You are on page 1of 10

1

นิติกรรม และการแสดงเจตนา

นิติเหตุ
1. นิติเหตุ คือ เหตุการณ์ใดๆ ที่ทำาให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิตามกฎหมาย
2. นิติเหตุ แบ่งได้ 2 แบบ คือ
2.1 แบบที่แบ่งตามประเภท ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1.1 นิติเหตุที่เกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น
- การเกิด (ม.15) - การตาย (ม.1599)
- บรรลุนิติภาวะ (ม.19) - ที่งอกริมตลิ่ง (ม.1308)
2.1.2 นิติเหตุที่เกิดจากการกระทำาของบุคคล ซึ่งยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
(1) การกระทำาที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งยังแบ่งย่อยออกไปอีกเป็น 2 ประเภท คือ
(1.1) การกระทำาของบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมาย ตัวอย่างเช่น
- นิติกรรม (ม.149)
(1.2) การกระทำา ของบุคคลที่เกิดขึ้นเองโดยอำา นาจกฎหมาย ตัวอย่าง
เช่น
- การจัดการงานนอกสั่ง (ม.395) - ล า ภ มิ ค ว ร ไ ด้
(ม.406)
(2) การกระทำาที่มิชอบด้วยกฎหมาย ตัวอย่างเช่น
- การกระทำาละเมิด (ม.420)
2.2 แบบที่แบ่งตามความหมาย ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.2.1 นิติเหตุในกฎหมายอย่างกว้าง
(1) นิติเหตุที่เกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาติ
(2) นิติเหตุที่เกิดจากการกระทำาของบุคคล
(2.1) การกระทำาที่ชอบด้วยกฎหมาย
- การกระทำาของบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมาย
- การกระทำาของบุคคลที่เกิดผลขึ้นเองโดยอำานาจกฎหมาย
(2.2) การกระทำาที่มิชอบด้วยกฎหมาย
2.2.2 นิติเหตุในกฎหมายอย่างแคบ คือ หมายเฉพาะเหตุที่เกิดขึ้นมีผลในกฎหมายโดยอำานาจ
ของกฎหมายโดยแท้จริง ได้แก่
(1) การกระทำาของบุคคลที่เกิดผลขึ้นเองโดยอำานาจกฎหมาย
(2) การกระทำาที่มิชอบด้วยกฎหมาย
3. รายละเอียดข้างต้น ทำาให้ทราบว่า
2

(1) นิติเหตุ ได้แก่ การเกิด การบรรลุนิติภาวะ การตาย ที่งอกริมตลิ่ง การจัดการงานนอกสั่ง ลาภมิ


ควรได้ การกระทำาละเมิด และนิติกรรม
(2) นิติกรรม เป็นนิติเหตุอย่างหนึ่ง แต่นิติเหตุไม่จำาเป็นต้องเป็นนิติกรรมเสมอไป
นิติกรรม
1. มาตรา 149 บัญญัติว่า “ นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำาลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร
มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลขึ้น เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ”
2. ตาม ม.149 นี้ สามารถบอกลักษณะทั่วไป (ไม่ใช่องค์ประกอบ) ของนิติกรรมได้ 5 ประการ คือ
(1) การกระทำาของบุคคล
(2) การกระทำาโดยชอบด้วยกฎหมาย 3 กระทำา 2 ต้องการ
(3) การกระทำาด้วยใจสมัคร
(4) ต้องการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
(5) ต้องการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
3. นิติกรรม จะเกิดได้ต้องเป็นการกระทำาของบุคคล ซึ่งสามารถที่จะ “แสดงเจตนา” หรือความประสงค์ให้แก่
กันและกัน และเข้าใจระหว่างกัน การแสดงเจตนาทำานิติกรรมนั้นทำาได้ 3 วิธี กล่าวคือ
(1) การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง เป็นได้ทั้งด้วยวาจา หรือทำาเป็นลายลักษณ์อักษร
(2) การแสดงเจตนาโดยปริยาย เป็นการแสดงเจตนาที่แม้จะไม่แจ้งชัด แต่โดยพฤติการณ์แล้วต่าง
ฝ่าย
ต่างเข้าใจ และตกลงกัน
(3) การแสดงเจตนาโดยการนิ่ง ซึ่งโดยหลักทั่วไปแล้วการนิ่งไม่ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาทำา
นิติกรรม
แต่มีข้อยกเว้น คือ กรณีซื้อขายเผื่อชอบ (ม.505)
4. คำาว่า “สิทธิ” ตาม ม.149 นี้ หมายความถึง บุคคลสิทธิและทรัพยสิทธิ กล่าวคือ
(1) บุคคลสิทธิ คือ สิทธิเหนือบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณี เพื่อให้กระทำาการ งดเว้นกระทำาการอันใดอัน
หนึ่ง
(2) ทรัพยสิทธิ คือ สิทธิที่สามารถใช้ยันกับบุคคลทั่วไป ให้เคารพซึ่งสิทธินั้น เช่น กรรมสิทธิ์
ฯลฯ
5. นิติกรรมนั้นก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ ทั้งบุคคลสิทธิและทรัพยสิทธิ ซึ่งกฎหมายได้กำาหนดไว้ 5
ประการ คือ
(1) การก่อสิทธิ เช่น สิทธิจำานำา สิทธิจำานอง ภารจำายอม
(2) การเปลี่ยนแปลงสิทธิ เช่น การแปลงหนีใ้ หม่ (ม.349)
(3) การโอนสิทธิ เช่น การโอนสิทธิเรียกร้อง (ม.303)
(4) การสงวนสิทธิ เช่น ลูกหนี้ทำาหนังสือรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ (ม.193/14)
(5) การระงับสิทธิ เช่น การบอกล้างโมฆียกรรม (ม.175, ,ม.176) การบอกเลิกสัญญา (ม.386)
3

6. นิติกรรมที่ทำาไม่ถูกต้องตาม “แบบ” ที่กฎหมายบังคับ ถือเป็นโมฆะ (ม.152)


7. แบบนิติกรรม แบ่งออกเป็น 5 แบบ ได้แก่
(1) ต้องทำาเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น สัญญาซื้อขาย (ม.456 ว.1)
(2) ต้ องจดทะเบียนต่อ พนั ก งานเจ้า หน้าที่ เช่น จดทะเบี ยนสมรส (ม.1457) จดทะเบียนหย่ า
(ม.1515)
(3) ต้องทำาเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง (ม.1658)
(4) ทำาเป็นหนังสือระหว่างกันเอง เช่น หนังสือรับสภาพหนี้ (ม.193/14)
(5) แบบอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำาหนด เช่น ตั๋วแลกเงิน (ม.910)
8. ประเภทของนิติกรรม แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
(1) นิติกรรมฝ่ายเดียว และนิติกรรมหลายฝ่าย
- นิติกรรมฝ่ายเดียว เช่น การทำาพินัยกรรม (ม.1646) คำามั่นจะให้รางวัล (ม.362)
- นิติกรรมหลายฝ่าย เช่น สัญญา
(2) นิติกรรมมีผลเมื่อผู้ทำายังมีชีวิตอยู่ กับนิติกรรมมีผลเมื่อผู้กระทำาตายแล้ว
- นิติกรรมมีผลเมื่อผู้ทำายังมีชีวิตอยู่ เช่น นิติกรรมฝ่ายเดียว หรือนิติกรรมหลายฝ่าย ก็ได้
- นิติกรรมมีผลเมื่อผู้กระทำาตายแล้ว เช่น พินัยกรรม
(3) นิติกรรมมีค่าต่างตอบแทน กับนิติกรรมไม่มีค่าต่างตอบแทน
- นิ ติ ก รรมมี ค่ า ต่ า งตอบแทน เช่ น ซื้ อ ขาย (ม.453) เช่ า ทรั พ ย์ (ม.537) จ้ า งทำา ของ
(ม.587)
- นิติกรรมไม่มีค่าต่างตอบแทน เช่น ยืมใช้คงรูป (ม.640) ฝากทรัพย์ไม่มีบำาเหน็จ (ม.659)
(4) นิติกรรมมีเงื่อนไขเงื่อนเวลา กับนิติกรรมไม่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา
- นิติ กรรมมีเ งื่อนไขเงื่อ นเวลา เช่น นิติ กรรมที่ มี เ งื่อ นไข (ม.183) หรื อที่ มีเ งื่อ นเวลา
(ม.191)
- นิติกรรมไม่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา มีผลบังคับใช้ได้ทันทีที่นิติกรรมนั้นได้กระทำาลง
(5) นิติกรรมที่จะต้องทำาตามแบบจึงจะสมบูรณ์ กับนิติกรรมซึ่งสมบูรณ์โดยการแสดงเจตนา
- นิติกรรมที่จะต้องทำาตามแบบจึงจะสมบูรณ์ เช่น นิติกรรมที่เป็นไปตาม ม.152
- นิติกรรมซึ่งสมบูรณ์โดยการแสดงเจตนา เช่น นิติกรรมที่เป็นไปตาม ม.149
4

การแสดงเจตนา
1. หลักสำาคัญในการทำานิติกรรม คือ การแสดงเจตนาเพื่อจะให้เกิดผลผูกพันกันทางกฎหมาย หรือเข้าใจกัน
โดยทั่วไปว่า “หลักส่งเจตนา” ซึ่งสามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 ประเภท คือ
(1) การแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า (ม.168)
(2) การแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง (ม.169)
2. มาตรา 168 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “การแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า” ไว้ดังนี้
- การแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า ให้ถือว่ามีผลเมื่อผู้รับเจตนาได้ทราบและเข้าใจเจตนา
นัน้
- ความนี้ให้หมายรวมถึง การแสดงเจตนาโดยทางโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่น เช่น วิทยุ
สื่อสาร
- การแสดงเจตนาที่ส่งออกไปแล้ว ภายหลังผู้แสดงเจตนาตาย หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความ
สามารถ
หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ถือว่าการแสดงเจตนานั้นยังมีผลอยู่
- การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วให้อีกฝ่ายได้อ่านและเข้าใจกันได้ทันที ก็ใช้ได้เช่นกัน
- การแสดงเจตนาทางโทรเลขหรือโทรสาร ไม่ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า
3. มาตรา 169 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “การแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง” ไว้ดังนี้
- การแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง ให้ถือว่ามีผลเมื่อเจตนานั้นถูกส่ง “ไปถึง” ผู้รับ
เจตนา
- ถ้าจะถอนการแสดงเจตนา ผู้แสดงเจตนาจะต้องส่งคำา ถอนนั้นไปถึงผู้รับเจตนาก่อนหรือพร้อม
กับการ
แสดงเจตนาดังกล่าวไปถึง
- การแสดงเจตนาที่ส่งออกไปแล้ว ภายหลังผู้แสดงเจตนาตาย หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความ
สามารถ
5

หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ถือว่าการแสดงเจตนานั้นยังมีผลอยู่
- เจตนานั้นถูกส่งไปถึง หมายความว่า เพียงแค่บุรุษไปรษณีย์ไปส่งให้ที่ตู้จดหมายหน้าบ้าน หรือ
ให้คน
ในบ้านคนหนึ่งคนใดรับแทน ก็ใช้ได้แล้ว
4. กรณี “ผู้อนื่ ” แสดงเจตนาทำานิติกรรมต่อผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ จะ
มีผลทางกฎหมายหรือไม่ อย่างไร ?? ..............มาตรา 170 ได้วางหลักกฎหมายไว้ ดังนี้
- การแสดงเจตนาทำานิติกรรมกับผู้เยาว์ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องให้ผู้แทนโดยชอบ
ธรรม
หรือผู้พิทักษ์ยินยอมก่อน แล้วแต่กรณี มิฉะนัน้ การแสดงเจตนานั้นไม่เป็นผล
- การแสดงเจตนาทำานิติกรรมกับคนไร้ความสามารถ ต้องให้ผู้อนุบาลรับรู้ก่อน มิฉะนั้นการแสดง
เจตนานั้นไม่เป็นผล
- การแสดงเจตนาทำา นิติกรรมของผู้เยาว์ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุ รกิ จการค้า หรือ การจ้าง
แรงงาน
ตาม ม.27 หรือของคนเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งนอกเหนือจาก 11 กรณีที่ระบุอยู่ใน ม.34 ไม่
เข้า
มาตรานี้
5. กฎหมายได้วางหลักเกี่ยวกับการตีความแสดงเจตนาไว้ว่า ถ้าการแสดงเจตนามีข้อสงสัย ให้คำานึงถึงเจตนา
ที่แท้จริง มากกว่าถ้อยคำาสำานวนหรือตามตัวอักษร (ม.171)

หลักขัดขวางการแสดงเจตนา
1. นอกจากการแสดงเจตนาที่กฎหมายให้กระทำาได้ตาม “ หลักส่งเจตนา” แล้ว ยังมีการแสดงเจตนาที่กฎหมาย
ไม่ต้องการให้กระทำากันขึ้น เพราะจะไปกระทบต่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม หรือเข้าใน
โดยทั่วไปว่า “หลักการขัดขวางเจตนา”
2. หลักการขัดขวางเจตนา มีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4 มาตรา คือ
(1) การทำานิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ผิดกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบ
เรียบ
ร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (ม.150)
(2) นิติกรรมที่มีข้อตกลงแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย (ม.151)
(3) นิติกรรมที่ไม่ได้ทำาถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำาหนด (ม.152)
(4) นิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของบุคคล (ม.153)
3. มาตรา 150 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “นิติกรรมที่มุ่งประสงค์ต่อประโยชน์สุดท้าย” ไว้ ดังนี้
- นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามหรือผิดกฎหมายโดยชัดแจ้ง ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายรู้ถึงวัตถุประสงค์
ถือ
6

ว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ แต่ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายไม่รู้ นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์


- นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ถือว่านิติกรรมนั้นเป็น
โมฆะ
- นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ถือว่า
นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ
4. มาตรา 151 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “นิติกรรมมีข้อตกลงแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย” ไว้ดังนี้
- ถ้าเป็นเรื่องที่จัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นโมฆะ
- ถ้าเป็นเรื่องอื่นๆ ไม่เป็นโมฆะ
5. มาตรา 152 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมที่ไม่ได้ทำาถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำาหนด เป็นโมฆะ
6. มาตรา 153 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือน
ไร้ความสามารถ ถ้าไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่กำาหนดไว้ เป็นโมฆียะ กล่าวคือ
- ผูเ้ ยาว์จะทำานิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน (ม.21)
- คนไร้ความสามรถกระทำา การใดๆ (ขอคำา ยินยอมจากผู้อนุบาลก่อนไม่ได้) เป็นโมฆียะเสมอ
(ม.29)
- คนเสมือนไร้ความสามารถกระทำาการใดใน 11 กรณี ที่ระบุอยู่ใน ม.34 ต้องได้รับความยินยอม
จาก
ผูพ้ ิทักษ์ก่อน

การควบคุมการแสดงเจตนา
1. การควบคุมการแสดงเจตนา แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
(1) การแสดงเจตนาที่ไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริง แบ่งย่อยออกเป็น
- การแสดงเจตนาซ่อนเร้น (ม.154)
- การแสดงเจตนาลวง (ม.155 ว.1)
- นิติกรรมอำาพราง (ม.155 ว.2)
(2) การแสดงเจตนาวิปริต (เจตนาโดยไม่สมัครใจ) แบ่งย่อยออกเป็น
- การแสดงเจตนาโดยสำาคัญผิด (ม.156 – 158)
- การแสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉล (ม.159 – 163)
7

- การแสดงเจตนาโดยถูกข่มขู่ (ม.164 –166)


2. มาตรา 154 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “การแสดงเจตนาซ่อนเร้น” ไว้ดังนี้
- ผูแ้ สดงเจตนาได้แสดงเจตนาออกมา ซึ่งไม่ใช่เจตนาแท้จริงที่อยู่ในใจ
- ผูร้ ับเจตนา “ไม่รู้” เจตนาแท้จริงที่อยู่ในใจของผู้แสดงเจตนา คิดเองทำาเอง อีกฝ่ายไม่รู้
- ให้ถือว่า การแสดงเจตนาออกมานั้น มีผลบังคับทางกฎหมาย
- เจตนาซ่อนเร้น อาจเกิดจากผู้แสดงเจตนาไปทำานิติกรรมซ่อนเร้นด้วยตัวเอง / หรือผู้แสดงเจตนา
ใช้
ให้คนอื่นไปทำานิติกรรมซ่อนเร้นนั้นก็ได้ กรณีนี้แม้ว่าผู้ถูกใช้ไม่รู้มาก่อน ก็ต้องรับผิด
- เจตนาซ่อนเร้น เป็นการกระทำาของคนๆ เดียว
3. มาตรา 155 ว.1 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “การแสดงเจตนาลวง” ไว้ดังนี้
- บุคคล 2 ฝ่าย สมคบกันแกล้งทำานิติกรรม เพื่อจะหลอกลวงบุคคลภายนอก
- คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย ไม่มีเจตนาจะผูกนิติสัมพันธ์ต่อกันแต่อย่างใด คิดเองทำาเอง อีกฝ่ายรู้
- นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง เป็นโมฆะ
- หากนิติกรรมดังกล่าว ผู้รับเจตนาได้นำา ไปกระทำา ต่อบุคคลภายนอก ซึ่งบุคคลภายนอกกระทำา
โดย
สุจริตและต้องเสียหาย ถือว่านิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ (กฎหมายคุ้มครองบุคคลภายนอก)
4. มาตรา 155 ว.2 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “นิติกรรมอำาพราง” ไว้ดังนี้
- บุคคล 2 ฝ่าย สมคบกันแกล้งทำานิติกรรม 2 นิติกรรม เพื่อจะหลอกลวงบุคคลภายนอก
- คูก่ รณีทั้ง 2 ฝ่าย มีเจตนาที่ทำานิติกรรมหนึ่งขึ้นมา เพื่ออำาพรางหรือปิดบังอีกนิติกรรมหนึ่งที่ทั้งคู่
ต้องการจะผูกนิติสัมพันธ์กนั จริงๆ คิดอย่าง ทำาอย่าง
- นิติกรรมที่เป็นนิติกรรมอำาพราง เป็นโมฆะ
- นิติกรรมที่เป็นนิติกรรมถูกอำาพราง มีผลบังคับทางกฎหมาย
- นิติ กรรมอำา พรางดั งกล่าว ผู้รับเจตนาได้นำา ไปกระทำา ต่อ บุคคลภายนอก ซึ่งบุ ค คลภายนอก
กระทำาโดย
สุจริตและต้องเสียหาย ถือว่านิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ (กฎหมายคุ้มครองบุคคลภายนอก)

5. การแสดงเจตนาโดยสำาคัญผิด แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ


(1) การแสดงเจตนาสำาคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำาคัญแห่งนิติกรรม (ม.156)
(2) การแสดงเจตนาสำาคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์ (ม.157)
6. มาตรา 156 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “การสำาคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำาคัญแห่งนิติกรรม” ไว้ดังนี้
- เป็นแสดงเจตนาโดยสำาคัญผิดในสิ่งที่เป็น ผิดฝา ผิดคน ผิดคู่ ผิดทรัพย์
“สาระสำาคัญ” แห่งนิติกรรมนั้น
8

- สาระสำาคัญแห่งนิติกรรม ตามมาตรานี้ กำาหนดไว้ 3 ประการ คือ


* สำาคัญผิดในลักษณะแห่งนิติกรรม เช่น ตั้งใจจะทำาสัญญาคำ้าประกัน แต่กลับไปลงลายมือ
ชื่อในสัญญากู้ยืม
* สำาคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม เช่น ตั้งใจจะจ้างคนหนึ่ง แต่กลับไปทำา
สัญญาจ้างกับอีกคนหนึ่ง
* สำาคัญผิดในทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เช่น ต้องการซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง แต่กลับไป
ทำาสัญญาซื้อขายที่ดินอีกแปลงหนึ่ง
- ผลของการการแสดงเจตนาโดยสำาคัญผิดดังกล่าว เป็นโมฆะ
- ข้อสังเกตบางประการ
* ถ้าเป็นเพียงแต่สำาคัญผิดในมูลเหตุจูงใจ แต่ไม่ถึงขนาดจะเป็นวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม
ไม่ถือว่าเป็นการสำาคัญผิดในสาระสำาคัญแห่งนิติกรรม
* การสำาคัญผิดในตัวบุคคลผู้เป็นคู่สมรส ถือว่าเป็นโมฆียะ เท่านั้น การบอกล้าง ต้องร้องขอ
ต่อศาล
7. มาตรา 157 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “การสำาคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน” ไว้ดังนี้
- เป็นการแสดงเจตนาสำาคัญผิดในคุณสมบัติที่เป็น “สาระสำาคัญ”
- คุณสมบัติที่เป็นสาระสำาคัญในมาตรานี้ ได้แก่
* คุณสมบัติของบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม หรือ โง่เอง เซ่อเอง
* คุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม
- ผลของการการแสดงเจตนาโดยสำาคัญผิดดังกล่าว เป็นโมฆียะ
- ตัวอย่างเช่น ต้องการช่างไม้ แต่กลับกลายเป็นช่างปูน หรือต้องการกำาไลโบราณ แต่กลับกลาย
เป็น
ของใหม่ทำาเลียนแบบ
8. มาตรา 158 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “ความสำาคัญผิดซึ่งเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง”
ไว้ดังนี้
- เป็นความประมาทเลินเล่อจากการสำาคัญผิดใน ม.157 และ ม.158
- เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โง่เอง ซวยเอง
- ความสำาคัญผิดดังกล่าวเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้แสดงเจตนา
- ผูแ้ สดงเจตนาจะใช้อ้างเพื่อให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะไม่ได้
9. กลฉ้อฉล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1) กลฉ้อฉลถึงขนาด (ม.159)
- กลฉ้อฉลโดยถูกหลอกลวง (ม.159 ว.1) = = > ตัวละคร 2 คน
- กลฉ้อฉลโดยบุคคลภายนอก (ม.159 ว.2) = = > ตัวละคร 3 คน
(2) กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ (ม.161)
9

10. มาตรา 159 ว.1 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “กลฉ้อฉลโดยถูกหลอกลวง” ไว้ดังนี้


- ผูแ้ สดงเจตนาได้แสดงเจตนาออกมา เพราะถูกคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งหลอกลวงหรือใช้กลฉ้อฉล
- ต้องเป็นกลฉ้อฉลถึงขนาดให้แสดงเจตนาออกมา ถูกทำาให้ โง่ ถูกทำาให้เซ่อ
- นิติกรรมที่เกิดจากกลฉ้อฉลนี้ เป็นโมฆียะ
11. มาตรา 159 ว.2 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “กลฉ้อฉลโดยบุคคลภายนอก” ไว้ดังนี้
- ผูแ้ สดงเจตนาได้แสดงเจตนาออกมา เพราะถูกบุคคลภายนอกหลอกลวงหรือใช้กลฉ้อฉล
- คูก่ รณีอีกฝ่ายหนึ่งรู้เห็นเป็นใจกับบุคคลภายนอกด้วย
- ต้องเป็นกลฉ้อฉลถึงขนาดให้แสดงเจตนาออกมา ถูกทำาให้ โง่ ถูกทำาให้เซ่อ
- นิติกรรมที่เกิดจากกลฉ้อฉลนี้ เป็นโมฆียะ
12. มาตรา 160 ได้วางหลักกฎหมายไว้ว่า นิติกรรมที่เกิดจากกลฉ้อฉล ตาม ม.159 แม้ว่าจะบอกล้างโมฆียกรรม
ได้ก็ตาม แต่ถ้าปรากฏว่าเกิดมีนิติกรรมใหม่กับบุคคลภายนอกซึ่งกระทำาโดยสุจริต บุคคลภายนอกย่อมได้
รับการคุ้มครอง หรือนิติกรรมใหม่นั้นมีผลสมบูรณ์ จะบอกล้างไม่ได้
13. มาตรา 161 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ” ไว้ดังนี้
- ผู้แสดงเจตนาทำานิติกรรมสมัครใจจะทำานิติกรรม โดยคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งใช้กลฉ้อฉล เพื่อให้ผู้
แสดง
เจตนายอมรับข้อกำาหนดที่หนักขึ้น
- นิติกรรมที่เกิดจากกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ ไม่เป็นโมฆะ คุณสมบัติไม่ถึง
- ผูแ้ สดงเจตนามีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนได้
14. มาตรา 162 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “กลฉ้อฉลโดยนิ่ง” ไว้ดังนี้
- ผูแ้ สดงเจตนาทำานิติกรรมมีประเด็นข้อสงสัยจะถาม แต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งนิ่งเฉย
ไม่ได้เปิดเผยความจริงออกมา แกล้งไม่พูด
- การนิ่งเฉยต้องเป็นกรณีที่ทำาให้เกิดกลฉ้อฉลถึงขนาด
- การนิ่งเฉยทำาให้นิติกรรมเกิดขึ้น คือ ถ้าไม่มีการนิ่งเฉยเช่นนั้น นิติกรรมจะไม่ได้เกิดขึน้ เลย
- ผูแ้ สดงเจตนามีสิทธิบอกล้างได้
15. มาตรา 163 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “กลฉ้อฉลด้วยกันทั้งสองฝ่าย” ไว้ดังนี้
- ผูแ้ สดงเจตนาตั้งใจใช้กลฉ้อฉลกับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งให้ทำานิติกรรม
- คูก่ รณีอีกฝ่ายหนึ่งก็ใช้กลฉ้อฉลด้วยเช่นกัน ต่างคน ต่างโกง
- กฎหมายบังคับมิให้ทั้งสองฝ่ายบอกล้าง และเรียกค่าเสียหายซึ่งกันและ
กัน

16. การข่มขู่ เป็นการทำาให้ผู้ถูกข่มขู่กลัวภัย จนต้องแสดงเจตนาเข้าทำานิติกรรม หรือยอมรับภาระที่หนักกว่า


ปกติจากการทำานิติกรรม ดังนั้น การแสดงเจตนาทำานิติกรรมเพราะถูกข่มขู่ จึงเกิดจากการแสดงเจตนาโดย
ไม่สมัครใจ
10

17. มาตรา 164 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “การถูกข่มขู่” ไว้ดังนี้


- ผูแ้ สดงเจตนาถูกข่มขู่ให้จำาต้องทำานิติกรรมโดยไม่สมัครใจ
- ต้องเป็นการข่มขู่ถึงขนาด
- ภัยที่เกิดจากการข่มขู่ เป็นภัยใกล้จะถึง ซึ่งไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้
- ผลของนิติกรรมที่เกิดจากภัยข่มขู่ เป็นโมฆียะ
18. มาตรา 165 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ การกระทำาบางอย่างที่ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ กล่าวคือ
(1) การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม เช่น
- เจ้าหนี้ขู่ให้ลูกหนี้ชำาระเงิน
- ขูใ่ ห้ทำาสัญญาคำ้าประกัน ถ้าไม่ทำาจะฟ้องริบทรัพย์
(2) การนับถือยำาเกรง เป็นเรื่องที่เป็นไปตามสังคมและประเพณี เช่น
- ลูกหลาน ย่อมเคารพยำาเกรง บิดามารดา ปูย่ ่า ตายาย
- ภรรยายำาเกรงสามี
19. มาตรา 166 ได้วางหลักกฎหมายไว้ว่า การแสดงเจตนาที่เกิดจากการข่มขู่เป็นโมฆียะ ไม่ว่าคนข่มขู่ให้ทำา
นิติกรรมจะเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลภายนอกก็ตาม
20. มาตรา 167 ได้วางหลักการวินิจฉัยคดีที่เกิดจากการสำาคัญผิด กลฉ้อฉล ข่มขู่ ต้องพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
ของผู้แสดงเจตนา
- เพศ อายุ ฐานะ
- สุขภาพอนามัย และภาวะแห่งจิตใจ
- พฤติการณ์และสภาพแวดล้อมอื่นๆ

You might also like