You are on page 1of 66

สรุปชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพกฎหมาย 41444

หน่วยที่ 1 สถานภาพและการประกอบวิชาชีพกฎหมาย
แนวคิด
1. วิชากฎหมาย เป็นวิชาชีพซึ่งต้องศึกษาอบรมในวิทยาการทางความคิดยิ่งกว่าการใช้มือหรือแรงงาน สังคมจำาต้องมี
กฎหมายเพื่อความอยู่รอดของสังคม การศึกษากฎหมายและการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายจำาเป็นแก่สังคมคู่เคียงกัน
เฉพาะประเทศไทย การศึกษากฎหมายแบบตะวันตกและการประกอบวิชาชีพกฎหมายเริ่มต้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาลโดยตรง คือ ผู้
พิพากษา อัยการและทนายความ กับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาลโดยตรง คือ นิติกร นายทหารพระ
ธรรมนูญ เป็นต้น
3. การประกอบวิชาชีพกฎหมาย เป็นการผูกขาดเฉพาะผู้ศึกษาอบรมด้านนี้ จึงจำาต้องมีการควบคุม

1.1 วิชาชีพกฎหมายในสังคม
แนวคิด
1. การศึกษากฎหมายในฐานะของวิชาชีพนั้น นอกจากต้องศึกษาจากมหาวิทยาลัยแล้วยังต้องศึกษาอบรมเน้นการปฏิบัติ
ในโรงศาลชัน้ สูงขึน้ ไป ได้แก่ การศึกษาชั้นเนติบัณฑิต และศึกษาอบรมหลังจากสำาเร็จการศึกษา เพื่อเข้าสู่วิชาชีพทางศาล
โดยตรง ได้แก่ การอบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา อัยการผู้ช่วย และการฝึกอบรมวิชาว่าความ ณ สภาทนายความ
2. การประกอบวิชาชีพกฎหมายสมัยดั้งเดิมของไทย เริ่มด้วยการรับราชการสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าอยู่หัว ต่อมา
อิทธิพลของชาวตะวันตกแผ่ขยายเข้ามา จึงได้มีกฎหมายแบบตะวันตก การศึกษากฎหมายและการประกอบวิชาชีพ
กฎหมายเป็น ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ นิติกร นายทหารพระธรรมนูญ ได้เจริญตั้งแต่นนั้ จนเป็นปึกแผ่นในปัจจุบัน
3. กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครองบ้านเมือง เพื่อความอยู่รอดของสังคม ซึ่งจะขาดเสียไม่ได้ จึงจำาต้องมีผู้ประกอบ
วิชาชีพกฎหมายอันเป็นบริการที่จำาเป็นแก่สังคมและจะขาดไม่ได้เช่นเดียวกัน

- วิชากฎหมายเป็นวิชาชีพ โดยมีแนววิเคราะห์ว่าการประกอบวิชาชีพใดเป็นการใช้วิชาชีพหรือไม่ 3 แนวทาง คือ


1. การพิจารณาคุณสมบัติ คือ มีการศึกษาสูง รูเ้ ฉพาะด้าน นำาความรู้ไปปฏิบัติ และมีจรรยาวิชาชีพ
2. การศึกษากระบวนการพัฒนาของสถาบัน คือจะมีการจัดตั้งสมาคมวิชาชีพ ตั้งชื่ออาชีพ พัฒนาจรรยาวิชาชีพ ได้รับการ
สนับสนุนจากมหาชน มีการศึกษาและอบรม
3. การรับรองของกฎหมายต่อสถานะของวิชาชีพ คือ มีการจดทะเบียน ให้ประกาศนียบัตร มีใบอนุญาต
- การศึกษากฎหมายในฐานะของวิชาชีพ เป็นการศึกษาอบรมชั้นสูงในทางความคิดให้การอยู่ร่วมกันด้วยการเคารพต่อ
กฎหมาย และระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการและหลักการของกฎหมาย ไม่ใช่การใช้กำาลังกาย มุ่งหมายให้ผู้ศึกษาสามารถนำาไป
ประกอบอาชีพ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนโดยไม่มุ่งแต่ค่าตอบแทน และเพื่ออำานวยความยุติธรรมให้เกิดแก่สังคม ซึ่งเป็น
ภาระของรัฐที่ปกครองโดยกฎหมาย
- ลูกขุน เป็นคำารวมของผู้ประกอบอาชีพเป็นข้าราชการตำาแหน่งต่าง ๆ ทัว่ ไปในสมัยโบราณของไทย ถ้าประสงค์ให้รู้ว่าทำา
หน้าที่อะไร ก็มคี ำาขยายความออกไป เช่น “ลูกขุน ณ ศาลา” หมายถึงตำาแหน่งเสนาบดีฝ่ายบริหาร และ “ลูกขุน ณ ศาล
หลวง” หมายถึงตำาแหน่งฝ่ายตุลาการ ลูกขุน ณ ศาลหลวงที่มีหน้าที่เกี่ยวกับคดีความนั้น ก็เนื่องจากเมื่อกฎหมายมนุสา
รสาตรจากพระนครข้างฝ่ายอินเดียเข้ามาถึงประเทศไทยพร้อมด้วยพราหมณ์ปุโรหิตนั้น พระเจ้าแผ่นดินไทยโปรดให้
พราหมณ์ปุโรหิตจัดการวางแบบอย่างการปกครองแบบพระนครข้างฝ่ายอินเดีย และยกมนูสารสาตรขึ้นเป็นหลักที่จะ
บัญญัติเป็นกฎหมายสืบไป พราหมณ์ปุโรหิตซึ่งมีความรู้ความชำานาญในมนูสารสตรของเดิมและพระราชกำาหนดกฎหมาย
ที่บัญญัติขึ้นใหม่ ทั้งเป็นพราหมณ์ประพฤติตนอยู่ในความสุจริต พระเจ้าแผ่นดินไทยจึงมอบให้เป็นผู้บังคับตัดสินความ
แทนพระองค์โดยมีตระลาการเป็นผู้พิจารณาความนั้น แล้วไปขอคำาตัดสินใจจากพราหมณ์ปุโรหิตผู้เป็นลูกขุนอีกชั้นหนึ่ง

1.2 การประกอบวิชาชีพกฎหมาย
แนวคิด
1. นิติกรเป็นเจ้าหน้าที่ทางกฎหมายทั้งราชการและเอกชน ที่ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ทางกฎหมายอย่างตำ่าระดับปริญญา
ตรีหรือเทียบเท่า และปฏิบัติงานเกี่ยวกับกฎหมายตามที่รับมอบหมาย
2. นายทหารพระธรรมนูญ เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรที่มีความรู้ทางกฎหมายชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีอำานาจ
หน้าที่สืบสวนสอบสวนคดี เป็นที่ปรึกษาและเสนอความเห็นทางกฎหมาย ทางปกครอง และทางวินัยตามที่ผู้บังคับบัญชา
มอบหมาย ตลอดจนตรวจร่างสัญญาของทางราชการทหาร
3. ทนายความเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายด้านเอกชนที่เกี่ยวข้องกับศาลโดยตรง ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
ยุติธรรม จำาต้องดำาเนินวิชาชีพอย่างมีหลักวิชา มีกฎเกณฑ์ และอยู่ในจรรยาแห่งวิชาชีพ เพื่อช่วยผดุงความยุติธรรมในบ้าน
เมืองให้ดียิ่งขึ้น
4. อัยการเป็นข้าราชการสังกัดกรมอัยการ ซึ่งเป็นราชการฝ่ายบริหาร มีอำานาจหน้าที่ในการดำาเนินคดีที่เรียกกันสมัยเดิมว่า
เป็นทนายแผ่นดินแทนรัฐบาลในศาล ผู้ประกอบวิชาชีพอัยการต้องมีคุณวุฒิและคุณธรรมสูง การเข้ารับราชการเป็นอัยการ
ของไทยใช้ระบบสอบแข่งขันไม่ใช่ระบบแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง
5. ผู้พิพากษาเป็นผู้มีอำานาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามกฎหมายในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ซึ่ง
เป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการ จำาต้องมีอิสระในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี ต้องมีคุณวุฒิและคุณธรรมสูง การเข้ารับราชการเป็นผู้
พิพากษาของไทยใช้ระบบสอบแข่งขันคัดเลือกไมใช่ระบบแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง
6. การประกอบวิชาชีพกฎหมายถือเป็นราชการศาลส่วนหนึ่งในการอำานวยความยุติธรรมแก่ประชาชน จึงจำาต้องมีองค์กร
กึ่งราชการ คือเนติบัณฑิตยสภา ควบคุมมิให้แสวงหาประโยชน์เกินขอบเขต ผูป้ ระกอบวิชาชีพกฎหมายโดยรับราชการยัง
ต้องอยู่ในความควบคุมเพิ่มขึ้นด้านวินัยข้าราชการ ส่วนด้านเอกชน คือทนายความ ได้แยกตนเป็นเอกเทศอยู่ในความ
ควบคุมของสภาทนายความ

- วิชาชีพกฎหมายนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพได้ต้องมีการศึกษาโดยเฉพาะในวิชาการ ไม่ใช่การงานที่บุคคลทั่วไปทำาได้โดย


ทดลองปฏิบัติ ทั้งต้องมีการฝึกอบรมทางความคิดในวิทยาการชั่วระยะหนึ่ง ยิ่งกว่าใช้มือหรือแรงงาน และเฉพาะวิชาชีพ
กฎหมายเป็นวิชาที่จำาเป็นสำาหรับความอยู่รอดของสังคม เนื่องจากการอยู่ร่วมกันต้องเคารพต่อกฎหมายระงับข้อพิพาทด้วย
วิธีการและหลักการของกฎหมาย ทั้งผูใ้ ห้บริการด้านกฎหมายประดุจเจ้าหน้าที่ประเภทหนึ่งของศาลยุติธรรม และเป็นสิทธิ
ของตัวความที่จะมีทนายความในการดำาเนินคดี เมื่อเป็นกิจการผูกขาดของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย จึงต้องมีการควบคุม
เพื่อมิให้หาประโยชน์เกินขอบเขตและเอาเปรียบบีบบังคับกับสังคม
- องค์กรที่ควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย คือเนติบัณฑิตยสภา เฉพาะผู้ที่รับราชการเป็นผู้พิพากษา อัยการ นิติกร
นายทหารพระธรรมนูญ ยังต้องมีการควบคุมเพิ่มขึ้นด้วยวินัยของข้าราชการ คำาสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
เรื่อง การปฏิบัติตนของข้าราชการฝ่ายพลเรือน ตำารวจ ทหาร ข้อพึงปฏิบัติในประมลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ส่วนผู้
ประกอบวิชาชีพกฎหมายเป็นทนายความต้องประพฤติตามข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความตามพระราชบัญญัติ
ทนายความ พ.ศ. 2528

หน่วยที่ 2 การจัดการสำานักงานทนายความ
แนวคิด
1. ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายควบคุมการจัดตั้งสำานักงานทนายความว่าจะต้องกระทำาในรูปแบบใด โดยที่วิชาชีพ
ทนายความไม่ใช่การค้า การจัดตั้งสำานักงานทนายความจึงไม่ต้องจดทะเบียนการค้าและไม่มีความจำาเป็นจะต้องจัดตั้งเป็น
รูปนิติบุคคลแต่อย่างใด
2. การจัดระเบียบภายในสำานักงานทนายความ โดยการจัดแบ่งส่วนงานให้เป็นสัดส่วน ย่อมก่อให้เกิดสมรรถภาพในการ
ทำางานร่วมกันของทนายความและพนักงานเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ รวมทั้งความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนผู้มาติดต่องานเป็น
อย่างมาก
3. การจัดทำาปกสำานวน เอกสารแบบพิมพ์ต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้งาน ตลอดจน
การจัดหาเครื่องใช้สำานักงานทนายความเป็นปัจจัยสำาคัญที่จะทำาให้การปฏิบัติงานในสำานักงานทนายความเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ
4. การติดต่องานของทนายความกับตัวความและบุคคลทัว่ ไปนั้น ทนายความควรเชิญตัวความและบุคคลทัว่ ไปมาพบที่
สำานักงานก่อนเสมอ การออกไปพบตัวความหรือบุคคลทั่วไปนอกสำานักงานอาจทำาได้ในกรณีที่มีเหตุจำาเป็นหรือมีเหตุผสม
ควรบางประการ
5. ความเป็นระเบียบของสำานักงานทนายความ มารยาทการแต่งกายของทนายความและผู้ร่วมงานตลอดจนความสะอาด
ของสำานักงานนั้นมีผลต่อความสำาเร็จในหน้าที่การงานของทนายความเป็นอย่างมาก
2.1 การตั้งสำานักงานทนายความ
แนวคิด
1. การเลือกสถานที่ตั้งสำานักงานทนายความ ขึน้ อยู่กับความเหมาะสมของแต่ละสำานักงาน โดยพิจารณาในด้านของความ
สะดวกในการจราจร มีสถานที่จอดรถและสามารถไปศาลได้ในเวลาที่คาดหมายได้ หรือตั้งอยู่ในย่านธุรกิจการค้า
2. ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายควบคุมการจัดตั้งสำานักงานทนายความว่าจะต้องกระทำาในรูปแบบใด แต่ควรกระทำาโดย
ทนายความที่จดทะเบียนและรับอนุญาตเป็นทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ
3. งานวิชาชีพทนายความไม่ใช่การค้า ดังนั้น การตั้งชื่อสำานักงานทนายความควรใช้ชื่อที่สื่อความหมายให้ประชาชน
ทั่วไปเข้าใจว่าหมายถึงสถานที่ทำางานทนายความ
4. ป้ายชื่อของสำานักงานทนายความจะต้องไม่มีลักษณะของการโฆษณาโอ้อวดความรู้ ความสามารถหรือคำาพรรณนาอื่น
ใด นอกจากชื่อของสำานักงาน

2.2 การแบ่งส่วนงานสำานักงานทนายความ
แนวคิด
1. การจัดระเบียบภายในสำานักงานทนายความโดยจัดแบ่งส่วนงานให้เป็นสัดส่วนมีระเบียบเรียบร้อย ย่อมก่อให้เกิด
ประสิทธิภาพในการทำางานร่วมกันของทนายความและพนักงานเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ตลอดจนความเชื่อถือศรัทธาของ
ประชาชนผู้มาติดต่องานทนายความเป็นอย่างมาก
2. การจัดแบ่งส่วนงานในสำานักงานทนายความเป็นแผนกธุรการเป็นสิ่งจำาเป็น เพราะงานธุรการเป็นงานประจำาของ
สำานักงานทนายความ
3. การจัดระเบียบการเงินของสำานักงานทนายความโดยแบ่งส่วนเป็นแผนกการเงิน จะช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่ของ
ทนายความและพนักงานฝ่ายธุรการปฏิบัติการได้โดยสะดวก
4. การแบ่งส่วนงานสำานักงานทนายความออกเป็นแผนกคดีนั้นมีความจำาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากงานทนายความเป็นงานที่
ต้องใช้ความคิด และจะต้องมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำานวยให้เกิดการทำางานอย่างมีสมาธิ
5. สำานักงานทนายความไม่ว่าจะมีขนาดใดก็ตาม จำาเป็นจะต้องมีตำารากฎหมายหรือเอกสารอืน่ ๆ ประกอบอันมีคุณ
ประโยชน์ในงานวิชาชีพทนายความเก็บรวบรวมไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้าอย่างครบถ้วน
- การแบ่งส่วนงานของสำานักงานทนายความในส่วนธุรการนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่เกี่ยวกับเอกสาร เช่น งานรับส่ง
เอกสาร งานผลิตเอกสาร เช่น งานพิมพ์ งานถ่ายเอกสาร งานจัดเก็บเอกสาร ควบคุมดูแลการใช้ การซ่อมแซมสำานักงาน
- การรับจ่ายเงินในสำานักงานทนายความควรจัดระบบให้เป็นระเบียบ ต้องแยกประเภทเงินเป็นสัดส่วน และมีบัญชีกำากับ
เงินดังกล่าวให้ชัดเจนถูกต้อง เช่น เงินค่าธรรมเนียมศาล เงินค่าใช้จ่าย เงินค่าทนายความ เงินที่ได้มาเนื่องจากการจัดการ
ทรัพย์สินของตัวความ เป็นต้น
- การจัดแผนกการเงินขึ้นในสำานักงานทนายความ ช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่ของทนายความและพนักงานฝ่ายธุรการ ปฏิบัติ
การได้โดยสะดวก ทั้งสร้างความเชื่อถือแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย
- การแบ่งส่วนงานแผนกคดีในสำานักงานทนายความในประเทศไทย ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 2 แผนกหรือมากกว่า ดังนี้
คือ
1. แผนกที่ทำางานเกี่ยวกับเอกสารและให้คำาปรึกษาตัวความ
2. งานว่าความ มีหน้าที่ตระเตรียมคดีไปว่าความที่ศาล
3. งานที่เกี่ยวกับการจดทะเบียน ได้แก่ จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เป็นต้น

2.3 การจัดทำาปกสำานวน เอกสารแบบพิมพ์ต่าง ๆ และเครื่องใช้ของสำานักงานทนายความ


แนวคิด
1. การจัดทำาปกสำานวน เอกสารและแบบพิมพ์ต่าง ๆ สำาหรับสำานักงานทนายความให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและเพียงพอ
แก่การใช้งานนั้น ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำาเนินงานของสำานักงานทนายความเป็นอย่างยิ่ง
2. การจัดหาเครื่องใช้ของสำานักงานให้ครบถ้วนบริบูรณ์ และมีจำานวนเพียงพอใช้ปฏิบัติงานมิให้ขาดตกบกพร่อง จะช่วย
ให้การทำางานของทนายความสำาเร็จไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

2.4 การติดต่องานและความเป็นระเบียบของสำานักงานทนายความ
แนวคิด
1. การติดต่องานของทนายความด้วยการพบปะกับตัวความหรือบุคคลทั่วไปนั้น โดยหลักการแล้วทนายความจะต้องเชิญ
ตัวความและบุคคลทั่วไปที่จะพบปะนั้นที่สำานักงานก่อนเสมอ การออกไปพบปะบุคคลดังกล่าวนอกสำานักงานควรกระทำา
เฉพาะกรณีที่มีความจำาเป็นหรือเหตุสมควรบางประการ
2. การรายงานคดีให้ตัวความทราบถึงการดำาเนินงานของทนายความในแต่ละขั้นตอนอย่างสมำ่าเสมอ จะทำาให้ตัวความ
เข้าใจการทำางานของทนายความเป็นอย่างดี และเป็นปัจจัยสำาคัญที่ทำาให้การปฏิบัติหน้าที่ของทนายความปราศจากข้อโต้
แย้งหรือการสำาคัญผิดของตัวความ
3. มารยาทการแต่งกายของทนายความนั้น แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ การแต่งกายในเวลาว่าความ จะต้องแต่งกายสุภาพ
เรียบร้อยตามหลักเกณฑ์ที่กำาหนดไว้ในข้อบังคับว่าด้วยมารยาททนายความของสภาทนายความ พ.ศ.2529 และการแต่ง
กายของทนายความในขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสำานักงานทนายความ ซึ่งจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยและมีระเบียบ
4. ความสะอาดของสำานักงานทนายความ เป็นปัจจัยสำาคัญที่จะเชิดชูเกียรติภูมิของทนายความและผู้ร่วมงานในสำานักงาน
รวมทั้งก่อให้เกิดความเชื่อถือศรัทธากับตัวความและประชาชนที่มาติดต่อด้วย
- โดยหลักการแล้ว ทนายความจะต้องเชิญตัวความและบุคคลทั่วไปที่ต้องการติดต่อมาพบที่สำานัก งานก่อนเสมอ เว้นแต่
บุคคลดังกล่าวมีเหตุจำาเป็นไม่สามารถมาพบทนายความที่สำานักงานได้ หรือมีเหตุสมควรอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
1. เจ็บป่วย
2. เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
3. เป็นเรื่องประชุมปรึกษาหารือระหว่างบุคคลหลายคน หรือจำาเป็นจะต้องร่วมกันตรวจเอกสารหรือข้อเท็จจริงบางอย่าง

หน่วยที่ 3 การร่างสัญญา การตรวจสัญญา และการทำาพินัยกรรม


แนวคิด
1. การร่างสัญญา ผู้ร่างจะต้องสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องหรือที่เป็นเนื้อหาสาระของข้อตกลง เพื่อนำามากำาหนดเป็น
ข้อความในสัญญา
2. การร่างสัญญา เป็นวิธีการนำาข้อมูลที่ได้จากการสอบข้อเท็จจริงมาประมวลร่างเป็นข้อความในสัญญา
3. การตรวจสัญญา มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความถูกต้องของข้อความในสัญญา และผลประโยชน์ของตัวความ
4. การทำาพินัยกรรม เป็นการจำาหน่ายทรัพย์มรดกนอกเหนือจากวิธีการแบ่งทรัพย์มรดกตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
5. การร่างพินัยกรรม เป็นวิธีการนำาข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบถามผู้ทำาพินัยกรรมและบุคคลที่เกี่ยวข้องมาประมวลขึ้น
เป็นข้อกำาหนดในพินัยกรรม ตามแบบและวิธีการที่กฎหมายกำาหนดไว้

3.1 การร่างสัญญาและตรวจสัญญา
แนวคิด
1. การร่างสัญญาโดยทั่วไป ผู้ร่างจะต้องพิจารณาถึงประเภทของสัญญา ซึ่งแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ตามนัยและ
วัตถุประสงค์ที่ต่างกัน เนื่องจากในสัญญาแต่ละประเภท กฎหมายกำาหนดสิทธิหน้าที่ของคู่สัญญาที่ต่างกันออกไป
2. การสอบข้อเท็จจริงในการทำาสัญญา ผู้ร่างจะต้องสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องหรือที่เป็นเนื้อหาสาระที่จะนำามากำาหนดไว้
เป็นข้อความในสัญญา
3. วิธรี ่างสัญญา ผูร้ ่างจะต้องนำาข้อมูลตามที่ได้สอบข้อเท็จจริงไว้มาประมวลร่างเป็นข้อความในสัญญา โดยร่างตามลำาดับ
ขั้นตอนของการแสดงเจตนาและวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาให้ต่อเนื่องไปสู่สาระสำาคัญที่คู่สัญญาประสงค์จะผูกพัน โดยใช้
ถ้อยคำาที่เข้าใจง่าย กระชับใจความ และสอดคล้องกับถ้อยคำาของกฎหมาย
4. การตรวจสัญญาจะต้องกระทำาด้วยความรอบคอบโดยพิจารณาความถูกต้องตามกฎหมาย ตรงตามเจตนาและ
วัตถุประสงค์ของคู่สัญญา มีเนื้อหาและเงื่อนไขที่บังคับได้ รวมทั้งจะต้องพิจารณาความได้เปรียบเสียเปรียบของคู่สัญญา
ด้วย
- สัญญาต่างตอบแทนต้องพิจารณาถึงประโยชน์ที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะได้รับ เปรียบเทียบกับหนี้ที่จะต้องชำาระตอบแทน
ว่าเท่าเทียมกันหรือไม่ และถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ยอมชำาระหนี้อีกฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิอย่างใดนอกจากการไม่ชำาระหนี้
ตอบแทน
- สัญญามีค่าตอบแทนและสัญญาไม่มีค่าตอบแทน มุ่งในเรื่องของค่าตอบแทนที่เป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สิน หรือการ
ชำาระหนี้แทนเป็นสำาคัญ อาจเป็นสัญญาต่างตอบแทนด้วยก็ได้
- สัญญาประธานกับสัญญาอุปกรณ์ ต้องพิจารณาเงื่อนไขของสัญญาควบคู่กันไปทั้งสัญญาประธานและสัญญาอุปกรณ์
- สัญญาซึ่งมีผลระหว่างคู่สัญญากับสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจะต้องพิจารณาถึงฐานะและความสามารถของ
บุคคล ภายนอกที่จะเข้ามารับประโยชน์ตามสัญญาด้วย
- สัญญาที่มีชื่อกับสัญญาที่ไม่มีชื่อ ต้องยึดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายตามบทบัญญัติในเอกเทศสัญญาลักษณะ
นัน้ ๆ เป็นสำาคัญ ส่วนสัญญาไม่มีชื่ออาจะเรียกชื่อตามวัตถุประสงค์หรือความหมายของสัญญานั้น ๆ ก็ได้ เช่น สัญญาเล่น
แชร์เปียหวย เป็นต้น
- สัญญาสำาเร็จรูปถูกออกแบบไว้เป็นสัญญาสำาเร็จรูปผู้เกี่ยวข้องจำาเป็นต้องยอมรับตามเงื่อนไขของสัญญาที่ได้พิมพ์ไว้
ฉะนัน้ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งอาจอยู่ในภาวะจำายอมที่จะต้องลงนามในสัญญาโดยไม่มีโอกาสแก้ไขได้
- สัญญาที่ทำาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องไปทำาต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายกำาหนดโดยใช้แบบพิมพ์ที่ทาง
ราชการกำาหนด คูส่ ัญญาอาจจะเพิ่มเติมเงื่อนไขได้บ้าง แต่ต้องเป็นไปตามระเบียบที่ราชการกำาหนด หากคู่สัญญาไม่มีหลัก
ฐานหรือหลักฐานไม่ครบ หรือไม่มีความสามารถตามที่กฎหมายและระเบียบราชการกำาหนดไว้ก็ไม่สามารถที่จะทำาสัญญา
ประเภทนี้ได้
- ในการร่างสัญญาเพื่อให้คู่สัญญาลงนามนั้น ผูร้ ่างจะต้องสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องหรือที่เป็นเนื้อหาสาระที่จะนำามา
กำาหนดเป็นข้อความในสัญญา โดยสอบข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
1. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความสามารถของคู่สัญญา
2. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสัญญา
3. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลตามกฎหมายของสัญญาที่จะร่างขึ้นว่ามีผลบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่
4. ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับเงื่อนไขในการเลิกสัญญาและการบังคับตามสัญญา
5. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการฟ้องบังคับตามสัญญา
- การร่างสัญญานั้น ผูร้ ่างจะต้องร่างตามลำาดับขั้นตอนของการแสดงเจตนาและวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาให้ต่อเนื่องไปสู่
ข้อสาระสำาคัญที่คู่สัญญาประสงค์จะผูกพัน โดยใช้ถ้อยคำาที่เข้าใจง่าย กระชับใจความ และสอดคล้องกับถ้อยคำาของ
กฎหมาย โดยคำานึงถึงการตีความตามสัญญา
- การตรวจสัญญานั้นจะต้องพิจารณาสิ่งต่อไปนี้ คือ
1. พิจารณาความถูกต้องของข้อความ
2. พิจารณาความสามารถของคู่สัญญา
3. พิจารณาเงื่อนไขของสัญญา
4. พิจารณาถึงเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการผิดสัญญา
5. พิจารณาเอกสารแนบท้ายสัญญา
3.2 การทำาพินัยกรรม
แนวคิด
1. พินัยกรรมเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวที่ผู้ทำาพินัยกรรมทำาขึ้น เพื่อจำาหน่ายทรัพย์มรดกของตนให้แก่ผู้รับพินัยกรรมเมื่อผู้ทำา
พินัยกรรมถึงแก่ความตาย โดยจะต้องกระทำาตามแบบที่กฎหมายกำาหนดอย่างเคร่งครัด
2. การสอบข้อเท็จจริงในการทำาพินัยกรรม ผูร้ ่างจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวผู้ทำา
พินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรม และบุคคลที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อนำามากำาหนดเป็นข้อความในพินัยกรรมได้ตรงตามเจตนา
และวัตถุประสงค์ของผู้ทำาพินัยกรรมและเงื่อนไขของพินัยกรรมตามที่กฎหมายกำาหนดไว้
3. วิธรี ่างพินัยกรรมจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและแบบที่กฎหมายกำาหนดไว้อย่างเคร่งครัด โดยผู้ร่างจะต้องนำาข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับตัวผู้ทำาพินัยกรรม ผูร้ ับพินัยกรรม และบุคคลที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อนำามากำาหนดเป็นข้อความในพินัยกรรมได้
ตรงตามเจตนาและวัตถุประสงค์ของผูท้ ำาพินัยกรรมและเงื่อนไขของพินัยกรรมตามที่กฎหมายกำาหนดไว้
4. บทบัญญัติของกฎหมายเรื่องพินัยกรรม เป็นบทบัญญัติที่มุ่งรักษาประโยชน์ของผู้ทำาพินัยกรรมยิ่งกว่านิติกรรมประเภท
อื่น เนื่องจากผลบังคับของพินัยกรรมเกิดขึ้นหลังจากผู้ทำาพินัยกรรมถึงแก่ความตายแล้ว จึงไม่อาจมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
หรืออธิบายความเป็นมาหรือความหมายให้บุคคลอื่นเข้าใจเช่นนิติกรรมทั่วไป ซึ่งผู้ทำานิติกรรมยังมีชีวิตอยู่ได้ ผูร้ ่าง
พินัยกรรมจึงจำาเป็นต้องระมัดระวังในเรื่องรูปแบบ เงื่อนไข ตลอดจนวิธีการทำาพินัยกรรมอย่างเคร่งครัด
พินัยกรรมแบ่งเป็น 6 ประเภทดังนี้
1. พินัยกรรมที่เขียนเองทั้งฉบับ เป็นเอกสารที่ผู้ทำาพินัยกรรมได้เขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ ข้อความที่ผู้ทำา
พินัยกรรมเขียนไว้จะต้องเป็นข้อความที่กำาหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนว่าจะให้มีการจำาหน่ายทรัพย์สินของ
ตนตามพินัยกรรมอย่างใด ผูท้ ำาจะต้องวันเดือนปีที่ทำาพินัยกรรม ต้องลงลายมือชื่อของตน และไม่จำาเป็นต้องมีพยานรับรอง
2. พินัยกรรมแบบธรรมดา ต้องทำาเป็นหนังสือ ลงวันเดือนปีที่ทำา ลงสถานที่ทำาด้วยก็ได้ ข้อความในพินัยกรรมนั้นผู้ทำา
พินัยกรรมไม่จำาเป็นต้องเขียนหรือพิมพ์เอง อาจให้ผู้อื่นเขียนหรือให้ผู้อื่นพิมพ์ตามเจตนาของผู้ทำาพินัยกรรมก็ได้ ผู้ทำา
พินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนที่อยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น และพยานต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือ
ชื่อของผู้ทำาพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นพร้อมกัน
3. พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง พนักงานเจ้าหน้าที่เขตหรืออำาเภอเมื่อได้จดข้อความตามที่ผู้ทำาพินัยกรรมแจ้งให้ทราบลงไว้
ในเอกสาร และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำาพินัยกรรมฟังแล้วถูกต้องตรงกับที่ผู้ทำาพินัยกรรมได้แจ้งไว้ ผูท้ ำาพินัยกรรมและ
พยานก็จะลงลายมือชื่อในพินัยกรรมนั้นต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่เขตหรืออำาเภอ แล้วพนักงานจะลงลายมือชื่อ วันเดือนปี
และจดบันทึกลงไว้ในพินัยกรรมนั้นว่าได้ทำาขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติของปพพ. ม. 1658 1 – 3 แล้วประทับตรา
ตำาแหน่งไว้
4. พินัยกรรมเอกสารลับ ผูจ้ ัดทำาพินัยกรรมจะลงลายมือชื่อในพินัยกรรมนั้น ปิดผนึกแล้วลงลายมือชื่อทาบรอยปิดผนึก
แล้วนำาพินัยกรรมที่ปิดผนึกนั้นไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เขตหรืออำาเภอ พร้อมด้วยพยานอีกอย่างน้อย 2 คน โดยให้
ถ้อยคำาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าพินัยกรรมเป็นของตน ถ้าผู้ทำาไม่ได้เขียนเองตลอด ผูท้ ำาจะต้องแจ้งชื่อและที่อยู่ของผู้เขียน
หรือพิมพ์พินัยกรรมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบด้วย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้นำาพินัยกรรมใส่ซองแล้วก็จะประทับตรา
ตำาแหน่งหน้าที่แล้วลงลายมือพร้อมลงลายมือชื่อพร้อมกับผู้ทำาพินัยกรรมบนซองพินัยกรรมลับ จากนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่
จะเก็บพินัยกรรมลับนั้นไว้ในความครอบครองของทางราชการ
5. พินัยกรรมทำาด้วยวาจา ในกรณีที่ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม บุคคลนั้นมีความ
ประสงค์จะทำาพินัยกรรมแต่ไม่สามารถทำาเป็นหนังสือได้ จึงทำาด้วยวาจาแสดงเจตนากำาหนดข้อความในพินัยกรรมต่อ
พยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ทีน่ ั้น หลังจากนั้นพยานสองคนต้องไปแสดงเจตนาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เขตหรือ
อำาเภอโดยเร็ว และแจ้งข้อความที่ผู้ทำาพินัยกรรมสั่งไว้ด้วยวาจา ทั้งแจ้งวันเดือนปี สถานที่ทำาพินัยกรรมและพฤติการณ์
พิเศษนั้น พินัยกรรมแบบนี้ทำาขึ้นเป็นกรณีพิเศษผู้ทำาพินัยกรรมมิได้ลงลายมือชื่อด้วยตนเองฉะนั้นความสมบูรณ์ของ
พินัยกรรมจึงมีระยะเวลาเพียง 1 เดือนนับแต่เวลาที่ผู้ทำาพินัยกรรมกลับมาสู่ฐานะที่จะทำาพินัยกรรมตามแบบอื่นได้
- การสอบข้อเท็จจริงในการทำาพินัยกรรม ผู้ร่างจะต้องสอบข้อเท็จจริงทั้งปวงของผูท้ ำาพินัยกรรม เพื่อทราบข้อสาระสำาคัญ
ที่จะเป็นประโยชน์ในการร่างพินัยกรรมให้ตรงกับเจตนาและวัตถุประสงค์ของผู้ทำาพินัยกรรม โดยเสนอข้อเท็จจริงต่อไปนี้
1. ข้อเท็จจริงทั่วไปเกี่ยวกับผู้ทำาพินัยกรรม
2. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแบ่งปันทรัพย์มรดก
3. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม เช่น การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
4. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตัดมิให้รับมรดก
5. ข้อเท็จจริงอื่นทั่วไปซึ่งไม่เกี่ยวกับการจำาหน่ายมรดก เช่น ข้อความเกี่ยวกับการจัดทำาศพ ค่าใช้จ่ายในการปลงศพ
6. กรณีเป็นพินัยกรรมก่อตั้งมูลนิธิ ต้องสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเจตนาและวัตถุประสงค์ของมูลนิธิที่จะต้องตั้งขึ้น และการ
ตกทอดไปแห่งทรัพย์สินในกรณีที่ไม่อาจก่อตั้งมูลนิธขิ ั้นได้สำาเร็จ
7. กรณีพินัยกรรมตั้งผู้ปกครองทรัพย์ จะต้องสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะตกได้แก่ผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถ
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถ และผู้ปกครองทรัพย์ตามพินัยกรรม
8. สอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพยานในพินัยกรรม
- การร่างพินัยกรรมมีวิธีการคล้ายคลึงกับการร่างสัญญาทั่วไป แต่เนื่องจากพินัยกรรมมีเงื่อนไขและรูปแบบที่กฎหมาย
กำาหนดไว้เคร่งครัดมากกว่าสัญญาทั่วไป ผู้ร่างจึงจำาต้องนำาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ได้รับมาจากผู้ทำาพินัยกรรมมาประมวลขึ้น
เป็นพินัยกรรมตามลำาดับ แล้วสอบทานกับข้อกฎหมายตามที่บัญญัติไว้เกี่ยวกับเรื่องพินัยกรรมในประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ ลักษณะ 3 ตั้งแต่หมวด 1 ถึงหมวด 6 โดยจะต้องพิจารณาว่าถ้อยคำาในพินัยกรรมจะต้องเป็นคำาสั่งของผู้ตาย
เกี่ยวกับทรัพย์สิน พิจารณาความสามารถของผู้ทำาพินัยกรรม ความสามารถของผู้รับพินัยกรรม ข้อกำาหนดเกี่ยวกับ
ทรัพย์สินที่ยกให้ตามพินัยกรรม การเรียงลำาดับข้อความในพินัยกรรม การลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ความถูกต้องของ
พยานพินัยกรรม ผูเ้ ขียนหรือพิมพ์พินัยกรรม และจะต้องสอบทานความถูกต้องเมื่อร่างพินัยกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว
- พยานในพินัยกรรมจะต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะทั้งโดยอายุครบ 20 ปีบริบรู ณ์และโดยการสมรส การลงลายมือชื่อ
ของพยานในพินัยกรรมจะใช้วิธีพิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อไมได้ นอกจากนี้พยานในพินัยกรรมรวมตลอดถึงคู่
สมรสของผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้
- ผูท้ ำาพินัยกรรมจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคลไม่สามารถจะทำาพินัยกรรมได้ นอกจากนี้ผู้ทำาพินัยกรรมจะ
ต้องมีอายุไม่ตำ่ากว่า 15 ปีบริบรู ณ์ ทั้งในขณะทำาพินัยกรรมจะต้องมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือ
บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

หน่วยที่ 4 การทำานิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน การจดทะเบียน หุน้ ส่วนบริษัท สิทธิบัตร และการเสียภาษีอากร


แนวคิด
1. การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ต้องดำาเนินตามกฎหมาย ได้แก่ ปพพ. ประมวล
กฎหมายที่ดิน และระเบียบของกรมที่ดิน
2. การดำาเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำากัด ต้องปฏิบัติตาม ปพพ.
3. การขอรับสิทธิบัตร คือการขอรับความคุ้มครองสำาหรับการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามที่
กฎหมายกำาหนด ซึ่งผู้ขอรับสิทธิบัตรจะต้องเป็นบุคคลที่มีสิทธิขอรับสิทธิบัตรตามกฎหมาย และการขอรับสิทธิบัตรจะต้อง
เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำาหนด
4. การเสียภาษีอากรจากเงินรายได้ของบุคคลธรรมดา นิติบุคคล และภาษีการค้า ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย อัน
ได้แก่ประมวลรัษฎากร

4.1 การทำานิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน
แนวคิด
1. การทำานิติกรรมที่เกี่ยวกับที่ดินนั้น มีกฎหมายวางหลักเกณฑ์ไว้ คือ ปพพ. ประมวลกฎหมายที่ดิน และระเบียบของกรม
ที่ดิน
2. ปพพ. และประมวลกฎหมายที่ดินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนที่ดิน มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกัน กล่าวคือ
ปพพ.เป็นกฎหมายที่กำาหนดว่าอะไรบ้างที่จะต้องดำาเนินการจดทะเบียน ส่วนประมวลกฎหมายที่ดินเป็นกฎหมายที่อธิบาย
ถึงวิธีการจดทะเบียนที่ดิน ตลอดจนกำาหนดบุคคล สถานที่ที่จะดำาเนินการจดทะเบียนที่ดิน นอกจากนี้ยังมีระเบียบของกรม
ที่ดิน เพื่อให้การจดทะเบียนที่ดินดำาเนินไปโดยสะดวก รวดเร็วและถูกต้อง
3. การจดทะเบียนที่ดินต้องจดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และสถานที่ที่กฎหมายและระเบียบได้กำาหนดไว้
4. การจดทะเบียนที่ดินจะมอบให้ผู้อื่นกระทำาแทนได้ แต่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบที่กฎหมายกำาหนดไว้โดยเฉพาะ

4.2 การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำากัด
แนวคิด
1. การประกอบธุรกิจการค้ามีได้ทั้งในลักษณะเป็นร้านค้าธรรมดาซึ่งเพียงแต่จดทะเบียนพาณิชย์และ/หรือ ทะเบียนการค้า
แล้วแต่กรณี และในลักษณะเป็นนิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัท ห้างหุ้นส่วนนั้นจะจดทะเบียนหรือไม่
ก็ได้ แต่บริษัทจำากัดและบริษัทมหาชนจำากัดนั้นต้องจดทะเบียน
2. การประกอบธุรกิจการค้าเป็นห้างหุ้นส่วนและบริษัท มีพื้นฐานเบื้องต้นเพื่อการร่วมลงทุนลงแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ห้างหุน้ ส่วนจดทะเบียนและบริษัทต้องจดทะเบียนเพื่อก่อให้เกิดผลเป็น นิติบุคคลขึ้นมา มีขอบเขตความสามารถและวิธี
จัดการเป็นเอกเทศต่างหากจากบุคคลผู้เข้ามาร่วมกัน ทั้งยังก่อให้เกิดผลตามกฎหมายอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ผลทางด้านภาษี
อากร ฯลฯ
3. ห้างหุน้ ส่วนและบริษัทซึ่งจะต้องจดทะเบียนนั้น ขัน้ ตอนและวิธีปฏิบัติในการจดทะเบียนจะต้องให้ถูกต้องตามที่
กฎหมายบัญญัติไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้การจดทะเบียนจัดตั้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเลิก ห้างหุ้นส่วนและบริษัท เป็นไปโดย
สมบูรณ์ ถูกต้องเรียบร้อยและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ผลในเบื้องต้นของการจดทะเบียนซึ่งมีการประกาศโฆษณาใน
หนังสือราชกิจจานุเบกษาจะสามารถใช้บังคับได้เป็นการทั่วไป

- ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำากัด เป็นองค์กรธุรกิจการค้าภาคเอกชน กฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวแก่หา้ งหุ้นส่วนและบริษัท


จำากัดโดยตรง ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ ห้างหุ้นส่วน
สามัญ (ม.1025) ซึ่งจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ห้างหุน้ ส่วนสามัญที่จดทะเบียน (ม. 1064) เรียกว่าห้างหุ้นส่วน
สามัญนิติบุคคล จะมีสภาพเป็นนิติบุคคล ประเภทที่สองคือ ห้างหุ้นส่วนจำากัด ต้องจดทะเบียน (ม. 1078) และประเภท
สุดท้าย คือ บริษัทจำากัด ซึ่งจะต้องจดทะเบียน โดยต้องจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อน จึงดำาเนินการจดทะเบียนเป็น
บริษัทจำากัดต่อไป (ม. 1099 ประกอบมาตรา 1111)
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำากัดนั้น อาจแบ่งแยกประเภทตามลักษณะของการจดทะเบียนได้เป็น 4 ประเภท
คือ
1. การจดทะเบียนจัดตั้ง ได้แก่การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (ม. 1064) ห้างหุ้นส่วนจำากัด (ม.
1078) และบริษัทจำากัด ซึ่งต้องจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อน (ม. 1099 ประกอบมาตรา 1111) การจด
ทะเบียนจัดตั้งนี้ต้องมีรายการจดทะเบียนตามที่กฎหมายได้กำาหนดไว้ด้วย
2. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหรือการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลง เป็นการจดทะเบียนตามม. 1016 วรรคสอง ซึ่ง
ภายหลังการจดทะเบียนจัดตั้งดังกล่าวแล้ว ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน เช่น เปลี่ยนชื่อห้าง ย้ายสถานที่ตั้ง
สำานักงานใหญ่ เปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน เหล่านี้จะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการจดทะเบียนเดิม
ให้ถูกต้องตามความจริงด้วย
3. การจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำากัด เมื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำากัดเลิกกัน จะเป็นการเลิกโดยผลของ
กฎหมาย หรือเลิกกันโดยความตกลงของผู้เป็นหุ้นส่วน หรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นก็ตาม ต้องจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน
หรือบริษัทจำากัด (ม. 1254)
4. การจดทะเบียนเสร็จการชำาระบัญชี ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำากัดเมื่อเลิกกันแล้ว ต้องมีการชำาระบัญชีของห้างหุ้นส่วน
หรือบริษัทจำากัดนั้น การชำาระบัญชี ได้แก่ การรวบรวมบรรดาทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำากัดเพื่อชำาระหนี้แก่
เจ้าหนี้ ถ้ามีทรัพย์สินคงเหลือก็แบ่งคืนทุนแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น เมื่อการชำาระบัญชีเสร็จสิ้นลง จะต้องจดทะเบียน
เสร็จการชำาระบัญชี ซึ่งถือว่าเป็นที่สุดแห่งการชำาระบัญชี (ม. 1270)
ในส่วนที่เกี่ยวกับผลของการการจดทะเบียนนั้น ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำากัด เมื่อได้จดทะเบียนแล้วมีสภาพเป็นนิติบุคคล
ต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น (ม. 1015) และการจด
ทะเบียนทุกประเภทดังกล่าวข้างต้น นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะแต่งย่อรายการจดทะเบียนไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือ
ราชกิจจานุเบกษา (ม.1021) เมื่อได้มีการโฆษณาแล้วถือว่าบรรดาเอกสารและข้อความที่จดทะเบียนอันได้กล่าวถึงใน
ย่อรายการนั้นเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไป ไม่ว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องด้วยห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นหรือไม่ (ม.1022) และการ
แก้ไขข้อความที่ได้จดทะเบียนประการหนึ่งประการใดในภายหลังก็ต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการจดทะเบียนเดิม (
ม. 1016)
- การตกลงเข้าหุ้นส่วนกันเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนจำากัดก็ตาม กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำา
เป็นหนังสือ และไม่ได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานแสดงถึงความตกลงเป็นหนังสือ แต่ในการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น
มีเอกสารประกอบการจดทะเบียนฉบับหนึ่ง คือเอกสารรายการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน (แบบ ห.ส.2) เอกสารฉบับ
นี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตามที่กฎหมายกำาหนดไว้ (ม. 1064 , 1078) รวมทั้งผู้เป็นหุ้นส่วนทุก
คนของห้างได้ลงลายมือชื่ออยู่ด้วย ดังนัน้ ข้อความที่ปรากฏในรายการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนี้ถือเป็นข้อตกลงของ
ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนได้ เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนได้ลงลายมือชื่อรับรองไว้ดังกล่าวแล้ว
และนับแต่จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเป็นต้นไป รายการจดทะเบียนแต่ละรายการอาจมีการเปลี่ยนแปลงในคราวต่อมา
ได้ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิม ทำาให้รายการที่จดทะเบียนไว้แต่เดิมต้องเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีการ
เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับผูเ้ ป็นหุ้นส่วน โดยหุ้นส่วนบางคนอาจออกจากห้างไป บางคนเข้าเป็นหุ้นส่วนใหม่ การเปลี่ยนแปลง
รายการจดทะเบียนต่าง ๆ เหล่านี้จะกระทำาได้ก็โดยความตกลงของผู้เป็นหุน้ ส่วนเดิมทุกคน รวมทั้งผู้เป็นหุ้นส่วนใหม่ (ถ้า
มี) ความตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนนี้กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำาเป็นหนังสือ และไม่ได้บังคับว่า
ต้องมีหลักฐานแสดงถึงความตกลงเป็นหนังสือ เช่นเดียวกับความตกลงเพื่อจัดตั้งห้างหุ้นส่วนดังกล่าวข้างต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายการที่มีการจดทะเบียนอยู่แต่เดิม ก็จะต้องมีการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหรือการ
จดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพื่อให้รายการจดทะเบียนนั้นถูกต้องตามความจริงด้วย อันเป็นการจดทะเบียนตามมาตรา
1016 วรรคสอง
การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหรือการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น ทางราชการกำาหนดให้มีเอกสารที่แสดงให้เห็นถึง
ข้อตกลงต่าง ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนเป็นเอกสารประกอบการจดทะเบียน เอกสารนี้คือสัญญาหุน้ ส่วนแก้ไข
เพิ่มเติม ดังนั้นในการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม (เปลี่ยนแปลง) รายการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วน จึงต้องแนบสัญญา
หุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งต้องระบุข้อความที่เปลี่ยนแปลงใหม่ให้ชัดเจน และผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนรวมทั้งผู้เป็นหุ้นส่วน
ใหม่ (ถ้ามี) ต้องลงลายมือชื่อไว้ประกอบการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมด้วย
ในส่วนที่เกี่ยวกับสาระสำาคัญในสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม นอกจากจะต้องมีรายละเอียดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับข้อตกลง
ต่าง ๆ แล้ว สาระสำาคัญอื่น ๆ อันพึงมีปรากฏในสัญญานี้ คือชื่อของสัญญา วันที่ที่สัญญาได้ทำาขึ้น สถานที่ทำาสัญญา
ข้อความที่แสดงให้เห็นว่าเป็นข้อสัญญาของผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วน (ทั้งที่มีอยู่แต่เดิมและที่เข้าใหม่) ข้อความที่
แสดงให้เห็นว่ารายการจะทะเบียนอื่นที่มิได้ตกลงให้แก้ไขเพิ่มเติมนั้นย่อมเป็นไปตามข้อสัญญาเดิมตามที่ได้จดทะเบียนไว้
วันที่ที่สัญญามีผลใช้บังคับ และในประการสุดท้าย นอกจากหุ้นส่วนผู้เกี่ยวข้องทุกคนต้องลงลายมือชื่อในสัญญาแล้ว ควรมี
รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ อายุ ที่อยู่ของพยาน และให้พยานลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาด้วย อนึ่งสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม
ต้องปิดอากรแสตมป์จำานวน 50 บาท
- การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำากัดตามปพพ. นัน้ ต้องจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนจึงดำาเนินการจดทะเบียนจัด
ตั้งบริษัทจำากัดต่อไป (ม. 1099 ประกอบม. 1111)
เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิเรียบร้อยแล้ว ผู้เริ่มก่อการคนใดคนหนึ่งจะออกหนังสือนัดประชุมจัดตั้งบริษัท
จำากัด โดยกำาหนด วัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุม ส่งไปยังบรรดาผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นของบริษัททุกคนก่อนวัน
ประชุมอย่างน้อย 7 วัน (ไม่นับรวมวันที่ออกหนังสือและวันทีน่ ัดประชุม) ตามม. 1107 ระเบียบวาระการประชุมใน
หนังสือนัดประชุมจะต้องกำาหนดกิจการอันจะพึงกระทำาในที่ประชุมตั้งบริษัทตามม. 1108 และในกรณีที่บริษัทมีหุ้น
สามัญซึ่งออกให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินจนเต็มมูลค่าแล้ว หรือได้ใช้แต่บางส่วนแล้ว เพื่อแทนคุณแรงงาน หรือตอบแทน
ทรัพย์สินอย่างใดก็จะต้องกำาหนดไว้ในระเบียบวาระพิจารณาเรื่องหุ้นในหนังสือนัดประชุมให้ชัดเจนด้วย อนึ่ง ผู้เริ่ม
ก่อการต้องส่งสำาเนาหนังสือนัดประชุมดังกล่าวข้างต้นไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนโดยเสียงข้างมาก และมีคะแนนเสียงไม่
น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำานวนหุ้นทั้งหมด อีกทั้งผู้เริ่มก่อการหรือผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นจัดตั้งบริษัทได้สำาเร็จลงแล้ว ผู้เริ่มก่อการ
ต้องมอบกิจการทั้งหมดของบริษัทให้แก่คณะกรรมการที่ได้รับเลือกตั้ งจากที่ประชุมจัดตั้งบริษัท และกรรมการจะเรียกให้ผู้
เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทั้งหลายใช้เงินค่าหุ้นตามที่แต่ละคนถืออยู่ (ม.1110,1111) แล้วจึงไปดำาเนินการขอจด
ทะเบียนจัดตั้งบริษัทภายใน 3 เดือนนับแต่วันประชุมจัดตั้งบริษัท (ม. 1112) มิฉะนัน้ แล้วจะต้องดำาเนินการนัดประชุม
เพื่อจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่ แล้วดำาเนินการตามขั้นตอนตามความที่กล่าวมาแล้วทุกประการ ซึ่งหนังสือบริคณห์สนธิที่ได้จด
ทะเบียนไว้ยังคงใช้ได้ ไม่เสียไป
นอกจากนี้ในการยื่นคำาขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จะต้องมีรายงานการประชุมจัดตั้งบริษัทเพื่อแสดงรายละเอียดการ
ประชุมอันเกี่ยวกับรายการที่ขอจดทะเบียนแนบเป็นเอกสารประกอบการขอจดทะเบียนด้วย

4.3 การขอรับสิทธิบัตร
แนวคิด
1. สิทธิบัตร คือหนังสือสำาคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยผู้ทรงสิทธิบัตรจะมีสิทธิ
เด็ดขาดในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบที่ได้รับสิทธิบัตรชั่วระยะเวลาหนึ่ง ทั้งนี้การประดิษฐ์
หรือการออกแบบนั้นจะต้องมีลักษณะตามที่กฎหมายกำาหนด และผ่านการพิจารณาและอนุมัติจากกรมทะเบียนการค้า
2. บุคคลที่มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร ได้แก่บุคคลประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้
ก. ผูป้ ระดิษฐ์หรือผู้ออกแบบหรือทายาทของบุคคลดังกล่าว
ข. นายจ้าง หรือผู้ว่าจ้าง หน่วยราชการ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
ค. ผูร้ ับโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตรจากบุคคลอื่น
3. คำาขอรับสิทธิบัตรมี 2 ประเภท คือ คำาขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ และคำาขอรับสิทธิบัตร การออกแบบผลิตภัณฑ์
คำาขอรับสิทธิบัตรทั้ง 2 ประเภทมีส่วนประกอบแตกต่างกัน
4. การยืน่ คำาขอรับสิทธิบัตรและขัน้ ตอนการพิจารณาออกสิทธิบัตร ทั้งในกรณีที่เป็นคำาขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และ
คำาขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีวิธีการและขั้นตอนคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่

- รายละเอียดการประดิษฐ์จะต้องสมบูรณ์ รัดกุม และชัดแจ้งพอที่จะทำาให้ผู้ชำานาญระดับสามัญในศิลปะหรือวิทยาการที่


เกี่ยวข้องสามารถทำาและปฏิบัติตามการประดิษฐ์นั้นได้ และจะต้องระบุวิธีการประดิษฐ์ที่ดีที่สุดที่ผู้ประดิษฐ์จะพึงทราบ
ด้วย ในทางปฏิบัติ รายละเอียดจะต้องระบุชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์และรายละเอียดอื่น ๆ เช่น อธิบายลักษณะและความ
มุ่งหมายของการประดิษฐ์ ระบุสาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์เป็นต้น
- การยื่นคำาขอรับสิทธิบัตร จะต้องยื่นคำาขอนั้นพร้อมทั้งค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำาหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจ
ทำาได้ 2 วิธี คือ นำาไปยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือส่งคำาขอดังกล่าวโดยทาง
ไปรษณีย์ลงทะเบียน ถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์

4.4 การเสียภาษีอากร
แนวคิด
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้
ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี และกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง โดยเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีนั้น ได้แก่ เงินได้พึงประเมินที่ได้
รับ
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีนั้นมีทั้งเงินได้ที่
เกิดจากการประกอบกิจการและเงินได้ที่ได้มาเนื่องจากการประกอบกิจการ
3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการค้า ได้แก่ ผู้ประกอบการค้า โดยสิ่งที่จะต้องเสียภาษีนั้น ได้แก่ รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ
4. วิธีเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้านั้นมี 3 วิธี ได้แก่ วิธีประเมินตนเอง วิธีหักภาษี ณ
ที่จ่าย และวิธีประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
5. ตราสารใดต้องเสียอากรแสตมป์และผู้ใดเป็นผู้เสียย่อมเป็นไปตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์
6. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้าและอากรแสตมป์อาจได้รับยกเว้นไม่ต้องเสีย
ภาษี
- การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 3 วิธี ได้แก่
1. วิธีประเมินตนเองซึ่งแบ่งออกเป็นการเสียภาษีเงินได้ประจำาปี การเสียภาษีเงินได้กลางปีและการเสียภาษีเงินได้เหมาเป็น
งวด
2. วิธหี ักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งแบ่งออกเป็นการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรและการหักภาษี ณ ทีจ่ ่าย
ตามคำาสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรที่ออกโดยอาศัยอำานาจตามความในมาตรา 3 เตรส ของประมวลรัษฎากร
3. วิธีประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งแบ่งออกเป็นการประเมินก่อนถึงกำาหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการ การ
ประเมินภายหลังกำาหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการ การประเมินโดยวิธีกำาหนดจำานวนเงินได้สุทธิและการประเมินจาก
หนังสือสำาคัญ
- ผูม้ ีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่
1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามที่เข้าใจกันอยู่ทั่วไป อันได้แก่บริษัทจำากัด บริษัทมหาชนจำากัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ
นิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำากัด
2. กิจการซึ่งดำาเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำาไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคล
อื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
3. กิจการร่วมค้า
4. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้
5. นิติบุคคลที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำาหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้น
ส่วนนิติบุคคล และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
- การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยวิธีประเมินตนเอง แบ่งออกเป็น 3 วิธีด้วยกัน คือ วิธีเสียจากกำาไรสุทธิ วิธีเสียจากรายได้
ก่อนหักรายจ่าย และวิธเี สียจากการจำาหน่ายเงินกำาไร ส่วนวิธีหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น มีทั้งการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามประมวล
รัษฎากร และตามคำาสั่งของอธิบดีกรมสรรพากร ส่วนวิธีประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมินนั้น แบ่งออกเป็นการประเมิน
ก่อนถึงกำาหนดเวลายื่นรายการ การประเมินเนื่องจากแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่สมบูรณ์
การประเมินเนื่องจากไม่ยื่นรายการ และการประเมินเนื่องจากการไม่ทำาบัญชี หรือทำาไม่ครบตามที่ประมวลรัษฎากรหรือ
อธิบดีกรมสรรพากรได้กำาหนดไว้
- ผูม้ ีหน้าที่เสียภาษีการค้า ได้แก่
1. ผู้ประกอบการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้า เช่น ผูใ้ ห้เช่าสังหาริมทรัพย์
2. ผู้ที่ประมวลรัษฎากรหรืออธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบการ
ค้า เช่น ผูน้ ำาเข้าในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าไม่ว่าเพื่อการใด ๆ
- วิธีเสียภาษีการค้ามี 3 วิธีได้แก่
1. วิธีประเมินตนเอง ซึ่งผู้ประกอบการค้ามีหนาที่ยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชำาระภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากร
กำาหนด (แบบ ภ.ค. 40) ทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้นหรือไม่ก็ตาม อย่างไร
ก็ตาม มีผู้ประกอบการค้าบางรายต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำาระภาษีในวันอื่น
2. วิธหี ักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งกำาหนดให้เฉพาะผู้จ่ายเงินบางกรณีเท่านั้นที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำาส่ง ณ ที่วา่ การ
อำาเภอท้องที่ภายใน 7 วัน ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินนั้น
3. วิธีประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งให้อำานาจเจ้าพนักงานประเมิน ประเมินเรียกเก็บภาษีการค้า พร้อมเบี้ยปรับและ
เงินเพิ่มจากผู้ประกอบการค้าที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือยื่นแล้วแต่ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทำาให้จำานวน
ภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป
- ตราสารที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ ได้แก่ ตราสารที่ระบุไว้ในอัตราอากรแสตมป์ช่องที่ 1 ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 28 ลักษณะ
ด้วยกัน
- ตราสารที่ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์มีผลในแง่พยานหลักฐาน คือ จะใช้ต้นฉบับ คูฉ่ บับ หรือสำาเนาตราสารนั้นเป็นพยาน
หลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำานวนตามอัตราในบัญชีอัตราอากรแสตมป์และขีดฆ่า
แล้ว
หน่วยที่ 5 การเตรียมคดี
แนวคิด
1. การดำาเนินคดีจะเกิดผลสำาเร็จตามความมุ่งหมายถ้าได้มีการเตรียมคดีไว้อย่างรอบคอบโดยละเอียดทุกแง่มุมของคดี ทั้ง
ในด้านข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง
2. การเตรียมคดีแพ่งในฐานะโจทก์ ทนายความต้องดำาเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การสอบข้อมูลเบื้องต้น การรวบรวม
พยานหลักฐานทีเ่ กี่ยวข้องกับคดี การพิจารณาอำานาจฟ้องของโจทก์ การหาตัวผู้รับผิด การพิจารณาเขตอำานาจศาลที่จะรับ
ฟ้อง การกำาหนดค่าทนายความ และการคำานวณค่าใช้จ่ายในการดำาเนินคดี
3. การเตรียมคดีแพ่งในฐานะจำาเลย ทนายความต้องดำาเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การตรวจคำาฟ้อง ประเด็นที่ฟ้อง การ
สอบข้อมูลที่ถูกต้องและการวางแผนต่อสู้คดี การพิจารณารับหรือไม่รับดำาเนินคดีและการคำานวณค่าใช้จ่ายในการดำาเนิน
คดี
4. การเตรียมคดีอาญาในฐานโจทก์ ทนายความต้องดำาเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การสอบข้อมูลเบื้องต้น การหาพยาน
หลักฐานในคดี การพิจารณาฐานความผิด การพิจารณาอำานาจฟ้องของโจทก์ การหาตัวผู้รับผิด การพิจารณาเขตอำานาจศาล
ที่จะรับฟ้อง การกำาหนดค่าทนายความ และการคำานวณค่าใช้จ่ายในการดำาเนินคดี
5. การเตรียมคดีอาญาในฐานะจำาเลย ทนายความต้องดำาเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การตรวจคำาฟ้อง ประเด็นที่ฟ้อง การ
สอบข้อมูลที่ถูกต้อง การวางแผนต่อสู้คดี และการคำานวณค่าใช้จ่ายในการดำาเนินคดี

5.1 การเตรียมคดีแพ่งในฐานะโจทก์
แนวคิด
1. การตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น ควรตรวจสอบที่มาของคดี เจตนาในการฟ้อง และแนวทางประนีประนอมยอมความ
2. การรวบรวมพยานหลักฐาน ทนายความต้องรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดี โดยเฉพาะพยานบุคคล พยาน
เอกสาร และพยานวัตถุ
3. ผู้ที่จะเป็นโจทก์ฟ้องคดีได้ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำาหนดไว้
4. ผู้ที่จะถูกฟ้องให้เป็นจำาเลยในคดี ได้แก่ผู้ที่ต้องรับผิดโดยตรง และผู้ที่ต้องร่วมรับผิด
5. การจะยื่นฟ้องต้องพิจารณาเขตศาลและอำานาจศาล เพื่อจะได้ยื่นฟ้องให้ถูกต้อง
6. ทนายความอาจรับหรือไม่รับดำาเนินคดีก็ได้ หากรับดำาเนินคดีควรตกลงเรื่องค่าทนายความให้เรียบร้อย
7. ค่าใช้จ่ายในการดำาเนินคดีแพ่งในฐานะโจทก์ ได้แก่ค่าขึ้นศาล ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ค่าป่วยการต่าง ๆ และค่าใช้จ่ายพิเศษ
- การนำาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายสู่กระบวนพิจารณาของศาลมี 5 วิธีคือ
1. โดยพยานหลักฐาน แบ่งได้เป็น 4 กรณีคือ
- พยานบุคคล คือคำาให้การของบุคคลที่ให้การด้วยวาจาต่อศาล หรือพนักงานเจ้าหน้าที่
- พยานเอกสาร คือข้อความใดที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร หรือรูปรอยที่ให้แทนคำาพูด เพื่อเข้าใจความหมาย
- พยานวัตถุ คือสิ่งใด ๆ ที่สามารถให้ศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเพื่อให้ข้อเท็จจริงยืนยันเป็นประโยชน์ต่อการ
พิจารณาคดี
• พยานชั้นหนึ่ง หมายถึง พยานหลักฐานที่ดีที่สุดที่จะพึงมีหรือหาได้สำาหรับการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีนั้น ๆ
• พยานชั้นสอง หมายถึง พยานอื่นนอกจากพยานชั้นหนึ่ง
• พยานโดยตรง หมายถึง พยานหลักฐานใด ๆ ที่บ่งชี้ถึงข้อเท็จจริงที่มีอยู่อย่างชัดเจน โดยไม่ต้องอาศัยพยานหลักฐานอื่น
• พยานเหตุผลหรือพยานแวดล้อมกรณีนนั้ หมายถึง พยานหลักฐานที่ต้องเชื่อมโยงกับพยานหลักฐานอืน่ หรือพยานชนิด
อื่น
• ประจักษ์พยาน ถือเป็นพยานชั้นหนึ่งที่รู้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตาตนเอง
• พยานบอกเล่า ตามปกติศาลจะไม่รับฟังเข้ามาสู่กระบวนพิจารณาของศาล แต่มีข้อยกเว้นบางประการที่กฎหมายอนุญาต
ให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าได้
2. โดยข้อสันนิษฐานของกฎหมาย หมายถึง ข้อเท็จจริงที่โต้เถียงกันในศาล ในบางกรณีกฎหมายกำาหนดข้อสันนิษฐานไว้
เป็นคุณต่อคูค่ วามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งจะถือประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนั้นเป็นประโยชน์ในคดีของตนได้ คู่
ความฝ่ายที่จะรับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานเพียงแต่พิสูจน์ว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่จะได้ประโยชน์จากข้อ
สันนิษฐานก็ถือว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นไปตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
3. โดยศาลรับรู้เอง แยกได้ดังนี้
- ข้อกฎหมาย หมายถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ของประเทศไทย ซึ่งคู่ความที่อ้างไม่จำาเป็นต้องนำาสืบ
- ข้อเท็จจริงที่ศาลรับรู้เอง เช่น ถ้อยคำาภาษาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นไปของบ้านเมือง
4. โดยศาลตรวจเห็นเอง คือพยานเอกสารและพยานวัตถุที่คู่ความนำาสืบและส่งต่อศาล
5. โดยคู่ความรับกันหรือถือว่าได้รับกัน การรับข้อเท็จจริงในศาลอาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีคือ
- กรณีที่รับกันโดยชัดแจ้ง หมายถึง ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกล่าวอ้างและอีกฝ่ายแถลงรับกันไว้โดยชัดเจนใน
เอกสารหรือคำาคู่ความหรือในรายงานกระบวนพิจารณาของศาล ซึ่งถือว่าข้อเท็จจริงนั้นรับฟังเป็นยุติ
- กรณีที่ถือว่าได้รับกัน หมายถึง ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกล่าวอ้างและอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ปฏิเสธ ต้องถือว่าการที่
มิได้ปฏิเสธนั้นเป็นการรับข้อเท็จจริงที่ตนมิได้ปฏิเสธนั้นแล้ว
- ในการนำาสืบพิสูจน์ต่อศาลตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แบ่งชนิดของพยานได้ดังนี้
1. พยานบุคคล
2. พยานเอกสาร
3. พยานวัตถุ (วัตถุพยาน)
- โจทก์ที่จะมีอำานาจฟ้องได้ต้อง
1. ต้องมีสภาพเป็นบุคคล
2. มีการโต้แย้งสิทธิหรือมีความจำาเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาล
3. ต้องมีความสามารถตามกฎหมาย
- ที่เป็นจำาเลยหรือผู้ต้องรับผิดตามฟ้องของโจทก์ความพิจารณาดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่ต้องรับผิดโดยตรง คือ ผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่โจทก์โดยตรง เป็นผู้ที่กระทำาการหรืองดเว้นกระทำาการซึ่งมีผลกระ
ทบกระเทือนถึงสิทธิและหน้าที่ของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย สูญเสียประโยชน์ที่มีอยู่โดยชอบด้วย
กฎหมาย
2. ผู้ที่จะต้องร่วมรับผิด คือ บุคคลที่มิได้กระทำาผิดสัญญา หรือกระทำาละเมิดโดยตรง หากแต่เป็นบุคคลที่กฎหมายบัญญัติ
ให้ต้องร่วมรับผิดกับผู้ผิดสัญญาหรือผู้กระทำาละเมิด
- ฐานะของจำาเลยในบางกรณีที่ห้ามมิให้โจทก์ฟ้องคดีแก่จำาเลยที่มีฐานะดังต่อไปนี้
1. จำาเลยที่ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
2. คดีอุทลุม คือ คดีทผี่ ู้สืบสันดานฟ้องบุพการี (อัยการสามารถฟ้องแทนได้)
3. กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติห้ามฟ้องไว้โดยเฉพาะ เช่น พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2517
- ประเภทของคดี แบ่งเป็น 1 ประเภท คือ
1. คดีเกี่ยวด้วยทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์ใดๆอันเกี่ยวกับทรัพย์คือคดีที่โจทก์มุ่งหมายจะบังคับเอากับทรัพย์ชิ้นใด
โดยเฉพาะ
2. คดีอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวด้วยทรัพย์ หรือสิทธิ หรือประโยชน์ใด ๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์ คือ คดีที่มุ่งหมายจะบังคับให้จำาเลย
กระทำาหรืองดเว้นกระทำาการอย่างใดอย่างหนึ่ง

- คดีที่ยื่นคำาฟ้องแยกได้ 4 ประเภท คือ


1. คำาฟ้องที่เกี่ยวด้วยทรัพย์ ศาลที่จะฟ้องคดีคือศาลที่ทรัพย์เหล่านั้นตั้งอยู่ในเขตศาลในเวลายืน่ ฟ้อง ยกเว้น ฟ้องต่อศาลที่
จำาเลยมีภูมิลำาเนาอยู่ในเขต หรือ ทรัพย์ที่ฟ้องตั้งอยู่ในเขตศาล 2 ศาลขึน้ ไป จะฟ้องศาลใดศาลหนึ่งก็ได้
2. คำาฟ้องที่ไม่เกี่ยวด้วยทรัพย์ แบ่งเป็น คดีมขี ้อพิพาท กับคดีไม่มีข้อพิพาท
- คดีมีข้อพิพาท คือ คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิในอันที่จะเรียกใครมาเป็นจำาเลย ศาลที่จะฟ้องคือศาลทีจ่ ำาเลยมีภูมิลำาเนาอยู่
ยกเว้น ฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น หรือ จำาเลยหลายคนมีภูมิลำาเนาในเขตศาลหลายศาล ให้ฟ้องยังศาลใดศาลหนึ่ง
- คดีไม่มีข้อพิพาท คือ คดีที่มิได้ฟ้องบังคับใคร จึงไม่มีตัวจำาเลย ผูร้ ้องจำาเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้กระทำาการอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ศาลที่จะฟ้องคดี คือศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น
3. คำาฟ้องเกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล ซึ่งเจ้าหนี้มีภูมิลำาเนาอยู่ในประเทศไทย ลูกหนี้มีภูมิลำาเนาอยู่ต่างประเทศ
- ต้องเป็นหนี้เหนือบุคคลคือหนี้อันเป็นบุคคลสิทธิ หาได้บังคับเอาแก่ตัวทรัพย์ใดโดยเฉพาะเจาะจงไม่
- เจ้าหนี้ต้องมีภูมิลำาเนาในประเทศไทย
- ลูกหนีจ้ ะต้องมิได้มีภูมิลำาเนาในประเทศไทยหากแต่เข้ามาในประเทศไทยชั่วคราว
ศาลที่รับฟ้องคดีคือศาลที่เจ้าหนี้มีภูมิลำาเนาอยู่ในเขตศาล หรือ ศาลที่พบตัวลูกหนีใ้ นเขตศาล
4. คำาฟ้องเกี่ยวกับคนสัญชาติไทยนอกประเทศ
- ต้องเป็นกรณีที่บัญญัติในหมวด 1 มิได้บังคับถึง คือต้องเป็นเรื่อง ปวพ.ว่าด้วยอำานาจศาลมิได้บังคับเป็นอย่างอื่น
- ต้องเป็นเรื่องระหว่างคนสัญชาติไทยต่อคนสัญชาติไทย
- ต้องยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นในกทม.
- ค่าใช้จ่ายในการดำาเนินคดี ได้แก่
1. ค่าขึ้นศาล
- คดีที่มีคำาขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำานวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นต้นตามจำานวนทุนทรัพย์ที่เรียก
ร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท
- คดีที่มีคำาขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำานวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำาหรับคดีทั่วไปรวมทั้งคดีไม่มีข้อ
พิพาทเรื่องละสองร้อยบาท
- คดีที่มีคำาขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำานวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำานวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน เสียค่า
ขึ้นศาลตามราคาทุนทรัพย์ที่ฟ้อง แต่ถ้าคำานวณค่าขึ้นศาลแล้วเป็นเงินน้อยกว่า 200 บาทโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200
บาท
- ค่าขึ้นศาลในอนาคต ถ้าโจทก์มีคำาขอให้ชำาระหนี้ในเวลาอนาคตรวมอยู่ด้วย
2. ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ
3. ค่าป่วยการต่าง ๆ ได้แก่ ค่าสืบพยานนอกศาล ค่าป่วยการและค่าพาหนะพยาน ค่ารังวัดทำาแผนที่ ค่าป่วยการและค่า
พาหนะในการส่งคำาคู่ความหรือเอกสาร
4. ค่าใช้จ่ายพิเศษ เช่น ค่าประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

5.2 การเตรียมคดีแพ่งในฐานะจำาเลย
แนวคิด
1. การตรวจคำาฟ้องในฐานะจำาเลยในคดีแพ่ง ควรตรวจวันครบกำาหนดการยื่นคำาให้การ ตรวจความถูกต้องของคำาฟ้อง
และตรวจความสมบูรณ์ของคำาฟ้อง นอกจากนี้ต้องแยกประเด็นที่จะฟ้องให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อประโยชน์ในการสอบข้อ
เท็จจริงจากจำาเลย
2. เมื่อตรวจประเด็นที่ฟ้องแล้ว ทนายความควรสอบข้อเท็จจริงทุกประเด็นในคำาฟ้อง สอบข้อต่อสู้ เพื่อวางแผนการต่อสู้
คดี
3. เมื่อทนายความสอบข้อเท็จจริงจากจำาเลยแล้ว และเห็นว่าไม่มีทางต่อสู้ ควรแจ้งให้จำาเลยทราบและหาทางช่วยเหลือจาก
หนักให้เป็นเบา แต่หากเห็นว่ามีทางต่อสู้คดี จึงรับคดี
4. ค่าใช้จ่ายในการดำาเนินคดีแพ่งในฐานะจำาเลย ได้แก่คา่ ธรรมเนียมต่าง ๆ และค่าใช้จ่ายพิเศษควรแจ้งรายละเอียดให้ตัว
ความทราบ
- ทนายความควรตรวจพิจารณาคำาฟ้อง ดังนี้ 1. การตรวจคำาฟ้อง 2. การตรวจประเด็นที่ฟ้อง
- เมื่อแยกประเด็นเสร็จแล้วควรดำาเนินการต่อไปนี้ 1. สอบข้อเท็จจริง 2. สอบข้อต่อสู้ 3. กำาหนดแผนการต่อสู้

5.3 การเตรียมคดีอาญาในฐานะโจทก์
แนวคิด
1. การสอบข้อมูลเบื้องต้น ควรตรวจสอบปากคำาของผู้เสียหายและพยาน แล้วบันทึกรายละเอียดเป็นหลักฐานเพื่อใช้
ประกอบในการกำาหนดแผนการดำาเนินคดี
2. การสืบพยานในคดีอาญา จะต้องมีพยานหลักฐานแน่ชัดว่าได้มีการกระทำาความผิดจริงศาลจึงจะลงโทษจำาเลย ดังนัน้
การหาพยานหลักฐานมาประกอบคดีจึงจำาเป็นต้องหาให้ได้มากที่สุด ทั้งพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ และผู้
ชำานาญการพิเศษ
3. ในการพิจารณาฐานความผิด บางครั้งคดีมีลักษณะความผิดที่มีปัญหาว่าเป็นความผิดฐานใด ทนายความต้องพิจารณา
และปรับบทความผิด
4. ในคดีอาญาบางประเภท พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องได้แต่ผู้เสียหายฟ้องไม่ได้ และคดีบางประเภทผู้เสียหายเป็น
โจทก์ฟ้องได้แต่ผู้เสียหายฟ้องไม่ได้ และคดีบางประเภทผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องได้แต่พนักงานอัยการฟ้องไม่ได้ ผู้ทจี่ ะเป็น
โจทก์ฟ้องคดีได้ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำาหนดไว้
5. ผู้ที่จะถูกฟ้องเป็นจำาเลยในคดีอาญา ได้แก่ตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุน ซึ่งอาจมีผู้ร่วมกระทำาผิดได้ทั้งสามประเภท
6. การยืน่ ฟ้องต้องพิจารณาเขตอำานาจศาล ซึ่งโดยปกติควรยื่นฟ้องต่อศาลที่ความผิดเกิดขึ้น
7. ทนายความอาจต้องพิจารณาเขตอำานาจศาล ซึ่งโดยปกติควรยื่นฟ้องต่อศาลทีค่ วามผิดเกิดขึ้น
8. ค่าใช้จ่ายในการดำาเนินคดีอาญาในฐานะโจทก์ ได้แก่ค่าส่งหมายนัดและสำาเนาคำาฟ้อง ค่าส่งหมายแจ้งวันนับสืบพยาน
โจทก์ ค่าคัดถ่ายเอกสาร ค่าตรวจพิสูจน์หลักฐาน และค่าเดินเผชิญสืบ

- การสอบสวนคดีอาญาของพนักงานสอบสวนตามปวอ. มีความสำาคัญเพราะถือว่าเป็นการสอบข้อมูลเบื้องต้นในการที่จะ
ฟ้องคดีอาญาต่อศาล
- พยานหลักฐานในคดีอาญา
1. พยานบุคคล คือ บุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเองหรือที่เรียกว่าประจักษ์ที่สามารถเบิกความเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ศาล
จะนำาไปวินิจฉัยคดีตามฟ้องได้
2. พยานเอกสาร กำาหนดให้ใช้ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานได้
3. พยานวัตถุ มีความสำาคัญในการพิสูจน์ความผิดของจำาเลยในคดีอาญามาก เช่น ของกลาง
4. พยานผู้ชำานาญการพิเศษ หรือในทางแพ่งเรียกว่าพยานผู้เชี่ยวชาญ ที่ต้องอาศัยหลักวิชาหรือการตรวจพิสูจน์อย่างใด
อย่างหนึ่ง
- การสอบรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำาผิดของจำาเลย มีผลในการพิจารณาร่างฟ้องคดีของทนายโจทก์
เพราะหากทนายโจทก์ไม่พิจารณารายละเอียดให้ถ่องแท้ว่าการกระทำาของจำาเลยเป็นความผิดใด ควรจะขอให้ศาลลงโทษ
ตามมาตราใด อาจอ้างข้อหาฐานความผิดในฟ้องไปอย่างหนึ่ง เมื่อถึงชั้นสืบสวนโจทก์ พยานอาจเบิกความเป็นความผิดอีก
ข้อหาหนึ่ง ทำาให้ข้อเท็จจริงตามฟ้องต่างจากข้อเท็จจริงในการพิจารณา อาจทำาให้ศาลยกฟ้องได้
- ประชาชนทั่วไปไม่สามารถเป็นผู้เสียหายฟ้องคดีดังต่อไปนี้ได้ คือ ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ความผิดฐานเป็นกบฏ
ความผิดเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร ความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน ความผิดเกี่ยวกับคนเข้าเมือง
- ในการเตรียมคดีอาญาในฐานะโจทก์นั้น การกำาหนดความผิดของจำาเลยนั้นควรสอบถามตามพฤติการณ์ไว้ให้ชัดเจน หาก
มีความสงสัยก็ควรจะตั้งฐานความผิดครอบคลุมไว้ เช่น อาจจะเป็นไปได้ทั้งตัวการหรือผู้สนับสนุน ก็ควรต้องรวมกันไป
ถ้าศาลพิจารณาได้ว่ามีความผิดฐานใดก็ลงโทษไปตามความผิดนั้นได้
- การกำาหนดค่าทนายความนั้นจะหามาตรฐานกลางไม่ได้ว่าควรเรียกเท่าไร แต่ก็พอจะมีหลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการกำาหนด
โดยพิจารณาจาก
1. ความยากง่ายของคดี
2. ค่าใช้จ่ายในการสืบหาข้อเท็จจริงในคดี
3. โทษและอัตราโทษในคดี
4. ฐานะของโจทก์และจำาเลย
5. ชื่อเสียงของทนายความ
6. ระยะเวลาในการดำาเนินคดี
- ค่าใช้จ่ายในการดำาเนินคดีอาญา
1. ค่าใช้จ่ายในการส่งหมายนัดและสำาเนาคำาฟ้อง
2. ค่าใช้จ่ายในการส่งหมายแจ้งวันนัดพยานโจทก์
3. ค่าใช้จ่ายในการคัดถ่ายเอกสาร
4. ค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์หลักฐาน
5. ค่าใช้จ่ายในการเดินเผชิญสืบ
5.4 การเตรียมคดีอาญาในฐานะจำาเลย
แนวคิด
1. ทนายความต้องพิจารณาคำาฟ้องของโจทก์ เพื่อทราบข้อกล่าวหาและฐานความผิดที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำาเลย
2. ทนายความต้องสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อกับข้อกล่าวหาและข้อต่อสู้ของจำาเลย เพื่อหาแนวทางต่อสู้คดี
3. การต่อสู้คดี ทนายความต้องพิจารณาข้อบกพร่องในคำาฟ้องของโจทก์ในคดีบางประเภทว่าตรงกับความเป็นจริงหรือไม่
และเตรียมพยานหลักฐานตามแนวทางต่อสู้คดีของตน
4. ในการดำาเนินคดี ทนายความอาจกำาหนดค่าใช้จ่ายรวมไว้ในค่าทนายความก็ได้
- วิธีพิจารณาประเด็นที่ฟ้อง ให้พิจารณาตามสำาเนาคำาฟ้องของโจทก์ว่าฟ้องในความผิดประเด็นใดบ้าง พิจารณาคำาฟ้องตาม
กลักเกณฑ์ในม. 158 ปวอ. พิจารณาประเด็นที่ฟ้องว่าข้อความที่บรรยายในฟ้องนัน้ ได้กล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงและราย
ละเอียดเกี่ยวกับการกระทำาความผิดอย่างไร มีบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการกระทำาความผิดตามข้อกล่าวหาของโจทก์อย่างไร
พยานหลักฐานของโจทก์มีอะไรบ้าง คำาบรรยายฟ้องของโจทก์ครบองค์ประกอบความผิดหรือไม่ โจทก์อ้างบทมาตราใน
กฎหมายถูกต้องหรือไม่ ประเด็นที่พิจารณามีประเด็นเดียวว่าจำาเลยกระทำาความผิดตามที่ฟ้องหรือไม่
- ข้อเท็จจริงใดที่เห็นได้ชัดว่าจำาเลยได้กระทำาความผิด ทนายความจะต้องหาเหตุในลักษณะคดีหรือหาข้อกฎหมายที่เป็น
คุณมาเป็นประโยชน์ในการต่อสู้คดี หากไม่สามารถจะหาข้อต่อสู้ใด ๆ ได้ ทนายความควรให้คำาแนะนำาตัวความว่าควรจะ
รับสารภาพเสีย
- แนวทางต่อสู้คดีมี 3 แนวทาง ดังนี้
1. ยกข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้
2. ยกข้อกฎหมายขึ้นต่อสู้
3. ยกข้อบกพร่องในการดำาเนินคดีของโจทก์ขึ้นเป็นข้อต่อสู้

หน่วยที่ 6 การเรียงคำาฟ้อง คำาให้การและคำาคู่ความ


แนวคิด
1. การเรียงคำาฟ้องต้องเป็นไปตามที่กฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติไว้ กล่าวคือ ในคดีแพ่งนัน้ จะต้องแสดงโดยแจ้งชัด
ถึงสภาพแห่งข้อหาและคำาขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น ส่วนการเรียงคำาฟ้องในคดีอาญาก็จะต้องมี
รายการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158
2. การเรียงคำาฟ้องที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติไว้ อาจทำาให้คำาฟ้องนั้นเคลือบคลุมเป็นเหตุให้ศาล
พิพากษายกฟ้องได้โดยไม่ต้องสืบพยาน หรือหากเป็นกรณีคำาฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ศาลอาจไม่รับฟ้องหรือสั่งให้ทำามาใหม่ให้
ถูกต้อง ในคดีอาญา ศาลอาจสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้อง แล้วแต่กรณี
3. ในกรณีคำาฟ้องขาดตกบกพร่องหรือผิดพลาด โจทก์สามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมคำาฟ้องนั้นเพื่อให้ถูกต้องได้ แต่ต้องเป็นไป
ตามเงื่อนไขที่กฎหมายวิธีพิจารณาความกำาหนดไว้
4. การเรียงคำาฟ้องแย้งในคดีแพ่งนั้น มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการเรียงคำาฟ้อง โดยจะฟ้องแย้งรวมมาในคำาให้การ หรือจะ
ฟ้องแย้งมาในคำาร้องขอแก้คำาให้การก็ได้ แต่ฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี
เข้าด้วยกันได้
5. การเรียงคำาให้การในคดีแพ่งต่างกับคำาให้การในคดีอาญา ในคดีแพ่งจำาเลยจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำาให้การว่ายอม
รับหรือปฏิเสธฟ้องของโจทก์ทั้งสิ้นหรือบางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ในการเรียงคำาให้การที่เคลือบคลุมไม่สามารถ
แสดงได้โดยชัดแจ้งว่าจำาเลยยอมรับหรือปฏิเสธฟ้องของโจทก์ในข้อใด อาจถือได้ว่าเป็นคำาให้การที่ไม่มีประเด็นต่อสู้
จำาเลยไม่สามารถจำาพยานหลักบานมาสืบตามคำาให้การได้ ส่วนคดีอาญานั้นจำาเลยไม่จำาต้องยกประเด็นข้อต่อสู้ จำาเลยจะ
ให้การหรือไม่ก็ได้ การทีจ่ ำาเลยไม่ให้การนั้น ถือว่าจำาเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ แม้จำาเลยจะให้การในลักษณะปฏิเสธลอย ก็
สามารถนำาพยานมาสืบต่อสู้ได้
6. การแก้ไขเพิ่มเติมคำาให้การ สามารถทำาได้อย่างกว้างขวางทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา โดยไม่ต้องคำานึงถึงว่าเกี่ยวข้องกับ
คำาให้การเดิมหรือไม่
7. การเรียงคำาให้การแก้ฟ้องแย้ง ต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ยอมรับหรือปฏิเสธฟ้องแย้งของจำาเลยในข้อใด รวมทั้ง
เหตุผลของการยอมรับหรือปฏิเสธฟ้องแย้งของจำาเลยด้วย
8. ในคดีแพ่ง การดำาเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ มีกฎหมายกำาหนดให้เรียงเป็นคำาร้อง คำาขอ คำาบอกกล่าว และคำาแถลง
แล้วแต่กรณี ส่วนคดีอาญา การดำาเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ เป็นคำาร้องอย่างเดียว ส่วนคำาแถลงการณ์นั้น มีทั้งในคดีแพ่ง
และคดีอาญา ซึ่งมีรูปแบบและวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

6.1 การเรียงคำาฟ้อง
แนวคิด
1. การเรียงคำาฟ้องจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ที่กฎหมายวิธีพิจารณาความกำาหนดไว้ กล่าวคือ พิจารณาถึงผู้มีอำานาจฟ้อง
ตามกฎหมาย ผูม้ ีสิทธิเรียงคำาฟ้องแทนตัวความ การลำาดับข้อความในคำาฟ้อง และศาลที่มีเขตอำานาจพิจารณาคดี
2. คำาฟ้องในคดีแพ่งต้องทำาเป็นหนังสือ มีรายการตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำาหนดไว้ โดยมีใจความ
และเหตุผลประกอบคำาฟ้องอันเป็นข้อสาระสำาคัญจะต้องกล่าวถึงโดยแจ้งชัด คือ สภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก
แห่งข้อหาเช่นว่านั้น และคำาขอให้ศาลบังคับ
3. การเรียงคำาฟ้องในคดีอาญา จะต้องทำาเป็นหนังสือภาษาไทย และมีรายการครบถ้วนตามที่กำาหนดไว้ในประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158
4. การเรียงคำาฟ้องที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายวิธีพิจารณาความกำาหนดไว้ ถือว่าเป็นคำาฟ้องที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจ
จะเป็นคำาฟ้องเคลือบคลุม ศาลมีอำานาจพิพากษายกฟ้องได้โดยไม่ต้องสืบพยาน หรือวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงหรือประเด็น
แห่งคดี หรือเป็นคำาฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ในคดีแพ่งศาลอาจไม่รับฟ้องหรือสั่งให้ไปทำามาใหม่ให้ถูกต้องสมบูรณ์ ส่วนในคดี
อาญาศาลอาจสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง ยกฟ้องหรือไม่ประทับฟ้อง แล้วแต่กรณี
5. ฟ้องที่ขาดตกบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์นนั้ อาจขออนุญาตศาลแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องสมบูรณ์ได้ โดยการแก้ไขเพิ่มเติม
ในคดีแพ่งนั้นจะต้องทำาเป็นคำาร้องและมีข้อความเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม โดยการแก้ไขเพิ่มเติมก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อน
วันสืบพยานแล้วแต่กรณี ส่วนในคดีอาญาจะต้องยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำาพิพากษา และการแก้ไขดัง
กล่าวจะต้องไม่ทำาให้จำาเลยเปรียบในการต่อสู้คดี
6. การเรียงคำาฟ้องแย้ง มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการเรียงคำาฟ้องในคดีแพ่ง โดยจะฟ้องแย้งรวมมาในคำาให้การ หรือจะฟ้อง
แย้งมาในคำาร้องขอแก้คำาให้การก็ได้ แต่จะต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์พอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้า
ด้วยกันได้
- การเรียงคำาฟ้องนั้นจะต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ผู้มีอำานาจเรียงคำาฟ้องได้ตามกฎหมาย จะต้องเป็นผู้ที่ถูกโต้แย้งสิทธิ หรือผู้ที่มคี วามจำาเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาลในคดี
แพ่ง และพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายในคดีอาญา
2. การลำาดับข้อความในคำาฟ้องจะต้องลำาดับข้อเท็จจริงซึ่งเป็นสาระสำาคัญของฟ้อง โดยการปรับข้อเท็จจริงให้เข้ากับข้อ
กฎหมายอย่างถูกต้อง การเรียงลำาดับของข้อความจะต้องครบถ้วนและต่อเนื่อง ใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่ายไม่ขาดตก
บกพร่องหรือเคลือบคลุม
3. ศาลที่มีเขตอำานาจพิจารณาคดี จะต้องเรียงคำาฟ้องโดยใช้แบบพิมพ์ตามที่ศาลที่มีเขตอำานาจพิจารณากำาหนดไว้
- การเรียงคำาฟ้องที่ได้ใจความและมีเหตุผลนั้น จะต้องกล่าวถึงสภาพแห่งข้อหาอันเป็นมูลกรณีที่เป็นสาเหตุของการฟ้อง
คดีว่าเกิดจากมูลเหตุใด ประกอบกับข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำาเลยได้กระทำาการใดหรืองดเว้นการกระทำาการใด
อันเป็นการผิดสัญญา หรือละเมิดอันเป็นเหตุให้จำาเลยต้องรับผิดตามกฎหมาย พร้อมทั้งคำาขอให้ศาลบังคับจำาเลยปฏิบัติตาม
คำาพิพากษาของศาล
- การเรียงคำาฟ้องในคดีอาญามีข้อแตกต่างกับคำาฟ้องในคดีแพ่งบางประการ คือ การเรียงคำาฟ้องในคดีอาญาไม่ต้องบรรยาย
ถึงประเด็นที่พิพาทให้ละเอียดเช่นคดีแพ่ง แต่จะต้องบรรยายถึงองค์ประกอบแห่งความผิดที่จำาเลยได้กระทำาให้ครบถ้วน
ตามบทมาตราของกฎหมาย นอกจากนี้โจทก์ยังจะต้องบรรยายถึงวันเวลาเกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุศาลที่มีอำานาจพิจารณา
พิพากษาในคดีอาญา และอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำาเช่นนั้นเป็นความผิดซึ่งตรงกันกับที่ได้บรรยายไว้
ในคำาฟ้อง
- คำาฟ้องที่เคลือบคลุมในคดีแพ่ง หมายถึงคำาฟ้องที่ไม่ตั้งประเด็นข้อกล่าวหาให้ชัดเจนว่าจำาเลยกระทำาการอย่างใดอัน
เป็นการโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายของโจทก์ รวมทั้งกรณีที่บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาขัดแย้งกัน หรือการที่ไม่ได้บรรยายถึง
วันเวลาที่เกิดเหตุอันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจนถึงขั้นที่จำาเลยไม่สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง คำาฟ้องที่
เคลือบคลุมดังกล่าว ศาลมีอำานาจไม่รับคำาฟ้อง หรืออาจพิพากษายกฟ้องได้โดยไม่ต้องสืบพยานหรือวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จ
จริงหรือประเด็นแห่งคดี ส่วนคำาฟ้องที่เคลือบคลุมในคดีอาญานั้น เป็นกรณีที่ผู้เรียงไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงและราย
ละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่เกิดการกระทำาผิดตามฟ้อง รวมทั้งการที่มิได้กล่าวถึงบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการก
ระทำาความผิดเพียงพอที่จะให้จำาเลยเข้าใจข้อหาได้ดี หรือการที่ไม่ได้คัดลอก ถ้อยคำาที่กล่าวหาว่าจำาเลยกระทำาหมิ่น
ประมาทในคำาฟ้องคดีหมิ่นประมาท ก็ถือว่าเป็นคำาฟ้องเคลือบคลุมเช่นกัน คำาฟ้องเคลือบคุลมเหล่านี้ศาลอาจพิพากษา
ยกฟ้องได้
- การแก้ไขเพิ่มเติมคำาฟ้องในคดีแพ่งนั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. จะต้องทำาเป็นคำาร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำาฟ้อง
2. คำาร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนัน้ จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
3. จะต้องยื่นขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน เว้นแต่คดีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้
จะยื่นภายหลังวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน ศาลก็อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมได้
ส่วนการแก้ไขเพิ่มเติมคำาฟ้องในคดีอาญา จะต้องกระทำาก่อนศาลชั้นต้นมีคำาพิพากษา และการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำาฟ้องนั้น
จะต้องไม่ทำาให้จำาเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี
- การเรียงคำาฟ้องแย้งมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับการเรียงคำาฟ้องในคดีแพ่ง กล่าวคือ จะต้องทำาเป็นหนังสือแสดงโดยแจ้ง
ชัดถึงสภาพแห่งข้อหาที่จำาเลยต้องการจะกล่าวหาโจทก์ รวมทั้งข้อเท็จจริงที่เป็นข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และ
คำาขอบังคับที่จำาเลยต้องการให้ศาลบังคับโจทก์ตามฟ้องแย้ ง นอกจากนี้คำาฟ้องแย้งยังจะต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะ
รวมการพิจารณาและตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ ทั้งนีจ้ ำาเลยจะฟ้องแย้งรวมมาในคำาให้การ หรือจะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำาให้การ
เป็นฟ้องแย้งเข้ามาหลังจากที่ได้ยื่นคำาให้การแล้วก็ได้

6.2 การเรียงคำาให้การ
แนวคิด
1. การเรียงคำาให้การ เป็นการเรียงคำาคู่ความซึ่งจำาเลยได้กระทำาขึ้นโดยตั้งประเด็นข้อต่อสู้ฟ้องของโจทก์ในคดีที่จำาเลยถูก
ฟ้อง โดยทำาเป็นหนังสือ มีรายการ ใจความและเหตุผลตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายวิธีพิจารณาความกำาหนดไว้
2. การเรียงคำาให้การในคดีแพ่ง จะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำาให้การว่าจำาเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น
หรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย เรื่องใดที่จำาเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้อย่างชัดแจ้งต้อ งถือว่าจำาเลยให้การ
ยอมรับตามฟ้องของโจทก์ นอกจากนี้หากจำาเลยปฏิเสธโดยไม่ได้ยกเหตุผลประกอบการปฏิเสธขึ้นต่อสู้ จำาเลยก็ไม่มีสิทธิ
นำาพยานเข้าสืบต่อสู้ เพราะถือว่าไม่เกิดประเด็นโต้เถียง
3. การเรียงคำาให้การของจำาเลยในคดีอาญา ไม่มีข้อยุ่งยากเหมือนกับการเรียงคำาให้การในคดีแพ่ง เพราะไม่ต้องยกประเด็น
ขึ้นต่อสู้ฟ้องของโจทก์ รวมทั้งเหตุผลของข้อต่อสู้แต่อย่างใด จำาเลยจะให้การหรือไม่ก็ได้ และการที่จำาเลยไม่ยอมให้การนัน้
ต้องถือว่าจำาเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ นอกจากนี้จำาเลยยังอาจเรียงคำาให้การในลักษณะปฏิเสธโดยไม่ยกเหตุผลของการปฏิเสธ
ขั้นต่อสู้ หรือปฏิเสธลอยได้
4. คำาให้การที่ไม่ถูกต้องในคดีแพ่ง คือคำาให้การที่ไม่แสดงโดยชัดแจ้งว่าจะรับหรือปฏิเสธฟ้องข้อใดของโจทก์ ถือได้ว่า
เป็นคำาให้การที่ไม่เป็นประเด็นข้อต่อสู้ และจำาเลยไม่มีสิทธินำาพยานมาสืบตามคำาให้การนั้นได้ ส่วนในคดีอาญา คือคำา
ให้การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนและมีข้อต่อสู้เจือปน ถือว่าเป็นคำาให้การที่ไม่ถูกต้อง
5. การแก้ไขคำาให้การในคดีแพ่งนัน้ สามารถทำาได้อย่างกว้างขวางโดยไม่จำาต้องเกี่ยวข้องกับคำาให้การเดิม แต่จะต้องยื่นขอ
แก้ไขก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน แล้วแต่กรณี เว้นแต่การแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสงบ
เรียบร้อยของประชาชน จำาเลยอาจขอแก้ไขภายหลังวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานได้ ส่วนในคดีอาญานั้น จำาเลยจะขอ
แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำาให้การเมื่อใดก็ได้ ก่อนศาลมีคำาพิพากษา
6. การเรียงคำาให้การแก้ไขฟ้องแย้งมีเฉพาะคดีแพ่ง โดยนำาหลักเกณฑ์ในเรื่องการเรียงคำาให้การมาใช้บังคับโดยอนุโลม

- คำาให้การหมายถึง กระบวนพิจารณาใด ๆ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คำาฟ้อง สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้


1. คำาให้การเป็นกระบวนพิจารณาที่กระทำาขึ้นโดยคู่ความฝ่ายหนึ่ง คำาให้การหมายความถึง คำาคู่ความตามที่จำาเลยได้
กระทำาขึ้น เป็นกระบวนพิจารณาอันหนึ่งเพื่อตั้งประเด็นข้อต่อสู้ฟ้องของโจทก์
2. คำาให้การต้องมีข้อต่อสู้อันเป็นข้อแก้คำาฟ้องของโจทก์ จำาเลยก็จะยื่นคำาให้การต่อสู้เป็นข้อแก้คำาฟ้องให้เป็นประเด็นของ
ข้อต่อสู้ของจำาเลย
3. คำาให้การไม่ใช่คำาแถลงการณ์ คำาให้การจึงไม่จำาเป็นจะต้องมีเฉพาะคำาให้การต่อสู้ฟ้องเดิมของโจทก์เท่านั้น อาจจะเป็น
คำาร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำาให้การเดิม ซึ่งถือว่าเป็นคำาให้การชนิดหนึ่ง หรืออาจจะเป็นคำาให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ก็ได้
คำาคู่ความใด ๆ ที่ยกขึ้นต่อสู้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นประเด็นข้อต่อสู้ ไม่วา่ จะเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นใดหรือจะเกิดขึ้น
กับคู่ความฝ่ายใด หากคำาคู่ความนั้นมีประเด็นข้อต่อสู้แล้วก็ถือว่าเป็นคำาให้การ ยกเว้นคำาแถลงการณ์ ในคำาแถลงการณ์นั้น
เป็นคำาคู่ความที่มิได้ตั้งประเด็นขึ้นมาใหม่ อาจจะเป็นหนังสือเพื่อเสนอความเห็นต่อศาลในข้อความที่เป็นประเด็นที่ได้ยก
ขึ้นอ้างไว้ในคำาให้การแล้ว
- การเรียงคำาให้การให้จำาเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำาให้การว่าจำาเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บาง
ส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น แต่ในคดีมโนสาเร่ หรือในคดีที่ไม่มีข้อยุ่งยาก จำาเลยอาจให้การด้วยวาจาได้
- กฎหมายต้องการให้จำาเลยเขียนคำาให้การรับหรือปฏิเสธอย่างชัดแจ้ง ไม่วา่ คำารับหรือปฏิเสธนั้นจะรับทั้งหมดหรือแต่บาง
ส่วน หรือปฏิเสธทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ตาม ในกรณีที่จำาเลยปฏิเสธนั้นจะต้องมีเหตุแห่งการปฏิเสธ
- การเขียนคำาให้การจำาเลยสามารถแยกได้ 3 กรณี ดังนี้
1. ให้การปฏิเสธ จำาเลยอาจจะให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์เป็นบางข้อหรือทุกข้อก็ได้ การให้การปฏิเสธนั้นจะต้องยก
เหตุผลของการปฏิเสธขึ้นประกอบให้ชัดเจนด้วย ถ้าจำาเลยไม่ได้อ้างเหตุผลของการปฏิเสธไว้ในคำาให้การ จะถือว่าเป็นการ
ปฏิเสธลอย จำาเลยจะไม่มีประเด็นข้อต่อสู้ที่จะนำาพยานเข้าสืบได้ แต่ไม่ถือว่าจำาเลยให้การรับตามฟ้อง ถ้าจำาเลยให้การ
ปฏิเสธเพียงบางข้อ จะถือว่าจำาเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธนั้น จำาเลยรับตามฟ้อง
2. ให้การทั้งรับทั้งสู้ (ภาคเสธ) คือ คำาให้การที่ปะปนกันระหว่างรับและคำาปฏิเสธ
3. การให้การต่อสู้ในข้อกฎหมาย คำาให้การของจำาเลยนั้นตามปกติจำาเลยให้การปฏิเสธเฉพาะในข้อเท็จจริงที่โต้แย้งฟ้อง
ของโจทก์เท่านั้น จำาเลยไม่จำาเป็นต้องปฏิเสธในข้อกฎหมาย แต่จำาเลยอาจยกข้อต่อสู้ฟ้อ งของโจทก์เป็นประเด็นข้อกฎหมาย
ได้
- การปฏิเสธฟ้องของโจทก์นั้นควรทำาทุกข้อ แม้บางข้อจะเป็นการปฏิเสธลอยก็ยังถือว่าเป็นคำาให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์
มิฉะนัน้ แล้วข้อใดที่จำาเลยไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างปฏิเสธไว้ จะถือว่าจำาเลยยอมรับตามฟ้องของโจทก์ทันที
- การเรียงคำาให้การในคดีอาญา
1. จำาเลยยื่นคำาให้การเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ยื่นก็ได้ การทีจ่ ำาเลยไม่ให้การนั้นไม่ถือว่าขัดคำาสั่งศาล และไม่ทำาให้
จำาเลยเสียหายในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด
2. จำาเลยสามารถให้การปฏิเสธลอยโดยไม่ยกข้อต่อสู้หรือไม่ให้เหตุผลของข้อต่อสู้ได้
3. การทีจ่ ำาเลยไม่ยอมให้การแต่อย่างใดนั้น ถือว่าจำาเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์
4. การทีจ่ ำาเลยจะรับสารภาพนั้นจำาเลยจะต้องรับอย่างชัดแจ้งในความผิดข้อหาใดฐานใด ไม่ใช่รับสารภาพโดยสิ้นเชิง
5. จำาเลยจะยื่นเมื่อใดก็ได้ ไม่มีขาดนัดยื่นคำาให้การ และจำาเลยไม่สามารถฟ้องแย้งโจทก์ได้
6. จำาเลยไม่สามารถเรียกให้ผู้อื่นเข้ามาเป็นจำาเลยร่วมได้
7. จำาเลยจะให้การเมื่อไรหรือแก้ไขคำาให้การเดิมของตนเมื่อไรก็ได้
- คำาให้การที่ไม่ถูกต้องมีดังต่อไปนี้
1. คำาให้การที่ไม่ถูกต้องในคดีแพ่ง คือ ไม่สามารถแสดงได้โดยชัดแจ้งว่าจำาเลยยอมรับหรือปฏิเสธฟ้องของโจทก์ข้อใด
หรือไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ คำาให้การที่เคลือบคลุมดังกล่าวถือได้วา่ เป็นคำาให้การที่ไม่ถูกต้อง
2. คำาให้การที่ไม่ถูกต้องในคดีอาญา ถือว่าคำาให้การทุกชนิดในคดีอาญาเป็นคำาให้การที่ถูกต้อง
- การแก้ไขเพิ่มเติมคำาฟ้องในคดีแพ่งและอาญา
1. การแก้ไขเพิ่มเติมคำาให้การในคดีแพ่ง สามารถทำาได้กว้างขวางกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในคดีแพ่ง การแก้ไขคำาให้การ
นัน้ จำาเลยจะต้องตั้งประเด็นข้อต่อสู้ในคำาร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำาให้การของจำาเลยด้วย แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับคำาให้การเดิม
แต่จะขัดแย้งกับคำาให้การเดิมไม่ได้ การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำาให้การของจำาเลยในคดีแพ่งนั้น จำาเลยจะต้องยื่นขอแก้ไขก่อน
วันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน แต่การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำาให้การในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของ
ประชาชนนั้น จำาเลยจะขอแก้ไขภายหลังวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานได้
2. การแก้ไขเพิ่มเติมคำาให้การในคดีอาญา จำาเลยมีสิทธิขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขเมื่อใดก็ได้ก่อนศาลพิพากษา
- การเรียงคำาให้การแก้ฟ้องแย้งมีดังต่อไปนี้
1. ต้องกล่าวโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของจำาเลยทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
2. พิจารณาว่าข้อเท็จจริงในฟ้องแย้งของจำาเลยนั้น จำาเลยได้ยกขึน้ เป็นข้อต่อสู้ในคำาให้การต่อสู้ฟ้องเดิมของโจทก์แล้วหรือ
ไม่
3. โจทก์จะต้องพิเคราะห์ให้สอดคล้องกับคำาฟ้องเดิมของโจทก์ และจะต้องถือประเด็นตามฟ้องเดิมเป็นสำาคัญ
4. การยกข้อกฎหมายขึ้นต่อสู้ฟ้องแย้งนัน้ โจทก์สามารถยกข้อกฎหมายขึ้นต่อสู้หรือตัดฟ้องแย้งของจำาเลยได้

6.3 การเรียงคำาคู่ความ
แนวคิด
1. การเรียงคำาร้องในคดีแพ่งมี 2 ประเภท คือ คำาร้องที่เป็นคำาคู่ความ และคำาร้องทั่วไป การเรียงคำาร้องที่เป็นคำาคู่ความ ผู้
เรียงจำาต้องตั้งประเด็นแห่งคดีไว้ในคำาร้องอย่างชัดแจ้ง ส่วนการเรียงคำาร้องทั่วไปที่ไม่ใช่คำาคู่ความนั้น ผู้เรียงจำาต้องดำาเนิน
การตามหลักเกณฑ์และองค์ประกอบที่กฎหมายกำาหนดไว้ หากกฎหมายมิได้กำาหนดหลักเกณฑ์และองค์ประกอบไว้ ผู้เรียง
ก็จะต้องแสดงให้ศาลเห็นความจำาเป็นและเหตุอันควรที่จะอนุญาตตามคำาร้องนั้น
2. การดำาเนินกระบวนพิจารณาในคดีอาญานั้น เมื่อคู่ความประสงค์จะขอให้ศาลดำาเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่าง
ใด ในทางปฏิบัติจะยื่นคำาขอโดยทำาเป็นคำาร้องทั้งสิ้น
3. การเรียงคำาขอ มีเฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ คำาขอที่ต้องทำาเป็นคำาร้องและคำาขอธรรมดา ส่วน
กระบวนพิจารณาใดจะต้องทำาเป็นคำาขอชนิดใดนั้น สังเกตได้จากถ้อยคำาในมาตราต่าง ๆ ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง
4. การเรียงคำาบอกกล่าว มีเฉพาะในการดำาเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่ง และมีเพียงกรณีเดียวคือ กรณีที่โจทก์ขอถอนฟ้อง
ก่อนจำาเลยยื่นคำาให้การ
5. การเรียงคำาแถลง มีเฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น โดยใช้ในกรณีที่มิได้มีกฎหมายกำาหนดว่า การดำาเนินกระบวนพิจารณานั้น
จะต้องทำาเป็นคำาร้อง คำาขอ หรือคำาบอกกล่าว นอกจากนี้บางกรณีอาจทำาได้ด้วยวาจาในขณะที่ศาลออกนั่งพิจารณาคดี
6. การเรียงคำาแถลงการณ์ มีทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา โดยมีรูปแบบและวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน กล่าวคือ สรุป
ประเด็นของคดีหลังจากที่ได้สืบพยานโจทก์จำาเลยเสร็จสิ้นลงแล้ว โดยเรียบเรียงข้อดีหรือจุดเด่นของพยานหลักฐานฝ่ายตน
ให้ศาลได้พิจารณาเหตุผลและข้อน่าเชื่อถือ ตลอดจนนำ้าหนักคำาพยานของตนซึ่งดีกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อโน้มน้าวให้ศาลเห็น
ด้วยกับข้อกล่าวอ้างหรือปฏิเสธของตน
- การเรียงคำาร้องในคดีแพ่ง หมายถึงคำาขอที่ต้องทำาเป็นคำาร้อง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. คำาร้องที่เป็นคำาคู่ความ ผูเ้ รียงต้องตั้งประเด็นแห่งคดี (ประเด็นข้อพิพาท) อย่างชัดเจน เพื่อที่ศาลจะได้กำาหนดประเด็น
ข้อพิพาทได้หรือสามารถทราบว่าคำาร้องดังกล่าวนั้นเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทข้อใด
2. คำาร้องทั่วไปที่มิใช่คำาคู่ความ เป็นคำาขออย่างใดอย่างหนึ่งที่คู่ความยื่นต่อศาลในระหว่างการพิจารณาคดี เพื่อที่จะให้ศาล
อนุญาตให้ผู้ขอได้กระทำาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ต้องกระทำาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำาร้องขอดำาเนินคดีอย่างคน
อนาถา ผูร้ ้องต้องเป็นคนยากจน ในกรณีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ หรือเป็นผู้อุทธรณ์ หรือเป็นผู้ฎีกา ผูร้ ้องจะต้องแสดงเหตุผลให้
ศาลเห็นว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้องได้หรือมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือฎีกา
- คำาร้องที่จะเป็นคำาคู่ความนั้น หมายถึง คำาร้องที่มีการตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ หมายถึง คำาร้องที่มีการตั้งประเด็น
ระหว่างคู่ความ หรือที่เรียกว่าประเด็นของคดี
- คำาร้องที่ตั้งประเด็นแห่งคดีเป็นคำาคู่ความนั้นมีผลไปถึงการตรวจและรับคำาคู่ความตาม ปวพ. ม. 18 ในกรณีที่ศาลมีคำา
สั่งไม่รับคำาคู่ความดังกล่าว โจทก์หรือจำาเลยมีสิทธิที่จะอุทธรณ์และฎีกาได้ทนั ที
- การเรียงคำาร้องในคดีอาญา ให้ทำาเป็นคำาร้องทั้งสิ้น
- คำาขอมีเฉพาะในการดำาเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งเท่านั้น คำาขอแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ คำาขอที่ต้องทำาเป็นคำาร้อง
และคำาขอ (ธรรมดา) ถ้ากฎหมายใช้คำาว่าร้องขอ ขอ คำาขอ โดยไม่ได้กำาหนดให้ทำาเป็นคำาร้องแล้ว คูค่ วามที่จะดำาเนิน
กระบวนพิจารณาเหล่านั้นจะต้องทำาเป็นคำาขอ
- การทำาคำาขอที่ไม่ใช่คำาขอฝ่ายเดียวนั้น ผู้เรียงคำาขอจะต้องทำาสำาเนาคำาขอนั้นส่งต่อคู่ความอีกฝ่าย
- คำาบอกกล่าว คือเอกสารที่ฝ่ายโจทก์ทำาขึ้นเพื่อยื่นต่อศาล โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะถอนฟ้องหรือไม่ประสงค์ที่จะดำาเนินคดี
ต่อไป และมีใช้ในกรณีเดียวคือกรณีที่โจทก์ถอนฟ้องก่อนจำาเลยยื่นคำาให้การ มีเฉพาะในการดำาเนินกระบวนพิจารณาคดี
แพ่งเท่านั้น
- การยื่นคำาบอกกล่าวขอถอนฟ้องก่อนทีจ่ ำาเลยจะยื่นคำาให้การนัน้ จึงทำาได้เสมอ และไม่ต้องมีสำาเนาคำาบอกกล่าวนั้นแต่
อย่างใด
- การดำาเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่ง กรณีใดที่กฎหมายมิได้กำาหนดว่าต้องทำาเป็นคำาร้อง คำาขอ หรือคำาบอกกล่าว คูค่ วาม
ย่อมสามารถทำาเป็นคำาแถลงได้ เช่น การขอระบุพยานเพิ่มเติมก่อนการสืบพยานฝ่ายแรกเสร็จ ตาม ปวพ. ม. 88 เป็นต้น
- คำาแถลงการณ์เป็นคำาแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งกระทำาขึ้นหรือยื่นต่อศาลด้วยความมุ่งหมายที่จะ
เสนอความเห็นต่อศาลซึ่งข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำาคู่ความ หรือในปัญหาข้อใดที่ศาลจะถึงมีคำาแถลง
การณ์เพียงแต่แสดง กล่าวทบทวน ยืนยันหรืออธิบายข้อความของพยานหลักฐาน และปัญหาข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงทั้งปวง
- คำาแถลงการณ์ประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
1. เป็นคำาแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ
2. คู่ความได้กระทำาขึ้นหรือยื่นต่อศาลเพื่อจะเสนอความเห็นต่อศาลในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างไว้ในคำาคู่ความหรือใน
ปัญหาข้อใดข้อหนึ่งที่ศาลจะพึงมีคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง
3. เป็นการแสดงเหตุผล กล่าวทบทวน ยื
นยัน หรืออธิบายด้วยข้อความในพยานหลักฐานทั้งปวงในคดี
- รูปแบบของการเขียนคำาแถลงการณ์เป็นหนังสือคือ
1. ผู้เรียงคำาแถลงการณ์เป็นโจทก์ ข้อแรกจะย่อคำาฟ้องของโจทก์ คำาให้การของจำาเลย ประเด็นที่ศาลได้ทำาการชี้สองสถาน
ไว้ และในชั้นพิจารณาโจทก์ได้นำาสืบพยานบุคคลและพยานเอกสารได้ความว่าอย่างไรจำาเลยนำาสืบได้ว่าอย่างไร
2. ฟ้องของโจทก์นั้นได้ตั้งสิทธิวา่ อย่างไร ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลกำาหนดให้โจทก์นำาสืบนั้น โจทก์สามารถนำาสืบสมตาม
คำาฟ้องของโจทก์ รับฟังข้อเท็จจริงว่าอย่างไร พยานจำาเลยไม่สามารถหักล้างพยานโจทก์ได้ เมื่อเปรียบเทียบชั่งนำ้าหนัก
พยานหลักฐานโจทก์และจำาเลยแล้วควรจะรับฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำาสืบยิ่งกว่าจำาเลย
3. สรุปข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่โจทก์กล่าวอ้างมาแล้วทั้งหมด สรุปคำาขอบังคับหรือคำาขอท้ายฟ้องและให้ศาล
พิพากษาตามคำาขอท้ายฟ้องของโจทก์

หน่วยที่ 7 การสืบพยานและการซักถามพยาน
แนวคิด
1. การสืบพยาน เป็นกระบวนพิจารณาข้อเท็จจริงของคดีจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำาเลยนำาสืบ เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีของ
ศาล
2. การนำาสืบพยานหลักฐานทุกประเภทจะต้องปฏิบัติตามระเบียบและวิธีการที่กำาหนดไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความ
หากปฏิบัติไม่ถูกต้อง อาจจะทำาให้เกิดความเสียหายแก่คดีได้
3. การซักถามพยาน เป็นการนำาข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลเข้าสู่กระบวนการพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถามค้าน
พยานที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอย่างยิ่ง เพราะเป็นการกรองข้อเท็จจริง เพื่อให้ศาลชั่งนำ้าหนักคำาพยานได้ดีขึ้น

7.1 การสืบพยาน
แนวคิด
1. พยานบุคคลที่จะนำาสืบต่อศาล จะต้องเป็นพยานที่รู้เห็นข้อเท็จจริงในคดี
2. การนำาสืบพยานเอกสารนั้น จะต้องเป็นการนำาสืบต้นฉบับของเอกสาร เว้นแต่เข้ากรณียกเว้น
3. การนำาสืบพยานวัตถุนั้น คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานวัตถุจะต้องนำาพยานวัตถุไปสืบที่ศาล กรณีที่ไม่สามารถนำาไปศาลได้
อาจใช้วิธีถ่ายภาพวัตถุส่งต่อศาล หรือขอให้ศาลออกไปตรวจพยานวัตถุ ณ สถานที่ตั้งพยานวัตถุก็ได้
4. พยานผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำานาญการพิเศษที่จะนำาสืบต่อศาลนั้น อาจจะเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ
กระทรวงยุติธรรม หรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถในงานเฉพาะอาชีพ หรือวิชาชีพของตนก็ได้
5. กรณีจำาเป็นที่ศาลจะต้องตรวจบุคคล วัตถุ หรือสถานที่ซึ่งอยู่นอกศาล และไม่สามารถนำามาศาลได้ คู่ความฝ่ายที่อ้าง
พยานหลักฐานอาจขอให้ศาลออกเดินเผชิญสืบพยานนอกศาลได้
6. กรณีที่พยานหลักฐานอยู่นอกเขตอำานาจศาลที่พิจารณาคดี ศาลที่พิจารณาคดีอาจส่งสำานวนความไปยังศาลอื่นที่มีเขต
อำานาจเหนือพยานหลักฐานนั้น เพื่อให้ทำาการสืบพยานหลักฐานนั้นแทนเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับพยานหลักฐานที่อยู่ใน
เขตอำานาจศาลอื่นนั้น

- การสืบพยานเป็นกระบวนการหาข้อเท็จจริงของศาล เพื่อนำาข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ในกระบวนพิจารณาไปวินิจฉัยชี้ขาดว่า
ข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์กล่าวอ้าง หรือเป็นไปตามที่จำาเลยให้การปฏิเสธ
1. การอ้างตัวพยานบุคคล คู่ความฝ่ายที่อ้างจะต้องระบุรายชื่อที่อยู่ของบุคคลซึ่งประสงค์จะอ้างเป็นพยานในบัญชีระบุ
พยานและยื่นต่อศาลก่อนวันสืบพยานครั้งแรกไม่น้อยกว่า 3 วัน
2. คุณสมบัติของพยานบุคคล คือ
2.1 พยานสามารถเข้าใจและตอบคำาถามได้
2.2 พยานรู้เห็นข้อเท็จจริงในลักษณะเป็นประจักษ์พยาน คือเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยนิ หรือได้ทราบข้อความที่จะให้การเป็น
พยานนั้นมาด้วยตนเอง
2.3 การนำาพยานไปศาล ต้องส่งหมายเรียกพยานนั้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน พยานที่ได้รับหมายเรียกโดยชอบจากศาล
นัน้ จะต้องไปศาลตามวันเวลาที่กำาหนดไว้ในหมายเรียก เว้นแต่บุคคลดังต่อไปนี้ คือ
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระราชินี พระยุพราช หรือผู้สำาเร็จราชการแผ่นดิน ไม่ว่าในกรณีใด ๆ
- พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา ไม่วา่ ในกรณีใด ๆ
- บุคคลใด ๆ ที่อ้างว่าไม่สามารถจะไปศาลได้เพราะเหตุเจ็บป่วย หรือมีข้อแก้ตัวอันจำาเป็นอย่างอื่นโดยได้แจ้งเหตุนั้นให้
ศาลทราบ และศาลเห็นว่าข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวนั้นฟังขึน้
ในกรณีดังกล่าวนี้ศาลจะต้องเดินเผชิญสืบไป ณ ที่อยู่ของพยานดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
2.4 การเบิกความเป็นพยานศาลจะต้องสาบานตามหลักศาสนา ยกเว้นสำาหรับบุคคลต่อไปนี้ไม่ต้องสาบาน คือ
- บุคคลที่มีอายุตำ่ากว่า 14 ปี หรือบุคคลหย่อนความรู้สึกผิดและชอบซึ่งอาจมีอายุมากกว่า 14 ปี
- พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา
- บุคคลที่คู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าไม่ต้องสาบาน
- การสืบพยานเอกสารหรือการนำาพยานเอการเข้าสู่กระบวนพิจารณาของศาลพิจารณาดังนี้
1. การอ้างพยานเอกสาร คูค่ วามฝ่ายนั้นจะต้องระบุพยานโดยยื่นบัญชีแสดงถึงเอกสารหรือสภาพของเอกสารที่ตนจะอ้าง
เป็นพยานเช่นเดียวกับการอ้างพยานบุคคล จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลไม่น้อยกว่า 3 วันก่อนวันสืบพยานครั้งแรก
2. คุณสมบัติของเอกสาร หลักของการพิจารณาพยานเอกสารในเบื้องต้นจึงต้องคำานึงถึงคุณสมบัติของเอกสารว่าจะต้อง
เป็นต้นฉบับของเอกสารเท่านั้น เว้นแต่
- เมื่อคูค่ วามทุกฝ่ายตกลงกันให้สงสำาเนาเอกสารต่อศาลได้
- ในกรณีที่ต้นฉบับเอกสารสูญหายหรือถูกทำาลายโดยเหตุสุดวิสัย ไม่สามารถจะนำามาส่งต่อศาลได้
- ต้นฉบับเอกสารที่เป็นหนังสือของราชการหรืออยู่ในความดูแลของราชการ อาจนำาสำาเนาที่รับรองถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้
เก็บรักษาเอกสารเหล่านั้นไว้มาอ้างส่งต่อศาลแทนต้นฉบับเอกสารได้
3. การอ้างเอกสารเข้าเป็นพยานในคดี กฎหมายกำาหนดวิธีการนำาพยานเอกสารเข้าสู่การพิจารณาของศาลดังต่อไปนี้ คือ
- คูค่ วามฝ่ายนั้นต้องทำาสำาเนาเอกสารทุกฉบับส่งให้แก่คู่ความฝ่ายตรงข้ามหรือคู่ความอื่นก่อนวันสืบพยานครั้งแรกไม่น้อย
กว่า 3 วัน
- กรณีที่คู่ความฝ่ายที่จะนำาเอกสารเข้าสู่การพิจารณาของศาลหลงลืมมิได้ส่งสำาเนาเอกสารให้แก่คู่ความฝ่ายตรงข้ามแล้ว
อาจจะถูกคัดค้านการอ้างส่งเอกสารเป็นพยาน ทำาให้เสียโอกาสนำาสืบเอกสารที่เป็นประโยชน์แก่คดีของตนได้ ทำาให้เป็น
ผลเสียหายกับคดีเป็นอย่างมาก
ศาลอาจไม่ต้องส่งสำาเนาเอกสารให้แก่คคู่ วามอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้
1) เมื่ออ้างอิงเอกสารเป็นชุด ซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้ทราบดีอยู่แล้วหรือสามารถตรวจตราให้ทราบได้ถึงความมีอยู่และ
ความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร
2) เมื่อคูค่ วามอ้างอิงเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก หรือที่อยู่ในความครอบครองของคู่ความอีกฝ่าย
หนึ่ง
3) ในกรณีที่เอกสารจะต้องอ้างส่งต่อศาลมีจำานวนมาก การทำาสำาเนาเพื่อส่งให้แก่คู่ความฝ่ายตรงข้ามหรือทุกฝ่ายจะทำาให้
กระบวนพิจารณาล่าช้า เพราะไม่สามารถทำาสำาเนาเอกสารได้เสร็จทันเวลาที่กำาหนด
4. การนำาเอกสารไปศาล ในกรณีที่ต้นฉบับเอกสารอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้น
คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารไม่สามารถนำามาศาลด้วยตนเองได้ อาจร้องขอต่อศาลให้มีคำาสั่งเรียกเอกาสารเหล่านั้นจากบุคคล
ภายนอกหรือจากคู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารจะต้องส่งคำาสั่งเรียกเอกสารล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน
5. การนำาสืบพยานเอกสาร ศาลจะพิจารณาเอกสารตามข้อ 3 และ 4 โดยไม่ต้องนำาพยานบุคคลมาสืบ เว้นแต่คู่ความฝ่าย
ตรงข้ามโต้แย้ง
- การนำาสืบพยานวัตถุนั้นมี 2 กรณีคือ
1. ในกรณีที่สามารถจะนำาพยานวัตถุนั้นไปสู่ศาลได้ คูค่ วามฝ่ายที่อ้างพยานวัตถุนั้นต้องนำาพยานวัตถุไปส่งต่อศาล
2. พยานวัตถุที่ไม่สามารถจะนำาไปศาลได้ เพราะเป็นของใหญ่หรือติดตั้งตรึงตราอยู่ ณ สถานที่ถาวร ศาลอาจจะออกไป
ตรวจพยานด้วยตนเอง แต่ถ้าเป็นสิ่งที่มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น สภาพศพ หรือรถยนต์ที่ชนกันแล้วนำากลับไป
ซ่อมอาจมีการถ่ายภาพและถือว่ารูปนั้นเป็นพยานวัตถุ
- พยานผู้เชี่ยวชาญนั้นเป็นพยานบอกเล่าที่มิได้รู้เห็นข้อเท็จจริงในคดี แต่เป็นพยานที่เกี่ยวกับเหตุผลหรือหลักวิชาอย่างใด
อย่างหนึ่งเป็นความรู้หรือความเชี่ยวชาญของตัวพยาน ซึ่งสามารถให้ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับความรู้ความเชี่ยวชาญอันนั้นต่อ
ศาลได้
- พยานผู้เชี่ยวชาญนั้นก็คือพยานเหตุผลอันเกี่ยวกับความรู้หรือวิทยาการใด ๆ ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปไม่
จำากัด เฉพาะเป็นความรู้เชี่ยวชาญสาขาใดสาขาหนึ่งเท่านั้น
- งานในหน้าที่ของพยานผู้เชี่ยวชาญนั้นก็คือ การตรวจสอบบุคคล วัตถุ หรือสถานที่ใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับข้อโต้แย้งในคดี
- การเดินเผชิญสืบ หมายถึง การที่ศาลออกไปทำาการสืบพยานนอกศาล ซึ่งอาจจะเป็นทั้งกรณีที่
1. สืบพยานบุคคลเนื่องจากพยานนั้นไม่สามารถจะมาให้การที่ศาลได้
2. ในกรณีที่ศาลเห็นเหตุจำาเป็นที่จะต้องตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ซึ่งอยู่นอกศาลและไม่สามารถนำามาศาลได้
3. ในกรณีที่คู่ความยื่นคำาขอให้ศาลออกไปตรวจบุคคล วัตถุ หรือสถานที่นอกศาล
- การส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นมีลักษณะเป็นการสืบพยานนอกศาลเดิม ไม่ว่าจะเป็นการสืบพยานบุคคลในศาลที่รับ
ประเด็น หรือการออกเดินเผชิญสืบ ตรวจวัตถุหรือสิ่งของใด ๆ กรณีศาลเดิม (ศาลเจ้าของสำานวน) ส่งสำานวนความไปยัง
ศาลอื่นที่มีเขตอำานาจศาลเหนือพยานบุคคล พยานวัตถุ หรือสถานที่ เพื่อให้ทำาการสืบพยานนั้น ๆ แทนศาลเดิม
- ข้อแตกต่างระหว่างการส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นและการเดินเผชิญสืบมีดังต่อไปนี้
1. การส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นทำาได้ทั้งในการสืบพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ และสถานที่ซึ่งอยู่นอกเขต
อำานาจศาลเดิม แต่การเดินเผชิญสืบนั้นเป็นการสืบพยานนอกศาล ไม่ว่าพยานนั้นจะเป็นพยานบุคคลที่ไม่สามารถจะมา
ให้การในศาลได้เพราะได้รับการยกเว้น
2. การส่งประเด็นไปสืบนั้นศาลที่รับประเด็นอาจจะทำาการสืบพยานในศาล แต่การเดินเผชิญสืบเป็นการสืบพยานนอก
ศาล ไม่วา่ จะกระทำาโดยศาลเจ้าของสำานวนออกไปเดินเผชิญสืบเอง หรือส่งประเด็นไปให้ศาลอื่นที่มีเขตอำานาจออกไป
เผชิญสืบแทนก็ได้
3. การส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นนั้น คู่ความไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่ขอส่งประเด็นหรือไม่ จะตามประเด็นไปว่าความหรือไม่
ก็ได้ ในการเดินเผชิญสืบนั้น ไม่ว่าจะกระทำาโดยศาลที่พิจารณาคดี หรือศาลที่รับประเด็น ศาลจะต้องออกไปพิจารณาพยาน
หลักฐานโดยคู่ความฝ่ายที่ร้องขอเป็นผู้นำาศาลไปพิจารณาสืบพยานนอกศาลเสมอ
4. การส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นนั้น เมื่อศาลที่รับประเด็นได้ดำาเนินการสืบพยานไปเป็นประการใด จะต้องส่งประเด็น
กลับมายังศาลเดิม แต่การเดินเผชิญสืบนั้นเป็นกรณีที่ศาลออกไปพิจารณาคดี (พยานหลักฐาน) นอกห้องพิจารณาหรือนอก
บริเวณศาล โดยถือว่าการออกไปพิจารณาพยานหลักฐานเช่นนั้น เสมือนหนึ่งการพิจารณาคดีในศาล

7.2 การซักถามพยาน
แนวคิด
1. การซักถามนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะให้พยานได้ตอบคำาถามถึงข้อเท็จจริงที่ฝ่ายที่อ้างพยานประสงค์จะใช้เป็นข้อ
สนับสนุนข้อกล่าวอ้างหรือข้อต่อสู้ของตน การตั้งคำาซักถามพยานจะต้องตั้งคำาถามให้เป็นลำาดับข้อเท็จจริงตามที่คู่ความ
ฝ่ายอ้างพยานประสงค์จะได้รับคำาตอบจากพยานนั้นเป็นลำาดับไปโดยใช้คำาถามสั้น ๆ และเข้าใจง่าย
2. คำาถามค้านเป็นคำาถามที่สำาคัญที่สุด ผู้ตั้งคำาถามจะต้องมีเป้าหมายในการกำาหนดให้พยานตอบตามที่ตนกำาหนดไว้อย่าง
ชัดเจน การที่ทนายความจะใช้คำาถามค้านได้ดีนั้นจะต้องศึกษาข้อเท็จจริงในคดีให้เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับอีกฝ่าย ซึ่ง
เป็นข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของตนแล้วตั้งคำาถามนำาให้ไปสู่ข้อเท็จจริงที่ตนต้องการ เพื่อกำาหนดให้พยานตอบว่าใช่ หรือ
ไม่ใช่เท่านั้น
3. การถามติงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พยานได้อธิบายถึงข้อแตกต่างของคำาตอบข้อซักถามและคำาตอบคำาถามค้าน หรือเพื่อ
จะให้พยานได้ตอบข้อสงสัยที่เกิดขึ้นจากการตอบคำาถามค้าน
4. การขออนุญาตศาลถามเพิ่ม มีเฉพาะคูค่ วามฝ่ายที่อ้างพยานมาศาลเท่านั้น คู่ความฝ่ายตรงข้ามซึ่งมีหน้าที่ถามค้านพยาน
ไม่สามารถขออนุญาตศาลถามค้านเพิ่มได้ ส่วนการอนุญาตให้ถามเพิ่มหรือไม่ อยู่ในดุลพินิจของศาล
5. การขออนุญาตศาลถามพยานที่เป็นปรปักษ์ เป็นกรณีที่พยานเบิกความเป็นปรปักษ์แก่คคู่ วามฝ่ายที่ตนอ้างมา คูค่ วามฝ่าย
นัน้ อาจขออนุญาตศาลถามพยานของตนซึ่งเบิกความเป็นปรปักษ์เพื่อลดนำ้าหนักคำาพยานหรือทำาลายข้อเท็จจริงที่พยานเบิก
ความเป็นปรปักษ์นั้นว่าไม่เป็นความจริง หรือไม่น่าเชื่อถือ
6. การพิสูจน์ต่อพยานเป็นการนำาสืบพยานหลักฐานซึ่งไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี แต่เป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำา
พยานหลักฐานมาพิสูจน์ต่อศาลว่าคำาเบิกความของพยานที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนำามาสืบต่อศาลไม่เป็นความจริง
- การซักถามพยาน หมายถึง การที่ทนายความฝ่ายที่อ้างพยานมาสู่ศาลได้เริ่มซักถามพยานเพื่อให้ตอบคำาถามต่อศาลเป็น
คนแรก คู่ความฝ่ายที่ซักถามจะใช้คำาถามนำาไม่ได้ เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอมหรือได้รับอนุญาตจากศาล
- การตั้งคำาถามเพื่อให้พยานเล่าเรื่องถึงข้อเท็จจริงใดข้อเท็จจริงหนึ่งที่พยานได้ทราบ ได้เห็นหรือได้ยินมาในลักษณะของ
ประจักษ์พยานหรือจะเป็นพยานความเห็น พยานผู้เชี่ยวชาญก็ได้ พยานจะเล่าเรื่องที่เกิดขึน้ ทั้งหมดให้ศาลฟังเป็นข้อเท็จจริง
ตามลำาดับจากคำาถามที่ไม่มีการแนะนำาคำาตอบอยู่ในตัวคำาถาม เช่น พยานเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับโจทก์มาก่อนใช่หรือไม่
คำาถามเช่นนี้จะเป็นคำาถามที่นำาข้อเท็จจริงให้พยานตอบเพียงใช่หรือไม่ใช่เท่านั้น
- การซักถามนัน้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะให้พยานที่ตนนำามาสู่ศาลได้ตอบคำาถามถึงข้อเท็จจริงที่ตนประสงค์จะใช้เป็นข้อ
สนับสนุน ข้อกล่าวอ้างหรือข้อต่อสู้ของตน
- การถามค้านพยานเป็นการฟังคำาถามของทนายความฝ่ายตรงข้ามผู้นำาพยานมาเบิกความศาล หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
เป็นการถามความของทนายความฝ่ายตรงข้ามเพื่อให้ศาลเห็นข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น มิใช่เป็นไปตามที่ทนายฝ่ายที่อ้าง
พยานนั้นมาได้ซักถามข้อเท็จจริงไว้ ดังนัน้ ประโยชน์ในการถามค้านคือ
1. เพื่อทำาลายนำ้าหนักคำาพยาน
2. เพื่อพิสูจน์ว่าคำาเบิกความของพยานนั้นเป็นความเท็จ หรือไม่น่าเชื่อถือทั้งสิ้น
3. เพื่อให้พยานอธิบายข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งที่เจือสมกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายที่จะอ้างพยานมาสืบภายหลัง
ต้องการจะสืบ
- คำาถามค้านจะเป็นคำาถามที่ตั้งขึน้ ในลักษณะเป็นคำาถามนำา ให้พยานตอบว่าใช่หรือไม่ใช่เท่านั้น โดยมีเป้าหมายในการ
กำาหนดให้พยานตอบตามที่ได้ตั้งคำาถามไว้ การที่จะตั้งคำาถามให้ได้ดีนั้น จะต้องศึกษาข้อเท็จจริงในทางตรงกันข้ามกับอีก
ฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของฝ่ายที่ต้องถามค้าน แล้วตั้งคำาถามนำาให้ไปสู่ข้อเท็จจริงที่ต้องการเพื่อกำาหนดให้
พยานตอบว่าใช่หรือไม่ใช่เท่านั้น
- ข้อสังเกตในการใช้คำาถามค้านดังต่อไปนี้ คือ
1. แยกข้อเท็จจริงตามข้อกล่าวหาและข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ออกมาให้เป็นประเด็นชัดเจน
2. ศึกษาข้อเท็จจริงในทางตรงข้ามของข้อเท็จจริงตามข้อซักถามไว้ลว่ งหน้า และนำาข้อเท็จจริงในทางตรงข้ามนั้นมา
กำาหนดเป็นคำาถามค้าน
3. ศึกษาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงดังกล่าวในข้อ 1 และ ข้อ 2 ว่ามีเหตุผล หลักวิชาความเป็นไปได้
ในการที่จะรับฟังข้อพิจารณาเป็นอย่างอื่นหรือไม่ หากพบข้อเท็จจริงเหล่านั้น จะต้องนำามาประมวลเข้ากับข้อเท็จจริงที่ตน
ประสงค์จะใช้เป็นคำาถามค้าน
4. เรียบเรียงคำาถามค้านให้มีลักษณะเป็นคำาถามนำาสั้น ๆ มีใจความกระชับและเข้าใจง่าย ผู้ถามควรใช้คำาถามนำาเพื่อกำากับ
พยานให้ตอบเพียงคำาว่าใช่หรือไม่ใช่ตามที่ตนต้องการเท่านั้น
5. สลับคำาถามค้านไม่ให้ต่อเนื่องกันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อมิให้พยานจับเรื่องราวที่ต่อเนื่องของข้อเท็จจริงได้
6. ตั้งคำาถามในลักษณะที่นำาไปสู่หลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์หนึ่ง ซึ่งพยานจะต้องคล้อยตามหลักเกณฑ์อันเป็นที่รู้ทั่วไป แล้ว
นำาข้อเท็จจริงที่ตนประสงค์จะให้พยานตอบตามหลักเกณฑ์นนั้ มาถามเพื่อกำากับให้พยานต้องตอบตามหลักเกณฑ์ที่ได้เบิก
ความไปแล้วข้างต้น
7. ตั้งคำาถามนำาในเชิงเปรียบเทียบข้อเท็จจริงที่ตนประสงค์จะให้พยานตอบ โดยใช้ข้อเปรียบเทียบที่ง่าย ๆ และสามารถ
เห็นข้อแตกต่างได้ชัดเจน
8. ต้องระวังไม่ให้พยานรู้ว่าผู้ถามต้องการคำาตอบใด ถ้าสังเกตว่าพยานเริ่มจะรู้จุดประสงค์ของคำาถามแล้วให้รีบเปลี่ยน
คำาถามเป็นเรื่องอื่นทันที
9. ควรใช้คำาถามที่สุภาพและด้วยนำ้าเสียงที่เป็นปกติ ไม่ใช่ข่มขู่หรือตะคอกพยาน
10. การใช้คำาถามค้านที่ดีนั้นจะต้องตรวจสอบเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นในคดีว่ามีข้อเท็จจริงใดที่จะหยิบยกขึ้นมา
เป็นประโยชน์ในการถามค้านบ้าง
11. ผู้ถามจะต้องไม่หลงประเด็นในบางคดีผู้ถามค้านอาจไม่สามารถตั้งคำาถามให้ตรงประเด็นได้ในทันที จึงมีความจำาเป็น
จะต้องตั้งคำาถามที่ออกไปนอกประเด็นบ้าง แต่ต้องไม่ไกลจนเกินไป และมีเหตุผลเชื่อมโยงกับประเด็นโดยตรงอยู่บ้าง
- การถามติง เป็นการตั้งคำาถามของคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานมาสู่ศาล มีสิทธิจะใช้คำาถามติงต่อเมื่อพยานนั้นได้ตอบคำาถาม
ค้านของคู่ความฝ่ายตรงข้ามเสร็จแล้ว คำาถามติงนัน้ กฎหมายอนุญาตให้ถามพยานของตนอีกครั้งเพื่อให้พยานเบิกความเกี่ยว
กับข้อความที่ตนได้ตอบคำาถามค้านของทนายความฝ่ายตรงข้ามไปบกพร่อง หรือสับสนมีข้อสงสัย โดยมีความประสงค์ให้
พยานได้อธิบายถึงข้อแตกต่างของคำาตอบข้อซักถามและคำาตอบคำาถามค้านหรือเพื่อที่จะได้ตอบข้อสงสัยที่เกิดขึ้นจากการ
ตอบคำาถามค้าน ฉะนั้น คำาถามติงจึงถูกกำาหนดให้ถามได้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับคำาถามค้านเท่านั้น และใช้คำาถามนำาเช่น
คำาถามค้านไม่ได้
- ทนายความของคู่ความฝ่ายที่นำาพยานมาศาล อาจขออนุญาตศาลถามพยานเพิ่มเติมหลังจากที่พยานได้ตอบคำาถามติงไป
แล้วได้ โดยอยูใ่ นดุลพินิจของศาลที่จะอนุญาตหรือไม่ ทั้งนี้เมื่อศาลอนุญาตให้ฝ่ายที่นำาพยานมาถามเพิ่มเติมแล้ว คูค่ วามอีก
ฝ่ายหนึ่งย่อมมีสิทธิถามค้านได้ในข้อที่เกี่ยวกับคำาถามที่ฝ่ายแรกขออนุญาตศาลถามเพิ่มเติมนั้น
- การขออนุญาตศาลถามพยานที่เป็นปรปักษ์ เกิดขึ้นกรณีที่พยานเบิกความเป็นปรปักษ์แก่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานนั้นมา คู่
ความฝ่ายที่อ้างพยานมาอาจขออนุญาตศาลถามพยานนั้นเสมือนพยานนั้นเป็นพยานที่คู่ความที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างมา โดยใช้
คำาถามนำาเพื่อลดนำ้าหนักคำาพยาน หรือเพื่อทำาลายข้อเท็จจริงที่พยานเบิกความเป็นปรปักษ์ว่าไม่เป็นความจริง หรือไม่น่าเชื่อ
ถือ
- การพิสูจน์ต่อพยาน คือการนำาพยานหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งมาแสดงต่อศาลว่าคำาเบิกความของพยานคนใดคนหนึ่งที่คู่
ความอีกฝ่ายหนึ่งนำาสืบไว้นั้นไม่ควรเชื่อฟังหรือไม่เป็นความจริง การพิสูจน์ต่อพยานอาจทำาได้ใน 2 กรณีคือ
1. การพิสูจน์ต่อพยานตาม ปวพ. ม. 120
2. การพิสูจน์ต่อพยานโดยการถามค้านไว้ก่อน ตาม ปวพ. ม. 89
- ศาลมีอำานาจซักถามพยานหรือเรียกพยานมาสืบเองได้เสมอ นอกจากนี้ในกรณีที่มีการส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นในคดี
แพ่งคู่ความฝ่ายที่อ้างอิงพยานหลักฐานซึ่งมิได้ตามประเด็นไปว่าความก็อาจจะขอให้ศาลที่รับประเด็นซักถามพยานแทนได้
หรือในคดีอาญา คู่ความฝ่ายที่ไม่ไปฟังการพิจารณาอาจยื่นคำาถามคำาซักเป็นหนังสือให้ศาลหรือผู้เดินเผชิญสืบ สืบพยาน
ตามนั้นได้
ในบางกรณีมีกฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ซักถามพยานด้วยตนเอง เช่น การซักถามพยานในคดีของศาลแรงงาน หรือการ
สืบพยานในคดีอาญาที่ก่อนฟ้องคดีมีเหตุผลอันควรเชื่อว่าพยานบุคคลซึ่งจะต้องนำามาสืบภายหน้าจะเดินทางออกไปนอก
ราชอาณาจักรยากแก่การนำามาสืบ
หน่วยที่ 8 การชั่งนำ้าหนักพยานหลักฐาน
แนวคิด
1. การชั่งนำ้าหนักพยานหลักฐานได้แก่กระบวนพิจารณาของศาลที่จะใช้ดุลพินิจว่าพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่รับฟังได้แล้ว
นัน้ มีความน่าเชื่อถือเพียงใด
2. หลักเกณฑ์การพิสูจน์ความจริงด้วยกฎแห่งความคิดเห็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ทีช่ ่วยศาลในการชั่งนำ้าหนักพยานหลักฐาน
ในแต่ละคดีได้
3. การชั่งนำ้าหนักพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ศาลจะเปรียบเทียบพยานหลักฐานทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำาเลยว่าฝ่ายใดมี
เหตุผลและนำ้าหนักความน่าเชื่อถือดีกว่าแม้จะไม่ถึงกับปราศจากข้อสงสัย ศาลก็วินจิ ฉัยชี้ขาดให้ฝ่ายนั้นชนะคดีได้
4. การชั่งนำ้าหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา ศาลจะพิพากษาลงโทษจำาเลยได้ต่อเมื่อปราศจากข้อสงสัยว่าจำาเลยกระทำาผิด
จริงตามฟ้อง

8.1 หลักเกณฑ์การชั่งนำ้าหนักพยานหลักฐาน
แนวคิด
1. กฎแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหมายถึง เหตุการณ์อันหนึ่งจะเป็นความจริงได้แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้น
พยานหลักฐานหลายสิ่งที่พิสูจน์ความจริงในเรื่องเดียวกันซึ่งสอดคล้องต้องกันจึงแสดงว่าเรื่องนั้นน่าจะเป็นความจริง
2. กฎแห่งความขัดกันหมายถึง ข้อที่ขัดกันหรือต่างกันย่อมแสดงว่าไม่เป็นความจริง เว้นแต่เป็นข้อปลีกย่อยที่แตกต่างกัน
เป็นธรรมดา
3. กฎแห่งความเป็นครึ่ง ๆ กลาง ๆ หมายความว่า ข้อใดจะเป็นจริงอย่างไรต้องเป็นจริงอย่างนั้นตลอด จะเป็นจริงบ้างไม่
จริงบ้างไม่ได้ นอกจากจะมีพฤติการณ์เพิ่มเติมให้เห็นว่าทุกตอนนั้นไม่เป็นความจริงทั้งหมด
4. กฎแห่งความมีเหตุผลอันควร หมายความว่า การพิสูจน์ความจริงต้องพิจารณาถึงสภาพจิตใจในการรู้เห็นเป็นพยานและ
พฤติการณ์แวดล้อมว่ามีเหตุผลสมควรเชื่อได้หรือไม่
- การพิจารณาพยานหลักฐานของคู่ความนั้น ศาลต้องเผชิญกับปัญหาสองประการ คือ ประการแรกพยานหลักฐานเหล่านั้น
รับฟังได้หรือไม่ และประการที่สองพยานหลักฐานที่รับฟังได้นั้นมีนำ้าหนักน่าเชื่อถือได้หรือไม่
- ทฤษฎีการพิสูจน์ความจริงด้วยกฎแห่งความผิด เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัยความน่าจะเป็นเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
เมื่อปรากฏพยานหลักฐานอย่างหนึ่งขึ้นแล้ว ย่อมจะแสดงให้เห็นว่าข้อเท็จจริงน่าจะเป็นอย่างนั้น หรือน่าจะเป็นอย่างนี้
- ส่วนความน่าจะเป็นขนาดใดศาลจึงจะเชื่อได้ว่าเป็นความจริงนั้น มีหลักว่าถ้าความน่าจะเป็นนั้นมีความแน่นอนถึงขนาด
ที่จิตใจของคนธรรมดาจะเชื่อถือได้ก็เพียงพอเชื่อได้ว่าเป็นความจริง
- กฎแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Law of identity) หมายถึง ในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นจะมีข้อ
เท็จจริงหรือความจริงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะเป็นความจริงหลายอย่างในข้อเดียวกันไม่ได้ ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะปรากฏ
แก่ใครกี่คนก็ตามต้องปรากฏความจริงเป็นอย่างเดียวกันเสมอ
- ทีว่ ่าพยานเบิกความสอดคล้องต้องกัน อาจเกิดขึ้นได้หลายกรณี คือ อาจเป็นพยานบุคคลหลายปากเบิกความสอดคล้องซึ่ง
กันและกัน หรือพยานบุคคลเบิกความสอดคล้องกับพยานเอกสารหรือพยานวัตถุอื่น
- นอกจากพยานจะต้องเบิกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สอดคล้องต้องกันแล้ว ศาลยังต้องคำานึงถึงเหตุผลที่ทำาให้พยาน
หลักฐานนั้นสอดคล้องต้องกันด้วย
- กฎแห่งความขัดกัน (Law of Contradiciton) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ขัดกันย่อมแสดงว่าข้อเท็จจริงนั้นไม่เป็น
ความจริง กล่าวคือ ข้อเท็จจริงใด ๆ ย่อมเป็นความจริงได้เพียงประการเดียวจะเป็นความจริงทั้งสองประการไม่ได้ จะต้องมี
ข้อใดข้อหนึ่งเป็นความเท็จหรืออาจจะเป็นเท็จทั้งสองข้อก็ได้
- ถ้าข้อที่ขัดกันเป็นเพียงข้อเท็จจริงปลีกย่อยหรือพลความซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เป็ นธรรมดาข้อเท็จจริงที่ขัดกันนั้นก็ยังไม่ถือว่า
เป็นความเท็จ
- สิ่งใดเป็นรายละเอียดที่คนธรรมดาจะต้องใช้ความสังเกตเป็นพิเศษจึงจะรู้ถึงข้อเท็จจริงนั้นได้ สิ่งนั้นเป็นพลความ ส่วน
สิ่งใดที่แม้คนธรรมดาก็สามารถรู้ถึงข้อเท็จจริงนั้นได้โดยใช้ความสังเกตเพียงเล็กน้อย สิ่งนัน้ ถือว่าเป็นข้อสำาคัญ
- กฎแห่งความเป็นครึ่ง ๆ กลาง ๆ (Law of Excluded Middle) หมายถึง ข้อเท็จจริงใดเป็นความจริงอย่างไร ก็
ต้องเป็นความจริงอย่างนั้นเสมอตั้งแต่ต้นจนจบ จะเป็นความจริงบางส่วนและไม่จริงบ้างบางส่วนไม่ได้ มิฉะนัน้ จะต้องเป็น
ความเท็จ
- ถ้าเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ความจริงได้เฉพาะตอนแรกและตอนท้าย สำาหรับตอนกลางไม่สามารถพิสูจน์ได้ กรณี
เช่นนี้ถ้าระยะเวลาในช่วงตอนกลางกระชั้นชิดกับช่วงแรกและช่วงท้าย แนวทางพิจารณาของศาลส่วนใหญ่จะเชื่อว่าข้อเท็จ
จริงในตอนกลางน่าจะเป็นเช่นเดียวกับข้อเท็จจริงในตอนแรกและตอนท้าย
- กฎแห่งความมีเหตุผลอันสมควร หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานต่าง ๆ นัน้ แม้จะสอดคล้องต้องกันเป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกันตั้งแต่ต้นจนจบและไม่มีข้อขัดกัน ข้อเท็จจริงนั้นก็ต้องมีเหตุมีผลอันสมควรด้วย โดยคำานึงถึงการได้มาซึ่ง
ข้อเท็จจริงนั้น
- เราต้องเข้าใจถึงลำาดับเหตุการณ์ความคิดก่อนที่จะออกมาเป็นคำาพูด มีลำาดับอยู่ 3 ขัน้ ได้แก่
1. สัมปชัญญะหรือการรับรู้เหตุการณ์
2. ความทรงจำา
3. การถ่ายทอด
- เมื่อพิจารณาคำาเบิกความของพยานทุกปากศาลจึงตั้งคำาถามไว้ในใจเสมอว่า
1. พยานปากนี้มีการรับรู้ที่ถูกต้องหรือไม่ มีอคติต่อเหตุการณ์ที่พบประสบมาหรือไม่ พยานมีความสนใจในเรื่องนั้นหรือ
ไม่ พยานมีความสามารถในการสังเกตเพียงใด และประการสำาคัญ พยานมีโอกาสได้รับรู้เหตุการณ์จริง ๆ อย่างที่เบิกความ
หรือไม่
2. พยานมีความสามารถในการจดจำาได้มากน้อยเพียงใดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความประทับใจพยานเพียงพอที่พยานจะ
จดจำาได้หรือไม่
3. พยานสามารถถ่ายทอดการรับรู้ของตนได้เพียงใด สิ่งเหล่านีข้ ึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ เช่น อายุ สติปัญญา
การศึกษา ประสบการณ์ อุปนิสัย เป็นต้น
8.2 หลักเกณฑ์การชั่งนำ้าหนักพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
แนวคิด
1. พยานหลักฐานที่ศาลจะนำามาพิจารณาชั่งนำ้าหนักในคดีแพ่งได้จะต้องเป็นพยานหลักฐานที่กฎหมายบัญญัติให้รับฟังได้
และได้ยื่นต่อศาลโดยชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายแล้ว
2. ในคดีแพ่งศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานทั้งหมดของทุกฝ่ายว่าเจือสมหนักไปข้างฝ่ายใดหรืออีกนัยหนึ่งคือพยานหลัก
ฐานของฝ่ายใดมีนำ้าหนักเหตุผลน่าเชื่อมากกว่าก็ให้ฝ่ายนั้นชนะคดีโดยไม่ต้องคำานึงว่าพยานหลักฐานนั้นจะปราศจากข้อ
สงสัยหรือไม่
3. ในกรณีที่พยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายมีนำ้าหนักกำ้ากึ่งกัน ศาลจะต้องดูหน้าที่นำาสืบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถ้าฝ่ายใด
มีหน้าที่นำาสืบข้อเท็จจริงนั้น ต้องถือว่าฝ่ายนั้นสืบไม่สม ต้องตัดสินให้ฝ่ายนั้นแพ้คดี
- เมื่อคูค่ วามฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใดเพื่อสนับสนุนคำาฟ้องหรือคำาให้การของตน คู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างนั้นย่อม
มีหน้าที่นำาสืบข้อเท็จจริงนั้น (ปวพ. ม.84) โดยการนำาพยานหลักฐานต่าง ๆ มาสืบพิสูจน์กันในศาล
- หากปรากฏว่าพยานหลักฐานใดมิได้ยื่นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลจะนำาพยานหลักฐานนั้น ๆ มา ประกอบการ
วินจิ ฉัยชั่งนำ้าหนักพยานเพื่อตัดสินชี้ขาดคดีมิได้
- พยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. พยานหลักฐานทีร่ ับฟังไม่ได้ด้วยตัวพยานหลักฐานนั้นเอง เพราะขาดคุณค่าที่จะพิสูจน์ถึงความจริงในคดีได้
1.1 พยานเอกสารที่เป็นเอกสารปลอม
1.2 พยานบุคคลที่เป็นพยานบอกเล่า คือ พยานที่มิได้รู้เห็นเหตุการณ์โดยตรง หากแต่ได้รับรู้ข้อเท็จจริงบางอย่างซึ่งอาจ
เป็นความจริงหรือความเท็จก็ได้ แต่บางประเภทอาจรับฟังได้ เช่น คำาบอกเล่าที่เป็นคำารับคำาบอกเล่าของผู้ที่ตายแล้ว
กิตติศัพท์หรือข้อเท็จจริงที่เล่าลือกันทั่วไป คำาพิพากษาหรือคำาพยานในคดีเรื่องก่อน เป็นต้น
1.3 พยานบุคคลที่เบิกความตามความเห็น แต่พยานความเห็นบางประเภทกฎหมายก็ยินยอมให้รับฟังได้ คือ กรณีสิ่งที่
พยานจะเบิกความนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่พยานไม่อาจพูดให้ศาลเข้าใจได้เว้นแต่จะใช้การสรุปตามความคิดเห็นของพยาน
หรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
1.4 พยานบุคคลที่ไม่สามารถเข้าใจและตอบคำาถามได้
2. พยานหลักฐานทีร่ ับฟังไม่ได้เนื่องจากมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐาน
2.1 การอ้างพยานเอกสาร ศาลจะต้องรับฟังเฉพาะต้นฉบับ ยกเว้นคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงรับฟันว่าสำาเนาเอกสาร
ถูกต้อง หรือในกรณีที่ต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้เนื่องจากสูญหาย หรือถูกทำาลายหรือด้วยเหตุประการอื่น หรือต้นฉบับอยู่ใน
ความควบคุมของทางราชการ
2.2 กรณีที่กฎหมายบังคับให้คู่ความฝ่ายใดต้องมีพยานเอกสารมาแสดงต่อศาลเมื่อฟ้องคดี คูค่ วามฝ่ายนั้นจะนำาพยาน
บุคคลมาสืบแทนพยานเอกสารหรือสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในพยานเอกสารดังกล่าวมิได้ และพยานเอกสารจะต้อง
ได้ยื่นโดยถูกต้องตามกฎหมายด้วย ซึ่งมีหลักเกณฑ์โดยสรุปดังนี้
2.2.1 คู่ความต้องยื่นบัญชีแสดงรายการพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่ประสงค์จะอ้างอิงต่อศาลก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า
3 วัน หากมีการเพิ่มเติมพยานหลักฐานใดก็ให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก่อนเสร็จการสืบพยานของคู่ความซึ่งมีหน้าที่
นำาสืบก่อน
2.2.2 คู่ความจะต้องส่งสำาเนาเอกสารที่อ้างเป็นพยานต่อศาลและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน
2.2.3 พยานเอกสารบางชนิดต้องปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนและมีการขีดฆ่าอากรแสตมป์นนั้ แล้ว
2.2.4 พยานเอกสารต้องเสียค่าอ้างเอกสารเป็นพยานในศาลชั้นต้น ฉบับละ 5 บาท แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 250 บาท
ชั้นอุทธรณ์และฎีกาฉบับละ 10 บาท แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 400 บาท
- พยานหลักฐานที่รับฟังได้ และยื่นโดยชอบแล้วศาลจะนำามาพิจารณาอีกทีว่าจะเชื่อถือพยานชั้นใดได้เพียงใด ขัน้ ตอนนี้
เรียกว่าการชั่งนำ้าหนักพยานหลักฐาน
- การวินิจฉัยคดีแพ่งมีหลักเกณฑ์ คือ ศาลต้องพิจารณาประเด็นพิพาทในคดีเสียก่อน โดยดูจากคำาฟ้องและคำาให้การ หาก
ปรากฏว่าจำาเลยมิได้ให้การปฏิเสธหรือให้การต่อสู้ฟ้องโจทก์ในข้อใด ถือว่าฟ้องข้อนั้นไม่เป็นข้อโต้เถียงจึงไม่เป็นประเด็น
พิพาทในคดี โจทก์ไม่ต้องนำาสืบในประเด็นนั้น ศาลรับฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องได้เลย เมื่อได้ประเด็นพิพาทแล้ว
ศาลจะดูพยานหลักฐานของคู่ความทุกฝ่ายในคดี แล้ววินิจฉัยว่าพยานหลักฐานทั้งหมดนั้นเจือสมหนักไปข้างฝ่ายใด แม้จะ
ไม่ถึงกับปราศจากข้อสงสัย ศาลก็วินิจฉัยชี้ขาดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้ชนะคดีได้ ส่วนในคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทหลายประเด็น
หากพยานหลักฐานของฝ่ายใดน่าเชื่อมากกว่าในประเด็นใดก็ตัดสินให้ฝ่ายนั้นชนะคดีไปเฉพาะในประเด็นนั้น
- ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดมีหน้าที่นำาสืบและได้นำาพยานหลักฐานที่รับฟังได้เข้าสืบแล้ว แต่อีกฝ่ายไม่สามารถถามค้าน
ทำาลายนำ้าหนักคำาพยานฝ่ายแรกได้ และไม่สามารถนำาสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นได้ เช่นนี้ถือว่าพยานหลักฐานของฝ่ายที่มีหน้า
ที่นำาสืบมีนำ้าหนักดีกว่า ศาลต้องตัดสินให้คู่ความฝ่ายนั้นชนะคดี
- ถ้าคู่ความฝ่ายใดมีหน้าที่นำาสืบข้อเท็จจริงนั้น เมื่อกรณีกำ้ากึ่งกันต้องถือว่าฝ่ายที่มีหน้าที่นำาสืบไม่สม ศาลต้องตัดสินให้
ฝ่ายนั้นแพ้คดีไป
8.3 หลักเกณฑ์การชั่งนำ้าหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา
แนวคิด
1. พยานหลักฐานที่ศาลจะนำามาพิจารณาชั่งนำ้าหนักในคดีอาญาได้ ต้องเป็นพยานหลักฐานที่ใช้พิสูจน์ว่าจำาเลยมีความผิด
หรือบริสุทธิ์ ซึ่งพยานหลักฐานนั้นต้องมิได้เกิดจากการกระทำาอันมิชอบด้วยกฎหมาย
2. การสืบพยานในคดีอาญา โจทก์มีหน้าที่นำาสืบก่อนเสมอ การวินิจฉัยชั่งนำ้าหนักพยานหลักฐานก็ต้องวินิจฉัยพยานหลัก
ฐานของโจทก์ก่อน เพราะถือว่าโจทก์มีหน้าที่นำาสืบพิสูจน์แล้ว มีการกระทำาความผิดเกิดขึ้นและจำาเลยเป็นผู้กระทำาความ
ผิดนั้น หากโจทก์สืบไม่สม ศาลก็ยกฟ้องได้เลยโดยไม่ต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของจำาเลย
3. หากพยานหลักฐานของโจทก์มีข้อสงสัยว่าจำาเลยกระทำาผิดจริงหรือไม่ ศาลต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นผล
ดีแก่จำาเลย แต่เหตุที่สงสัยนัน้ ต้องเป็นเหตุอันสมควรที่จะให้สงสัยศาลจึงจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้
- พยานหลักฐานใดที่คู่ความมีสิทธิอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาได้ พยานหลักฐานนั้นศาลย่อมนำามาพิจารณาชั่งนำ้า
หนักพยานได้ทั้งสิ้น
- พยานหลักฐานใด ๆ ไม่วา่ จะเป็นพยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลที่คู่ความในคดีประสงค์จะนำาสืบพิสูจน์วา่
จำาเลยมีความผิด หรือเพื่อพิสูจน์วา่ จำาเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ คูค่ วามย่อมมีสิทธิ์อ้างเป็นพยานหลักฐานได้เสมอ ไม่วา่ จะเป็นพยาน
ชั้นหนึ่งหรือพยานชั้นสอง ประจักษ์พยานหรือพยานบอกเล่าก็ตาม
- พยานที่อ้างมานั้นต้องมิได้เกิดจากการจูงใจ การขู่เข็ญ หลอกลวง มีคำามั่นสัญญา หรือได้มาโดยไม่ชอบด้วยประการอื่น
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการอ้างพยานหลักฐานในคดีอาญา
1. ห้ามโจทก์อ้างจำาเลยเป็นพยาน แม้กฎหมายจะห้ามโจทก์อ้างจำาเลยเป็นพยาน แต่ก็ไม่หา้ มที่จำาเลยจะสมัครใจเบิกความ
เอง ลำาพังแต่คำาซัดทอดของจำาเลยด้วยกันเองอย่างเดียวยังไม่พอฟั งลงโทษจำาเลยได้
2. ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานได้ หากปรากฏว่าหาต้นฉบับไม่ได้ คู่ความก็มีสิทธิอา้ งสำาเนาที่มีการรับรองว่าถูก
ต้องหรืออาจอ้างบุคคลที่รู้ข้อความในเอกสารนั้นเข้ามาเป็นพยานเบิกความถึงข้อความในเอกสารแทนก็ได้
- ส่วนการอ้างพยานเอกสารในคดีอาญา แม้ตราสารนั้นจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ คู่ความในคดีก็มิสิทธิอ้างเป็นพยานหลัก
ฐานได้ และศาลก็มีอำานาจรับฟังพยานหลักฐานชนิดนี้ได้ด้วย
-โดยสรุปแล้วพยานหลักฐานใดๆที่คู่ความมีสิทธิอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาได้ ศาลก็มีอำานาจนำาพยานหลักฐาน
นัน้ มาพิจารณาชั่งนำ้าหนักพยานได้ทั้งสิ้นเพียงแต่นำ้าหนักความน่าเชื่อของพยานแต่ละชนิดอาจแตกต่างกันบ้างตามประเภท
ที่มีและชั้นของพยาน
- วิธีการชั่งนำ้าหนักพยานหลักฐานในคดีอาญาอาจแบ่งเป็นได้ 2 ขั้นตอน คือ
1. ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานทั้งหมดของโจทก์ว่ามีนำ้าหนักน่าเชื่อได้หรือไม่ หากพยานหลักฐานของโจทก์ไม่น่าเชื่อ
ว่าจำาเลยมีความผิดจริงตามฟ้อง ศาลชอบจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้เลยโดยไม่จำาต้องดำาเนินการอย่างใดต่อไปอีก เมื่อ
โจทก์เป็นผู้กล่าวอ้าง โจทก์มีหน้าที่นำาสืบ และถ้าจำาเลยให้การปฏิเสธหรือไม่ให้การใด ๆ เลย โจทก์ก็ต้องนำาสืบทุกประการ
ทั้งองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายในของความผิดนั้น
คดีทจี่ ำาเลยรับสารภาพต่อศาล ศาลย่อมรับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติได้ว่า จำาเลยกระทำาความผิดและลงโทษจำาเลยได้เลยโดย
โจทก์ไม่ต้องสืบพยาน เว้นแต่จะเป็นคดีที่มีกำาหนดอัตราโทษอย่างตำ่าไว้ให้จำาคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนัก
กว่านั้น แม้จำาเลยจะรับสารภาพ ศาลก็ยังต้องฟังพยานโจทก์ต่อไปจนกว่าจะพอใจว่าจำาเลยได้กระทำาผิดจริง
หน้าที่นำาสืบมิใช่ว่าจะต้องตกอยู่กับโจทก์เสมอไป บางประเด็นอาจตกอยู่กับจำาเลยได้ในบางกรณี เช่น เมื่อจำาเลยยอมรับว่า
กระทำาผิดจริงแต่ต่อสู้ว่าไม่ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง จำาเลยต้องเป็นผู้นำาสืบในประเด็นนี้
โจทก์จะต้องนำาสืบให้ได้ความ 2 ประการ คือ มีการกระทำาความผิดเกิดขึ้นจริง และจำาเลยเป็นผู้กระทำาความผิดนั้น
2. ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานของจำาเลยประกอบ ศาลต้องนำาพยานหลักฐานของจำาเลยขึ้นมาวินิจฉัยว่าน่าเชื่อได้หรือ
ไม่ และสามารถหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้หรือไม่ อย่างไร ถ้าพยานหลักฐานของจำาเลยมีนำ้าหนักน่าเชื่อถือ แม้ไม่
ถึงกับหักล้างพยานโจทก์ได้ทั้งหมด แต่ก็ก่อให้เกิดข้อสงสัยว่าจำาเลยเป็นผู้กระทำาผิดจริงหรือไม่เช่นนี้ ศาลต้องยกประโยชน์
แห่งความสงสัยให้จำาเลย
- เมื่อศาลวินิจฉัยชั่งนำ้าหนักพยานหลักฐานแล้วเห็นว่าจำาเลยผิดจริง มีแนวปฏิบัติดังนี้
1. การลงโทษต้องไม่ตำ่าและสูงกว่าอัตราที่กฎหมายกำาหนด
2. ศาลควรลงโทษตามบัญชีอัตราโทษ (หรือที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าบัญชียี่ต๊อก) ของศาลนั้น ๆ โดยเฉพาะในศาลเดียวกัน
ความผิดอย่างเดียวกัน ความผิดอย่างเดียวกัน ฐานะของจำาเลยและพฤติการณ์อื่น ๆ เหมือนกัน ควรลงโทษให้เหมือนกัน

หน่วยที่ 9 การเรียงคำาพิพากษาและคำาสั่ง
แนวคิด
1. คำาพิพากษาและคำาสั่งของศาลทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาต้องทำาเป็นหนังสือ มีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
และลงลายมือชื่อผู้พิพากษาที่ตัดสินคดี เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำาด้วยวาจาได้
2. การเรียงคำาพิพากษาและคำาสั่งของศาลไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไป ควรมีเหตุผลดีไม่เยิ่นเย้อและเหตุผลที่ยกขึ้นวินิจฉัย
ต้องเป็นเหตุผลที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในสำานวน นอกจากนี้ภาษาที่ใช้ต้องเป็นภาษากฎหมายและภาษาราชการด้วย
3. ศาลต้องอ่านคำาพิพากษาและคำาสั่งต่อหน้าคู่ความทุกฝ่าย ถ้าคู่ความในคดีแพ่งไม่มาศาล ให้ศาลงดการอ่านคำาพิพากษา
หรือคำาสั่งได้ และให้ถือว่าคำาพิพากษาหรือคำาสั่งนั้นได้อ่านแล้วโดยชอบ ส่วนในคดีอาญา ถ้าจำาเลยไม่มาศาลและมีเหตุ
สงสัยว่าจำาเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟัง ให้ศาลออกหมายจับจำาเลย หากครบหนึ่งเดือนแล้วยังไม่ได้ตัวจำาเลยมาศาล ศาล
จึงจะอ่านคำาพิพากษาหรือคำาสั่งลับหลังจำาเลยได้ และให้ถือว่าได้อา่ นโดยชอบแล้ว

9.1 การเรียงคำาพิพากษาและคำาสั่งในคดีแพ่ง
แนวคิด
1. คดีที่ยนื่ ฟ้องต่อศาลและศาลรับฟ้องไว้ หากศาลมิได้มีคำาสั่งให้จำาหน่ายคดี ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีโดย
ทำาเป็นคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง
2. คำาพิพากษาและคำาสั่งในคดีแพ่งต้องทำาเป็นหนังสือ มีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และลงลายมือชื่อผู้
พิพากษาที่ตัดสินคดีนั้น เว้นแต่ในคดีบางประเภทที่กฎหมายบัญญัติให้ทำาด้วยวาจาได้
3. ศาลต้องพิพากษาหรือสั่งตามข้อหาในคำาฟ้องหรือคำาร้องทุก และห้ามพิพากษาหรือสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือ
นอกจากที่ปรากฏในคำาฟ้อง เว้นแต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ
4. ศาลต้องอ่านคำาพิพากษาและคำาสั่งในศาลโดยเปิดเผยตามวันเวลาที่ศาลนัด ต่อหน้าคู่ความทุกฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ก็ได้ ถ้าไม่มีคคู่ วามมาศาล ให้ศาลงดการอ่านและจดแจ้งไว้ในรายงานและให้ถือว่าคำาพิพากษาและคำาสั่งได้อ่านโดยชอบ
ด้วยกฎหมายแล้ว

- ทุกคดีความที่ยื่นฟ้องต่อศาลและศาลมีคำาสั่งรับฟ้องไว้ ศาลมีหน้าที่ต้องวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี โดยทำาเป็นคำา


พิพากษาหรือคำาสั่งแล้วแต่กรณีในวันที่เสร็จสิ้นการพิจารณา หรือในวันหลังก็ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร เว้นแต่ศาลจะได้
จำาหน่ายคดีเสียจากสารบบความแล้ว
- ความสำาคัญของการเรียงคำาพิพากษา นอกจากจะต้องตัดสินชีข้ าดด้วยความยุติธรรมและชอบด้วยกฎหมายด้วยแล้ว ในคำา
พิพากษานั้นจะต้องประกอบด้วยข้อความที่ชัดแจ้งว่าฝ่ายใดชนะหรือแพ้ และต้องชี้แจงแสดงเหตุผลในการตัดสินคดีนั้น
ด้วย ถ้ามีหลักกฎหมายหรือคดีแบบอย่างที่นำามาปรับแก่คดีก็ต้องเขียนไว้ด้วย เพื่อให้คู่ความทุกฝ่ายไม่ว่าฝ่ายที่แพ้หรือชนะ
คดีเห็นคล้อยตามคำาพิพากษาและรู้สึกว่าเขาได้รับความยุติธรรมแล้ว
- หลักเกณฑ์การเรียงคำาพิพากษา
1. คำาพิพากษาต้องทำาเป็นหนังสือ ยกเว้นกฎหมายบัญญัติให้ทำาด้วยวาจาได้ เช่น คดีมโนสาเร่ (ปวพ ม.194) หรือคดี
ไม่มีข้อยุ่งยาก (ปวพ. ม.196)
2. คำาพิพากษาต้องมีรายการดังบัญญัติ คือ ชื่อศาลที่พิพากษาคดีนั้น , ชื่อคู่ความทุกฝ่ายและผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้
แทนถ้าหากมี , รายการแห่งคดี คือ ชื่อเรื่องที่ฟ้อง (ศาลต้องระบุตามชื่อในกฎหมายและตามแบบพิมพ์รายงานคดีที่ใช้
รายงานกระทรวงยุติธรรมเป็นหลัก) คำาฟ้องโจทก์ คำาให้การจำาเลยและฟ้องแย้ง ถ้ามีการชี้สองสถานต้องเขียนไว้ว่าศาลชี้
สองสถานกำาหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำาสืบอย่างไร ถ้าคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงกันโดยไม่ต้องสืบพยานก็ให้
เขียนไว้หรือหากมีการท้ากันก็ให้เขียนไว้ การทำาแผนคดีเกี่ยวกับที่ดิน ถ้ามีการสืบพยานศาลจะต้องเขียนข้อเท็จจริงในทาง
พิจารณาให้ครบทุกประเด็น ศาลจะวินิจฉัยประเด็นเรียงตามลำาดับหรืยกประเด็นข้อใดวินิจฉัยก่อนหลังก็ได้ เมื่อศาลวินิจฉัย
ประเด็นข้อพิพาทแล้วต้องพิพากษาชี้ขาดคดีไปตามคำาขอท้ายฟ้อง
3. คำาพิพากษาต้องลงลายมือชื่อผู้พิพากษาที่พิพากษา
4. การทำาความเห็นแย้งในคำาพิพากษา
- คำาพิพากษาที่ดีไม่ควรสั้นรวบรัดจนเกิดข้อสงสัย หรือยาวเกินไปจนผู้ฟังสับสน สำานวนโวหารก็ไม่ควรโลดโผนจนเกิน
ไป แต่ควรมีเหตุผลที่ดีไม่ควรเยิ่นเย้อ และเหตุผลที่ยกขึ้นวินิจฉัยต้องเป็นเหตุผลที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในสำานวนนั้นๆ ด้วย
และประการสำาคัญต้องเป็นเหตุผลที่มีนำ้าหนักให้คู่ความทุกฝ่ายเห็นคล้อยตาม เพื่อให้คู่ความเกิดความรู้สึกว่าคำาพิพากษา
นัน้ ได้ให้ความเป็นธรรมแก่เขาอย่างดีที่สุดแล้ว
- การเรียงคำาพิพากษาในคดีแพ่ง คดีทเี่ ริ่มต้นด้วยคำาฟ้อง ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีโดยทำาเป็นคำาพิพากษา ส่วน
คดีที่เริ่มต้นด้วย คำาร้องขอ ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดีเป็นเหตุให้ศาลต้องดำาเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทหรือ
ไม่ก็ตามศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดโดยทำาเป็นคำาสั่ง
- หลักเกณฑ์การเรียงคำาสั่งในคดีแพ่ง
1. ต้องทำาเป็นหนังสือ ยกเว้นในคดีซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้ทำาด้วยวาจาได้
2. คำาสั่งต้องมีรายการดังที่บัญญัติไว้ใน ปวพ.ม. 141(1) – (5) คือ ชื่อศาล ชื่อคูค่ วาม รายการแห่งคดี เหตุผลแห่งคำา
วินจิ ฉัย คำาวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี
3. คำาสั่งต้องลงลายมือชื่อผู้พิพากษาที่ทำาคำาสั่งนัน้
- หลักเกณฑ์การอ่านคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง
1. ศาลต้องอ่านคำาพิพากษาหรือคำาสั่งตามวันเวลานัดพิพากษาหรือมีคำาสั่ง
2. ศาลต้องอ่านคำาพิพากษาหรือคำาสั่งในศาลโดยเปิดเผยต่อหน้าคู่ความ
- ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทราบวันนัดโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วแต่ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ให้ศาลอ่านคำา
พิพากษาหรือคำาสั่งนั้นให้คู่ความที่มาศาลฟังเพียงฝ่ายเดียวก็ได้ แต่หากคู่ความทราบนัดโดยชอบแล้วแต่ไม่มาศาลโดยแจ้ง
เหตุขัดข้อง ศาลจึงได้งดการอ่านคำาพิพากษา (หรือคำาสั่ง) และให้ถือว่าคำาพิพากษา (หรือคำาสั่ง) นี้ได้อ่านตามกฎหมาย
แล้วตั้งแต่วันนี้

9.2 การเรียงคำาพิพากษาและคำาสั่งในคดีอาญา
แนวคิด
1. คำาพิพากษาและคำาสั่งในคดีอาญาต้องทำาเป็นหนังสือ มีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และลงลายมือชื่อผู้
พิพากษาที่ตัดสินคดีนั้น
2. ห้ามศาลพิพากษาลงโทษจำาเลยเกินคำาขอตามฟ้อง ถ้าฐานความผิดท้ายฟ้องตำ่ากว่าฐานความผิดที่จำาเลยกระทำาต้อง
ลงโทษไม่เกินคำาขอท้ายฟ้อง และหากเป็นคนละเรื่องกันศาลจะลงโทษจำาเลยไม่ได้เลย
3. ศาลต้องอ่านคำาพิพากษาหรือคำาสั่งในศาลโดยเปิดเผยต่อหน้าคู่ความทุกฝ่าย ถ้าเป็นความผิดของโจทก์ที่ไม่มา ศาลอ่าน
โดยโจทก์ไม่อยู่นี้ก็ได้ แต่ถ้าจำาเลยไม่มา ศาลต้องรอจนกว่าจำาเลยจะมาศาล เว้นแต่มีเหตุสงสัยว่าจำาเลยหลบหนี หรือจงใจ
ไม่มาฟังให้ศาลออกหมายจับจำาเลย และหากไม่ได้ตัวจำาเลยมาศาลภายในหนึ่งเดือน ศาลจึงจะอ่านคำาพิพากษาหรือคำาสั่งลับ
หลังจำาเลยได้ และให้ถือว่าโจทก์หรือจำาเลยได้ฟังคำาพิพากษาหรือคำาสั่งนั้นแล้ว

- หลักเกณฑ์การเรียงคำาพิพากษาในคดีอาญา
1. คำาพิพากษาในคดีอาญาต้องทำาเป็นหนังสือ
2. คำาพิพากษาในคดีอาญาต้องมีรายการตามที่กฎหมาบัญญัติไว้ใน ปวอ. ม.186 (1)-(9) คือ ชื่อศาลและวันเดือนปีที่
อ่านคำาพิพากษา คดีระหว่างใคร ชือ่ เรื่องหรือฐานความผิด ข้อหาและคำาให้การ ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความโดยย่อ เหตุผล
ในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย บทมาตราที่ยกขึ้นปรับ คำาชีข้ าดให้ยกฟ้อง หรือลงโทษ คำาวินิจฉัย
ของศาลในเรื่องของกลางหรือในเรื่องทางแพ่งถ้ามี
3. คำาพิพากษาในคดีอาญาต้องลงลายมือชื่อผู้พิพากษาที่ตัดสิน
- แนวปฏิบัติในการเรียงคำาพิพากษาในคดีอาญา
1. ใช้ถ้อยคำาที่เคร่งครัดกว่าในคดีแพ่ง เมื่อมีการอ้างข้อกฎหมาย ศาลต้องใช้ถ้อยคำาที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเสมอ
2. การลดมาตราส่วน ศาลจะไม่วางโทษก่อนแล้วจึงลด แต่จะเขียนว่า “พิพากษาว่าจำาเลยมีความผิดตาม ปอ.ม.334
จำาเลยอายุกว่า 17 ปีแต่ไม่เกิน 20 ปี ศาลเห็นสมควรลดตามมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสาม ตามม.76 ให้จำาคุกจำาเลยไว้
2 ปี
3. ต้องไม่พิพากษาเกินคำาขอตามฟ้อง
4. การเขียนข้อเท็จจริงในคดี มีอยู่ 2 ประเภท คือ ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกันและข้อเท็จจริงที่เถียงกัน ศาลควรใส่ข้อเท็จ
จริงที่รับกันก่อนแล้วจึงเขียนข้อเท็จจริงที่เถียงกัน
5. กรณีศาลจะพิพากษายกฟ้อง ควรพิจารณาว่าจะเลือกสั่งขังจำาเลยไว้ก่อน หรือปล่อยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด แต่
ถ้าศาลยกฟ้องเพราะมีเหตุสงสัย (ไม่แน่ว่าจำาเลยกระทำาความผิดหรือไม่) ศาลก็ควรสั่งขังจำาเลยไว้ในระหว่างอุทธรณ์ เว้น
แต่จำาเลยมีประกันตัว
6. การวินิจฉัยเรื่องของกลาง แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลก็จำาต้องกล่าววินิจฉัยเรื่องของกลางด้วย จะงดไม่กล่าว
ถึงเลยไม่ได้
- คำาพิพากษาที่ดีนั้นมิได้หมายถึง คำาพิพากษาที่มีสำานวนโวหารไพเราะเท่านั้น หากแต่หมายถึงคำาพิพากษาที่สามารถแสดง
เหตุผลในการวินิจฉัยได้แจ่มแจ้ง เมื่อผู้ใดอ่านแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธาและยอมเชื่อถือว่าเป็นการตัดสินที่ยุติธรรมแล้ว
นัน่ เอง
- การเรียงคำาสั่งในคดีอาญามีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ต้องทำาเป็นหนังสือ
2. ต้องมีรายการดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือ ชื่อศาลและวันเดือนปี ชื่อคู่ความทุกฝ่าย เรื่อง ข้อหาและคำาให้การ ข้อเท็จจริง
ซึ่งพิจารณาได้ความ เหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย บทมาตราที่ยกขึ้นปรับ คำาชี้ขาดให้
ยกฟ้องหรือลงโทษ และคำาวินิจฉัยของศาลในเรื่องของกลางหรือในเรื่องฟ้องทางแพ่ง
3. ต้องลงลายมือชื่อผู้พิพากษาที่ทำาคำาสั่งนัน้
- หลักเกณฑ์การอ่านคำาพิพากษาหรือคำาสั่งในคดีอาญา มีดังนี้
1. ศาลต้องอ่านคำาพิพากษาหรือคำาสั่งภายในกำาหนดเวลาตามกฎหมาย เมื่อเสร็จการพิจารณาคดีแล้ว ศาลต้องพิพากษาหรือ
มีคำาสั่งชี้ขาดคดีในวันนั้น หรือภายในเวลาสามวันนับแต่เสร็จคดี
2. ศาลต้องอ่านคำาพิพากษาหรือคำาสั่งในศาลโดยเปิดเผยต่อหน้าคู่ความ ให้คู่ความลงลายมือชื่อในรายงานไว้ และผู้
พิพากษาผู้อ่านก็ต้องลงชื่อด้วยเช่นกัน
- กรณีโจทก์ฝา่ ยเดียวไม่มาศาลโดยเป็นความผิดของโจทก์เอง ศาลมีอำานาจที่จะอ่านคำาพิพากษาหรือคำาสั่งลับหลังโจทก์ได้
และให้ถือว่าโจทก์ได้ฟังคำาพิพากษาหรือคำาสั่งนัน้ แล้ว
- ถ้ามีเหตุจำาเป็นและสมควรทีท่ ำาให้จำาเลยไม่สามารถมาศาลได้ ศาลต้องเลื่อนการอ่านคำาพิพากษาไว้ก่อนจนกว่าจำาเลยจะ
มาศาลได้ หากในคดีนั้นมีจำาเลยหลายคน และจำาเลยบางคนที่มาศาลจะถูกปล่อย ศาลก็มีอำานาจปล่อยชั่วคราวระหว่างรอ
การอ่านคำาพิพากษาหรือคำาสั่งนั้นได้ แต่ถ้าจำาเลยและนายประกัน (ถ้ามีประกันตัว) ไม่มาศาลโดยมีเหตุสงสัยว่าจำาเลยหลบ
หนีหรือจงใจไม่มาฟัง ศาลต้องออกหมายจับจำาเลยและเลื่อนการฟังคำาพิพากษาไปประมาณเดือนเศษ หลังจากออกหมายจับ
แล้วเป็นเวลา 1 เดือน แต่ยังจับตัวจำาเลยไม่ได้จนถึงวันนัดฟังคำาพิพากษา ศาลก็มีอำานาจอ่านคำาพิพากษาลับหลังจำาเลยได้

หน่วยที่ 10 การเรียงคำาฟ้องอุทธรณ์และคำาแก้อุทธรณ์ฎีกา
แนวคิด
1. การอุทธรณ์หรือฎีกา เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำาพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ คูค่ วามอีกฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสอง
ฝ่ายขอให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาหรือสั่งคดีใหม่ให้เป็นไปตามความประสงค์ของคู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์
หรือฎีกานั้น ซึ่งคู่ความต้องเตรียมการให้การเรียงคำาฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกาให้รัดกุม
2. การเรียงคำาแก้อุทธรณ์หรือคำาแก้ฎีกาก็เช่นเดียวกับการอุทธรณ์หรือฎีกา คือ ต้องมีการเตรียมการก่อนการร่างคำาแก้
อุทธรณ์หรือคำาแก้ฎีกาโดยเรียงให้ได้สาระสำาคัญตามที่กฎหมายกำาหนด

10.1 การเรียงคำาฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา
แนวคิด
1. วิธีเรียงคำาอุทธรณ์หรือฎีกา ต้องเขียนสาระสำาคัญของคำาฟ้อง คำาให้การคำาพิพากษาศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ทาง
นำาสืบของโจทก์และจำาเลย เนื้อหาของอุทธรณ์ หรือฎีกา และสรุปคำาขอของผู้อุทธรณ์ฎีกา
2. การเขียนอุทธรณ์ หรือฎีกาข้อเท็จจริงทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาต้องกล่าวไว้โดยชัดเจน และต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้กล่าว
มาแล้วในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ การใช้เหตุผลโต้ยังคำาวินิจฉัยของศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ต้องชัดเจนสามารถหัก
ล้างเหตุผลของคำาวินิจฉัยได้ โดยเฉพาะคดีอาญาการเขียนข้อเท็จจริงในการอุทธรณ์หรือฎีกาต้องระบุข้อเท็จจริงโดยย่อว่า
จะคัดค้านข้อเท็จจริงข้อใด อย่างไรโดยชัดเจน
3. ปัญหาข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงในคดีแพ่งและคดีอาญา ผูอ้ ุทธรณ์หรือฎีกาต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์หรือฎีกา
และต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งต้องเป็นสาระแก่คดีอันสมควรได้รับการวินิจฉัยด้วย เว้น
แต่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้หรือเพราะเกี่ยวด้วย
มิปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอันว่าด้วยอุทธรณ์หรือฎีกา
4. คดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์เพียงเล็กน้อยอาจต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ และคดีอาญาที่คำาพิพากษามีผลกระ
ทบแก่คู่ความเล็กน้อยอาจต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาได้
5. คู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาคำาสั่งระหว่างพิจารณาไม่ได้ เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
6. การยืน่ อุทธรณ์หรือฎีกาในคดีแพ่งและคดีอาญา และการยื่นคำาแก้อุทธรณ์หรือฎีกาจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและมี
ระยะเวลาตามที่กฎหมายกำาหนด

- ในการเตรียมคดีแพ่งและคดีอาญา คู่ความผู้อุทธรณ์หรือฎีกาจะต้องเตรียมสิ่งที่มีสาระสำาคัญ ดังนี้


1. คำาฟ้อง คำาฟ้องอุทธรณ์
2. คำาให้การ คำาแก้อุทธรณ์
3. คำาเบิกความของพยานของทั้งสองฝ่าย
4. พยานเอกสารที่ใช้ในการพิจารณาคดีของทั้งสองฝ่าย
5. คำาพิพากษาของศาลชั้นต้น คำาพิพากษาของศาลอุทธรณ์
- การเรียงคำาฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
1. ต้องกล่าวถึงสาระสำาคัญของคำาฟ้องเดิม โดยสรุปข้อเท็จจริงตามคำาฟ้องให้สั้นกะทัดรัดง่ายต่อการอ่าน อ่านคำาฟ้องให้
ขึ้นใจว่าฟ้องเรื่องอะไร
2. ต้องกล่าวสาระสำาคัญของคำาให้การเดิม เพื่อให้รู้ว่าผู้ถูกกล่าวหาแก้ข้อกล่าวหาว่าอย่างไร
3. ต้องกล่าวถึงคำาพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์โดยย่อ เขียนเฉพาะส่วนที่เป็นคำาพิพากษาจริง ๆ
4. ต้องกล่าวถึงทางนำาสืบโจทก์และจำาเลย ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อเป็นการรวบรวมข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์ที่สุดตามที่กฎหมาย
กำาหนด โดยรวมคำาเบิกความพยานโจทก์และจำาเลยทำาปาก
5. เนื้อหาของอุทธรณ์หรือฎีกา ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้กล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์
6. เขียนสรุปคำาขอ เพื่อสรุปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเห็นถึงความประสงค์ของผู้อุทธรณ์หรือฎีกา
- หลักเกณฑ์ในการเขียนปัญหาข้อเท็จจริงคดีแพ่งในการอุทธรณ์ ฎีกา มีดังนี้
1. การเขียนอุทธรณ์ ฎีกา ข้อเท็จจริงในคดีแพ่งซึ่งอุทธรณ์ฎีกาต้องกล่าวโดยแจ้งชัดและต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่า
กันมาแล้วในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์
2. ผู้เขียนต้องศึกษาประเด็นพิพากษาแห่งคดีให้ละเอียด เหตุผลที่ศาลวินิจฉัยอาศัยจากพยานหลักฐานใด
3. ผู้เขียนต้องใช้เหตุผลโต้แย้งคำาวินิจฉัยของศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน
4. สรุปความเห็นของผู้เขียน และมีคำาขอให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิพากษาตามเหตุผลดังกล่าว
- หลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์ ฎีกา ปัญหาข้อกฎหมายในคดีอาญามีดังนี้
1. การอุทธรณ์ ฎีกา ข้อกฎหมายต้องระบุข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างไว้โดยชัดแจ้ง
2. ผู้อุทธรณ์ ฎีกาต้องบอกกล่าวแสดงไว้ในอุทธรณ์ ฎีกา ในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งปัญหาข้อกฎหมายต้องเขียนแยกจาก
ปัญหาข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้ง
3. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือที่เกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาอันว่าด้วยอุทธรณ์ ฎีกา แม้ไม่เขียนไว้ในอุทธรณ์หรือฎีกา ศาลอุทธรณ์หรือฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
เอง
- คดีที่ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ปวพ. ม.224 คือ
1. คดีที่มีราคาทรัพย์สินหรือจำานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินสองหมื่นบาท ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
2. คดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินสองหมื่นบาท ไม่ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงคือ
- ผูพ้ ิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทำาความเห็นแย้งไว้
- ผูพ้ ิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้
- ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์ เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจาก
อธิบดีผู้พิพากษาภาค
ต้องไม่เห็นด้วยในผลของคำาพิพากษานั้น และความเห็นแย้งที่จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ต้องเป็นความเห็นแย้งในข้อเท็จ
จริง
3. คดีฟ้องขอให้ปลอดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำานวณเป็นราคาเงินได้ ไม่หา้ มอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
4. คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว ไม่ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
5. คดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ไม่ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
- คดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์แยกได้ดังนี้
1. คดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์โดยมุ่งหมายจะบังคับเอาแต่อสังหาริมทรัพย์ชิ้นหนึ่งชิ้นใดโดยเฉพาะ
2. คดีเกี่ยวด้วยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
3. คดีเกี่ยวด้วยประโยชน์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
6. คดีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์บางกรณี ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง คือ
1. คดีฟ้องเรียกค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์อันมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท
2. คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อนั มีค่าเช่าในขณะยื่นคำาฟ้องไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
3. คดีฟ้องขับไล่ผู้อาศัยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในขณะยื่นคำาฟ้องให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
ข้อยกเว้นให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ เฉพาะข้อยกเว้นตามม. 224 วรรคสอง คือ
- จำาเลยกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์เป็นกรณีที่จำาเลยให้การต่อสู้วา่ อสังหาริมทรัพย์พิพาทนั้นเป็นของจำาเลยเอง
ต้องเป็นเรื่องที่จำาเลยโต้เถียงว่าจำาเลยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาทนั้น
- จำาเลยยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่าหรืออาศัย

- คำาพิพากษาหรือคำาสั่งของศาลอุทธรณ์อาจถูกคัดค้านไปยังศาลฎีกาตาม ม.248 เมื่อมีข้อจำากัดห้ามอุทธรณ์อยู่ในม.


224 แล้ว คดีที่ต้องห้ามม.224 ก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาอยู่ในตัว
- หลักสำาคัญในการพิจารณาคดีที่ถือว่าศาลอุทธรณ์แก้ไขเล็กน้อย คือ
1. พิจารณาจากจำานวนเงินหรือราคาทรัพย์ส่วนที่ศาลอุทธรณ์แก้ไข
2. พิจารณาจากอัตราส่วนของทรัพย์สินพิพาทที่ศาลอุทธรณ์แก้ไข
3. พิจารณาจากความรู้สึกหรือจิตใจของคู่ความทั้งสองฝ่ายว่า ได้รับความกระทบกระเทือนเพียงไรในการที่ศาลอุทธรณ์
แก้ไข
- คดีที่ห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง พิจารณาตาม ม.224
1. คดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท
ข้อยกเว้น คูค่ วามอาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ในกรณีดังนี้
1) ผูพ้ ิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลอุทธรณ์ได้มีความเห็นแย้ง
2) ผูพ้ ิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้รับรองไว้หรือรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่ามีเหตุ
สมควรที่จะฎีกาได้
3) ได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
2. คดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำานวณเป็นราคาเงินได้ คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว
และคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ไม่หา้ มฎีกาในข้อเท็จจริง
3. คดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์บางกรณี ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
1) คดีฟ้องเรียกค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์อันมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท
2) คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำาฟ้องไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท
3) คดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในขณะยื่นคำาฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000
บาท
- คำาสั่งระหว่างพิจารณาเป็นคำาสั่งของศาลที่ได้สั่งก่อนมีคำาพิพากษาหรือคำาสั่งชี้ขาดตัดสินคดี โดยเมื่อศาลสั่งไปแล้วยังมี
กระบวนพิจารณาที่ศาลจะต้องดำาเนินต่อไปอีก และคำาสั่งนั้นไม่ใช่คำาสั่งตาม ม.227 และ 228
- คำาสั่งใดเป็นคำาสั่งระหว่างพิจารณาหรือไม่ให้พิจารณาโดยเฉพาะของศาลนั้น ๆ
ก. ไม่เสร็จ คำาสั่งนั้นไม่ทำาให้คดีเสร็จไปจากศาลนั้น เป็นคำาสั่งระหว่างพิจารณา
ข. เสร็จ คำาสั่งนั้นทำาให้คดีเสร็จหรือล้างมือไปจากศาลไม่ใช่คำาสั่งระหว่างพิจารณา
- การอุทธรณ์คำาสั่งระหว่างพิจารณา มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. เมื่อศาลชั้นต้นมีคำาพิพากษาหรือคำาสั่งชี้ขาดตัดสินคดี
2. คู่ความประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์ต้องโต้แย้งคำาสั่งนั้นไว้
3. อุทธรณ์ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลมีคำาพิพากษาหรือคำาสั่งชี้ขาดตัดสินคดี
- การโต้แย้งคำาสั่งระหว่างพิจารณา อาจแถลงด้วยวาจาให้ศาลจดข้อโต้แย้งไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาเมื่ออยู่ต่อหน้า
ศาล หรือยื่นคำาแถลงเป็นหนังสือต่อศาลในกรณีที่ไม่ได้อยู่ต่อหน้าศาล การโต้แย้งคำาสั่งศาลต้องมีคำาสั่งศาลเสียก่อน ถ้าคู่
ความฝ่ายที่ควรโต้แย้งมิได้โต้แย้งไว้ก็เหมือนหนึ่งยินยอม ถ้าโต้แย้งไว้แสดงว่าไม่ยนิ ยอมตามคำาสั่งนั้น แม้อุทธรณ์คำาสั่งนั้น
ในระหว่างพิจารณาไม่ได้ ก็จะอุทธรณ์ได้เมื่อศาลตัดสินคดีนั้นแล้ว
- อำานาจศาลในการออกคำาสั่งตามม. 18 มี 3 ประการ คือ
1. ศาลมีคำาสั่งรับ คำาสั่งศาลเป็นคำาสั่งระหว่างพิจารณา จะอุทธรณ์ฎีกาทันทีไม่ได้ต้องคัดค้านไว้ก่อนแล้วอุทธรณ์ใน
กำาหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคำาพิพากษาหรือคำาสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น ตาม ม. 226
2. ศาลมีคำาสั่งไม่รับหรือให้คืน ทำาให้คดีเสร็จทั้งเรื่อง ไม่ถือว่าเป็นคำาสั่งระหว่างพิจารณาอุทธรณ์ฎีกาได้ตาม ม.22
3 ศาลมีคำาสั่งไม่รับหรือให้คืน มิได้ทำาให้คดีเสร็จทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ อุทธรณ์ฎีกาได้ตามม.
228 โดยอาจอุทธรณ์ฎีกาได้ทันทีภายในกำาหนด 1 เดือน นับแต่วันมีคำาสั่ง หรืออุทธรณ์ฎีกาภายใน 1 เดือน ภายหลักมี
คำาพิพากษาหรือคำาสั่งโดยไม่ต้องคัดค้าน
- การอุทธรณ์คำาสั่งระหว่างพิจารณาคดีอาญา ไม่ต้องคัดค้านก่อนก็อุทธรณ์ได้ ถ้าโจทก์ยนื่ คำาร้องขอแก้เพิ่มเติมฟ้อง ไม่ว่า
ศาลจะสั่งอนุญาตหรือยกคำาร้องก็เป็นคำาสั่งระหว่างพิจารณาทั้งสิ้น ผิดกับคดีแพ่งถ้าศาลอนุญาตให้โจทก์แก้เพิ่มเติมฟ้องก็
เป็นคำาสั่งระหว่างพิจารณา แต่ถ้าศาลไม่อนุญาตให้ยกคำาร้องก็เป็นคำาสั่งไม่รับคำาคู่ความซึ่งอุทธรณ์ฎีกาได้ทนั ที
- การยื่นอุทธรณ์ ฎีกาในคดีแพ่งและคดีอาญามีข้อที่เหมือนกัน ดังนี้
คดีแพ่ง คู่ความยื่นอุทธรณ์ ฎีกาได้ภายในกำาหนด 1 เดือนนับแต่วันที่อ่านคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง
คดีอาญา คู่ความยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำาหนด 1 เดือน นับแต่วันที่อ่านคำาพิพากษาหรือถือว่าได้อ่านคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง
ให้คคู่ วามฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง คูค่ วามยื่นฎีกาได้ภายในกำาหนด 1 เดือน นับแต่วันที่อ่านคำาพิพากษาหรือถือว่าได้อ่านคำา
พิพากษาหรือคำาสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟัง
10.2 การเรียงคำาแก้อุทธรณ์ฎีกา
แนวคิด
1. การเรียงคำาแก้อุทธรณ์คำาแก้ฎีกาในคดีแพ่งและคดีอาญาเป็นการหักล้างเหตุผลของฝ่ายที่อุทธรณ์หรือฎีกาเช่นเดียวกัน
แต่ในคดีอาญาไม่มีการเรียกให้ชดใช้ค่าฤาธรรมเนียมและค่าทนายความแทน

- เมื่อจำาเลยอุทธรณ์หรือจำาเลยฎีกาได้รับสำาเนาอุทธรณ์หรือสำาเนาฎีกาแล้ว จะยืน่ คำาแก้อุทธรณ์หรือคำาแก้ฎีกาหรือไม่ก็ได้


เพราะกฎหมายใช้คำาว่า “อาจ“ แสดงว่าจะยืน่ ก็ได้หรือไม่ยื่นก็ได้
- คำาฟ้องอุทธรณ์ คำาฟ้องฎีกา คำาแก้อุทธรณ์ คำาแก้ฎีกาเป็นคำาคู่ความชนิดที่มีคำาแถลงการณ์รวมอยู่ด้วย
- ข้อแตกต่างของคำาแก้อุทธรณ์คำาแก้ฎีกากับคำาแถลงการณ์ ถ้าเป็นคำาแก้อุทธรณ์หรือคำาแก้ฎีกาคู่ความผู้ยื่นอาจจะตั้ง
ประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือในชั้นฎีกาได้แล้วแต่กรณี แต่หากเป็นคำาแก้อุทธรณ์หรือคำาแก้ฎีกาถือเป็นคำาแถลงการณ์
- ถ้าจะแก้คำาแก้อุทธรณ์หรือคำาแก้ฎีกาในคดีแพ่งต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำาหนด 7 วันนับแต่วันส่งสำาเนาอุทธรณ์หรือ
สำาเนาฎีกา
หน่วยที่ 11 การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบบังคับตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง
แนวคิด
1. ก่อนศาลพิพากษาคดี หากคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเกรงว่า เมื่อศาลพิพากษาคดีแล้วตนอาจเสียประโยชน์ไม่สามารถบังคับ
คู่ความฝ่ายตรงข้ามให้ปฏิบัติตามคำาพิพากษาได้ คูค่ วามฝ่ายนั้นย่อมขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาได้ตามหลักเกณฑ์
ของกฎหมาย
2. เมื่อคู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่งของศาล ไม่ยอมปฏิบัติตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง คูค่ วาม
ฝ่ายที่ได้รับสิทธิตามคำาพิพากษาย่อมมีสิทธิขอให้ศาลและเจ้าพนักงานบังคับคดีดำาเนินการบังคับตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง
ต่อไปได้
3. เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำาเนินการบังคับคดีตามขั้นตอนและวิธีการของกฎหมาย มิฉะนัน้ การบังคับคดีอาจไม่มีผล
ตามกฎหมาย
4. บุคคลภายนอกผู้มีสิทธิเกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ถูกบังคับคดี มีสิทธิที่จะดำาเนินการเพื่อให้สิทธิของตนได้รับความคุ้มครอง
ตามกฎหมายได้
11.1 การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา
แนวคิด
1. คู่ความในคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลไม่วา่ จะเป็นโจทก์หรือจำาเลยมีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว
ก่อนพิพากษาได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย
2. เมื่อศาลมีคำาพิพากษาแล้ว คำาสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาอาจยกเลิกหรือมีผลบังคับต่อไปก็ได้
- การใช้วิธีคุ้มครองชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจำาเลยในกรณีที่เห็นว่าตนจะเสียประโยชน์ไม่สามารถบังคับให้
โจทก์ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ฝา่ ยจำาเลยหลักจากที่ศาลได้มีคำาสั่ง หรือคำาพิพากษาให้โจทก์ต้องชดใช้ค่า
ฤชาธรรมเนียมดังกล่าวแก่จำาเลย
1. วิธีการขอคุ้มครองประโยชน์ของจำาเลยชั่วคราวก่อนพิพากษา จำาเลยจะต้องยื่นคำาร้องดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นในเวลาใด ๆ
ก็ได้ก่อนวันสืบพยาน หรือจะมายื่นคำาร้องในวันที่ศาลนัดชี้สองสถานก็ได้ก่อนวันที่ศาลทำาการสืบพยานของคู่ความฝ่ายที่
มีหน้าที่นำาสืบก่อน แสดงว่าวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของจำาเลยนี้ จำาเลยมีสิทธิร้องขอได้เฉพาะในการพิจารณาของศาลชั้น
ต้นเท่านั้น
2. หลักเกณฑ์ในการขอคุ้มครองประโยชน์ของจำาเลย
- จะต้องปรากฏว่าฝ่ายโจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอำานาจศาล หมายความว่าโจทก์ไม่ได้อยู่ในอำานาจศาลไทย
- เมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วโจทก์จะหลีกเลี่ยงไม่ชำาระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหลาย
3. การพิจารณาคำาร้องและการมีคำาสั่งของศาล โดยศาลนัดไต่สวนคำาร้องเพื่อให้จำาเลยและโจทก์นำาหลักฐานมาให้ศาล
ไต่สวนรับฟังข้อเท็จจริง
4. สภาพบังคับของคำาสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ถ้าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำาสั่งศาลดังกล่าว
ศาลก็มีอำานาจสั่งจำาหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความได้
- โจทก์สามารถขอคุ้มครองชั่วคราวได้จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำาเลยตั้งใจจะโอน ขาย หรือจำาหน่ายทรัพย์สินของตน
เสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือยักย้ายทรัพย์สินไปให้พ้นจากอำานาจศาล เพื่อประวิงหรือขัดขวางต่อคำาบังคับซึ่งจะออก
บังคับแก่จำาเลย หรือเพื่อฉ้อโกงโจทก์ หรือมีเหตุอนื่ ใดที่จำาเป็นต้องให้ศาลมีคำาสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำาเลย
- คำาร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ชั่วคราวก่อนพิพากษานี้ โจทก์จะต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับคำาฟ้อง อุทธรณ์
หรือฎีกา หรือในระยะเวลาใด ๆ ก่อนที่ศาลชัน้ ต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาจะมีคำาพิพากษา
- ในการขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ชั่วคราวก่อนพิพากษา ถ้ามีเหตุฉุกเฉิน คือ หากศาลจะต้องพิจารณาคำาร้องของ
โจทก์อย่างกรณีธรรมดาคือ มีการส่งสำาเนาให้จำาเลยโต้แย้ง คัดค้าน และให้จำาเลยนำาพยานเข้าสืบในชั้นไต่สวนด้วยแล้ว อาจ
ทำาให้เวลาเนิ่นช้าไปกว่าศาลจะออกคำาสั่งคุ้มครองให้แก่โจทก์ กฎหมายจึงให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะร้องขอให้ศาลมีคำาสั่ง
คุ้มครองประโยชน์ในเหตุฉุกเฉินได้
- คำาร้องในเหตุฉุกเฉินนี้โจทก์สามารถทำาเป็นคำาร้องฝ่ายเดียว คือ ศาลมีอำานาจพิจารณาคำาร้องของโจทก์ไปฝ่ายเดียวโดยไม่
ต้องส่งสำาเนาคำาร้องให้แก่จำาเลยโต้แย้งคัดค้าน ทั้งไม่ต้องฟังพยานหลักฐานจากฝ่ายจำาเลยด้วย
- ในกรณีที่ศาลมีคำาสั่งอนุญาตให้ยกเลิกการคุ้มครองชั่วคราว คำาสั่งนี้จะเป็นที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้
โจทก์คงต้องใช้สิทธิยนื่ คำาร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวใหม่ในกรณีธรรมดาได้เท่านั้น แต่ถ้าศาลมีคำาสั่งให้ยกคำาร้อง
ของจำาเลย จำาเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้
- คำาร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความชั่วคราวนี้ คู่ความทุกฝ่ายมีสิทธิที่จะยื่นคำาร้องขอได้ ในการร้องขอนี้จะร้องขอใน
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาก็ได้ การยื่นคำาร้องนี้จะต้องยื่นต่อศาลชัน้ ต้นที่พิจารณาคดี
นัน้ ศาลชัน้ ต้นจะเป็นผู้ทำาการไต่สวนและมีคำาสั่งในกรณีที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ถ้าคดีนั้นอยู่ใน
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนเสร็จแล้ว ศาลชัน้ ต้นจะส่งคำาร้องพร้อมสำาเนาการ
ไต่สวนไปให้ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาเป็นผู้ออกคำาสั่ง
- คำาสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาจะเริ่มมีผลบังคับโจทก์ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้รับทราบคำาสั่ง หรือได้มีการส่งคำาสั่งให้
โจทก์แล้ว หรือคำาสั่งนั้นได้ถือว่าได้อ่านให้โจทก์ฟังแล้ว กรณีคำาสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์จะเริ่มมีผลใช้บังคับได้ ก็
ต่อเมื่อจำาเลยได้รับทราบคำาสั่งหรือได้มีการส่งคำาสั่งให้จำาเลยแล้ว หรือคำาสั่งนั้นถือว่าได้อ่านให้จำาเลยฟังแล้ว และกรณีคำา
สั่งคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความก็เช่นเดียวกันจะเริ่มมีผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อคู่ความฝ่ายที่จะต้องถูกบังคับได้รับทราบคำา
สั่งแล้ว หรือได้มีการส่งคำาสั่งให้คู่ความดังกล่าวแล้ว หรือคำาสั่งนั้นได้ถือว่าได้อ่านให้คู่ความดังกล่าวฟังแล้ว
- ผลบังคับคำาสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษานี้ มีลักษณะตามคำาสั่งดังต่อไปนี้
1. กรณีคำาสั่งคุ้มครองประโยชน์ของจำาเลยชั่วคราวก่อนพิพากษา คำาสั่งของศาลที่ให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชา
ธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ถ้าศาลมิได้พิพากษาให้โจทก์ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่จำาเลยและมิได้กล่าวใน
เรื่องเงินฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่โจทก์วางไว้เป็นประการใด คำาสั่งคุ้มครองประโยชน์ของจำาเลยก็เป็นอันยกเลิกไปใน
ตัว เนื่องจากจำาเลยไม่มีความจำาเป็นต้องบังคับเอากับเงินดังกล่าว ถ้าหากศาลพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีชดใช้ค่าฤชา
ธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่จำาเลย จำาเลยก็มีสิทธิขอให้บังคับเอาแก่เงินที่โจทก์วางประกันตามคำาสั่งศาลไว้ต่อไปได้
2. จำาเลยเป็นฝ่ายชนะคดี คำาสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ก็เป็นอันยกเลิกไปในตัว แต่ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่าย
ชนะคดี คำาสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์คงมีผลต่อไปจนกว่าจะได้มีการปฏิบัติตามคำาพิพากษาเท่าที่จำาเป็น ฉะนั้นใน
กรณีที่โจทก์มีความประสงค์จะบังคับคดีตามคำาพิพากษา โดยอาศัยผลของคำาสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ต่อไป โจทก์ก็
จะต้องดำาเนินการขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเสียภายในกำาหนด 15 วัน นับแต่วันที่กำาหนดให้จำาเลยปฏิบัติตามคำาบังคับ
ครบกำาหนดลง
11.2 การบังคับตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง
แนวคิด
1. เมื่อศาลได้มีคำาพิพากษาหรือคำาสั่งในคดีหนึ่งคดีใดไปแล้ว คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีไม่มีอำานาจที่จะบังคับคู่ความฝ่ายที่แพ้
คดีได้โดยพลการ แต่จะต้องร้องขอให้ศาลออกคำาสั่งบังคับ หรือออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ดำาเนิน
การบังคับคดีตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่งต่อไป
2. เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำาเนินการบังคับคดีตามขั้นตอนของกฎหมาย มิฉะนั้นอาจเป็นการบังคับคดีโดยไม่ชอบ
และไม่มีผลตามกฎหมาย
- ในกรณีลูกหนี้ตามคำาพิพากษาไม่ยอมปฏิบัติตามคำาสั่งหรือคำาพิพากษาของศาล เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาจะต้องพิจารณาผล
ของคำาสั่งหรือคำาพิพากษาของศาลว่าจะเปิดช่องให้บังคับคดีโดยทางใด จะใช้วิธีการบังคับคดีโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
หรือไม่
- การขอให้ศาลออกคำาบังคับ คำาแถลงขอให้ศาลออกคำาบังคับ จะต้อ งยื่นต่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้น
- การขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี เช่นเดียวกับคำาแถลงขอให้ศาลออกคำาบังคับ กล่าวคือ คำาสั่งหรือคำาพิพากษาในคดีนั้น
ไม่ว่าจะเป็นคำาพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา และคำาสั่งหรือคำาพิพากษานั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
ก็ตาม เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาจะต้องยื่นคำาขอนี้ต่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี
- การขอคำาสั่งศาลบังคับ เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำาระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำาการอันหนึ่ง
อันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำาการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุ
แห่งหนี้เป็นอันให้กระทำานิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาคำาพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้
ก็ได้ ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำาลงแล้วนั้น โดยให้ลูกหนี้
เสียค่าใช้จ่ายและให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้
- เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้มีอำานาจในการบังคับคดี หมายถึง เจ้าพนักงานศาล หรือพนักงานอื่นผู้มีอำานาจตามบทบัญญัติแห่ง
กฎหมายที่ใช้อยู่ ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคูค่ วาม
ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง
- การยึดทรัพย์ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปทำาการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีจะให้ผู้นำายึดหรือผู้รับมอบอำานาจ
ทำาคำารับรองต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีและวางเงินค่าใช้จ่ายตามจำานวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะกำาหนด
- เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องตรวจสอบและทำาความเข้าใจให้แน่ชัดว่าผู้นำายึดต้องการให้ยึดทรัพย์อะไร ของใคร จำานวน
ราคาทรัพย์ที่ยึด
- เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องทำาการยึดทรัพย์ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกในวันทำาการปกติของเจ้า
พนักงานบังคับคดี หรือวันราชการเว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
- ก่อนทำาการยึดทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแสดงหมายบังคับคดีต่อลูกหนี้ตามคำาพิพากษา ถ้าลูกหนี้ตามคำาพิพากษาไม่
อยู่ ณ ทีย่ ึดทรัพย์นั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแสดงหมายบังคับคดีต่อบุคคลที่อยู่ในสถานที่ยึดทรัพย์นั้น
-เจ้าพนักงานบังคับคดีจะยืดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำาพิพากษาแต่เพียงประมาณราคาที่ควรจะขายทอดตลอดได้พอชำาระหนี้
ตามหมายบังคับคดีพร้อมทั้งค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีเท่านั้น
- การยึดสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ย่อมครอบไปถึงดอกผลแห่งทรัพย์นั้นด้วย เว้นแต่เจ้าหนี้ตามคำา
พิพากษาไม่ประสงค์ให้ยึด หรือต้องห้ามตามกฎหมายว่าไม่ให้รวมถึง
- เมื่อทำาการยึดทรัพย์เสร็จแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะปิดประกาศยึดทรัพย์ไว้ ณ สถานที่ ๆ ยึดโดยเปิดเผยและจะทำา
รายงานการยึด บัญชีทรัพย์ที่ยึดโดยแสดงรายละเอียด
- การประเมินราคาทรัพย์ที่ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจะประเมินตามราคาซื้อขายกันในท้องตลาด ตามสภาพความเก่าใหม่
ของทรัพย์นั้น ๆ มิใช่ประเมินราคาตามที่คู่ความตกลงกันเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม
- การอายัดทรัพย์ เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาจะต้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับดีดำาเนินการอายัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจาณา
ความแพ่ง ม. 282 ไปยังบุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำาพิพากษา แต่ให้นำาเงินหรือทรัพย์สินนั้นมาชำาระหรือส่งมอบ
แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำาหนดไว้ตามที่เห็นสมควร
- การขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดหรืออายัด เมื่อศาลได้มีคำาสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ที่ยึดได้แล้ว เจ้า
พนักงานบังคับคดีจะจัดทำาประกาศขายทอดตลาดทรัพย์โดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ขาย กรณีทรัพย์ที่ขายเป็น
ที่ดิน จะกำาหนดวันขายไม่น้อยกว่า 1 เดือนและไม่เกิน 2 เดือนนับแต่วันที่ลงประกาศขายทอดตลาด กรณีทรัพย์ที่ขายเป็น
โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ หรือทรัพย์สินอื่น ๆ จะกำาหนดวันขายไม่น้อยกว่า 20 วัน และไม่เกิน 1 เดือนนับแต่วันลง
ประกาศขายทอดตลาดเป็นต้นไป
- การขายทอดตลาดสุรา ซึ่งมีจำานวนนำ้าสุราตั้งแต่ 10 ลิตรขึ้นไป เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้กรมสรรพสามิต
ทราบล่วงหน้าก่อนวันขายไม่น้อยกว่า 7 วัน
- ทรัพย์ทขี่ ายเป็นที่ดินหรือเป็นทรัพย์ที่มีราคาสูง เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจผ่อนผันให้ผู้ซื้อชำาระเงินมัดจำาไม่เกินร้อยละ
25 ของราคาซื้อ และให้ผู้ซื้อชำาระราคาทรัพย์ทั้งสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 วันโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี และผู้ซื้อ
จะต้องทำาสัญญากันไว้เป็นหลักฐานด้วย
- ถ้าทรัพย์ดังกล่าวเป็นที่ดินและผู้ซื้อได้เป็นผู้มีชื่อในโฉนดร่วมกับลูกหนี้ตามคำาพิพากษา หรือเป็นผู้มีส่วนได้จากกอง
มรดกตามคำาพิพากษาในคดีที่ลูกหนี้ตามคำาพิพากษาถูกฟ้องบังคับให้แบ่งปันมรดก หรือผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือ
ที่ดินที่ขายตามคำาชี้ขาดของศาล ผู้ซื้อดังกล่าวมีสิทธิจะขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อได้
- ถ้าปรากฏว่าศาลพิพากษาหรือสั่งโดยจำาเลยขาดนัด เจ้าพนักงานบังคับคดีจะงดการจ่ายเงินไว้จนกว่าระยะ 6 เดือนจะได้
ล่วงพ้นไปนับแต่วันยึดทรัพย์หรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำาพิพากษา เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น
- เมื่อผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีทุกคนได้รับส่วนแบ่งแล้ว ในกรณีที่ยังมีเงินเหลือ และเงินที่เหลือนั้นถ้าศาลได้มีคำาสั่ง
ประการใดไว้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องปฏิบัติตามคำาสั่งนั้น ถ้าไม่มีคำาสั่งของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินนั้น
ให้ลูกหนี้ตามคำาพิพากษา แต่ถ้าทรัพย์สินของบุคคลภายนอกถูกจำาหน่ายไปเพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้ตามคำาพิพากษา เจ้า
พนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินที่เหลือนั้นแก่บุคคลภายนอกตามสิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอกที่มีต่อลูกหนี้ตามคำา
พิพากษา
- วิธีการขับไล่หรือบังคับให้ลูกหนี้ตามคำาพิพากษาออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ที่อาศัยหรือครอบครองมี 2 กรณีดังต่อไป
นี้
1. ในกรณียังมีผู้อาศัย เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาจะต้องมานำาเจ้าพนักงานบังคับคดีไปปิดประกาศแจ้งให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในทรัพย์
ดังกล่าว ซึ่งอ้างว่ามิใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำาพิพากษายื่นคำาร้องแสดงอำานาจพิเศษต่อศาลภายใน 8 วัน เจ้าพนักงาน
บังคับคดีรายงานขอให้ศาลออกหมายจับ เมื่อศาลออกหมายจับแล้วพนักงานบังคับคดีต้องติดต่อเจ้าพนักงานตำารวจดำาเนิน
การจับกุมดังกล่าว
2. ในกรณีไม่มีผู้อาศัยอยู่ในทรัพย์พิพาทและไม่มีทรัพย์สินใดอยู่ในทรัพย์พิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำาการส่งมอบ
ทรัพย์พิพาทให้แก่เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษา
- วิธีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของลูกหนี้ตามคำาพิพากษาออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาจะต้องนำาเจ้า
พนักงานบังคับคดีไปปิดประกาศกำาหนดวันรื้อถอนไม่น้อยกว่า 7 วัน
- เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษามีสิทธิที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดหรือถอนการบังคับคดีต่อไปนี้
1. งดการบังคับคดี เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาจะแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า ตนตกลงขอให้เจ้าพนักงาน
บังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ชั่วระยะเวลาหรือภายในเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใด หรือเจ้าหนี้จะร้องขอให้ศาลมีคำาสั่งให้งด
การบังคับคดีไว้ภายในระยะเวลาหรือภายใต้เงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใด
2. ถอนการบังคับคดี เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาจะต้องแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนขอสละสิทธิในการ
บังคับคดีนั้นหรือร้องขอให้ศาลสั่งถอนการบังคับคดี
- ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำาพิพากษามีความประสงค์ที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดี ต้องนำาเงินจำานวนพอ
ชำาระหนี้พร้อมค่าฤชาธรรมเนียมตามคำาพิพากษาและค่าธรรมเนียมในชั้นบังคับคดีวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือวางต่อ
ศาล พร้อมกับแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลมีคำาสั่งให้ถอนการบังคับคดีต่อไป
- ในการงดการบังคับคดีนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องส่งคำาบอกกล่าวงดการบังคับคดีให้แก่เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษา และ
บุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียทราบ เว้นแต่จะได้งดการบังคับคดีตามคำาขอของบุคคลเหล่านั้นเอง
- เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องถอนการบังคับคดีในกรณี
1. ลูกหนี้ตามคำาพิพากษาวางเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นจำานวนพอชำาระหนี้พร้อมค่าฤชาธรรมเนียมตามคำาพิพากษา
และค่าธรรมเนียมในชั้นบังคับคดี
2. ศาลมีคำาสั่งให้ถอนการบังคับคดี
3. ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาว่าตนสละสิทธิในการบังคับคดี
4. คำาพิพากษาในระหว่างการบังคับคดีถูกกลับในชัน้ ที่สุด
11.3 วิธีการคุ้มครองสิทธิของบุคคลภายนอก
แนวคิด
1. บุคคลภายนอกผู้มีสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเหนือทรัพย์ที่ถูกบังคับคดีย่อมไม่เสียไป
2. เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษามีสิทธิร้องขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการจำาหน่ายทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดีในคดีอื่นได้
- หลักเกณฑ์การร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำาพิพากษา
1. ผู้มีสิทธิร้องขอได้แก่ เจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิหรือบุคคลที่มีสิทธิอื่น ๆ
2. บุคคลผู้มีสิทธิร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำาพิพากษาได้ จะต้องเป็นกรณีที่ทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งอยู่
ภายใต้สิทธิของเจ้าหนี้ดังกล่าวถูกเจ้าหนี้ตามคำาพิพากษานำาเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดมานำาออกขายทอดตลาด
3. การได้รับชำาระหนี้ของผู้ร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์ ผูร้ ้องจะได้รับชำาระหนี้ของตนมาต่างหากจากสิทธิของเจ้าหนี้ตาม
คำาพิพากษา
- บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกับลูกหนี้ตามคำาพิพากษาในทรัพย์ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไปไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาล
ปล่อยทรัพย์ได้ เพราะถือไม่ได้ว่าทรัพย์ดังกล่าวไม่ใช่ของจำาเลย บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคงมีสิทธิที่จะยื่นคำาร้องต่อศาล
ตามม. 287 แห่ง ปวพ. เพื่อขอให้ศาลสั่งให้บุคคลดังกล่าวได้รับเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์ในส่วนที่เป็นสิทธิของ
ตน
- หลักเกณฑ์ในการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ถูกยึด
1. ลูกหนี้ตามคำาพิพากษามิใช่เป็นเจ้าของหรือผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดมา
2. บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในตัวทรัพย์สินที่ยึดเป็นผู้มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ถูกยึดได้
3. บุคคลผู้มีสวนได้เสียดังกล่าวจะต้องยื่นคำาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ถูกยึดเสียก่อนที่พนักงานบังคับคดีจะนำาทรัพย์สิน
นัน้ ออกขายทอดตลาด หรือจำาหน่าย
- วิธีการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ถูกยึด
1. ผู้ร้องเปรียบเสมือนโจทก์ มีหน้าที่นำาส่งหมายเรียกและสำาเนาคำาร้องให้เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาผู้นำายึดคำาให้การเสมือน
เป็นจำาเลยในคดีร้องขอให้ปล่อยทรัพย์
2. ผู้ร้องต้องระบุว่าลูกหนี้ตามคำาพิพากษามิใช่เจ้าของหรือผู้มีกรรมสิทธิ์ที่ถูกยึด ผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ถูกยึด
ในฐานะอย่างไร พร้อมกับความประสงค์หรือคำาขอของผู้ร้อง คือ ขอให้ศาลมีคำาสั่งปล่อยทรัพย์สินที่ยึดดังกล่าวต่อไป
3. ผู้ร้องจะต้องยื่นคำาร้องดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาพิพากษาคดีนั้น
- การพิจารณาและมีคำาสั่งคำาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ถูกยึด
1. ศาลที่มีอำานาจพิจารณาและมีคำาสั่งคำาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ถูกยึดได้แก่ ศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีนั้น
2. หลังจากเจ้าหนี้ตามคำาพิพากษายื่นคำาให้การแล้ว ศาลอาจทำาการชี้สองสถานและนัดสืบพยานไปอย่างคดีธรรมดา
3. ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาที่จะยื่นคำาขอโดยทำาเป็นคำาร้อง หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำาร้องขอของผู้
ร้องนั้นไม่มูล และยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ศาลมีอำานาจที่จะมีคำาสั่งให้ผู้ร้องวางเงินต่อศาลภายในระยะเวลาตามที่ศาล
จะกำาหนดไว้
- เจ้าหนี้จำานองมีสิทธิบังคับชำาระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำาพิพากษาซึ่งได้จำานองไว้กับตนและถูกเจ้าพนักงาน
บังคับคดียึดไปได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้
1. ยื่นคำาร้องขอให้ศาลสั่งให้ตนได้รับชำาระหนี้จากทรัพย์จำานองก่อนเจ้าหนี้รายอื่นเสียก่อนเอาทรัพย์จำานองนั้นออกขาย
ทอดตลาด
2. ถ้าหากตนมีสิทธิเอาทรัพย์ที่จำานองหลุดเป็นสิทธิได้ตามกฎหมาย ก็สามารถยื่นคำาร้องขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์จำานองหลุด
เป็นสิทธิขอตน ก่อนเอาทรัพย์จำานองออกขายทอดตลาด
- หลักเกณฑ์ในการที่ศาลจะสั่งให้บุคคลใดได้เข้าเฉลี่ยทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการจำาหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำา
พิพากษามีดังนี้
1. บุคคลนั้นจะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาของลูกหนี้ตามคำาพิพากษาคนเดียวกันนั้นในขณะยื่นคำาร้องและตนไม่
สามารถบังคับชำาระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามคำาพิพากษาได้
2. ได้ยื่นคำาร้องต่อศาลก่อนสิ้นกำาหนด 14 วัน นับจากวันจำาหน่ายทรัพย์สินที่ยึดหรือนับจากวันยึดเงินหรือนับจากวัน
ชำาระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินที่ถูกอายัด

หน่วยที่ 12 การดำาเนินคดีพิเศษบางประเภท
แนวคิด
1. การดำาเนินคดีล้มละลายมีหลักเกณฑ์และวิธีการดำาเนินคดีแตกต่างไปจากการดำาเนินคดีแพ่งสามัญ โดยกระบวน
พิจารณาคดีล้มละลายนอกจากจะหมายถึงกระบวนพิจารณาที่กระทำาต่อศาลแล้ว ยังหมายรวมถึงกระบวนพิจารณาที่กระทำา
ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย บุคคลที่ถูกดำาเนินคดีล้มละลายจะถูกลิดรอนสิทธิทั้งสิทธิในทรัพย์สินและสิทธิในเสรีภาพ
บางประเภทตลอดไปจนกว่าบุคคลผู้นั้นจะหลุดพ้นจากการล้มละลายตามเงื่อนไขของกฎหมาย
2. การดำาเนินคดีในศาลแรงงานต้องบังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
แต่บางกรณีจะต้องนำาบทบัญญัติแห่งปวพ. มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพ.ร.บ.โดยอนุโลม
3. การดำาเนินคดีภาษีอากรมีขั้นตอนแตกต่างไปจากการดำาเนินคดีแพ่งสามัญ ผูไ้ ด้รับแจ้งการประเมินหรือผู้ถูกเรียกเก็บ
ภาษีอากรเพิ่ม จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือผู้มีอำานาจพิจารณาอุทธรณ์เมื่อคณะกรรมการพิจารณา
อุทธรณ์หรือผู้มีอำานาจพิจารณาอุทธรณ์มีคำาวินิจฉัยแล้วจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีภาษีอากร ซึ่งมีกระบวนพิจารณาไปตามพระ
ราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากร และวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร
12.1 การดำาเนินคดีล้มละลาย
แนวคิด
1. กฎหมายบัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีดำาเนินคดีล้มละลายไว้เป็นพิเศษแตกต่างไปจากการดำาเนินคดีแพ่งสามัญ เป็นต้นว่า
หลักเกณฑ์การฟ้องคดีอำานาจศาลตลอดจนขั้นตอนการพิจารณาของศาล
2. กฎหมายบัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้เข้าดำาเนินกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และเป็นผู้
ดำาเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามขั้นตอนของกฎหมาย
3. ลูกหนี้มีสิทธิขอให้ตนหลุดพ้นจากการล้มละลายด้วยวิธีขอประนอมหนี้ก่อนหรือหลังล้มละลาย ขอยกเลิกการล้ม
ละลาย หรือขอปลดจากการล้มละลาย
- หลักเกณฑ์ที่ลูกหนี้จะถูกฟ้องให้ล้มละลายได้ ลูกหนี้จะต้องเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว มีภูมิลำาเนาหรือประกอบธุรกิจไม่ว่า
ด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนในราชอาณาจักร หรือเคยมีภูมิลำาเนาหรือเคยประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรภายใน 1 ปีก่อน
ฟ้อง ลูกหนี้เป็นหนี้ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ในกรณีลูกหนี้เป็นบุคคลธรรมดา หรือตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป ใน
กรณีลูกหนี้เป็นนิติบุคคล และหนีน้ ั้นอาจกำาหนดจำานวนได้โดยแน่นอน
- ศาลที่ลูกหนี้มีภูมิลำาเนาอยู่ในเขตหรือประกอบธุรกิจอยู่ในเขต ไม่วา่ ด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนในขณะที่ยื่นคำาฟ้อง หรือ
ภายในกำาหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น
- โจทก์จะถอนฟ้องไม่ได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาต นอกจากนี้ในกรณีที่ศาลมีคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนีช้ ั่วคราวแล้ว ก่อนที่
ศาลจะสั่งจำาหน่ายคดีเพราะโจทก์ถอนฟ้อง จะต้องมีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ เพื่อให้เจ้าหนี้
ทั้งหลายทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันอีกด้วย
- ก่อนยืน่ ฟ้องคดีล้มละลาย โจทก์ควรทราบหลักเกณฑ์ในเรื่อง
1. หลักเกณฑ์ที่ลูกหนี้จะถูกฟ้องให้ล้มละลายได้
2. ศาลที่มีเขตอำานาจรับคำาฟ้องคดีล้มละลายไว้พิจารณาพิพากษา
3. จำานวนเงินค่าฤชาธรรมเนียม และเงินวางประกันค่าใช้จ่ายต่อศาล
- วิธีปฏิบัติของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อคำาขอรับชำาระหนี้ของเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย ในเบื้องต้นเจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์จะตรวจคำาขอรับชำาระหนี้วา่ ชอบที่จะรับไว้พิจารณาหรือไม่ ถ้าไม่ชอบจะมีคำาสั่งไม่รับคำาขอรับช
ำำระหนี้ไว้พิจารณา หากชอบจะมีคำาสั่งรับไว้พิจารณาต่อไป และนัดเจ้าหน้าที่มาตรวจคำาขอรับชำาระหนี้ว่ามีเจ้าหนี้รายใดจะ
คัดค้านคำาขอรับชำาระหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นหรือไม่ จากนั้นจะทำาการสอบสวนพยานหลักฐานของเจ้าหนี้ ลูกหนี้และผู้
คัดค้านถ้ามี เมื่อเสร็จการสอบสวนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทำาความเห็นเสนอให้ศาลมีคำาสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำาระหนี้
หรือไม่อย่างไรต่อไป
- วิธีดำาเนินคดีเพื่อให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการล้มละลายมีอยู่ 3 วิธคี ือ
1. การขอประนอมหนี้
2. การขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลาย
3. การขอให้ศาลสั่งปลดจากการล้มละลาย

12.2 การดำาเนินคดีแรงงาน
แนวคิด
1. การดำาเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานกฎหมายต้องการให้เป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม ส่วน
มากจึงเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากแต่รวบรัด แต่มีข้อพิพาทแรงงานอยูห่ ลายกรณีที่จะต้องผ่านขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
เสียก่อน จึงจะนำาคดีมาฟ้องศาลแรงงานได้
2. การดำาเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยทั่วไปต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา
แรงงาน พ.ศ.2522 แต่บางกรณีก็ต้องนำาเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม การอุทธรณ์
คดีแรงงานก็มีวิธีการที่แตกต่างกับคดีแพ่งทั่วไป
3. การบังคับตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่งศาลแรงงานส่วนมากมีวิธีเช่นเดียวกับคดีแพ่งทั่วไป จึงต้องนำาประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมเป็นส่วนใหญ่
- เขตอำานาจศาลแรงงานกลาง
1. เขตอำานาจปกติ คือ กทม. สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี และปทุมธานี
2. เขตอำานาจเฉพาะกาล ในขณะที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังไม่เปิดทำาการ ให้ศาลแรงงานกลางมีเขต
อำานาจเฉพาะกาลทั่วราชอาณาจักร
- การยื่นฟ้องคดีแรงงานกลางมีวิธีปฏิบัติ 3 วิธคี ือ
1. โจทก์นำาฟ้องมายืน่ เองโดยการเขียนหรือพิมพ์
2. นิติกรของศาลแรงงานกลางให้คำาแนะนำาในการเขียนฟ้อง
3. ฟ้องด้วยวาจาด้วยการขอให้ศาลบันทึกคำาฟ้องให้
- การยื่นคำาฟ้องตลอดจนการดำาเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลแรงงานได้รับยกเว้นไมต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม
- การยื่นคำาให้การในคดีแรงงาน ทำาได้ 3 วิธคี ือ
1. ยื่นคำาให้การเป็นหนังสือก่อนวันนัดพิจารณา
2. จำาเลยอาจทำาคำาให้การเป็นหนังสือไปยื่นต่อศาลในวันนัดพิจารณาก็ได้
3. จำาเลยอาจจะให้การด้วยวาจาในวันนัดพิจารณา
- คดีแรงงานไม่บังคับให้จำาเลยยื่นคำาให้การใน 8 วันอย่างคดีธรรมดา จำาเลยในคดีแรงงานจึงไม่จำาเป็นต้องขยายเวลายื่นคำา
ให้การ ทางปฏิบัติจะใช้วิธีเลื่อนวันนัดพิจารณานัดแรกนั้นออกไป
- คดีที่อยู่ในอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือคำาสั่งของศาลแรงงาน
1. คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
2. คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
3. กรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
4. คดีอุทธรณ์คำาวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
หรือรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
5. คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำางานตามสัญญาจ้าง
แรงงาน
- การฟ้องคดีต่อศาลแรงงานตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 จะต้องผ่านขั้นตอนคือ ผู้เสียหายจะต้องร้องเรียน
ต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ภายใน 60 วันเสียก่อน ถ้าผูเ้ สียหายไม่ร้องเรียนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์แล้ว
นำาคดีมาฟ้องศาล ศาลจะไม่รับฟ้อง เพราะต้องห้ามตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 ม.8 วรรคสอง
- กรณีบังคับตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 และ ปพพ. คือ
1. การขาดนัดพิจารณา 2 ครั้งได้ โดยถ้าโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ม.40 ให้ถือว่าโจทก์
ไม่ประสงค์จะดำาเนินคดีต่อไป ให้ศาลแรงงานมีคำาสั่งจำาหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ถ้าจำาเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา
โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ให้ศาลแรงงานมีคำาสั่งว่าจำาเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว
2. วิธีการคุ้มครองชั่วคราวตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯพ.ศ.2522 ม. 58 ซึ่งมีข้อแตกต่างกับกับวิธีการตามปพพ.
คือ
1) ไม่วา่ โจทก์หรือจำาเลยมีสิทธิได้รับความคุ้มครองชั่วคราวเหมือนกัน แต่ปพพ. คุ้มครองแต่โจทก์เท่านั้น
2) ตามม.58 ศาลแรงงานอาจจะสั่งเมื่อคู่ความมีคำาขอมา หรือแม้ในกรณีที่ไม่มีฝา่ ยใดมีคำาขอมา แต่ข้อเท็จจริงปรากฏแก่
ศาลแรงงานเอง ศาลแรงงานก็มีอำานาจสั่งคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความชั่วคราวก่อนพิพากษาได้
- กรณีบังคับตาม ปพพ. คือ
1. การสืบพยานตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล แต่ทางปฏิบัติมักจะอนุญาตให้คู่
ความเป็นผู้ซักถามพยานเช่นเดียวกับคดีธรรมดา
2. การบันทึกคำาพยาน ศาลเห็นสมควรจะบันทึกแต่ข้อความโดยย่อก็ได้แล้วให้พยานลงลายมือชื่อไว้ ทางปฏิบัติศาล
แรงงานจะบันทึกโดยย่อเฉพาะคดีไม่มีปัญหาข้อยุ่งยาก
3. การส่งหมายเรียกและสำาเนาคำาฟ้อง ศาลแรงงานจึงมักจะใช้อำานาจย่นระยะเวลาในการปิดหมายเรียกและหมายนัด
- การอุทธรณ์คำาพิพากษาหรือคำาสั่งศาลแรงงาน
1. ต้องอุทธรณ์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้อ่านคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง
2. จะต้องอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา ศาลพิจารณาคดีแรงงานมีเพียงสองชั้นเท่านั้น คือ ศาลแรงงานกับศาลฎีกา
3. อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น
4. ข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอุทธรณ์จะต้องว่ากล่าวมาแล้วในศาลแรงงาน
5. การอุทธรณ์คำาสั่งของศาลแรงงานที่ไม่ยอมรับอุทธรณ์ โดยยืน่ เป็นคำาร้องต่อศาลฎีกาภายใน 10 วันนับแต่วันที่ศาลได้
มีคำาสั่ง และต้องนำาเงินที่ต้องชำาระตามคำาพิพากษามาวางศาลหรือหาประกันไว้ต่อศาล
6. การยืน่ อุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับ จำาเลยต้องยื่นคำาร้องขอทุเลาการบังคับไปด้วยตามม.231
7. คำาวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นที่สุดอุทธรณ์ไม่ได้
- ศาลแรงงานมีอำานาจกำาหนดในคำาพิพากษาหรือคำาสั่งให้คำาพิพากษาหรือคำาสั่งมีผลถึงนายจ้างหรือลูกจ้างอื่นที่ไม่ได้เป็นคู่
ความในคดีได้แต่ต้องเป็นบุคคลที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี

12.3 การดำาเนินคดีภาษีอากร
แนวคิด
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้ผู้ใดเสียหรือเสีย
เพิ่มเติม หรือเงินอากรและเงินเพิ่มซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บจากผู้ใดตามบทบัญญัติในเรื่องอากรแสตมป์ ถ้าผู้ได้รับ
การประเมินหรือผู้ถูกเรียกเก็บเงินอากรและเงินเพิ่มแล้วแต่กรณี ไม่เห็นด้วย ก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณา
อุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินหรือคำาสั่งเรียกเก็บ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำา
วินจิ ฉัยแล้ว ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล คือ ฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำาวินิจฉัย
อุทธรณ์
2. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินเงินอากรอันพึงต้องเสียและแจ้งให้ผนู้ ำาเข้าหรือผู้ส่งออกแล้วแต่กรณีทราบแล้ว หาก
ผูน้ ำาเข้าหรือผู้ส่งออกไม่พอใจการประเมินนั้น ก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมศุลกากรมอบหมาย
ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หรือจะเลือกนำาคดีไปสู่ศาลภาษีอากรเลยก็ได้
3. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำาเข้าแล้วแต่กรณี หากผู้
ประกอบอุตสาหกรรมหรือผูน้ ำาเข้าไม่พอใจการประเมินนั้น ก็มีสิทธิคัดค้านการประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ซึ่ง
อธิบดีกรมสรรพสามิตมอบหมายภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน เมื่ออธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ซึ่ง
อธิบดีกรมสรรพสามิตมอบหมายมีคำาวินิจฉัยแล้ว หากผู้คัดค้านไม่เห็นด้วย ก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณา
อุทธรณ์ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำาวินิจฉัย เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มคี ำาวินิจฉัยแล้ว ผู้อุทธรณ์มี
สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลคือ ฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำาวินิจฉัยอุทธรณ์
4. เมื่อพนักงานเก็บภาษีได้แจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้ว หากผู้รับประเมินไม่พอใจการประเมินนั้น ก็มี
สิทธิยื่นคำาร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายการประเมิน เมื่อผู้มีอาจ
พิจารณาการประเมินมีคำาชี้ขาดแล้วผู้รับประเมินมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล คือ ฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรได้ภายใน 30 วัน นับ
แต่วันที่ได้รับแจ้งคำาชี้ขาด แต่ผู้รับประเมินจะต้องชำาระค่าภาษีก่อน ศาลจึงจะรับฟ้องไว้พิจารณาได้
5. การอุทธรณ์การประเมินภาษีบำารุงท้องที่และภาษีป้ายต้องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
เมื่อผู้มีอำานาจพิจารณาอุทธรณ์มีคำาวินิจฉัยแล้ว ผูอ้ ุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล คือ ฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรได้ภายใน 30
วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำาวินิจฉัยอุทธรณ์
6. คดีภาษีอากรนั้นต้องดำาเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่ศาลภาษีอากรซึ่งเป็นศาลชำานาญพิเศษจัดตั้งขึ้น เพื่อ
ให้การดำาเนินคดีภาษีอากรเป็นไปโดยรวดเร็วยิ่งขึ้น
7. กระบวนพิจารณาในศาลภาษีอาการต้องเป็นไปตามบทบัญญัติในพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษี
อากร พ.ศ.2528 ประกอบด้วยข้อกำาหนดคดีภาษีอาการในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำาหนดดังกล่าวกำาหนดไว้ ให้นำา
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

- คดีที่อยู่ในอำานาจการพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรได้แก่ คดีแพ่งดังต่อไปนี้
1. คดีอุทธรณ์คำาวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร
2. คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร
3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร
4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำาขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร
5. คดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำานาจศาลภาษีอากร

หน่วยที่ 13 หลักวิชาชีพกฎหมาย
แนวคิด
1. จริยธรรมวิชาชีพกฎหมาย เป็นคติและหลักธรรมซึ่งนักกฎหมายทุกสาขาวิชาชีพควรยึดถือแนวปฏิบัติเป็นอุดมการณ์
ของตน
2. ทนายความเป็นวิชาชีพหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม การประกอบวิชาชีพทนายความควรมีจริยธรรม
3. อัยการเป็นเจ้าหน้าที่กฎหมายของรัฐ ผู้ประกอบวิชาชีพอัยการควรมีจริยธรรม
4. ตุลาการเป็นสถาบันให้ความยุติธรรมตามกฎหมาย ผูป้ ระกอบวิชาชีพตุลาการควรมีจริยธรรม
13.1 จริยธรรมวิชาชีพกฎหมาย
แนวคิด
1. นักกฎหมายไม่ว่าจะประกอบวิชาชีพใด ต้องมีจริยธรรมในฐานะเป็นนักกฎหมาย อันเป็นอุดมการณ์ในการปฏิบัติ
หน้าที่ของตน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับนับถือจากประชาชนทั่วไป
2. การประกอบวิชาชีพกฎหมายเป็นกิจการผูกขาดเฉพาะสำาหรับนักกฎหมาย ดังนั้นเพื่อป้องกันการประพฤติมิชอบจึ งต้อง
จัดให้มีองค์กรควบคุมนักกฎหมาย
3. วิชาชีพกฎหมายเป็นสิ่งจำาเป็นแก่ชุมชน ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายจึงต้องมีอุดมการณ์เพื่อรับใช้ประชาชนยิ่งกว่าก่อ
ประโยชน์ให้แก่ตัวเอง
4. วิชาชีพกฎหมายต้องทำาด้วยเจตนารมณ์เพื่อผดุงความยุติธรรมเป็นหลัก
- คุณสมบัติที่ดลบันดาลให้นักกฎหมายอยู่ในฐานะและมีหน้าที่นำามติมหาชนคือ
1. เป็นคนกลางประสานประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมด้วยการเข้าไกล่เกลี่ย
2. มีส่วนสำาคัญและอิทธิพลในการกำาหนดนโยบาย และการตัดสินใจของวงการธุรกิจ
3. ความรู้ในสาขาวิชาของงานแผนกต่าง ๆ ทีน่ ักกฎหมายเข้าไปมีส่วนร่วมงานด้วย
4. ความกล้าในการแสดงความคิดเห็นต่อมหาชนเป็นคุณสมบัติอันสำาคัญของนักกฎมาย
- ภารกิจของนักกฎหมายทั่วไปอันพึงปฏิบัติมี 5 ประการ คือ
1. ให้คำาปรึกษาแนะนำา รวมทั้งการร่างเอกสารทางกฎหมายเป็นผู้พูดแทนตัวความในการเจรจาประนีประนอม
2. ดำาเนินคดีและว่าความแทนในศาล
3. ส่งเสริมปรับปรุงการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น รวมถึงกิจการศาลยุติธรรมตลอดจนหลักและตัวบท
กฎหมาย
4. เป็นผู้นำาในการก่อมติมหาชนให้เข้ารูป
5. เตรียมตัวให้พร้อม ไม่ใช่เพื่อเสาะหาตำาแหน่งแต่ให้พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่เมื่อต้องดำารงตำาแหน่งหน้าที่เพื่อประชาชน
เมื่อโอกาสนั้นมาถึงโดยไม่มีความเห็นแก่ตัว
- หลักการของวิชาชีพนักกฎหมายคือ ความยุติธรรม ผูน้ ำามติมหาชน
- ที่กล่าวว่าบริสุทธิ์ ยุติธรรม คือนักกฎหมายต้องระลึกและยึดมั่นอยู่วา่ มีจุดหมาย 2 ประการ ที่ต้องทำาจนบรรลุผลสำาเร็จ
ให้จงได้ คือ ต้องทำาให้กฎหมายยุติธรรมประการหนึ่ง และต้องให้การใช้กฎหมายนั้นเป็นไปโดยยุติธรรมด้วย กฎหมายต้อง
ยุติธรรม ผู้ใช้กฎหมายต้องบริสุทธิ์ กฎหมายไม่ยุติธรรมยังพอทนได้ ถ้าผู้ใช้กฎหมายใช้โดยจิตใจอันบริสุทธิ์ ซึ่งสามารถ
แก้ไขบรรเทาความไม่เป็นธรรมลงได้บ้าง แต่ไม่มีใครที่ไหนจะทนต่อผู้ใช้กฎหมายที่ไม่มีจิตใจอันเป็นธรรมได้ “ยุติธรรม”
เป็นจุดหมายบริสุทธิ์เป็นวิธีดำาเนินการ ในระหว่างบริสุทธิ์และยุติธรรมนี้ บริสุทธิ์สำาคัญกว่ายุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นนัก
กฎหมายประกอบวิชาชีพในสาขาใด จะเป็นทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา นิติกร อาจารย์ ผู้ออกกฎหมายฝ่ายนิติบัญญัติ
หรือผู้บริหาร ต้องมีอุดมคติดังกล่าวเหมือนกันหมด
- กิจการด้านกฎหมาย เป็นกิจการที่จำาเป็นแก่ประชาชนของรัฐ ผูป้ ระกอบวิชาชีพกฎหมายต้องใช้ความรู้ความชำานาญพิเศษ
สภาพของอาชีพจึงเป็นการผูกขาด การผูกขาดถ้าไม่มีการควบคุมย่อมนำาไปสู่การหาประโยชน์เกินขอบเขต ดังนั้น เพื่อมิให้
มีการเอาเปรียบบีบบังคับเกินขอบเขต หรือมิให้มีความประพฤติอันไม่ชอบไม่ควรจึงต้องจัดให้มีองค์กรเพื่อควบคุมผู้
ประกอบวิชาชีพกฎหมาย
- เจตนารมณ์ของนักกฎหมายในแง่บริการประชาชน หมายถึง นักกฎหมายผู้ประกอบวิชาชีพมีคติว่า บริการประชาชนเป็น
ใหญ่กว่าค่าจ้างที่ได้รับตอบแทนซึ่งถือเสมือนเป็นผลพลอยได้เท่านั้น
- วิชาชีพมีลักษณะแตกต่างจากธุรกิจหรืออาชีพอื่น คือ
1. วิชาชีพต้องมีการศึกษาและฝึกอบรมชั้นสูง เป็นการศึกษาอบรมทางความคิดยิ่งกว่าทางร่างกาย
2. วิชาชีพเป็นบริการที่จำาเป็นแก่ชุมชน
3. วิชาชีพต้องทำาด้วยเจตนารมณ์รับใช้ประชาชน
13.2 จริยธรรมของทนายความ
แนวคิด
1. ทนายความเป็นนักกฎหมายสาขาหนึ่งที่มีความสำาคัญในการผดุงความยุติธรรม ทนายความควรมีความประพฤติที่
เหมาะสมในขณะปฏิบัติหน้าที่ในศาล
2. ทนายความควรปฏิบัติตนเองให้เหมาะสมกับอาชีพนี้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน การปฏิบัติตนภายนอกศาลซึ่ง
เกี่ยวเนื่องกับคดีควรอยู่ในกรอบของจริยธรรม
3. การดำารงตนเป็นทนายความต้องอยู่ในกรอบของจริยธรรมทั้งในด้านส่วนตัวและต่อบุคคลภายนอก
- การปฏิบัติตนของทนายในบริเวณศาล
1. ทนายความผู้ปฏิบัติหน้าที่ในศาล ทั้งเวลาว่าความและในเวลาปฏิบัติหน้าที่อื่นจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยเป็นแบบ
อย่างที่ดีให้ประชาชนผู้ไปพึ่งศาลได้เห็นว่าทนายความนั้นมีข้อสังเกตที่การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ดูสง่างามน่าเชื่อถือทุก
คน
2. การวางตนในบริเวณศาล ทนายความควรระมัดระวังความประพฤติและการพูดจาในบริเวณศาลให้สุภาพเรียบร้อยสม
เกียรติของทนายความตลอดเวลา ไม่ประหม่าหรือสะเพร่า ไม่พูดเสียงดังหรือตะโกนพูดกับผู้อื่นด้วยเสียงอันดัง ดื่มสุราเข้า
มาในบริเวณศาล กระเซ้าเย้าแหย่ พูดจาตลกโปกฮา หรือพูดจาสนิทสนมกับทนายความหรือคู่ความฝ่ายตรงข้ามจนเสีย
มรรยาท
3. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ศาลในการปฏิบัติตามระเบียบของศาลเกี่ยวกับงานธุรการต่าง ๆ
- การปฏิบัติตนในการว่าความในศาล
1. การว่าความในศาลนั้นทนายความจะต้องแต่งตัวให้ถูกต้องตามข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ
2. ทนายความที่ปฏิบัติหน้าที่ในห้องพิจารณาคดีของศาล ไม่ว่าศาลจะออกนั่งพิจารณาคดีหรือไม่ก็ตาม ทนายความจะต้อง
ระมัดระวังตนเองอยู่ตลอดเวลาต้องปฏิบัติตนด้วยความสุภาพเรียบร้อยและให้ความเคารพสถาบันศาล
3. การใช้ถ้อยคำาในห้องพิจารณาคดี ทนายความจะต้องระมัดระวังในการใช้ถ้อยคำา ทั้งในขณะที่ศาลกำาลังนั่งพิจารณาคดี
และก่อนหรือหลังจากการพิจารณาคดี
4. ทนายความต้องไม่เขียนคำาคู่ความ หรือแถลงถ้อยคำาให้ศาลจดลงเป็นข้อความเท็จ หรือมีลักษณะเป็นการส่อเสียดคู่
ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือพยานที่มาให้การต่อศาลทนายความไม่ควรดำาเนินการใด ๆ ด้วยอารมณ์โกรธ แสดงความไม่พอใจ
หรือเป็นปรปักษ์ต่อผู้อื่นในห้องพิจารณาคดี
5. ทนายความจะต้องแสดงให้ศาลหรือประชาชนทั่วไปได้เข้าใจว่าศาลเป็นสถาบันที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้พิพากษาเป็นผู้ปราศจาก
อคติและมีความเที่ยงธรรม ทนายความเองต้องให้ความเคารพผู้พิพากษาและหลีกเลี่ยงการแสดงความสนิทสนมเป็นส่วน
ตัวกับผู้พิพากษา
6. ทนายความต้องระมัดระวังการติดต่อวิสาสะกับผู้พิพากษา แม้จะเป็นเพื่อนสนิทกันก็ตาม
7. ทนายความจะต้องห้ามปรามตัวความของตนหรือพยานไม่ให้กระทำาการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้อง ประพฤติตนไม่เหมาะสม
บริเวณศาล หรือในห้องพิจารณา
8. การปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในศาลนั้นทนายความจะต้องมีแนวความคิดและสำานึกในหน้าที่ผดุงความยุติธรรมของ
บ้านเมืองให้บริสุทธิ์ยุติธรรมของบ้านเมืองให้บริสุทธิ์ยุติธรรมอยู่ตลอดเวลา

- จริยธรรมของทนายความในการดำารงตน
1. ดำารงตนตามอัตภาพ ไม่กอบโกยผลประโยชน์และเงินค่าทนายความมากเกินควรจนเป็นการเบียดเบียนผู้อื่น
2. ทนายความต้องมีแนวความคิดในการผดุงความยุติธรรมเป็นพื้นฐานของจิตใจ ต้องมีความอิสระและกล้าหาญในการ
แสดงความคิดเห็น ซึ่งไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใด
3. ทนายความต้องให้ความเห็นในทางกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีสิ่งใดแอบแฝง หรือลวงให้ตัวความหลงผิด จงใจ
เบี่ยงเบนความเห็นของตนให้คล้อยตามความเห็นของตัวความซึ่งรู้อยู่ว่าไม่ถูกต้อง
4. ทนายความต้องรักษาวาจาสัตย์ พูดในสิ่งที่เป็นความจริง ไม่มีสิ่งใดนอกจากความจริง
5. ตามปกติแล้วทนายความจะต้องรับงานจากตัวความหรือผู้มาติดต่อ การปฏิเสธไม่รับเรื่องไว้ดำาเนินงานถือเสมือน
เป็นการปฏิเสธความยุติธรรม
6. การติดต่อกับคู่ความฝ่ายตรงข้าม ไม่วา่ เรื่องนั้นจะเป็นคดีฟ้องร้องกันในศาลหรือไม่ ถ้าคู่ความฝ่ายตรงข้ามมีทนายความ
จะต้องติดต่อกับทนายความของเขาเสมอ

13.3 จริยธรรมของอัยการ
แนวคิด
1. อัยการมีบทบาทในการผดุงความยุติธรรม ในฐานะเป็นทนายแผ่นดิน มีอำานาจและหน้าที่ดำาเนินคดีแทนรัฐทั้งในคดี
แพ่งและคดีอาญา
2. อัยการจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมในการสั่งคดี การเสนอข้อเท็จจริงต่อศาลอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งจะต้อง
เสนอพฤติการณ์ในคดีเพื่อศาลจะได้วินิจฉัยคดีด้วยความเป็นธรรม
3. อัยการต้องวางตัวเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติตนต่อบุคคลทั่วไป ทั้งจะต้องดำารงตนให้ปราศจาก
ความเสื่อมเสียในความประพฤติส่วนตัวและในฐานะผู้ผดุงความยุติธรรม
- บทบาทของอัยการในคดีอาญาอัยการเป็นเจ้าพนักงานกฎหมายของรัฐ มีบทบาทในการฟ้องร้องผู้กระทำาความผิดต่อศาล
เพื่อให้ศาลพิพากษาลงโทษตามกฎหมาย แต่ในทางตรงกันข้ามหากปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่มีหลักฐานปรากฏว่าเป็นผู้
กระทำาความผิดจริงอัยการก็จะมีบทบาทสำาคัญในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ด้วยการสั่งไม่ฟ้องคดี
ในคดีแพ่งบางประเภทที่รัฐตกเป็นคู่ความในคดี หรือคดีที่ประชาชนทั่วไปไม่อาจใช้สิทธิดำาเนินคดีในศาลได้ด้วยตนเอง
อัยการจะมีบทบาทสำาคัญในการช่วยเหลือดำาเนินคดีแทนบุคคลดังกล่าว
- แนวประพฤติปฏิบัติของอัยการต่อศาล แม้อัยการและศาลต่างก็มีหน้าที่ในส่วนของตนต่างกันออกไป แต่ในการดำาเนิน
คดีอัยการจะต้องให้เกียรติผู้พิพากษา และจะต้องระลึกไว้เสมอว่าผู้พิพากษาปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยของพระมหา
กษัตริย์
แนวประพฤติปฏิบัติของอัยการต่อพนักงานสอบสวน อัยการอาจจะติดต่อคบหากับพนักงานสอบสวนได้แต่ก็จะต้องอย่า
ให้ความสัมพันธ์เข้ามามีอิทธิพลต่อการปฏิบัติหน้าที่ และอัยการอาจะให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวนในการปราบ
ปรามผู้กระทำาความผิดได้ แต่อัยการจะต้องใช้ความระมัดระวังมิให้สูญเสียความเที่ยงธรรมไป
แนวประพฤติปฏิบัติของอัยการต่อจำาเลย แม้อัยการจะเป็นโจทก์ในคดี แต่ก็ไม่เพื่อที่จะให้จำาเลยได้รับโทษแต่อย่างเดียว
อัยการควรจะแสดงให้จำาเลยเห็นว่าอัยการเข้ามาทำาหน้าที่นี้ไม่ใช่เพราะเป็นศัตรูกับจำาเลย แต่กระทำาไปในฐานะที่เป็นทนาย
ของแผ่นดิน
แนวประพฤติปฏิบัติของอัยการต่อทนายจำาเลย แม้สถานภาพของอัยการและทนายจำาเลยจะถูกกำาหนดให้อยู่ฝ่ายตรงข้ามกัน
แต่อัยการควรจะพึงระลึกว่าทนายจำาเลยก็เป็นบัณฑิตเช่นกัน การที่ทนายช่วยเหลือจำาเลยก็เป็นเพราะหน้าที่ อัยการจึงควร
ปฏิบัติต่อทนายจำาเลยด้วยความยกย่องและให้เกียรติ

13.4 จริยธรรมของตุลาการ
แนวคิด
1. อุดมการณ์ของการเป็นตุลาการ คือการเป็นผู้ประสาทความยุติธรรมด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเที่ยงธรรม ถูกต้องตาม
กฎหมาย และนิติประเพณี
2. ตุลาการต้องวางใจเป็นกลาง ปราศจากอคติต่อตัวบุคคลในศาลและเรื่องอื่น ๆ มีความอดทนเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ มีความพอ
เหมาะพอดี ไม่แสวงหาประโยชน์ใด ๆ จากการปฏิบัติหน้าที่รวมทั้งจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ปราดเปรื่องในเชิง
กฎหมายและวิชาการทั้งหลาย
3. นอกจากการปฏิบัติตนในศาลแล้ว ตุลาการจะต้องมีมารยาทและความประพฤติอันดีงามเป็นที่ปรากฏต่อบุคคลทั้งหลาย
สมาคมกับบุคคลทั่วไปที่ไม่ขัดกับการงานในหน้าที่ ตลอดจนสอดส่องมิให้คนใกล้ชิดไปแอบอ้างนำาความเสื่อมเสียมาสู่ตน

- เพื่อรักษาไว้ซึ่งความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อสถาบันตุลาการ อุดมการณ์ของการเป็นตุลาการ คือ การเป็นผู้


ประสาทความยุติธรรม ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรมถูกต้องตามกฎหมายและนิติประเพณี ไม่แสวงหาประโยชน์ใด ๆ
จากการปฏิบัติหน้าที่ไม่ทำาให้เกิดความระแวงในความเป็นกลางของตุลาการ และจะต้องปราศจากอคติทั้งปวง
- ในการดำาเนินคดีในศาล ตุลาการจะต้องวางตัวเป็นกลาง ฟังความจากคู่ความทุกฝ่ายอย่างตั้งใจและปราศจากอคติ พึง
สำารวมตนให้เหมาะสมกับตำาแหน่งหน้าที่ มีความอดทน อดกลั้น เป็นผู้มีสัมมาทิฐิ มีความพอเหมาะพอดี พิจารณาพิพากษา
คดีอย่างสุขุม รอบคอบ และรวดเร็ว หมั่นศึกษาฝึกฝนตนเอง ค้นคว้าเพิ่มเติม ให้มีความเชี่ยวชาญในทางกฎหมายและความ
รู้รอบตัวทันสมัยอยู่เสมอ
- นอกจากการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตุลาการในการดำาเนินคดีในศาลแล้ว ตุลาการจะต้องมีมารยาทและความประพฤติอันดี
งามเป็นที่ปรากฏต่อบุคคลภายนอก และต้องสอดส่องดูแลการปฏิบัตหิ น้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาให้ซื่อสัตย์สุจริตและมี
ไมตรีต่อประชาชน ตุลาการอุทิศเวลาให้แก่งานราชการ และเผยแพร่วิทยาทานแก่ผู้ศึกษากฎหมายพึงครองตนอย่างเรียบ
ง่าย สันโดษ สมาคมกับบุคคลทั่วไปที่ไม่ขัดกับงานในหน้าที่ ตลอดจนสอดส่องมิให้บุคคลในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดไป
แอบอ้างนำาความเสื่อมเสียมาสู่ตน อันเป็นการบั่นทอนเกียรติและศักดิ์ศรีของตุลาการ

หน่วยที่ 14 กระบวนการกลุ่มและการทำางานเป็นคณะ
แนวคิด
1. กลุ่มตามความหมายทางสังคมวิทยานั้น บุคคลที่เป็นสมาชิกจะต้องมุ่งวัตถุประสงค์เดียวกัน มีปฏิสัมพันธ์ พึ่งพาอาศัย
และมีอิทธิพลต่อกันและกัน ต่างคนต่างตระหนักว่าการเป็นสมาชิกของกลุ่มการอยู่รวมเป็นกลุ่มเป็นสัญชาตญาณความ
ต้องการของมนุษย์ นอกจากได้พึ่งพาช่วยเหลือกันอันเป็นการสร้างความปลอดภัยแก่ชีวิตและทำาให้ชีวิตมีคุณภาพสูงกว่า
การอยู่ตามลำาพังแล้ว กลุ่มยังสร้างการเรียนรู้ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ช่วยให้ทำางานได้ปริมาณมากกว่าและ
ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วย การทำางานเป็นคณะให้ประสบผลสำาเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ จำาเป็น
ที่จะต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติของกลุ่มทำางาน ความหมายและองค์ประกอบของกระบวนการกลุ่มและการสร้างประสบการณ์
กระบวนการกลุ่มด้วย
2. พฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มมีทั้งพฤติกรรมที่ชว่ ยส่งเสริมให้การทำางานของกลุ่มบรรลุเป้าหมายและพฤติกรรมที่เป็น
อุปสรรคต่อการทำางานของกลุ่ม แต่กระบวนการกลุ่มจะช่วยปรับพฤติกรรมของคนในกลุ่มไปในทิศทางที่พึงประสงค์ ซึ่ง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการกลุ่มที่สำาคัญ ได้แก่ ความต้องการการยอมรับ ทัศนคติ ค่านิยมของบุคคล ลักษณะและ
พฤติกรรมของบุคคลในการทำางานเป็นคณะ
3. มนุษย์มีวิธีคิดแก้ปัญหาได้หลายวิธี ซึ่งการใช้กระบวนการกลุ่มในการแก้ปัญหาก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่มีความสำาคัญ
กลุ่มแก้ปัญหามี 3 แบบที่สำาคัญ ได้แก่ กลุ่มระดมสมอง กลุ่มในนาม และกลุ่มวิเคราะห์พลังสนาม การใช้กระบวนการกลุ่ม
ในการแก้ไขปัญหาจำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการประเมินพฤติกรรมกลุ่มด้วย

14.1 แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มและการทำางานเป็นคณะ
แนวคิด
1. กลุ่มตามความหมายทางสังคมวิทยานั้น บุคคลที่เป็นสมาชิกจะต้องมุ่งวัตถุประสงค์เดียวกันมีปฏิสัมพันธ์ พึ่งพาอาศัย
และมีอิทธิพลต่อกันและกัน ต่างคนต่างตระหนักว่าการเป็นสมาชิกของกลุ่ม การอยู่รวมเป็นกลุ่ม เป็นสัญชาตญาณความ
ต้องการของมนุษย์ นอกจากได้พึ่งพาช่วยเหลือกันอันเป็นการสร้างความปลอดภัยแก่ชีวิตและทำาให้ชีวิตมีคุณภาพสูงกว่า
การอยู่ตามลำาพังแล้ว กลุ่มยังสร้างการเรียนรู้ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยช่วยให้ทำางานได้ปริมาณมากกว่าและ
ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วย
2. คุณสมบัติของกลุ่มทำางาน คือ ยึดอุดมการณ์ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของกลุ่ม มีความมุ่งมั่นที่จะทำางานให้สำาเร็จ
และได้ผลงานที่มีคุณภาพดี ช่วยเหลือสนับสนุนกันเพื่องานของกลุ่มให้ความสำาคัญแก่กลุ่มและมีผู้นำาที่มีคุณสมบัติเหมาะ
สม
3. กระบวนการกลุ่ม คือ กลุ่มที่มีการจัดระบบไว้อย่างดี โดยคำานึงถึงลักษณะของสมาชิกในกลุ่มวิธีการดำาเนินงานของ
กลุ่ม ผูน้ ำากลุ่มและบรรยากาศภายในกลุ่ม สิ่งเหล่านี้ประกอบกันจะเป็นอำานาจหรือพลังที่มีผลทำาให้กลุ่มดำาเนินงานได้ตาม
เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการกลุ่มประกอบด้วยมิติสังคม และมิติงาน ทั้งสองมิตินี้สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่
ออก และมีความสำาคัญและจำาเป็นต่อการทำางานของกลุ่ม
4. ประสบการณ์กระบวนการกลุ่ม หมายถึง กิจการกลุ่มซึ่งก่อให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์โดยถือหลักว่า การเรียนรู้
ที่ดีต้องเกิดจากความเข้าใจและการเรียนรู้ที่ค้นพบด้วยตนเอง ช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งและจดจำาได้ดี

- กลุ่มตามความคิดของชอว์ หมายถึง บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปซึ่งมีฏิสัมพันธ์ต่อกันในทางที่แต่ละคนมีอิทธิพลเหนือคน


อื่น และได้รับอิทธิพลจากคนอื่นพร้อม ๆ กันไปด้วย
- มาบรีย์และบาร์นส์ กล่าวว่า กลุ่มคือเครือข่ายของคน (หลายคน) ซึ่งจงใจมอบอำานาจการตัดสินใจของคนให้กับหน่วย
ทางสังคม (ซึ่งเรียกว่ากลุ่ม) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อันปรารถนาร่วมกัน และวัตถุประสงค์นนั้ ไม่สามารถบรรลุได้โดย
ต่างคนต่างอยู่
- ฟิส์เชอร์ กล่าวว่า บุคคลหลาย ๆ คนมารวมกันเข้าโดยมีพฤติกรรมการสื่อข้อความ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำา การ
ปฏิสัมพันธ์ซำ้า ๆ เป็นแบบแผนเดียวกันสามารถคาดเดาได้
- จอห์นสัน และจอห์นสัน ได้ให้นิยามว่า กลุ่มคือบุคคลสองคนหรือมากกว่าที่มีปฏิสัมพันธ์กันโดยตรง ต่างฝ่ายต่าง
ตระหนักว่าตนเป็นสมาชิกของกลุ่ม คนอืน่ ๆ ก็เป็นสมาชิกของกลุ่ม และแต่ละคนตระหนักว่าการจะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
นัน้ ต้องพึ่งพาอาศัยกัน
- เลวิน มองกลุ่มในลักษณะการคลื่นไหวของกลุ่ม คือเห็นว่าความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของคนในกลุ่ม เป็นไปในลักษณะ
ของความสัมพันธ์แลกเปลี่ยน โดยการเกี่ยวข้องติดต่อของบุคคลนั้นจะใช้สัญลักษณ์ที่แต่ละคนยึดถือมาใช้ในการปฏิบัติต่อ
กันและกัน
- กลุ่มหมายถึง
1. กลุ่มต้องประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อยที่สุด 2 คน 5. ถือว่าตนเองเป็นสมาชิกของกลุ่มและสมาชิกอื่นในกลุ่มก็ยอมรับ
เช่นนั้น
2. คนในกลุ่มจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน 6. ส่งอิทธิพลต่อกันและกัน
3. มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างมีแบบแผน 7. เห็นว่าการรวมกลุ่มดีมีประโยชน์
4. ต้องพึ่งพากัน 8. มุ่งวัตถุประสงค์เดียวกัน
- ประโยชน์ของการอยู่รวมเป็นกลุ่ม
1. ผลิตภาพของกลุ่มมักจะสูงกว่าผลิตภาพของบุคคลที่ทำางานตามลำาพัง
2. กลุ่มตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สมาชิกภาพของกลุ่มก่อให้เกิดความรัก ความเมตตา ห่วงใยสมาชิกคนอื่น
4. ผู้เป็นสมาชิกของกลุ่มจะมีความรู้สึกในด้านมิตรภาพ ความรัก ฯลฯ สูงกว่าผู้ทที่ ำางานตามลำาพัง
5. กลุ่มเป็นแหล่งเสริมสร้างความสามารถและทักษะในการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
6. กลุ่มสามารถสร้างโอกาสให้สมาชิกทำาความเข้าใจรู้จักพฤติกรรมและทัศนคติที่เป็นภัย ให้สมาชิกได้ช่วยเหลือเพื่อน
ร่วมกลุ่มทำาความเข้าใจพฤติกรรมและทัศนคติที่ไม่ดีเหล่านั้นด้วย
7. กลุ่มให้ทัศนพิสัยหลากหลาย
8. กลุ่มเป็นแหล่งเปรียบเทียบสำาหรับมวลสมาชิก
9. กลุ่มเป็นแหล่งป้อนข้อมูลย้อนกลับในกลุ่ม
- คุณสมบัติของกลุ่มทำางานที่มีประสิทธิภาพ
1. มีความมุ่งมั่นและพะวงต่อเป้าหมายของกลุ่มในขณะเดียวกันก็มีกลยุทธ์ในการทำางานที่ยืดหยุ่นพอที่จะบรรลุเป้าหมาย
ได้
2. เผชิญหน้ากับคนหรือสถานการณ์ที่ขวางทางอยู่ไม่ยอมหลบหนี
3. ยึดมั่นในคุณภาพของงาน และคุณลักษณะของการทำางานเป็นคณะ
4. มีความเข้าใจปณิธานและนโยบายดำาเนินการของหน่วยงานที่พวกเขาสังกัดอยู่
5. มีความบันดาลใจจากมโนภาพที่วาดไว้ว่าจะทำาให้ได้
6. ผูกมิตรหาพวกที่สามารถช่วยงานของกลุ่มให้เป็นไปได้ด้วยดี
7. ทำางานตนเองให้เป็นที่รู้จักและอยากติดต่อด้วย
8. มีความสำาเร็จเป็นแรงขับหรือแรงจูงใจ
9. เป็นนักปฏิวัติ ให้ความสำาคัญต่อการลงมือทำา
10. มีความมุ่งมั่นต่อความสำาเร็จของสถาบันของตน
11. มีอิทธิพลพอสมควรต่อสถาบันของตน เป็นอิทธิพลที่เกิดจากความน่าเชื่อถือของกลุ่ม (ทีมงาน) ทั้งกลุ่ม
12. ทำางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้หลักการและแนวทางมากว่าใช้กฎระเบียบ
13. สามารถแยกเรื่องสำาคัญกับเรื่องด่วนออกจากกันได้
14. ให้ความสำาคัญแก่ผู้นำา โดยมุ่งหวังให้ผู้นำาเป็นผู้ต่อสู้ให้ได้มาซึ่งการสนับสนุน
15. สามารถติดต่อสื่อสารหรือรับสถานการณ์ตามลำาพังได้ดีเท่ากับเมื่ออยู่เป็นกลุ่ม
16. ภาคภูมิในการมีความคิดสร้างสรรค์
17. มีความเข้าใจว่าเหตุใดกลุ่มของตนจึงประสบความสำาเร็จ
18. ประเมินคุณค่าของคนที่มีความรู้ ความสามารถและการมีส่วนร่วมในงานมากกว่าจะประเมินจากสถานภาพหรือ
ตำาแหน่ง
19. พยายามทำางานร่วมกับผู้อื่นมากกว่าที่จะทำาเพื่อผู้อื่นหรือเป็นสัตรูกับผู้อื่น
20. ไม่แสดงความยโสอวดดี
- กระบวนการกลุ่มในที่นี้หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างคนและกลุ่มคน
- กระบวนการกลุ่มจะช่วยให้คนรู้จักตนเองและจะช่วยสร้างการเรียนรู้ว่าคนเราเมื่ออยู่ร่วมกันต้องเสียสละ รูจ้ ักให้ รูจ้ ักรับ
รู้จักกลั้น รูว้ ่าจะทำาตนอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขได้
- ความหมายของกระบวนการกลุ่ม
1. เป็นวิชาการด้านจิตวิทยาสังคม ซึ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของชีวิตกลุ่ม โดยการค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติของ
ชีวิตกลุ่ม โดยการค้นคว้าทดลองจนได้ผลสามารถนำาไปตั้งเป็นทฤษฎีได้ แล้วนำาเอาผลนัน้ ไปใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพของ
กลุ่ม
2. กลุ่มที่มีการจัดระบบอย่างดี โดยคำานึงถึงลักษณะของสมาชิก วิธดี ำาเนินงานผู้นำา และบรรยากาศของกลุ่ม สิ่งเหล่านี้
ประกอบกันจะมีผลทำาให้กลุ่มสามารถดำาเนินการได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
3. กิจกรรมกลุ่มซึ่งก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์
- ประสบการณ์กระบวนการกลุ่ม คือ กิจกรรมกลุ่มซึ่งก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ซึ่งช่วยพัฒนาสมาชิก
ของกลุ่มทั้งในด้านมิติสังคม และมิติงาน
- ผูเ้ รียนจะได้ประโยชน์จากการเรียนมากเมื่อใช้วิธีการต่อไปนี้
1. ยึดถือพฤติกรรมที่กำาหนด เปิดใจ เปิดความรู้สึกให้สามารถรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น
2. กำาหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ของตน และทำางานอย่างแข็งขันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นนั้
3. มีความเต็มอกเต็มใจที่จะทดลองกระทำาพฤติกรรมใหม่ ๆ และฝึกซ้อมทักษะใหม่ ๆ
4. แสวงหาและคอยรับข้อมูลย้อนกลับ
5. สร้างข้อสรุป หรือทฤษฎีปฏิบัติเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจกรรม

14.2 ลักษณะและพฤติกรรมของบุคคลในกระบวนการกลุ่มและการทำางานเป็นคณะ
แนวคิด
1. พฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มมีทั้งพฤติกรรมที่ชว่ ยส่งเสริมให้การทำางานของกลุ่มบรรลุเป้าหมายและพฤติกรรมที่เป็น
อุปสรรคต่อการทำางานของกลุ่ม แต่กระบวนการกลุ่มจะช่วยปรับให้พฤติกรรมของคนในกลุ่มเป็นไปในทิศทางที่พึง
ประสงค์
2. ความต้องการพื้นฐานของบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการได้รับการยอมรับมีผลกระทบต่อกระบวนการกลุ่มเป็น
อย่างมาก
3. ทัศนคติและค่านิยมส่วนบุคคลมีอิทธิพลต่อความคิดและการแสดงพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งทำาให้มผี ลกระทบต่อ
กระบวนการกลุ่มด้วย
4. การทำางานเป็นคณะจำาเป็นต้องอาศัยลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของบุคคลในกระบวนการกลุ่ม
- พฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
- พฤติกรรมที่ส่งเสริมให้การทำางานของกลุ่มบรรลุเป้าหมายได้โดยเร็วและสร้างเสริมสัมพันธภาพระหว่างบุคคลภายใน
กลุ่มให้แน่นแฟ้นมากขึ้น
1. การริเริ่ม 6. การชี้แจงหรือขยายความ
2. การแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม 7. การสรุป
3. การให้ข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็น 8. การประเมิน
4. การรับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น
5. การประสานแนวคิด
- พฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการทำางานของกลุ่มและทำาให้กลุ่มแตกแยก
1. การตอบโต้ที่มีความคิดหรือความรู้สึกอย่างอื่นซ่อนเร้นอยู่
2. การก้าวร้าว
3. การขัดคอหรือขัดแย้งโดยปราศจากเหตุผล
4. การข่มขู่
5. การผูกขาดบทบาทภายในกลุ่ม
6. การเงียบเฉย
- การจัดกระบวนการกลุ่มที่จะสร้างพลังให้สมาชิกของกลุ่มมีเฉพาะพฤติกรรมที่ส่งเสริมในการทำางาน มีดังนี้
1. จัดกิจกรรมหรือรูปแบบของกลุ่มให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการทำากิจกรรม
2. จัดกิจกรรมที่ก่อให้สมาชิกเกิดความรู้สึก หรือมีอารมณ์ร่วมต่อเหตุการณ์หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม
3. จัดกิจกรรมที่ให้ทุกคนมีส่วนในการวิเคราะห์เหตุการณ์ อภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน
4. ผูน้ ำากิจกรรมหรือผู้จัดกิจกรรมต้องคำานึงถึงเป้าหมายสำาคัญของกระบวนการกลุ่มอยู่เสมอ ผูน้ ำาจึงเพียงประสาน กระตุ้น
หรือส่งเสริมให้สมาชิกมีพฤติกรรมในแนวทางที่สร้างเสริมสัมพันธภาพที่ดี
5. กิจกรรมในกระบวนการกลุ่มที่ดีต้องสร้างการเรียนรู้ให้เกิดแก่สมาชิกในกลุ่มอย่างน้อย 3 ประการคือ การเรียนรู้เรื่อง
ตนเอง การเรียนรู้เรื่องของสมาชิกอื่นในกลุ่ม และการเรียนรู้เรื่องของกลุ่ม
6. ในการจัดกิจกรรมกลุ่มต้องให้สมาชิกของกลุ่มมีโอกาสผ่านขั้นตอนตั้งแต่แรกจนสุดท้าย
- การปฏิบัติตนของสมาชิกในกระบวนการกลุ่ม
1. ต้องตระหนักในความเป็นจริงที่ว่าคนแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน
2. พยายามคิดเสมอว่าคนเรานั้นมีทั้งส่วนดีและส่วนบกพร่อง
3. ตั้งใจฟังในขณะที่สมาชิกในกลุ่มกำาลังพูด
4. แสดงความชื่นชมสมาชิกในกลุ่มเมื่อเห็นสมควร
5. อย่าแสดงอาการแกล้งทำาว่ายอมรับ หรือขัดแย้งทันทีก่อนที่ผู้อื่นจะพูดจบ
6. การแสดงการยอมรับ อาจแสดงออกด้วยสายตาท่าทาง คำาพูดหรือพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดเจน
- เมื่อใดที่เกิดความขัดแย้งขึ้นภายในกลุ่มอันเนื่องมาจากทัศนคติ ค่านิยม หรือความต้องการไม่ตรงกัน สมาชิกในกลุ่มควร
ปฏิบัติดังนี้
1. พยายามวิเคราะห์สาเหตุของความขัดแย้งแต่ละครั้งให้ตรงจุดที่สุดว่าเกิดเพราะสิ่งใด
2. พยายามอย่ายึดติดอยู่กับทัศนคติ ค่านิยม และความต้องการของตนอยู่เพียงฝ่ายเดียว
- เป้าหมายที่ดีในการทำางาน
1. มีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงสำาหรับงานที่กำาลังจะทำา
2. ควรเขียนออกมาในรูปของการกระทำาที่เข้าใจได้ตรงกัน
3. มีการระบุลงไปให้ชัดเจนด้วยว่าใครจะมีส่วนร่วมหรือมีบทบาทในจุดมุ่งหมายนั้นอย่างใด
4. ควรเขียนให้อยู่ในลักษณะที่มีความเป็นไปได้
5. ควรมีลักษณะที่สามารถสังเกตเห็นผลที่จะเกิดขึ้นได้

14.3 กระบวนการกลุ่มกับการแก้ปัญหา
แนวคิด
1. มนุษย์มีวิธีคิดแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล และโดยใช้อารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งเป็นการแน่นอนว่าการตัดสินใจที่ดีควรอยู่ใน
แวดวงของเหตุผล แต่การแก้ปัญหาและตัดสินใจหลายกรณีและในหลายระดับ ต้องมองไกลกว่าเหตุผล ฉะนัน้ การตัดสินใจ
จากการผุดรู้ จึงมีความสำาคัญและปรากฏบ่อยครั้งในพฤติกรรมการแก้ปัญหาของบุคคลหรือกลุ่ม มีเทคนิคกระบวนการ
กลุ่มหลายแบบที่เน้นการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และที่มีการแก้ปัญหาโดยใช้ความคิดนึกอย่างอิสระโลดโผนเพื่อให้เกิด
การผุดรู้ขึ้น ดังนั้น การนำากระบวนการกลุ่มมาใช้แก้ปัญหาจะต้องเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับกรณีปัญหา และต้องมีการ
จัดองค์ประกอบของกลุ่มให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
2. กลุ่มแก้ปัญหาที่สามารถนำามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพของกลุ่มทำางานได้มาก คือกลุ่มระดมสมอง และกลุ่มในนาม จะเน้น
การใช้ความคิดอย่างอิสระ สำาหรับกลุ่มวิเคราะห์พลังสนาม จะเน้นการคิดอย่างเป็นระบบเป็นเหตุเป็นผล
3. การประเมินพฤติกรรมกลุ่ม คือ การตัดสินพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่มโดยเปรียบเทียบกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อ
นำาข้อมูลที่ได้รับไปปรับพฤติกรรมกลุ่มให้ได้กลุ่มทำางานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พฤติกรรมที่พึงประเมินคือ พฤติกรรมของ
สมาชิกและของผู้นำากลุ่มและบรรยากาศของกลุ่ม
- การผุดรู้คือ การที่สมองซีกขวาทำาหน้าที่ถ่ายทอด แปร หรือเสริมแต่งการแสดงออกทางอารมณ์ สิ่งที่มองเห็นด้วยสายตา
และพฤติกรรมที่ไม่แสดงออกทางวาจา ซึ่งเป็นส่วนเสริมที่สำาคัญต่อความรู้ความเข้าใจที่เรามีอยู่แล้ว
- พัฒนาการของกลุ่ม คือ
1. การรวมกลุ่ม 3. การกำาหนดปทัสถานของกลุ่ม
2. การขัดแย้งระหว่างสมาชิกในกลุ่ม 4. การปฏิบัติงานของกลุ่ม
- กลุ่มเผชิญหน้า เป็นกลุ่มที่สมาชิกมารวมกัน ภายใต้การนำาของวิทยากรหรือผู้นำากลุ่มเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการ
สัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วยวิธีการของประสบการณ์กลุ่ม จุดมุ่งหมายมิใช่เพื่อการทำางานใดงานหนึ่งให้สำาเร็จลง แต่เพื่อ
เรียนรู้ทักษะในการติดต่อสื่อสาร การเข้าใจ และการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น
- กลุ่มสังคม เป็นการรวมกลุ่มของคนที่สนใจในเรื่องเดียวกันเพื่อพบปะสังสรรค์ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง วัตถุประสงค์
หลักคือ เพื่อสังคม แต่ก็อาจมีการเรียนรู้และทำางานร่วมกันได้
- กลุ่มการศึกษา การเรียนรู้ส่วนใหญ่ แม้จะไม่ทั้งหมด เกิดจากการเรียนรู้ในกลุ่ม
- กลุ่มทำางาน กลุ่มต่าง ๆ ส่วนใหญ่ที่มีการพบปะกันอยู่เสมอนั้นมิใช่มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงตัวเอง หรือเพื่อช่วยให้
สมาชิกได้พบปะช่วยเหลือกัน แต่เกิดขึ้นเพื่อปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำาเร็จลง
- กลุ่มระดมสมอง คือ กระบวนการช่วยให้บุคคลสามารถเสนอความคิดเห็น โดยไม่ถูกขัดจังหวะ โต้แย้งหรืออธิบายความ
หมายเพิ่มเติม โดยมีแนวคิดว่าการร่วมกันแก้ปัญหาย่อมจะประสบความสำาเร็จดีกว่าการแก้ปัญหาโดยลำาพังคนเดียว เหมาะ
กับคนกลุ่มอายุระดับประถมศึกษาขึ้นไป
- กลุ่มในนาม เป็นกระบวนการผสมผสานการทำางานโดยเอกเทศเข้ากับบรรยากาศของความเป็นกลุ่ม โดยใช้บรรยากาศ
ของความเป็นกลุ่มเป็นแรงผลักดันทางสังคมให้สมาชิกมุ่งระดมความคิดของตนเป็นการบังคับให้สมาชิกทุกคนระดมความ
คิดของตน เป็นการบังคับให้สมาชิกทุกคนร่วมในการหาทางแก้ปัญหาและให้ข่าวสารแก่กันและกัน กลุ่มในนามเป็น
เทคนิคที่มีประสิทธิภาพมากในการระบุปัญหา หรือในการประชุมเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาแต่จะไม่เหมาะสมกับการประชุม
ที่จัดเป็นปกติวิสัยเพื่อประสานงาน ต่อรอง หรือไกล่เกลี่ยประนีประนอม
- กลุ่มวิเคราะห์พลังสนาม คือ กระบวนการหามิติของปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบซึ่งได้ การระบุให้ได้ว่า
อะไรคือ ประเด็นปัญหา การวิเคราะห์ประเด็นปัญหา การกำาหนดขั้นตอนที่แน่ชัดในการเผชิญปัญหา มีแนวคิด 2 ประเภท
คือ พลังต้าน และพลังเสริม เหมาะกับกลุ่มอายุระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป

หน่วยที่ 15 การพัฒนาภาวะผู้นำา
แนวคิด
1. หากเราพิจารณาผู้นำาไม่ว่าในลักษณะใดและตามแนวคิดใดทางสังคมวิทยาแล้ว ก็สามารถกล่าวได้ว่าการเป็นกลุ่มเป็น
พวกของคนเราก็คงจะหลีกเลี่ยงการมีผนู้ ำาและผู้ตามไม่ได้ การเป็นผู้นำาที่ดีจำาเป้นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจถึงสถานภาพ บท
บาทและปทัสถานของกลุ่มในสังคมเพื่อที่จะช่วยให้สามารถพยากรณ์พฤติกรรมของบุคคลในสังคมและเป็นประโยชน์ต่อ
การปฏิบัติงานของผู้นำาเป็นอย่างยิ่ง
2. ผูน้ ำาจำาเป็นต้องใช้สมรรถภาพการพูดของตนในทุกระดับของการสื่อสารตั้งแต่การพูดระหว่างบุคคล การพูดภายในกลุ่ม
การพูดในที่สาธารณะ และการพูดทางสื่อมวลชน การจำาแนกประเภทของการพูดตามระดับต่าง ๆ จะช่วยสร้างความมั่นใจ
ในตนเอง และพัฒนาประสิทธิภาพของเสียงพูดและกิริยาอาการในการพูดให้สัมฤทธิผลสมความประสงค์
3. การค้นคว้าทางวิชาการเป็นการเสริมสร้างภาวะผู้นำาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะการศึกษาค้นคว้าก่อให้เกิดภูมิรู้ภูมิปัญญาที่
แตกฉายลุ่มลึก ช่วยให้การปฏิบัติงานหรือการตัดสินใจวินิจฉัยสั่งการเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์ มีข้อมูลสนับสนุนที่น่าเชื่อ
ถือ ทักษะของการค้นคว้าทางวิชาการจะต้องให้ครอบคลุมลักษณะของสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล ข่าวสารและความรู้ต่าง ๆ ใน
ปัจจุบัน ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออ้างอิง สื่อโสตทัศน์ และสื่อที่อยู่ในฐานข้อมูลต่าง ๆ
4. การเขียนรายงานเป็นภารกิจสำาคัญของผู้นำา รายงานมีหลายประเภทได้แก่ รายงานวิชาการ รายงานทั่วไป และโครงการ
แต่ละประเภทยังจำาแนกออกได้อีกหลายชนิด การเขียนรายงานจะต้องมีขนั้ ตอนตามลำาดับ และใช้ภาษาที่ชัดเจนตรง
ประเด็น
5. คุณธรรมและจรรยาวิชาชีพ เป็นสิ่งที่พึงยึดถือปฏิบัติมิใช่เพียงเรียนรู้ และจำาเป็นมากสำาหรับผู้บริหารเพราะว่าผู้บริหารที่
ดีควรจะเพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรมและรักษาจรรยาวิชาชีพโดยเคร่งครัด

15.1 พฤติกรรมผู้นำา
แนวคิด
1. หากเราพิจารณาผู้นำาไม่ว่าในลักษณะใดและตามแนวคิดใดในทางสังคมวิทยาแล้ว ก็สามารถกล่าวได้ว่า การเป็นกลุ่ม
เป็นพวกของคนเราก็คงจะหลีกเลี่ยงการมีผู้นำาและผู้ตามไม่ได้ การเป็นผู้นำาที่ดีในสังคมนั้นจำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำานึงถึง
สถานภาพและบทบาทที่ผู้อื่นในสังคมคาดหวังด้วย
2. ปทัสถานของกลุ่มเป็นภาวะแวดล้อมที่มีลักษณะเป็นจิตวิสัย ซึ่งผูน้ ำาจำาเป็นที่จะต้องรู้และทำาความเข้าใจเพื่อที่จะช่วยให้
สามารถพยากรณ์พฤติกรรมของบุคคลในสังคมและเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของผู้นำาเป็นอย่างยิ่ง

- ผูน้ ำาโดยคำาจัดความจำาแนกได้ 3 ประการคือ ความสามารถ กระบวนการ และ ปรากฏการณ์


- ลาปีแอร์และฟรานสเวอร์ธ กล่าวว่า การเป็นผู้นำาได้แก่พฤติกรรมซึ่งมีผลทำาให้พฤติกรรมของผู้อื่นคล้อยตามแทนที่จะ
คล้อยตามพฤติกรรมของผู้อื่น
- การที่ผู้นำาในสังคมจะสามารถปรับตนปรับใจให้บรรลุความคาดหวังดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อผู้นำามีความกระจ่างถึง
ปฏิสัมพันธ์ในลักษณะต่อไปนี้
1. การติดต่อสื่อความหมาย เป็นหลักสำาคัญต่อการมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อกันในสังคม เพราะเป็นกระบวนการถ่ายทอด
ทัศนคติ รับความคิดเพื่อทำาความเข้าใจต่อกัน
2. การขัดแย้ง
3. การแข่งขัน เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นได้ทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว
4. การประนีประนอมผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน เป็นวิธีการลดความตึงเครียดหรือให้เกิดความแตกราวน้อยที่สุด
5. การผสมผสานกลมกลืนเข้าหากัน
6. การร่วมมือสนับสนุนซึ่งกันและกัน การร่วมมือกันเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปหรือมากกว่า
นัน้ เป็นรูปของการทำางานร่วมกัน เพื่อจุดหมายปลายทางร่วมกัน
- ปทัสถาน เป็นเสมือนข้อกำาหนดหรือกฎเกณฑ์แห่งพฤติกรรมที่สังคมใดสังคมหนึ่งได้กำาหนดขึ้นไว้โดยการยอมรับ
นับถือปฏิบัติของบุคคลส่วนใหญ่ในสังคมนัน้ ถือว่าผู้ปฏิบัติตามปทัสถานหรือข้อกำาหนดนั้นเป็นสิ่งที่ดีงาม และทำาให้เกิด
คุณค่านิยมทางสังคม ปทัสถานเป็นเครื่องกำากับความประพฤติให้บุคคลยืดถือปฏิบัติตามไม่เกิดการยุ่งยากวุ่นวายในสังคม
นัน้
- ปทัสถานทางสังคมมีประโยชน์ด้านเกี่ยวกับการบริหารงานในแง่ที่เกี่ยวกับทำาให้สามารถศึกษา และพยากรณ์พฤติกรรม
ของบุคคลในสังคมใดสังคมหนึ่งได้ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการบริหารงานขององค์การ
- ความสอดคล้องหรือความเป็นระเบียบของกลุ่มมีลักษณะใหญ่ ๆ 2 ประการคือ
1. ความเข้าใจร่วมกันในกฎเกณฑ์
2. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคม ซึ่งรวมถึงความผูกพันซึ่งกันและกัน

15.2 การสื่อสารด้วยการพูด
แนวคิด
1. การสื่อสารโดยการพูดระหว่างบุคคลที่สัมฤทธิผลจะต้องเริ่มต้นที่ความตระหนักในความสำาคัญของการสื่อสารใน
ระดับนี้เสียก่อน ต่อจากนั้นก็ต้องทำาความเข้าใจเงื่อนไขและกลวิธีทชี่ ่วยให้เกิดความสัมฤทธิผล รวมทั้งต้องรู้จักสังเกตและ
ปรับปรุงแก้ไขด้วยตนเองไปจนตลอดชีวิต
2. การสื่อสารโดยการพูดในกลุ่มและในที่สาธารณะที่สัมฤทธิผล จะต้องเริ่มต้นที่ความเข้าใจในรูปแบบและวิธีการนำา
เสนอ ได้สังเกตเห็นตัวอย่างที่ถูกต้องกับการได้มีโอกาสหาประสบการณ์จริงในการพูด พร้อมทั้งต้องรู้จักสังเกตและ
ปรับปรุงตนเองได้ดียิ่งขึ้นตลอดไป
3. การจำาแนกประเภทของการพูดตามระดับต่าง ๆ ของการสื่อสารจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมการพูดของมนุษย์ได้อย่าง
เป็นระบบและช่วยในการเตรียมการพูดให้ได้สัมฤทธิผลสมความประสงค์
4. ปัจจัยสำาคัญของการพูดที่สัมฤทธิผลขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของผู้พูด ความมั่นใจในการสื่อสาร
ประสิทธิภาพของเสียงพูดและกิริยาอาการขณะพูด การปรับตัวให้เหมาะแก่โอกาสและสถานการณ์ในการพูด

- ลักษณะการสนทนาที่มีประสิทธิผลอาจสรุปเป็น 4 ประการดังนี้
1. เนื้อหาในการสนทนามีสาระประโยชน์แก่ทุกฝ่าย 3. ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน
2. ทุกคนมีส่วนได้พูดโดยทั่วถึงกัน 4. ถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคล
- การสัมภาษณ์มีข้อแตกต่างกับการสนทนาคือ การสัมภาษณ์ส่วนมากมีรูปแบบเป็นพิธีการ มีจุดมุ่งหมายแน่นอน และผู้
สัมภาษณ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์มีบทบาทต่างกันอย่างแน่ชัด
- โดยทั่วไปแล้วผู้บริหารอาจใช้การสัมภาษณ์เพื่อจุดประสงค์สำาคัญ 2 ประการคือ สัมภาษณ์เพื่อหาข้อเท็จจริง และข้อคิด
เห็นนำามาใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง และสัมภาษณ์เพื่อให้ข้อเท็จจริงข้อคิดเห็นและข้อแนะนำา
- เราแบ่งคำาถามที่มักใช้ในการสัมภาษณ์ออกเป็น 5 ประเภท คือ
1. คำาถามเปิด เปิดกว้างให้ผู้ตอบตอบ อาจคลุมเครือบ้าง
2. คำาถามปิด ต้องการคำาตอบที่เฉพาะเจาะจงเพียงไม่กคี่ ำาพูด
3. คำาถามทวน เมื่อผู้ถามมีความต้องการได้รับการยืนยันให้แน่ใจ
4. คำาถามหยั่ง ถามลึกลงไปเพื่อหยั่งทราบเหตุผล ทัศนคติ และความเชื่อของผู้ถูกถาม
5. คำาถามนำา เป็นคำาถามที่นำาผู้ตอบให้ตอบตามที่ผู้ถามคาดเอาไว้
- การพูดในกลุ่มหรือที่สาธารณะ พูดหรืออ่านจากต้นฉบับที่ได้เขียนไว้ พูดตามทีจ่ ำามาพูดอย่างฉับพลัน และพูดจากความ
เข้าใจตามที่ได้เตรียมไว้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาส สถานการณ์ ความจำาเป็น รวมทั้งความสามารถเฉพาะของแต่ละบุคคล
- ข้อเสียของการพูดตามที่ท่องจำามา คือคนฟังจะสังเกตได้ง่ายว่าผู้พูดขาดลักษณะของความมีชีวิตจิตใจ
- การพูดเพื่อค้นหาคำาตอบ ข้อสำาคัญอยู่ที่การตั้งปัญหาให้แจ่มชัด
- การพูดเพื่อให้ความรู้ ต้องมีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ อย่างแท้จริง มิใช่ไม่รู้แต่ทำาเป็นว่ารู้ ซึ่งจะทำาให้ผู้ฟังเสื่อมความเชื่อถือ
- การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ จุดประสงค์ทวั่ ไปคือ เพื่อให้ผู้ฟังเชื่อถือ หรือปฏิบัติตามเป็นสำาคัญ
- การพูดเพื่อจรรโลงใจ เป็นการพูดเพื่อก่อให้เกิดคามรู้สึกที่สูงส่งดีงาม ชี้ให้เห็นถึงอุดมคติหรือให้เห็นแนวทางในการ
ดำาเนินชีวิต

15.3 การค้นคว้าทางวิชาการ
แนวคิด
1. การค้นคว้าทางวิชาการมีความสำาคัญต่อการพัฒนาภาวะผู้นำาเป็นอย่างมาก เพราะความรู้และข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการ
ศึกษาค้นคว้าจะเสริมสร้างภูมิรู้ ภูมิปัญญาของผู้นำาให้ลุ่มลึก สามารถนำาไปใช้ในสถานการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นำาที่
สมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นในการพูด การเขียน หรือการตัดสินใจวินิจฉัยสั่งการ
2. การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์เป็นทักษะเบื้องต้นที่จะนำาไปสู่ขุมทรัพย์ทางปัญญาที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ
วารสาร หนังสือพิมพ์และเอกสารต่าง ๆ ซึ่งมีจำานวนมากมาย และมีลักษณะข้อมูลต่างกัน จึงจำาเป็นต้องเรียนรู้ลักษณะของ
ข้อมูลข่าวสารและการจัดเก็บค้นหาสื่อเหล่านี้
3. สื่ออ้างอิงเป็นสื่อที่ช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาความรู้ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพราะเป็นสื่อที่รวบรวมสรรพวิชาและ
ข้อมูลข่าวสารไว้อย่างเป็นระบบ สะดวกต่อการค้นคว้าหาเรื่องราวที่ต้องการได้เป็นอย่างดี
4. สื่อโสตทัศน์เป็นสื่อที่แสดงด้วยภาพหรือเสียงหรือทั้งภาพและเสียง ใช้เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่สื่อสิ่ง
พิมพ์อาจจะอธิบายได้ไม่ชัดเจนเพียงพอ การค้นคว้าจากสื่อโสตทัศน์จึงทำาให้ได้ความรู้และข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ สมบูรณ์
ขึ้น
5. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารนิเทศที่ใช้ในการค้นคว้าทางวิชาการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ลุ่มลึกทำาให้เกิดฐาน
ข้อมูลที่มีระบบดีเยี่ยมทำาให้การค้นคว้าทางวิชาการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ลุ่มลึก สมบูรณ์และกว้างขวาง ทันต่อความ
ต้องการที่เร่งด่วน การค้นคว้าจากฐานข้อมูลต่าง ๆ จึงทำาให้ได้ความรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
ภายในเวลาอันรวดเร็ว

15.4 การเขียนรายงาน
แนวคิด
1. การเขียนรายงานเป็นภารกิจสำาคัญอย่างหนึ่งของผู้นำา ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ศึกษาค้นคว้าในทุกระดับ รายงานมีหลาย
ประเภท ซึ่งจำาแนกได้ตามวัตถุประสงค์ วิธนี ำาเสนอ หรือลักษณะเนื้อหา
2. รายงานวิชาการเป็นผลของการศึกษาค้นคว้าที่นำามาเรียบเรียงไว้อย่างมีระบบ มีรูปแบบอันประกอบด้วยส่วนนำา ส่วน
เนื้อความ และส่วนท้าย ขัน้ ตอนการเขียนเริ่มด้วยการเตรียมข้อมูล การเลือกเรื่อง และการตั้งชื่อเรื่อง ลงท้ายด้วยการสรุป
การใช้บรรยายโวหารที่ตรงประเด็นและอธิบายอย่างชัดเจน
3. รายงานทั่วไป แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ รายงานปฏิบัติงาน รายงานกิจการทั่วไป และรายงานทางธุรกิจ
4. โครงการคืนแผนการปฏิบัติงานที่เขียนเป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ ประกอบด้วยส่วนนำา ส่วนเนื้อความ และส่วนขยาย
ความ แต่ละส่วนมีรายละเอียดซึ่งผู้นำาจำาเป็นต้องศึกษาและฝึกฝนทั้งรูปแบบและภาษาไทยในการเขียน
- รายงานหมายถึง คำากล่าวบอกเรื่องราวที่ไปทำา ไปรู้ หรือไปเห็นมา ซึ่งอาจเป็นการรายงานด้วยวาจาหรือข้อเขียน อย่าง
เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้
- รายงานวิชาการ คือ ผลของการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่นำามาเรียบเรียงไว้อย่างมีระบบ
- การเขียนบทความวิชาการ มักมีจุดมุ่งหมายเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ตามหนังสือพิมพ์หรือวารสารต่าง ๆ เป็นการเขียนรายงาน
วิชาการประเภทหนึ่ง หรือใช้รูปแบบความเรียงทั่วไปก็ได้
- การปฏิบัติงานหมายถึง การปฏิบัติงานในสถานที่หรือนอกสถานที่ เป็นงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำาภายในหน่วยงาน
หรือได้รับทุน ได้รับการสนับสนุนให้เดินทางไปร่วมประชุม สัมมนา ดูงาน หรือฝึกอบรมนอกหน่วยงาน
- รายงานกิจการหรือการดำาเนินงานทั่วไป วิธีการเขียนต้องสมบูรณ์ทั้งข้อมูล สำานวน และท่วงทีลีลาภาษาที่บ่งบอกความ
ภูมิใจ การเขียนรายงานประเภทนี้จึงแตกต่างจากประเภทอื่น
- รายงานทางธุรกิจ มุ่งกล่าวถึงรายงานทางการเงินการบัญชีของหน่วยงาน
- โครงการ คือแผนหรือเค้าโครงตามที่กะกำาหนดไว้ในที่นี้หมายถึงแผนการปฏิบัติงานที่เขียนเป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ
เขียนขึ้นไว้เพื่อเป็นแผนและแนวทางปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
15.5 คุณธรรมและจรรยาวิชาชีพสำาหรับผู้บริหาร
แนวคิด
1. คุณธรรม และจรรยาวิชาชีพเป็นสิ่งสำาคัญและจำาเป็นมากสำาหรับผู้บริหาร
2. คุณธรรมและจรรยาวิชาชีพ เป็นสิ่งพึงยึดถือปฏิบัติไม่ใช่เพียงเรียนรู้
3. ผู้บริหารควรจะเพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรม และรักษาจรรยาวิชาชีพโดยเคร่งครัดเป็นพิเศษ

- คุณธรรมหลัก 4 ประการ ตามแนวคิดของอริสโตเติล คือ (ออกสอบทุกภาคจำาอันดับให้ได้นะ)


1. ความรอบคอบ
2. ความกล้าหาญ
3. การรู้จักประมาณ
4. ความยุติธรรม
- จรรยาวิชาชีพหมายถึง กฎเกณฑ์ความประพฤติหรือมารยาทในการประกอบวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพแต่ละสาชา ซึ่ง
กำาหนดขึ้นแล้วเรียกกันว่า จรรยาบรรณ
………………………………………………………………………………..
ที่มา : กระดานสนทนานิติศาสตร์

มีความเห็นของผู้ที่สอบแล้วด้วยค่ะ : ข้อสอบออกค่อนข้างยากและซึ่งซึ่ง เช่น ถามเรื่องการเรียงฟ้องแพ่ง ฟ้องอาญา อะไรขึ้นก่อนอะไรหลัง


เรียงลำาดับอย่างไร เรื่องพยานเอกสารอะไรใช้ได้อะไรใช้ไม่ได้ ผลของการส่งหมาย ปิดหมาย // คำาถามเกือบครึ่ง จะมีคำาตอบว่า ถูกทั้ง ก
และ ข, ถูกทุกข้อ, ข และ ค ผิด ส่วนในหน่วยที่ 14-15 คำาถามไม่ยาก ถ้าทำางานกันแล้วตอบกันได้แน่นอน

You might also like