You are on page 1of 46

1

หน่วยที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายมหาชน

ตอนที่ 1.1 : กำาเนิดแนวความคิดและพัฒนาการของกฎหมายมหาชน


เรื่องที่ 1.1.1 : กำาเนิดแนวความคิดกฎหมายมหาชน
1. นักปรัชญากฎหมายเชื่อว่า กฎหมายนั้นไม่ได้ทำา หน้าที่หรือมีบทบาทในสังคมเหมือนกันเสมอไป กฎหมายบางประเภท
กำาหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือระหว่างรัฐกับบุคคล หรือระหว่างรัฐกับรัฐ ดังนั้นสาระของกฎหมายและ
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้กฎหมายก็พลอยแตกต่างกันออกไปด้วย
2. ฟริทซ์ ชูลซ์ (Fritz Schulz) ศาสตรจารย์ทางกฎหมายโรมันชาวเยอรมัน ได้อธิบายไว้ว่า ความคิดในการแบ่งสาขาของ
กฎหมายนั้น เริ่มขึ้นในสมัยโรมันซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ
(1) ยุคอารยธรรมโรมันโบราณ (3) ยุคคลาสสิค
(2) ยุคอารยธรรมกรีกในโรม (4) ยุคขุนนางนักปกครอง
3. ยุคอารยธรรมโรมันโบราณ (500 ปีก่อน ค.ศ. – 300 ปีก่อน ค.ศ.) ยุคนี้มีความเข้าใจกันว่า
(1) กฎหมายโรมันแบ่งออกเป็น 3 สาขา คือ
- กฎหมายเอกชน (Jus Privatum) คือกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวพันกับราษฎรในชีวิตประจำาวัน
- กฎหมายมหาชน (Jus Publicum) คือกฎหมายทีเ่ กี่ยวข้องเฉพาะบุคคลบางประเภท เช่น ศาล
สมาชิกสภา
- กฎหมายศาสนา (Jus Sacrum) เป็นกฎหมายที่อยู่ในฐานะสูงสุด และมีความสัมพันธ์ต่อการ
พัฒนากฎหมายมหาชน เนื่องจากนักกฎหมายยุคนั้นส่วนใหญ่เป็นพระ
(2) ตัวบทกฎหมายมหาชนในยุคสมัยนี้ส่วนใหญ่เป็นระเบียบปฏิบัติทางการเมืองและค่อนข้างปกปิด
(3) แนวแบ่งแยกสาขาของกฎหมายในยุคสมัยนี้แบ่งตาม “กิจการ”
4. ยุคอารยธรรมกรีกในโรม (300 ปีก่อน ค.ศ. – 30 ปีก่อน ค.ศ.)
(1) เป็นยุคที่อารยธรรมกรีกโบราณได้แผ่ขยายเข้าไปสู่กรุงโรม จนเรียกว่าเป็นการเริ่มยุคอารยธรรมกรีกโบราณ
(Hellenistic Period)
(2) กฎหมายมหาชนในยุคนี้ยังคงสภาพเดิมคือ เป็นกฎหมายสำาหรับนักการเมือง
(3) นักกฎหมายมหาชนในยุคนี้ล้วนเป็นนักการเมือง เช่น เซ็มโปรนิอุส ทูดิทานุส และปอมปีย์
5. ยุคคลาสสิค (30 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ.300)
(1) ยุคนี้เริ่มเมื่อจักรพรรดิ ออกุสตุส (Augustus) หรือออคตาเวียนุส (Octavianus) มีอำานาจขึ้นในกรุงโรมและ
ได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรก จนถึงก่อนรัชสมัยของจักรรรดิดิโอเคลเชี่ยน (Diocletian)
(2) ปลายยุคนี้กฎหมายมหาชนเริ่มพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยขยายเนื้อหาสาระจากกิจการทางการเมืองแผ่ลงมา
ครอบคลุมกิจการที่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไป
(3) กฎหมายปกครองเกิดขึ้นในยุคนี้
(4) อัลเปียน (Ulpian) นักกฎหมายคนสำาคัญในยุคนี้กล่าวว่า “กฎหมายมหาชนคือกฎหมายที่เกี่ยวกับรัฐโรมัน
ในขณะที่กฎหมายเอกชนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของเอกชนแต่ละราย”
(5) ชิเซโร (Cicero) นักกฎหมายคนสำา คัญอีกคนในยุค นี้ให้ความเห็นว่า “คนที่จะตอบปัญหาใดๆ เกี่ยวกับ
กฎหมายมหาชนมิใช่นักกฎหมาย แต่เป็นนักปกครอง”
2
(6) แนวแบ่งแยกสาขาของกฎหมายดังกล่าว มีอิทธิพลต่อมาจนถึงทุกวันนี้
6. ยุคขุนนางนักปกครอง (ค.ศ.300 – ค.ศ.534)
(1) เป็นยุคที่เริ่มจากรัชสมัยของจักรพรรดิดิโอเคลเชียน และสิ้นสุดในสมัยพระเจ้าจัสติเนียน ถือเป็นยุคสุดท้าย
ของประวัติศาสตร์กฎหมายโรมัน
(2) เป็นยุคที่อิทธิพลของคริสต์ศาสนาแผ่ขยายถึงกรุงโรม ซึ่งจักรพรรดิคอนสแตนตินได้รับเอาไว้เป็นศาสนา
ประจำาชาติโรมัน
(3) มีการจัดทำาประมวลกฎหมายโรมัน (Corpus Juris Civilis) เป็นครั้งแรกในรัชกาลพระเจ้าจัสติเนียน เป็น
ประมวลกฎหมายแพ่ง ซึง่ ถือว่าเป็นกฎหมายเอกชน
(4) พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในยุคนี้ เป็นผลมาจากกฎหมายศาสนาโรมันเสื่อมลง เพราะอิทธิพลของคริสต์
ศาสนาที่เข้ามาแทนที่
(5) ยุคนี้กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนจึงแยกจากกันชัดเจน
7. ประมวลกฎหมายแพ่งที่พระเจ้าจัสติเนียนจัดทำาขึ้น มีมูลบทนิติศาสตร์ (Institutions) ซึ่งเป็นรากฐานกฎหมายสำาคัญของ
แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ภาค คือ
(1) Persona ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (3) Actio ว่าด้วยการฟ้องร้องทางแพ่ง
(2) Res ว่าด้วยทรัพย์สิ่งของ และมรดก
เรื่องที่ 1.1.2 : พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป
1. ประมวลกฎหมายแพ่งของพระเจ้าจัสติเนียนมีอิทธิพลอย่างมากต่อประเทศในภาคพื้นยุโรป เช่น อิตาลี
ปรัสเซีย ฝรั่งเศส และเยอรมัน
2. สิ่งสำาคัญที่ฝังรากในยุโรปควบคู่กับการยอมรับอิทธิพลของประมวลกฎหมายแพ่งโรมัน คือ ความคิดที่ว่า กฎหมายเอกชน
แตกต่างจากกฎหมายมหาชน โดยวาทะของ “อัลเปียน” ที่กล่าวถึงความแตกต่างดังกล่าวเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในยุโรป
3. ราวศตวรรษที่ 13 – 14 การศึกษากฎหมายในทางทฤษฎีหรือ ปรั ชญาซึ่ง นิย มแพร่ หลายในยุ โรป สอดคล้อ งกับความ
เคลื่อนไหวของสำานักกฎหมายธรรมชาติ ซึ่งนักศึกษากฎหมายในยุคสมัยนี้ได้เสนอความคิดที่ถือกันว่าเป็นความคิดในการ
ปรับปรุงกฎหมายมหาชน ดังนี้
(1) ควรมีการออกกฎหมายจำา กัดอำา นาจอันไม่มีขอบเขตของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นอำา นาจในการออกกฎหมายหรือ
อำานาจในการปฏิบัติต่อราษฎร
(2) ราษฎรคนใดไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ ก็ควรร้องทุกข์หรือกล่าวโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐได้
(3) การลงโทษในทางอาญาควรเป็นธรรมมากขึ้น
(4) วิธีพิจารณาและกฎหมายพยานหลักฐานควรแก้ไขปรับปรุงให้อยู่บนพื้นฐานของศีลธรรมและศาสนา
4. สมัยของพระนางมาเรีย เทเรซ่า แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของชนชาติเยอรมัน ซึง่ ปัจจุบันคือประเทศ ออสเตรีย ได้ขอ
ให้แคว้นต่างๆ จัดทำากฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองขึ้น เพื่อว่าพระนางจะได้ทรงทราบระเบียบการบริหาร
ราชการแผ่นดินในแต่ละแคว้น
5. ประเทศเยอรมัน เริ่มพัฒนากฎหมายมหาชน หลังศตวรรษที่ 13 –14 และถือหลักว่ากฎหมายมหาชนมี ฐานะสูง กว่ า
กฎหมายเอกชนโดยแบ่งออกเป็น
(1) กฎหมายมหาชนภายใน เรียกว่า Staatsrecht
(2) กฎหมายระหว่างประเทศ เรียกว่า Volkerrecht
6. ประเทศฝรั่งเศส มีการพัฒนากฎหมายมหาชนอย่างน่าสนใจที่สุดในภาคพื้นยุโรป สาเหตุเนื่องจาก
3
(1) อิทธิพลของกฎหมายโรมัน (3) การปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1789
(2) อิทธิพลของปรัชญากฎหมายธรรมชาติ
7. ก่อนการปฏิวัติในฝรั่งเศส กฎหมายมหาชนครอบคลุมถึงแต่กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายศาสนา และระเบียบปฏิบัติ
ทางการเมืองเท่านั้น ยังไม่ได้ครอบคลุมถึงกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง
8. ปี ค.ศ.1800 นโปเลียนได้ตั้งสภาด้านกฎหมายขึ้น 2 สภา คือ
(1) กองเซยเดตาร์ (Conseil d’ Etat) เป็นสภาแห่งรัฐเพื่อให้คำาปรึกษาแก่หัวหน้ารัฐบาลเกี่ยวกับคดีปกครอง
และให้เป็นฝ่ายกฤษฎีกาทำาหน้าที่ยกร่างกฎหมายของรัฐบาล
(2) กองเซยเดอเพรเฟกตูร์ (Conseil de Prefecture) เป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการท้องที่ปกครอง และให้
ทำาหน้าที่ตัดสินคำาร้องเรียนของราษฎรในคดีซึ่งพิพาทกับฝ่ายปกครอง
9. ปี ค.ศ.1872 ถือว่าเป็นศักราชใหม่แห่งการพัฒนากฎหมายปกครองในฝรั่งเศส เนื่องจาก
(1) มีการออกรัฐบัญญัติให้อำานาจสภาแห่งรัฐตัดสินคดีปกครองได้โดยอิสระ
(2) มีการจัดตั้ง ทริบูนาล เด กองฟลีท์ (Tribunal des Conflits) ซึง่ เป็นศาลระงับการขัดกันในทางคดีเพื่อ แก้ไข
ปัญหาขัดแย้งระหว่างสภาแห่งรัฐกับศาลยุติธรรมในเรื่องอำานาจศาลว่าคดีนี้จะขึ้นศาลใด
10. ปี ค.ศ.1889 สภาแห่งรัฐได้วินิจฉัยคดีปกครองสำาคัญ คือ คดีกาโดท์ (Cadot Decision) ซึง่ ผลการวินิจฉัยคือ
(1) สภาแห่งรัฐมีอำานาจเด็ดขาดในการคดีปกครอง
(2) สามารถวินิจฉัยความถูกต้องเหมาะสมของการกระทำาและอำานาจการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหาร
(3) สามารถสร้างหลักกฎหมายปกครองในส่วนสารบัญญัติใหม่ๆ ได้
11. ปี ค.ศ.1953 ได้มีการปฏิรูประบบศาลปกครองในฝรั่งเศสใหม่อีกครั้ง ซึง่ มีผลทำาให้
(1) สภาแห่งรัฐ หรือกองเซยเดตาร์ (Conseil d’ Etat) มีฐานะเป็นศาลปกครองสูงสุด หรือศาลสูงสุดในทาง
กฎหมายมหาชน
(2) ศาลยุติธรรม หรือกูร์ เดอ กาสซาซิยอง (Cour de Cassation) เป็นศาลสูงสุดในทางกฎหมายเอกชน
เรื่องที่ 1.1.3 : พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์
1. ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) เป็นระบบกฎหมายสำาคัญที่เกิดขึ้นสมัยหลัง แต่พัฒนาเคียงคู่มากับระบบ
กฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) หรือระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมานิค
2. นักกฎหมายคอมมอนลอว์ แบ่งสาขาของกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน เพียงแค่บอกให้รู้ว่า เนื้อหา
สาระของกฎหมายสองสาขานี้แตกต่างกัน บุคคลที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันเท่านั้น และถือว่า การแบ่งสาขาของกฎหมายดัง
กล่าวเป็นเรื่องธรรมดาหรือเป็นเรื่องของหลักวิชา เพื่อสะดวกแก่การศึกษาเล่าเรียนมากกว่าจะเป็นเพราะกฎหมายทั้งสองมร
ปรัชญารากฐานต่างกัน
3. เมื่อถามถึงความแตกต่างระหว่างกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน นักกฎหมายอังกฤษมักจะโยงไปถึงกฎหมายแพ่งและ
กฎหมายอาญา โดยให้คำาอธิบายถึงความแตกต่างไว้ว่า
- กฎหมายแพ่ง ก็คือกฎหมายเอกชน - กฎหมายอาญา ก็คือกฎหมายมหาชน
4. คำาว่า “กฎหมายมหาชนไม่แท้” ตำารากฎหมายของอังกฤษได้ให้คำาอธิบายไว้ว่า
(1) กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองไม่มโี ทษทางอาญา น่าจะถือว่าเป็นกฎหมายแพ่ง
(2) แต่เป็นกฎหมายแพ่งลักษณะพิเศษ คือเกี่ยวกับคนหมู่มาก จึงอนุโลมเข้าไว้กับกฎหมายมหาชนได้
4
(3) แนวคิดดังกล่าวนี้ ทำาให้มีการแยกศาลแพ่งออกจากศาลอาญา และให้คดีตามกฎหมายปกครองและกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ ต้องขึ้นสู่ศาลแพ่ง
5. การที่ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ของอั ง กฤษ ไม่ย อมรั บปรัช ญากฎหมายโรมั นในเรื่อ งกฎหมายมหาชนเป็นเพราะ
ประวัติศาสตร์กฎหมายอังกฤษ และลักษณะของระบบคอมมอนลอว์ ดังนี้
(1) ระบบคอมมอนลอว์ พัฒนามาจากความคิดที่ว่า ให้ศาลเป็นผู้สร้างกฎหมาย
(2) ระบบเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองแบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ในอดีตมีส่วนทำาให้ความสัมพันธ์
หลายลักษณะซึ่งควรเป็นเรื่องกฎหมายมหาชน กลายเป็นเรื่องกฎหมายเอกชน
(3) ศาลอังกฤษสามารถให้ความเป็นธรรมแก่ราษฎรได้ดีอยู่แล้ว โดยอาศัยหลักนิติธรรม
(4) การจัดระบบการปกครองส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในอังกฤษค่อนข้างเป็นระเบียบดีอยู่แล้ว และโอกาสที่รัฐ
จะแทรกแซงกิจการของเอกชนหรือกดขี่ข่มเหงเอกชนก็ทำาได้ยาก
(5) เกิดจากอิทธิพลทางความคิดของนักกฎหมายอังกฤษคนสำาคัญคือ ไดซีย์ (A.V. Dicey)
6. ไดซีย์ คือนักกฎหมายรัฐธรรมนูญชาวอังกฤษ ที่โจมตีการแบ่งสาขาของกฎหมายในฝรั่งเศส และคัดค้านการจัดตั้งศาล
ปกครองในอังกฤษอย่างรุนแรง จึงเป็นผู้ที่ทำาให้วิชากฎหมายปกครองของอังกฤษมีววิ ัฒนาการล่าช้ากว่าที่ควร
7. พอลลอค (Pollock) นักกฎหมายอังกฤษอีกคนที่อธิบายว่า ในสมัยก่อนถือว่า เขตอำา นาจศาลเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย
ทรัพย์สิน
เรื่องที่ 1.1.4 : พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย
1. นักกฎหมายไทยเพิ่งรู้จักการแบ่งสาขาของกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชน ในสมัยรัชกาลที่ 6 นี้เอง
โดยก่อนหน้านั้น นักกฎหมายไทยเข้าใจกันว่า กฎหมายแบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ กฎหมายแพ่ง และกฎหมายอาญา
2. ในสมัยนั้น นักกฎหมายไทยที่สำาเร็จการศึกษาจากอังกฤษ ซึ่งได้รับอิทธิพลระบบกฎหมายอังกฤษได้อธิบายไว้ว่า กฎหมาย
แพ่งคือกฎหมายเอกชน และกฎหมายอาญาคือกฎหมายมหาชน ส่วนกฎหมายปกครองและกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น ยังไม่รู้
จัก
3. พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ อาจารย์สอนกฎหมายไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 ควรได้รับการยกย่องอย่างยิ่งในฐานะที่กล่าวถึง
แนวคิดในการแบ่งสาขาของกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
4. การแบ่งสาขาของกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน เพิ่งจะปรากฏจริงจังในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 6
หรือต้นรัชกาลที่ 7 เนื่องจากมีนักกฎหมายชาวต่างประเทศไทยเข้ามาสอนกฎหมาย และนัก
กฎหมายไทยที่สำาเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ บุคคลสำาคัญซึ่งควรได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำาในด้านนี้คือ
(1) ดร. แอล ดูปลาตร์ นักกฎหมายชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้อำานวยการแผนกวิชาแห่งสภานิติศึกษาของไทย
(2) ดร. เอกูต์ นักกฎหมายชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอาจารย์สอนกฎหมายในโรงเรียนกฎหมายไทย
5. โดยสรุป พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย ยังเทียบไม่ได้กับประเทศอื่น เนื่องจาก
(1) ประเทศไทยเพิ่งรู้จักกฎหมายมหาชนเมื่อประมาณ 50 – 60 ปี มานี้เอง
(2) อิทธิพลของกฎหมายอังกฤษที่ประเทศไทยรับเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ทำาให้ไม่เห็นความจำาเป็นในการ
แบ่งแยกสาขากฎหมายอย่างประเทศในภาคพื้นยุโรป
(3) ประเทศไทยเพิ่งมีกฎหมายที่พอจะจัดเป็นกฎหมายมหาชนได้ เมื่อหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
(4) กฎหมายมหาชนเกี่ยวพันกับอำานาจรัฐเป็นสำาคัญ จึงพัฒนาไปตามพัฒนาการทางการเมือง
(5) นักกฎหมายไทยยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักวิชาการบางเรื่องไม่ตรงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการแบ่งแยก
อำานาจ เนื่องจากการสำาเร็จการศึกษากฎหมายจากต่างสำานัก
5
(6) การจัดการศึกษาวิชากฎหมายในประเทศไทย ไม่เอื้ออำานวยต่อการพัฒนาการของกฎหมายมหาชน
ตอนที่ 1.2 : ความหมาย ประเภทและบ่อเกิดของกฎหมายมหาชน
เรื่องที่ 1.2.1 : ความหมายของกฎหมายมหาชน
1. กฎหมายมหาชน (Public Law) หมายถึงกฎหมายที่กำาหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ใน
ฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองราษฎรหรือมีฐานะเหนือราษฎร
2. คำาว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร” หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางกฎหมายระหว่างคู่กรณีทั้ง
สองฝ่าย
3. คำาว่า “ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร” หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีซึ่งฝ่ายหนึ่งมีฐานะสูงกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจึง
บังคับเอาได้ หรือใช้อำานาจได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
4. หลักเกณฑ์การพิจารณาว่า กฎหมายใดเป็นกฎหมายมหาชน มีดังนี้คือ
(1) พิจารณาว่ากฎหมายนั้นกล่าวถึงกิจการของใคร (ถ้าเป็นกิจการของรัฐ คือเป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวม ก็
เป็นกฎหมายมหาชน)
(2) พิจารณาว่ากฎหมายนั้นให้ใครเป็นประธานแห่งสิทธิ หรือเป็นผู้ทรงอำานาจเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง (ถ้าองค์การของ
รัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ทรงอำานาจ ก็เป็นกฎหมายมหาชน)
(3) พิจารณาว่ากฎหมายนั้นเคร่งครัดหรือไม่ (ถ้าเคร่งครัดทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ ก็เป็นกฎหมายมหาชน)
5. ข้อแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน มีดังนี้
(1) แตกต่างในด้านวัตถุประสงค์ กล่าวคือ กฎหมายมหาชนต้องการวางระเบียบบังคับเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับ
เอกชน ส่วนกฎหมายเอกชนจะเกี่ยวพันระหว่างเอกชนกับเอกชน
(2) แตกต่างในด้านฐานะ กล่าวคือ กฎหมายมหาชนยอมรับว่ารัฐมีฐานะเหนือกว่าเอกชน ส่วนกฎหมายเอกชน
ยอมรับว่าเอกชนทั้งหลายมีฐานะทางกฎหมายเท่าเทียมกัน
(3) แตกต่างในด้านรูปแบบ กล่าวคือ กฎหมายมหาชนมีรูปแบบที่เคร่งครัด ส่วนกฎหมายเอกชนมีรูปแบบที่
ยืดหยุ่น
6. กฎหมายสังคม (Social Legislation) เป็นชื่อเรียกกลุ่มกฎหมายอีกชื่อหนึ่ง ได้แก่ กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองสังคม
คือพัฒนาจากนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจนกลายเป็นสาธารณประโยชน์ ซึ่งรัฐจำา เป็นต้องแทรกเข้าไปจัดระเบียบความ
สัมพันธ์และอำานาจต่อรอง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม ตัวอย่างเช่น
- กฎหมายแรงงาน ซึง่ พัฒนามาจากกฎหมายจ้างแรงงาน
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งพัฒนามาจากกฎหมาซื้อขาย กฎหมายละเมิด
- กฎหมายปฏิรูปที่ดิน กฎหมายจัดรูปที่ดิน และกฎหมายค่าเช่านา ซึ่งพัฒนามาจากกฎหมายทรัพย์สิน
และกฎหมายที่ดิน
- กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งพัฒนามาจากกฎหมายกู้ยืม
เรื่องที่ 1.2.2 : ประเภทของกฎหมายมหาชน
1. กฎหมายที่สำาคัญที่สุดในบรรดากฎหมายมหาชน คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง
2. การแบ่งประเภทของกฎหมายมหาชนของแต่ละประเทศหรือแต่ละนักกฎหมายนั้น มีวิธีการแบ่งแตกต่างกันออกไป แต่ยังคง
มีกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง เป็นตัวร่วมอยู่เสมอ
3. โดยสรุป ประเภทของกฎหมายมหาชน จัดแบ่งได้ดังนี้
6
(1) กฎหมายมหาชนโดยแท้หรือแบบที่ถือกันมาแต่เดิม ได้แก่
- รัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นในลักษณะเดียวกัน
- กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เช่น กฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายพรรคการเมือง ฯลฯ
- กฎหมายปกครอง เช่น ปว.216 และ ปว.218 กฎหมายภาษีอากร ฯลฯ
- กฎหมายการคลัง เช่น กฎหมายงบประมาณ กฎหมายเงินตรา ฯลฯ
(2) กฎหมายมหาชนที่จัดเพิ่มใหม่ ได้แก่
- กฎหมายอาญา - กฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลยุติธรรม
- กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา - กฎหมายเศรษฐกิจ
- กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เรื่องที่ 1.2.3 : บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน
1. บ่อเกิดของกฎหมาย (Source of Law) หมายถึง แหล่งอันเป็นที่เกิดของกฎหมาย
2. บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน มีดังนี้
(1) กฎหมายลายลักอักษร เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายการคลัง กฎหมายอาญา ฯลฯ ดังเห็นได้
จากกฎหมายมหาชนของประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น และไทย
(2) กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมายจารีตประเพณี คำาพิพากษาศาลที่ถือว่าเป็นบรรทัดฐาน และ
หลักกฎหมายทั่วไป ดังเห็นได้จากกฎหมายมหาชนของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย
3. นักกฎหมายมหาชนที่ดี จะต้องมีความรู้ในวิชารัฐศาสตร์และวิชาเศรษฐศาสตร์ด้วย จึงจะใช้กฎหมายมหาชนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
@@@@@@@@@@

หน่วยที่ 2
ปรัชญารากฐานในกฎหมายมหาชน

ตอนที่ 2.1 : นักปรัชญาสำาคัญบางคนที่มีอิทธิพลต่อกฎหมายมหาชน


เรื่องที่ 2.1.1 : บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน
1. กฎหมายมหาชนพัฒนาไปตามความคิดของนักปรัชญากฎหมาย หรือการเมืองในแต่ละสมัยมากกว่าอย่างอื่น ปรัชญาของ
ใครมี ผู้เ ห็ นด้ว ยเป็นอั นมากก็มี อิทธิพ ลมาก มี ผู้ รับเอาไปใช้ เ ป็ นรากฐานในการยกร่ า งรัฐ ธรรมนูญ กฎหมายปกครอง
กฎหมายการคลัง และกฎหมายมหาชนอื่นๆ
2. ปรัชญากฎหมายและการเมืองแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ
(1) ฝ่ายนิยมกฎหมายธรรมชาติ เชื่อว่า
- ต้องจำากัดอำานาจรัฐอันไม่เป็นธรรม ต่อต้านการกดขี่ขม่ เหงจากฝ่ายปกครอง
- คำาสั่งคำาบัญชาของผู้ปกครองอยู่ภายใต้กฎหมายธรรมชาติอันเป็นสากล
- ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม มีสิทธิร้องทุกข์หรือฟ้องร้องได้
- รัฐเกิดจากสัญญาประชาคม อำานาจอธิปไตยถ้าไม่มาจากพระเจ้าก็มาจากประชาชน
- รัฐต้องเป็นนิติรัฐ การปกครองต้องใช้หลักนิติธรรม
7
(2) ฝ่ายยึดถือกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง เชื่อว่า
- รัฐมีอำานาจสูงสุดในการจัดการปกครองบ้านเมือง
- อำานาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์หรือรัฐบาล ซึง่ เรียกว่า “รัฏฐาธิปัตย์”
- รัฐมิได้เกิดจากสัญญาประชาคม แต่เกิดจากการตั้งขึ้นโดยรัฏฐาธิปัตย์
- คำาสั่งคำาบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์เป็นกฎหมาย
- กฎหมายทุกอย่างเป็นกฎหมายมหาชน
3. ปรัชญากฎหมายธรรมชาติมีส่วนทำาให้กฎหมายมหาชนพัฒนาไปมาก กล่าวคือ
(1) การปฏิวัติในสมัยศตวรรษที่ 18 – 19 เช่นในสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ตลอดจนการจัดทำาปฏิญญาสากลว่า
ด้วยสิทธิมนุษยชนในศตวรรษที่ 20 ก็มีการอ้างถึงสิทธิธรรมชาติ
(2) กฎหมายมหาชน ประเภทกฎหมายสังคม และกฎหมายเศรษฐกิจหลายเรื่องก็เกิดขึ้นบนรากฐานของกฎหมาย
ธรรมชาติ
(3) กฎหมายธรรมชาติเป็นกฎหมายแห่งศีลธรรม มโนธรรม ความเป็นธรรม และความมีเหตุมีผล
(4) ปรัชญากฎหมายธรรมชาติมีส่วนแทรกซึมเข้าไปกลมกลืนกับปรัชญากฎหมายฝ่ายบ้านเมือง และทำา ให้
กฎหมายมหาชนเป็นธรรมขึ้น
เรื่องที่ 2.1.2 : นักปรัชญาสมัยกรีก
1. นักปรัชญาเมธีของกรีกที่มีอิทธิพลในทางกฎหมายมหาชนในยุคสมัยนี้มี 3 ท่าน คือ โสกราติส เปลโต และอริสโตเติล จนมี
คำากล่าวติดปากว่า “โสกราติส เป็นศาสดาของผู้สอน เปลโต เป็นศาสดาของผู้คิด อริสโตเติล เป็นศาสดาของผู้เรียน”

2. โสกราติส (Socratis) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้


- ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่เป็นปรัชญาเมธีชาวเอเธนส์ผู้ยิ่งใหญ่
- ความเป็นโสกราติส ปรากฏอยู่ในผลงานเขียนของเปลโตหลายเรื่อง เช่น ยูไทโฟร อโปโลเกีย ฯลฯ
- ในฐานะผู้สั่งสอน จึงได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับรัฐ กฎหมาย ความยุติธรรม และคุณค่าทางจริยธรรม
- เป็นผู้รเิ ริ่มวิธีการแสวงหาความรู้ในทางปรัชญาแบบซักถาม เรียกว่า “วิธีแสร้างแบบโสกราติส” เป็น
วิธีตั้งคำาถามเพื่อพยายามคาดคั้นหาคำาตอบจากคู่สนทนา
- ศจ.คริสโตเฟอร์ แลงเดล เป็นผู้นำาวิธีการนี้มาใช้กับการศึกษาวิชากฎหมายในสหรัฐอเมริกา เรียกว่า
“กรณีศึกษา” (Case Study) ซึง่ ต่างจากประเทศอื่นที่ใช้วิธีบรรยาย (Lecture) เช่น ในไทยและยุโรป
3. เปลโต (Plato) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวเอเธนส์ และเป็นลูกศิษย์ของโสกราติส อายุน้อยกว่าประมาณ 42 ปี
- เป็นผู้ตั้ง “สำานักอาคาเดมี” (Academy) ซึ่งถือว่าเป็นสำานักปรัชญาถาวรแห่งแรกของโลก และเป็นบ่อ
เกิดของมหาวิทยาลัยในเวลาต่อมา
- เจ้าของวรรณกรรมที่สำาคัญและมีอิทธิพลมาก 3 เรื่อง คือ อุตมรัฐ รัฐบุรุษ และกฎหมาย
- อุตมรัฐ (Replublic) เป็นวรรณกรรมที่สะท้อนถึงความคิดเรื่อง รัฐในอุดมคติซึ่งต้องมีความสมบูรณ์
เพียบพร้อมในด้านระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม และระบบการเมือง สังคมอุตมรัฐ
เป็นสังคมที่มีระบบการปกครองแบบราชาธิปไตย เวลานั้นเปลโตไม่เห็นด้วยกับแบบประชาธิปไตย
- รัฐบุรุษ (Stateman) เป็นวรรณกรรมที่เปลโตเขียนขึ้นภายหลังยอมรับว่า สังคมแบบอุตมรัฐเป็นสิ่งที่
8
เป็นไปได้ยาก และเริม่ ยอมรับการจัดระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยคนหมู่มาก
- กฎหมาย (Laws) เป็นวรรณกรรมที่เสนอแนวคิดใหม่ก่อนถึงแก่กรรม โดยยอมรับว่า สังคมแบบที่
กล่าวถึงในวรรณกรรมเรื่องรัฐบุรุษก็เป็นไปได้ยากเช่นกัน อาจมีสังคมใหม่ซึ่งมีกฎหมายเป็นสิ่งสำาคัญ
4. อริสโตเติล (Aristotle) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวเมืองสตากิรา เป็นลูกศิษย์ของเปลโตในสำานักอาคาเดมี อายุน้อยกว่าประมาณ 43 ปี
- เป็นผู้ก่อตั้ง “สำานักลีเซียม” (Lyceum) เป็นสำานักใหญ่ในกรุงเอเธนส์
- เจ้าของวรรณกรรมสำาคัญ “การเมือง” และ “จริยธรรม”
- การเมือง (Politics)ได้ชื่อว่าเป็นคัมภีร์ทางรัฐศาสตร์ และอริสโตเติลได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งรัฐศาสตร์”
เพราะได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับความหมายของรัฐ กำาเนิดของรัฐ รูปของรัฐ และความสิ้นสุดของรัฐไว้
อย่างละเอียดลออ
- จริยธรรม (Ethics) เป็นวรรณกรรมที่อธิบายเกี่ยวกับความยุติธรรมและคุณธรรมที่ละเอียดพิศดารที่สุด
- อริสโตเติล ได้เคยแสดงทรรศนะเกี่ยวกับ “หลักนิติธรรม” (The Rule of Law) ไว้ แม้อังกฤษและสหรัฐ
อเมริกา ก็ยอมรับในหลักนิติธรรมนี้ ส่วนในเยอรมันนั้น ทฤษฎีเรื่องนิติรัฐก็ได้รับอิทธิพลจากทรรศนะ
นี้ของอริสโตเติลอย่างมาก
เรื่องที่ 2.1.3 : นักปรัชญาสมัยโรมัน
1. สมัยที่โรมรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่กรีกนั้น มีนักปรัชญากฎหมายและการเมืองเกิดขึ้นมากมาย แต่ที่นับว่าสำาคัญและมีบาบาท
อย่างยิ่งมี 2 ท่าน คือ ชิเซโร และนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป
2. ชิเซโร (Cicero) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นนักกฎหมาย นักการเมือง และรัฐบุรุษคนสำาคัญของโรม
- เจ้าของวรรณกรรม “สาธารณรัฐ” (Republic) และ “กฎหมาย” (Laws) ซึ่งเขียนในรูปของบทสนทนา
ตามแบบของเปลโต แต่มีผู้วิจารณ์ว่าฝีมือด้อยกว่า
- เป็นผู้ที่ยอมรับและอธิบายถึงสิทธิธรรมชาติได้อย่างชัดเจนที่สุด ซึ่งนำาไปเป็นข้อต่อรองกับผู้ปกครอง
จนก้าวไปสู่สิทธิของพลเมือง
3. นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (Saint Augustine of Hippo) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นนักบุญชาวแอฟริกัน ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสังฆราชแห่งเมืองฮิปโป
- The City of God เป็นวรรณกรรมที่เรียบเรียงขึ้นจากแนวคิดของนักบุญเปาโล และเปลโต วรรณกรรม
นี้แบ่งสังคมออกเป็น 4 ส่วน คือ บ้าน เมือง โลก และจักรวาล และเน้นความสำาคัญของความยุติธรรม
- ทฤษฎีของนักบุญออกัสติน มีส่วนวางรากฐานให้แก่ปรัชญาของนักบุญอไควนัสในเวลาต่อมา
เรื่องที่ 2.1.4 : นักปรัชญาสมัยกลาง
1. ปรัชญาเมธีที่มีอิทธิพลทางกฎหมายมหาชนที่สุดในสมัยกลาง มี 2 ท่าน คือ จอห์นแห่งซอสเบอรี่ และนักบุญโธมัส อไค
วนัส
2. จอห์นแห่งซอสเบอรี่ (John of Salisbury) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นปรัชญาเมธีชาวอังกฤษ
- เจ้าของวรรณกรรม “โปลิเครติคุส” (Policraticus) เป็นวรรณกรรมที่เน้นความสำาคัญของกฎหมาย
- เป็นผู้ที่ชี้ให้เห็นข้อแตกต่างที่สำาคัญระหว่าง “ทรราชย์” และ “ราชา” โดยกล่าวว่า ราชานั้นต้องเคารพ
9
กฎหมายและต้องปกครองประชาชนด้วยบัญชาแห่งกฎหมาย โดยถือว่าตนเป็นผู้รับใช้ประชาชน
ในขณะที่ทรราชย์คือ ผูน้ ำาที่ไม่ดำารงตนอยู่ในธรรม ประชาชนไม่จำาต้องยอมตนอยู่ใต้อำานาจ
3. นักบุญโธมัส อไควนัส (Saint Thomas Aquinas) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวอิตาลี ในบั้นปลายแห่งชีวิตได้อุทิศตนให้กับคริสต์ศาสนา
- เป็นผู้ที่ได้อธิบายถึงแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายธรรมชาติอย่างละเอียดชัดเจน และแนวคิดของปรัชญา
เมธีผู้นี้ ภายหลังมีผู้นำาไปจัดลำาดับชั้นกฎหมาย
- นักบุญอไควนัส แบ่งประเภทของกฎต่างๆ ออกเป็น 4 ประเภทตามลำาดับ คือ
* กฎนิรันดร เป็นกฎสูงสุด ถือได้ว่าเป็นแผนการสร้างโลกของพระผู้เป็นเจ้า
* กฎธรรมชาติ เป็นกฎสูงสุดรองลงมา และว่าด้วยเหตุผล คุณธรรม ความยุติธรรม
ซึง่ เป็นกฎแห่งความประพฤติที่สอดคล้องกับกฎนิรันดร
* กฎศักดิ์สิทธิ์ เป็นกฎรองลงมา และว่าด้วยหลักประพฤติปฏิบัติทางศาสนา
* กฎหมายของมนุษย์ เป็นกฎตำ่าสุด และกำาหนดหลักประพฤติปฏิบัติของมนุษย์ในทางโลก

เรื่องที่ 2.1.5 : นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา


1. สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) มีนักปรัชญากฎหมายทีส่ มควรกล่าวถึง 2 ท่าน คือ ฌอง โบแดง และ โธมัส ฮอบส์

2. ฌอง โบแดง (Jean Bodin) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้


- เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส
- เป็นผู้มีอิทธิพลอย่างมากในทางปรัชญาการเมือง โดยเฉพาะการเผยแพร่ความคิดว่า อำานาจอธิปไตย
เป็นของกษัตริย์
- “ตำารา 6 เล่ม ว่าด้วยรัฐ” (Six Books Concerning the State) และ “วิธีทำาความเข้าใจกับประวัติศาสตร”์์
(Method for the Easy comprehension of History) เป็นวรรณกรรมชิ้นสำาคัญของนักปรัชญาผู้นี้
- ตำารา 6 เล่ม ว่าด้วยรัฐ ได้อธิบายทฤษฎีว่าด้วยอำานาจอธิปไตยไว้อย่างละเอียดชัดเจน
3. โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษ และเป็นผู้คิดทฤษฎีการเมืองขึ้นใหม่ โดยนำาเอาศาสตร์ทางด้านธรรมศึกษา
ปรัชญา และคณิตศาสตร์ มาผสมผสานกันเข้า
- เจ้าของวรรณกรรม “ส่วนประกอบของกฎหมายทางธรรมชาติและทางการเมือง” ซึง่ วรรณกรรมชิ้นนี้
สร้างความไม่พอใจให้แก่สมาชิกรัฐสภาอังกฤษอย่างมาก จนต้องหลบหนีไปอยู่ฝรั่งเศส
- เจ้าของหนังสือ “รัฏฐาธิปัตย์” (Leviathan) ซึง่ ถือว่าเป็นวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฮอบส์ และยัง
ถือว่าเป็นตำาราปรัชญาการเมืองรัฐศาสตร์เล่มแรกของโลก ทีเ่ ขียนเป็นภาษาอังกฤษ
- ปรัชญาแนวคิดที่สำาคัญของฮอบส์ มีดังนี้
* ไม่เชื่อวิธีหาเหตุผลและวิธีศึกษาแบบอุปนัย ต้องใช้วิธีคณิตศาสตร์หรือเรขาคณิตเป็นสำาคัญ
* เชือ่ ในความเสมอภาคระหว่างบุคคล
* ปฏิเสธทฤษฎีเทวสิทธิ์ แต่เชื่อในทฤษฎีสัญญาประชาคม
* กฎหมายเป็นสิ่งสำาคัญในรัฐ แต่รัฏฐาธิปัตย์ควรอยู่เหนือกฎหมาย
* ปรัชญากฎหมายธรรมชาติเป็นเรื่องเพ้อฝัน
10
* การนับถือศาสนา เป็นความเกรงกลัวในอำานาจที่มองไม่เห็น
* มนุษย์มีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองจากรัฏฐาธิปัตย์ การที่ราษฎรยอมรับอำานาจของรัฏฐาธิปัตย์
นั้น เป็นเรื่องของสัญญาประชาคม
เรื่องที่ 2.1.6 : นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
1. กฎหมายมหาชนรุ่ งเรือ งมากในสมั ยคริส ต์ศตวรรษที่ 18 – 20 ซึ่งมีการผสมผสานความคิด ระหว่ างปรั ชญากฎหมาย
ธรรมชาติกับปรัชญากฎหมายฝ่ายบ้านเมือง และมีการจัดทำากฎหมายมหาชนขึ้น เช่น รัฐธรรมนูญ นักปรัชญาในยุคสมัยนี้มี
หลายท่าน และส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป
2. เจมส์ แฮริงตัน (James Harrington) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวอังกฤษ ซึ่งมีความเห็นว่า อำานาจของรัฐบาลมาจากทรัพย์สิน
- เจ้าของวรรณกรรม “The Commonwealth of Oceanna”
- สนับสนุนการเลือกตั้งเสรี การมีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร และเสรีภาพในการนับถือศาสนา
- ปรัชญาของแฮริงตันมีอิทธิพลอย่างมากในสหรัฐอเมริกา จนกล่าวกันว่า การที่สหรัฐอเมริกามีรัฐ
ธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร และจัดระบบการปกครองในรูปที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะอิทธิพลจาก
วรรณกรรมของแฮริงตันนั่นเอง
3. จอห์น ล้อค (John Locke) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวอังกฤษ ศึกษาทางด้านปรัชญาและรัฐศาสตร์
- เจ้าของวรรณกรรม “สองเล่มว่าด้วยการปกครอง” (Two Treatises of Government)
- ล้อคมีความเห็นว่า มนุษย์ทุกรูปทุกนามมีสิทธิอยู่ในตัวนับแต่เกิดมา
4. เอ็ดมันด์ เบอร์ค (Edmund Burke) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวไอร์แลนด์
- เจ้าของวรรณกรรมสำาคัญ “สดุดีสังคมธรรมชาติ” (A Vindiication of Natural Society) “ย่อประวัติ
ศาสตร์อังกฤษ” (Abridgrment of the History of England) และ “บทเรียนว่าด้วยกฎหมายในระบบ
สันตะปาปา” (Tracts on the Popery Laws)
- เบอร์ค เน้นเรื่องการนำาสิทธิตามธรรมชาติมาปรับเข้ากับการเมืองการปกครอง อันเป็นหลักสำาคัญ
อย่างหนึ่งในทางกฎหมายปกครอง
5. เจเรมี แบนเธม (Jeremy Bentham) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวอังกฤษ
- เจ้าของวรรณกรรม “ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักศีลธรรมและงานนิติบัญญัติ” (Introdution to
the Principles of Morals and Legislation) ซึ่งทำาให้แบนเธมกลายเป็นปรัชญาเมธีทางกฎหมาย
มหาชนที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่ง
6. อัลเบิร์ต เวนน์ ไดซี่ย์ (Albert Venn Dicey) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวอังกฤษ เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ
- เจ้าของวรรณกรรม “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญ” (Introdution to
the Study of the Law of the Constitution) ซึ่งถือว่าเป็นตำารากฎหมายรัฐธรรมนูญที่สำาคัญที่สุด
11
เล่มหนึ่งของอังกฤษ
- วรรณกรรมเล่มนี้ ได้อธิบายถึงปรัชญากฎหมาย 3 ประการ คือ
* ปรัชญาว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายลายลักษณ์อักษร กับกฎหมายจารีตประเพณี
* ปรัชญาว่าด้วยอำานาจสูงสุดของรัฐสภา
* ปรัชญาว่าด้วยหลักนิติธรรม
- มีผวู้ ิจารณ์ว่า เป็นผู้ที่มีส่วนสำาคัญทำาให้กฎหมายปกครองของอังกฤษพัฒนาไปได้ช้ามาก
7. มองเตสกิเออ (Montesquieu) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นนักปรัชญาเมธีชาวฝรั่งเศส
- เจ้าของวรรณกรรมเสียดสีประชดประชันสังคมฝรั่งเศส “จดหมายจากเปอร์เซีย” (Letters Persanes)
- เจ้าของวรรณกรรม “เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย” (Esprit des lois) ที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อ
คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก เป็นวรรณกรรมที่กล่าวถึงการแบ่งแยกอำานาจหน้าที่ออกเป็น 3
ประการ คือ อำานาจนิติบัญญัติ อำานาจปฏิบัติการซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน และอำานาจปฏิบัติการ
ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายแพ่ง
8. ฌอง ฌาคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นนักปรัชญาชาวสวิส พออายุ 16 ปี จึงย้ายไปพำานักในฝรั่งเศส
-เจ้าของวรรณกรรมอันลือลั่นชื่อ “สัญญาประชาคม” (Social Contract) เป็นวรรณกรรมที่กล่าวถึง
* รัฐเกิดขึ้นจากคนหลายคนมาอยู่รวมกัน และสละประโยชน์ส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่
* รัฐควรเป็นใหญ่ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
* อำานาจอธิปไตยควรเป็นของชาติ หรือเป็นของประชาชน
- วรรณกรรมของรุสโซเรื่องนี้ มีอิทธิพลมากต่อการปฏิวัติในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1776
- เกอเต้ นักประพันธ์ชาวเยอรมันกล่าวว่า โลกใหม่เริ่มต้นเมื่อรุสโซเขียนวรรณกรรมอมตะเล่มนี้
9. โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวเวอร์จิเนีย และเป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐอเมริกา
- สมัยประกาศเอกราชเมื่อปี ค.ศ.1776 เจฟเฟอร์สัน ได้เป็นผู้ร่วมร่าง “คำาประกาศอิสรภาพ” ด้วยผู้หนึ่ง
- คำาประกาศอิสรภาพนี้ได้กล่าวอ้างถึงสิทธิตามธรรมชาติหลายประการ เช่น สิทธิในเสรีภาพ สิทธิใน
ความเสมอภาค สิทธิที่จะก่อการปฏิวัติ และสิทธิที่จะสถาปนาประเทศเอกราช
10. จอห์น มาร์แชล (John Marshall) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นประธานศาลฎีกาคนสำาคัญในช่วงต้นของการสร้างประเทศสหรัฐอเมริกา
- คำาพิพากษาของท่านผู้นี้ได้กลายเป็นบรรทัดฐานของการพิจารณาตัดสินคดีในเวลาต่อมา
- คำาพิพากษาที่สำาคัญที่สุด คือ คำาพิพากษาในคดี Marbury V. Madison ซึง่ มาร์แชลวินิจฉัยว่า
* รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
* กฎหมายธรรมดาจะขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้
* ถ้ากฎหมายธรรมดาขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายธรรมดาย่อมไร้ผลบังคับ
* เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติว่าใครเป็นผู้มีอำานาจวินิจฉัยว่า กฎหมายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
12
ศาลย่อมเป็นผู้มีอำานาจวินิจฉัย
* คำาวินิจฉัยของศาลถึงที่สุด
11. คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวยิว เกิดในเยอรมันตะวันตก สำาเร็จปริญญาเอกทางปรัชญาและประวัติศาสตร์
- ได้พบกับฟรีดริค เองเกิลส์ ทั้งสองได้ร่วมกันเขียนบทความทางการเมืองและเศรษฐศาสตร์หลายเรื่อง
จนถูกขับออกจากประเทศฝรั่งเศส
- ทั้งสองได้ร่วมกันเขียนวรรณกรรมเล่มหนึ่งชื่อ “คำาประกาศป่าวร้องของคอมมิวนิสต์” (Communist
Manifesto) ซึง่ เป็นคัมภีร์ของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา
- ปรัชญาของมาร์กซ์ มีอิทธิพลต่อกฎหมายมหาชนในประเทศสังคมนิยมเป็นอันมาก
12. ฮันส์ เคลเส้น (Huns Kelsen) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวเชโกสโลวาเกีย ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญออสเตรีย ฉบับ ค.ศ.1920
- วรรณกรรมของท่านผู้นี้ มีผแู้ ปลและถ่ายทอดเป็นภาษาต่างๆ เกือบทั่วโลก
ตอนที่ 2.2 : ปรัชญาว่าด้วยรัฐ
เรื่องที่ 2.2.1 : วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำาเนิดของรัฐ
1. ปรัชญาที่ว่าด้วยสถาบันการเมือง การปกครอง ของมนุษย์มีมาตั้งแต่สมัยกรีก ในเวลานั้น เอเธนส์เป็นศูนย์กลางอารยธรรม
ทางการเมือง และเป็นตัวอย่างนครรัฐที่จัดรูปแบบทางการเมืองไว้อย่างมีระเบียบที่สุด ซึ่งรูปแบบนี้มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อรูป
แบบการปกครองของรัฐต่างๆ ในปัจจุบันนี้
2. โสกราติส เปลโต และอริสโตเติล เป็นนักปรัชญาการเมืองคนสำาคัญในสมัยกรีก โดย
- โสกราติส กล่าวถึงทางด้านคุณธรรมและศีลธรรมจรรยา
- เปลโต กล่าวถึงการจัดรูปแบบของรัฐในทางอุดมคติ
- อริสโตเติล กล่าวถึงรัฐที่จัดรูปแบบทางการเมืองอย่างเป็นระเบียบ
3. อริสโตเติลได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ “วงจรทางการเมือง” ไว้อย่างน่าฟังดังนี้
- เริม่ ต้นตั้งรัฐขึ้นโดยผู้นำาเพียงคนเดียวที่แข็งแรง กล้าหาญ มีคุณธรรม ปกครองแบบราชาธิปไตย
- เมื่อผู้นำาเข้มแข็งมากจนเกินไป เริม่ แสดงความโหดร้าย จนขาดคุณธรรม การปกครองจึงเปลี่ยนไปเป็น
แบบทรราชย์
- ต่อเมื่อมีบุคคลทนการกดขี่ข่มเหงไม่ไหว จนมีคณะบุคคลลุกฮือขึ้นยึดอำานาจ ตั้งตนเป็นใหญ่
การปกครองจึงเปลี่ยนไปเป็นแบบอภิชนาธิปไตย
- นานๆ เข้าคณะบุคคลเกิดการแก่งแย่งอำานาจ หรือหลงระเริงมัวเมาในอำานาจ จนเป็นการปกครองใน
แบบคณาธิปไตย
- เมื่อผู้คนไม่อาจทนทานต่อการปกครองนี้ได้ เกิดเป็นคณะบุคคลที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ไปเป็นแบบประชาธิปไตย
- เมื่อประชาธิปไตยเสื่อมลง มีการแสดงพลังประท้วงจนสังคมวุ่นวาย ในทีส่ ุดจะมีคนตั้งตนขึ้นมาปราบ
ยุคเข็ญ แล้วการปกครองก็กลับไปสู่แบบราชาธิปไตย
4. ความคิดเรื่องกำาเนิดรัฐ ตามทฤษฎีเทวสิทธิ์ เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้กำาหนดกฎเกณฑ์ทางการปกครองทั้งหมดให้มนุษย์ ซึ่งก่อให้
เกิดผลสำาคัญ 4 ประการ คือ
13
(1) รัฐเกิดจากพระประสงค์ของพระเจ้า
(2) มนุษย์มิได้เป็นปัจจัยสำาคัญในการสร้างรัฐ แต่เป็นเพียงองค์ประกอบของรัฐ
(3) ผู้ปกครองรัฐได้อำานาจปกครองมาจากพระเจ้า ผู้ใดฝ่าฝืนอำานาจรัฐ ผูน้ ั้นฝ่าฝืนโองการพระเจ้า
(4) ประชาชนในรัฐจะต้องเชื่อฟังอำานาจรัฐโดยเคร่งครัด
5. ความคิดเรื่องกำาเนิดรัฐ ตามทฤษฎีสัญญาประชาคม ซึ่งเป็นผลมาจากความคิดของโธมัส ฮอบส์ จอห์น ล้อค และรุสโซ โดยมี
สาระสำาคัญ ดังนี้
(1) รัฐเกิดจากมนุษย์ หรือมนุษย์เป็นผู้สร้างรัฐ
(2) ในการสร้างรัฐ มนุษย์มารวมเข้าด้วยกันโดยมีเจตนาแน่นอน เสมือนทำาสัญญาร่วมกันว่าจะผูกพัน
กัน เผชิญทุกข์เผชิญสุขร่วมกัน
(3) การผูกพันกันดังกล่าวถือเป็นการทำาสัญญาประชาคม รัฐจะต้องรับผิดชอบต่อประชาชน
(4) รัฐบาลจะต้องกระทำาตามเจตนารมณ์ของประชาชนเหนือสิ่งอื่นใด จะละเมิดมิได้
6. ความคิดเรื่องการกำาเนิดรัฐ ตามทฤษฎีวิวัฒนาการ เป็นทฤษฎีสำา คัญและเป็นจริงมากกว่าทฤษฎีอื่น ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก
ความคิดของอริสโตเติล มีสาระสำาคัญดังนี้
(1) รัฐเกิดขึ้นจากวิวัฒนาการในทางการเมืองของมนุษย์
(2) เมื่อเริม่ ต้นมนุษย์รวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ มีความผูกพันทางสายโลหิต มีความสัมพันธ์ทางเครือ
ญาติ ดังที่เรียกว่า วงศาคณาญาติ
(3) ต่อมากลุ่มคนขยายตัวรวมเอากลุ่มชนซึ่งอยู่ในสถานที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน มีหัวหน้า
ร่วมกัน มีศาสนาหรือลัทธิความเชื่อถืออันเดียวกัน มีขนบธรรมเนียมประเพณีเดียวกัน เรียกว่าเป็น
สังคมร่วมเผ่าพันธุ์
(4) ต่อมาสังคมเผ่าพันธุ์ขยายตัวขึ้นจนกลายเป็นนครใหญ่ และในที่สุดหลายรัฐหรือนครก็รวมตัวกัน
เป็นจักรวรรดิ
เรื่องที่ 2.2.2 : องค์ประกอบของรัฐ
1. รัฐ (State) เป็นชุมชนทางการเมืองของประชาชน ซึง่ มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
(1) ประชากร (Population) (3) อำานาจอธิปไตย (Sovereignty)
(2) ดินแดน (Territory) (4) รัฐบาล (Government)
2. ชาติ (Nation) หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางวัฒนธรรม มีความผูกพันในทางสายโลหิต เผ่าพันธุ์ ภาษา
ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนมีประสบการณ์ร่วมกันในทางประวัติศาสตร์ หรือมีวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองร่วม
กัน
3. รัฐเป็นนิติบุคคลหรือไม่นั้น ขึ้นกับ
(1) ในแง่กฎหมายเอกชน ขึ้นอยู่กับกฎหมายเอกชนของแต่ละรัฐ
(2) ในแง่กฎหมายระหว่าประเทศ ขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชนของแต่ละรัฐเช่นกัน
(3) สำาหรับประเทศไทยนั้น ไม่ได้เป็นนิติบุคคลไม่ว่าจะพิจารณาในแง่กฎหมายเอกชนหรือมหาชน
เรื่องที่ 2.2.3 : นิติรัฐ
1. นิติรัฐ หมายถึงรัฐที่นับถือหรือยกย่องกฎหมายเป็นใหญ่
14
2. รากฐานของปรัชญาว่าด้วยนิติรัฐมีมาตั้งแต่สมัยกรีก เมื่ออริสโตเติลได้กล่าวถึงรัฐที่ดีกว่า จะต้องมีผู้นำาที่ดี และผู้นำาที่ดีจะ
ต้องเคารพกฎหมาย
3. ประเทศใดประเทศหนึ่งจะเป็น “นิติรัฐ” นั้น จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ประเทศนั้นกฎหมายจะต้องอยู่เหนือสิ่งใดหมด
(2) ขอบเขตแห่งอำานาจหน้าที่ของรัฐ ย่อมกำาหนดไว้แน่นอน
(3) ผู้พิพากษาจะต้องมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี
4. แนวความคิดเรื่องนิติรัฐ ก่อให้เกิดหลักนิติธรรม (The Rule of Law) ซึ่งไดซีย์ นักกฎหมายรัฐธรรมนูญชาวอังกฤษ ได้
สรุปหลักนิติธรรมไว้ 3 ประการ ดังนี้
(1) บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา ต่อเมื่อได้กระทำาการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
(2) บุคคลทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันและศาลเดียวกัน
(3) ศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดี
ตอนที่ 2.3 : ปรัชญาว่าด้วยอำานาจอธิปไตย
เรื่องที่ 2.3.1 : ความหมายและเจ้าของอำานาจอธิปไตย
1. คำาว่า “Power” คือ สิทธิหรือความสามารถที่จะทำาการหรืองดเว้นทำาการใดได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
2. คำาว่า “Authority” คือ อำานาจที่ได้รับมอบหมาย
3. อำานาจเป็นสิ่งสำาคัญในทางการเมือง ในทางรัฐศาสตร์นั้นกล่าวกันว่า “การเมืองเป็นการต่อสู้เพื่ออำานาจ”
4. คำาว่า “อำานาจอธิปไตย” เป็นคำาที่เพิ่งเรียกกันในสมัยศตวรรษที่ 16 นี้เอง แต่เดิมเคยเรียกกันว่า อำานาจสูงสุด
5. วิวัฒนาการของการอ้างความเป็นเจ้าของอำานาจ มีหลายทฤษฎี เช่น
(1) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำานาจสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้า
(2) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำานาจสูงสุดของพระสันตะปาปา
(3) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำานาจสูงสุดของกษัตริย์
(4) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำานาจอธิปไตยเป็นของชาติ
(5) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
6. บุคคลแรกที่ใช้คำาว่า “อำานาจอธิปไตย” ในความหมายทางการเมืองดังที่เข้าใจในปัจจุบันคือ นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส
ชือ่ ฌอง โบแดง ซึง่ ในวรรณกรรม 6 เล่ม ว่าด้วยรัฐ ได้อธิบายไว้พอสรุปได้ดังนี้
- อำานาจอธิปไตย คืออำานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
- อำานาจอธิปไตยเป็นของรัฐ มิใช่ของราษฎร
- ผู้ใช้อำานาจอธิปไตยควรเป็นพระมหากษัตริย์ ซึง่ ทางเป็นรัฏฐาธิปัตย์
- รัฏฐาธิปัตย์ คือผู้มีอำานาจสูงสุดในแผ่นดิน สามารถออกคำาสั่งให้ราษฎรปฏิบัติตามได้ แต่ตนไม่อยู่ใต้
คำาสั่งของผู้ใด
7. บุคคลต่อมาผู้สนับสนุนทฤษฎีว่าด้วยอำานาจอธิปไตยเป็นของรัฐ คือ โธมัส ฮอบส์
8. รัฐธรรมนูญของประเทศที่ยอมรับทฤษฎีว่าด้วยอำานาจอธิปไตยเป็นของชาติ คือ รัฐธรรมนูญฝรั่งเศส รัฐธรรมนูญเบลเยี่ยม
รัฐธรรมนูญไวมาร์ของเยอรมัน รัฐธรรมนูญเชโกสโลวาเกีย ฯลฯ
เรื่องที่ 2.3.2 : ลักษณะของอำานาจอธิปไตย
15
1. อำานาจอธิปไตย มีลักษณะสำาคัญดังนี้
- ความเด็ดขาด - ความถาวร
- ความครอบคลุมทั่วไป - ความไม่อาจถูกแบ่งแยกได้
2. อำานาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบประการหนึ่งของรัฐ ถ้าไม่มีอยู่ในสังคม สังคมนั้นก็ไม่เรียกว่า “รัฐ”
3. อำานาจอธิปไตยนั้น ไม่อาจถูกแบ่งแยกกันออกเป็นหลายเจ้าของได้ ถ้าแบ่งกันเป็นเจ้าของ รัฐเดิมก็สูญสลายหรือต้องแยก
ออกเป็นสองรัฐ เช่น เกาหลี แบ่งออกเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
เรื่องที่ 2.3.3 : การแบ่งแยกอำานาจ
1. การแบ่งแยกอำานาจนี้น่าจะมีมาแต่สมัยกรีกแล้ว ดังที่อริสโตเติลเองได้จำาแนกอำานาจหน้าที่ของรัฐออกเป็นองค์การปกครอง
ต่างๆ กัน เช่น
(1) สภาประชาชน (3) คณะมนตรีผู้บริหารรัฐ
(2) ศาลประชาชน
2. ปรัชญาเมธีที่สำาคัญที่สุดที่พูดถึงการแยกอำา นาจ คือ มองเตสกิเออ (Montesquieu) ได้ใช้เวลาศึกษาการเมืองอยู่ที่อังกฤษ
นานถึงปีครึ่ง จนเกิดแรงบันดาลใจให้เรียบเรียงวรรณกรรมสำา คัญเล่มหนึ่ง คือ “เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย” (Esprit des
lois) โดยได้อธิบายว่าในรัฐจะมีอำานาจอยู่ 3 อย่าง คือ
(1) อำานาจนิติบัญญัติ
(2) อำานาจปฎิบัติการ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน (สมัยนี้เรียกว่า อำานาจบริหาร)
(3) อำานาจปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายแพ่ง (สมัยนี้เรียกว่า อำานาจตุลาการ)
3. ในการแบ่งแยกอำานาจนั้น มองเตสกิเออได้ให้หลักเกณฑ์ไว้เพียงว่า
(1) หัวใจของการแบ่งแยกอำานาจอยู่ที่ว่า อย่าให้มีการรวบอำานาจเบ็ดเสร็จอยู่ที่องค์กรเดียว
(2) การแบ่งแยกอำานาจคือ การแบ่งแยกองค์กรแยกย้ายกันทำาหน้าที่ เพื่อเป็นหลักประกันคุ้มครองราษฎร
(3) จะแบ่งแยกอำานาจออกเป็นกี่องค์กร อยู่ทสี่ ภาพแห่งกิจการ
4. รัฐบาลไทย ไม่เคยยอมรับหลักการแบ่งแยกอำานาจทีเ่ คร่งครัดหรือเด็ดขาด โดยมีหลักฐานปรากฏดังนี้
- รัฐธรรมนูญยอมให้รัฐสภามีอำานาจควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล
- รัฐธรรมนูญยอมให้คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ และออกกฎหมายบางประเภทได้
เรื่องที่ 2.3.4 : รูปแบบของการใช้อำานาจอธิปไตย
1. การใช้อำานาจอธิปไตย มีหลายรูปแบบ ดังนี้
(1) กรณีองค์กรเดียวเป็นผู้ใช้อำานาจอธิปไตย
(2) กรณีฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารใช้อำานาจโดยองค์กรเดียวกัน
(3) กรณีฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการใช้อำานาจโดยองค์กรเดียวกัน
(4) กรณีแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำาหน้าที่ต่างๆ ออกจากกันอย่างเกือบเด็ดขาด
(5) กรณีแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำาหน้าที่ต่างๆ ออกจากกัน แต่ให้เกี่ยวข้องกันได้มากขึ้น
2. กรณีการแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำาหน้าที่ต่างๆ ออกจากกันเกือบเด็ดขาดนั้น รูปแบบนี้ใช้กับประเทศในระบบประธานาธิบดี
3. กรณีการแบ่งแยกอำานาจประเภทแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำาหน้าที่ต่างๆ ออกจากกัน แต่ให้เกี่ยวข้องกัน รูปแบบนี้อยู่ใช้อยู่ใน
ประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ไทย
16
4. “เป็นที่รู้กันอยู่ชั่วนิรันดรแล้วว่า คนเราทุกคนที่มีอำานาจชอบใช้อำานาจเกินกว่าที่ควร จนกว่าจะประสบอุปสรรคใดขวางจึง
จะหยุดยั้ง อย่าว่าแต่อะไรเลย แม้แต่คุณธรรมยังต้องมีขอบเขต” เป็นคำากล่าวของนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ “มองเตสกิเออ”

@@@@@@@@@

หน่วยที่ 3
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ตอนที่ 3.1 : ประวัติของรัฐธรรมนูญ


เรื่องที่ 3.1.1 : ความหมายของรัฐธรรมนูญ
1. บุคคลที่เสนอให้ใช้คำาว่า “รัฐธรรมนูญ” คือ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ซึ่งทรงมีความเห็นว่า
ธรรมนูญเป็นคำาสามัญ ฟังไม่เหมาะกับที่จะเป็นกฎหมายสำาคัญของประเทศ
2. คำาว่า “รัฐ” ในทางวิชาการ ถือว่าต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
(1) ดินแดน (3) อำานาจอธิปไตย
(2) ประชาชน (4) รัฐบาล
3. สังคมทั้งหลายต้องมีรัฐธรรมนูญ เพียงแต่อาจไม่เรียกว่ารัฐธรรมนูญเท่านั้น แม้ในประเทศไทยเมื่อแรกเปลี่ยนแปลงการ
ปกครองก็ยังไม่รู้จักคำาว่ารัฐธรรมนูญด้วยซำ้าไป คงเรียกเพียงว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ฉบับ
ชัว่ คราว พ.ศ.2475”
4. รัฐธรรมนูญ เป็นชื่อเฉพาะของกฎหมายประเภทหนึ่ง มีฐานะเป็นกฎหมายสูงสุด และเป็นกฎหมายที่กำาหนดกฎเกณฑ์การ
ปกครองประเทศอย่างกว้างๆ สำาหรับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึงกฎหมายสาขามหาชนที่วางระเบียบเกี่ยวกับสถาบัน
การเมืองของรัฐ
5. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นคำาที่กว้างกว่ารัฐธรรมนูญ เนื่องจาก
- คลุมถึงรัฐธรรมนูญด้วย
- คลุมถึงกฎเกณฑ์การปกครองประเทศที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
- คลุมถึงกฎหมายทั้งหลายที่วางระเบียบเกี่ยวกับสถาบันการเมืองใดสถาบันการเมืองหนึ่งด้วย
6. ความคล้ายคลึงระหว่างรัฐธรรมนูญ และกฎหมายรัฐธรรมนูญ อยู่ที่ว่า เป็นกฎหมายมหาชนและวางระเบียบเกี่ยวกับ
การเมืองการปกครองคล้ายคลึงกัน เพียงแต่ว่ารัฐธรรมนูญจะกำาหนกรายละเอียดมากกว่า
7. ความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญ และกฎหมายรัฐธรรมนูญ อยู่ที่ว่า รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร ในขณะที่กฎหมาย
รัฐธรรมนูญมีทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
8. กฎหมายรัฐธรรมนูญ มีส่วนคล้ายกับกฎหมายปกครองที่ว่า เป็นกฎหมายมหาชนและวางระเบียบการปกครองรัฐ แต่ก็มี
ความแตกต่างในประเด็นดังต่อไปนี้
17
(1) ในด้านเนื้อหา กฎหมายรัฐธรรมนูญวางระเบียบการปกครองรัฐในระดับสูงและกว้างขวางมากกว่ากฎหมาย
ปกครอง ในขณะที่กฎหมายปกครองวางระเบียบรัฐในการบริหารราชการแผ่นดินเท่านั้น
(2) ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างราษฎรกับรัฐ กฎหมายรัฐธรรมนูญแสดงความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับราษฎรใน
รูปของกลุ่มราษฎรเป็นส่วนรวม ในขณะที่กฎหมายปกครองแสดงความเกี่ยวพันระหว่างราษฎรเป็นรายบุคคลกับรัฐ
(3) ในด้านฐานะของกฎหมาย กฎหมายรัฐธรรมนูญมีความสำาคัญมากกว่ากฎหมายปกครอง
เรื่องที่ 3.1.2 : ประวัติแนวความคิดในการจัดทำารัฐธรรมนูญ
1. การศึกษาแนวความคิดในการจัดทำารัฐธรรมนูญ ควรศึกษาจากประวัติหรือเหตุการณ์ใน 4 สมัย
2. สมัยแรก (ก่อนปี ค.ศ.1758 ซึ่งเป็นปีที่มีการใช้มหาบัตร Magna Carta ในอังกฤษ)
- กฎหมายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การปกครองประเทศมีลักษณะเลื่อนลอย มีบัญญัติไว้บ้าง เป็นจารีตประเพณี
บ้าง เป็นโองการของกษัตริย์บ้าง
- กฎหมายรัฐธรรมนูญสมัยนี้มีลักษณะราชาธิปไตยโดยแท้
3. สมัยที่สอง (ปี ค.ศ.1758 – ปี ค.ศ.1776 ซึ่งเป็นปีที่ประกาศอิสรภาพในสหรัฐอเมริกา)
- รัฐธรรมนูญเริ่มมีความชัดเจนขึ้น เป็นกฎหมายที่จำากัดอำานาจของผู้ปกครอง
- กฎหมายรัฐธรรมนูญสมัยนี้มีลักษณะเป็นอภิชนาธิปไตย (Oligarchy)
4. สมัยที่สาม (ปี ค.ศ.1776 – ปี พ.ศ.2488 ซึง่ เป็นปีสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2)
- มีเหตุการณ์สำาคัญเกิดขึ้นในสมัยที่สามนี้มากมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ เช่น
* การจัดทำารัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1789
* การปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ.1789 (พ.ศ.2332)
* การจัดทำารัฐธรรมนูญในเยอรมัน ในปี พ.ศ.2392
* การเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2475
- รัฐธรรมนูญสมัยนี้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแบ่งแยกอำานาจและการประกันสิทธิเสรีภาพของราษฎร
- ปลายสมัยนี้ ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรปเกิดมีการต่อสู้ทางความคิดในเรื่องลัทธิการเมือง
ระหว่างฝ่ายนิยมประชาธิปไตย และฝ่ายนิยมลัทธิเผด็จการในรูปแบบต่างๆ เช่น ฟาสซิสม์ นาซิสม์
และคอมมิวนิสต์
5. สมัยที่สี่ (ปี พ.ศ.2488 – ปัจจุบัน)
- มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ ทั้งในระดับภายในประเทศและระดับระหว่างประเทศ
* ระดับภายในประเทศนั้น มีการแตกแยกออกเป็นหลายรัฐ เช่น เยอรมันตะวันตกและ
เยอรมันตะวันออก เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เป็นต้น
* ระดับระหว่างประเทศนั้น เกิดองค์การสหประชาชาติ องค์การร่วมในระดับภูมิภาค
- แนวความคิดในทางกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองแบบใหม่ (Modern Positive Law) เป็นที่ยอมรับมากขึ้น
(คือการผสมผสานแนวคิดกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองและกฎหมายฝ่ายธรรมชาติเข้าด้วยกัน)
- แนวคิดในการแบ่งแยกอำานาจอธิปไตยนั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบการปกครองของแต่ละประเทศ ซึ่งแบ่ง
ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
* การแบ่งแยกอำานาจแบบเคร่งครัด ตามหลักรัฐบาลระบบประธานาธิบดี
* การแบ่งแยกอำานาจแบบไม่เคร่งครัด ตามหลักรัฐบาลระบบรัฐสภา
18
- ปัจจุบันเริ่มมีแนวคิดใหม่คือ ควรเน้นการแบ่งแยกหน้าที่มากกว่า
เรื่องที่ 3.1.3 : ประเภทของรัฐธรรมนูญ
1. ประโยชน์ของการแบ่งแยกประเภทรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเรื่องของการเปรียบเทียบเพื่อการศึกษา โดยเฉพาะประเทศที่เกิด
ใหม่หรือเพิ่งได้เอกราชใหม่หรือคิดจะร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่
2. การแบ่งแยกประเภทรัฐธรรมนูญแบ่งได้หลายลักษณะ ขึน้ อยู่กับจะใช้หลักเกณฑ์อะไรในการแบ่ง เช่น
(1) การแบ่งแยกตามรูปแบบของรัฐบาล ถือกันว่าปัจจุบันเป็นหลักเกณฑ์นี้ล้าสมัยแล้ว
- อริสโตเติล เคยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ รัฐธรรมนูญแบบเอกาธิปไตย รัฐธรรมนูญแบบ
รัฐบาลของคณะบุคคล และรัฐธรรมนูญแบบรัฐบาลของบุคคล
- มองเตสกิเออ เคยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ รัฐธรรมนูญแบบสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญแบบ
ราชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญแบบเผด็จการนิยม
(2) การแบ่งแยกตามรูปของรัฐ
- รัฐธรรมนูญของรัฐเดี่ยว - รัฐธรรมนูญของรัฐรวม
(3) การแบ่งแยกตามวิธีการบัญญัติ
- รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร - รัฐธรรมนูญไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
(4) การแบ่งแยกตามวีการแก้ไข
- รัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่าย - รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก
(5) การแบ่งแยกตามกำาหนดเวลาในการใช้
- รัฐธรรมนูญชั่วคราว - รัฐธรรมนูญถาวร
(6) การแบ่งแยกตามลักษณะของรัฐสภา
- เป็นรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง - เป็นสภาเดียวหรือสองสภา
(7) การแบ่งแยกตามลักษณะของฝ่ายบริหาร
- รัฐธรรมนูญตามระบบประธานาธิบดี - รัฐธรรมนูญตามระบบรัฐสภา
(8) การแบ่งแยกตามลักษณะของฝ่ายตุลาการ
- ฝ่ายตุลาการหรือฝ่ายใดเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ
3. ปัจจุบันได้เกิดความคิดใหม่ขึ้นว่า การแบ่งประเภทรัฐธรรมนูญควรแบ่งตามความเป็นจริง โดยพิจารณาถึงลักษณะการใช้
รัฐธรรมนูญ หรือความมุ่งหมายในการมีรฐั ธรรมนูญ ซึง่ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
(1) รัฐธรรมนูญซึ่งมีกฎเกณฑ์ตรงต่อสภาพในสังคม (Normative Constitution) เป็นรัฐธรรมนูญประเภทที่มี
กฎเกณฑ์การปกครองสอดคล้องกับลักษณะสังคม
(2) รัฐธรรมนูญซึ่งกำา หนดกฎเกณฑ์การปกครองประเทศไว้เกินความเป็นจริง (Nominal Constitution) เป็น
รัฐธรรมนูญประเภทที่สมบูรณ์ แต่ยังขาดการปฏิบัติตามอย่างแท้จริง
(3) รั ฐ ธรรมนู ญ ซึ่ ง กำา หนดกฎเกณฑ์ ก ารปกครองประเทศไว้ ต บตาคน (Semantic Constitution) เป็ น
รัฐธรรมนูญประเภทที่มีลักษณะเผด็จการ

ตอนที่ 3.2 : การจัดทำารัฐธรรมนูญ


เรื่องที่ 3.2.1 : อำานาจการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ
19
1. อำา นาจการจั ด ให้ มีรั ฐ ธรรมนูญ หมายถึ ง อำา นาจทางการเมื อ งของคณะบุ ค คล หรื อ บุ ค คลที่ อ ยู่ ใ นฐานะบั น ดาลให้ มี
รัฐธรรมนูญขึ้นได้สำาเร็จ โดยนัยนี้ ผูท้ ี่จัดให้มีรัฐธรรมนูญจึงหมายถึง “รัฏฐาธิปัตย์” หรือผู้อยู่ในฐานะอย่างรัฏฐาธิปัตย์
2. คตินิยมแบบลัทธิเทวสิทธิราชย์ (The Divine Right Theory) มีสาระสำาคัญว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงเลือกกษัตริย์ให้เป็นผู้นำา
ประเทศ และทรงวางกฎเกณฑ์การปกครองประเทศไว้ให้ อำานาจทั้งปวงของกษัตริย์ย่อมหลั่งไหลจากองค์พระผู้เป็นเจ้า
3. เมื่อคตินิยมแบบลัทธิเทวสิทธิราชย์เสื่อมลง เกิดมีแนวความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับผู้มีอำานาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ
- ประมุขของรัฐเป็นผู้จัดให้มีขึ้น
- ผู้ก่อการปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นผู้จัดให้มีขึ้น
- ราษฎรเป็นผู้จัดให้มีขึ้น
- ประมุขของรัฐ คณะปฏิวัติและราษฎรร่วมกันจัดให้มีขึ้น
- ผู้มีอำานาจจากรัฐภายนอกจัดให้มีขึ้น
4. ตัวอย่างรัฐธรรมนูญประเภทประมุขของรัฐเป็นผู้จัดให้มีขึ้น ได้แก่
- รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ.2432 - รัฐธรรมนูญของโมนาโค เมื่อ พ.ศ.2454
- รัฐธรรมนูญของรุสเซีย เมื่อ พ.ศ.2449 - รัฐธรรมนูญของเอธิโอเปีย เมื่อ พ.ศ.2474
5. สำาหรับประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดำาริที่จะให้มีการปกครองแบบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
จนถึงกับมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้น 2 ฉบับ คือ
(1) ฉบับแรกร่างโดยพระยากัลยาณไมตรี (Dr. Francis B. Sayre) เมื่อปี 2467
(2) ฉบับทีส่ องร่างโดยนายเรมอนด์ บี สตีเวนส์ (Raymond B. Stevens) และพระยาศรีวิสารวาจา
(นายเทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) เมื่อปี 2474
6 ตัวอย่างรัฐธรรมนูญประเภทผู้ก่อการปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นผู้จัดให้มีขึ้น
- รัฐธรรมนูญของกัมพูชาประชาธิปไตย
7. ตัวอย่างรัฐธรรมนูญประเภทราษฎรเป็นผู้จัดให้มีขึ้น
- รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2332 - รัฐธรรมนูญของรุสเซีย เมื่อ พ.ศ.2461
- รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.2334
8. ตัวอย่างรัฐธรรมนูญประเภทประมุขของรัฐ คณะปฏิวัติและราษฎรร่วมกันจัดให้มีขึ้น
- รัฐธรรมนูญของอังกฤษ เมือ่ พ.ศ.2373 - รัฐธรรมนูญของกรีก เมือ่ พ.ศ.2388
- รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.2373 - รัฐธรรมนูญของโรมาเนีย เมื่อ พ.ศ.2407
9. ตัวอย่างรัฐธรรมนูญประเภทผู้มีอำานาจจากรัฐภายนอกจัดให้มีขึ้น
- รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น ฉบับปัจจุบัน - รัฐธรรมนูญของฟิลิปปินส์ เมื่อปี พ.ศ.2478
เรื่องที่ 3.2.2 : อำานาจการจัดทำารัฐธรรมนูญ
1. ในทางทฤษฎี กฎหมายรั ฐ ธรรมนูญ นั้ นถือ ว่ า อำา นาจการจั ด ทำา รั ฐ ธรรมนูญ เป็ นอำา นาจที่ ควบคู่ กับ อำา นาจการจัด ให้มี
รัฐธรรมนูญ ซึ่งสามารถแบ่งแยกประเภทผู้มีอำานาจจัดทำารัฐธรรมนูญ ดังนี้
(1) โดยบุคคลคนเดียว มักเกิดขึ้นจากการปฏิวัติหรือรัฐประหาร
(2) โดยคณะบุคคล กรณีที่มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นยกร่างและพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ
(3) โดยสภานิตบิ ัญญัติหรือสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรณีที่ต้องยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อยกเลิกรัฐธรรม
นูญเก่าทั้งฉบับ
20
2. ในประเทศไทย เคยมีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญสองครั้ง
- ครั้งแรกเมื่อปี 2491 (ร่างรัฐธรรมนูญใช้ปี 2492) - ครั้งที่สองเมื่อปี 2502 (ร่างรัฐธรรมนูญใช้ปี 2511)
3. ผลดีของการร่างรัฐธรรมนูญ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ คือ
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมาจากหลายวงการ ทำาให้ได้ความเห็นที่แตกต่างกันออกไป
- สมาชิกสภาร่างฯ มีเวลาทุ่มเทให้กับการจัดทำาร่าง โดยไม่ต้องพะวักพะวงกับงานอื่น
- เป็นการลดความตึงเครียดทางการเมือง และเป็นการประสานประโยชน์จากทุกฝ่าย
เรื่องที่ 3.2.3 : การจัดทำารัฐธรรมนูญ
1. รัฐธรรมนูญที่เป็นเจ้าตำารับในเวลานี้มี 4 ฉบับ คือ
- กฎหมายลายลักษณ์อักษรบางฉบับของอังกฤษ - รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส
- รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา - รัฐธรรมนูญของรุสเซีย
2. ทุกวันนี้รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นเจ้าตำารับรัฐธรรมนูญในนานาประเทศกันอย่างแพร่หลาย เช่น หลักเกณฑ์ที่ว่า
การปกครองแบบประชาธิปไตย คือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
3. รัฐธรรมนูญสมัยใหม่มักมีข้อความยืดยาวมากกว่ารัฐธรรมนูญสมัยเก่า เนื่องจาก
(1) ต้องการจะป้องกันการเข้าใจเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญผิดไป
(2) ต้องการจะขยายขอบเขตอำานาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ให้กว้างขวางคล่องตัวขึ้นกว่าเดิม
(3) ต้องการจะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มากขึ้น
4. น่าสังเกตว่า รัฐธรรมนูญของประเทศที่เพิ่งได้เอกราชจากอังกฤษ มักมีข้อความยาวและมีหลายมาตรา ที่เป็นเช่นนี้น่าจะด้วย
เหตุทวี่ ่า ต้องการทดแทนการอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึง่ เป็นประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นชิ้นเป็นอัน
5. การร่างรัฐธรรมนูญให้มีข้อความสั้นหรือยาวอย่างไรนั้น มีหลักเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
(1) ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการทางการเมืองของประเทศ
(2) ประสิทธิภาพของศาลหรือสถาบันตุลาการรัฐธรรมนูญในการตีความรัฐธรรมนูญ
(3) สถานะของรัฐธรรมนูญอาจเป็นเครื่องกำาหนดความสั้นยาวของรัฐธรรมนูญได้
6. การจัดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในร่างรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องจำาเป็นอย่างยิ่งในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
แต่แนวทางการเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นนั้นอาจทำาได้หลายรูปแบบ ดังนี้
(1) โดยการให้แสดงความคิดเห็นทั่วไปทางสื่อมวลชน หรือการอภิปรายแก่สาธารณชน
(2) โดยการให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งให้แสดงประชามติ
(3) โดยการให้ผู้แทนประชาชนออกเสียงเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ
7. ตามรัฐธรรมนูญของไทย ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า สมควรให้ประชาชนออกเสียงแสดงประชามติ ควร
ปฎิบัติดังนี้
(1) ประกาศพระบรมราชโองการให้มีการออกเสียงประชามติ
(2) ตราพระราชกฤษฎีกากำาหนดวันให้มีการออกเสียงประชามติ
(3) ผลของการออกเสียงประชามติให้ถือเสียงข้างมาก
3.1 ถ้าเสียงข้างมากไม่เห็นชอบด้วย ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป
3.2 ถ้าเสียงข้างมากเห็นชอบด้วย พระมหากษัตริย์ก็จะทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน
21

เรื่องที่ 3.2.4 : กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ


1. กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การปกครองประเทศ ซึ่งแยกออกมาบัญญัติรายละเอียด
ต่างหากไปจากรัฐธรรมนูญ มีผลดีคือ
(1) ทำาให้การร่างรัฐธรรมนูญสำาเร็จได้ในเวลาอันรวดเร็ว
(2) ทำาให้รัฐธรรมนูญมีข้อความและรายละเอียดน้อยจดจำาง่าย
(3) ทำาให้การแก้ไขกฎเกณฑ์รายละเอียดในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเป็นไปได้ง่าย
(4) ทำาให้สามารถวางรายละเอียดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การปกครองได้เหมาะสมกับสถานการณ์บ้านเมือง
2. ตัวอย่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เช่น
- กฎหมายเลือกตั้ง - กฎหมายวิธีพิจารณาความของตุลาการรัฐธรรมนูญ
- กฎหมายพรรคการเมือง - กฎหมายว่าด้วยการออกเสียงลงประชามติ
เรื่องที่ 3.2.5 : รัฐธรรมนูญไทย
1. หากจะนับจำานวนกฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งหมดในประเทศไทย ตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงฉบับที่ประกาศใช้เมื่อปี พ .ศ.2521 รวม
ทั้งสิ้น 20 ฉบับ แต่ที่นับเป็นฉบับสำาคัญนั้นมีเพียง 13 ฉบับ ดังนี้
(1) ฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475
(2) ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475
(3) ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489
(4) ฉบับที่ 7 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชัว่ คราว) พ.ศ.2490
(5) ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2492
(6) ฉบับที่ 12 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2495
(7) ฉบับที่ 13 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502
(8) ฉบับที่ 14 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2511
(9) ฉบับที่ 15 ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2515
(10) ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2517
(11) ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2519
(12) ฉบับที่ 19 ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2520
(13) ฉบับที่ 20 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521
2. ประเด็นสำาคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญทั้ง 13 ฉบับ ได้แก่
(1) รัฐธรรมนูญฉบับแรก (ฉบับที่ 1) ของไทยเป็นฉบับชั่วคราว มีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน
(2) รัฐธรรมนูญที่จัดทำาโดย “สภาร่างรัฐธรรมนูญ” มี 2 ฉบับ (ฉบับที่ 11, 14)
(3) รัฐธรรมนูญที่จัดทำาโดย “สภาผู้แทนราษฎร หรือสภานิติบัญญัติ” มี 4 ฉบับ (ฉบับที่ 2, 6, 16, 20)
(4) รัฐธรรมนูญที่จัดทำาโดย “คณะรัฐประหาร คณะบริหารประเทศชั่วคราว คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูป
การปกครองแผ่นดิน” มี 6 ฉบับ (ฉบับที่ 7, 12, 13, 15,18, 19)
(5) รูปแบบรัฐสภา ซึ่งรัฐธรรมนูญกำาหนดให้เป็นแบบ 2 สภา คือ “สภาผู้แทนราษฎร” และ “วุฒิสภา”
มีทั้งสิ้น 6 ฉบับ (ฉบับที่ 6, 7, 11, 14, 16, 20)
22
(6) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 6 ถือว่าเป็นประชาธิปไตยมาก ในเรื่องของการให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม
กับกิจกรรมทางการเมือง
(7) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 11 และฉบับที่ 16 ถือว่าเป็นประชาธิปไตยมาก ในเรื่องวิธีการจัดทำา และการคุม้
ครองสิทธิเสรีภาพของพลเมือง

ตอนที่ 3.3 : การแก้ไขและยกเลิกรัฐธรรมนูญ


เรื่องที่ 3.3.1 : การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญไม่วา่ โดยการแก้ไขถ้อยคำาหรือข้อความเดิมที่มีอยู่
แล้ว หรือโดยการเพิม่ เติมข้อความใหม่เข้าไป
2. บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ห้ามการแก้ไขเปลี่ยนแปลง มักเป็นเรื่องต่อไปนี้
- ลักษณะรัฐบาลแบบสาธารณรัฐ - บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของราษฎรบางเรื่อง
- อาณาเขตประเทศ - ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลของมลรัฐกับรัฐบาลกลาง
- ศาสนาประจำาชาติ - ลักษณะเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองแบบสังคมนิยม
- ความเป็นเอกภาพ
3. รัฐธรรมนูญ อาจแก้ไขได้ใน 2 วิธี คือ
(1) แบบแก้ไขได้ง่าย หมายถึง รัฐธรรมนูญอาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยเงื่อนไขเช่นเดียวกับกฎหมายธรรมดา
เช่น รัฐธรรมชาติของอังกฤษ อิสราเอล นิวซีแลนด์
(2) แบบแก้ไขได้ยาก หมายถึง รัฐธรรมนูญที่มีกระบวนการแก้ไขสลับซับซ้อนแยะยุ่งยากกว่ากฎหมายธรรมดา
เช่นรัฐธรรมนูญของสวิตเซอร์แลนด์ นอรเวย์ เดนมาร์ก
4. กระบวนการควบคุมการแก้ไขรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรให้มีลักษณะเป็นการแก้ไขยาก กระทำาได้ดังนี้
(1) การควบคุมผู้เสนอแก้ไข
(2) การควบคุมผู้ดำาเนินการพิจารณาแก้ไข
(3) การควบคุมวิธีการแก้ไข
(4) การควบคุมระยะเวลาการแก้ไข
(5) การให้ประมุขของรัฐบาลหรือประชาชนเข้ามามีส่วนในการแก้ไข
5. การแก้ไขรัฐธรรมนูญไทย ถือว่ามีวิธีการแก้ไขที่ยากกว่าการแกไขกฎหมายอื่น มีขั้นตอนดังนี้
(1) ผู้ริเริ่มเสนอของแก้ไข ต้องมาจากคณะรัฐมนตรี หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน
3 ของจำานวนสมาชิกทั้งหมด
(2) รูปแบบที่เสนอขอแก้ไข ต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
(3) การพิจารณาแก้ไข ให้ทำาในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยพิจารณาเป็น 3 วาระ คือ วาระที่หนึ่งขั้นรับ
หลักการ วาระทีส่ องขั้นพิจารณารียงลำาดับมาตรา และวาระที่สามขั้นสุดท้ายเป็นการลงคะแนนเสียงเห็นชอบ
(4) การประกาศใช้ โดยนำาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
6. การห้ามแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาดคงทำาไม่ได้ เพราะจะเป็นการยั่วยุให้ผู้ประสงค์จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเปลี่ยนเป็นการ
ยกเลิกรัฐธรรมนูญได้ แต่ควรกำาหนดเป็นข้อห้ามการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตราไว้
เรื่องที่ 3.3.2 : การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
1. การยกเลิกรัฐธรรมนูญ หมายถึง กระบวนการเลิกใช้รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรทั้งฉบับ ซึ่งกระทำาได้ 2 วิธี
23
(1) การยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ เกิดขึ้นในกรณีที่มีข้อความอันเป็นหลักสำาคัญของรัฐธรรมนูญ
ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศ หรือไม่สอดคล้องกับจิตใจของประชาชนในขณะนั้น
(2) การยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ เกิดขึ้นโดยการปฏิวัติหรือรัฐประหาร
2. โดยหลักการ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น จะบัญญัติข้อความให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่กำาลังใช้อยู่หรือไม่ก็ได้
3. หลัก Lex Posterior Derogat Legi Priori หมายถึง หลักการที่ว่าในบรรดากฎหมายที่มีฐานะเท่ากัน กฎหมายที่มา
ทีหลังย่อมยกเลิกกฎหมายที่มีมาก่อนได้
4. การปฏิวัติ (Revolution) คือ พฤติการณ์ในการเลิกล้มหรือล้มล้างระบอบการปกครองหรือรัฐบาลซึ่งครองอำานาจอยู่แล้ว
นั้น โดยใช้กำาลังบังคับ แล้วสถาปนาระบอบการปกครองหรือจัดตั้งรัฐบาลใหม่
5. การรัฐประหาร (Coup d’ Etat) หมายถึง การใช้กำาลังหรือการกระทำาอันมิชอบเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
6. ในทางทฤษฎีนั้น การปฏิวัติมีความหมายแตกต่างจากรัฐประหาร 2 ประการ คือ
(1) การปฏิวัติเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบหนึ่ง ไปสู่ระบอบหนึ่ง หรือมีการล้มล้าง
สถาบันประมุขเพื่อเปลี่ยนรูปแบบประมุขแห่งรัฐ ในขณะที่รัฐประหาร หมายความแต่เพียงการเปลี่ยนแปลงอำา นาจการ
บริหารประเทศโดยฉับพลัน
(2) การปฏิ วั ติ นั้ น ผู้ กระทำา การมั กได้ แ ก่ป ระชาชนที่ ร วมตั ว กั นขึ้ น หรื อ คณะบุ ค คลดำา เนิ น การ ส่ ว นการ
รัฐประหารนั้น ผู้กระทำาการมักได้แก่บุคคลสำาคัญในคณะรัฐบาลหรือมีสว่ นอยู่ในรัฐบาล หรือคณะทหาร
7. ในทางปฏิบัตินั้น คณะผู้ก่อการรัฐประหารในประเทศไทยไม่ว่าจะเรียกตนเองว่า คณะราษฎร์ คณะรัฐประหาร คณะปฏิวัติ
หรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน อย่างไรก็ได้ เพราะผลในทางกฎหมายย่อมเหมือนกันคือ ผู้กระทำาการสำาเร็จย่อมเป็น
รัฏฐาธิปัตย์
8. ผลทางกฎหมายที่สำาคัญที่สุดอันเกิดจากการปฏิวัติรัฐประหารที่กระทำาสำาเร็จคือ คณะปฏิวัติหรือรัฐประหารย่อมทรงไว้ซึ่ง
อำานาจอธิปไตย กล่าวคือ อำานาจอธิปไตยซึ่งเดิมเคยเป็นของผู้อื่น ก็จะเปลี่ยนมือมาอยู่ที่คณะปฏิวัติหรือรัฐประหารนี้ทันที
อันก่อให้เกิดผลย่อยๆ ดังนี้คือ
(1) ในทางรัฐศาสตร์นั้นถือว่า เมื่อปฏิวัติรัฐประหารสำาเร็จแล้ว สถาบันการเมือง เช่น รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ย่อม
ถูกยกเลิกเพิกถอนไปในตัว
(2) เมื่อคณะปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว ความผิดฐานกบฏก็ดีหรือฐานอื่นก็ดี ย่อมถูกลบล้างไป
หมด โดยถือเสมือนหนึ่งไม่เคยกระทำาผิดมาก่อน

ตอนที่ 3.4 : โครงร่างของรัฐธรรมนูญ


เรื่องที่ 3.4.1 : คำาปรารภของรัฐธรรมนูญ
1. โดยทัว่ ไป รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร จะประกอบด้วยส่วนสำาคัญ 2 ส่วน คือ
- คำาปรารภหรือคำานำาของรัฐธรรมนูญ - เนื้อความของรัฐธรรมนูญ
2. คำาปรารภ หมายถึง บทนำาเรื่องรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจแสดงเหตุผลแห่งการมีรัฐธรรมนูญฉบับนั้น หรืออาจวางหลักพื้นฐาน
ทัว่ ไปของรัฐธรรมนูญ หรือพรรณนาเกียรติคุณของผู้จัดทำาก็ได้
3. ปัญหาที่ว่า คำาปรารภจะมีผลทางกฎหมายหรือไม่ประการใดนั้น นักกฎหมายมีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย คือ
(1) ฝ่ายที่เห็นว่า คำา ปรารภมีความสำา คัญอย่างเดียวกันหรือใกล้เคียงกับตัวบทกฎหมาย คือ นักกฎหมายของ
อังกฤษและประเทศในเครือจักรภพ และนักกฎหมายประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์
(2) ฝ่ายที่เห็นว่า คำา ปรารภมิใช่กฎหมาย เป็นคนละส่วนกับตัวบทมาตรา คือ นักกฎหมายสหรัฐอเมริกา และ
ประเทศในภาคพื้นยุโรป
24
4. ประโยชน์ของคำาปรารภของรัฐธรรมนูญ คือ
(1) ช่วยให้รัฐธรรมนูญสละสลวยขึ้น
(2) ช่วยในการตีความบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
(3) ช่วยให้ทราบประวัติการเมืองของประเทศนั้น
(4) ช่วยให้ทราบประวัติการจัดทำารัฐธรรมนูญฉบับนั้น
5. ข้อความที่ปรากฏในคำาปรารภ มักมีข้อความดังต่อไปนี้
- ข้อความแสดงให้ทราบที่มาหรืออำานาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ
- ข้อความที่แสดงให้เห็นความจำาเป็นที่ต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- ข้อความที่แสดงวัตถุประสงค์ในการบัญญัติรัฐธรรมนูญ หรือปณิธานของรัฐธรรมนูญ
- ข้อความที่แสดงถึงอำานาจในการจัดทำารัฐธรรมนูญ
- ข้อความที่แสดงถึงประวัติของชาติ
- ข้อความประกาศสิทธิและเสรีภาพของราษฎร
6. สำาหรับรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ในเรื่องเกี่ยวกับคำาปรารภนั้น มีข้อสังเกตดังนี้
- มีรัฐธรรมนูญเพียงฉบับเดียวเท่านั้นที่บัญญัติคำาปรารภไว้สั้นๆ คือ พ.ร.บ.ธรรมนูญการปกครองแผ่น
ดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475
- รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มักจะมีข้อความในคำาปรารภสั้นกว่ารัฐธรรมนูญฉบับถาวร
- รัฐธรรมนูญของไทยถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า มักจะมีคำาปรารภยืดยาว
เรื่องที่ 3.4.2 : เนื้อความของรัฐธรรมนูญ
1. ในส่วนของเนื้อความตามบทมาตราของรัฐธรรมนูญนั้น จะว่าด้วยเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) กฎเกณฑ์การปกครองประเทศ (มีความสำาคัญที่สุด)
(2) บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(3) กฎเกณฑ์อื่นๆ ในรัฐธรรมนูญ
- กฎการแก้ไขเพิ่มเติม - แนวนโยบายแห่งรัฐ
- ความเป็นกฎหมายสูงสุด - บทเฉพาะกาล
- หน้าที่พลเมือง
2. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสำาคัญ จึงควรมีความสูงสุดเหนือกฎหมายอื่นใด ซึง่ มีผล 2 ประการ คือ
(1) การเปลี่ยนแปลงแก้ไขและยกเลิก ย่อมทำาได้ยากกว่ากฎหมายธรรมดา
(2) สิง่ ใดจะมาขัดขวางหรือขัดแย้งมิได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะมีก่อนหรือมีหลังรัฐธรรมนูญก็ตาม

ตอนที่ 3.5 : รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ


เรื่องที่ 3.5.1 : รูปของรัฐ
1. รูปของรัฐตามตำารารัฐศาสตร์ จำาแนกได้ 3 รูปแบบ คือ
(1) รัฐเดี่ยว (Unitary State) (3) รัฐรวมหลายรัฐ (Federation)
(2) รัฐรวมสองรัฐ (Union)
25
2. รัฐเดี่ยว คือ รัฐซึ่งเป็นเอกภาพ ไม่ได้แบ่งแยกออกจากกัน มีการใช้อำานาจสูงสุดทั้งภายในและภายนอกโดยองค์การเดียวกัน
ทัว่ ดินแดนของรัฐ ประเทศที่มีรูปของรัฐเป็นรัฐเดี่ยว ได้แก่ สเปน โปรตุเกส ญี่ปุ่น นอรเวย์
3. รัฐรวมสองรัฐ คือ รัฐซึ่งมารวมเข้าด้วยกันสองรัฐ โดยมีประมุขร่วมกันหรือโดยการใช้อำานาจภายนอกร่วมกัน แต่ใช้อำานาจ
ภายในแยกจากกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1) รัฐรวมที่มีประมุขร่วมกัน (Personal Union) ปัจจุบันรัฐแบบนี้ไม่มีแล้ว
(2) รัฐรวมที่ใช้อำานาจภายนอกร่วมกัน ปัจจุบันรัฐแบบนี้ไม่มีแล้ว
4. รัฐรวมหลายรัฐ คือ การรวมตัวของรัฐต่างๆ มากกว่าสองรัฐขึ้นไป ด้วยความสมัครใจของทุกรัฐ เพื่อประโยชน์ร่วมกัน รัฐ
แบบนี้มี 2 ประเภท คือ
(1) สมาพันธรัฐ (Confederation) ปัจจุบันไม่มีรัฐแบบนี้แล้ว
(2) สหรัฐ (United States) เช่น สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรต
5. สหรัฐอเมริกา เริ่มตั้งประเทศเป็นสมาพันธรัฐ แต่เหตุการณ์ต่อมาแสดงให้เห็นว่า รัฐรวมแบบสมาพันธรัฐอ่อนแอมาก ไม่
สามารถคุ้มครองตนเองได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2332 จึงได้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนั้น และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ
ใหม่ โดยกำาหนดรูปของรัฐให้เป็นแบบสหรัฐ
6. รูปของรัฐแบบใหม่ เช่น สหรัฐอเมริกา นั้น ต่อมาได้กลายเป็นแม่แบบให้แก่ประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา สวิต
เซอร์แลนด์ เยอรมัน อินเดีย มาเลเซีย
7. การกำาหนดรูปแบบสหรัฐทำาได้โดยการแบ่งอำานาจรัฐบาลออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ
(1) อำานาจของรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลแห่งชาติ (Federal Government)
(2) อำานาจของรัฐบาลแห่งมลรัฐ (State Government)
เรื่องที่ 3.5.2 : รูปของรัฐตามรัฐธรรมนูญไทย
1. รัฐธรรมนูญไทยบัญญัติเสมอว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้” ข้อความนี้แสดงให้เห็น
ถึงสาระสำาคัญ 2 ประการ คือ
(1) ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว (2) ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร
2. คำาว่า “ราชอาณาจักร” มี 2 ความหมาย คือ
(1) ในประมวลกฎหมายอาญา หมายถึง ดินแดนที่เป็นของประเทศไทยทั้งหมด
(2) ในทางรัฐธรรมนูญ หมายถึง รัฐซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
3. ราชอาณาจักร มี 2 ประเภท คือ
(1) สหราชอาณาจักร (United Kingdom) ซึ่งประกอบด้วย บริเตนใหญ่ (Great Britain) ได้แก่ อังกฤษ
สกอตแลนด์ เวลล์ และไอร์แลนด์
(2) ราชอาณาจักร (Kingdom) ซึง่ มีดินแดนเดียวกันตลอด เช่น ราชอาณาจักรไทย
เรื่องที่ 3.5.3 : รูปแบบของประมุขของรัฐ
1. รูปแบบของประมุขของรัฐ ซึ่งประเทศต่างๆ นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 รูปแบบ คือ
(1) ประมุขของรัฐแบบประธานาธิบดี
(2) ประมุขของรัฐแบบพระมหากษัตริย์
2. ประมุขของรัฐแบบประธานาธิบดี แบ่งตามอำานาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินได้ 3 ประเภท
คือ
26
(1) ประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นประมุขของรัฐ และประมุขของฝ่ายบริหาร
- เป็นประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง ทำาหน้าที่ทั้งประมุขของรัฐและประมุขฝ่ายบริหาร
- รับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชน เพราะได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน
- รัฐมนตรีที่ประธานาธิบดีแต่งตั้งเป็นเสมือนที่ปรึกษาและรับผิดชอบโดยตรงต่อประธานาธิบดี
- เป็นการแบ่งแยกอำานาจค่อนข้างเคร่งครัด กล่าวคือ รัฐสภาไม่อาจควบคุมการบริหารของ
ประธานาธิบดี ขณะเดียวกันประธานาธิบดีไม่อาจยุบสภาได้เช่นกัน
- เป็นการปกครองที่มีระบบการคานและดุล (Check and Balance)
- การปกครองระบอบนี้มีตัวอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก อาร์เจนตินา อินโดนีเซีย
(2) ประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นประมุขของรัฐ โดยมิได้เป็นประมุขของฝ่ายบริหาร
- เป็นประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง มีฐานะประมุขของรัฐคล้ายพระมหากษัตริย์
- ไม่ต้องมีความรับผิดชอบทางการเมือง
- มีนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประมุขฝ่ายบริหาร และคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบในการบริหาร
ราชการแผ่นดิน
- การปกครองระบอบนี้มีตัวอย่างในประเทศอินเดีย สิงคโปร์ เยอรมัน
(3) ประธานาธิบดีในฐานะประมุขของรัฐ ซึ่งร่วมกันบริหารราชการแผ่นดินกับนายกรัฐมนตรี
- ประธานาธิบดีเป็นประธานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
- เป็นผู้กำาหนดนโยบายต่างประเทศ และนโยบายทางการเมือง
3. ประมุขของรัฐแบบพระมหากษัตริย์ จำาแนกตามพระราชอำานาจและพระราชฐานะออกเป็น 3 ประเภท คือ
(1) พระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy)
- ทรงเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์
- ทรงใช้อำานาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการได้โดยลำาพังพระองค์
- พระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์เป็นที่สุด
(2) พระมหากษัตริย์ในระบอบปรมิตาญาสิทธิราชย์ (Limited Monarchy)
- พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำานาจทุกประการ แต่ถูกจำากัดโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
- อำานาจบริหารเป็นพระราชอำานาจของพระมหากษัตริย์
- การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นอำานาจของผู้พิพากษา
- การปกครองระบอบนี้มีตัวอย่างในประเทศเอธิโอเปีย สมัยพระจักรพรรดิไฮเลเซลาสซี
ประเทศญี่ปุ่น ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และประเทศซาอุดีอาระเบีย
(3) พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy)
- มีในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- ทรงเป็นพระประมุขของประเทศเท่านั้น
- ไม่ได้เป็นประมุขฝ่ายบริหาร เพราะมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลอยู่แล้ว
- การปกครองระบอบนี้มีตัวอย่างในประเทศไทย ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน
4. มีข้อพิจารณาว่า รูปแบบของประมุขของรัฐแบบใดจะดีกว่ากัน ซึ่งมีความเห็นแยกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้
(1) ฝ่ายที่เห็นว่ารูปแบบประมุขแบบประธานาธิบดีน่าจะดีกว่า โดยให้เหตุผลว่า
27
- ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ย่อมเข้าใจความต้องการของประชาชนอย่าง
แท้จริง
- หากประธานาธิบดีปฏิบัติไม่เหมาะสมก็มีทางแก้ไขโดยวิธีไม่เลือกตั้งให้เป็นอีกต่อไป
(2) ฝ่ายที่เห็นว่ารูปแบบพระมหากษัตริย์น่าจะดีกว่า โดยให้เหตุผลว่า
- พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาแห่งเกียรติศักดิ์
- พระมหากษัตริย์ทรงเป็นกลางในทางการเมือง
- พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขถาวร
- พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งความเป็นชาติ และความสามัคคีของคนในชาติ
5. การเข้าสู่ตำาแหน่งของประมุขของรัฐแบบพระมหากษัตริย์ อาจทำาได้หลายวิธี
(1) ปราบดาภิเษก เป็นการครองราชสมบัติโดยวิธียกตนขึ้นเป็นกษัตริย์
(2) การสืบราชสมบัติ เป็นการขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบรรพบุรุษ
(3) การสืบราชสมบัติโดยความเห็นชอบจากรัฐสภา เป็นการขึ้นครองราชสมบัติต่อจากบรรพบุรุษ
แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
(4) การครองราชสมบัติโดยวิธีเลือกตั้งระหว่างผู้มีสิทธิ เช่น การขึ้นครองราชสมบัติในมาเลเซีย
6. สำาหรับประมุขของประเทศไทย มีหลักการที่น่าสนใจดังนี้
(1) ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(2) มีกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2467 ซึ่งถือเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่ง
(3) กรณีที่ราชบัลลังค์ว่างลง หรือพระมหากษัตริย์ไม่ได้ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือทรงบริหาร
พระราชภาระไม่ได้ เช่น ทรงผนวช ต้องมีผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์
(4) พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจำานวนไม่เกิน 15 คน ประกอบเป็นองคมนตรี
มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวง
(5) พระมหากษัตริย์ไม่ต้องทรงรับผิดชอบทางการเมือง จึงต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
(6) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นผลให้ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร
(7) พระมหากษัตริย์ทรงดำารงตำาแหน่งจอมทัพไทย
(8) พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ก็ทรงอยู่เหนือกฎหมายในลำาดับรองลงมาโดยอัตโนมัติ
(9) พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำานาจ
============

หน่วยที่ 4
ระบอบการปกครอง

ตอนที่ 4.1 : ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย


เรื่องที่ 4.1.1 : วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
28
1. การปกครองแบบประชาธิปไตยสมัยเริ่มแรกนั้น เกิดในนครรัฐเอเธนส์ของกรีกโบราณ เมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล
เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยตรง กล่าวคือ ประชาชนชาวเอเธนส์ทั้งหมดเป็นผู้ใช้อำานาจในการปกครองโดยตรง
ด้วยการประชุมร่วมกัน
2. หลังจากที่ประชาธิปไตยโดยตรงได้ล่มสลายไปจากนครเอเธนส์ การปกครองแบบประชาธิปไตยหยุดชะงักไปนับพันปี จึง
ได้เริ่มก่อรูปขึ้นในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอังกฤษ
3. วิวัฒนาการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศอังกฤษ สืบเนื่องมาจาก
(1) สภาพสังคมผู้ปกครองในอังกฤษเวลานั้น เป็นสังคมศักดินา บรรดาขุนนางเจ้าที่ดินมีหน้าที่รับใช้กษัตริย์ และ
เป็นผู้มีอภิสิทธิ์ในทางการเมือง
(2) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 อังกฤษส่งแกะเป็นสินค้าออกประมาณปีละ 8 ล้านตัว ด้วยเหตุนี้ บรรดาขุนนางเจ้า
ที่ดินต่างหันมาเลี้ยงแกะในที่ดินของตน และได้ประกอบธุรกิจร่วมกับพ่อค้าและนายหน้าตัวแทน ซึ่งเป็นชนชั้นกลาง จนใน
ทีส่ ุดกลายเป็นพวกเดียวกัน
(3) ทัศนคติแบบศักดินาของบรรดาขุนนางเจ้าที่ดินทั้งหลายเริม่ เปลี่ยนไปเป็นทัศนคติแบบนายทุน ที่ดินกลายเป็น
ทุนในการผลิตและเป็นแหล่งที่มาของรายได้
(4) ชนชั้นกลางจึงมีบทบาทและอำา นาจในรัฐสภาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีบรรดาขุนนางเจ้าที่ดินเป็นพวกด้วย
รัฐสภาได้เปลี่ยนแปลงบทบาทไปเป็นเครื่องถ่วงดุลอำานาจกษัตริย์มากขึ้น จนเกิดระบบการปกครองที่เรียกว่า “ ระบบกษัตริย์
มีอำานาจจำากัด” กล่าวคือ
- กษัตริย์ยังคงเป็นประมุขของประเทศ และเป็นหัวหน้ารัฐบาล
- กษัตริย์ต้องยอมรับอำานาจอิสระของผู้พิพากษาและของรัฐสภา
(5) ปี ค.ศ.1647 พระเจ้าชาร์ลที่ 1 ถูกดำาเนินคดีและถูกประหารชีวิต รัฐสภามีวิวัฒนาการไปอีกรูปแบบหนึ่ง โดย
เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากกษัตริย์มีอำานาจจำา กัด ไปเป็นระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา กล่าวคือ มีองค์กรที่เรียกว่า “คณะ
รัฐมนตรี” ซึง่ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลบริหารประเทศ
(6) ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 กษัตริย์ยอมสละอำา นาจในการลงนามในกฎหมายที่รัฐสภาเสนอ และนับแต่นั้นมา
รัฐสภามีอำานาจเต็มที่ในการบัญญัติกฎหมาย ส่งผลให้ในเวลาต่อมา ประเทศอังกฤษมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
(7) ภายหลังการปฏิวัติใหญ่ในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส การปกครองในระบอบดังกล่าวจึงแพร่หลายไปทั่วใน
ประเทศยุโรปตะวันตก
เรื่องที่ 4.1.2 : ความหมายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
1. ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตามความเห็นของ ดร.กมล สมวิเชียร หมายถึงการปกครองที่มีหลักเกณฑ์ขั้นตำ่า 3
ประการ คือ
(1) ผู้ปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใต้ปกครอง
(2) ผูใ้ ต้ปกครองจะต้องมีสิทธิเปลี่ยนตัวผู้ปกครองได้เป็นครั้งคราว
(3) สิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐานของประชาชนจะต้องได้รับการปกป้องคุ้มครอง
2. แนวความคิดประชาธิปไตย ซึ่งก่อให้เกิดรูปแบบและวิธีการปกครอง ตามความเห็นของ ดร.ชัยอนันต์ คือ
(1) มนุษย์มีความสามารถ มีสติปัญญา รู้จักใช้เหตุผล ทำาให้เกิดรูปแบบและวิธีการปกครองที่ใช้หลักการประชุม
ปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน
(2) ความเป็นอิสระและเสรีภาพของมนุษย์ ทำาให้เกิดรูปแบบและวิธีการปกครองที่มีการวางขอบเขตอำานาจและ
หน้าที่
29
(3) ความเท่าเทียมกันของคนก่อให้เกิดการคุ้มครองทางกฎหมายแก่บุคคลอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือก
ปฏิบัติ
(4) อำานาจอันชอบธรรมทางการปกครอง เกิดจากการให้ความยินยอมของประชาชน
(5) อำานาจอธิปไตยมาจากปวงชน
(6) สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งสำาคัญ
3. โดยสรุป หลักเกณฑ์ใหญ่ๆ ของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย คือ
(1) เป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำานาจอธิปไตย
(2) เป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ
เรื่องที่ 4.1.3 : องค์ประกอบของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
1. องค์ประกอบของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ได้แก่
(1) การเลือกตั้ง (3) หลักการว่าด้วยความถูกต้องแห่งกฎหมาย
(2) หลักการแบ่งแยกอำานาจ
2. ฌอง ฌาคส์ รุสโซ นักคิดทางการเมืองคนสำาคัญได้อธิบายในหนังสือ “สัญญาประชาคม” ไว้ว่า อำานาจอธิปไตยหรืออำานาจ
สูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชาติ และมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน
3. หลังการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1789 แนวความคิดที่ว่าอำานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ได้แพร่หลายไปใน
ประเทศต่างๆ จนเป็นที่ยอมรับกันว่า อำานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
4. ในทางปฏิบัตินั้น ประชาชนเจ้าของอำานาจอธิปไตยไม่สามารถใช้อำานาจของตนได้อย่างทั่วถึง ประชาชนจึงมอบอำานาจให้
แก่บุคคลกลุ่มหนึ่งเพื่อทำา หน้าที่ปกครองในประเทศแทนประชาชน การมอบอำา นาจดังกล่าวเรียกว่า “การเลือกตั้งผู้แทน
ราษฎร” ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำาคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตย
5. การเลือกตั้งตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย จะต้องมีหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) การเลือกตั้งต้องกระทำาโดยเสรี ไม่มีการบังคับหรือจ้างวานหรือใช้อิทธิพลใดๆ
(2) การเลือกตั้งต้องมีการกำาหนดสมัยเลือกตั้งไว้แน่นอนชัดเจน
(3) การจัดการเลือกตั้งต้องบริสุทธิ์ยุติธรรม
(4) การออกเสียงเลือกตั้งต้องให้ประชาชนมีโอกาสใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างแท้จริง ไม่มีข้อจำากัดกีดกัน
(5) แต่ละคนมีคะแนนเสียงเพียงเสียงเดียว และทุกคะแนนเสียงย่อมมีนำ้าหนักเท่ากัน
(6) การลงคะแนนเสียงต้องไม่มีการใช้อิทธิพลบังคับ ข่มขู่ หรือให้สินจ้างรางวัล
6. ระบบการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
(1) การเลือกตั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
(2) การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและแบบรวมเขต
(3) การเลือกตั้งตามเสียงข้างมากและแบบสัดส่วน
7. ประเทศไทยเคยมีการเลือกตั้งแล้ว 2 รูปแบบ คือ การเลือกตั้งโดยทางตรงและทางอ้อม และการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและ
แบบรวมเขต
8. การแบ่งแยกอำานาจ มีจุดมุ่งหมายสำาคัญคือ ป้องกันมิให้มีการใช้อำานาจซึ่งเป็นอธิปไตยของชาติตกไปอยู่กับองค์กรใดองค์กร
หนึ่ง ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
30
9. มองเตสกิเออ นักคิดทางการเมืองคนสำาคัญชาวฝรั่งเศสได้อธิบายในหนังสือ “เจตนารมณ์ของกฎหมาย” ไว้เกี่ยวกับการแบ่ง
แยกอำานาจอธิปไตยออกเป็น 3 อำานาจ คือ อำานาจนิติบัญญัติ อำานาจที่จะปฏิบัติกิจการต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน
และอำานาจที่จะปฏิบัติกิจการต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายเอกชน
10. มองเตสกิเออ ได้แสดงความเห็นไว้ว่า “องค์กรที่มีอำานาจหน้าที่ทั้ง 3 องค์การ ต้องแยกจากกันและเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน
เสรีภาพของประชาชนจะมีไม่ได้หรือมีเป็นส่วนน้อย ถ้าหากอำานาจเหล่านี้ไปรวมอยู่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง”
11. ความเห็นของมองเตสกิเออ มีอิทธิพลต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศสหรัฐอเมริกา และถือเป็นหลัก
ในการจำาแนกระบบการปกครองของประเทศต่างๆ ว่าเป็นระบบประธานาธิบดี หรือระบบรัฐสภา
12. หลักการแบ่งแยกอำานาจ มีข้อพิจารณาดังนี้
- เป็นการจัดระเบียบอำานาจในลักษณะที่ไม่ให้มีการรวมการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ
- ไม่จำาเป็นเสมอไปที่ต้องให้องค์กรผู้ใช้อำานาจทั้งสามอำานาจมีความเท่าเทียมกัน
- ไม่จำาเป็นต้องแบ่งแยกอำานาจจากกันโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะอำานาจนิติบัญญัติและอำานาจบริหาร
13. การที่รัฐสภาจะถ่วงดุลอำานาจรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นั้ น จำาเป็นที่รัฐสภาต้องมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่
ดังนี้
(1) ความเป็นอิสระของสมาชิกรัฐสภา ซึ่งมีองค์ประกอบในการพิจารณา คือ
- การเข้าสู่ตำาแหน่งของสมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
- สถานส่วนตัวของสมาชิกรัฐสภา ต้องได้รับเอกสิทธิ์คมุ้ ครองจากการปฏิบัติหน้าที่
(2) ความเป็นอิสระในการดำาเนินงานของรัฐสภา
- สมัยประชุมของรัฐสภา ต้องมีการกำาหนดสมัยประชุมไว้แน่นอน
- องค์กรภายในของรัฐสภา มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ เพื่อพิจารณาร่างกฎหมาย
หรือตรวจสอบการดำาเนินงานของฝ่ายบริหาร
- อำานาจของรัฐสภา ซึ่งต้องมีอย่างน้อย 3 ประการคือ
* อำานาจในการจำากัดขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายบริหาร
* อำานาจในการควบคุมฝ่ายบริหาร
* อำานาจในการเรียกร้องและคัดค้านการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายบริหาร
14. หลักการที่ว่าด้วยความถูกต้องตามกฎหมาย มีความหมาย 2 ประการ ดังนี้
(1) ผูม้ ีอำานาจปกครอง ซึง่ หมายถึงฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ จะใช้อำานาจปกครองตามอำาเภอใจไม่ได้ การใช้
อำานาจปกครองจะต้องสอดคล้องถูกต้องตามกฎหมายทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่
(2) รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีลำา ดับศักดิ์สูงสุด กฎมายที่มีลำา ดับศักดิ์รองลงมาจะมี บทบัญ ญัติ ขัด แย้ งกับ
รัฐธรรมนูญไม่ได้
เรื่องที่ 4.1.4 : รูปแบบของรัฐบาลในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
1. รัฐบาลในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ระบอบ คือ
(1) ระบบการปกครองแบบรัฐสภา (3) ระบบการปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดี
(2) ระบบการปกครองแบบประธานาธิบดี
2. ระบบการปกครองแบบรัฐสภา มีข้อพิจารณาดังนี้
(1) เป็นระบบการปกครองที่อำานาจขององค์กรฝ่ายบริหารและองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติเท่าเทียมกัน
31
(2) ทั้งสองฝ่ายต่างควบคุมซึ่งกันและกัน
(3) มีการประสานงานกันในการดำาเนินการต่อกัน
(4) ฝ่ายบริหารมีส่วนในการเสนอร่างกฎหมาย
3. ฝ่ายบริหารตามระบบการปกครองแบบรัฐสภา แบ่งออกเป็น 2 องค์กร คือ
(1) องค์กรประมุขของรัฐ
- เป็นกษัตริย์ที่สืบทอดราชวงศ์ต่อๆ กันมา หรือประธานาธิบดีซึ่งมาจาการเลือกตั้งทางอ้อม
- ประมุขของรัฐมีฐานะหรือบทบาทในทางพิธีการเท่านั้น
(2) องค์กรคณะรัฐมนตรี หรือรัฐบาล
- มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล หรือหัวหน้าฝ่ายบริหาร
- คณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบทางการเมืองต่อรัฐสภาร่วมกัน
- รัฐสภาสามารถลงมติไม่ไว้วางในรัฐบาล ในขณะที่นายกรัฐมนตรีมีอำานาจยุบสภา
4. การจัดตั้งรัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี มีวิธีการ 2 วิธี คือ
(1) วิธีการแรก สภามีส่วนร่วมในการจัดตั้งรัฐบาล
- เป็นวิธีการที่ใช้กันแพร่หลาย โดยรัฐสภามีส่วนร่วมในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีก่อน
- นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เลือกบุคคลมาร่วมเป็นคณะรัฐมนตรี
- ต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อนเข้าบริหารงานเพื่อขอมติไว้วางใจ
(2) วิธีที่สอง สภาไม่มีส่วนร่วมในการจัดตั้งรัฐบาล
- เป็นวิธีการที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย
- การตั้งรัฐบาลไม่จำาเป็นต้องได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา
5. ระบบการปกครองแบบประธานาธิบดี มีข้อพิจารณาดังนี้
(1) เป็นระบบการปกครองที่ประธานาธิบดี เป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
(2) รัฐมนตรีที่ประธานาธิบดีแต่งตั้งมีฐานะเพียงที่ปรึกษาของประธานาธิบดีในการบริหารบ้านเมือง
(3) รัฐมนตรีรับผิดชอบต่อประธานาธิบดีแต่ผเู้ ดียว
(4) ฝ่ายบริหาร (ประธานาธิบดี) และรัฐสภา ต่างทำาหน้าที่เป็นอิสระต่อกันและกัน
(5) ฝ่ายบริหารไม่มีอำานาจเสนอร่างกฎหมายต่อรัฐสภาโดยตรง แต่สามารถใช้วิธีการทางอ้อมได้ โดยวิธี
สำาคัญ คือ “สุนทราพจน์ของประธานาธิบดีที่กล่าวต่อรัฐสภา” (State of Union)
6. “The Impeachment” เป็ น วิ ธี ก ารคานดุ ล อำา นาจระหว่ า งรั ฐ สภาและประธานาธิ บ ดี ในระบบการปกครองแบบ
ประธานาธิบดี เนื่องจากเป็นรูปแบบการปกครองที่แบ่งแยกอำา นาจกันอย่างเด็ดขาด ซึ่งในทางปฏิบัตินั้น ประธานาธิบดีมี
อำานาจยับยั้งกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว แต่รัฐสภาก็มีอำานาจดำาเนินคดีกับประธานาธิบดีด้วยวิธีการนี้
7. ระบบการปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดี มีข้อพิจารณาดังนี้
(1) เป็นระบบการปกครองที่ใกล้เคียงกับระบบการปกครองแบบรัฐสภามากกว่า
(2) รัฐสภาสามารถถอดถอนหัวหน้ารัฐบาลและคณะรัฐบาล ในขณะที่ฝ่ายบริหารมีอำานาจยุบสภา
(3) ฝ่ายบริหารแบ่งออกเป็น 2 องค์กร คือ องค์กรประธานาธิบดี และองค์กรคณะรัฐมนตรี โดยองค์กร
คณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบทางการเมืองต่อรัฐสภา
(4) ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
32
(5) ตัวอย่างประเทศที่มีระบบการปกครองแบบนี้คือ ฝรั่งเศส ออสเตรีย ฟินแลนด์ ปอร์ตุเกส ไอร์แลนด์
และไอซ์แลนด์

ตอนที่ 4.2 : ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ


เรื่องที่ 4.2.1 : ความหมายของระบอบการปกครองแบบเผด็จการ
1. ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ มีความหมายเป็น 2 นัย กล่าวคือ
(1) เป็ นระบอบการปกครองชั่ว คราวที่ มี วั ต ถุป ระสงค์เ พื่ อ ปกปั ก รั ก ษาระบอบการปกครองเดิ ม ที่ เ ผชิ ญ กับ
วิกฤติการณ์ร้ายแรงในทางสังคม อันอาจเป็นอันตรายต่อสถาบันการเมืองการปกครองที่มีอยู่ในขณะนั้น
(2) เป็นระบอบการปกครองที่อำานาจปกครองของรัฐบาลไม่ได้มีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นระบอบ
การปกครองที่ประชาชนไม่มีโอกาสถอดถอนรัฐบาลซึ่งตนไม่พอใจ และเป็นระบอบการปกครองที่ไม่มีโอกาสได้แสดง
ความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากรัฐบาล
2. ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ แบ่งตามระบบเศรษฐกิจออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
(1) การปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
(2) การปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
เรื่องที่ 4.2.2 : ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยอมให้เอกชนเป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิต และเปิดโอกาสให้เอกชน
แข่งขันกันในการประกอบการทางเศรษฐกิจ รัฐจะเข้าแทรกแซงเศรษฐกิจเฉพาะในกรณีที่จำาเป็นเท่านั้น
2. การปกครองแบบเผด็จการ จะเกิดขึ้นเมื่อสังคมของประเทศเกิดวิกฤติ ซึ่งแยกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
(1) วิกฤติการณ์ในสังคม (ความวุ่นวายจากการเรียกร้อง ประท้วง และเดินขบวน)
(2) วิกฤติการณ์เกี่ยวกับความชอบธรรมแห่งอำานาจการปกครอง (ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ของกลุ่ม
การเมือง)
3. การปกครองแบบเผด็จการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1) เผด็ จ การแบบปฏิ วั ติ เป็ น เผด็ จ การชนิ ด พลิ ก หน้ า มื อ เป็ น หลั ง มื อ กล่ า วคื อ เป็ น เผด็ จ การที่ พ ยายาม
เปลี่ยนแปลงระบบการเมืองแบบใหม่ทั้งหมด เพื่อทดแทนแบบเดิม
(2) เผด็จการแบบปฏิรูป เป็นเผด็จการแบบอนุรักษ์นิยม กล่าวคือ เป็นเผด็จการที่ไม่ได้มุ่งหมายที่จะนำา ระบบ
การเมืองแบบใหม่ทั้งหมด มาทดแทนที่มีอยู่เดิม ยังคงอาศัยพึ่งพากันอยู่
4. สถาบันการเมืองของระบอบการปกครองแบบเผด็จการ ประกอบด้วย
(1) กำาลังทหาร เพื่อทำาหน้าที่คุ้มครองหรือสนับสนุนระบบเผด็จการ
(2) พรรคการเมืองแบบพรรคเดียว เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดต่อระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ช่วยเผย
แพร่ความรู้ทางการเมือง โฆษณา ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมือง
5. วิธีการทำาให้ประชาชนยอมรับอำานาจปกครองแบบเผด็จการ มี 2 แนวทาง คือ
(1) การปราบปราม
- การปราบปรามประชาชนที่โต้แย้งคัดค้านระบบเผด็จการ จะใช้วิธีการทางกฎหมาย ศาล และ
ตำารวจ แต่ถ้าต้องการปราบปรามเด็ดขาด จะใช้ตำารวจลับ
- การกำาจัดศัตรูทางการเมือง จะใช้ตำารวจติดตามเฝ้ามองพฤติกรรมต่างๆ ก่อน
- วิธีการต่างๆ ที่ใช้ปราบปรามคือ การจับกุมคุมขัง การส่งตัวไปกักกันในค่าย การทรมาน และ
33
การประหารชีวิต
(2) การโฆษณาชวนเชื่อ
- รูปแบบและวิธีการโฆษณาชวนเชื่อขึ้นอยู่กับว่าเป็นเผด็จการแบบไหน
6. รูปแบบของการปกครองแบบเผด็จการในระบบทุนนิยม แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
(1) การปกครองแบบเผด็จการฟาสซิสม์
- เป็นการปกครองของประเทศอุตสาหกรรม
- เป็นการปกครองที่มีพรรคการเมืองพรรคเดียว
- เป็นการปกครองที่จัดให้มีการโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบทันสมัย
(2) การปกครองแบบเผด็จการที่อาศัยพรรคการเมืองพรรคเดียว
- มักเกิดขึ้นในประเทศกำาลังพัฒนา
- มักเป็นเผด็จการแบบอนุรักษ์นิยม
(3) การปกครองแบบเผด็จการทหาร
- มักเกิดขึ้นในประเทศด้อยพัฒนา
- มีทั้งแบบทหารเป็นผู้ปกครอง และแบบทหารอยู่เบื้อหลังให้พลเรือนปกครอง
7. สถาบันการเมืองการปกครองของเผด็จการแบบฟาสซิสม์ ได้แก่
(1) พรรคการเมืองแบบพรรคเดียว เป็นเครื่องคำ้าจุนการปกครองแบบฟาสซิสม์มากกว่ากองทัพ
(2) การจัดตั้งสมาคมอาชีพ โดยรวมกิจการประเภทเดียวกันของเอกชนให้องค์กรของรัฐดูแล
(3) การโฆษณาชวนเชื่อ ด้วยคำาขวัญ สัญลักษณ์ขิงพรรค และภาพผู้นำา ผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ
(4) การปราบปรามฝ่ายตรงข้าม ด้วยวิธีการรุนแรงและเหี้ยมโหด โดยใช้ตำารวจลับ
8. คำา ว่า “โฟรบันซิอามิเอ็นโด” เป็นระบบเผด็จการที่กองทัพไม่ได้เข้ามามีอำา นาจปกครองเอง แต่จะใช้วิธีการสนับสนุน
พรรคการเมืองหนึ่งหรือคณะบุคคลพลเรือนหนึ่ง ให้เป็นหัวหน้าปกครองประเทศ
9. คำาว่า “เพลโตเลียน” หมายถึง เผด็จการทหารที่ทหารเข้ามาปกครองประเทศ โดยมุ่งหวังแต่ผลประโยชน์ของทหารด้วยกัน
แทนที่จะคำานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน
เรื่องที่ 4.2.3 : ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1. ลักษณะสำาคัญของประเทศสังคมนิยม ได้แก่
(1) เป็นสังคมที่เครื่องมือในการผลิตเป็นของส่วนรวม ซึ่งอาจเป็นของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นหรือของสหกรณ์
(2) เอกชนสามารถประกอบกิจการส่วนตัวได้ แต่การประกอบกิจการนั้นต้องไม่มคี วามสำาคัญต่อ
ระบบเศรษฐกิจของประเทศ
(3) ระบบเศรษฐกิจนั้น ยึดถืออุดมการณ์มาร์กซิสม์เป็นสำาคัญ
(4) ใช้อำานาจเผด็จการในการปกครอง โดยมีพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว
(5) ให้ความสำาคัญกับโครงสร้างทางสังคมและอุดมการณ์สังคมนิยม
2. ลัทธิมาร์กซิสม์ มีความเห็นว่า มนุษย์ยังไม่อาจมีเสรีภาพได้ ตราบใดที่ยังมีเอกชนเป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิต และมีการ
ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
34
3. อุดมการณ์ของมาร์กซิสม์ในเรื่องรัฐและอำานาจทางการเมือง คล้ายกับอุดมการณ์เสรีนิยม กล่าวคือ รัฐและอำา นาจทางการ
เมือง หมายถึง สิ่งทั้งหลายที่เป็นเครื่องมือในการปกครองในการใช้อำานาจ เช่น กำาลังตำารวจ กำาลังทหาร ศาล และคุก เป็นต้น
4. ตามความเห็นของพวกมาร์กซิสม์ ทฤษฎีว่าด้วยรัฐและอำานาจทางการเมือง สามารถเปลี่ยนแปลงพัฒนาได้ ซึ่งมี 3 ขั้นตอน
คือ
(1) รัฐมีฐานะเป็นเครื่องมือในการใช้อำานาจปกครองของชนชั้นหนึ่ง ต่ออีกชนชั้นหนึ่ง
(2) รัฐมีฐานะเป็นเครื่องมือในการสร้างสังคม ที่มีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
(3) รัฐจะหมดสภาพสิ้นสูญไปจากสังคมมนุษย์
5. ทฤษฎี “จาโคแบงค์” ถือกันว่าเป็นต้นกำาเนิดของทฤษฎีมาร์กซิสม์ ที่ว่าด้วยการใช้อำานาจเผด็จการ มีรายละเอียด ดังนี้
(1) ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นสมัยปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส
(2) จาโคแบงค์ คือกลุ่มบุคคลที่ได้อำานาจรัฐเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.1793 ซึ่งตอนนั้นมีกองทัพต่างชาติ
บุกรุกเข้าประเทศฝรั่งเศสถึง 5 ประเทศ และเขตปกครองต่างๆ ภายในประเทศก็แตกแยก
(3) จาโคแบงค์ จึงต้องใช้อำานาจเผด็จการในการปกครองประเทศ
(4) ทฤษฎีจาโคแบงค์ มีหลักการสำาคัญ ดังนี้คือ
- การปกครองแบบเผด็จการต้องเด็ดขาดและแข็งกร้าว เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย
- การใช้อำานาจเผด็จการ เพียงเพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงนิสัยทีเ่ คยชินของประชาชน
- เป็นระบบการปกครองแบบเผด็จการชั่วคราวเท่านั้น

เรื่องที่ 4.2.4 : รัฐธรรมนูญของประเทศเผด็จการสังคมนิยม


1. การปกครองของประเทศเผด็จการสังคมนิยม มีส่วนคล้ายและต่างกับประเทศในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
กล่าวคือ
(1) มีรัฐธรรมนูญ มีบทบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน มีการเลือกตั้งทั่วไป และมีรัฐสภา
(2) การปกครองโดยการผสมผสานระหว่างสถาบันการเมืองกับการเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นพรรคการเมือง
แบบพรรคเดียว
(3) การเลือกตั้งทั่วไปนั้นใช้วิธีให้การรับรองผู้สมัครรับการเลือกตั้ง ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากเจ้าหน้าที่ที่มีอำานาจคัด
เลือก
(4) มีรัฐสภาทำาหน้าที่ควบคุมและจำากัดอำานาจของฝ่ายรัฐบาล แต่การแบ่งแยกอำานาจนั้น ฝ่ายรัฐบาลจะมีอำานาจ
กว้างขวางกว่า ส่วนฝ่ายรัฐสภามีอำานาจค่อนข้างจำากัด
2. สาเหตุที่ต้องให้อำานาจของฝ่ายรัฐบาลมากกว่า เนื่องจากเหตุผลสำาคัญ 3 ประการ
(1) พรรคคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลครอบงำากลไกต่างๆ ของรัฐ
(2) กฎหมายจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของจุดมุ่งหมายแห่งการปฏิวัติ
(3) ความอ่อนแอของรัฐสภา
3. ลักษณะโดยทั่วไปของประเทศเผด็จการสังคมนิยม ได้แก่
(1) อำานาจทางการเมืองใช้อยู่ 2 ทางคือ ทางกลไกของพรรคคอมมิวนิสต์ และกลไกของรัฐ
(2) กลไกของพรรคคอมมิวนิสต์มีอำานาจเหนือกว่ากลไกของรัฐ
(3) ผู้นำาที่แท้จริงคือ ผู้นำาพรรค ไม่ใช่ผู้ดำารงตำาแหน่งทางการที่กำาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
35
(4) รัฐบาลไม่จำาเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากเป็นกรณีที่จำาเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการปฏิวัติ

****************

หน่วยที่ 5
องค์กรนิติบัญญัติ

ตอนที่ 5.1 : แนวความคิดเกี่ยวกับองค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย


เรื่องที่ 5.1.1 : การแบ่งแยกอำานาจหน้าที่ในการใช้อำานาจอธิปไตย
1. ในอดีตมีการถกเถียงเกี่ยวกับอำานาจอธิปไตย ซึง่ สามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวความคิด คือ
(1) กลุ่มแนวความคิด “ลัทธิเทพาธิปไตย” ถือว่า อำานาจอธิปไตยเป็นอำานาจศักดิ์สิทธิ์จากสวรรค์
(2) กลุ่มแนวความคิด “ลัทธิประชาธิปไตย” ถือว่า ราษฎรเป็นเจ้าของอำานาจสูงสุดนี้
2. มองเตสกิเออ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ได้ศึกษาถึงการปกครองของประเทศอังกฤษและได้อธิบายไว้ว่า ในรัฐๆ หนึ่งย่อมมี
อำานาจอยู่ 3 ประเภท คือ อำานาจนิติบัญญัติ อำานาจบริหาร และอำานาจตุลาการ
3. หลักการแบ่งแยกอำานาจของมองเตสกิเออ ถูกนำาไปใช้เป็นหลักในการร่างรัฐธรรมนูญของ สหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกเมื่อได้
ประกาศแยกเป็นเอกราชจากอังกฤษ ต่อมารัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสฉบับแรกก็ได้ใช้หลักการแบ่งแยกอำานาจของมองเตสกิ
เออด้วยเช่นกัน
4. เมื่อมีการแบ่งแยกอำานาจอธิปไตยแล้ว ก็ต้องมีองค์กรผู้ใช้อำานาจแต่ละอำานาจ ดังนี้
(1) องค์กรผู้ใช้อำานาจนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา
(2) องค์กรผู้ใช้อำานาจบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดี หรือประมุขของฝ่ายบริหารที่เรียก
ชือ่ เป็นอย่างอื่น
(3) องค์การผู้ใช้อำานาจตุลาการ คือ ศาล
เรื่องที่ 5.1.2 : วิวัฒนาการขององค์กรนิติบัญญัติในระบอบการปกครองแบบรัฐสภา
1. ระบบการปกครองแบบรัฐสภา เริ่มมีขึ้นในประเทศอังกฤษ ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ และด้วยความต่อเนื่อง
และวิวัฒนาการเรื่อยมาของการปกครองแบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษ จึงได้รับการยกย่องและได้รับสมญานามว่า เป็น
แม่บทของรัฐสภาของประเทศอื่นๆ
2. วิวัฒนาการทางการปกครองแบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษ โดยสรุปมีดังนี้
(1) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 อังกฤษมีการปกครองตามลัทธิฟิวดัล (Feudalism) กล่าวคือ เจ้าครองนครต่างๆ
เรียกว่า “วาสซัล” (Vassal) ได้รับการแบ่งสันปันส่วนการปกครองดินแดนอังกฤษ โดยเป็นผู้รับใช้กษัตริย์ของอังกฤษ เวลา
มีศึกสงครามกษัตริย์อังกฤษจะคอยคุ้มครองป้องกันเป็นการตอบแทน
(2) ต่อมาในศตวรรษที่ 12 ได้เกิดประเพณีการปกครองอังกฤษขึ้นใหม่ กล่าวคือ เมื่อกษัตริย์จะบัญญัติกฎหมาย
สำาคัญต้องปรึกษาหารือกับ “คอนซิลเลียม” (Concillium) ก่อน องค์กรนี้ประกอบด้วยพระราชาคณะ พวกขุนนางคนสำาคัญ
ชัน้ บารอน (ระดับเจ้าครองนคร) มีฐานะเป็นสภาที่ปรึกษาในการออกกฎหมาย
36
(3) ในศตวรรษที่ 13 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “แม็กนั่ม คอนซิเลียม” (Magnum Concillium) และยังเพิ่มอีกบทบาท
หน้าที่หนึ่งคือ เป็นศาลพิจารณาคดีในอำานาจของกษัตริย์อีกด้วย
(4) เมื่อปี ค.ศ.1215 บรรดาพระราชาคณะและพวกบารอน ได้บังคับพระเจ้าจอห์นลงนามในบทบัญญัติกำาหนด
อำานาจ เรียกว่า “แม็กนา คาร์ตา” (Magna Carta) ซึง่ มีสาระสำาคัญ 2 ประการ คือ
- การเก็บภาษี จะต้องเป็นไปตามความเห็นของสภาแม็กนัม คอนซิลเลียม
- บุคคลทุกคนย่อมเป็นอิสระ จะไม่ถูกจับกุม คุมขัง โดยมิได้มีคำาพิพากษาและมิได้มีกฎหมาย
กำาหนดโทษไว้
(5) ในปี ค.ศ.1295 มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า Great and Model Parliament สภา
ผูแ้ ทนราษฎรนี้จะปฏิบัติหน้าที่ควบคู่กับสภาแม็กนัม คอนซิลเลียม
(6) ตั้งแต่ในศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา สภาทั้งสองได้แยกออกจากกัน โดย
- สภาแม็กนัม คอนซิลเลียม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สภาขุนนาง” (House of Lords)
- สภาผู้แทนราษฎร ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สภาสามัญ” (House of Commons)
(7) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 กษัตริย์อังกฤษพยายามที่จะกู้พระราชอำานาจที่ถูกจำากัดโดยสภาขุนนาง เกิดการสู้
รบกันระหว่างกองทัพกษัตริย์และกองทัพของรัฐสภา ในที่สุดรัฐสภาเป็นฝ่ายมีชัย ทำาให้รัฐสภามีอิทธิพลเพิ่มขึ้นอีกมาก
(8) ปี ค.ศ.1688 ก่อนเจ้าชายวิลเลียมขึ้นครองราชย์ พวกขุนนางได้ขอให้พระองค์ยอมรับพระราชบัญญัติว่าด้วย
สิทธิ ค.ศ.1688 ซึ่งมีข้อบัญญัติเกี่ยวกับ
- การคำ้าประกันสิทธิเสรีภาพของปวงชน
- การห้ามมิให้กษัตริย์ยับยั้งหน่วงเหนี่ยวกฎหมายใดๆ
- การห้ามเรียกเก็บภาษี โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
- การห้ามมีกองทัพไว้ในประเทศ โดยมิได้รับอนุญาตจากรัฐสภา
- เงินประจำาตำาแหน่งที่กษัตริย์อังกฤษได้รับ จะต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของรัฐสภา
(9) วิวัฒนาการทางการปกครองของอังกฤษมีความพยายามที่จะริดรอนอำา นาจสิทธิ์ขาดของกษัตริย์ ในการ
ปกครองประเทศลงทีละน้อย ขณะเดียวกันสภาสามัญของอังกฤษก็พยายามเพิ่มพูนอำา นาจและอิทธิพลให้กับตนมากขึ้น
เพราะถือว่าเป็นสภาที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน จนในที่สุด สิทธิในการออกกฎหมายก็ตกอยู่ในมือของสภาสามัญ
เช่น การประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยรัฐสภา ค.ศ.1911

เรื่องที่ 5.1.3 : ความเป็นมาขององค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตยของไทย


1. ความเป็นมาเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 5
(1) ทรงตั้ง สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) ทำา หน้าที่ถวายคำา ปรึกษาเกี่ย วกับ การบริหาร
ราชการแผ่นดินและดำาเนินการปรับปรุงระบบการบริหารด้วย และทรงตั้งสภาองคมนตรี (Privy Council) ทำาหน้าที่เป็นที่
ปรึกษาส่วนพระองค์และช่วยราชการอื่นตามที่จะทรงมอบหมาย แต่การดำา เนินงานทั้งสองสภาไม่เป็นไปตามพระราช
ประสงค์นัก เนื่องจากบรรดาสมาชิกสภาไม่มีความรู้ในการปฏิบัติงานร่วมกัน ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นบ้าง เกรงกลัว
เกรงใจเสนาบดีบ้าง
(2) ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ รศ.116 เพื่อริเริ่มให้ประชาชน (ให้สิทธิแก่สตรีด้วย) ได้เรียน
รูว้ ิธีการเลือกตั้ง โดยให้ประชาชนเลือกตั้งคนในหมู่บ้านเดียวกันเป็นผู้ใหญ่บ้าน และให้ผู้ใหญ่บ้านเลือกกันเองเป็นกำานัน
(3) ทรงเลิกทาส ซึ่งนอกจากจะเป็นพระราชกรณียกิจที่สำาคัญของพระองค์ ยังเป็นรากฐานในเรื่องสิทธิเสรีภาพ
ของประชาชนชาวไทย ในการก้าวเข้าสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย
37
(4) ทรงตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลท่าฉลอม พ.ศ.2448 เพื่อริเริ่มให้มีการปกครองท้องถิ่น
2. ความเป็นมาเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 6
(1) ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ต่อกับต้นรัชกาลที่ 6 มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในต่างประเทศเกิดขึ้นหลาย
ประเทศ เช่น ประเทศตุรกีเมื่อปี 2451 ประเทศจีนเมื่อปี 2454 และประเทศรัสเซียเมื่อปี 2460
(2) เมื่อปี พ.ศ.2454 มีคณะบุคคลวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ เป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ถูกจับ
ได้เสียก่อนและถูกศาลทหารพิจารณาตัดสินคดีลงโทษ ต่อมาพระองค์ได้ทรงลดโทษให้ เนื่องจากทรงเห็นว่า คณะบุคคล
เหล่านี้มีเจตนาดีต่อบ้านเมือง และเป็นเจตนาเดียวกับพระองค์ที่ทรงเห็นชอบกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอยู่
แล้ว
(3) ทรงตั้งดุสิตธานี ในปี พ.ศ.2461 ในบริเวณพระราชวังดุสิต ให้เป็นเมืองจำา ลองการปกครองในรูปแบบ
ประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ มีเลือกตั้งผู้แทนราษฎร มีการจัดตั้งรัฐบาล มีการประชุมสภา และมีหนังสือพิมพ์เผยแพร่ โดย
เล็งเป้าหมายการทดลองไปที่หมู่บุคคลชั้นสูงในสมัยนั้น แต่การณ์มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์ เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ยัง
ไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย
3. ความเป็นมาเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 7
(1) ความคิดเห็นในเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตยในรัชสมัยนี้แพร่ไปทั่ว และเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นทุก
ระยะ เนื่องจากนโยบายพัฒนาประเทศในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ส่งคนหนุ่มไปศึกษาต่างประเทศ เมื่อคนหนุ่มเหล่านี้สำาเร็จ
การศึกษากลับมา ก็นำาเอาแนวความคิดดังกล่าวกลับมาด้วย
(2) ทรงให้นายเรมอนด์ บี สตีเวนส์ และพระยาศรีวิสารวาจา ร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเตรียมจะพระราชทานแก่ปวง
ชนชาวไทย ในโอกาสวันฉลองพระนครครบรอบ 150 ปี ในวันที่ 6 เมษายน 2475 แต่มีผคู้ ัดค้านไว้
(3) เช้ามืดของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 “คณะราษฎร์” ได้เข้ายึดอำานาจการปกครองแผ่นดิน เพื่อเปลี่ยนแปลงการ
ปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ทรงพระราชทาน
“พระราบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475”
(4) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ทรงพระราชทาน “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475” ซึ่งเป็น
รัฐธรรมนูญฉบับถาวรแก่ปวงชนชาวไทย และนี่คือมีมาของ “วันรัฐธรรมนูญ”

ตอนที่ 5.2 : ลักษณะของรัฐสภา


เรื่องที่ 5.2.1 : รูปแบบของรัฐสภา
1. รูปแบบรัฐสภา สามารถจำาแนกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
(1) รัฐสภาในรูปแบบสภาเดี่ยว (Unicameral) หรือระบบสภาเดียว
- ประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยวและมีขนาดเล็กมักใช้ระบบสภาเดียว
- เป็นระบบที่มีความสลับซับซ้อนน้อย กำาดำาเนินการทางนิติบัญญัติทำาได้รวดเร็ว
- กลุ่มประเทศนี้ ได้แก่ ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย (ยกเว้นนอรเวย์) อัลบาเนีย บุลกาเรีย
เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี โปแลนด์ โรมาเนีย
(2) รัฐสภาในรูปแบบสองสภา หรือสภาคู่ (Bicareral) หรือระบบสองสภา
- เกิดขึ้นในอังกฤษครั้งแรก ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13
- เกิดขึ้นได้ในประเทศที่เป็นสหพันธรัฐ (Federal States) เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
บราซิล สวิตเซอร์แลนด์
38
- เกิดขึ้นได้ในประเทศที่เป็นรัฐเดียว ซึ่งต้องการสะท้อนให้เห็นถึงความรอบคอบในงานรัฐสภา
และต้องการลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
2. ประเทศไทยเคยมีทั้งระบบสภาเดียวและระบบสองสภา แต่ไม่เคยมีระบบสภาเดียวที่สมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
เรื่องที่ 5.2.2 : องค์ประกอบของรัฐสภา
1. รัฐสภา ประกอบด้วย จำานวนสภาซึ่งหมายถึงมีสภาเดียวหรือสองสภา และมวลสมาชิกของสภา ซึ่งมีที่มาจาก
(1) มาจากการเลือกตั้งโดยตรง (4) มาจากการแต่งตั้ง
(2) มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม (5) มาจากผู้แทนกลุ่มชน
(3) มาจากการสืบตระกูล (สภาขุนนางในอังกฤษ)
2. วิธีการเลือกตั้งโดยอ้อม ทำาได้โดยให้ประชาชนเลือกบุคคลหรือคณะบุคคลให้ไปใช้สิทธิเลือกสมาชิกรัฐสภาแทนตน ซึ่ง
ประเทศไทยเคยใช้วิธีการนี้มาแล้ว คือ
- พระราชบัญญัติการเลือกตั้ง พ.ศ.2475 กำาหนดให้ราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงในตำาบลเลือกผู้แทนตำาบลๆ
ละ 1 คน และให้ผแู้ ทนตำาบลในจังหวัดเลือกตั้งผู้แทนราษฎรจังหวัดละ 1 คน
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489 กำาหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนเป็นผู้เลือกสมาชิกพฤฒสภา
เรื่องที่ 5.2.3 : องค์กรภายในของรัฐสภา
1. งานหลักของสภาชิกรัฐสภา นอกจากการปฏิบัติงานในสภาแล้ว ยังต้องดูแลทุกข์สุขและรับฟังความต้องการและความคิด
เห็นของประชาชนอีกด้วย ดังนั้น จึงต้องมีการแบ่งช่วงเวลาทำางานของสมาชิกรัฐสภาออกเป็น 2 ช่วง คือ (1) ส มั ย
ประชุมสภา (2) นอกสมัยประชุมสภา
2. ในสมัยประชุมสภานั้น จะมีระยะเวลาเท่าใดหรือในรอบปีหนึ่งๆ จะมีกี่สมัยประชุมนั้น สุดแล้วแต่จะกำา หนดตามความ
เหมาะสมของรัฐสภาของแต่ละประเทศ
- ถ้าในรอบปีหนึ่งๆ จะกำาหนดสมัยประชุมไว้เป็นการถาวร ก็เรียกว่า “สมัยสามัญ”
- ถ้าหากมีความจำาเป็นแล้ว รัฐสภาอาจเรียกประชุมสภาเป็นพิเศษ เรียกว่า “สมัยวิสามัญ”
3. วัตถุประสงค์ในการกำาหนดให้มสี มัยประชุมของรัฐสภา มี 2 ประการ คือ
(1) เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภามีเวลากลับไปหาประชาชนซึ่งตนเป็นผู้แทน
(2) เป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายบริหารได้มีเวลาปฏิบัติหน้าที่ในทางบริหารได้อย่างเต็มที่
4. การแบ่งงานกันทำาภายในรัฐสภา แบ่งเป็นดังนี้
(1) คณะกรรมาธิการ / คณะอนุกรรมาธิการ
- คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งไว้ประจำาเป็นการถาวรตลอดอายุของสภา
- คณะกรรมาธิการวิสามัญ ตั้งขึ้นด้วยเหตุผลและความจำาเป็นเพื่อดำาเนินการเฉพาะกิจ
- คณะกรรมาธิการร่วมกัน สำาหรับระบบสองสภา หากสภาหนึ่งไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายของ
อีกสภาหนึ่ง ก็จำาเป็นต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมจากสองสภาขึ้นมาร่วมพิจารณา
- คณะกรรมาธิการเต็มสภา ในกรณีที่สภารับหลักการในวาระแรกแล้ว และเป็นเรื่องเร่งด่วน
และเป็นร่างกฎหมายที่ไม่สลับซับซ้อน รัฐสภาอาจมีมติให้พิจารณารวดเดียว 3 วาระก็ได้
- คณะอนุกรรมาธิการ โดยคณะกรรมาธิการอาจแต่งตั้งขึ้นมาช่วยปฏิบัติงานในรายละเอียดก็ได้
(2) ตำาแหน่งสำาคัญๆ ในรัฐสภา ประกอบด้วย
39
- ประธานรัฐสภา - ผู้นำาฝ่ายค้านในรัฐสภา
- รองประธานรัฐสภา - ผู้ควบคุมการลงคะแนนเสียงในสภา
(3) สำานักงานเลขาธิการรัฐสภา เป็นหน่วยงานประจำาทำาหน้าที่ให้บริการในด้านต่างๆ ทั้งข่าวสารข้อมูล วัสดุอุปกรณ์
และงานธุรการ โดยมีเลขาธิการรัฐสภาเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
5. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันสมาชิกรัฐสภานั้น กฎหมายได้ให้ไว้ 2 ประการ ดังนี้
(1) สมาชิกรัฐสภาผู้ใดจะกล่าวคำาใดๆ ในที่ประชุมในทางแสดงข้อความ หรือแสดงความเห็น หรือออกเสียงลง
คะแนนอย่างใดถือเป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภาผู้นั้น ผูใ้ ดจะนำาไปเป็นเหตุฟ้องร้องมิได้
(2) มีความคุ้มกันในทางอาญา โดยในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับกุมหรือเรียกตัวสมาชิกรัฐสภาไปกักขัง
หรือดำาเนินคดี
6. ความเป็นอิสระของหน่วยงานประจำารัฐสภา เพื่อให้ปลอดจากการถูกครอบงำาจากฝ่ายบริหาร ซึ่งมี 2 ประการ
(1) ความเป็นอิสระในด้านการบริหารงานบุคคล
(2) ความเป็นอิสระในด้านงบประมาณและการคลัง
7. สำาหรับประเทศไทยในด้านเกี่ยวกับสำานักเลขาธิการรัฐสภา ดังนี้
- ตำาแหน่งเลขาธิการรัฐสภา เป็นตำาแหน่งที่ทรงโปรดเกล้าฯ โดยมีประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามสนอง
พระบรมราชโองการ
- ในด้านการบริหารงานบุคคลนั้น ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
2518 แยกจากข้าราชการพลเรือน โดยให้อยู่ภายใต้คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.)
- ในด้านงบประมาณและการคลังนั้น ยังคงอยู่ในความควบคุมของฝ่ายบริหาร โดยต้องดำาเนินการตาม
พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ

ตอนที่ 5.3 : อำานาจหน้าที่ของรัฐสภา


เรื่องที่ 5.3.1 : อำานาจหน้าที่ในการจัดทำากฎหมาย
1. อำานาจหน้าที่ของรัฐสภา พอแบ่งออกได้เป็น 4 ด้าน คือ
(1) อำานาจหน้าที่ในการจัดทำากฎหมาย (3) อำานาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบ
(2) อำานาจหน้าที่ในการควบคุมฝ่ายบริหาร (4) อำานาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำาหนด
2. กฎหมายที่เป็นอำา นาจหน้าที่ของรัฐสภาที่จะจัดทำา ขึ้นคือ พระราชบัญญัติ ซึ่งกระบวนการตราพระราชบัญญัติมีขั้นตอน
ดำาเนินการดังนี้
(1) การเสนอร่าง พ.ร.บ. ซึง่ สามารถเสนอได้ 2 ทาง คือ
- คณะรัฐมนตรี - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ครม.มีสิทธิขอพิจารณาร่างก่อน 60 วัน)
(2) การพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎร
(3) การพิจารณาโดยวุฒิสภา
3. กรณีทเี่ ป็น พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงิน มีหลักปฏิบัติดังนี้
- ส.ส. จะเสนอ พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงินได้ ต้องเป็นคำาร้องขอของนายกรัฐมนตรี
- กรณีสงสัยว่าเป็น พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงินหรือไม่ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้วินิจฉัย
4. การพิจารณาร่าง พ.ร.บ. โดยสภาผู้แทนราษฎร มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
40
(1) การพิจารณาในวาระที่ 1 เพื่อรับหลักการ ถ้าสภาไม่รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ. นั้นก็เป็นอันตกไป แต่ถ้ารับหลัก
การก็ดำาเนินการต่อไปในวาระที่ 2
(2) การพิจารณาในวาระที่ 2 เพื่อพิจารณาแก้ไขรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. โดยแต่งตั้งคณะกรรมาธิการดำาเนินการ
หรืออาจใช้คณะกรรมาธิการเต็มสภาก็ได้
(3) การพิจารณาในวาระที่ 3 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยไม่มีการอภิปราย ถ้าไม่เห็นชอบ ร่าง พ .ร.บ.นั้น
ก็ตกไป แต่ถ้าเห็นชอบ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอต่อวุฒิสภาต่อไป
5. การพิจารณาร่าง พ.ร.บ. โดยวุฒสิ ภา มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
(1) การพิจารณาในวาระที่ 1 เพื่อรับหลักการ ถ้าวุฒิสภาไม่รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ. นั้นก็เป็นอันตกไป แต่ถ้ารับ
หลักการก็ดำาเนินการต่อไปในวาระที่ 2
(2) การพิจารณาในวาระที่ 2 เพื่อพิจารณาแก้ไขรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. โดยแต่งตั้งคณะกรรมาธิการดำาเนินการ
หรืออาจใช้คณะกรรมาธิการเต็มสภาก็ได้
(3) การพิจารณาในวาระที่ 3 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบนั้น มีประเด็นที่แตกต่าง ดังนี้
- กรณีที่วุฒสิ ภาเห็นชอบกับสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีการแก้ไข ให้ถือว่าร่าง พ.ร.บ.นั้นได้รับ
ความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำาขึ้นทูลเกล้าฯ /ประกาศราชกิจจา /ใช้บังคับ
- กรณีที่วุฒสิ ภาไม่เห็นชอบกับสภาผู้แทนราษฎร ก็ให้ยับยั้งไว้ก่อนและให้ส่งร่าง พ.ร.บ.นั้นคืน
สภาผู้แทนราษฎรไป สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ต้องล่วงพ้น 180 วันไปแล้ว
และถ้ายังมีมติยืนร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดของสภา
ผู้แทนราษฎรแล้ว ถือว่าร่าง พ.ร.บ.นั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรี
นำาขึ้นทูลเกล้าฯ / ประกาศราชกิจจา / ใช้บังคับ
- กรณีที่วุฒสิ ภาแก้ไขเพิ่มเติม ให้ส่งร่าง พ.ร.บ.ที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ให้ทั้งสองสภาตั้ง “คณะกรรมาธิการร่วมกัน” ประกอบด้วยสมาชิกจากแต่ละ
สภาในจำานวนเท่ากัน เพื่อพิจารณารายละเอียดร่วมกัน แล้วรายงานและเสนอร่าง พ.ร.บ.ที่
ผ่านการพิจารณาร่วมแล้วต่อสภาทั้งสอง
* ถ้าสภาทั้งสองเห็นชอบด้วย ก็แสดงว่าร่าง พ.ร.บ.นี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว
ให้นายกรัฐมนตรีนำาขึ้นทูลเกล้าฯ / ประกาศราชกิจจา / ใช้บังคับ
* ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบ ก็ให้ยับยั้งไว้ก่อน สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณา
ใหม่ต้องล่วงพ้น 180 วันไปแล้ว และถ้ายังมีมติยืนร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่ง
หนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ถือว่าร่าง พ.ร.บ.ที่ผา่ นการ
พิจารณาร่วมนั้น ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำาขึ้นทูลเกล้าฯ /
ประกาศราชกิจจา / ใช้บังคับ
6. กรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่าง พ .ร.บ.และพระราชทานคืน หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืน
มา มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
- รัฐสภาจะต้องปรึกษาเรื่องร่าง พ.ร.บ. กันใหม่
- ถ้ารัฐสภายังมีมติยืนด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำานวนสมาชิกทั้งหมดของทั้งสอง
สภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้ง
- ถ้าพระมหากษัตริย์ยังไม่ได้พระราชทานลงมา ภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำาร่าง พ.ร.บ.ประกาศ
41
ในราชกิจจานุเบกษา / ใช้บังคับ
7. อำานาจหน้าที่ในการอนุมัติพระราชกำาหนด มีรายละเอียดดังนี้
(1) พระราชกำาหนดเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราตามคำาแนะนำาของคณะรัฐมนตรี มี 2 ประเภท
- พระราชกำาหนดทั่วๆ ไป - พระราชกำาหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา
(2) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมาย แต่ต้องขออนุมัติต่อรัฐสภาเพื่อตราเป็น พ.ร.บ.
(3) เหตุผลและความจำาเป็นในการออกพระราชกำาหนดทั่วๆ ไป กรณีฉุกเฉินที่มีความจำาเป็นเร่งด่วน ซึ่งเกี่ยวกับ
ความปลอดภัยของประเทศหรือสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และภัยพิบัติสาธารณะ โดยไม่สามารถ
เรียกประชุมรัฐสภาได้ทันท่วงที หรือเกิดขึ้นในระหว่างยุบสภา ทั้งนี้ ให้นำาเสนอรัฐสภาในการประชุมคราวต่อไป
(4) เหตุผลและความจำา เป็นในการออกพระราชกำา หนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา เป็นเรื่องที่ต้องมีการ
พิจารณาลับและเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน แม้ว่าจะอยู่ในระหว่างสมัยประชุมก็ตาม ทั้งนี้ ให้นำาเสนอรัฐสภาภายใน
3 วัน นับจากวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เรื่องที่ 5.3.2 : อำานาจหน้าที่ในการควบคุมฝ่ายบริหาร
1. การควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล ทำาได้ 2 แบบ คือ
(1) การตั้งกระทู้ถาม (2) การเสนอญัตติเปิดอภิปรายทั่วไป
2. การตั้งกระทู้ถาม คือ ข้อความที่ตั้งคำาถามในสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา ที่สมาชิกคนใดคนหนึ่งตั้งถามรัฐมนตรี ในข้อ
เท็จจริงหรือนโยบายเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของรัฐมนตรี ซึง่ กระทู้ถามนั้น มี 2 ประเภท คือ
(1) กระทู้ถามที่ให้ตอบในที่ประชุมสภา (2) กระทู้ถามที่ให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา
นอกจากนี้ กระทู้ถามยังมี 2 ลักษณะ คือ (1) กระทู้ถามธรรมดา (2) กระทู้ถามด่วน
3. ข้อจำากัดหรือเงื่อนไขในการตั้งกระทู้ถาม มี 3 ประการ คือ
(1) คำาถาม ข้อเท็จจริงที่อ้าง ตลอดจนคำาชี้แจงประกอบ ต้องไม่ฟุ่มเฟือย วกวน ซำ้าซาก หรือมีลักษณะเป็นทำานอง
อภิปราย
(2) กรณีกระทู้ถามในเรื่องที่ได้ตอบหรือชี้แจงไปแล้ว จะตั้งกระทู้ถามใหม่ได้ ถ้าสาระสำาคัญต่างกัน
(3) ในการประชุมแต่ละครั้ง สมาชิกสภา 1 คน ตั้งกระทู้ถามได้เพียง 1 กระทู้เท่านั้น
4. หลักเกณฑ์การบรรจุระเบียบวาระเกี่ยวกับกระทู้ถาม
- ถ้าเป็นกระทู้ถามธรรมดา ให้บรรจุระเบียบวาระประชุมภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ประธานสภาจัดส่ง
กระทู้ไปยังรัฐมนตรีแล้ว
- ถ้าเป็นกระทู้ถามด่วน ตอนส่งกระทู้ไปยังรัฐมนตรี ต้องระบุไปด้วยว่าได้บรรจุลงในระเบียบวาระการ
ประชุมคราวใด
- การบรรจุกระทู้ลงในระเบียบวาระการประชุม ต้องเรียงลำาดับก่อนหลัง เว้นแต่รัฐมนตรีจะขอเลื่อน
- การประชุมแต่ละครั้ง จะบรรจุกระทู้ถามได้ไม่เกิน 5 กระทู้ เว้นแต่กรณีจำาเป็นเร่งด่วน
5. วิธีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป ไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ
(1) ส.ส. จำานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำานวน ส.ส.ทั้งหมด เข้าชื่อกันเสนอญัตติ
(2) ประธานรัฐสภาแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรี และบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน
(3) ประชุมเพื่ออภิปรายทั่วไป / รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายชี้แจงข้อเท็จจริง
(4) การลงมตินั้นจะกระทำาในวันเดียวกับที่มีการอภิปรายไม่ได้
42
(5) คะแนนเสียงในการลงมติไม่ไว้วางใจ ต้องมากกว่ากึ่งหนึ่งถึงจะมีผลให้รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
พ้นจากตำาแหน่ง
เรื่องที่ 5.3.3 : อำานาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบ และอำานาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำาหนด
1. อำานาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบ และอำานาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำาหนด ได้แก่
(1) การให้ความเห็นชอบที่เกี่ยวกับสถาบันประมุขของประเทศ เช่น
- การให้ความเห็นชอบในการตั้งผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์
- การใช้ความเห็นชอบในการสืบสันตติวงศ์
(2) การให้ความเห็นชอบต่อสนธิสัญญาที่ทำากับประเทศอื่น
(3) การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม
(4) การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะกรมการชุดต่างๆ ตามที่กฎหมายกำาหนด
ตอนที่ 5.4 : การเลือกตั้ง
เรื่องที่ 5.4.1 : แนวความคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
1. การเลือกตั้ง เป็นองค์ประกอบที่สำาคัญที่สุดของระบบการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะ
(1) เป็นการตัดสินใจของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำานาจอธิปไตย
(2) เป็นการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ทั่วไปของประชาชนส่วนใหญ่ต้องการอะไร
2. ทฤษฎีเกี่ยวกับแนวความคิดในการเลือกตั้ง แบ่งออกเป็น 2 แนวความคิด คือ
(1) การเลือกตั้งเป็นเรื่องของสิทธิ กล่าวคือ ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำานาจอธิปไตยมีสิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิ
ดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่มีผู้ใดเพิกถอนสิทธินี้ได้ ดังนั้น การไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือไม่ จึงเป็นเรื่องของ
แต่ละบุคคล
(2) การเลือกตั้งตั้งเป็นเรื่องของหน้าที่ กล่าวคือ อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนโดยส่วนรวม ซึ่งหมายถึงชาติ
ฉะนั้น ผูท้ ี่มีส่วนร่วมในการใช้อำานาจอธิปไตยจึงต้องมีหน้าที่
3. ประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่กำาหนดเกณฑ์อายุผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 18 ปีบริบูรณ์แล้ว ประเทศไทยเคยกำาหนดไว้ที่
20 ปีบริบูรณ์ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น 18 ปีบริบูรณ์
4. ประเทศทั่วๆ ไปนิยมกำาหนดเขตเลือกตั้งเป็นเขตพื้นที่ย่อยๆ เพื่อความสะดวกในการเลือกตั้ง สำาหรับข้อควรคำานึงถึงในการ
กำาหนดเขตเลือกตั้งนั้นมี 3 ประการ ดังนี้
(1) คำานึงถึงผู้มสี ิทธิออกเสียง โดยแบ่งให้เท่าๆ กัน หรือใกล้เคียงกัน
(2) คำานึงถึงเขตพื้นที่ที่กำาหนดโดยธรรมชาติ หรือโดยทางภูมิศาสตร์
(3) ควรมีการทบทวนการแบ่งเขตเลือกตั้งอยู่เสมอ

5. การกำาหนดเขตเลือกตั้ง อาจทำาได้ 2 วิธี คือ


(1) แบบแบ่งเขต หมายถึง การแบ่งเขตพื้นที่ทางการปกครองออกเป็นเขตๆ แต่ละเขตจะมีผู้แทนได้ 1 คน โดยถือ
เกณฑ์ประชาชน 150,000 – 200,000 คน ต่อผู้แทนราษฎร 1 คน ประชาชนในแต่ละเขตมีสิทธิเลือกผู้แทนได้เพียงคนเดียว
(One Man One Vote)
43
(2) แบบรวมเขต หมายถึง การถือเอาเขตพื้นที่ทางการปกครองเป็นเขตเลือกตั้งเขตหนึ่ง ประชาชนในเขตเลือกตั้ง
นั้นมีสิทธิเลือกผู้แทนของตนตามจำานวนผู้แทนที่จะมีได้ในเขตนั้น (One Man Several Vote)
6. สถานภาพของผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรนั้น ในปัจจุบันทุกประเทศถือว่า ผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนของปวง
ชนทั้งประเทศ
เรื่องที่ 5.4.2 : วิธีและระบบการเลือกตั้ง
1. วิธีการเลือกตั้ง แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
(1) การเลือกตั้งโดยตรง (Direct Election) เป็นวิธีการเลือกตั้งที่ให้ประชาชนได้ออกเสียงลงคะแนนผู้สมัครรับ
เลือกตั้งโดยตรง
(2) การเลือกตั้งโดยอ้อม (Indirect Election) เป็นการเลือกตั้งโดยประชาชนผู้ออกเสียงลงคะแนนเสียงเพื่อ
เลือกคณะบุคคลขึ้นคณะหนึ่ง แล้วบุคคลคณะนี้จะไปเลือกตั้งผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง
2. ระบบการเลือกตั้ง แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
(1) การเลือกตั้งแบบคะแนนเสียงข้างมาก (Majority Electoral System) โดยถือว่าผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด
เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งระบบนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนเสียงข้างมากรอบเดียว โดยถือว่าผู้ได้คะแนนเสียงสูงสุดเป็น
ผู้ชนะการเลือกตั้ง ระบบนี้ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษ และประเทศในเครือจักรภพ
- การเลือกตั้งแบบคะแนนเสียงข้างมากสองรอบ โดยถือว่าผลการเลือกตั้งรอบแรก ถ้าผู้ใดได้
คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงทั้งหมด ผูน้ ั้นจะได้รับเลือกตั้งเลย แต่หากคะแนน
เสียงรอบแรกไม่มีผู้ได้เกินกึ่งหนึ่ง ก็ต้องมีการลงคะแนนเสียงรอบที่สอง ผูใ้ ดได้คะแนนเสียง
สูงสุด ผู้นั้นชนะการเลือกตั้ง ระบบนี้ใช้อยู่ในฝรั่งเศส
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบมีตัวแทนตามสัดส่วนของคะแนนเสียง ปัจจุบันประเทศต่างๆ ในแถบยุโรปตะวันตก
ใช้ระบบการเลือกตั้งนี้ ซึ่งการคิดสัดส่วนของคะแนนเสียงระบบนี้มีสูตรและวิธีคิดที่แตกต่างกัน จึงยากที่จะรวบรวมมาเป็น
หลักเกณฑ์ได้
3. ระบบการเลือกตั้งในประเทศญี่ปุ่นนั้น แตกต่างไปจากระบบการเลือกตั้งทั้งสองระบบ กล่าวคือ
- ญี่ปุ่นกำาหนดเขตเลือกตั้งให้ผู้แทนราษฎรได้หลายคนในแต่ละเขตเลือกตั้ง
- การออกเสียงเลือกตั้งนั้นผู้ออกเสียงเลือกตั้งจะเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เพียงคนเดียว
- ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง
4. มีข้อสังเกตเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง คือ
- ระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนเสียงข้างมาก เอื้ออำานวยให้เกิดระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค
- ระบบการเลือกตั้งแบบมีตัวแทนตามสัดส่วนของคะแนนเสียง เอื้ออำานวยให้เกิดระบบพรรคการเมือง
แบบหลายพรรค
เรื่องที่ 5.4.3 : การเลือกตั้งในประเทศไทย
1. การเลือกตั้งในอดีตที่ผ่านมาของประเทศไทย
- มีทั้งการเลือกตั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม
- การกำาหนดเขตเลือกตั้งก็เคยใช้ทั้งวิธีแบบแบ่งเขต แบบรวมเขต และแบบผสม
- ระบบการเลือกตั้งเป็นแบบเสียงข้างมากรอบเดียว
44
2. ประเทศไทยมีการเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 13 ครั้ง (นับถึงเดือนเมษายน 2522) ดังนี้
- การเลือกตั้งครั้งแรก (ทั่วไป) 15 พฤศจิกายน 2476 ทางอ้อม / ถือเขตจังหวัด
- การเลือกตั้งครั้งที่ 2 (ทั่วไป) 7 พฤศจิกายน 2480 ทางตรง / แบ่งเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่ 3 (ทั่วไป) 12 พฤศจิกายน 2481 ทางตรง / แบ่งเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่ 4 (ทั่วไป) 6 มกราคม 2489 ทางตรง / แบ่งเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่ 5 (การเลือกตั้งเพิม่ ) 5 สิงหาคม 2489 ทางตรง / แบ่งเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่ 6 (ทั่วไป) 29 มกราคม 2491 ทางตรง / รวมเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่ 7 (การเลือกตั้งเพิม่ ) 5 มิถุนายน 2492 ทางตรง / รวมเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่ 8 (ทั่วไป) 26 กุมภาพันธ์ 2495 ทางตรง / รวมเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่ 9 (ทั่วไป) 26 กุมภาพันธ์ 2500 ทางตรง / รวมเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่ 10 (ทั่วไป) 15 ธันวาคม 2500 ทางตรง / รวมเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่ 11 (ทั่วไป) 10 กุมภาพันธ์ 2512 ทางตรง / รวมเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่ 12 (ทั่วไป) 26 มกราคม 2418 ทางตรง / แบบผสม
- การเลือกตั้งครั้งที่ 13 (ทั่วไป) 22 เมษายน 2522 ทางตรง / แบบผสม
3. ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งในประเทศไทยทั้ง 13 ครั้ง ดังนี้
(1) วิธีการเลือกตั้งเกือบทั้งหมดเป็นวิธีการเลือกตั้งโดยทางตรง ยกเว้นครั้งแรกโดยทางอ้อม
(2) เป็นการเลือกตั้งทั่วไป 11 ครั้ง และการเลือกตั้งเพิม่ 2 ครั้ง
(3) การกำาหนดเขตเลือกตั้ง
- แบบแบ่งเขต ได้แก่ ครั้งที่ 2, 3, 4, 5
- แบบรวมเขต ได้แก่ ครั้งที่ 1, 6, 7, 8, 9, 10, 11
- แบบผสม ได้แก่ ครั้งที่ 12, 13
4. ปัญหาและอุปสรรคในการเลือกตั้งในประเทศไทย สรุปได้ 3 ประการ คือ
(1) ความเข้าใจของประชาชนในสิทธิและหน้าที่ทางการเมือง
(2) ความเข้าใจของประชาชนที่มีอยู่ต่อความสำาคัญขององค์กรนิติบัญญัติไม่เพียงพอ
(3) บทบาทและภาพพจน์ขององค์กรนิติบัญญัติต่อศรัทธาของประชาชน
ตอนที่ 5.5 : พรรคการเมือง
เรื่องที่ 5.5.1 : แนวความคิดเกี่ยวกับพรรคการเมือง
1. พรรคการเมือง คือ กลุ่มบุคคลซึ่งมีความคิดเห็นและผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน และต้องการนำา
ความคิดเห็นทางการเมืองและเศรษฐกิจนั้นไปเป็นหลักในการบริหารประเทศ ด้วยการส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้ง โดย
มุ่งหวังทีจ่ ะจัดตั้งรัฐบาล จัดการบริหารประเทศตามแนวนโยบายที่ได้ประกาศไว้กับประชาชนและสมาชิกพรรค
2. บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้
(1) การปลูกฝังความรู้และสำานึกทางการเมืองแก่ประชาชน
(2) การคัดเลือกตัวบุคคลที่เหมาะสมเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง
(3) การประสานประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์ และกลุ่มอิทธิพลต่างๆ
45
(4) การนำานโยบายที่ได้แถลงไว้กับปวงชนเข้าไปใช้ในการบริหารประเทศ
3. ลักษณะของการกำาเนิดพรรคการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
(1) การกำาเนิดของพรรคการเมืองในรัฐสภา เกิดจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รวมตัวกันขึ้นเป็นกลุ่มภายใน
สภา โดยมุ่งหมายที่จะผนึกกำาลังในการต่อรองเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น และการดำาเนินนโยบายหรือ
ออกกฎหมายตามอุดมการณ์ของกลุ่ม
(2) การกำาเนิดพรรคการเมืองนอกรัฐสภา เกิดจากกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มอิทธิพลต่างๆ เช่น สมาคมอาชีพ
สหพันธ์กรรมกร องค์กรศาสนา เป็นต้น
4. Grass Root Support หมายถึง แรงสนับสนุนพรรคการเมืองจากประชาชน ซึ่งจะทำา ให้พรรคการเมืองมีฐานะมั่นคง
ถาวร สามารถดำาเนินการทางการเมืองให้สนองเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างแท้จริง
5. พรรคการเมืองไทยที่ผ่านมาในอดีต มักถูกมองว่าเป็น “พรรคของนักการเมือง” เนื่องจาก
(1) เป็นพรรคที่จัดตั้งโดยนักการเมือง โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนสนับสนุนอย่างจริงใจ
(2) การหาสมาชิกพรรคและการสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง เป็นเพียงการกระทำาให้ครบตามเกณฑ์
ที่กฎหมายกำาหนดเท่านั้น
(3) พรรคการเมืองและสมาชิกพรรคการเมืองมิได้มีความสัมพันธ์อันต่อเนื่องยาวนาน
เรื่องที่ 5.5.2 : ระบบพรรคการเมือง
1. ระบบพรรคการเมือง แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ
(1) ระบบพรรคเดียว (Single Party System) (3) ระบบหลายพรรค (Multi Party System)
(2) ระบบสองพรรค (Two Party System)
2. ระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว มี 2 ลักษณะ คือ
(1) ระบบพรรคการเมื อ งพรรคเดี ยว เป็ นระบบที่ ใ ช้ อ ยู่ ใ นประเทศที่ มี การปกครองแบบสั ง คมนิ ย ม แบบ
คอมมิวนิสต์ หรือแบบเผด็จการ
(2) ระบบพรรคการเมืองเด่นพรรคเดียว เป็นระบบที่เกิดอยู่ในประเทศอินเดีย ญี่ปุ่น
3. ระบบพรรคการเมืองสองพรรค หมายถึง ประเทศที่อาจมีพรรคการเมืองหลายพรรค แต่มีพรรคการเมืองที่สำา คัญและมี
อิทธิพลเพียงสองพรรคเท่านั้น ที่ผลัดเปลี่ยนกันจัดตั้งรัฐบาล ตัวอย่างประเทศในกลุ่มนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ
4. การที่ระบบพรรคการเมืองสองพรรค สามารถเอื้ออำานวยให้รัฐบาลมีโอกาสบริหารประเทศจนครบตามวาระ เป็นระบบที่
เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกพรรคการเมือง และเชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยมากกว่าระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว
5. ระบบพรรคการเมืองหลายพรรค หมายถึง ประเทศที่มีพรรคการเมืองจำานวนมากกว่า 3 พรรค โดยแต่ละพรรคการเมืองได้
รับความนิยมจากประชาชนจำา นวนใกล้เคียงกัน กลุ่มประเทศนี้ ได้แก่ เบลเยี่ยม เยอรมัน ออสเตรเลีย กลุ่มประเทศสแกน
ดิเนเวีย อิตาลี ฝรั่งเศส และไทย รัฐบาลในกลุ่มประเทศเหล่านี้
- มักเป็นรัฐบาลผสม และส่วนใหญ่ขาดเสถียรภาพทางการเมือง
- มักมีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีกันอยู่เสมอ
เรื่องที่ 5.5.3 : บทบาทของพรรคการเมืองในรัฐสภา
1. บทบาทของพรรคการเมืองในรัฐสภา จำาแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
(1) บทบาทของพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล
- เลือกสรรบุคคลที่เหมาะสมเข้าไปเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ
46
- ควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐมนตรี และบุคคลที่ดำารงตำาแหน่งอื่น
- คำาจุนเสถียรภาพของรัฐบาล
(2) บทบาทของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน
- ควบคุมรัฐบาลในการบริหารประเทศ
- มาตรการและวิธีการค้านของฝ่ายค้านในรัฐสภามีหลายรูปแบบ
- การค้านนั้นต้องดำาเนินการไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเท่านั้น
เรื่องที่ 5.5.4 : พรรคการเมืองในประเทศไทย
1. ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ประเทศไทยมีกฎหมายพรรคการเมืองหลายฉบับ เช่น
- พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2498 (ฉบับแรก) ยกเลิกเมื่อปี 2501 โดยคณะปฏิวัติ
- พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2511 ยกเลิกเมื่อปี 2514 โดยรัฐประหาร
- พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2517 ยกเลิกเมื่อปี 2519 โดยคณะปฏิรูปฯ
- พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2524 ยกเลิกเมื่อปี 2534 โดยคณะ ร.ส.ช.
2. กฎหมายพรรคการเมืองเหล่านี้ ได้ใช้อยู่ช่วงเวลาหนึ่งก็ต้องถูกยกเลิกไปโดยการปฏิวัติรัฐประหาร สลับกับการร่างใช้ใหม่
เมื่อมีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย
3. การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2522 ซึ่งยังมิได้มีการประกาศใช้กฎหมายพรรคการเมือง นักการเมืองในสมัยนั้น
ต้องต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งแทน
4. พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ .ศ.2524 มีเจตนารมณ์ที่จะให้มีพรรคการเมืองจำานวนน้อยพรรค จึงมีข้อบัญญัติไว้ว่า หาก
พรรคการเมืองพรรคใด สมาชิกผูส้ มัครรับเลือกตั้งได้รับการเลือกตั้งไม่ถึงจำานวนที่กำาหนดจะต้องยุบรวมกับพรรคอื่น

%%%%%%%%%%%%%

You might also like