว่า วันนี้ใจไม่สะดวก ใจมีสิ่งนั้น
เป็นอารมณ์ มีสิ่งนี้เป็นอารมณ์ ความทราบนี้แหละ เป็นสักขีพยานอันหนึ่งของ
การปฏิบัติ
ที่จะทำ�ให้ได้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ ให้ทราบได้รวดเร็วยิ่งกว่านี้ และแก้กันได้
อย่างรวดเร็ว เพียงขั้นความสงบของจิตก็ทราบอยู่แล้ว ถ้าพูดถึงขั้น “ปัญญา”
นั้น ยิ่งรวดเร็ว!
อะไรจะมีความสวยงามยิ่งกว่าจิต จะสง่าผ่าเผยยิ่งกว่าจิต จะมีคุณค่า
ยิ่งกว่าจิต จะเป็นธรรมชาติที่อัศจรรย์ยิ่งกว่าจิต จะรู้ได้รวดเร็วยิ่งกว่าจิต ไม่มี
ในโลกทั้งสามนี้! สิ่งไรก็ตาม ที่อยู่ในวิสัยเราที่จะทราบได้ด้วยความสัมผัส
จะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ตาม จะไม่เหมือนจิตที่ได้รับการอบรมมาด้วย
ดีแล้วรู้เรื่องของตัว จากผลแห่งการชำ�ระมาโดยลำ�ดับเลย ใจจะปรากฏมีความ
สง่าผ่าเผย มีความสงบเยือกเย็น มีความผ่องใส เป็นสิ่งที่ไม่จืดจางด้วย ทำ�ให้
มีความละเอียดลออ มีความอัศจรรย์อะไรบอกไม่ถูก มีความดูดดื่มในความสง่า
ผ่าเผย ในความผ่องใส ในความสงบสุขของตนไปเรื่อยๆ นี่! เพียงเท่านี้เราก็พอ
ทราบได้แล้วว่า “รสแห่งธรรม คือ ความสงบนีเ้ หนือรสทัง้ หลายอยูแ่ ล้ว” ยิ่งมี
การชำ�ระไปเรื่อยๆ ความผ่องใสนี้ก็จะเปลี่ยนสภาพไปเรื่อยๆ เหมือนเราเปลี่ยน
เสื้อเป็นเสื้อทันสมัย นั่นเอง
เปลี่ยนเรื่อยๆ ความสง่าผ่าเผยก็เปลี่ยนอาการ เป็นความละเอียด
เข้าไปอีก เช่นพูดว่า “สวยงาม” เปลี่ยนๆ ไปตามกันหมด จนกระทั่งความ
อัศจรรย์ก็เปลี่ยน อัศจรรย์แค่นี้ อัศจรรย์แค่นั้น แปลกประหลาดแค่นี้ แปลก
ประหลาดแค่นั้น ในขั้นของจิต จนกระทั่งเป็นอัศจรรย์ยิ่งเลย “สมมุติ”
ทั้งหลายไปนั่น! ความอัศจรรย์กลายเป็นความอัศจรรย์ “นอกสมมุติ” อีก เพียง
ความอัศจรรย์ขั้นในสมมุติ มันก็ยิ่งกว่าความอัศจรรย์ทั้งหลายในโลกนี้แล้ว
เพราะฉะนั้นเราจึงควรทราบว่า สิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดในโลกนี้ ได้แก่ใจนี่เอง!
ใจจึงควรได้รับความเหลียวแล เช่นเดียวกับกิจการหรือวัตถุสมบัติอื่นๆ
ยิง่ เราต้องการทราบจากผลของการบวกลบ แห่งความเป็นมาและเป็นไปข้างหน้า
ด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะเกิดความสนใจต่อสมบัติ คือ ใจนี้มากขึ้น และเกิดความสนใจ
จงพยายามเปลี่ยนเสื้อให้ทันสมัยก่อนตาย ๔๙

ในการประพฤติปฏิบัติ การรักษา การอบรมตัวเอง มีน้ำ�หนักมากขึ้นโดยลำ�ดับๆ


ไม่ท้อถอย ยิ่งกว่างานอื่นใดที่ผ่านมา และพยายามสร้างสมบัติ หรือส่งเสริม
สมบัติอันนี้ให้เด่นมากขึ้น ให้เป็นที่น่าพอใจภายในตัวเอง
ปัจจุบันขณะปฏิบัติ ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เราก็ ได้ชมความรู้ ความเด่น
ความสงบ เย็นใจ ความสบายใจ ความแปลกประหลาดความอัศจรรย์อยู่ภายใน
ใจดวงนี้ เวลาจะตายก็ ไม่คิดเดือนร้อน เพราะอันนี้เองเป็นตัวประกันแห่งการ
เปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ ไปสู่ภพใด แดนใด หรือสู่สถานที่ใด จะได้เสวยผลเช่นไร
ความจริงกับตัวเอง ก็บอกอยู่แล้ว โดยผลซึ่งกำ�ลังรับอยู่ รู้อยู่เวลานี้ ใจอยู่กับ
อันนี้ ทราบแล้วไม่เดือดร้อน ไม่เสียใจ เพียงเท่านี้ก็ชื่อว่า “เราได้ความมั่นใจ”
สมบัติอันนี้เป็นที่แน่ใจ สมบัตินี้ ไม่หลอกลวง สมบัติชิ้นนี้เป็นสมบัติที่ติดตัว
คือ ติดกับใจไป!
ไม่เหมือนสมบัติอื่น ซึ่งทำ�ให้มีความดีใจในขณะนี้ แล้วเสียใจในขณะ
ต่อไป คือ ต้องมีการพลัดพรากจากสิ่งนั้นสิ่งนี้ อย่างท่านว่า “ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ
ตมฺปิ ทุกฺขํ” ปรารถนาไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ ได้มาแล้ว เวลาพลัดพรากจากกัน
ก็เป็นทุกข์อีก แต่สมบัติที่ว่านี้ ไม่เป็นเช่นนั้น ตรงกันข้าม ติดแนบกับตัวไปเลย
สมกับที่เป็น “อัตสมบัติ” โดยแท้
ทีพ่ ระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทแก่บรรดาสัตว์ ก็เพื่อจะให้นอ้ มเข้ามา
ปฏิบัติต่อจิตใจที่เป็นสมบัติอันสำ�คัญนี้ ให้เด่นขึ้น ภายในตัว และให้จิตเป็น
เจ้าของ “ธรรมสมบัติ” นี้ จะเป็นที่ภาคภูมิใจทั้งปัจจุบันที่เป็นอยู่เวลานี้ และ
อนาคตที่จะเปลี่ยนสภาพนี้ ไปสู่ภพหน้า จิตนี้จะไปอย่างสง่าผ่าเผย ไปอย่างมี
เหตุมีผล มีธรรมเป็นเครื่องบำ�รุงรักษา ดังที่ท่านสอนไว้ว่า “ธมฺโม หเว รกฺขติ
ธมฺมจารึ” ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม
ธรรมที่ไหนมารักษาเรา เอ้า ให้เราคิดดูตรงนี้ ธรรมในคัมภีร์นั้น หรือ
ธรรมในหนังสือเล่มนั้นเช่นนี้เหรอ ไม่ใช่ คือ เรียน “ธรรม” จากตำ�รา รู้แล้ว
นำ�มาปฏิบัติตัวเอง จนปรากฏผลขึ้นมา “ธรรมอันนี้แล” ที่ปรากฏเป็นผลขึ้นมา
ประจักษ์อยูใ่ นใจเวลานี้ เป็น “ธรรมทีร่ กั ษาผูป้ ฏิบตั ”ิ คือเราเอง ไม่ให้ตกไปในทีช่ ว่ั
คำ�ว่า “ชั่ว” คือสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ไม่ตกไปในสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา
นั้นเอง “ธรรม” จะพาเป็นไปตามผลแห่งความดีที่ได้ปฏิบัติมาแล้วนี้เท่านั้น
๕๐ จงพยายามเปลี่ยนเสื้อให้ทันสมัยก่อนตาย

ไม่เป็นอย่างอื่น
สมบัตินี้อยู่กับเรา ให้พยายามส่งเสริมสมบัตินี้ให้ได้ประจักษ์ อย่างน้อย
ให้เป็นความเย็นใจเถอะ นี้เป็นที่แน่ใจ เป็นที่ตายใจได้จริงๆ เพียงจิตใจมี
ความสงบเท่านั้นก็ปรากฏเป็นความเย็นใจขึ้นมา เป็นหลักใจขึ้นมาประกันตัว
จงพยายามอบรมขึ้นเรื่อยๆ เมื่อความสงบนั้นเป็นรากเป็นฐานให้มีความมั่นคง
ขึ้นเป็นลำ�ดับ ก็ยิ่งเป็นความมั่นใจของผู้ปฏิบัตินั้นๆ มากขึ้น
พิจารณาทางด้าน “ปัญญา” เพื่อจะเปิดสิ่งที่ปกคลุมหุ้มห่อภายในใจ
นี้ออก อะไรที่มาปกคลุม ก็ความยึดมั่นถือมั่น ความสำ�คัญผิดของตนนั้นแล
กลับมาเป็นภัยแก่ตนเอง มาปกคลุมจิตใจเสียเอง ความสำ�คัญมัน่ หมาย ความคิด
ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด เพราะไม่รู้ ในสิ่งใด จึงต้องยึดมั่นถือมั่น ท่านแสดง
ออกไป
เรื่องภายนอกมีมากมาย รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส พูดกว้างๆ
นะนี่
รูป รูปอะไร เราแยกขยายออกไปเต็มโลกเต็มสงสาร รูปหญิง รูปชาย
รูปพัสดุสิ่งของ สมบัติเงินทองอะไร เรียกว่า “รูป” ทั้งนั้น เสียงก็เสียงอะไร
ต่างๆ ว่ากันไป เช่นเสียงขับลำ�ทำ�เพลง เป็นต้น ที่จิตไปสำ�คัญมั่นหมายกับเสียง
เหล่านี้ แล้วสร้างความปิดบังตัวเองโดยไม่รู้สึกตัว ความสำ�คัญมั่นหมายนี้แล
ปกคลุมหุ้มห่อจิตใจให้มืดมิดปิดตา ไม่ทราบความจริงของสิ่งเหล่านั้น เพราะไม่
ทราบความจริงของจิตที่หลอกลวงตัวเอง ท่านจึงสอนให้พิจารณา “ภายนอก”
เช่น รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น ด้วยสติปัญญา นี่เป็น “ปัญญาชั้นหนึ่ง”
ที่จะถอนตัวออกมาจากสิ่งเหล่านั้น แล้วก็ย้อนเข้ามาถึงสิ่งสำ�คัญที่ติดแนบอยู่
กับตัวเรา ที่ถือว่าเป็น “เรา” มาตั้งแต่วันเกิด “ผม” ก็เห็นว่าเป็นเรา เป็นของ
เรา “ขน” ก็ว่าเป็นเรา “เล็บ” ก็เรา “ฟัน” ก็เรา เนื้อ หนัง กระดูก ทุกชิ้น
ทุกสิ่งทุกอันภายในร่างกายนี้ เป็นเราและเป็นของเรา เหล่านี้เป็นสิ่งที่จิตติด
มากทีเดียว ใจกับกายติดกันจนแยกไม่ออก ถ้าไม่แยกด้วยสติปัญญา ดังที่ได้
อธิบายมานี้
รูป ที่เรียกว่า “กาย” นี้ มันติดเป็นอันเดียวกับใจ ใจกับกายนี้ก็เป็นเรา
เราเป็นใจ ใจก็เป็นกายนี้ ทั้งกายทั้งใจนี้เป็นเรา และเรียกว่า “เรา” โดยความ
จงพยายามเปลี่ยนเสื้อให้ทันสมัยก่อนตาย ๕๑

รู้สึกของสามัญชนทั่วๆ ไปเป็นอย่างนั้น
เวทนา ความสุขก็ตาม ความทุกข์ก็ตาม เฉยๆ ก็ตาม เกิดขึ้นกับ
ร่างกายหรือใจ ใจจะถือว่าเป็นเรา เป็นของเราทั้งสิ้น เราเป็นทุกข์ ทุกข์เป็นเรา
ยุ่งไปหมด เราเป็นสุข สุขเป็นเรา อะไรๆ ก็เป็นเราเสียสิ้น
สัญญา ความจำ� ก็เราจำ� อะไรก็เราจำ� ความจำ�เป็นเรา เป็นของเรา
สังขาร ก็เราคิดเราปรุง ดี ชั่ว เป็นเราเป็นของเรา คิดกันยุ่งจนแทบ
ล้มแทบตาย เพราะความคิดมันก่อกวนวุ่นวาย ก็ยังว่าเป็นเรา นั่นเห็นไหมล่ะ?
มันหลงอย่างนี้เอง
วิญญาณ รับทราบอะไร ก็เป็นเราทั้งหมด ได้ยินว่า “นรก” พอได้ยิน
ก็ถือเอาคำ�ว่า “ได้ยิน” นั้นเป็นเรา เป็นของเราเข้าไปอีก และเรื่องทั้งหลาย
ก็มากองอยู่ภายใน “จิต” จิตจึงแย่ อะไรก็ขนเข้ามา ขนเข้ามา จอมปลอมอะไร
ก็ขนเข้ามาให้จิตแบก จิตรับ จิตหาม วุ่นไปหมด แล้วจะไม่ทุกข์อย่างไร
นี่แล สิ่งที่ปิดบังจิตใจ สิ่งกดขี่บังคับ สิ่งทับถมจิตใจ สิ่งเสียดแทงจิตใจ
คือ ความหลงของใจเอง ที่ ไปกว้านเอาสิ่งเหล่านั้นเข้ามาเป็น ภัยแก่ตัวเอง
เพราะฉะนั้น จึงต้องใช้ปัญญาเป็นผู้บุกเบิก เป็นผู้แยกแยะให้เห็นตามความจริง
เอ้า รูป “รูปํ อนิจฺจํ” มันไม่เที่ยง มันแปรปรวน ก็รู้กันอยู่แล้ว “รูปํ อนตฺตา”
ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ใคร และไม่ใช่ของใคร เป็นความจริงอยู่
ตามสภาพของมัน “อนิจฺจํ ทุกฺขํ” ก็ทุกข์ เห็นกันอยู่พอแล้ว ถือว่าเป็น “ตน”
ที่ไหนได้ ฟังแต่ว่า “อนตฺตา อนตฺตา” มันไม่ใช่ทั้งนั้น เรายังจะฝืนความไม่ใช่
ตนที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอยู่หรือ ถ้าไม่อยากจะอยู่กับกองขันธ์ห้า ก็จง
พิจารณาแยกตัวออกตามที่ท่านสั่งสอน อย่าเอากิเลสโสมมไปยื้อแย่งแข่งดีกับ
“สวากขตธรรม” ท่าน ที่ตรัสไว้ โดยชอบแล้ว มันขวางธรรมท่าน
พระพุ ท ธเจ้า เป็นผู้รู้จริงเห็นจริงแท้ๆ ทำ�ไมไม่เ ชื่อพระพุทธเจ้า
“รูปํ อนตฺตา” เรายังถือว่าเป็นอัตตาตัวตนอยู่หรือ ท่านผู้รู้แท้ๆ เป็นผู้สอนเรา
ทำ�ไมเราไม่เชื่อ เรากราบ “พุทฺธํ ธมฺมํ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” ไปทำ�ไม เมื่อเรา
ไม่เชื่อ คำ�ว่า “รูปํ อนตฺตา, เวทนา อนตฺตา, สญฺญา อนตฺตา, สงฺขารา อนตฺตา,
วิญฺญาณํ อนตฺตา” ซึ่งเป็น “อนัตตา” ทั้งสิ้นนี้ เรายังจะถือว่า นี้เป็นเรา เป็น
ของเราอยู่แล้ว เราจะเชื่อพระพุทธเจ้าไปทำ�ไม เรากล่าวถึง พระพุทธเจ้า
๕๒ จงพยายามเปลี่ยนเสื้อให้ทันสมัยก่อนตาย

พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ มีความหมายอะไรเล่า ถ้าเรายังไม่เชื่อ


ความจริง คือธรรมทีพ่ ระองค์ประทานไว้วา่ เป็นความจริง พวกเรานีม่ นั คือ “เทวทัต”
ในร่างของพุทธบริษัท จึงไม่เชื่อธรรมท่าน
ควรจะละความจอมปลอมของตนเอง ให้เห็นความจริงอย่างท่านว่า
ด้วยปัญญา พระพุทธเจ้าว่าอย่างนั้น แต่เรากลับว่าอย่างนี้ ท่านว่า “อนัตตา”
ปฏิเสธตลอดเวลา ถ้าเป็นภาษาของเรา ก็น่าจะว่า “เอ้า ตีข้อมือไว้ เดี๋ยวเอื้อมไป
จับโน่น เดี๋ยวเอื้อมไปจับนี่” ท่านตีข้อมือไว้ “อย่าจับ อย่าไปจับ อย่าไปแตะต้อง
ไปๆ อย่ายุ่ง พวกดื้อด้านนี้ ยุ่งจริง” ว่ายังงั้น เป็นผู้ ใหญ่แล้ว ยังดื้อด้านหาญ
ทำ�ไม่เข้าเรื่อง ยิ่งกว่าเด็กตัวซนๆ เสียอีก นี่
รูปํ อนตฺตา อย่าไปยุ่ง เวทนา อนตฺตา อย่าไปยุ่ง สญฺญา อนตฺตา สงฺ
ขารา อนตฺตา, วิญฺญาณํ อนตฺตา อย่ายุ่ง อย่ายุ่งนะ เดี๋ยวตีมือ เพราะเป็นไฟ
ทั้งนั้น รู้ไหม? พวกนี้พวกยุ่ง พวกเผาตัวเองนี่ เราถูกเผาลนมานานเท่าไรแล้ว
เพราะความถือว่าเป็นเรา เป็นของเรานี่น่ะ ยังไม่เข็ดหลาบอยู่หรือ จะพากันดื้อ
ไปถึงไหนกันนี่
เราพิจารณาให้รู้ชัดเจน และปล่อยวางไว้ตามความจริงของมัน จะสุข
ก็ให้รู้ตามความจริงของมัน สุขเกิดขึ้น สุขดับไป สุขเป็นไตรลักษณ์ ทุกข์เกิดขึ้น
ทุกข์ดับไป ทุกข์เป็นไตรลักษณ์ รูปเป็นไตรลักษณ์ สัญญาเป็นไตรลักษณ์
สังขารเป็นไตรลักษณ์ วิญญาณเป็นไตรลักษณ์ ให้เห็นว่าเป็นไตรลักษณ์
เป็นความจริงอันหนึ่งๆ รู้แล้วถอนตัวเข้ามาอยู่เป็นอิสระ อย่าไปยุ่ง อย่าไปแบก
ไปหาม นี่เรียกว่า “ปัญญาค้นดูให้เห็นชัดเจน”
เมื่อพิจารณาสิ่งเหล่านี้รอบตัวหมดแล้ว มันไม่ไปไหน สติปัญญาจะ
หมุนติ้วเข้าไปสู่จิต ตัวลุ่มหลงที่กลมกลืนกับ “อวิชชา” นั่นแหละ นั่นแล บ่อแห่ง
“อวิชชา” แท้ บ่อแห่งความเกิดแท้ บ่อแห่งความเปลี่ยนเสื้อเปลี่ยนแสง
เปลี่ยนภพ เปลี่ยนชาติ เปลี่ยนอยู่ที่ตรง “จิต” นั่นแหละ
เอ้า สติปัญญาค้นเข้าไปทำ�ลายมัน รังของ “อวิชชา” มันฝังอยู่ใน
จิตนี้ เมื่อแยกออกได้หมดแล้วด้วยสติปัญญา ทางฝ่ายขันธ์ก็ย้อนเข้าไปถึง
“อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา” อวิชฺชาปจฺจยา จริงๆ มันมาจากไหน ใครเป็นอวิชชา?
ถ้าไม่ใช่ผู้ที่รู้ ซึ่งเต็มไปด้วยความหลงฝังอยู่ภายในตัวนั้น ปัญญาสอดแทรก
จงพยายามเปลี่ยนเสื้อให้ทันสมัยก่อนตาย ๕๓

เข้าไป พิจารณาเข้าไปให้เห็นธรรมชาตินี้คืออะไรกันแน่? มันก็ ไตรลักษณ์ดีๆ


นั่นเอง พวกกิเลสตัณหาอวิชชาจะเป็นอะไรไป ให้พิจารณาตรงนี้ ตอนนี้เรียกว่า
พิจารณา “จิต” ให้เป็นไตรลักษณ์ เช่นเดียวกันไม่ผิด ถ้าเราถือว่าเป็นตนแล้วก็
เท่ากับเรากินปลาทั้งก้าง หรือกินไก่ทั้งกระดูก กินข้าวทั้งเปลือกโดยไม่เลือกเฟ้น
จะเป็นอันตรายแก่ใครเล่า คิดให้ดีก่อนจะกลืนลงไป ไม่งั้นตาย! เพราะก้างและ
กระดูกขวางคอ
ที่ว่าจิตเป็นไตรลักษณ์ตอนนี้ คือ จิตมีสิ่งที่เป็นไตรลักษณ์ครอบงำ�อยู่
นั่นเอง เราจะถือว่าจิตเป็นตนในขณะนั้นไม่ได้ ต้องพิจารณาตรงนั้น ให้เห็น
ความจริงของไตรลักษณ์ ซึ่งมีอยู่ภายในจิต
เราเห็นแต่ไตรลักษณ์ที่มีอยู่ตามรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
แต่เราต้องการเห็นไตรลักษณ์อันละเอียดแห่ง “สมมุติ” ฝังอยู่ภายในจิต
จึงต้องพิจารณา “จิต” เช่นเดียวกับพิจารณาอาการทั้งห้า คือ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เป็นไตรลักษณ์ ดูให้เห็นจริงด้วยสติปัญญา สิ่งที่มัน
ไม่อาจทนทานอยู่ได้ ด้วยอำ�นาจของปัญญาผู้ทำ�ลาย มันจะสลายตัวลงไป คือ
จะแตกกระจายลงไป สิ่งที่เป็นความจริงโดยธรรมชาติของตัว สิ่งนั้นจะคงอยู่
เช่น “ผู้รู้”
เมื่อสิ่งที่จอมปลอมทั้งหลายสลายตัวลงไปแล้ว ผู้รู้นี้จะทรงตัวอยู่
กลายเป็นผู้รู้ที่บริสุทธิ์ขึ้นมา ผู้นี้ ไม่ฉิบหาย ผู้นี้ ไม่เป็นไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์ก็
หมดปัญหาในขณะที่กิเลสอาสวะทั้งหมดสิ้นสุดไปจากใจ คำ�ว่า “ไตรลักษณ์”
ภายในใจจึงหมดไป เรื่องอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ภายนอกก็ตาม ภายในก็ตาม รูป
เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ตาม ย่อม
หมดปัญหาไป เมื่อ “อวิชชา” สิ้นไปจากใจโดยเด็ดขาดแล้ว
เมื่อจิตพ้นจาก “สมมุติ” แล้ว อะไรๆ ก็เป็นความจริงไปตามๆ กัน
ไม่มีอะไรเป็นปัญหาต่อไปอีก เพราะใจไม่สร้างปัญหาให้แก่ตัวเอง เนื่องจากสติ
ปัญญารู้รอบขอบชิดแล้ว
นี่เรียกว่า “เสื้อที่ทันสมัยที่สุด” การเปลี่ยนให้เปลี่ยนตรงนี้ เราไม่ต้อง
ไปหาเปลี่ยนที่ไหนอีก เปลี่ยนตรงนี้แล้ว ไม่ต้องไปหาตัดที่ไหนมาเย็บมาย้อม มา
ยุ่งวุ่นวายอีก เปลี่ยนเสื้อนี้ ไป เป็นเสื้อนั้น เสื้อนั้น เป็นเสื้อนี้ แบบหมุนไม่หยุด!
๕๔ จงพยายามเปลี่ยนเสื้อให้ทันสมัยก่อนตาย

จงพยายามเอา “เสื้อตัวเดียวนี้” ไว้เสีย “นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ” อะไรจะสูญ


ก็สูญไปเถอะ ขอให้ได้ “เสื้อทันสมัยนี้” แล้วเป็นที่พอใจ พากันเข้าใจไหมล่ะ?
เทศน์จะจบแล้ว ยังไม่เข้าใจกันอยู่หรือนี่
ใจไม่เคยตาย
เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘

ศาสนาของพระพุทธเจ้าของเราเป็นศาสนาที่ทรงมรรคทรงผล ตั้งแต่
พื้นแห่งความดีทั้งหลายจนกระทั่งถึงความดีอันสุดยอด ออกจากศาสนาที่
กลั่นกรองคนให้เป็นคนดีเป็นลำ�ดับลำ�ดาไป ศาสนาพุทธนี้จึงเป็นศาสนาที่ชาว
พุทธเราไม่ควรให้พลาดไป จะเสียใจในภายหลัง เพราะเป็นศาสนาที่เลิศเลอ
ที่สุด เราไม่เหยียบย่ำ�ทำ�ลายศาสนาใด เราเอาหลักความจริงมาพูด ศาสนา
ของพระพุทธเจ้าเป็นศาสนาของผู้สิ้นกิเลสแล้ว คำ�ว่าสิ้นกิเลสกับมีกิเลสเป็น
อย่างไร คนมีกิเลสก็เหมือนคนหูหนวกตาบอด อวัยวะใช้อะไรไม่ได้สมบูรณ์
แหละ ส่วนศาสนาพุทธเป็นศาสนาของผู้สิ้นกิเลส คำ�ว่า สิ้นกิเลส คือหูแจ้ง
ตาสว่าง หูนอกตาในสว่างกระจ่างแจ้งทุกอย่าง นำ�ธรรมที่ทรงรู้ทรงเห็นด้วย
ความสว่างกระจ่างแจ้งแล้วนั้นมาสั่งสอนสัตว์ โลก จึงไม่มีผิดมีพลาด
ว่านรกก็ดีว่าสวรรค์ก็ดี ว่าบาปว่าบุญก็ดี ว่าพรหมโลกนิพพานก็ดี
ล้วนแล้วตั้งแต่เป็นธรรมชาติที่มีอยู่ดั้งเดิม ธรรมชาติเหล่านี้ ไม่มีใครทำ�ลายได้
ไม่มีใครมีอำ�นาจจะทำ�ลายให้สูญสิ้นไปได้ ย่อมมีมาดั้งเดิม แล้วสัตว์ โลกทั้งหลาย
ก็เกี่ยวข้องอยู่เป็นประจำ� ผู้ทำ�บาปก็ ไปนรก ผู้ทำ�บุญก็ ไปสวรรค์ ไปพรหมโลก
ไปนิพพาน คำ�ว่า นรก ก็มีหลายหลุมหลายบ่อ นี่เป็นสิ่งที่เกี่ยวกับสัตว์ โลก
มาตลอด เมื่อสัตว์ โลกยังมีการทำ�กรรมดีกรรมชั่วอยู่ตราบใดแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็
๕๘ ใจไม่เคยตาย

ต้องมีอยู่ประจำ�โลกตราบนั้นไม่มีสูญสิ้นไปที่ไหน ให้พากันเข้าใจ
คำ�พูดของพระพุทธเจ้าไม่เคยมีสอง มีค�ำ เดียวเท่านัน้ คือจริงอย่างเดียว
ท่านให้นามว่า เอกนามกึ คือหนึ่งไม่มีสอง ได้แก่พระวาจาของพระพุทธเจ้าที่
ตรัสออกแล้วเป็นอย่างทีต่ รัสทุกอย่าง และพระญาณหยัง่ ทราบอะไรแล้วไม่มสี อง
หยั่งทราบอย่างไรแล้วเป็นอย่างนั้น นี่ก็เรียกว่า เอกนามกึ คือ หนึ่งไม่มีสอง
พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ที่อุบัติขึ้นมานี้ ไม่มีคู่เคียง เพราะอุบัติยาก อุบัติขึ้นมา
แต่ละครั้งนี้มีเพียงพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น ดังพระพุทธเจ้าของเรา
ตรัสรู้ขึ้นมานี้ก็มีพระองค์เดียว หลังจากนั้นแล้วก็จะมี พระอริยเมตไตรย
มาตรัสรู้ลำ�ดับที่สองในภัทรกัปนี้ ซึ่งมีพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ หมดนี้แล้วก็
เป็นกัปอื่นต่อไปอีก
คำ�ว่ากัปว่ากัลป์นั้น ความยืดยาวนานนี้หาประมาณไม่ได้ ท่านจึง
เรียกว่ากัปว่ากัลป์ มีกัป มีภัทรกัป มีมหาภัทรกัป มีหลายกัป กัปใหญ่กัปน้อย
มีหลายกัป แต่ละกัปนี้เหมือนกับเป็นดอนๆ ในท้องมหาสมุทรนั้นแหละ เกาะดอน
อยู่ตามท้องมหาสมุทร นี่พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้จากกัปนั้นๆ ก็เหมือนกันเช่นนั้น
แต่ละกัปๆ นี้ยืดยาวนาน ที่สัตว์ โลกทั้งหลายจะเห็นศาสนา คือ กัปนี้หมดไปแล้ว
ก็เรียกว่าเป็น สุญญกัป ระหว่างกัปนี้กับกัปต่อไปนั้นเป็นสุญญกัปว่างเปล่าไม่มี
ศาสนา มีแต่ฟืนแต่ไฟเผาไหม้เต็มโลกดินแดนทั่วไปหมด เมื่อมีพระพุทธเจ้ามา
ตรัสรู้เมื่อไรก็มีน้ำ�ดับไฟมาพร้อมๆ เช่นภัทรกัป นี้มีพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ มา
ตรัสรู้ไปแล้ว ๔ พระองค์แล้วเวลานีย้ งั เหลืออยูพ่ ระองค์เดียว นีก่ เ็ รียกว่าภัทรกัป
ระหว่างพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ๆ นั้นท่านเรียกว่า พุทธันดร คือ
ระหว่างพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งๆ เชื่อมกัน ระหว่างนั้นแหละท่านเรียก
พุทธันดร ระหว่างแห่งพระพุทธเจ้า จากกัปนี้ ไปสู่กัปนั้นไม่มีศาสนาเลย ว่างเปล่า
ท่านเรียกว่า สุญญกัป ใครเกิดในระหว่างสุญญกัปนี้แล้วเป็นอันว่าจมทีเดียว
ถ้ากรรมชั่วที่สุดแล้วจะไปเกิดในระหว่างสุญญกัปนี่ คือกัปนั้นกับกัปนี้ต่อกัน
เป็นสุญญกัป ไม่มีคำ�ว่าบุญว่าบาป ไม่มีคำ�สั่งสอน มีแต่กิเลสเต็มโลกธาตุนี้
แน่นไปหมดตั้งแต่กิเลสซึ่งก่อฟืนก่อไฟเผาสัตว์ โลกให้ ได้รับความเดือดร้อน
ระส่ำ�ระสาย
มองเห็นกันอย่างนี้มีแต่จะกัดจะฉีก กัดฉีกกันกิน ตามหนังสือท่าน
ใจไม่เคยตาย ๕๙

แสดงเอาไว้ว่าหมดบาป หมดบุญ หมดหิริโอตตัปปะ หมดเสียทุกสิ่งทุกอย่าง


ชื่อว่าธรรมแล้วไม่มีในใจของสัตว์เหล่านั้น มีแต่กัดแต่ฉีกโหดร้ายทารุณ ผู้ตก
นรกก็ตก ผู้ไม่ตกนรกอยู่ข้างบนนรกนี้ก็เป็นอีกนรกหลุมหนึ่ง กัดฉีกกันกิน ไม่รู้ดี
รู้ชั่ว ไม่รู้ผิดรู้ถูก คำ�ว่าความเป็นธรรมไม่มี ในสุญญกัปนั้น ถ้าใครไปเกิดใน
สุญญกัปนี้แล้วก็เรียกว่ากรรมหนาที่สุด เราให้ระวังอย่าให้ได้ไปเกิดในสุญญกัป
เวลานีม้ พี ระพุทธเจ้าพระองค์หนึง่ ประหนึง่ ว่าพระองค์ยงั ทรงพระชนม์
อยู่ด้วยพระโอวาทคำ�สั่งสอนที่ยังอยู่ แนะนำ�สั่งสอนพวกเราอยู่เวลานี้แทน
พระพุทธเจ้า เราได้เกิดพบกัปนี้กัปพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นี้นับว่าเป็น
บุญลาภของเรา อย่าปล่อยเวล่ำ�เวลาให้เสียไปจะเสียประโยชน์เปล่าๆ ไม่เกิด
ผลเกิดประโยชน์อันใด มีแต่ความรุ่มร้อนเป็นฟืนเป็นไฟเผาไหม้คนทำ�ชั่วช้า
ลามกต่างๆ ไม่มีประมาณ ความชั่วก็ ไม่มีประมาณ ความทุกข์ก็ ไม่มีประมาณ
เผาให้เดือดร้อนอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจึงพากันให้ระมัดระวัง
เราอย่าไปตื่นโลกกิเลส เวลานีโ้ ลกกิเลสกำ�ลังหนาแน่นวุน่ วายเต็มไปหมด
ทัง้ บ้านทัง้ เมือง ไปในแง่ใดมุมใดมีแต่การต้มตุน๋ หลอกลวงทัง้ นัน้ ไม่มขี องจริงเลย
มีแต่ของปลอมหลอกลวงกันเต็มบ้านเต็มเมือง นีล่ ะกลมายาของกิเลส ผูท้ ห่ี ลงกล
มันก็หลงไปตาม เพลิดเพลินไปตาม ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมไปตามจนลืมเนื้อลืมตัว
ทำ�ความชั่วช้าลามกจนเสียคนก็มีมากมายก่ายกอง เพราะหลงกลมายาของ
กิเลส ให้เราทั้งหลายจำ�เอาไว้ ระมัดระวังตัวให้ดี
ธรรมของพระพุทธเจ้าเครื่องป้องกันตัวมีอยู่ เหมือนยาประจำ�บ้าน
มีให้รักษาตัวให้ดี ความชั่วปราชญ์ทั้งหลายตำ�หนิติเตียนทั้งนั้นอย่าไปหาญทำ�
ความชั่ว ไม่ว่าจะเป็นทางกายทางวาจาทางใจก็ตาม คิดออกมาความชั่วให้
รีบระงับดับทันที อย่าปล่อยให้คิดลุกลามไปจะเสียตัวของเราเอง นี่ท่านเรียกว่า
รักษาตัวให้รักษาอย่างนี้
ตื่นตามาเช้าให้กราบพระสวดมนต์ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม
พระสงฆ์ ไปทำ�หน้าที่การงานอะไรก็ตาม กิเลสมันทำ�งานตลอดเวลา คิดได้
ทุกอย่างกิเลสไม่มีขอบเขตไม่มีเหตุมีผล ธรรมก็ต้องคิดแนบกันไปนั่นซิ กิเลส
มันคิดได้ทำ�ได้ ธรรมก็ต้องคิดได้ทำ�ได้เหมือนกัน ทำ�หน้าทีก่ ารงานระลึกถึง
คุณธรรม คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ภายในจิตใจเสมออย่าได้ปล่อยได้วาง นี่ชื่อว่า
๖๐ ใจไม่เคยตาย

สร้างความดีอยู่ในอิริยาบถนั้นๆ คือการยืนการเดินการนั่งการนอน มีความพลิก


แพลงเปลี่ยนแปลงอยู่โดยสม่ำ�เสมอ การกระทำ�ของเราทำ�ชั่วมันทำ�ได้ทั้งนั้น
แหละ ทำ�ดีก็ต้องทำ�ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องให้เอาความดีเข้าไปแทน
ร่างกายของเรานี้ ได้มาจากบุญจากกุศล ครั้นได้มาแล้วกิเลสเอาไป
ถลุงเสียหมด เป็นเครื่องมือของกิเลสนี่ใช้ไม่ได้เลย ให้เป็นเครื่องมือของธรรม
เช่นอย่างเราพามาวัดอย่างนี้ เป็นเครื่องมือของธรรม พาทำ�บุญใส่บาตร อันนี้
ก็เป็นเครื่องมือของธรรม พาไหว้พระสวดมนต์ก็เป็นเครื่องมือของธรรม พาทำ�
คุณงามความดีประเภทใดก็ตาม เรียกว่า ร่างกายนีเ้ ป็นเครื่องมือของธรรมทัง้ นัน้
ถ้าพาไปทำ�ความชั่วก็เป็นเครื่องมือของกิเลส ทำ�ลงไปแล้วก็กลับมาเผาไหม้เรา
นั่นแหละ ที่นี่การทำ�ความดีด้วยเครื่องมือคือร่างกายอันนี้ เวลาทำ�เสร็จลงไป
แล้วเป็นความดีมาหนุนตัวของเราให้ได้รับความสุขความเจริญ เพราะฉะนั้น
จึงให้ร่างกายของเราเป็นเครื่องมือในทางที่ดีโดยสม่ำ�เสมอ อย่าปล่อยให้
กิเลสเอาไปถลุงเสียหมดจะเสียผู้เสียคน
วันหนึ่งๆ เราอย่าลืมการทำ�บุญให้ทาน อันนี้ ให้เป็นสมบัติของใจเรา
เป็นประจำ� ร่างกายก็วิ่งเต้นขวนขวาย หามาเพื่ออยู่เพื่อกินเพื่อหลับเพื่อนอน
ใช้สอยต่างๆ มีความจำ�เป็นอยู่อย่างนั้น ก็ต้องวิ่งเต้นขวนขวาย ส่วนทางด้าน
จิตใจเรียกร้องหาความช่วยเหลือจากเจ้าของอยู่ด้วยคุณงามความดีทั้งหลาย
ก็ให้สร้างให้ ข้างนอกก็ให้ชุ่มเย็น มองไปข้างนอก เงินทองข้าวของกองสมบัติ
เต็มบ้านเต็มเมือง มีแต่สมบัติของเราหมดก็เป็นความชุ่มเย็นใจ มองเข้ามา
ภายใน การทำ�บุญให้ทานรักษาศีลภาวนาเราก็ ได้ทำ�เต็มสติกำ�ลังความสามารถ
ของเรา มองดูภายในใจก็ชุ่มเย็นใจ คนคนนั้นพร้อมแล้ว อยู่ก็พร้อมไปก็พร้อม
มีแต่ความสุขความเจริญ นี่การสร้างความดีให้สม่ำ�เสมอ
ร่างกายเป็นความจำ�เป็นอย่างหนึ่งก็หามาเยียวยารักษา จิตใจมีความ
จำ�เป็นอย่างหนึ่งก็หามาเยียวยารักษา อย่าปล่อยอย่าวาง ใจเป็นของสำ�คัญ
มากๆจริงๆ มากกว่าร่างกายไม่รู้กี่ร้อยเท่าพันทวี แต่ส่วนมากโลกมองข้ามใจนั้น
เสีย โดยถือว่าใจนี้เป็นกาย กายเป็นใจไปเสียหมด ความจริงใจเป็นใจ ร่างกาย
เป็นเครื่องมือเท่านั้น ใจมาอาศัยปฏิสนธิวิญญาณ ถือยึดเป็นเจ้าของแล้วก็ว่า
เป็นสมบัติของกาย สุดท้าย กายนี้ก็เลยกลายมาเป็นคนไป ว่าเป็นเราเป็นของ
ใจไม่เคยตาย ๖๑

เราไปเสียหมด ความจริงร่างกายนี้เป็นเครื่องมือเท่านั้น เราจะเห็นได้ชัดก็คือ


นักภาวนา จะเห็นสิ่งนี้ ได้ชัด นอกจากนั้น ไม่มีทางที่จะรู้ได้เลยว่าร่างกายกับใจ
นี้ต่างกันหรือไม่ หรือเป็นอันเดียวกัน นักภาวนาจะรู้ได้เป็นอย่างดี
เวลาจิตสงบเข้าไปจะเป็นเกาะ เหมือนกับเกาะอยู่ในท้องมหาสมุทร
นั่นแหละ มองไปกี่เกาะเราเห็นชัด อันนี้เหมือนกันจิตของเราเป็นจุดแห่ง
ความสงบเย็นใจ และเป็นจุดที่รู้ๆ อยู่ในท่ามกลางร่างกายของเรานี้ นี่คือใจ
นอกจากนั้นเป็นส่วนร่างกาย เทียบกับแม่น้ำ�มหาสมุทรทะเล ใจอยู่ย่านกลางนี้
เรียกว่าเป็นเกาะ นี่ละหลักธรรมชาติแท้ ท่านสอนก็สอนที่ตรงนี้เพื่อใจได้
พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงตัวในทางที่ถูกที่ดี และสั่งสมความดีขึ้นมาใส่ตัวเอง
แล้วก็เป็นความสุขความเจริญ ต่อไปจิตก็มีความสงบ มีความผ่องใส มีความ
แกล้วกล้าสามารถในทางที่ดีขึ้นไปโดยลำ�ดับ ใจก็สง่างามภายในใจ อยู่ที่ไหน
สง่าอยู่ภายในใจ รู้อยู่นั้น นั่นเรียกว่ารู้ ใจ นี่ใจเป็นหนึ่งต่างหาก
ร่ างกายจะเจ็บ ไข้ ไ ด้ป ่วยก็ต ามแต่ ใ จไม่เ จ็บ ใจไม่ป่ว ย ใจไม่ ไข้
ใจไม่เป็นทุกข์ ร่างกายเป็นทุกข์ก็รู้ว่าเป็นทุกข์แต่ไม่ซึมซาบถึงใจ ใจมีความสุข
ความสงบเย็นอยู่ตลอดเวลา นี่เรียกว่า ใจเป็นใจ กายเป็นกายไม่คละเคล้ากัน
พวกเรานีอ่ ะไร เอะอะก็มแี ต่เจ็บหมดนัน่ แหละ อะไรก็เราๆ เข้าไปยึดหมด แบกหาม
ท่านว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ทั้งห้าเป็นภาระอันหนัก ให้เราแบก
เราหามเรายึดเราถือ เราสงวนว่าเป็นเราเป็นของเรา ก็เกิดความทุกข์ความ
ลำ�บากมากขึ้นโดยลำ�ดับลำ�ดา
ภูเขาทั้งลูกหนักขนาดไหนไม่มีใครไปแบกไปหาม เขาก็ ไม่รู้ว่าเขาหนัก
แต่ร่างกายนี้แบกหามด้วยกันทุกคน ด้วยความรับผิดชอบ ด้วยความยึดถือว่า
เป็นเราเป็นของเราด้วยจึงหนักมาก ท่านเรียกว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา อันนี้
เป็นสิ่งหนักมาก นี่เป็นอันหนึ่งต่างหากจากใจ ใจคือความรู้ ร่างกายไม่รู้ ความรู้
ของใจนี้ซ่านออกไปสู่อวัยวะต่างๆ ไปตามประสาทส่วนต่างๆ ประสาทส่วนนี้
สำ�หรับรู้นั้นสำ�หรับรู้นี้ ประสาทส่วนนั้นสำ�หรับรู้สิ่งนั้น เช่น ประสาททางตา
ก็สำ�หรับดูรูป ประสาททางหูสำ�หรับฟังเสียง ประสาททางจมูกสำ�หรับดมกลิ่น
ประสาททางลิ้นสำ�หรับลิ้มรส ประสาททางกายสำ�หรับรับความเย็นร้อนอ่อน
แข็ง นี่ออกไปจากใจ
๖๒ ใจไม่เคยตาย

ความรู้ของใจนั่นแหละ กระแสออกไปในประสาทส่วนต่างๆ เพราะฉะนั้น


ร่างกายจึงรู้สิ่งนั้นสิ่งนี้ พอจิตใจหดตัวเข้ามาเสีย ร่างกายก็เป็นเหมือนท่อนไม้
ท่อนฟืน ไม่เกิดประโยชน์อะไร ไม่รู้เนื้อรู้ตัวอะไรเลย เมื่อกระแสของจิต
คือความรู้นี้สงบเข้ามาสู่ตัวของตัวคือใจนั้นเสีย ร่างกายก็ ไม่มีความหมายอะไร
เหมือนท่อนฟืน เพราะฉะนั้นจึงว่าเป็นคนละอย่าง ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ร่างกาย
เป็นอย่างหนึ่ง จิตใจเป็นอย่างหนึ่ง
จึงต้องสั่งสมคุณงามความดีเข้าสู่ใจ เพื่อใจได้สั่งสมตัวเองด้วยอำ�นาจ
แห่งความดีทงั้ หลายแล้วก็จะเป็นสุขเจริญรุง่ เรืองโดยลำ�ดับลำ�ดา เวลาตายแล้ว
ไปสวรรค์ก็ ไปได้ ไปนิพพานก็ ไปได้ แต่ร่างกายนี้ ไปไม่ได้ พอตายแล้วก็ทิ้ง
เท่านั้นแหละ จะฝังก็ฝัง ไม่ฝังจะเผาก็เผา ไม่เผาก็ทิ้งเกลื่อนอยู่ตามแผ่นดิน
ไม่ไปสวรรค์นิพพานที่ไหนได้ ไม่เหมือนใจ ใจนี้ ไปได้นะ ไปได้ถึงนิพพานทีเดียว
ใจนี้เป็นของไม่ตายไม่เคยตาย เพราะฉะนั้นจงพากันให้อบรมจิตใจของเราให้ดี
ว่าใจเป็นอันหนึ่งต่างหาก ร่างกายเป็นอย่างหนึ่งต่างหาก แต่อาศัยกันอยู่เพียง
เท่านั้น วันนี้เทศน์เพียงเท่านี้ละเหนื่อย เทศน์ทุกวันๆ ให้พี่น้องทั้งหลายจดจำ�
เอาไปประพฤติปฏิบัติตัว ดัดแปลงตัวเองให้ดี
อยู่ที่ไหนๆ ให้มีธรรมให้มีวินัย วินัยแปลว่าเครื่องกำ�จัดความชั่ว ธรรม
เป็นเครื่องทรงไว้ซึ่งความสุขความเจริญภายในจิตใจ ให้เรามีธรรมในวันหนึ่งๆ
ไปถึงบ้านถึงเรือนแล้วก็อบรมลูกหลานให้เขารู้จักศีลจักธรรมตั้งแต่เล็กแต่น้อย
โตขึ้นมาก็เด็กนี้แหละจะเป็นผู้ทรงศีลทรงธรรม ถ้าผู้ ใหญ่ไม่แนะนำ�สั่งสอนเขา
ก็ ไม่รู้เรื่องรู้ราวจะทำ�ยังไง แล้วกลายเป็นเด็กเสีย กลายเป็นผู้ ใหญ่เสียไปตามๆ
กันหมด บ้านเมืองทั้งบ้านทั้งเมืองเลยกลายมีแต่คนต่ำ�ช้าเลวทรามใช้ไม่ได้เลย
ให้สั่งสอนลูกเต้าหลานเหลนของเราให้รู้จักศีลจักธรรมเป็นต้นไปตั้งแต่บัดนี้
หัดตาย
เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๘

ปฏิบัติถึงคราวเด็ดมันต้องเด็ด ถึงคราวเฉียบขาดต้องเฉียบขาด
มันเป็นไปตามจังหวะหรือตามเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับจิตนี่เองแหละ ถึงคราว
จะอนุโลมก็ต้องอนุโลม ถึงคราวจะผ่อนสั้นผ่อนยาวไปตามเหตุตามกาลตามธาตุ
ตามขันธ์ก็มี ถึงคราวหมุนติ้วไปตามอรรถตามธรรมโดยถ่ายเดียวก็มี
เวลาจำ�เป็น ใจซึ่งควรจะเด็ดเดี่ยวต้องเด็ดเดี่ยวจนเห็นดำ�เห็นแดงกัน
อะไรๆ จะสลายไปที่ไหนก็ ไปเถอะ แต่จติ กับธรรมจะสลายจากกันไม่ได้ การปฏิบตั ิ
เป็นอย่างนั้น เราจะเอาแบบเดียวมาใช้นั้นไม่ได้ เพราะธรรมไม่ใช่แบบเดียว
กิเลสไม่ใช่ประเภทเดียวแบบเดียว ประเภทที่ควรจะลงกันอย่างหนักก็มี ประเภท
ที่ควรจะผ่อนผันสั้นยาวไปตามบ้างก็มีตามกาลตามสมัย หรือเกี่ยวกับเรื่องธาตุ
เรื่องขันธ์กำ�ลังวังชาของตัวก็มี ถึงคราวจะทุ่มเทหมดไม่มีอะไรเหลือเลยก็มี
เมื่อถึงคราวเช่นนั้นอะไรจะเหลืออยู่ไม่ได้ มันหากบอกในจิตเอง รู้อยู่กับจิตเอง
“เอ้า..ทุ่มลงไปให้หมด กำ�ลังวังชามีเท่าไรทุ่มลงไปให้หมดอย่าสงวนไว้ กระทั่ง
จิตตัวคงทนไม่แปรไม่แตกสลายเหมือนสิง่ อื่นๆ ก็ไม่สงวนหวงแหนไว้ ในขณะนัน้ ”
เอ้า! จิตจะดับไปด้วยการพิจารณาในสิ่งทั้งหลายที่เห็นว่าดับไปๆ ก็ให้รู้
ว่าจิตนี้มันดับไป จะไม่มีอะไรเหลือเป็น “ความรู้” อยู่ในร่างกายเรานี้ ก็ให้รู้ด้วย
การปฏิบัติธรรมนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดมาเป็นแบบฉบับ
๖๖ “ หัดตาย ”

ถึงคราวที่จิตมันจะล้าง ล้างโลกออกจากใจนี่นะ โลกคือกิเลสนั่นแล


จะรัง้ รองอมืองอเท้าอยูไ่ ม่ได้ ต้องสูจ้ นหัวใจขาดดิน้ ไม่มคี �ำ ว่า “ถอย” สมมุตทิ ง้ั ปวง
ที่มันแทรกอยู่ภายในจิตใจรวมเป็นกองสูงเท่าภูเขานี้ก็ตาม ต้องสู้จนตายหรือ
ชนะแล้วหลุดพ้นอย่างเดียว เพราะเป็น “สงครามล้างโลก” ถึงคราวที่จะล้าง
ให้หมด ต้องสู้ตายขนาดนั้น ล้างจนจิตไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย
เอ้า ให้มันหมดไปด้วยกันเสีย กิเลสมันก็ดับไปๆ จิตที่รู้นี้จะดับได้ด้วย
เพราะถูกทำ�ลายด้วยสติปัญญาก็ให้มันรู้มันเห็นซิ ไม่ต้องเสียดาย เพราะเรา
หาความจริง ใจจะดับลงไปด้วย ก็ให้รู้ว่าเป็นความจริงอันหนึ่ง” ถ้ากิเลสดับไป
ใจก็ดับไปด้วย ไม่มีความรู้ ใดๆ เหลืออยู่ เหลือแต่ร่างกายเป็นหัวตอเพราะไม่มี
ใจครอง ก็ให้มันรู้กันในขณะปฏิบัตินี้แลดีกว่ากาลอื่นใด
ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ธรรมชาติที่บริสุทธิ์ทำ�ไมยังเหลืออยู่ในโลก
สาวกอรหัตอรหันต์ท่านบำ�เพ็ญได้บรรลุธรรม อะไรๆ ขึ้นชื่อว่ากิเลสดับสูญไป
หมดภายในจิตใจ แต่ทำ�ไมใจที่บริสุทธิ์จึงไม่ดับ แล้วเหตุใดพวกเราถึงจะมาดับ
ทั้งจิตด้วยจนหาความบริสุทธิ์ไม่เจอเลย ถ้ามันจะแหวกแนวจากหลักธรรมของ
พระพุทธเจ้าจริงๆ ก็ให้มันรู้ ให้มันเห็น แต่ถ้าจะไม่แหวก ลงถึงกิเลสดับหมด
จริงๆ แล้วจะไม่แหวกแนว ยิ่งจะเห็นของจริงอันวิเศษได้อย่างชัดเจน อะไร
จะหนักยิ่งกว่าการสู้รบกับกิเลส และอะไรจะทุกข์ยิ่งกว่ากิเลสทับจิต เป็น
ไม่มีในโลกนี้
ความโกรธ เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง ความโลภ ความหลง ก็เป็นกิเลส
แต่ละประเภทล้วนทับถมจิตใจเป็นฟืนเป็นไฟเผาใจเราเรื่อยๆ มาไม่มีเวลา
สร่างซา ไม่มอี ะไรจะทุกข์ยง่ิ กว่านี้ การแก้ความโกรธด้วยอุบายต่างๆ แก้ความโลภ
ความหลง ด้วยอุบายต่างๆ ก็ต้องได้ทำ�หนักมือ ย่อมเป็นทุกข์ลำ�บากเพราะการ
กระทำ�เหมือนกัน กิเลสทับถมเราให้เป็นทุกข์แต่ไม่เกิดประโยชน์อะไร เวลาเรา
สู้กับกิเลสย่อมเป็นทุกข์ แต่ได้รับผลประโยชน์ตามกำ�ลังของความเพียร คือ
กิเลสสลายตัวลงไปเป็นลำ�ดับ จนกิเลสไม่มีเหลือเลย นั่นคือ ผลซึ่งเกิดจากการ
ทำ�ด้วยความเป็นทุกข์ การสู้กับกิเลสด้วยความเป็นทุกข์ หรือเราเป็นทุกข์เพราะ
การสู้กับกิเลส ผลปรากฏขึ้นมาเป็นความสุขอย่างไม่คาดไม่ฝัน ต้องเทียบเคียง
เหตุผลอย่างนัน้ เพื่อหาทางรอดพ้นจากบ่วงแห่งมาร ตัวมีเล่หเ์ หลีย่ มร้อยสันพันคม
“ หัดตาย ” ๖๗

และทำ�สัตว์ ให้ลม่ จมอยูใ่ ต้ฝา่ เท้าของมันอย่างเกลื่อนกล่นล้นโลกเรื่อยมา ยากจะมี


ผู้เล็ดลอดไปได้
ปกติจิตใจเสาะแสวงหาเหตุก่อกวนตนอยู่เสมอไม่ว่าจิตของใคร เรื่อง
ของกิเลสเคยเป็นอย่างนั้นเรื่อยมา ไม่เคยเปลี่ยนแปลงแผนการมาทางดีต่อ
มนุษย์และสัตว์ทั่วโลกเลย
เรื่องของสติปัญญาก็ต้องตามสอดส่อง อันไหนที่เห็นว่าเป็นภัยต้องได้
ระงับและต้องฝืนกัน ถ้าไม่ฝืนไม่เรียกว่า “ต่อสู้เพื่อป้องกันตัว” หรือเอาตัวรอด
เพื่อแก้ความทุกข์ที่กิเลสเป็นต้นเหตุสร้างขึ้นนั้นออกจากใจ แม้ลำ�บากก็ต้องสู้
ขืนคิดไปมาก พูดบ่นไปมาก ก็ยิ่งปล่อยไฟให้เผาเรามากขึ้นในดวงใจ หาความสุข
ไม่ได้เลย
อุบายวิธีแก้เจ้าของ แก้อย่างนี้ ปกติของจิตถ้าเราเสริมเท่าไร คล้อย
ไปตามเท่าไร มันยิ่งจะปรุงแต่เรื่องที่จะเกิดความเดือดร้อนวุ่นวายแก่ตนเรื่อยๆ
นั่งอยู่ก็เป็นทุกข์ นอนอยู่ก็เป็นทุกข์ อยู่ที่ไหนก็มีแต่กองทุกข์หาความสุขไม่ได้
จิตเป็นไฟทั้งกองจากความคิดปรุงต่างๆ เพราะฉะนั้นการแก้จึงแก้ลงที่จิตนี้
การระงับ การแก้กิเลสต่างๆ ด้วยอุบายปัญญา ถึงจะหนักบ้างเบาบ้าง
ทุกข์บ้างลำ�บากบ้างยังพอสู้ เพื่อจิตได้พ้นจากภัย คือความทุกข์ความเดือดร้อน
จากกิเลสก่อไฟเผาด้วยความคิดปรุงและความสำ�คัญมั่นหมายต่างๆ เราต้อง
ยอมรับความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจากการต่อสู้นั้นๆ จะชื่อว่า “เป็นผู้รักตน” ไม่
ปล่อยอะไรให้เข้ามาเผาลน ราวกับใจไม่มีเจ้าของรับผิดชอบ ที่ปล่อยใจให้
เร่าร้อน หากำ�หนดกฎเกณฑ์ไม่ได้ วันยังค่ำ�คืนยังรุ่ง แล้วแต่จะเป็นอย่างไร
ตามบุญตามกรรมนั้น มันก็เจอแต่เรื่อง “ตามบุญตามกรรม” เรื่องยถากรรมไป
เรื่อยๆ หาสาระภายในใจเลยไม่มี สุดท้ายก็หาความหมายในตัวไม่มี
การแก้ตัวเองนั้นเพื่อหาสารคุณ เพื่อหาความจริง เพื่อพบความมุ่ง
หมายอันสำ�คัญภายในใจ เพราะเราทั้งคนมีความหมายเต็มตัว จะปล่อยให้สิ่ง
ที่จะมาทำ�ลายความหมายมาทำ�ลายสารคุณภายในจิตใจ โดยไม่มีการต้านทาน
ไม่มีการแก้ ไม่มีการต่อสู้กันเลยนั้นไม่สมควรอย่างยิ่ง ถ้าเราแพ้วันนี้ วันหลัง
เราก็แพ้อีก เพราะเราไม่สู้ศัตรูนั้น ถ้าเราไม่สู้แล้ว เขาไม่ถอยเป็นอันขาด
เพราะได้ท่าได้ทีแล้ว ยิ่งจะเหยียบย่ำ�ทำ�ลายหนักมือเข้าไปโดยลำ�ดับ
๖๘ “ หัดตาย ”

ถ้าเรามีทางต่อสู้มีทางแก้กันบ้าง สิ่งนั้นก็เบาลง อะไรที่เกิดขึ้น คิดขึ้น


เห็นว่าเป็นของไม่ดีรีบแก้มันไม่นอนใจ สิ่งนั้นก็ ไม่มีทางกำ�เริบต่อไป เพราะมีสิ่ง
ระงับมีสิ่งดับกันอยู่เสมอ
ภัยของจิตใจก็คือกิเลส นั้นแล ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ความรัก ความชัง นั้นเป็นภัย เราให้รู้มัน เราแก้มัน แม้จะยังพ้นไปไม่ได้ก็ตาม
การมีสิ่งแก้กันนั้นก็พอสู้กันไปได้ ถ้ามีแต่พิษอย่างเดียวไม่มียาแก้เลยนั้นมันก็
แย่ การสั่งสมแต่พิษภัยขึ้นภายในจิต อุบายแก้ไขไม่มีเลยมันแย่จริงๆ แม้จะบ่น
ตำ�หนิตนมากน้อยก็ ไม่เกิดประโยชน์ มันต้องแก้
เราเป็นคนทั้งคน จิตทั้งดวง มีสาระเต็มดวง จะปล่อยให้กิเลสเหยียบ
ย่ำ�ทำ�ลายโดยไม่มีการแก้ไขการต่อสู้กันเลยนั้น ไม่สมควรกับเราซึ่งเป็นเจ้าของ
จิตใจ ต้องคิดอย่างนี้เสมอ และเร่งเครื่องเข้าเผชิญหน้าท้าทายกับกิเลส
ทุกประเภทว่า “มาเถิด กิเลสตัวใดที่ยังไม่เคยตาย จะได้ทราบความตายเสีย
ในวันนี้เดี๋ยวนี้ เรากำ�ลังรอเขียนใบตายให้อยู่แล้วเวลานี้ กิเลสตัวใดไม่เคย
มีใบตายติดมือ ให้ โผล่ตัวออกมารับมือกับเรา” นี่วิธีปลุกใจให้มีความอาจหาญ
ชาญชัย เพราะใจไม่ผิดอะไรกับช้างม้าตัวพาเข้าสู่สงครามในครั้งก่อนๆ โน้น
พอได้รับการปลุกใจจากเจ้าของผู้ฉลาดเท่านั้น ช้าง ม้าจะเกิดความฮึกเหิม
ผาดโผนโลดเต้นขึ้นทันที แล้วพาเจ้าของวิ่งเข้าสู่แนวรบไม่กลัวตาย
แต่การฝึกจิตนี่สำ�คัญมาก เพราะจิตเราไม่เคยฝึก เคยแต่ปล่อยไปตาม
ยถากรรมตั้งแต่ไหนแต่ไรมา หรือตั้งแต่วันเกิด จะมาหักห้ามเอาให้ได้อย่างใจ
ในวันหนึง่ ขณะเดียวนัน้ มันเป็นไปไม่ได้ การเริม่ ฝึกก็คอื เริม่ หักห้ามจิตใจ ได้บา้ ง
เสียบ้าง เพราะถือว่าเป็นขั้นเริ่มแรก ที่เรายังไม่สามารถอนุโลมปล่อยไป
ก่อนก็มี เมื่อมันหนักเข้าจริงๆ เราก็ต้องอนุโลมไปก่อน แต่หาทางแก้ไขหักห้าม
มันอยู่เสมอภายในใจ เพราะกำ�ลังเรายังไม่พอ ถ้าไม่ปล่อยบ้างจะไปสู้เขาได้
อย่างไร ก็ต้องยอมปล่อยไปก่อน โดยทำ�ความเข้าใจไว้ แล้วค่อยขยับความ
เพียรเข้าไปเรื่อยๆ เร่งไปเรื่อยๆ ด้วยวิธีการต่างๆ
ทุกข์บา้ งทนเอาบ้างจะเป็นไรไป เพราะเราเคยทน ทำ�ไมโลกนีเ้ กิดขึน้ มา
ใครก็ ไม่เคยคิดทนเรื่องทุกข์ แต่มันจำ�เป็น เขาทนได้เราก็ทนได้ แต่เวลาเรา
จะทนบ้างเกี่ยวกับการฝึกจิตที่ได้รับความทุกข์ต่างๆ นั้นทำ�ไมจะทนไม่ได้ สิ่งที่
“ หัดตาย ” ๖๙

ควรทนและพอจะทนได้เราก็ต้องทน โลกนี้ ไม่ใช่โลกสุขล้วนๆ มันมีทุกข์เจือปน


อยู่ด้วยกันทุกคน และไม่ว่างานใด มันมีทุกข์เจือปนอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ขึ้นชื่อ
ว่าการทำ�งานแล้ว งานทางโลกก็ต้องมีทุกข์เพราะการทำ�งาน งานทางธรรมก็
ต้องมีทุกข์เพราะการทำ�งาน ให้อยู่เฉยๆ จะไม่ให้มีทุกข์ ทั้งๆ ที่เราต้องทำ�งาน
อยู่มันเป็นไปไม่ได้ ต้องมีทุกข์ เราก็ยอมรับเพราะการทำ�งาน แต่ทุกข์เพราะการ
ทำ�งานทางด้านกุศลนี้มันเกิดผล ไม่ใช่เป็นทุกข์เฉยๆ
โรคเกิดขึ้นภายในกายเรา เป็นความทุกข์ความลำ�บากและไม่เกิดผลดี
อะไร เรายังต้องอดทนต่อมัน ถ้าเราไม่พิจารณาให้เกิดผลดี ถ้าเราพิจารณา
ให้เกิดผลด้วยอุบายวิธีต่างๆ ของสติปัญญา ทุกข์ก็เป็นเครื่องหนุนปัญญา
ให้แหลมคมได้ และเกิดผลเป็นความสงบ เป็นความรู้เท่าทันกัน ปล่อย
ความกังวลได้ เพราะทราบความจริงด้วยการพิจารณา นี่ก็เป็นผลดี จะทำ�ให้
เกิดผลดีผลชั่วมันเกิดได้ทั้งนั้น
ที่ว่าจะทำ�อะไรลงไปก็กลัวจะลำ�บาก กลัวจะทุกข์ หาแต่เรื่องยุ่งเหยิง
วุน่ วายใส่ตวั นี้ มันเคยมีเคยเป็นมาแล้ว ขออย่าให้มนั มารบกวนเรามากมายนักเลย
ไม่ว่าอะไรถ้าเป็นของดีแล้ว มักจะมีอะไรมาต้านทานมาขัดขวางไม่อยากจะให้ทำ�
นี่คืออุบายของกิเลสที่เคยอยู่เหนือหัวใจเรามานาน จงทราบไว้เสียบ้างว่านี้คือ
เรื่องของฝ่ายต่ำ�มาเหยียบย่ำ�ทำ�ลายเรา และอยู่เหนือจิตใจเราต่อไปไม่ยอมลง
ควรจะผลักมันออกไปก็ให้ผลักไปบ้าง ควรจะต่อสู้ด้วยวิธีใดก็ต่อสู้บ้าง หรือจะ
ต่อสูจ้ นเวทีพงั กิเลสพังก็จะเป็นไรไป ขอแต่อย่าให้เราพังก็แล้วกัน คำ�ว่า “เราพัง” นี้
ไม่อยากได้ยินเลย
แพ้บ้างชนะบ้างไม่เป็นไร ยังมีการต่อสู้ แสดงว่ายังไม่ตายใจกับเขา
ทีเดียว ต้องฝืนกันบ้างอย่างนี้ ฝืนไปฝืนมาความฝืนก็ค่อยมี “วันเคยชิน” ขึ้นมา
อุบายที่จะสนับสนุนการฝืนก็มีขึ้นมา ต่อไปก็ทันกันไปเอง อย่าลืมคำ�ว่า “พุทฺธํ
สรณํ คจฺฉามิ” ที่เคยแสดงแล้วว่าพระองค์เป็นนักรบ นักปราบข้าศึกองค์เอก
จงยึดท่านเป็นขวัญใจ เวลาเข้าสู่แนวรบหรือเวลาปกติ ไม่มีอะไรขวาง นอกจาก
เป็นสิริมงคลอย่างเดียว
พระพุทธเจ้าไม่เป็นผู้ล้างมือคอยเปิบ ท่านถึงขั้นสลบไสลนั้นนะ คนไม่
ทุกข์มากจะสลบไสลหรือ ท่านมีความลำ�บากลำ�บนแค่ไหน การทำ�งานเป็นอย่างนัน้
๗๐ “ หัดตาย ”

เป็นคติตัวอย่างได้ ทุกพระอาการที่แสดงออกมา เราในฐานะพุทธบริษัทไม่ได้


เหมือนพระพุทธเจ้าทุกกระเบียดนิ้วก็ตาม ได้แบบศิษย์มีครูก็ยังดี ถือท่านเป็น
คติตัวอย่างทั้งการบำ�เพ็ญทั้งการยึดถือ ฝากเป็นฝากตายในองค์ “พุทธะ” หรือ
พระพุทธเจ้าผูบ้ ริสทุ ธิ์ ไม่ใช่เอากิเลสเป็นครูทา่ เดียว จะทำ�ความเพียรเมื่อไรท่าใด
ถูกแต่ท่ากิเลสดัดเอาๆ ฟังเสียงแพ้ว่า “ยอมแล้วๆ” กระเทือนไปทั่วจักรวาล
เสียงช้างสารก็ ไม่ดังเท่าเสียงนักรบยอมแพ้กิเลส นี่มันน่าโมโหจะตายไป
คนเราถ้าเห็นกิเลสเป็นภัยบ้างแล้ว ผู้นั้นยังมีทางจะแก้ไขและผ่านพ้น
ไปได้ ถ้าเห็นกิเลสกับเราเป็นอันเดียวกัน หรือเห็นว่าไม่เป็นเรื่องของกิเลส แต่
เป็นเรื่องของเราหมด ก็หาทางแก้กันไม่ได้ เพราะจะกระเทือนคำ�ว่า “เรา” ดีไม่ดี
ถูกกล่อมให้หลับสนิทไม่มีวันรู้สึกตัวได้เลย แบบนี้คือแบบ “จม”
ถ้าสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อเรา สิ่งที่ ให้ความทุกข์ความลำ�บากแก่เรานั้น
เราเห็นว่าเป็นกิเลส เรากับกิเลสก็ถือว่าเป็นข้าศึกกันและต้องต่อสู้กัน ถ้ามีการ
ต่อสู้กันก็แสดงว่าเป็นคนละคน ไม่ใช่เป็นอันเดียวกันเสียจนหมดเนื้อหมดตัว
ยังพอมีสติบ้าง ความเป็นผู้มีสติบ้างนี้แหละ เป็นเหตุให้ต่อสู้ความคิดใน
แง่ต่างๆ ที่เห็นว่าไม่เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษแก่เรา พยายามฝ่าฝืนและ
แก้ไขด้วยปัญญาจนเรื่องนั้นผ่านไป และพยายามแก้ไขให้ผ่านไปด้วยอุบาย
สติปัญญาเรื่อยๆ ต่อไปใจก็ราบรื่นไม่ฝืนมากเหมือนขั้นเริ่มแรกฝึก แม้ทุกข์
ก็ยอมรับ การทำ�งานต้องทุกข์ ทุกข์เพราะผลอันดีไม่เป็นไร ขณะทีเ่ ราสู้ สู้ได้
ขนาดไหนก็สกู้ นั ไป ทำ�กันไป ฝ่าฝืนกันไปด้วยความเห็นทุกข์ นี่เป็นทางเดิน
ของนักปราชญ์ท่านเคยตะเกียกตะกายมาแล้ว ก่อนที่ท่านจะหลุดพ้นล้วนแต่
ตะเกียกตะกายมาด้วยกันทั้งนั้น จะมาล้างมือเปิบเอาเฉพาะเราคนเดียวซึ่งเป็น
ลูกศิษย์ของตถาคต แต่กลับแหวกแนวยิ่งกว่าครูมีอย่างหรือ
ครูมีความทุกข์ ลูกศิษย์ก็ต้องมีความทุกข์บ้าง เพราะเดินตามครู
ร่องรอยท่านเดินอย่างนั้น เราจะหนีจากร่องรอยท่านไปไหน ก็ต้องยอมรับทุกข์
ซึง่ เกิดจากการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องตนโดยชอบธรรม ทุกข์เพราะการบำ�เพ็ญไม่ส�ำ คัญ
เท่าใดนัก แต่ทุกข์เวลาจะตายนี่ซิใครจะช่วยเราได้ ทุกข์เวลาทำ�งาน ถ้ามันทุกข์
มากๆ เรายังพักผ่อนการงานได้ ทุกข์ก็ระงับไป ถ้าจะสู้ไม่ไหว เพราะความทุกข์นี้
หนักมากเกินไป เราผ่อนงานลงบ้างความทุกข์ก็ผ่อนลง เราหยุดงาน ความทุกข์
“ หัดตาย ” ๗๑

ก็ดับไป เช่น เรานั่งภาวนานานมันเป็นทุกข์มาก เราหยุดเสียก่อน พักนี้ทุกข์ก็


ดับไป ก็พอระงับกันไปได้
แต่ทุกข์เวลาจะตายนั้นน่ะ มันระงับไม่ได้ นอนอยู่มันก็ทุกข์ ทุกข์หมด
ทั้งตัวในขณะนอน ลุกขึ้นนั่งมันจะหายไหม ก็ ไม่หาย เดินจะหายไหม ก็ ไม่หาย
อาการใดก็ ไม่หายทั้งนั้น อิริยาบถทั้งสี่เอามาต่อสู้ หรือเอามาใช้กับความทุกข์
ในขณะที่จะตายนั้น ไม่ได้ผลทั้งนั้น เราเอาอันนี้มาเทียบบ้างซิ เวลานั่งนาน
ยืนนานเดินนาน หรือต่อสู้กับเวทนาขณะที่มันเจ็บมากปวดมากขึ้น ตอนที่เรานั่ง
ภาวนานาน ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะที่เราพิจารณานี้จะเกิดขึ้นมากน้อย ถ้าสู้
ไม่ไหวเราถอยได้ นี่อันหนึ่งเป็นข้อลดหย่อนผ่อนผันไปตามความจำ�เป็น แต่อย่า
ถือเป็นความจำ�เป็นจนกิเลสได้ ใจ ถึงกับนั่งภาวนาไม่ได้ เดินจงกรมไม่ได้ ให้ทาน
รักษาศีล ไม่ได้ ต้องมีท่าต่อสู้อยู่เสมอ
ในขณะที่เราจะตาย ทุกขเวทนามันเผาเราหมดทั้งตัวเพราะถอยไม่ได้
ถอยไปอิริยาบถใดก็เป็นไฟไปด้วยกัน ทุกข์อันไหนจะมีน้ำ�หนักมากกว่ากัน
เอาสองข้อนีม้ าเทียบกันดู ก่อนตายเรายังต้องทนทุกข์อยู่ ขนาดทีส่ ู้ไม่ไหวยังต้อง
ทนจนกระทั่งตาย การภาวนานานบ้างนี้ ยังพอสู้ไหวนี่ พอถอยได้ ทำ�ไมเรา
จะทำ�ไม่ได้ คิดดูเรามาเทียบกันดู ความขยัน ความบึกบึน ความมีแก่ใจ ความ
อาจหาญย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยอุบายปัญญาแง่หนึ่ง เวลาจิตมันถอยมันท้อต้องเอา
อุบายปัญญานี้มาใช้ เพื่อเป็นกำ�ลังใจหนุนขึ้นมาให้เกิดความกล้าหาญไม่สะทก
สะท้าน ต่อสู้กันได้ชัยชนะไปโดยลำ�ดับๆ ในขณะนั้นก็มีด้วย
อุบายปัญญา คิดดูให้ดี ให้ทันกลมายาของกิเลส เวลาจะตายมัน
เป็นอย่างนั้นด้วยกันทุกคน ไม่มีใครมีข้อยกเว้น
อิริยาบถทั้งสี่ จะเอาไปใช้ประโยชน์ ในการผ่อนคลายทุกขเวทนาซึ่ง
แสดงขึน้ ในเวลาจะตายนัน้ ไม่ได้ผลเลย มีแต่จะ “แตก” ท่าเดียว มีแต่ทกุ ข์ทา่ เดียว
กระทั่งแตกไป ขณะที่เราจะสู้กับทุกข์เพื่อการทำ�ความดี ทำ�ไมจะสู้กันไม่ได้ ก็มัน
ยังไม่แตกนี่ มันทุกข์ขึ้นมาจริงๆ เราถอยได้ นี่ก็ยังพอฟัดพอเหวี่ยงกันไปด้วย
อุบายปัญญา เวลาจะเอาจริง “เอ้า ขณะที่มันจะตาย อะไรจะตายก็ตายไปเถอะ
เรื่องสติปัญญาถึงขั้นแหลมคมเต็มที่แล้วภายในใจ จะรักษาดวงใจนี้ ได้อย่าง
สมบูรณ์ ไม่มีทุกขเวทนาตัวใดที่จะเข้ามาเหยียบย่ำ�ทำ�ลายจิตใจนี้ให้เสียไปได้
๗๒ “ หัดตาย ”

นี่เรียกว่า แน่ใจเต็มที่!”
ทุกข์เกิดขึน้ ทุกข์นน้ั ก็ดบั ไป ไม่มอี ะไรดับ นอกจากทุกข์ทเ่ี กิดขึน้ แล้ว
ดับไปเท่านั้น มีทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นภายในกาย มีกายที่เป็นตัวเกิดนี้เท่านั้น
เป็นทุกข์ เป็นผู้จะดับจะสลาย ไม่มีอันใดดับ อันใดสลาย นอกจากสิ่งนี้ สิ่งที่
ผสมกันนี้สลายเท่านั้น
ส่วนจิตไม่มีอะไรผสม นอกจากกิเลสเท่านั้นที่มาผสมจิต กิเลสเป็น
สิง่ ทีด่ บั ไปได้ แต่จติ ล้วนๆ ดับไม่ได้ ไม่มดี บั จิตจะดับไปไหน อะไรจะสลาย
ก็สลายไปจะเสียดายมันทำ�ไม ความเสียดายเป็นความเยื่อใย เป็นเรื่องกดถ่วง
จิตใจ ความเสียดายนั้นคือความฝืนคติธรรมดาแห่งหลักธรรมที่ท่านสอนไว้
และเป็นข้าศึกและผู้อาลัยเสียดายอีกด้วย
ทุกข์เกิดขึ้นมากน้อยก็เป็นเรื่องของทุกข์ ทุกข์จะดับไปก็เป็นเรื่อง
ของทุกข์ เราเป็นผูร้ ู้ รูท้ ง้ั ทีท่ กุ ข์เกิดขึน้ ทัง้ ทุกข์ตง้ั อยู่ ทัง้ ทุกข์ดบั ไป ธรรมชาติ
นีเ้ ป็น “ผูร้ ”ู้ ไม่ใช่ผเู้ กิดผูด้ บั จะกลัวความเกิดความดับ กลัวความล่มความจม
ในจิตอย่างไรกัน มันจะล่มจมไปไหน พิจารณาอย่างนี้เพื่อจะฟื้นฟูจิตใจขึ้นมา
จากตมจากโคลน เพื่อให้ ใจได้เห็นชัดรู้ชัดตามความจริง จิตใจจะล่มจมไปไหน
ถึงกลัวนักหนาในขณะจะตาย มันหลอกกันเฉยๆ นี่ ตามความเข้าใจของท่าน
ของเรา ถ้าพูดถึงว่าหลอกกันนะ แต่ไม่มีใครจะมีเจตนาหลอกใครแหละ ตายๆ
นี่น่ะ
โลกเขาสมมุติกันมาอย่างนั้นนับกัปกัลป์ไม่ได้แล้ว เมื่อพิจารณาเข้าถึง
ความจริงแล้ว “โอ..นี่มันหลอกกัน” ความจริงไม่มีอะไรตาย ธาตุสี่ ดิน น้ำ� ลม ไฟ
สลายลงไปแล้วก็ ไปอยู่ตามธาตุเดิมของเขา จิตที่กลัวตายนี้ยิ่งเด่น มันไม่ได้
ตายนี่ เห็นชัดๆ อย่างนี้ อะไรเป็นสาเหตุให้จิตตายไม่มี เห็นชัดๆ อยู่ว่าไม่มี
ใจยิ่งเด่น ผู้ที่รู้ที่พิจารณาสิ่งทั้งหลายนั้นยิ่งเด่น
เราไม่หวงอะไร จะไปก็ ไปเมื่อถึงคราวแล้ว ผู้ที่รู้ก็รู้ตามเหตุตามผล
ไม่ถอยในเรื่องรู ้ ผทู้ สี่ ลายก็สลายไป ไม่อาลัยไม่เสียดาย ไม่หวง หวงทำ�ไม มันหนัก
ยึดไว้ทำ�ไม สิ่งเหล่านี้เป็นของหนักมาก
การรู้ตามเป็นจริง ปล่อยวางตามสภาพของมัน นั่นแลคือความจริง
ไม่กังวล ถึงอยู่ไปอีกมันก็จะตายอย่างนี้ อยู่เพื่อตาย อยู่เพื่อแตก เวลานี้พิจารณา
“ หัดตาย ” ๗๓

ให้เห็นความแตกดับเสียก่อนตั้งแต่ยังไม่แตก นี่เป็นสิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่ง
สำ�หรับผู้มีปัญญา นี่ขั้นสำ�คัญ
ผู้พิจารณาเช่นนี้จะเป็นผู้ไม่หวั่นไหว เห็นชัดตามเป็นจริง ที่ชื่อว่า
“เวทนา” นั้น มันเป็นอะไร มันก็เวทนานั่นแล มันเป็นเราเมื่อไร มันเกิดขึ้นมัน
ดับไป เราทำ�ไมจะเกิดขึ้นดับไปอยู่วันยังค่ำ�คืนยังรุ่งเช่นนั้น ถ้าเวทนาเป็นเรา
ถ้าเวทนาเป็นเราแล้ว เอาที่ไหนเป็นที่แน่ใจว่า “เป็นเรา” หรือสาระอะไรว่า
เป็นเราได้ ทุกขเวทนาเกิดขึ้นก็ว่าเราเกิดขึ้น ทุกขเวทนาดับไปก็ว่าเราดับไป
มีแต่เราเกิดเราดับอยู่วันยังค่ำ� คืนยังรุ่ง หาความแน่นอนที่ไหนได้ ถ้าเราจะ
ไปเอาเรากับทุกขเวทนามาบวกกันมันไม่ได้เรื่อง เหลวไหลทั้งนั้น เพราะฉะนั้น
เพื่อความจริง เพื่อความไม่เหลวไหลต้องให้ทราบ ทุกข์มันเกิดขึ้นมากน้อย
ต้องให้ทราบว่าทุกข์เกิดขึ้นคือเรื่องของทุกข์ มันตั้งอยู่ก็คือเรื่องของทุกข์
มันดับไปก็คือเรื่องของทุกข์ เราผู้รู้ทั้งทุกข์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็น
เรื่องของเรา เป็นเรื่องของความรู้นี่
“สัญญา” จำ�ได้แล้วมันดับ เราเห็นไหม มันเกิดมันดับอยู่อย่างนั้น
เป็น “เรา” ได้อย่างไร เอาความแน่นอนกับมันได้ที่ไหน ท่านจึงว่า “สญฺญา
อนิจฺจา สญฺญา อนตฺตา”
“สังขาร” ปรุงดีปรุงชั่ว ปรุงเท่าไรมันก็ดับไปพร้อมกันทั้งนั้น ถ้าเราจะ
เอา “เรา” เข้าไปสู่สังขาร มันเกิดดับวันยังค่ำ� หาความสุขไม่ได้เลย
“วิญญาณ” มันกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบเมื่อไรมันรู้ๆ
รู้แล้วดับไปพร้อมๆ กัน ทั้งขณะที่เกิดที่ดับมันขึ้นในขณะเดียวกัน เราจะเกิด
ดับๆ เกิดดับอยู่อย่างนั้น หาความแน่นอนเที่ยงตรงได้อย่างไร
เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นอาการอันหนึ่งๆ เท่านั้น ผู้ที่รู้สิ่งทั้งหลาย
เหล่านี้แลคือ ใจ ความรู้เป็นสิ่งที่แน่นอน เป็นสิ่งที่ตายตัว ขอให้รู้สิ่งภายนอก
อันจอมปลอมทั้งหลายนี้ ว่าเป็นสภาพอันหนึ่งๆ เท่านั้น จิตนี้จะตั้งตัวได้อย่าง
ตรงแน่วไม่หวั่นไหว จะเกิดขึ้นก็ ไม่หวั่นไหว จะไม่เกิดขึ้นก็ ไม่หวั่นไหว จะดับไป
ก็ ไม่มีอะไรหวั่นไหว เพราะจิตรู้เรื่องทุกสิ่งทุกอย่าง บรรดาอาการที่อาศัยกันอยู่
และรู้ทั้งตัวจริงคือธรรมชาติของจิตแท้ว่าเป็นตัวของตัวแท้ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ด้วยปัญญาซักฟอกด้วยดีแล้ว ผู้นี้เป็นผู้แน่นอน นี่แหละท่านผู้แน่นอน คือ
๗๔ “ หัดตาย ”

ท่านผู้รู้ธรรมชาติที่แน่นอน และรู้ถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหลายตามความเป็นจริง
ปล่อยวาง สลัดปัดทิ้งออกตามส่วนของมัน ส่วนไหนที่จริงให้อยู่ตามธรรมชาติ
แห่งความจริงของตน เช่น จิต เป็นต้น
นี่หลักความจริง หรือหลักวิชาที่เรียนมาเพื่อป้องกันตัว เพื่อรักษาตัว
เพื่อความพ้นภัย เปลื้องทุกข์ทั้งหลายออกจากตัว นี่คือหลักวิชาแท้ เรียนธรรม
เรียนอย่างนี้เรียนเรื่องของตัวเอง เรียนเรื่อง “ความรู้” ความคิดต่างๆ เรียน
เรื่องกาย เรื่องเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็น “อาการ ๕ อย่าง” นี้
ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับใจ ถึงกับเหมาว่า นี่เป็นตนเป็นของตน ให้รู้ตามความ
เป็นจริงของมันทุกอาการ แล้วปล่อยวางไว้ตามสภาพแห่งอาการของมัน
นี่ เรียกว่า “เรียน” เรียกว่า “ปฏิบัติ” เรียกว่า “รู้” รู้ก็ละ ก็ถอน
ถ้ารู้จริงแล้ว ต้องละต้องถอน เมื่อละถอนแล้ว ความหนักซึ่งเคยกด
ถ่วงจิตใจที่เนื่องมาจาก “อุปทาน” ก็หมดไปๆ เรียกว่า “จิตพ้นจากโทษ” คือ
ความจองจำ�จากความสำ�คัญมั่นหมายที่เป็นเหตุให้จองจำ� พ้นอย่างนี้แลที่ว่า
“จิตหลุดพ้น” ไม่ได้เหาะเหินเดินฟ้าขึ้นไปที่ไหน พ้นตรงที่มันข้องนั่นแหละ
ที่มันถูกจองจำ�นั่นแหละ ไม่ได้พ้นที่ไหน รู้ที่มันหลงนี่แหละ สว่างที่มันมืดนั่นเอง
นี่จิตสว่าง คือสว่างที่ตรงมืดๆ มืดมนอนธการ มืดอยู่ภายในตัวเอง
ทีนี้เวลาพิจารณาปฏิบัติไป สติปัญญาเกิดขึ้นๆ ส่องแสงสว่างให้เห็น
ความจริงในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตน ทราบว่าเป็นเพียงสิ่งที่เกี่ยวข้อง สลัดออกได้
โดยลำ�ดับๆ เมื่อความสว่างรอบตัวก็ปล่อยได้หมด
“ธมฺโม ปทีโป” จะหมายถึงอะไร ถ้าไม่หมายถึง “จิต” ดวงที่สว่าง
รอบตัว ไม่มีอะไรเจือปนเลยจะหมายถึงอะไร นี่เรียกว่า “ธรรมแท้” ธรรมแท้
ที่เป็นสมบัติของเราหมายถึงธรรมนี้ ที่เป็นสมบัติของเราแท้ ที่เป็นสมบัติของ
พระพุทธเจ้าก็ที่ประทานไว้เป็นตำ�รับตำ�รา
เราเรียนเท่าไร ก็มีแต่ความจำ� ไม่ใช่เป็นตัวของตัวแท้ เอาความจำ�นั้น
เข้ามาปฏิบัติให้เป็นความจริง จนปรากฏขึ้นเป็น “ธมฺโม ปทีโป” เฉพาะภายใน
ใจเรานี้ เป็นสมบัติของเราแท้ นี้แลคือ “ธรรมสมบัติ” ของผู้ปฏิบัติ
พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์อย่างนี้ที่ประทานศาสนาไว้ ให้รู้จริงเห็น
จริงตามนี้ “สนฺทิฏฺฐิโก” ไม่ทรงผูกขาด ผู้ปฏิบัติจะพึงรู้เองเห็นเอง “ปจฺจตฺตํ
“ หัดตาย ” ๗๕

เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ” ท่านผู้รู้ทั้งหลายจะพึงรู้เฉพาะตน คือหมายถึงรู้อย่างนี้


นี่เป็นผลของการปฏิบัติธรรม เมื่อได้ผลเต็มที่แล้ว อยู่ไหนก็อยู่เถอะ แสนสบาย
หมดกังวล โลกจะมีมากมีน้อยเพียงใดมีความวุ่นวายขนาดไหน ผู้นี้ ไม่วุ่น เพราะ
ผู้นี้ ไม่เป็นโลก ผู้นี้ ไม่หลง
เรื่องโลกมันกว้างขวางมาก ไกลจากตัวของเราออกไป เฉพาะอย่างยิ่ง
ที่เกี่ยวข้องอยู่ทั้งวันทั้งคืน ก็คือ “ขันธ์ห้า” กับ “จิต” นี่แหละ มันเกี่ยวข้องกัน
จนจะแยกกันไม่ออก แต่นี้เรายังสามารถแยกออกได้ ทำ�ไมเราจะไปหลงว่าเป็น
“โลก” ด้วยกัน
นี่แหละการปฏิบัติ ผลเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้แน่นอนไม่เป็นอื่น ขอให้
ผลิตขึ้นมาพิจารณาขึ้นมา ปัญญาหุงต้มกินไม่ได้ ใช้ได้แต่แก้กิเลส ใช้แก้ความ
งมงายของเจ้าของเท่านั้น ให้พิจารณา เรียนตรงนี้แหละเรียนธรรม อย่าไปเรียน
ที่อื่นให้มากมายก่ายกอง เพราะพิษอยู่ตรงนี้ โทษภัยก็อยู่ตรงนี้ แก้ตรงนี้แล้ว
คุณค่าอันสำ�คัญก็เกิดอยู่ที่นี่เอง
ตอบปัญหาเรื่องนิพพาน
ณ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๒

ถาม พระนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา ใคร่ขอเรียนหลวงตาช่วยให้


คำ�อธิบายด้วยครับ
ตอบ เรื่องพระพุทธศาสนา ขณะนี้สื่อมวลชนคือชาวพุทธเรานี้แล
กำ�ลังวิพากษ์วิจารณ์เรื่องพระนิพพาน แต่เรื่องกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ
ราคะตัณหาเต็มหัวใจ ไม่เห็นวิพากษ์วิจารณ์กันบ้าง นี่เอาพระนิพพานมาถาม
หลวงตาบัว หลวงตาบัวเกิดมาไม่ได้เกิดมากับพระนิพพาน เกิดมากับราคะ
ตัณหา พ่อแม่เสพสมกัน ลูกแตกออกมาเป็นหลวงตาบัว แล้วไม่เห็นมีใครวิพากษ์
วิจารณ์ เข้าใจไหมล่ะ นี่เอะอะวิพากษ์วิจารณ์เรื่องพระนิพพาน หลวงตาบัว
ก็จนตรอก ถ้าวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องความโลภ ความโกรธ ราคะตัณหานี้
ไม่ต้องตอบ รู้กันทุกคน หรืออันนี้ที่ไม่ถามนั่นน่ะ เพราะรู้กันทุกคนนี้เหรอ เอ้า
จะวินิจฉัย จะตอบให้พี่น้องทั้งหลายได้ทราบ เรื่องพระพุทธศาสนาเป็นธรรมะ
ที่ลึกซึ้งมาก เกินกว่าความรู้ของคนมีกิเลสสามไตรโลกธาตุนี้จะทราบธรรมของ
พระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงรู้ทรงเห็นและประกาศสอนพวกประชาชน
สัตว์ โลกทั้งหลาย เป็นธรรมที่เลิศเลอถึงกับพระพุทธเจ้าทรงท้อพระทัย เพราะ
ความรู้นี้ ธรรมนี้ลึกซึ้งละเอียดสุด จะเรียกว่าเกินกว่าสัตว์ทั้งหลายจะรู้จะเห็น
จะเข้าใจตามได้ แต่เมื่อพระองค์มาทรงวินิจฉัยใคร่ครวญดูนั้น เทียบอุปมา
๘๐ ตอบปัญหาเรื่องนิพพาน

เหมือนกับว่าภูเขาทั้งลูกนี้ มองไปเต็มไปด้วยหินผาป่าไม้ ซึ่งไร้สาระทาง


ประโยชน์อันสูงและอันสูงสุด พระองค์จึงท้อพระทัย เพราะมองดูภูเขาทั้งลูกไร้
สาระไปประหนึ่งว่าเกือบทั้งหมด ทรงพินิจพิจารณาด้วยพระญาณก็หยั่งทราบว่า
ภูเขาลูกนี้แม้จะไร้สาระไปเกือบทั้งหมดก็ตาม แต่ส่วนที่ยังเหลือพอที่จะเป็นสาร
ประโยชน์จากวัตถุแร่ธาตุต่างๆ ในภูเขาลูกนี้ยังมี พระองค์จึงทรงพินิจพิจารณา
แล้วการท้อพระทัยในการที่จะสั่งสอนโลกนั้น ทรงมีพระเมตตาที่จะถอดจะถอน
เอาสารประโยชน์จากภูเขาลูกนั้น คำ�ว่าภูเขาลูกนั้น หมายถึงสัตว์ โลกทั้งหลายนี้
เต็มไปด้วยสิ่งที่ไร้สาระ แต่สิ่งที่มีสาระมีอยู่จำ�นวนน้อย ได้แก่คุณธรรมภายในใจ
พระองค์จึงทรงแนะนำ�สั่งสอนพวกที่ควรจะได้เป็นสาระ
เหมื อ นอย่ างเราไปหยิบ เอาแร่ธ าตุต ่า งๆ ในภูเ ขาลูก นั้น ซึ่ง เป็น
สารประโยชน์มาทำ�ประโยชน์ต่อไป นี่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนสัตวโลก แม้จะมี
จำ�นวนน้อยก็มีสารคุณอันล้นพ้นที่ควรจะสนพระทัยในการแนะนำ�สั่งสอน แล้ว
จึงมาสั่งสอน นี้พูดถึงเรื่องว่าศาสนาหรือธรรมนี้ เป็นสิ่งที่ประหนึ่งว่าสุดวิสัย
ของโลก ที่จะรู้ที่จะเห็นจะเอื้อมถึงได้ ที่พระองค์ท้อพระทัย ละเอียดลออสุขุม
ขนาดนั้น ทีนี้พูดถึงพระนิพพานก็คือธรรมประเภทนี้เอง ประเภทที่โลกนี้สุดวิสัย
ทีนี้มีผู้ถือนิพพานว่าเป็นอัตตาหรืออนัตตานั้น ขอชี้แจงทางภาคปฏิบัติ
เอาหัวใจหลวงตานี้ออกยันเลย ให้พี่น้องทั้งหลายได้ทราบว่า หลวงตาปฏิบัติ
ธรรมเพื่อมรรคผลนิพพานมานี้ตั้งแต่วันออกปฏิบัติ ฟัดกับกิเลสบนภูเขา ตาม
ถ้ำ�เงื้อมผาป่าช้าป่ารกชัฏ ไม่ได้ออกมาอยู่ตามเมืองตามนา แม้จะไปอยู่จังหวัด
ไหนก็ตาม อยู่ในป่าในเขาอย่างนี้ตลอดมา เพื่อเป็นความสะดวก เป็นสนามชัย
ที่จะฟาดฟันหั่นแหลกกับกิเลสได้ โดยสะดวก จึงต้องอุตส่าห์พยายามค้นคิดมา
ตั้งแต่เริ่มแรก
ที่จิตวุ่นวายส่ายแส่เป็นฟืนเป็นไฟภายในหัวใจนี้ ก็เห็นประจักษ์ ใน
หัวใจนี้ตลอดมา เอาธรรมเหมือนกับน้ำ�ที่สะอาดชะล้างเข้าไป ด้วยความพาก
ความเพียรความอุตส่าห์พยายามบึกบึนตลอดไป ก็เหมือนกับน้ำ�คอยชะล้าง
สิ่งที่สกปรกทั้งหลายนั้นให้จางลงไปๆ จิตใจปรากฏเป็นแสงสว่างขึ้นมาภายใน
หัวอก ความรู้คือใจแท้ๆ อยู่ในหัวอกนี้ อาศัยในท่ามกลาง สิ่งเหล่านี้เป็นเรือนร่าง
ของจิตดวงนั้น อันนี้เป็นเครื่องมือเป็นเรือนร่าง
ตอบปัญหาเรื่องนิพพาน ๘๑

เหมือนอย่างศาลาหลังนี้เป็นเรือนร่างสำ�หรับอยู่ของพวกเรา อันนี้
ร่างกายนี้ก็เป็นเรือนร่างสำ�หรับอยู่ของใจ ใจนี้รู้ซ่านไปหมด ทางตาก็เป็นเครื่อง
มือของความรู้นี้เพื่อเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ทางหูก็เป็นเครื่องมืออันหนึ่งสำ�หรับได้ยิน
จากผู้รู้อันนี้ส่งออกไปรับทราบจากเครื่องมืออันนี้ อันนี้รับรู้อันนั้น อันนั้นรับรู้
อันนั้น จนกระทั่งประสาทส่วนต่างๆ ทั่วร่างกายของเรา อะไรมาสัมผัสสัมพันธ์
นี้รู้ไปหมดตามความรู้สึกที่ส่งไปในเครื่องมือต่างๆ ให้รู้นั้นให้เห็นนี้ ให้สัมผัสนั้น
สัมผัสนี้ นี่เรียกว่าอาการหรือทางเดินของจิต เครื่องมือของจิตที่ใช้อยู่ หมายถึง
ร่างอันนี้ทั้งหมด นี้เป็นเครื่องมือของความรู้นั้นล้วนๆ
เพราะฉะนั้นเวลาเครื่องมือชำ�รุด เช่น คนตาบอดแล้วมองไม่เห็น
ทั้งๆ ที่ความรู้มีอยู่แต่เครื่องมือทางดูนี้ชำ�รุดไปเสีย ตาบอด หูหนวกฟังไม่ได้ยิน
ส่วนสัมผัสอันใดที่ขาดวิ่นหรือด้านไปอย่างนี้ มันก็ ไม่รับทราบสิ่งต่างๆ ทั้งหลาย
เรียกว่าเครื่องมือหายไปๆ ชำ�รุดลงไปจนใช้ไม่ได้ เมื่อใช้ไม่ได้ทั้งหมดนี้เรียกว่า
ตาย เครื่องมือนี่ใช้ไม่ได้แล้วเรียกว่าตาย จิตดวงที่รู้นี้ถอนออกจากร่างนี้ ออกไป
สู่กำ�เนิดนั้นไปสู่กำ�เนิดนี้ นี่ละจิต พี่น้องทั้งหลายจำ�ให้ดีนะ นี่ละหลักพุทธ
ศาสนาอย่างแท้จริงที่พระพุทธเจ้าทรงรู้ทรงเห็นทรงปฏิบัติมา สั่งสอนโลกดังที่
นำ�ออกมาเวลานี้
ทีนี้ความรู้นี้คือจิต จิตนี้ ไม่มีสิ่งที่อาศัย สมบัติเงินทองข้าวของทุกสิ่ง
ทุกอย่างที่เต็มอยู่ภายนอกซึ่งเรายึดว่าเป็นเจ้าของนี้ หมดความหมายในขณะที่
ลมหายใจได้ขาดจากร่างลงไปเท่านั้น เรียกว่าคนตาย สิ่งเหล่านั้นก็พังไปด้วย
กันหมด ทีนี้จิตนี้ ไม่ตาย บาป บุญ แทรกอยู่กับจิตนี้ ไม่ตายด้วยกัน ไปด้วยกัน
ผู้มีบาปมากก็ ไปตกนรก มีบาปมากเท่าไรก็ลงนรกจมปิ๋งๆ นรกท่านแสดงไว้
ถอดจากพระทัยของพระพุทธเจ้ามาประกาศให้ โลกทั้งหลาย ผู้มีญาณความรู้
อย่างพระพุทธเจ้าสามารถมองเห็น เช่นพระอรหันต์องค์เชี่ยวชาญรู้เห็นอย่าง
พระพุทธเจ้าทรงรู้ทรงเห็น แม้จะไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ก็เห็นเป็นสักขีพยาน
พระพุทธเจ้าได้เป็นอย่างดี
แล้วผู้ที่ทำ�บาปทำ�กรรมมากจะตกนรกหลุมที่หนึ่ง เรียกว่า มหันตทุกข์
มหันตโทษ ตกนรกอยู่ไม่ทราบกี่กัปกี่กัลป์ กว่าจะได้หลุดพ้นจากนรกหลุมนี้ แล้ว
เลื่อนขึ้นมาจากนรกหลุมนี้ เป็นความทุกข์เบาขึ้นมาแล้วก็อยู่นรกหลุมนี้ เบาขึ้น
๘๒ ตอบปัญหาเรื่องนิพพาน

มาอยู่นรกหลุมนี้ๆ เรื่อยไป ไม่ได้ขาดออกมาอย่างเดียว ไม่ได้พ้นอย่างเดียว


เหมือนเขาติดคุกติดตะราง เขาติดคุกติดตะรางนั้น โทษจะกี่ปีก็ตาม เมื่อพ้นโทษ
แล้วหลุดจากเรือนจำ�มา พ้นโทษแล้วเข้าถึงบ้านทันที ไม่ต้องไปเป็นอะไร
ต่ออะไรต่อไปอีก ไม่ตอ้ งเสวยกรรมหนักกรรมเบาอะไรต่อไปอีก ออกจากเรือนจำ�
พ้นความเป็นนักโทษแล้วก็เข้าถึงบ้านทันที ไปบ้านทันที เรียกว่าหมดโทษ
ในทันทีจากความเป็นนักโทษในเรือนจำ�
แต่คนตกนรก สัตว์ตกนรกนี้ไม่เป็นอย่างนัน้ พ้นจากนรกหลุมมหันตทุกข์
นี้แล้ว เลื่อนขึ้นมาทุกข์เบาขึ้นมาๆ เรื่อยๆ กว่าจะพ้น นรกท่านแสดงไว้
๒๕ หลุม นรก ๒๕ ขุมสำ�หรับรับกรรมของสัตว์ทั้งหลายผู้มีหนักเบาต่างกัน
กรรมชั่วหนักที่สุดท่านแสดงไว้ ๕ ประการ คือ ฆ่าบิดา ๑ ฆ่ามารดา ๑
ฆ่าพระอรหันต์ ๑ ฆ่าพระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ ทำ�สังฆเภทให้สงฆ์แตกจากกัน ๑
ทำ�ลายพระพุทธเจ้าแม้ ไม่ถึงตายก็ตาม เพียงบอบช้ำ�ส่วนใดส่วนหนึ่งแห่ง
พระอวัยวะก็เป็นกรรมหนักเช่นเดียวกัน ๑ เรียกว่ากรรมหนัก ๕ ประเภท
หากว่าโลกมนุษย์เรานี้ยังพอมีสติสตังอยู่บ้างแล้ว ให้รีบยับยั้งทันที
ในกรรม ๕ ประเภทนี้เป็นกรรมที่เด็ดขาดแสบร้อนที่สุดเลย ลงในนรกหลุม
มหันตทุกข์มหันตโทษเป็นอันดับหนึ่งของนรกที่เสวยกองทุกข์มหันตทุกข์อยู่
ในนั้นหมด นี่กรรม ๕ ประเภทนี้ลงในหลุมนี้แล้วหย่อนลงมา เช่น ฆ่าสัตว์
ผู้มีบุญมีคุณ ฆ่าผู้ฆ่าคนผู้มีบุญมีคุณ ลดหย่อนกันลงมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงการ
ฆ่าสัตว์ทั่วๆ ไป บาปก็จะมีเป็นลำ�ดับลำ�ดาหนักเบามากน้อยต่างกันอย่างนี้ เรื่อง
ตกนรกก็ตกตามนี้ๆ จำ�ให้ดีนะ ถอดจากศาสนาของพระพุทธเจ้ามาให้พี่น้อง
ทั้งหลายได้ทราบ ตามหลักความจริงเป็นอย่างนี้ ลบไม่สูญ สามแดนโลกธาตุ
ใครจะมาลบเรื่องบาปเรื่องบุญ นรก สวรรค์ พรหมโลก นิพพานลบไม่ได้
ทั้งนั้น เป็นหลักธรรมชาติมีมากี่กัปกี่กัลป์นับไม่ได้เลย นี่ละสัตว์ทั้งหลาย
เวียนว่ายตายเกิดตกอยู่อย่างนี้ นี่หมายถึงความชั่วที่เป็นอยู่กับจิต จิตดวงนี้
ไม่ตาย แล้วก็พาจิตดวงนี้หมุนลงไปในนรก ตามแต่กรรมหนักเบาเสวยไปโดย
ลำ�ดับ จนกระทั่งพ้นจากนรกมาแล้ว ยังต้องมาเป็นเปรตเป็นผีหาขอทานกินกับ
ญาติกับวงศ์ ดังที่เราทำ�บุญอุทิศให้ผู้ตายทุกวันนี้แหละ
ตอบปัญหาเรื่องนิพพาน ๘๓

เราทำ�บุญอุทิศให้ผู้ตายนี้ เปรตมี ๑๓ ประเภท อันนี้เรียก ปรทัต


ตูปชีวีเปรต เปรตพวกนี้เวลาพ้นมาแล้วมาเป็นเปรตจำ�พวกนี้แล้ว ก็มีความ
สามารถที่จะรับส่วนบุญส่วนกุศลจากญาติพี่น้องพ่อแม่ญาติวงศ์ทั้งหลายได้
ทีนี้พอเราทำ�บุญให้ทานเราอุทิศส่วนกุศล เปรตพวกนี้ก็มารับได้ นอกจากนั้น
รับไม่ได้ นี่เปรตมี ๑๓ จำ�พวก จำ�พวกเดียวที่รับได้ ให้พี่น้องทั้งหลายทราบไว้
เสีย นี่ขึ้นมาเป็นเปรต จากนั้นก็มาเป็นคน เป็นคนพิการง่อยเปลี้ยเสียแข้งเสีย
ขา เป็นมนุษย์ไม่เต็มบาทขาดตาเต็ง ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ วิการง่อยเปลี้ยเสีย
แข้งเสียขา มนุษย์ขาดอวัยวะ จากนั้นมาก็เป็นมนุษย์สมบูรณ์ นี่หมายถึงพวกที่
ทำ�บาปทำ�กรรมหนัก ทำ�กรรมหนักดังที่กล่าวมาแล้วนี้
ไม่ว่ากรรมประเภทใดไม่มีที่ลับไม่มีที่แจ้ง เปิดเผยอยู่กับการกระทำ�
ของตัวเอง จะไปทำ�ในที่มืดก็ตามในที่แจ้งก็ตาม เจ้าของเองผู้ทำ�บาปไม่มีที่
มืดที่แจ้ง เป็นกรรมชั่วตลอดเวลาในขณะที่ทำ� นี่หมายถึงการทำ�ชั่ว ทีนี้เวลา
ทำ�ลงไปแล้วบาปนี้ ไม่มีที่ลับที่แจ้ง เป็นบาปตลอดเวลาขณะที่ทำ�ลงไปมากน้อย
นี่ละกรรมเหล่านี้ติดอยู่กับใจของสัตว์ทั้งหลาย พอตายแล้วถ้าใครมีกรรมหนัก
ก็ดีดผึงเดียว ไม่ต้องได้ถามกันว่าจากนี้ ไปถึงนั้นกี่กิโล จากจังหวัดนี้ถึงจังหวัด
นั้นกี่กิโล จากนรกหลุมนี้ ไปนรกหลุมนั้นกี่กิโล ไม่ต้องถามกัน ขาดสะบั้นลงไปที
เดียวผึงถึงเลยๆ ไม่มีนาทีโมงกาลสถานที่ที่ไหนไม่มี อันนี้ถึงทันทีเลย นี่เราพูด
ถึงเรื่องความชั่วที่ติดอยู่กับหัวใจของสัตวโลก พาให้สัตว์ทั้งหลายได้รับความ
ทุกข์ความทรมานอยู่ตลอดเวลา
พวกเราทัง้ หลายทีเ่ กิดมานีเ้ กิดมาด้วยอำ�นาจแห่งกรรมดีกรรมชัว่ ไม่ได้
เกิดมาด้วยอำ�นาจวาดภาพลมๆ แล้งๆ ไปเฉยๆ ดังที่วาดกันมาตลอดแต่
หาความจริงไม่ได้ นี้เอาความจริงมาพูด นี่เราพูดถึงเรื่องความชั่วมันติดหัวใจ
พาสัตว์ทั้งหลายให้ตกนรกตั้งแต่มหันตทุกข์ขึ้นมาจนกระทั่งถึงมนุษย์ ส่วนการ
ทำ�ดีก็เหมือนกัน การทำ�ความดีนี้ ไม่มีที่แจ้งที่ลับเช่นเดียวกับการทำ�บาป ทำ�มาก
ทำ�น้อยทำ�ที่ไหนก็ตาม จะเป็นบุญเป็นคุณติดแนบกับใจเช่นเดียวกัน
ใจนี้เป็นเหมือนเก้าอี้ตัวหนึ่ง ข้างนี้เป็นบาป ข้างนี้เป็นบุญ ติดอยู่
ภายในใจ เพราะฉะนัน้ เวลาตายแล้วจิตนี้ไม่เคยตาย บาปบุญติดแนบอยูภ่ ายในใจ
จึงส่งผลให้ไปเกิดในที่ชั่ว เช่นตกนรก บุญทำ�ให้เกิดในสถานที่ดี เช่นมาเป็น
๘๔ ตอบปัญหาเรื่องนิพพาน

มนุษย์ที่สมบูรณ์แบบมีวาสนาบารมี แล้วก็ ไปสวรรค์ เป็นเทวบุตรเทวดาชั้น


นั้นๆ สวรรค์มี ๖ ชั้น นรกมี ๒๕ หลุม สวรรค์เป็นฝ่ายความดีนี้มี ๒๒ ชั้น ตั้งแต่
จาตุมฯ ขึ้นไปถึงปรนิมมิตวสวัตดี มี ๖ ชั้น พรหมโลกมี ๑๖ ชั้น นี้สำ�หรับบรรจุ
คนผู้สร้างบุญสร้างกุศล สร้างได้มากได้น้อยควรจะเกิดมาเป็นมนุษย์ก็มาเป็น
มนุษย์ ควรจะเป็นเทวบุตรเทวดาก็ ไปเป็นเทวบุตรเทวดา อินทร์ พรหม ตลอด
แล้วผู้ที่มีบารมีสูงสุดเป็นจิตที่บริสุทธิ์ทรงวิมุตติพระนิพพานไว้ ในหัวใจแล้ว ดีด
ผึงถึงพระนิพพานทีเดียวเลย นี้เรียกว่าวิบากกรรม มีอยู่กับทุกคนทุกตัวสัตว์
เราไม่ได้มาเกิดอย่างลอยๆ เราเกิดมาด้วยอำ�นาจแห่งบุญแห่งกรรม
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงไม่ให้ประมาทกัน ใครจะเกิดในสถานที่ใดสกุลใด
มั่งมีศรีสุขหรือทุกข์จนหนโลกขนาดไหนก็ตาม ท่านไม่ให้ประมาทกัน เพราะเรา
นี้เกิดมาด้วยอำ�นาจแห่งกรรมของตนๆ แต่ละคนๆ ไม่สับปนกัน ท่านจึงไม่ให้
ประมาทกัน วาระเขาทำ�ชั่วเขาก็มีกรรมประเภทนี้ เขาทำ�ดีประการใด เขาก็มี
ความดีประเภทนี้ๆ ไม่คละเคล้ากัน เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่ให้ประมาทกัน ถึงวาระ
ทีเ่ สวยกรรมชัว่ ก็มี เสวยกรรมดีกม็ ี สัตว์ทกุ ตัวสัตว์เป็นอย่างนัน้ เรื่อยมาเป็นลำ�ดับ
นี่พูดถึงจิตดวงนี้ ไม่ตาย มันพาสัตว์ ให้เกิดให้ตาย หมุนเวียนสูงๆ ต่ำ�ๆ อยู่นี้
ตลอดมากี่กัปกี่กัลป์ในสัตว์บุคคลรายหนึ่งๆ นี่ตายไม่รู้กี่กัปกี่กัลป์มาเรื่อยโดย
ลำ�ดับ นี่คือจิตไม่ตาย
ทีนี้ย่นเข้ามา เมื่อเราสร้างวาสนาบารมีแก่กล้าสามารถแล้ว จะเป็นการ
ทำ�บุญให้ทานประเภทใดก็ตาม ทีแ่ จ้งทีล่ บั กัปกัลป์ไหนไม่นบั แต่จะฝังอยูท่ จ่ี ติ
ฟักตัวอยูท่ จ่ี ติ นัน่ แล ถ้าเป็นบาปก็ฟกั ตัวอยู่ในจิต เป็นบุญก็ฟกั ตัวอยู่ในจิต จน
บุญนีส้ มบูรณ์แบบแล้วก็หนุนผูบ้ �ำ เพ็ญนี้ให้หลุดพ้นถึงพระนิพพาน ถึงธรรมชาติ
ที่ว่าสุดวิสัยที่จะนำ�มาประกาศสอนโลกได้ เพราะเลยโลกเลยสงสารเลยสมมุติ
โดยประการทั้งปวง นี่ท่านเรียกว่านิพพาน หรือเรียกว่าธรรมธาตุ ผู้สร้างบารมี
สมบูรณ์แบบแล้วเข้าถึงขั้นนี้ ขั้นหาที่คาดที่หมายไม่ได้ แต่ไม่สงสัยสำ�หรับ
ผู้ทรงธรรมประเภทนั้น เช่น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์
แม้พระองค์เดียวไม่เคยสงสัยธรรมชาติอันนี้เลย เพราะจิตกับธรรมชาตินั้น
เป็นอันเดียวกันแล้ว นี่เรียกว่านิพพาน
ตอบปัญหาเรื่องนิพพาน ๘๕

ทีนี้จะมาตอบปัญหาละที่นี่นะ เรื่องพุทธศาสนาขณะนี้ สื่อมวลชน


กำ�ลังวิพากษ์วิจารณ์เรื่องพระนิพพาน จึงขอนมัสการเรียนถามว่า พระนิพพาน
เป็นอัตตาหรือเป็นอนัตตา นี่ถามว่าอย่างนี้นะ
พระนิพพานนั้นคือพระนิพพาน นี่ตอบแล้วนะนี่นะ ท่านแสดงไว้ ใน
ธรรมว่า มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ มรรค ๔ นั้นได้แก่ โสดาปัตติมรรค โสดา
ปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค
อรหัตผล นี่เรียกว่า มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ คือพ้นจาก ๘ ภูมินี้ ไปแล้วเป็น
นิพพาน ๑ นิพพานมีหนึ่งเท่านั้นไม่เคยมีสอง ไม่มีสองกับอัตตา ไม่มีสามกับ
อนัตตา นิพพานคือนิพพาน อัตตา อนัตตา นั้นเป็นทางเดินเพื่อพระนิพพาน
ล้วนๆ เป็นพระนิพพานไปไม่ได้
ผู้ที่จะพิจารณาให้ถึงพระนิพพาน ต้องเดินเหยียบย่างไปในไตรลักษณ์
คือพิจารณาไปกับเรื่อง ทุกขัง เรื่อง อนิจจัง อนัตตา และอัตตา ซึ่งเป็นกอง
แห่งกิเลสสุมเต็มอยู่ในนั้น ให้ถอนอัตตานุทิฏฐิ คือความเห็นว่าเป็นตนเป็นตัว
เหล่านี้ออกเสียได้ จิตจึงจะหลุดพ้นเป็นพระนิพพาน เพราะฉะนั้นพระนิพพาน
จึงเป็นพระนิพพานเท่านั้น เป็นอัตตาเป็นอนัตตาไม่ได้ เพราะอัตตากับอนัตตา
นั้นเป็นทางเดินเพื่อพระนิพพาน เช่นเดียวกับเราเดินก้าวขึ้นสู่บันได ขั้นหนึ่ง
สองขั้นขึ้นไป จนกระทั่งถึงที่สุดของบันได ก้าวเข้าสู่บ้านของเรา เมื่อเข้าสู่บ้าน
แล้วบันไดก็เป็นบันได บ้านก็เป็นบ้าน จะให้บ้านกับบันไดมาเป็นอันเดียวกันไม่ได้
นี่คำ�ว่าไตรลักษณ์ก็ดี อัตตาก็ดี นี่คือบันไดก้าวเข้าสู่มรรคผลนิพพาน เมื่อพ้น
จากนี้ ปล่อยนี้หมดแล้ว จิตก็ก้าวเข้าสู่พระนิพพาน เหมือนกับว่าเราก้าวเข้าสู่
บ้านของเรา หมดปัญหากับบันได บันไดจึงจะกลายเป็นบ้านไปไม่ได้ บ้านจะ
มากลายเป็นบันไดไปไม่ได้ บ้านต้องเป็นบ้าน บันไดต้องเป็นบันได
นี่ไตรลักษณ์คือ อัตตาก็ดี อนัตตาก็ดี เป็นบันไดทางก้าวเดินเพื่อ
มรรคผลนิพพาน จะเป็นนิพพานไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นนิพพานจึงเป็นนิพพาน
นิพพานมีอันเดียวเท่านั้น ไม่มีสองกับอัตตาที่โปะเข้าไปเป็นส่วนเพิ่มส่วนเติม
เข้าไป เหมือนกับดินเหนียวติดพระนิพพานเป็นไปไม่ได้ อนัตตาก็เป็นทาง
เดินจะเป็นพระนิพพานไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นนิพพานคือนิพพานเท่านั้น เรียกว่า
มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เป็นทางก้าวเดินเพื่อพระนิพพาน
๘๖ ตอบปัญหาเรื่องนิพพาน

ขอให้พี่น้องทั้งหลายทราบตามนี้ ผิดถูกประการใดเราพูดตามหลักความจริง
ที่ว่ายกตัวหลวงตาออกมา หลวงตาได้ก้าวเดินตามนี้แล้ว พิจารณา
อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อตฺตา ทั้งหมดนี้ จนรอบคอบขอบชิดหาที่ตำ�หนิไม่ได้แล้ว
จิตปล่อยวางจาก อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา และ อตฺตา นี้แล้วดีดผึงถึงความบริสุทธิ์
วิมุตติเต็มหัวใจนี้ จะว่าอันนี้เป็นนิพพาน จะว่าก็ ได้ ไม่ว่าก็ ได้ ถึงขั้นนี้แล้วหมด
ปัญหา พ้นจากบันไดขึ้นมาถึงบ้านแล้ว
นี่ละการปฏิบัติธรรมต้องให้รู้ที่ใจ อย่าลูบๆ คลำ�ๆ นำ�เพียงตำ�รับตำ�รา
มาเป็นหนอนแทะกระดาษถกเถียงกัน เดี๋ยวเขาจะหาว่าพวกเราชาวพุทธนี้เป็น
หมากัดกันในกระดาษอย่างนั้นก็อาจเป็นได้ แล้วอย่าไปตำ�หนิเขานะ ถ้าเราไม่
ปฏิบัติเอาเพียงกระดาษมาเถียงกัน เถียงวันยังค่ำ�ก็ ไม่มีสิ้นสุด เหมือนอย่าง
ที่เรียนหนังสือ เรียนปริยัติเรียนอรรถเรียนธรรม เรียนตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึง
พระนิพพาน เรียนบาปสงสัยบาป เรียนบุญสงสัยบุญ เรียนนรกสงสัยนรก
เรียนสวรรค์สงสัยสวรรค์ จนกระทั่งพรหมโลก นิพพาน เรื่องเปรตเรื่องผี
ตำ�รับตำ�ราท่านแสดงไว้ เรียนไปถึงไหนสงสัยไปถึงนั้น เรียนถึงพระนิพพานก็
ไปตั้งเวทีต่อสู้กับพระนิพพาน ว่านิพพานมีหรือไม่มีหนา สุดท้ายก็ให้กิเลสลบ
ไปหมด ว่านิพพานไม่มี ก็เป็นอันว่าลบไปหมด บาปไม่มี บุญไม่มี นรกไม่มี
สวรรค์ไม่มี ไปเสียหมด นี้คือกิเลสลบนักปริยัติที่เรียนหนังสือ ทั้งท่านทั้งเรา
เป็นแบบเดียวกันหมด หาความหมายไม่ได้ หาตนเป็นตนเป็นตัวไม่ได้ เพราะ
ได้แต่ชื่อของบาปของบุญของนรกของสวรรค์ของนิพพาน ไม่ได้ตัวจริงของสิ่ง
เหล่านี้มาครองในหัวใจ หายสงสัยไม่ได้
ทีนี้การปฏิบัติ บุญมีที่ไหน ไม่มีที่ไหน รู้ที่ใจ บาปมีไม่มีที่ไหน ปรากฏที่ใจ
เพราะใจเป็นนักรู้ ตลอดนรก สวรรค์ พรหมโลก นิพพาน จ้าขึ้นที่ใจหายสงสัย
หมด นี้เรียกว่ารู้จริงเห็นจริง ไม่ใช่เป็นความจำ�ที่เรียนมาจากตำ�รับตำ�ราซึ่ง
ถกเถียงกันไม่มีวันหยุดได้เลย แต่ถ้าเข้าภาคปฏิบัติแล้วจะเจอเข้าไปโดยลำ�ดับๆ
เช่นพี่น้องทั้งหลายมาสู่สถานที่นี่ สถานที่นี่บางท่านไม่เคยเห็นก็จะคาดวาดภาพ
ไปต่างๆ ว่า เห็นจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ พอก้าวเข้ามาสู่สถานที่นี่แล้วหายสงสัย
ไหม ดูซิสถานที่นี่เป็นยังไงบ้าง นี่เราก้าวเข้าสู่มรรคสู่ผลก็เหมือนกัน สมาธิเป็น
ยังไง ปัญญาเป็นยังไง วิมุตติหลุดพ้นเป็นยังไง บาป บุญ นรก สวรรค์ เป็นยังไง
ตอบปัญหาเรื่องนิพพาน ๘๗

จะจ้าขึ้นที่หัวใจนี้แล้วหายสงสัย ไม่ต้องไปทูลถามพระพุทธเจ้าไปถามใคร เพราะ


เป็นของอันเดียวกัน เหมือนอย่างเรามาสู่สถานที่นี่ เป็นของอันเดียวกันคือ
ศาลาหลังนี้ เห็นอย่างเดียวกัน รู้อย่างเดียวกัน ถามกันหาอะไร นี่เรื่องมรรคผล
นิพพานก็เช่นเดียวกันนี้แหละ ไม่ต้องถามกัน
วันนี้ ได้ตอบปัญหาให้พี่น้องทั้งหลายได้ทราบ ถึงเรื่องนิพพานเป็น
อัตตาหรืออนัตตา อัตตากับอนัตตาเป็นทางเดินเพื่อพระนิพพาน จะเป็นพระ
นิพพานไปไม่ได้ ให้จิตประจักษ์กับหัวใจตัวเองซิ อนัตตาก็เต็มหัวใจ อัตตาเต็ม
หัวใจ ด้วยความรู้รอบขอบชิดโดยทางปัญญา มีมหาสติมหาปัญญาเป็นสำ�คัญ
ในภาคปฏิบัติ ที่จะฆ่ากิเลสเหล่านี้ให้หลุดลอยไปได้ มีมหาสติมหาปัญญาเท่านั้น
มหาสติมหาปัญญาเป็นเครื่องมืออันทันสมัยฆ่ากิเลสขาดสะบั้นไปเลย เมื่อ
มหาสติมหาปัญญาได้พิจารณาอันนี้รอบหมดแล้ว สลัด อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา
และ อตฺตา ออกจากใจ แล้วจิตดีดเป็นพระนิพพานขึ้นมาเลย นั่นละเรียก
ว่านิพพาน ไม่ใช่ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา และ อตฺตา ซึ่งเป็นทางเดินนี้ ไปเป็นพระ
นิพพาน อันนี้เป็นทางเดิน
เมรุ
บางส่วนจากเทศน์อบรมพระและฆราวาส
ณ วัดซำ�ขามถ้ำ�ยาว จ.ขอนแก่น
เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒

ทีนี้เมื่อวาระสุดท้ายเราตายลงไปแล้ว เราได้ประกาศไว้เรียบร้อยแล้ว
อย่างไม่มีเคลื่อนมีคลาดไปไหนเลยว่า ในงานศพของเรานี้ ที่ใครก็ตามมาบริจาค
จากชาวพุทธของเรา มาบริจาคเพื่อเผาศพของหลวงตาบัวนี้ เราจะตั้งคณะ
กรรมการที่บริสุทธิ์ยุติธรรมขึ้นมา ให้เก็บหอมรอมริบเงินจำ�นวนนี้ทั้งหมด เสร็จ
เรียบร้อยแล้วนำ�เข้าสู่คลังหลวง เป็นวาระสุดท้ายของเรา เราจะไม่นำ�เงินเหล่านี้
ไปเผาศพหลวงตาบัวเป็นอันขาดเพราะการเผาศพเราจะเผาด้วยไฟ เราไม่ได้
เผาด้วยเงินด้วยสมบัติอื่นใด จะเผาด้วยไฟเหมือนโลกทั่วๆ ไปเขาเผากัน
เงินจำ�นวนนี้ทั้งหมดเราจะยกเข้าสู่คลังหลวง เพื่อช่วยชาติเป็นวาระสุดท้าย
แห่งขันธ์ของเราที่ทำ�ประโยชน์แก่ชาติ มาถึงขั้นสุดท้ายปลายแดนในคราวนี้
จึงได้ประกาศให้พี่น้องทั้งหลายทราบว่า นี้แล คือ ความเสียสละของเราที่มีต่อ
โลกมีมาอย่างนี้ เราจึงอุตส่าห์พยายามเรื่อยมาอย่างนี้แหละ
ทีนี้ ในงานศพของเรานี้มันจะเป็นปัญหาอันใหญ่หลวง เราคิดไว้หมด
เคยคิดมาเรียบร้อยแล้วทุกอย่าง คิดอะไรไม่เห็นมีอะไรผิดพอที่จะคัดค้าน
ความคิดของตนว่า เราคิดอย่างนั้นเราดำ�เนินหรือทำ�อย่างนั้นผิดไป อย่างนี้เรา
ไม่เคยปรากฏ อันนี้เราก็คิดอย่างนั้นเรียบร้อยแล้วว่า งานศพของเรานี้จะเป็น
งานตลาดหลวงแห่งกิเลส ทีจ่ ะเข้าตีกอบโกยเอาสมบัตเิ งินทองประเภทต่างๆ เข้าสู่
๙๒ เมรุ

พุงหลวงของตัวๆ ด้วยแง่ด้วยกลอุบายต่างๆ นี้เป็นไปได้ไม่สงสัย เพราะโลกนี้


มันสกปรกด้วยกิเลสโดยอาศัยศาสนา เฉพาะอย่างยิ่งอาศัยศพหลวงตาบัว
มาบริจาคแล้วก็จะหาทางกอบโกยไป
เพราะฉะนั้น...เราจึงต้องกั้นกางทางเหล่านี้ที่จะไหลลามแห่งความ
สกปรก และความฉิบหายแห่งสมบัติของชาติ ที่เราจะนำ�เข้าสู่ชาตินี้ ให้ห่าง
ออกไปไม่ให้เข้ามา เราจะตั้งคณะกรรมการขึ้น เวลานี้เราก็ ได้บอกแล้ว เวลา
เราตายให้เป็นอย่างนั้นอย่าเป็นอย่างอื่น เป็นไปไม่ได้ คือให้ตั้งคณะกรรมการที่
บริสุทธิ์ยุติธรรมขึ้นมา

หลวงตาบัวตายเขาจะโยนลงเหวหลวงตาบัวก็ไม่สนใจ เผาไม่เผา ฝังไม่ฝงั


เราไม่สนใจกับประสากระดูก มันก็เหมือนกระดูกไก่นั่นแหละกระดูกคน กระดูก
เหมือนกันตื่นเต้นหาอะไร แต่นี้พูดถึงเรื่องเมรุ มันเกี่ยวข้องกับคนที่จะมา
ยุ่งเหยิงวุ่นวาย พวกสกปรกจะมาตีตลาด เราจึงบีบบังคับเอาไว้ อย่างมากให้
ทำ�ขนาดนี้เท่านั้นเมรุเรา อย่าให้เลยนี้ เงินที่มาบริจาคทั้งหมดให้ขนเข้าคลัง
หลวงทั้งหมด เมรุของเราศพของเรานี้จะเผาด้วยไฟเท่านั้น ใครมีไฟที่ไหน
เอามาเผา พอเท่านั้น จึงทำ�เป็นแบบฉบับไว้เพียงเท่านั้น เรียกว่าอนุโลมนะนั่น
ถ้าธรรมดาแล้วไม่จำ�เป็น เผากบเผาเขียดเขาเผากันยังไง เผาหลวงตาบัวก็เผา
แบบเดียวกันไม่เห็นยากอะไรเลย แต่นี้คนมันเกี่ยวข้อง โลกเกี่ยวข้อง จึงต้อง
อนุโลมให้ทำ�เพียงขนาดนั้น ท่านทั้งหลายได้เห็นอยู่นี่ที่หน้าวัดเมรุหลวงตาบัว
เราก็ ไม่ได้แน่ใจนักนะว่าเราจะได้เผาที่เมรุนั้น หรือมันจะตกทวีปไหน
ก็ ไม่รู้ ก็เพราะความดังของหลวงตาบัวนั้นแหละ จะพาตัวให้ตกลงทะเลทวีปไหน
ก็ ไม่รู้นะ ถ้าธรรมดาหลวงตาบัวแล้ว เมรุไม่เมรุไม่จำ�เป็น ตายที่ไหนเผาที่นั่นเลย
สบาย แต่นี้มันจะเป็นไปไม่ได้เพราะกระแสของโลกมันมาก เราก็ต้องอนุโลม
ตามอย่างนั้นแหละ ดังที่กล่าวให้พี่น้องทั้งหลายทราบ
เมรุ ๙๓

อันนีก้ ารเผาศพก็อย่างว่านัน่ นะเมรุให้ท�ำ พอประมาณเท่านัน้ ถึงจะพูนดิน


ไม่พูนดินไม่จำ�เป็นอะไรแหละ ขอให้ทำ�ที่เรียบๆ นั้นละคือความเหมาะสม
ความถูกต้องความดีงามของธรรม โลกเอาอันนี้เป็นประมาณ โลกจะมี
ประมาณ การอยู่การกินการใช้การสอยจะไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมเป็นบ้ากันไปทั่วบ้าน
ทั่วเมือง เอาแบบเอาฉบับของพระพุทธเจ้าไปใช้ พอดิบพอดี นี่ละธรรม
มีประมาณ เพราะฉะนั้นการเผาศพเผาเมรุ ผู้ตายท่านก็มีแบบมีฉบับของท่าน
มีธรรมมีวินัยปกครองท่านเรียบร้อยตลอดมา เวลาท่านตายไปแล้วก็อย่าให้ไป
ทำ�เลอะๆ เทอะๆ เผาศพเผาเมรุ เรี่ยไรเงินยุ่งไปหมด ใช้ไม่ได้นะ
ให้ทำ�เรียบๆ เอ้า มีอะไรทำ�เรียบๆ แล้วก่อฟืนขึ้นมา ยกคันดินขึ้นสัก
หน่อยพอพ้นน้ำ�แล้วก่อฟืนขึ้นมาให้งามตา พอดีพ้นภัยคือน้ำ� แล้วเผากันที่นั่น
นี้เป็นความสวยงามมากทางด้านอรรถธรรม แล้วยังเป็นการประกาศก้องให้
พี่น้องชาวพุทธเราได้ทราบว่า ความหรูหราฟู่ฟ่านั้น คือทางแห่งความฉิบหาย
ของเราของชาติบ้านเมือง อย่านำ�มาใช้ ในวงงานครอบครัวของตน ตลอด
วงราชการต่างๆ อย่านำ�มาใช้ ความหรูหราฟู่ฟ่าเป็นอันตรายต่อส่วนรวม ให้ทำ�
พอดิบพอดี อยู่พอดีกินพอดีใช้สอยพอดี ทุกสิ่งทุกอย่างให้มีความพอเหมาะ
พอดี ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม เหมือนทำ�เมรุนี่พอดี ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ไม่เป็นบ้าเมรุ
พากันเข้าใจนะ นี่เราสอนอย่างนี้
แต่การที่จะเผาศพนั้นจะเอาระยะเวลาใดให้พิจารณาอีกทีหนึ่งนะ
เรายังไม่กำ�หนดวันให้ ให้ลงกันเสียก่อน แต่ที่จะดองไปเป็นปีเป็นเดือนเราไม่
อยากฟัง ดีไม่ดีอาจไม่มาเผาศพนี้ก็ ได้ เมื่อขัดต่อธรรมแล้ว เราถือธรรมก็ขัดต่อ
เราด้วย ถ้าเป็นธรรมแล้วถึงไหนถึงกันเลย เราไม่มีคำ�ว่าสูงว่าต่ำ� ตรงไหนเป็น
ธรรมเราจะเข้าตรงนั้น ถ้าตรงไหนสกปรกรกรุงรัง จะเอาสมบัติแดนฟ้าแดน
สวรรค์มาประดับร้านหลอกลวงเรา เราก็ ไม่ไป ให้พากันเข้าใจอย่างนี้ก็แล้วกัน
รายนามผู้สมทบทุนพิมพ์หนังสือ
๑. นายอรุณ-นางหนูจันทร์ แสงทอง
๒. นายมารุต-นางชนิตา-ด.ช.นิติรุจน์ แสงทอง
๓. นายตะวัน-นางเต็มดวง แสงทอง
๔. คุณพัชรินทร์ แสงทอง
๕. คุณรุ่งนภา แสงทอง
๖. นายศิริศักดิ์-นางนงนุช-น.ส.ศิวนุช ไชยรงศรี
๗. ธนพลเภสัช กุมภวาปี
๘. นายปัญญา เอื้อวงศ์กูล
๙. หจก.เอื้อปัญญา
๑๐. นายวิศิษฎ์-นางศิริกุล เอื้อวงศ์กูล และครอบครัว
๑๑. ครอบครัวโชติชัยสถิตย์
๑๒. น.ส.จันทนา เอื้อวงศ์กูล
๑๓. น.ส.วิลาวัณย์ เอื้อวงศ์กูล
๑๔. นายชาญฤทธิ์ เอื้อวงศ์กูล
๑๕. นายสมนิจ-นางสมพิศ-นายคุณารักษ์ คุณากูลสวัสดิ์
๑๖. คุณสุวรรณ-คุณสุภาพร ยอดลัดดา
๑๗. น.ส.ประภาพร สุภไพสิฐกุล
๑๘. นายอลงกรณ์ ถาวร
๑๙. ด.ญ.ศิรประภา ถาวร
๒๐. ด.ช.เจษฏา ถาวร
๒๑. น.ส.ตวงพร อึ้งนภารัตน์
๒๒. คุณดรุณี สุภไพสิฐกุล
๒๓. คุณมนฤดี สุภไพสิฐกุล
๒๔. คุณอรอนงค์ สุภไพสิฐกุล
๒๕. คุณสมพร สุภไพสิฐกุล
๒๖. คุณวิทยา สุภไพสิฐกุล
๒๗. คุณโสภา และครอบครัวโฆษิตสันติวงศ์
๒๘. คุณอภิฤดี และครอบครัวแก้วเบ้า
๒๙. คุณศุภากร-คุณอาวุธ และครอบครัวทวีกิจถาวร
๓๐. คุณแม่ไล-คุณอำ�นาจ ทองอ่อน
๓๑. คุณไสว-คุณจารุวรรณ และครอบครัวหมู่บ้านม่วง
๓๒. คุณธวัฒน์ชัย และครอบครัวอุทัยวัฒน์
๓๓. คุณชุลีพร และครอบครัวธรรมสาลี
๓๔. คุณเสงี่ยม และครอบครัวปานทอง
๓๕. คุณสุชาติ และครอบครัวประภาสพรชัย
๓๖. คุณวิลาวัลย์ ภูทองจันทร์
๓๗. คุณประสมศักดิ์-คุณพัชรี และครอบครัวถิ่นฐาน
๓๘. คุณพนม-คุณลำ�จวน ศรีรอด
๓๙. ร้านเสริมสวยสุชาดา เมืองเก่า
๔๐. น.ส.จงกลนี ศิริรัตน์
๔๑. นายพัลลภ-นางวิไล พจนธารี
๔๒. น.ส.ชัญญา พจนธารี
๔๓. นายวีระ พจนธารี
๔๔. น.ส.ณภัทร ประภาสุชาติ
๔๕. นายธีระ-นางจิรสุดา วัชรปราณี
๔๖. ด.ช.ปรัตถกร วัชรปราณี
๔๗. นางสาวศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว
๔๘. น.ส.จิรัญญา ว่องปรีชา
๔๙. นายดุษฎ์พงษ์ วงศ์ศศิธร
๕๐. นางดวงพร วงศ์ศศิธร
๕๑. ด.ญ.ดุจพร วงศ์ศศิธร
๕๒. นายทรงศักดิ์ งามฤทธิ์
๕๓. นางดุลยา งามฤทธิ์
๕๔. นายทินวัฒน์ งามฤทธิ์
๕๕. น.ส.ทิพย์ลดา งามฤทธิ์
๕๖. นายดุษฎี วงศ์ศศิธร
๕๗. นางพยุง วงศ์ศศิธร
๕๘. นายดิษฐพร วงศ์ศศิธร
๕๙. นายดิษฐพล วงศ์ศศิธร
๖๐. นายวีรยุทธ โถวประเสริฐ
๖๑. นางดุลยรัตน์ โถวประเสริฐ
๖๒. ด.ญ.ณัฐณิชา โถวประเสริฐ
๖๓. ด.ญ.ณัฐธิดา โถวประเสริฐ
๖๔. นางลมัย อัศวานันท์
๖๕. น.ส.ดวงฤดี อัศวานันท์
๖๖. นายธนกฤต ภัทร์ธราธร
๖๗. นางปุณิกา ภัทร์ธราธร
๖๘. นางอังสนา จันทร์นาค และครอบครัว
๖๙. นายศิริชัย จิตตวิสุทธิกุล และครอบครัว
๗๐. คุณอัจฉรา สาชาติ และครอบครัว
๗๑. ครอบครัวจงเจษฎากูล
๗๒. คุณนกเล็ก แซ่จัง และครอบครัว
๗๓. นายย่งเหงียน แซ่หยี่
๗๔. นางแสวง เสริมมา
๗๕. นายกู้เกียรติ ญาติเสมอ
๗๖. นางศิวพร ญาติเสมอ
๗๗. น.ส.ศิว์กีรติ ญาติเสมอ
๗๘. ด.ญ.กีรกนิษฐ์ ญาติเสมอ
๗๙. ครอบครัว ผศ.สมบูรณ์ และ ผศ.สุชาดา มิ่งเมือง
๘๐. อาจารย์สยาม ดร.แววบุญ แย้มแสงสังข์
๘๑. นายวิธวัฒน์ พรหมมีชัย และ นางสวนีย์ ศรีสัมฤทธิผล
๘๒. น.ส.ปภาดา เจนบุญญานนท์ และครอบครัว
๘๓. นายชัยยศ-นางดารณี วัชรโยธินกุล
๘๔. ร้อยตำ�รวจโทวรรณะ วัชรโยธินกุล
๘๕. นายดุสิต ธรรมรัตน์
๘๖. นายอัมพล ศุภสิน
๘๗. นายกฤดิชัย ตั้งมงคลสุข
๘๘. น.ส.วราวรรณ ปรีชากุล
๘๙. น.ส.สารนิตย์ ปรีชากุล
๙๐. นางฮวย ปรีชากุล และลูกหลาน
๙๑. นายสมพิศ-นางสุฬิยา-ดช.กิตตินันท์ จันทร์สุย
๙๒. ร้านอิ่มบุญ ตลาดสดเสรีเซ็นเตอร์ ชั้น G
๙๓. นายวรพงษ์-นางรสสุคนธ์ ปรีชากุล และครอบครัว
๙๔. น.ส.รสมาลี กิจพงษ์ประพันธ์
๙๕. นายจิตติ-นางเฟื่องฟุ้ง กิจพงษ์ประพันธ์ และครอบครัว
๙๖. นายภาคิน-นางสุพัตรา กิจพงษ์ประพันธ์
๙๗. ครอบครัวสุวรรณโชติ
๙๘. ผศ.นพ.เสริมศักดิ์-ทพญ.กรรณิการ์ สุมานนท์ และครอบครัว
๙๙. นางเฟื่องฟู ประสาทศิลป์ และครอบครัว
๑๐๐. น.ส.เจริญ น้อยบุตร
๑๐๑. หมู่บ้าน P.S โฮม ขอนแก่น
๑๐๒. นายศุภเชษฐ์-นางวาสนา ศรีเสถียรวงศ์ และบุตรธิดา
๑๐๓. นางสมจิตร สุวรรณโชติ
๑๐๔. นายวรเศรษฐ์-นางจีรนุช พฤฒิศาสตร์
๑๐๕. นายจเรศักดิ์-นางอรุณี ด.ญ.พริมา ด.ช.สรัณกร วงศ์ชัยเจริญมิตร
๑๐๖. ครอบครัวมหาศิริกุล
๑๐๗. ผศ.จงรัก-นางประภากรณ์ สามารถ
๑๐๘. ครอบครัวไตรองค์ถาวร
๑๐๙. นายสมเดช-นางโสภา ปริตวดี และบุตร
๑๑๐. นางนัฐริตา ศรีประเสริฐ (ร้านบ้านดอกไม้)
๑๑๑. ช.สยามยนต์ (บางนา)
๑๑๒. นางสกุลนา เพชรินทร์ และครอบครัว
๑๑๓. นางเพลินพิศ พาแก้ว และครอบครัว
รับชมและรับฟังพระธรรมเทศนาของหลวงตาได้ที่
www.luangta.com และ www.siangdham.com
สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz
และเครือข่ายทั่วประเทศ
“เราไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว ตั้งแต่ขณะที่กิเลสเชื้อแห่งภพ ได้แก่อวิชชา
พังทลายลงจากหัวใจบนวัดดอยธรรมเจดียน์ น้ั วันนัน้ เป็นวันตัดสินกับภพกับชาติ
ที่เคยเกิดแก่เจ็บตายมากี่กัปกี่กัลป์ เราตายทับเขา เขาตายทับเรา ทับถมกัน
มาตลอดกี่กัปกี่กัลป์ ภพชาติของเราได้สิ้นสุดลงไปแล้วในคืนวันนั้น ยังเหลือแต่
ร่างที่เห็นอยู่เวลานี้เท่านั้น พอถึงกาลของเขา ขาดสะบั้นลงไปแล้ว ไม่มีเงื่อน
สืบต่อที่จะเป็นภพเป็นชาติอีกต่อไป”

เราไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว
เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร
เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๒(บ่าย)

You might also like