You are on page 1of 5

1

สัญญา

คำาเสนอ และคำาสนอง
1. สัญญา เป็นการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป ที่จะมุ่งต่อการก่อให้เกิดผลในทางกฎหมาย ดัง
นัน้ สัญญาจึงมีสาระสำาคัญ 3 ประการ คือ
(1) จะต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไปเสมอ
(2) การแสดงเจตนาของบุคคลทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องถูกต้องตรงกัน
(3) บุคคลทั้ง 2 ฝ่าย มีวัตถุประสงค์จะก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย
2. การแสดงเจตนาเพื่อทำาสัญญานั้น จำาเป็นต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่าย ดังนี้
- ผู้เสนอ เป็นฝ่ายที่แสดงเจตนาที่มีความประสงค์จะขอทำาสัญญา หรือเป็นการแสดงเจตนาทำาคำา
เสนอ
- ผูส้ นอง เป็นฝ่ายที่รับการแสดงเจตนา ซึ่งพร้อมที่จะตกลงเข้าทำาสัญญากับผู้แสดงเจตนานั้น
3. คำาเสนอที่ไม่ตรงกับคำาสนอง กฎหมายถือว่ามีความหมาย 2 ประการ คือ
- คำาสนองนั้น มีผลเท่ากับเป็นการ “บอกปัด” ไม่รับคำาเสนอ
- ขณะเดียวกัน คำาสนองนั้น มีผลกลายเป็น “คำาเสนอใหม่” ขึน้ ทันที
4. สัญญาเกิดขึ้นเมื่อใด ???
สัญญาจะเกิดขึ้นทันที เมื่อมีลักษณะที่เข้าสาระสำาคัญของสัญญา ทั้ง 3 ประการ กล่าวคือ
- มีคำาเสนอและคำาสนอง ที่เกิดจากบุคคลทั้งสองฝ่าย
- คำาเสนอและคำาสนองนั้น ต้องตรงกัน
- ทั้งสองฝ่ายตกลงใจหรือสมัครใจที่จะก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย
5. การแสดงเจตนาที่เป็นคำาเสนอนั้น โดยปกติจะมี 2 ลักษณะ คือ
(1) การแสดงเจตนาต่อบุคคลเป็นการเฉพาะตัว เช่น แสดงเจตนาไปยังนาย ก.
(2) การแสดงเจตนาต่อบุคคลทั่วไป เช่น โดยการประกาศโฆษณา
6. ในส่วนของ “คำาเสนอและคำาสนอง” นัน้ กฎหมายได้วางหลักไว้ ดังนี้
(1) คำา เสนอที่มีการบ่งระยะเวลาให้ทำา คำา สนอง จะผูกพันตามระยะเวลาที่บ่งไว้เท่านั้น ไม่ว่าจะ
เป็น
คำาเสนอต่อบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า หรือผู้อยู่ห่างโดยระยะทางก็ตาม (ม.354)
(2) คำาเสนอที่มิได้บ่งระยะเวลาให้ทำาคำาสนอง และเสนอต่อผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง ผู้เสนอจะถอนคำา
เสนอของตนได้ ต่อเมื่อพ้นระยะเวลาที่คาดหมายได้ว่าจะได้รับคำาสนองนั้น (ม.355)
(3) คำาเสนอที่มิได้บ่งระยะเวลาให้ทำาคำาสนอง และเสนอต่อผู้อยู่เฉพาะหน้า เมื่อได้เสนอ ณ ที่ใด
เวลา
ใด ย่อมต้องมีคำาสนอง ณ ทีน่ ั้น เวลานั้น ......และให้รวมถึงคำาเสนอทางโทรศัพท์ด้วย (ม.356)
(4) คำาเสนอใด ถ้าผูร้ ับคำาเสนอบอกปัด หรือมิได้สนองรับคำาเสนอนั้นภายในเวลาที่กำาหนด ถือว่า
2

คำาเสนอนั้นไม่มีผลผูกพันอีกต่อไป (ม.357)

(5) คำาสนองรับใดที่ถูกส่งโดยทางการกลับไปยังผู้เสนอแล้ว ซึ่งตามปกติย่อมคาดหมายได้ว่าจะถึง


ผู้
เสนอได้ภายในกำาหนด ถ้าปรากฏว่าคำาสนองรับไปถึงผู้เสนอล่าช้ากว่าเวลาที่กำาหนด ผู้เสนอมี
หน้าที่ต้องรีบแจ้งผู้สนองทันที เว้นแต่จะได้แจ้งไว้ก่อนแล้ว …….....ถ้าผู้เสนอละเลยไม่แจ้ง
เหตุ
ดังกล่าว ถือว่าคำาสนองรับนั้นไม่ล่วงเวลา (ม.358)
(6) คำา สนองรับใดมาถึงผู้เสนอล่าช้าและพ้นระยะเวลาที่บ่งแล้ว ให้ถือว่า คำา สนองรับนั้นกลาย
เป็น
คำาเสนอขึ้นใหม่ รวมทั้งคำาสนองรับใดที่มีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำากัด หรือมีข้อแก้ไข ให้ถือว่า
เป็นคำาบอกปัดไม่รับ และเป็นคำาเสนอขึ้นใหม่ในตัว (ม.359)
(7) ตามมาตรา 169 วรรค 2 นัน้ มิให้ใช้บังคับ ในกรณีต่อไปนี้ (ม.360)
- การแสดงเจตนานั้นขัดกับเจตนาเดิมของผู้เสนอที่ได้แสดงไว้
- ก่อนมีคำา สนองตอบ ผู้รับคำา เสนอได้รู้แล้วว่า ผู้เสนอตายหรือเป็นคนไร้ความสามารถ
แล้ว
(8) สัญญาระหว่างผู้เสนอและผู้สนองที่อยู่ห่างโดยระยะทาง จะมีผลเมื่อคำา สนองรับนั้น ส่งกลับ
ไปถึง
ผู้เสนอแล้ว …....การแสดงเจตนาบางกรณี ซึ่งตามปกติประเพณีเป็นที่เข้าใจกันและไม่จำาเป็น
ต้อง
มีคำาสนองรับ ให้ถือว่าสัญญาเกิดขึ้นในเวลานั้น (ม.361)

คำามั่น
1. คำามั่น เป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของผู้ให้คำามั่น และมีผลผูกพันตนเองที่จะปฏิบัติตามคำามั่นที่ได้แสดง
เจตนาไว้ ซึ่งคำามั่นมีอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่
(1) คำามัน่ ที่จะให้รางวัล (ม.362 – ม.364)
(2) คำามัน่ ในการประกวดชิงรางวัล (ม.365)
2. มาตรา 362 ได้วางหลักเกี่ยวกับ “คำามั่นที่จะให้รางวัล” ไว้ดังนี้
- บุคคลใดได้ให้คำามั่นโดยออกโฆษณาว่าจะให้รางวัลแก่ผู้ซี่งกระทำาการอันใด ถ้ามีผู้กระทำาการ
สำาเร็จ
ผูใ้ ห้คำามั่นจำาต้องให้รางวัลแก่ผู้กระทำาการนั้น
3

- แม้ว่าผู้กระทำาการจะกระทำาไปโดยไม่เห็นแก่รางวัล ผู้ให้คำามั่นก็ต้องให้รางวัลแก่ผู้กระทำาการ
นัน้
- ข้อพิจารณามาตรานี้
* เป็นคำาเสนอที่เป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว และเสนอต่อบุคคลทั่วไป
* มีผลผูกพันให้ผู้ให้คำามั่นต้องปฏิบัติตามคำามั่นที่ตนได้ให้ไว้
* ไม่จำาเป็นต้องมีคำาสนองตอบ ผู้ใดที่กระทำาการสำาเร็จตามคำามั่นในประกาศโฆษณา ผู้
ให้
คำามั่นต้องให้รางวัลแก่ผู้นนั้
* การประกาศโฆษณา อาจกระทำา ได้โดยวิธีใดก็ได้ เช่น ทางวิทยุ ทางโทรทัศน์ ทาง
หนังสือ
พิมพ์ แผ่นปลิว ป่าวประกาศ หรือวิธีอื่นใดที่จะทำาให้คนรู้โดยทั่วไป
3. มาตรา 363 ได้วางหลักเกี่ยวกับ “การถอนคำามั่นที่จะให้รางวัล” ไว้ดังนี้
- เมื่อได้มีการออกโฆษณาให้คำา มั่นว่าจะให้รางวัลไปแล้ว ถ้ายังไม่มีผู้ใดกระทำาการสำาเร็จตามที่
ออก
โฆษณาไว้ ผู้ให้คำามั่นมีสิทธิจะถอนคำามั่นนั้นได้ เว้นแต่จะแสดงเจตนาในโฆษณาว่าจะไม่ถอน
- การโฆษณาให้คำามั่นว่าจะให้รางวัลด้วยวิธีใด การถอนคำามั่นดังกล่าวต้องใช้วิธีเดียวกัน แต่หาก
ถอนคำามั่นด้วยวิธีอื่น จะมีผลใช้ได้เฉพาะบุคคลที่รู้เท่านั้น
- คำามั่นว่าจะให้รางวัลที่มีการกำาหนดระยะเวลาไว้ จะถอนคำามั่นนั้นไม่ได้
4. มาตรา 364 ได้วางหลักเกี่ยวกับ “การให้รางวัล” ไว้ดังนี้
- บุคคลหลายคนทำาการตามที่บ่งบอกไว้ในประกาศโฆษณา ผู้ใดทำาได้สำาเร็จก่อน ผู้นั้นรับรางวัล
ไป
- แต่ถ้าบุคคลหลายคนทำาการตามที่บ่งบอกไว้สำาเร็จพร้อมกัน ให้แบ่งรางวัลดังนี้
* ถ้ารางวัลนั้นสามารถแบ่งได้ ให้ทุกคนมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเท่าๆ กัน
* ถ้ารางวัลนั้นแบ่งแยกไม่ได้ ให้ใช้วิธีจับสลาก
5. มาตรา 365 ได้วางหลักเกี่ยวกับ “คำามั่นในการประกวดชิงรางวัล” ไว้ดังนี้
- ต้องมีการออกประกาศโฆษณา เพื่อให้บุคคลหลายๆ คนมาทำาการแข่งขันประกวดชิงรางวัลกัน
- ต้องมีการกำาหนดระยะเวลาการประกวดแข่งขัน
- ต้องมีการกำาหนดวิธีการและรายละเอียดเกี่ยวกับกติกาการตัดสิน และคณะกรรมการตัดสิน
- คำาตัดสินของคณะกรรมการ ถือว่ามีผลผูกพันตามกฎหมาย
- การให้รางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด ให้นำาบทบัญญัติ ม.364 มาใช้บังคับ แล้วแต่กรณี
- กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ทำาการประกวดชิงรางวัลจะตกเป็นของผู้ใด ขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่ระบุอยู่
ใน
ประกาศโฆษณาครั้งนั้นๆ
4

ผลแห่งสัญญา
1. สัญญา เป็นเรื่องที่เกิดขึน้ จากความตกลงยินยอมของคู่สัญญาตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป และความตกลงยินยอมนัน้
เป็นเรื่องซึ่งคู่สัญญามีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ที่จะทำาความตกลงผูกพันกันทางกฎหมาย
2. สัญญาต่างตอบแทน เป็นสัญญาที่ต่างฝ่ายต่างมีหนี้ที่ต้องกระทำาตอบแทนซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ต่างฝ่าย
ต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกันในขณะเดียวกันนั่นเอง
3. ผลแห่งสัญญาที่เกิดขึ้นจากความตกลงในการทำาสัญญา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
(1) การชำาระหนี้ตอบแทนของคู่สัญญา (ม.369)
(2) ผลแห่งภัยพิบั ติที่เกิดกับวัตถุ แห่งสัญญา หรื อกล่าวอีก นัย หนึ่ง “การรับบาปเคราะห์ ในภัย
พิบัติ”
- การรับบาปเคราะห์แห่งภัยพิบัติ โดยโทษลูกหนี้ไม่ได้ (ม.370)
- การรับบาปเคราะห์แห่งภัยพิบัติ โดยโทษเจ้าหนี้ไม่ได้ (ม.371)
- การรับบาปเคราะห์แก่งภัยพิบัติ โดยโทษใครไม่ได้ (ม.372)
4. มาตรา 369 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “การชำาระหนีต้ อบแทนของคู่สัญญา” ไว้ดังนี้
- เป็นกรณีสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างต้องปฏิบัติต่อกัน
- ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำาระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งย่อมมีสิทธิไม่ชำาระหนี้ได้
- ถ้าหนี้ใดยังไม่ถึงกำาหนดชำาระหนี้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกชำาระหนี้ก่อนกำาหนด

5. มาตรา 370 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “การรับบาปเคราะห์ในภัยพิบัติ โดยโทษลูกหนีไ้ ม่ได้” ไว้ดังนี้


- กรณีสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งต้องมีการโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง
- ทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้ ได้โอนกรรมสิทธิ์จากลูกหนี้ไปยังเจ้าหนี้แล้ว โดยไม่คำานึง
ว่า
จะส่งมอบทรัพย์แล้วหรือไม่
- ถ้าวัตถุแห่งหนี้นั้น สูญหายหรือถูกทำาลาย โดยมิใช่ความผิดของลูกหนี้ หรือโทษลูกหนี้ไม่ได้
- บาปเคราะห์ในภัยพิบัติย่อมตกแก่ฝ่ายเจ้าหนี้
6. มาตรา 371 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “การรับบาปเคราะห์ในภัยพิบัติ โดยโทษเจ้าหนี้ไม่ได้” ไว้ดังนี้
- กรณีสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งต้องมีการโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง โดยมีเงื่อนไขบังคับ
ก่อน
- ทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งเป็ นวั ตถุ แห่ งหนี้ ยังไม่ไ ด้โ อนกรรมสิทธิ์ จากลู กหนี้ไ ปยั งเจ้าหนี้ เพราะ
เงื่อนไข
บังคับก่อนยังไม่สำาเร็จ
- ถ้าวัตถุแห่งหนี้นั้น สูญหายหรือถูกทำาลาย ก่อนที่เงื่อนไขจะสำาเร็จ โดยมิใช่ความผิดของเจ้าหนี้
หรือ
5

โทษเจ้าหนี้ไม่ได้
- บาปเคราะห์ในภัยพิบัติย่อมตกแก่ฝ่ายลูกหนี้
- ในกรณีที่วัตถุแห่งหนี้นั้นเสียหายเพียงบางส่วน โดยโทษเจ้าหนี้ไม่ได้ และทรัพย์นั้นยังไม่ได้
โอน
กรรมสิทธิ์ เจ้าหนี้มีสิทธิ์เลือกปฏิบัติได้ 2 ทาง คือ
* เรียกชำาระหนี้โดยลดส่วน
* บอกเลิกสัญญา
- ในกรณีที่วัตถุแห่งหนีน้ ั้นเสียหายเพราะลูกหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนได้
7. มาตรา 372 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ “การรับบาปเคราะห์ในภัยพิบัติ โดยโทษใครไม่ได้” ไว้ดังนี้
- กรณีสัญญาต่างตอบแทนซึ่งไม่ต้องมีการโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง
- การชำาระหนี้นั้นตกเป็นพ้นวิสัย เพราะเหตุหนึ่งเหตุใด โดยโทษใครไม่ได้
- บาปเคราะห์ในภัยพิบัติย่อมตกแก่ฝ่ายลูกหนี้ ลูกหนี้ไม่มีสิทธิเรียกชำาระหนี้ตอบแทนจากเจ้าหนี้ได้
- เว้นแต่กรณีการพ้นวิสัยนั้นสามารถโทษเจ้าหนี้ได้ ลูกหนี้มีสิทธิเรียกชำาระหนี้ตอบแทนจากเจ้า
หนี้ได้
แต่ไม่เต็มจำานวน โดยหักออกด้วย (1) ค่าลงทุนที่ไม่ได้จ่ายไป (2) รายได้อื่นที่ได้มาทดแทนระหว่าง
นัน้ หรือ (3) รายได้อื่นอันพึงจะได้แต่ได้ละเลยเสีย
- ข้อสังเกต การพ้นวิสัยโดยโทษใครไม่ได้ ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากการชำาระหนี้นั้น (ม.219)
8. บทบัญญัติมาตราอื่นที่ควรรู้
มาตรา 195 ว.2 ได้วางหลักกฎหมายไว้ว่า ทรัพย์ที่มิใช่ทรัพย์เฉพาะสิ่ง จะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งได้
ต่อก็เมื่อได้มีการกระทำาการเพื่อส่งมอบทรัพย์นั้นแล้ว หรือได้เลือกกำาหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นสัดส่วน
แล้ว ถือว่าเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งทันที
มาตรา 219 ได้วางหลักกฎหมายไว้ว่า ถ้าการชำาระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังได้ก่อ
หนี้แล้ว ลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการชำาระหนี้

You might also like