You are on page 1of 82

หลักทั่วไปในวิธพ

ี ิจารณาความแพ่ง

จัดทำำโดย
ชมรมนักศึกษำ มสธ. จ. รำชบุรี
สำรบัญ
2

เรื่อง หน้ำ

หน่วยที่ 1 พระธรรมนูญศำลยุติธรรม (1)


หน่วยที่ 2 พระธรรมนูญศำลยุติธรรม (2)
หน่วยที่ 3 ศำล
หน่วยที่ 4 กระบวนพิจำรณำเบื้องต้น
หน่วยที่ 5 คู่ควำม กำรยื่นและกำรส่งคำำคู่ควำมและเอกสำร
หน่วยที่ 6 หลักทั่วไปว่ำด้วยกำรชี้ขำดตัดสินคดี
หน่วยที่ 7 คำำพิพำกษำและคำำสั่ง

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


3

41341 กฎหมำยวิธีสบัญญัติ 1: หลักทั่วไปในวิธีพิจำรณำควำมแพ่ง


Procedural Law I

หน่วยที่ 1 พระธรรมนูญศำลยุติธรรม (1)

1. เดิมศาลยุติธรรมขึ้นอยู่กับกระทรวงต่างๆ มีการก้าวก่ายอำานาจกันเมื่อมีการจัดตั้งกระทรวง
ยุติธรรมขึ้นศาลต่างๆ จึงได้มาสังกัดอยู่ที่กระทรวงยุติธรรม งานของศาลแยกออกเป็นงาน
ธุ ร การซึ่ งอยู่ ใ นความรั บ ผิ ด ชอบของรั ฐมนตรี ต่ า งหากจากงานตุ ล าการ ซึ่ ง การงานใช้
ดุลพินิจของผู้พิพากษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้พิพากษามีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี
2. ศาลยุติธรรมแบ่งออกเป็นสามชั้นคือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา เพื่อกลั่นกรองความ
ถูกต้องและตรวจสอบอำานาจศาลล่าง
3. เราอาจแบ่ ง ผู้ พิ พากษาออกตามตำา แหน่ ง ได้ เ ป็ น สองประเภท ผู้ พิ พ ากษาธรรมดากั บ ผู้
พิพากษาผู้เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบ

1.1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
1. การที่จะให้ผู้พิพากษามีอำานาจอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น จะต้องแยกงานตุลาการ
ออกจากงานธุรการ และต้องมีวิธีการที่ไม่ให้ฝ่ายบริหารเข้ามามีอำานาจให้คุณหรือโทษแก่ผู้
พิพากษาได้
2. การจัดตั้งศาลจะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ
3. การแบ่งลำาดับชั้นของศาลก็เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลได้รับการกลั้นกรองกัน
หลายชั้น และเพื่อประโยชน์ในการหน่วงรั้งด้วย จึงสมควรที่จะต้องศึกษาว่าศาลแต่ละชั้นมี
ศาลประเภทใดบ้าง มีอำานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอย่างไร
1.1.1 ศาลยุติธรรม
ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551
4

งานตุลาการกับงานธุรการแตกต่างกันอย่างไร
งานยุติธรรมคืองานพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งผู้พิพากษาเท่านั้นที่มีอำานาจกระทำาการได้ ส่วน
งานธุรการคืองานอื่นๆ ที่ไม่ใช่การพิจารณาพิพากษาคดี เช่น การบริหาร การบังคับบัญชา การโยกย้าย
การเลื่อนขั้นเงินเดือน เป็นต้น

มีวิธีการอย่างไรในการป้องกันไม่ให้อำานาจฝ่ายอื่น เข้ามาก้าวก่ายอำา นาจพิจารณาพิพากษา


ของผู้พิพากษา
จะต้องให้ผู้พิพากษามีอำานาจอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี และต้องมีวิธีการป้องกันมิให้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองมีอำานาจให้คุณและให้โทษแก่ผู้พิพากษา
ได้ โดยมีคณะกรรมการตุลาการ หรือ ก.ต. เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง โยกย้าย
เลื่อนชั้น หรือขั้นเงินเดือนผู้พิพากษา หรือเป็นผู้พิจารณาโทษทางวินัยแก่ผู้พิพากษาที่ถูกกล่าวหาว่า
กระทำาความผิด

1.1.2 การจัดตั้งศาลยุติธรรม
การจัดตั้งศาลต้องดำาเนินการอย่างไร
การจัดตั้งศาลจะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ และเป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ยุติธรรมที่จะต้องรายงานต่อรัฐบาลถึงจำา นวนสภาพ สถานที่ตั้ง และเขตอำา นาจศาลที่จะจัดตั้ง โดย
รัฐบาลจะเสนอร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติ

ศาลต่างๆ มีอยู่เฉพาะที่ระบุไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่เพียงใด
ศาลยุติธรรมมิได้จำากัดเฉพาะที่ระบุไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเท่านั้น ยังมีศาลอื่นๆ ที่
จัดตั้งขึ้นและมิได้ระบุไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาล
เยาวชนและครอบครัวประจำาจังหวัด ศาลแรงงานกลางและศาลภาษีอากรกลาง

1.1.3 การแบ่งลำาดับชัน้ ของศาล


ศาลแขวงมีวิธีการเร่งรัดคดีให้รวดเร็วเกี่ยวกับเรื่องใดบ้า
ศาลแขวงมีวิธีการเร่งรัดคดีให้รวดเร็วในเรื่องการฝากขัง การผัดฟ้อง การให้ฟ้องด้วยวาจา
เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และเมื่อศาลแขวงพิพากษาคดีก็ห้ามมิให้อุทธรณ์มนบางกรณี

ศาลจังหวัดที่ตั้งอยู่ในเขตอำาเภอมีเขตอำานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเหมือนกันและแตก
ต่างกับศาลจังหวัดประจำาจังหวัดอย่างไรบ้าง

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


5

ศาลจังหวัดที่ตั้งอยู่ในเขตอำาเภอ มีอำานาจเหมือนกับศาลจังหวัดประจำาจังหวัดในเรื่องอำานาจ
การพิจารณาพิพากษาคดี คือ มีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงเช่นเดียวกับศาล
จังหวัดประจำาจังหวัด
ข้อแตกต่างนั้นคือ เขตศาล ศาลจังหวัดที่ตั้งอยู่ในเขตอำาเภอที่ตั้งศาลอยู่นอกเขตอำาเภอเมือง
และมีเขตเหนือคดีในอำาเภอที่ตั้งกับอำาเภอที่กฎหมายจัดตั้งศาลระบุไว้ ส่วนศาลจังหวัดประจำาจังหวัด
ตั้งอยู่ที่อำาเภอเมืองมีเขตเหนือคดีที่เกิดขึ้นในอำาเภอเมืองและอำาเภอทุกอำาเภอถ้าจังหวัดไม่มีศาลจังหวัด
ที่ตั้งอยู่ในเขตอำาเภอ ศาลจังหวัดประจำาจังหวัดมีเขตอำานาจเหนือคดีทั้งหมดที่เกิดขึน้ ในจังหวัดนั้น

1.2 ตำำแหน่งหน้ำที่ของผู้พิพำกษำ
1. ตำา แหน่ งหน้ าที่ข องผู้พิพากษาอาจแบ่ งออกเป็ นสองประเภทคื อ ผู้พิพากษาธรรมดากั บผู้
พิพากษาที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ผู้พิพากษาที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบมีอำานาจมากกว่าผู้
พิพากษาธรรมดาในการพิจารณาพิพากษาคดี
2. การทำา การแทนชั่วคราวผู้พิพากษาที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบนั้น มีอยู่สองกรณี คือ เป็นไป
โดยอัตโนมัติตามกฎหมายหรือเข้าทำาการแทนได้ตามคำาสั่งของผู้บังคับบัญชา

1.2.1 ผูพ้ ิพากษาธรรมดา


เปรียบเทียบความแตกต่างของผู้พิพากษาประจำากับผู้พิพากษาสมทบ
เปรียบเทียบความแตกต่างดังนี้
1. ผู้พิพากษาประจำา เป็นข้าราชการประจำา ไม่ต้องออกตามวาระ แต่ผู้พิพากษา
สมทบไม่ใช่ข้าราชการต้องออกตามวาระ
2. ผู้พิพากษาประจำา ต้องผ่านการสอบแข่งขันเข้ามา แต่ผู้พิพากษาสมทบได้เป็น
โดยการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งไม่ต้องมีการสอบแข่งขัน
3. ผู้พิพากษาประจำา อาจโยกย้ายไปรับราชการในศาลต่างๆ แต่ผู้พิพากษาสมทบ
ต้องทำางานประจำา อยู่เฉพาะในศาลที่ได้รับแต่งตั้งเข้ามา เช่น ศาลเยาวชนและ
ครอบครัว ศาลแรงงานกลาง

1.2.2 ผูพ้ ิพากษาที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบ


ผู้พิพากษาที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบมีอำา นาจหน้าที่อันสำา คัญมากกว่าผู้พิพากษาธรรมดา
อย่างไรบ้าง
ผูพ้ ิพากษาที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบมีอำานาจหน้าที่อันสำาคัญมากกว่าผู้พิพากษาธรรมดาคือ
1. มีหน้าที่รับผิดชอบในงานธุรการของศาล มาตรา 10(1) (2) (3)

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


6

2. มีอำานาจตรวจสำานวนและลงชื่อในคำาพิพากษาในคดีใดๆ ได้โดยไม่ต้องนั่งพิจารณาคดี
นัน้ มาก่อน มาตรา 10(4)

อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีอำานาจหน้าที่อันสำาคัญมากกว่าผู้พิพากษาที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบ
อืน่ ๆ อย่างไรบ้าง
อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีศาลที่อยู่ในความรับผิดชอบหลายศาล จึงมีเขตรับผิดชอบมากกว่าผู้
พิพากษาที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบอื่นๆ และมีอำานาจมากกว่าคือ
1. อธิบดีผู้พิพากษาภาค มีอำานาจนั่งพิจารณาคดีในศาลทุกศาล ซึ่งอยู่ในเขตของ
ตนหรือตรวจสำานวนลงชื่อในคำาพิพากษาในคดีได้ทุกศาลที่อยู่ในเขตของตน
ส่วนผู้พิพากษาที่เป็นหัวหน้ารับผิดชอบอื่นคงใช้อำานาจได้เฉพาะในศาลของ
ตนเท่านั้น
2. อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีอำานาจสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งคนใดในศาลหนึ่ง ซึ่ง
อยู่ในเขตอำา นาจของตนไปช่ วยทำา งานชั่วคราวในอีก ศาลหนึ่งที่อ ยู่ใ นเขต
อำานาจของตนได้ ส่วนผู้พิพากษาที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบอื่นไม่มีอำานาจสั่ง
การดังกล่าวได้

1.2.3 การทำาการแทนผู้พิพากษาที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบ
อธิบายเกี่ยวกับการทำาการแทนผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
การทำาการแทนผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเกิดขึ้นเมื่อตำาแหน่งนั้นว่างลง หรือไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่
ผู้พิพากษาอาวุโสที่สุดในศาลนั้น จะต้องเป็นผู้ทำาการแทนทันทีตามกฎหมาย โดยไม่จำา เป็นต้องมีคำา
สั่งแต่งตั้งอีก

อธิบายเกี่ยวกับการทำาการแทนอธิบดีผู้พิพากษาภาค
การทำาการแทนอธิบดีผู้พิพากษาภาคนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่กฎหมายบัญญัติให้
เป็นอำานาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่จะแต่งตั้งผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งไปทำาการแทน
ชัว่ คราว

แบบประผลตนเองหน่วยที่ 1
1. เมื่อทหารประจำาการกระทำาความผิดอาญาจะถูกดำาเนินคดีที่ ศาลทหาร
2. ผูม้ ีอำานาจในการแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
3. ผูท ้ ี่มีอำานาจเห็นชอบในการแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาคือ คณะกรรมการตุลาการ

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


7

4. วัตถุประสงค์ในการแยกงานตุลาการออกจากงานธุรการคือ เพื่อให้ผู้พิพากษามีความอิสระใน
การพิจารณาพิพากษาคดี
5. การจัดตั้งศาลจะต้องจัดตั้งโดย พระราชบัญญัติ
6. อำานาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวงแตกต่างกับศาลอื่นคือ มีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดี
แพ่งและคดีอาญาที่มีทุนทรัพย์หรือโทษเล็กน้อย
7. ศาลยุติธรรมแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา
8. ผูพ้ ิพากษาสมทบมีอยู่ในศาล เยาวชนและครอบครัวกับศาลแรงงานกลาง
9. ผูพ้ ิพากษาหัวหน้าศาลแขวง เป็นผู้พิพากษาที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบ
10. เมื่อตำาแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาว่างลงหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ผู้ทำาการแทนคือ รองอธิบดีผู้
พิพากษาในศาลนั้น
11. ถ้าต้องการฟ้องทหารประจำา การเป็นคดีแพ่งต้องฟ้องที่ ศาลยุติธรรมที่มีเขตอำา นาจพิจารณา
พิพากษาคดีแพ่ง
12. ในปัจจุบันนี้ถ้าจะเปิดทำาการศาลแขวงจะต้องตราเป็น พระราชกฤษฎีกา
13. ผูท้ ี่กระทำาผิดอาญาลหุโทษตามปกติจะถูกฟ้องที่ ศาลแขวง
14. ผูพ้ ิพากษาสมทบมีอำานาจหน้าที่ ร่วมเป็นคณะพิจารณาพิพากษาคดี
15. ผู้พิพากษาตำาแหน่ง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ไม่ใช่ผู้พิพากษาที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิด
ชอบ
16. เมื่อตำาแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดว่างลงผู้ที่จะต้องทำาการแทนคือ ผู้พิพากษาอาวุโส
ในศาลนั้น

หน่วยที่ 2 พระธรรมนูญศำลยุติธรรม (2)

1. เขตศาล และอำานาจศาลมีความหมายต่างกัน ศาลแต่ละศาลมีเขตอำานาจไม่เหมือนกัน


2. องค์คณะผู้พิพากษา หมายถึง จำา นวนผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดีมีจำา นวน
อย่างน้อยตามที่กฎหมายกำาหนดไว้

2.1เขตอำำนำจศำล
1. กฎหมายกำาหนดให้ศาลต้องใช้อำานาจในเขตของตนเองเท่านั้น
2. ศาลชัน้ ต้นมีเขตอำานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีไม่เหมือนกัน
3. ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา มีเขตอำา นาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงทั่วราช
อาณาจักร ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคต่างมีเขตอำานาจแยกต่างหากกัน

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


8

2.1.1 ความหมายของเขตศาลและอำานาจศาล
อธิบายความหมายของคำาว่าเขตอำานาจศาล
“เขตอำานาจศาล” หมายถึงเขตพื้นที่ต่างๆ ทางภูมิศาสตร์กำาหนดไว้เพื่อให้ศาลใช้อำานาจ แต่
ภายในเขตของตน จึงเรียกว่า “เขตอำานาจศาล” ส่วนอำานาจนั้นเป็นอำานาจในการพิจารณาพิพากษาของ
ศาล

เขตอำานาจของศาลชั้นต้น
อธิบายอำานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง
อำานาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวง ได้บัญญัติไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา
15 มาตรา 22(4) (5)

ศาลจังหวัดมีอำานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเพียงใด
ศาลจังหวัดมีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดี (รวมทั้งคดีล้มละลาย) และคดีอาญาทั้งปวงที่อยู่ใน
เขตของศาลจังหวัดนั้น

ศาลแพ่งมีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีทั่วราชอาณาจักรหรือไม่
ศาลแพ่งมีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั่วราชอาณาจักร แต่คดีที่อยู่นอกเขตกรุงเทพ ฯ
ศาลแพ่งมีอำานาจใช้ดุลพินิจรับหรือไม่รับคดีนั้นไว้พิจารณาก็ได้

เขตอำานาจของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกามีเขตอำานาจเพียงใด
ศาลอุทธรณ์ 4 ศาล คือ ศาลอุทธรณ์กลาง กับศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาล เขตอำานาจศาลอุทธรณ์
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ดังนี้
ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอำานาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำาพิพากษา
หรือคำา สั่งศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ และให้ศาล
อุทธรณ์ภาคมีอำานาจตามที่กำาหนดไว้ในวรรค (1) และ (2) ด้วย
ศาลฎี กามี ศาลเดียวจึงมีเ ขตอำา นาจตลอดราชอาณาจัก ร อำา นาจศาลฎี ก าปรากฏตามพระ
ธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 20 ดังนี้
ศาลฎีกามีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำา พิพากษาหรือคำา สั่งของศาลอุทธรณ์ตาม
บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการฎีกา ศาลฎีกามีอำานาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลฎีกามีอำานาจวินิจฉัยได้
ตามกฎหมายอื่น

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


9

เมื่อมีการฎีกามายังมายังศาลฎีกา โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ศาลฎีกามีอำา นาจพิจารณา


พิพากษาคดีทั้งสิ้น ศาลฎีกามีเขตอำานาจเหนือคดีที่เกิดขึ้นทั่วราชอาณาจักร

องค์คณะผู้พิพำกษำ
1. การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลนั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ค ณะของผู้ พิพากษาตามที่
กฎหมายกำาหนดไว้ โดยถืออัตราโทษหรือจำานวนทุนทรัพย์เป็นเกณฑ์
2. องค์คณะของศาลแต่ละศาลอาจมีจำานวนไม่เท่ากัน
3. ผูพ้ ิพากษานายเดียวมีอำานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีแต่อยู่ในขอบเขตจำากัด
4. ผูพ้ ิพากษานายเดียวของศาลแต่ละศาลอาจจะมีอำานาจไม่เท่ากัน

2.2.1 ความหมายของ “องค์คณะผู้พิพากษา”


“องค์คณะ” หมายความว่าอย่างไร
“องค์ ค ณะ” หมายถึ งจำา นวนผู้ พิ พ ากษา ซึ่ ง กฎหมายกำา หนดไว้ ใ นการนั่ ง พิ จ ารณาหรื อ
พิจารณาคดีโดยคำา นึงถึงความสำา คัญในคดี ในคดีแพ่งถือตามจำา นวนทุนทรัพย์ ส่วนในคดีอาญาถือ
อัตราโทษเป็นหลัก

ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจะต้องมีองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีจำา นวนกี่คน และผู้


พิพากษาคนเดียวของศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกามีอำานาจพิจารณาคดีที่มีทุนทรัพย์น้อยหรืออัตราโทษ
น้อยหรือไม่
ศาลอุทธรณ์ต้องมีองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีอย่างน้อย 2 คน ส่วนศาลฎีกา อย่าง
น้อย 3 คน และผู้พิพากษาคนเดียวของศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา ไม่มีอำานาจพิจารณาคดีที่มีทุนทรัพย์
น้อยหรืออัตราโทษน้อยเลย

2.2.2 อำานาจของผู้พิพากษาคนเดียว
ผูพ้ ิพากษาคนเดียวของศาลแขวงมีอำานาจพิจารณาคดี แตกต่างกับผู้พิพากษาคนเดียวของศาล
จังหวัดอย่างไร
ผู้พิพากษาคนเดียวของศาลแขวง มีอำานาจพิจารณาคดีน้อยกว่าผู้พิพากษาคนเดียวของศาล
จั งหวั ด คื อ ในคดี แ พ่งมี อำา นาจพิจ ารณาคดี ที่ มี ทุ น ทรั พ ย์ ไ ม่ เ กิ น 40,000 บาท (พระธรรมนู ญ ศาล
ยุติธรรม มาตรา 15 และ 22(4)) ในคดีอาญามีอำานาจพิจารณาคดีที่ที่มีอัตราโทษสูงตามกฎหมายจำาคุก
ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22(5)) ส่วนผู้พิพากษา
คนเดียวของศาลจังหวัดมีอำานาจพิจารณาคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์เกิน 40,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


10

บาท หรือคดีอาญามีอัตราโทษสูงตามกฎหมายจำา คุกเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี หรือปรับเกิน 60,000


บาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ

ผู้พิพากษาธรรมดามีอำานาจตรวจสำานวน และลงลายมือชื่อในคำา พิพากษาเป็นองค์คณะได้


หรือไม่เพียงใด
ผูพ้ ิพากษาธรรมดามีอำานาจตรวจสำานวน และลงลายมือชื่อในคำาพิพากษาเป็นองค์คณะได้แต่
มีอำานาจเฉพาะที่กฎหมายกำาหนดไว้เท่านั้น ได้แก่กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำานาจพิจารณา แต่ไม่มี
อำานาจพิพากษา ผู้พิพากษาธรรมดาอีกคนหนึ่งในศาลเดียวกันก็มีอำานาจตรวจสำานวนและลงลายมือชื่อ
เป็นองค์คณะในคำาพิพากษาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22(5) และ 22(6) พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

แบบประผลตนเองหน่วยที่ 2
1. ศาลมีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีในเขตท้องที่ใดต้องบังคับตาม กฎหมาย
2. ในการรับคดีไว้พิจารณา ศาลจะต้องพิจารณาในเรื่อง เขตอำานาจศาล
3. ศาลแขวงมีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสี่หมื่นบาท
4. ตามปกติศาลจังหวัดมีเขตศาลตลอดท้องที่ของจังหวัดที่ศาลนั้นตั้งอยู่เว้นแต่ จังหวัดนั้นมีศาล
จังหวัดที่ตั้งอยู่ในเขตอำาเภอตั้งอยู่
5. ศาลแพ่งมีอำานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีดังนี้คือ มีเขตอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่
อยู่ในกรุงเทพมหานครฝั่งพระนคร และคดีแพ่งที่อยู่นอกเขตศาลแพ่งทั่วราชอาณาจักร แต่อยู่
ในดุลพินิจของศาลที่ไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาได้
6. องค์คณะผู้พิพากษาหมายถึง จำานวนผู้พิพากษาในการพิจารณาและพิพากษาคดี
7. ศาลอุทธรณ์ ไม่จำาเป็นต้องมีองค์คณะผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีจำานวน 3 นาย
8. การกำาหนดองค์คณะของผู้พิพากษาในศาลให้ถือหลักเกณฑ์ จำานวนทุนทรัพย์และอัตราโทษ
กับประเภทของศาล เป็นสำาคัญ
9. ในคดีที่มีอัตราโทษเล็กน้อยศาลฎีกาจะต้องมีองค์คณะพิจารณาคดี 3 คน
10. กรณี ที่ ต้ อ งให้ ผู้ พิ พ ากษาอี ก คนหนึ่ ง ตรวจสำา นวนและลงลายมื อ ชื่ อ เป็ น องค์ ค ณะในคำา
พิพากษานั้นอาจทำาได้เฉพาะใน ศาลชั้นต้นทั่วไป
11. เขตศาลหมายถึง เขตอำานาจของศาลในการพิจารณาพิพากษาคดี
12. อำานาจศาลคือ อำานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
13. ศาลแขวงโดยองค์คณะสองคนมีอำา นาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง เท่ากับผู้พิพากษาคนเดียว
ของศาลแขวง
14. ศาลจังหวัดที่ตั้งอยู่ในเขตอำาเภอมีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดี คดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง
15. ศาลอาญา มีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


11

16. การที่ศาลจะพิจารณาพิพากษาให้ครบองค์คณะของศาลจะต้องมีองค์คณะ แล้วแต่ประเภท


ของศาลแต่ละศาล
17. ในคดีที่มีทุนทรัพย์หรืออัตราโทษเล็กน้อยศาลอุทธรณ์อาจพิจารณาพิพากษาโดยองค์คณะ
สองคน
18. การกำาหนดองค์คณะพิจารณาหรือพิพากษาคดีในศาลจังหวัด กฎหมายถือหลักเกณฑ์ จำานวน
ทุนทรัพย์และอัตราโทษ เป็นสำาคัญ
19. องค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลฎีกามีหลักเกณฑ์คือ มีองค์คณะแน่นอนโดยไม่
คำานึงถึงทุนทรัพย์หรืออัตราโทษ
20. การที่ จ ะต้ อ งให้ ผู้ พิ พากษาอี ก คนหนึ่ ง ตรวจสำา นวนและลงลายมื อ ชื่ อ ในคำา พิ พ ากษานั้ น
เนื่องจาก คดีนั้นผู้พิพากษาคนเดียวมีอำานาจพิจารณาคดีแต่ไม่มีอำานาจพิพากษา

หน่วยที่ 3 ศำล

1. หลักเกณฑ์การกำาหนดศาลที่จะรับคำาฟ้องและการเสนอคำาฟ้อง
2. ผูพ้ ิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีอาจถูกคู่ความคัดค้านได้
3. ศาลพึงใช้อำานาจแต่ภายในเขตของตน
4. ศาลจะต้องตรวจคำาคู่ความที่พนักงานศาลรับไว้ เพื่อยื่นต่อศาลและมีคำาสั่งไปตามควรแก่กรณี
5. ศาลพึงเปรียบเทียบคดีให้คู่ความตกลง หรือประนีประนอมยอมความกันได้เสมอก่อนคดีถึงที่
สุด

3.1 เขตอำำนำจศำลและกำรยื่นฟ้อง
1. การยื่นคำาฟ้องต่อศาลชั้นต้นต้องคำานึงถึงเขตและอำานาจศาลที่จะรับฟ้องคดีนั้นด้วย
2. ภูมิลำาเนาในราชอาณาจักรรวมถึงการที่เคยมีภูมิลำาเนา หรือสถานประกอบการอยู่ภายในราช
อาณาจักรภายใน 2 ปีก่อนยืน่ คำาฟ้องด้วย
3. คำาฟ้องเกี่ยวด้วยหนีเหนือบุคคลให้เสนอต่อศาลที่จำา เลยมีภูมิลำาเนาในเขตศาลหรือต่อศาลที่
มูล คดี เกิ ดในเขต แต่ถ้ าจำา เลยไม่มี ภูมิลำา เนาในราชอาณาจั ก รและมู ล คดี ไ ม่ ไ ด้ เ กิ ด ในราช
อาณาจักร ให้เสนอคำา ฟ้องต่อศาลต่อศาลแพ่งหรือต่อศาลที่โจทก์มีภูมิลำา เนาอยู่ในเขตศาล
ขณะยื่นคำา ฟ้อง ทั้งนี้โจทก์จะต้องเป็นคนไทย หรือมีภูมิลำา เนาอยู่ในประเทศไทย อย่างไร
ก็ตามถ้าจำาเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับชำาระหนี้อยู่ในราชอาณาจักร โจทก์ก็อาจยื่นฟ้องต่อ
ศาลที่ทรัพย์ที่ว่านั้นอยู่ในเขตศาลขณะนั้นก็ได้ ส่วนคำา ร้องขอให้ยื่นต่อศาลที่มูลคดีเกิดหรือ
ต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำา เนาในเขตศาล เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นที่กล่าวไว้ในมาตรา 4 จัตวา 4
เบญจ และ 4 ฉ
ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551
12

4. คำาฟ้องที่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ สิทธิ หรือประโยชน์ที่เกี่ยวด้วยทรัพย์ที่ว่านั้นให้เสนอต่อ


ศาลที่ทรัพย์พิพาทตั้งอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่จำาเลยมีภูมิลำาเนาในเขตศาลก็ได้
5. ก่อนยื่นคำาให้การจำาเลยมีอำานาจขอโอนคดีไปยังศาลอื่นที่มีเขตอำานาจได้ ถ้ายื่นคำาให้การแล้ว
ก็นับว่าจำาเลยยอมรับว่าศาลที่โจทก์ยื่นฟ้องไว้นั้นเหมาะสมแล้ว ขอโอนไม่ได้ ถ้าศาลที่จะรับ
โอนไม่ยินยอมต้องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาด
6. การโอนคดีทั่วไปนั้น จะทำาได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น และคดีทั้ง
สองเรื่องนั้นจะต้องเกี่ยวเนื่องกัน และทั้งศาลที่จะรับโอนยินยอมแล้ว

3.1.1เขตอำานาจศาลและการยื่นคำาฟ้อง
นายดำาชิงทรัพย์บนเครื่องบินไทยขณะที่บินจากเชียงใหม่มากรุงเทพมหานคร ไม่ทราบว่าอยู่
ในเขตจังหวัดใด ผู้เสียหายจะฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลจังหวัดใด
คดีนี้เกิดในราชอาณาจักรไทย เมื่อยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งหรือศาลอาญา.ทั้งสองศาลอาจไม่รับ
ได้ แต่เนื่องจากไม่แน่ว่าจะอยู่ในเขตจังหวัดใดขณะเกิดเหตุ จึงควรขออนุญาตยื่นต่อศาลอาญาสำาหรับ
คดีอาญา และฟ้องคดีแพ่งรวมไปกับฟ้องคดีอาญาได้ด้วย แต่ถ้าจะฟ้องเฉพาะคดีแพ่ง ก็ขออนุญาตยื่น
ที่ศาลแพ่ง กล่าวถึงเหตุต้องมาขออนุญาตฟ้องที่ศาลแพ่ง ท่านน่าจะใช้ดุลพินิจรับไว้พิจารณา
ที่ว่าขออนุญาตศาลนั้น ตัวบทมิได้กล่าวไว้แต่ในทางปฏิบัติ หากเรายื่นคำาขอไปด้วยจะเป็น
เหตุผลให้ท่านได้ใช้ดุลยพินิจ ซึ่งได้ผลดี

การกำาหนดอำานาจศาลที่จะรับฟ้องอาศัยหลักเกณฑ์ใด
อาศัยหลักความสะดวกและหลักความเป็นธรรม

คำาฟ้องที่เกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคลมีลักษณะอย่างไร จะต้องยื่นต่อศาลใด
คำา ฟ้องเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคลคือ คำา ฟ้องที่มีคำา ขอให้บังคับชำา ระหนี้จากจำา เลยเช่น ฟ้อง
เรียกเงินกู้ ก็บังคับเอาจากจำาเลยซึ่งเป็นผู้กู้
คำาฟ้องเกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคลนี้ ปวพ. มาตรา 4 วรรคแรกให้ยื่นต่อศาลที่จำาเลยมีภูมิลำาเนา
อยู่ในเขตศาลหรือ ต่อศาลที่มูลคดีเกิดในเขตศาล

คำาฟ้องที่เกี่ยวกับทรัพย์มีลักษณะอย่างไร จะยื่นฟ้องต่อศาลใดได้บ้าง
คำาฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์ มีลักษณะที่อาศัยทรัพย์เป็นมูลแห่งคำาฟ้อง อาจจะบังคับชำาระหนี้จาก
ทรัพย์เช่น จำาเลยนำาที่ดินแปลงหนึ่งมาจดทะเบียนจำานองไว้เป็นประกันเงินกู้จำาเลยไม่ชำาระหนี้ โจทก์
จึงฟ้องบังคับจำานองขอให้ศาลพิพากษาให้นำาทรัพย์ที่จำานองออกขายทอดตลาดนำาเงินที่ได้มาชำาระหนี้

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


13

โจทก์ หรือบังคับขับไล่จำาเลยออกจากทรัพย์พิพาทก็ได้หรือบังคับตามสิทธิ หรือประโยชน์ที่เกี่ยวกับ


ทรัพย์ก็ได้ เช่น ฟ้องให้ศาลสั่งให้จำาเลยเปิดทางภาระจำายอม
ส่วนการฟ้องคดีนั้น ปวพ. มาตรา 4 ทวิ ให้ฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในเขตศาล
หรือต่อศาลที่จำาเลยมีภูมิลำาเนาอยู่ในเขตศาล ส่วนคำาฟ้องที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ ปวพ. มิได้กล่าวไว้
เป็นพิเศษ ก็ยื่นต่อศาลที่จำา เลยมีภูมิลำา เนา หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดในเขตศาล ส่วนตัวทรัพย์อาจจะ
เคลื่อนที่ไปอยู่ที่อื่นก็ได้ เช่น แดงจำานองเรือกำาปั่นลำาหนึ่งไว้เป็นประกันเงินกู้ดำา จดทะเบียนที่กรมเจ้า
ท่า ซึ่งอยู่ในเขตอำานาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โจทก์ก็ฟ้องบังคับจำา นองที่ศาลที่จำา เลยมีภูมิลำาเนาหรือที่
ศาลกรุงเทพใต้ก็ได้
ในกรณีที่จำาเลยไม่มีภูมิลำาเนาในประเทศไทย และมูลคดีไม่เกิดในประเทศไทย โจทก์อาจจะ
เสนอคำา ฟ้องต่อศาลที่โจทก์มีภูมิลำาเนา หรือต่อศาลที่ทรัพย์ที่อาจจะบังคับคดีอยู่ในเขตขณะนั้นก็ได้
ตาม ปวพ. มาตรา 4 ตรี
มำตรำ 4 เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น
(1) คำาฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำาเลยมีภูมิลำาเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขต
ศาลไม่วา่ จำาเลยจะมีภูมิลำาเนาอยู่ใน ราชอาณาจักรหรือไม่
(2) คำาร้องขอ ให้เสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือ ต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำาเนาอยู่ใน
เขตศาล"
มำตรำ 4 ทวิ คำา ฟ้ อ งเกี่ ย วด้ ว ยอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ หรื อ สิ ท ธิ ห รื อ ประโยชน์ อั น เกี่ ย วด้ ว ย
อสังหาริมทรัพย์ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล ไม่ว่าจำา เลยจะมีภูมิลำาเนาใน
ราชอาณาจักรหรือไม่ หรือต่อศาลที่จำาเลยมีภูมิลำาเนาอยู่เขตศาล
มำตรำ 4 ตรี คำาฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ใน มำตรำ 4 ทวิ ซึ่งจำาเลยมิได้มีภูมิลำาเนาอยู่ในราช
อาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นใน ราชอาณาจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำาเนาอยู่ใน
ราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลแพ่งหรือต่อศาลที่โจทก์มีภูมิลำาเนา อยู่ในเขตศาล
คำา ฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำา เลยมีทรัพย์ที่อาจถูกบั งคับคดีได้อ ยู่ ในราชอาณาจัก ร ไม่ว่า จะ
เป็นการชั่วคราวหรือถาวร โจทก์จะเสนอ คำาฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาลก็ได้
มำตรำ 4 จัตวา คำาร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาลที่ เจ้ามรดกมีภูมิลำาเนาอยู่ในเขต
ศ า ล ใ น ข ณ ะ ถึ ง แ ก่ ค ว า ม ต า ย
ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำาเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อ ศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขต
ศาล
มำตรำ 4 เบญจ คำาร้องขอเบิกถอนมติของที่ประชุมหรือที่ประชุม ใหญ่ของนิติบุคคล คำาร้องขอ
เลิกนิติบุคคล คำาร้องขอตั้งหรือถอนผู้ชำาระ บัญชีของนิติบุคคล หรือคำาร้องขออื่นใดเกี่ยวกับนิติบุคคล
ให้เสนอ ต่อศาลที่นิติบุคคลนั้นมีสำานักงานแห่งใหญ่อยู่ในเขตศาล

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


14

มำตรำ 4 ฉ คำาร้องขอเกี่ยวกับทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรก็ดี คำา ร้องขอที่หากศาลมีคำา สั่ง


ตามคำาร้องขอนั้นจะเป็นผลให้ต้องจัดการ หรือเลิกจัดการทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรก็ดี ซึ่งมูลคดี
มิได้เกิดขึ้น ในราชอาณาจักรและผู้ร้องไม่มีภูมิลำาเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อ ศาลที่ทรัพย์สิน
ดังกล่าวอยู่ในเขตศาล"

การยอมรับอำานาจศาลและการโอนคดี
การยอมรับอำานาจศาลในคดีแพ่งทำาได้เพียงใด
การยอมรับอำา นาจศาลในคดีแพ่งอาจกระทำา ได้ทั้งโดยชัดแจ้ง และโดยปริยายการยอมรับ
อำานาจศาลโดยชัดแจ้ง กรณีที่คู่สัญญาทำา สัญญากัน ส่วนการยอมรับอำา นาจศาลโดยปริยายก็เช่นกัน
โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลใดถือว่าโจทก์ยอมรับอำา นาจศาลนั้นเป็นศาลที่สะดวกสำา หรับตน จำา เลยก็เช่น
เดียว กัน เมื่อได้ยินคำา ให้การโดยดุษณีไม่ได้ยื่นคำา ขอให้โอนคดีเสียก่อนยื่นคำา ให้การ ก็ต้องถือว่า
จำาเลยยอมรับเอาอำานาจศาลที่โจทก์ยื่นฟ้องไว้ว่าเป็นศาลที่สะดวกสำาหรับตน จะมีการโอนคดีภายหลัง
ยืน่ คำาให้การไม่ได้

เพราะเหตุใดกฎหมายจึงให้จำาเลยขอโอนคดีก่อนตนยื่นคำาให้การ
ที่กฎหมายให้อำานาจจำาเลยที่จะขอโอนคดีก่อนยื่นคำาให้การ ก็เพราะว่า ถ้าจำาเลยยื่นคำาให้การ
แล้วโดยมิได้โต้แย้ง ก็เท่ากับจำาเลยยอมรับว่าศาลที่โจทก์ยื่นฟ้องไว้นั้นเป็นศาลที่สะดวกและเป็นธรรม
สำาหรับตนแล้ว จะมีการขอโอนภายหลังไม่ได้

กระบวนพิจารณาที่เกี่ยวเนื่อง
การแยกและการรวมคดีมีหลักเกณฑ์อย่างไร
การรวมคดีกล่าวไว้ใน ปวพ. มาตรา 8 และ 28 ซึ่งรวมความได้ว่า เป็นกรณีที่มีคดี 2 เรื่อง
ค้างพิจารณาอยู่ในศาลเดียวกันหรือสองศาลต่างกัน ทั้งสองเรื่องมีประเด็นอย่างเดียวกัน เช่นโจทก์คน
เดียวฟ้องจำา เลย 2 คน เรียกค่าเสียหายฐานละเมิด ซึ่งจำา เลยทั้งสองเป็นผู้ก่อในคราวเดียวกัน หรือ
ประเด็นเกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกัน เช่นฟ้องลูกหนีค้ ดีหนึ่งและฟ้องผู้คำ้าประกันอีกเรื่องหนึ่ง เป็นต้น คูค่ วาม
ประสงค์จะให้ศาลรวมพิจารณาคดีสองเรื่องนั้นเข้าด้วยกันเสีย ถ้าคดีอยู่ในศาลเดียวกันและศาลไม่ยอม
รวมพิจารณาคำาสั่งนั้นก็จะเป็นคำาสั่งระหว่างพิจารณา ถ้าจะมีการโอนไปรวมกับอีกคดีหนึ่งต่างศาลกัน
และศาลหนึ่งศาลใดหรือทั้งสองศาลไม่ยอมโอน หรือรับโอน คู่ความมีสิทธิขอให้อธิบดีผู้พิพากษา
ศาลอุทธรณ์มีคำาสั่งให้ศาลหนึ่งจำาหน่ายคดีออกจากสารบบความ เพื่อโอนคดีนั้นไปรวมพิจารณากับ
อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ต่างศาลได้ คำาสั่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด แต่ถ้าคดีหนึ่ง
ได้ ตัด สิน ไปก่อ นแล้ว ก็ จะต้อ งคอยขอรวมพิจ ารณาในชั้นอุ ทธรณ์ เว้ น แต่ อี ก คดี ห นึ่ งจะไม่ มี ก าร

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


15

อุทธรณ์ กรณีที่มีการอุทธรณ์เรื่องเดียวจะมีการขอรวมพิจารณาไม่ได้ ถ้าสองเรื่องนัน้ เป็นการชำาระหนี้


ที่ไม่อาจแบ่งกันชำาระได้ ก็ต้องถือเอาคำาพิพากษาของศาลที่มีอำานาจสูงกว่าเป็นสำาคัญ
ส่วนการแยกคดีนั้นกล่าวไว้ใน ปวพ. มาตรา 29 มีหลักว่าเรื่องเดียวมีข้อหาหลายข้อ และ
ข้อหาเหล่านั้นไม่เ กี่ย วข้ องกัน ก็ดี หรื อเกี่ย วข้อ งกัน แต่ ถ้า ได้ แยกพิจ ารณาแล้ว จะทำา ให้เ กิ ด ความ
สะดวกขึ้น ศาลก็มีอำานาจที่จะสั่งแยกข้อหาหนึ่งข้อหาใดออกพิจารณาพิพากษาต่างหากแยกจากกันได้
ไม่ว่าจะมีคู่ความขอหรือไม่ก็ตาม ถ้าคู่ความขอและศาลสั่งไม่อนุญาตก็เป็นคำาสั่งระหว่างพิจารณา จะ
อุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
มำตรำ 8 ถ้าคดีสองเรื่องซึ่งมีประเด็นอย่างเดียวกัน หรือเกี่ยวเนื่อง ใกล้ชิดกัน อยูใ่ นระหว่าง
พิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีเขตอำานาจสอง ศาลต่างกันและศาลทั้งสองนัน้ ได้ยกคำาร้องทั้งหลายที่ได้ยื่น
ต่อศาล ขอให้คดีทั้งสองได้พิจารณาพิพากษารวมในศาลเดียวกันนั้นเสีย ตราบใดที่ศาลใดศาลหนึ่งยัง
มิได้พิพากษาคดีนั้น ๆ คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งจะยื่นคำาขอ โดยทำาเป็นคำาร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาล
อุทธรณ์ เพื่อขอให้มีคำา สั่งให้ศาลใดศาลหนึ่งจำา หน่ายคดี ซึ่งอยู่ในระหว่าง พิจารณานั้นออกเสียจาก
สารบบความหรือให้โอน คดีไปยังอีกศาลหนึ่งก็ได้แล้วแต่กรณี
คำาสั่งใด ๆ ของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด
มำตรำ 29 ถ้าคดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อด้วยกัน และศาลเห็นว่าข้อหาข้อหนึ่งข้อใด
เหล่านั้น มิได้เกี่ยวข้องกันกับข้ออื่นๆ เมื่อ ศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำาขอ
โดยทำาเป็น คำาร้องให้ศาลมีคำาสั่งให้แยกคดีเสียโดยเร็ว ถ้าโจทก์ประสงค์จะให้ พิจารณาข้อหาเช่นว่า
นัน้ ต่อไป ก็ให้ศาลดำาเนินการพิจารณาคดีไป เสมือนหนึ่งว่าเป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก โดยมีเงื่อนไข
ที่ศาลจะ กำาหนดไว้ตามที่เห็นสมควร
ถ้าคดีฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อ และศาลเห็นว่าหากแยก พิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใด
ข้อหนึ่ งออกจากกัน แล้ ว จะทำา ให้ การพิจ ารณาข้ อ หาเหล่ านั้ น สะดวก ไม่ ว่ าเวลาใด ๆ ก่ อ นมี คำา
พิพากษา เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความผู้มีส่วนได้เสีย ยืน่ คำาขอโดยทำาเป็นคำาร้อง และเมื่อศาลได้
ฟังคู่ ความทุ ก ฝ่ า ยแล้ ว ให้ ศาลมี อำา นาจสั่ ง แยกข้ อ หาเหล่ า นั้ น ทั้ ง หมดหรื อ แต่ ข้ อ ใดข้ อ หนึ่ ง ออก
พิจารณาต่างหากเป็นเรื่องๆไป

แดงเป็นทนายของดำา ซึ่งจะต้องสืบพยานที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่วันรุ่งขึ้น แต่รถโดยสารที่แดง


เดินทางไปว่าความเกิดอุบัติเหตุชนกับรถคันอื่นที่จังหวัดนครสวรรค์ แดงไม่สามารถไปฟังการพิจารณา
ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ทัน แดงควรจะปฏิบัติอย่างไร
แดงควรไปยื่นเรื่องคำาร้องต่อศาลจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งตนอยู่ในเขตขณะเกิดเหตุเพื่อให้แจ้ง
ต่อไปยังศาลจังหวัดเชียงใหม่เจ้าของคดีโดยด่วน เพื่อขอให้ศาลจังหวัดเชียงใหม่ เลื่อนการสืบพยาน
ไปก่อน ทั้งนี้ ตาม ปวพ. มาตรา 23

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


16

มำตรำ 23 เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ยื่นคำาขอโดยทำาเป็นคำาร้อง


ให้ศาลมีอำา นาจที่จะออกคำา สั่งขยาย หรือย่นระยะเวลาตามที่กำา หนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือ
ตามที่ ศาลได้กำาหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง อันกำาหนดไว้ในกฎหมายอื่น
เพื่อให้ดำาเนิน หรือมิให้ดำาเนินกระบวน พิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นแต่การขยายหรือย่นเวลา
เช่นว่านี้ ให้พึงทำาได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำา สั่งหรือคู่ความ มีคำา ขอขึ้นมาก่อนสิ้น
ระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย

กำรคัดค้ำนผู้พิพำกษำ
1. การพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษานั้นจะต้องทำาด้วยอิสระ ปราศจากอคติเพราะฉะนั้น
หากมีเหตุที่อาจจะทำาให้ผู้พิพากษาเจ้าของสำานวนมีอคติได้ กฎหมายจึงให้คู่ความฝ่ายที่อาจ
เสียหายคัดค้านได้
2. ผู้พิพากษาคนเดียวหรือหลายคนก็อาจถูกคัดค้านได้ ทั้งด้วยเหตุที่กฎหมายจำาแนกไว้ และเหตุ
อืน่ ที่มีสภาพร้ายแรง อันจะทำาให้การพิจารณาพิพากษาคดีเสียความยุติธรรมไป
3. ถ้ามีเหตุคัดค้านดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นแก่ผู้พิพากษาคนใด ผู้พิพากษาคนนั้นชอบที่จะถอนตัว
ออกจากคดีนั้นได้ แต่ถ้าไม่ถอนตัวก็อาจต้องมีการพิจารณาประเด็นข้อคัดค้าน ซึ่งจะต้องงด
การพิจารณาคดีนั้นไว้ก่อนเว้นแต่ต้องดำาเนินกระบวนการพิจารณาโดยไม่ชักช้า ผู้พิพากษาที่
ถูกคัดค้านไม่มีสิทธิออกเสียง ถ้าผู้พิพากษาทุกคนในศาลนั้นถูกคัดค้าน ต้องให้ศาลที่มีอำานาจ
สูงกว่าเป็นผุ้ชี้ขาด
4. ถ้าผู้พิพากษาคนนั้นถอนตัว หรือศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อคัดค้ามีมูล ก็ให้ผู้พิพากษาอื่น
ทำาการแทน ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

เหตุคัดค้านผู้พิพากษา
เหตุใดกฎหมายจึงบัญญัติเหตุที่คู่ความพึงใช้คัดค้านผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาไว้
ที่ ก ฎหมายบัญ ญั ติ เ หตุ ที่คู่ ค วามพึ งใช้ คั ดค้ านผู้ พิพากษาผู้ นั่ งพิจ ารณาก็ เนื่ อ งจากว่ า การ
พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ผู้พิพากษาจะต้องกระทำาหน้าที่ด้วยความสุจริต ตั้งอยู่ในความเป้นกลาง ไม่
ลำาเอียงเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโดยอคติ เพราะฉะนัน้ ถ้าหากมีเหตุหนึ่งเหตุใดที่จะทำาให้ผู้พิพากษาผู้นั่ง
พิจารณาหรือตัดสินมีอคติ เช่น เป็นญาติพี่น้องกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็ชอบที่จะให้คู่ความฝ่ายที่
เสียหายเขาใช้เหตุนั้นคัดค้านผู้พิพากษาคนนั้นได้ เพราะเหตุนั้นเอง กฎหมายจึงได้บัญญัติเหตุต่างๆ ที่
น่าจะทำาให้ผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณามีอคติต่อคู่ความเพื่อให้เขายกเอาเหตุนั้นๆ ขึน้ คัดค้านผู้พิพากษาคน
นัน้ ได้

วิธีปฏิบัติเมื่อมีเหตุคัดค้านผู้พิพากษา

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


17

ถ้ามีเหตุคัดค้านผู้พิพากษาเกิดขึ้น ผู้พิพากษาหรือคู่ความฝ่ายที่อาจเสียหายควรจะทำาอย่างไร
ถ้ามีเหตุที่จะพึงคัดค้านผู้พิพากษาเกิดขึ้น ผู้พิพากษาน่าจะขอถอนตัวออกจากคดีนั้น ถ้าผู้
พิพากษาไม่ยอมถอนตัว คู่ความฝ่ายที่จะเสียหาย ก็อาจจะยกเอาเหตุที่พึงคัดค้าน ขึ้นคัดผู้พิพากษาคน
นัน้ ได้

การพิจารณาและสั่งคำาคัดค้านผู้พิพากษา ต่างจากการพิจารณาชี้ขาดคดีทั่วไปหรือไม่
การพิจารณาและสั่งคำาคัดค้านผู้พิพากษา ตามหลักไม่ต่างจากการพิจารณาคดีโดยทั่วไป คือ
การชี้ขาด จะต้องกระทำาโดยคนกลาง เพราะฉะนั้น ผู้พิพากษาคนที่ถูกคัดค้าน จึงมีมีอำานาจที่จะออก
ความเห็นได้

เห็นด้วยหรือไม่ ที่กฎหมายให้คำาสั่งในเรื่องนี้เป็นที่สุดเพราะเหตุใด
ที่กฎหมายให้คำาสั่งศาลเกี่ยวกับการคัดค้านผู้พิพากษาเป็นที่สุด ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย เพราะว่า
ผู้พิพากษาทั้งหลายทำา งานอยู่ในศาลเดียวกัน หรือ อย่างน้อยถ้าอธิบดีผู้พิพากษาภาคมาร่วมชี้ขาด ก็
เป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกคัดค้านเอง อาจจะมีฉันทาคติกับผู้พิพากษาที่ถูกคัดค้านได้ เมื่อไม่มีการ
อุทธรณ์ฎีกา ก็ขาดการหน่วงรั้งตรวจสอบ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำาเนินกระบวนการพิจารณา จึง
เห็นว่า ควรจะให้คู่ความเขาอุทธรณ์ได้

อำำนำจและหน้ำที่ของศำล
1. ศาลใช้อำานาจแต่ภายในเขตของตน จะใช้อำานาจนอกเขตไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นกล่าว
คือ (1) ไม่มีการยกเรื่องเขตอำานาจศาลขึ้นคัดค้าน (2) หมายเรียกที่ศาลเจ้าของท้องที่ได้สลัก
หลังแล้ว และ (3) หมายจับและกักขังใช้ได้ทั่วราชอาณาจักร
2. ศาลชั้นต้นอื่นที่มีความจำาเป็นจะต้องดำาเนินกระบวนพิจารณาเขตศาลหรือศาลอุทธรณ์-ฎีกา
ประสงค์จะกระทำาการอย่างเดียวกัน มีอำานาจแต่งตั้งศาลชั้นต้นเจ้าของท้องที่ดำาเนินการแทน
ได้
3. ศาลมีหน้าที่ตรวจคำาคู่ความและเอกสารที่เจ้าพนักงานศาลรับไว้และมีคำาสั่งเกี่ยวกับคำาคู่ความ
และเอกสารเหล่านั้น
4. ศาลมีอำานาจและหน้าที่ในการเปรียบเทียบคดี เพื่อให้คู่ความตกลงกันไม่วา่ การพิจารณาจะอยู่
ในชั้นใด
5. การขอให้ศาลมีคำา สั่งอย่า งหนึ่งอย่ างใดแก่ต นนั้น คู่ความอาจทำา ได้ทั้ งด้ วยวาจาและเป็ น
หนังสือและศาลจะต้องให้โอกาสแก่คู่ความที่เกี่ยวข้องได้ทราบ และให้โอกาสแก่เขาที่จะโต้
แย้งคัดค้านก่อน เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ขอหมายเรียกให้ ให้การ ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินก่อน

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


18

คำาพิพากษา หรือออกคำาบังคับ หรือ จับและกักขังจำาเลยหรือลูกหนี้ตามคำาพิพากษา และศาลมี


อำานาจไต่สวนคำาขอนั้นตามที่เห็นสมควรด้วย
6. การคำานวณระยะเวลานั้น ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ว่าด้วยระยะเวลา
7. ศาลมีอำานาจขยาย หรือย่นระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำาหนดไว้ในอันเกี่ยวกับคดีได้หากมี
พฤติการณ์พิเศษ ต้องขอขยายหรือย่นเสียก่อนสิ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นเว้นแต่กรณีเหตุสุดวิสัย
ศาลใช้อำานาจแต่ภายในเขต
เหตุใดกฎหมายจึงห้ามศาลมิให้ใช้อำานาจนอกเขต ถ้าศาลใช้อำานาจนอกเขตจะมีผลอย่างไร
ที่กฎหมายห้ามมิให้ศาลใช้อำา นาจนอกเขตก็เพราะว่า จะเป็นการก้าวก่ายกันประการหนึ่ง
และอีกประการหนึ่ง จะเป็นการไม่สะดวก ซึ่งเป็นหลักในกฎหมายวิธีพิจารณาความ

ศาลฎีกาประสงค์จะให้ทนายลงลายมือชื่อในคำาฟ้องฎีกาแทนคู่ความได้อย่างไร
ถ้าศาลฎีกาประสงค์จะให้ทนายลงมือชื่อในคำาฟ้องฎีกาแทนคู่ความ ก็มีทางทำาได้สองทาง ถ้า
ทนายมาที่ศาลฎีกาเสมอหรือมาที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ใกล้ศาลฎีกา ก็อาจเชิญทนายไปลงชื่อในคำาฟ้อง
ฎีกาเสียที่ศาลฎีกาเลยได้ แต่ถ้าเป็นทนายต่างจังหวัด เพราะคดีนั้นอุทธรณ์มาจากศาลห่างไกล ศาลฎีกา
จะต้องคำาฟ้องฎีกา หรือส่งสำานวนไปให้ศาลชั้นต้นจัดการให้ ทั้งนี้ ตาม ปวพ. มาตรา 16
มำตรำ 16 ถ้าจะต้องทำาการซักถาม หรือตรวจ หรือดำาเนินกระบวน พิจารณาใด ๆ
(1) โดยศาลชั้นต้นศาลใด นอกเขตศาลนั้น หรือ
(2) โดยศาลแพ่งหรือศาลอาญา นอกเขตจังหวัดพระนครและธนบุรี หรือโดยศาลอุทธรณ์
หรือฎีกา
ให้ศาลที่กล่าวแล้วมีอำานาจที่จะแต่งตั้งศาลอื่นที่เป็นศาลชั้นต้น ให้ทำาการซักถามหรือตรวจ
ภายในบังคับบทบัญญัติ มำตรำ 102 หรือดำาเนินกระบวนพิจารณาแทนได้

การตรวจคำาคู่ความและเอกสาร การเปรียบเทียบคดี
การยื่นคำาคู่ความและเอกสารต่างๆ ต่อศาลนั้น ยื่นได้ที่ใด และศาลปฏิบัติอย่างไร
การยื่นคำา คู่ความและเอกสารต่างๆนั้น ต้องยื่นต่อฝ่ายธุรการของศาล เจ้าพนักงานศาลเป็น
เป็นผู้รับไว้แล้วนำาเสนอผู้พิพากษาเพื่อตรวจและมีคำาสั่งต่อไป
เมื่อผู้พิพากษาตรวจคำาคู่ความหรือเอกสารเหล่านั้นแล้วถ้าเห็นว่าเรียบร้อยดีก็จะมีคำาสั่งให้รับ
ไว้พิจารณาต่อไป คำาสั่งรับเป็นคำาสั่งระหว่างพิจารณาอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ แต่ถ้าเห็นว่าไม่เรียบร้อย เช่น
อ่านไม่ออก อ่านไม่เข้าใจ หรือไม่ลงลายมือชื่อตามแบบฟอร์มศาลก็จะสั่งไม่รับ หรือให้คืนไปทำามา
ใหม่ แล้วแต่เหตุเป็นเรื่องๆไป คำาสั่งไม่รับหรือคืนคำาคู่ความนั้น อุทธรณ์ฎีกาได้

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


19

การเจรจาเปรียบเทียบคดีควรทำาอย่างไรจึงจะได้ผลดี
การเจรจาเปรียบเทียบคดีนั้น ผู้พิพากษาต้องทำาด้วยอารมณ์เย็น มีเมตตาและความจริงใจ และ
ควรจะชี้แจงให้คู่ความเห็นผลดีผลเสียในการที่คู่ความจะต่อสู้กันต่อไป ผลได้ไม่คุ้มกับผลเสีย กับทั้ง
จะต้องทำาแต่เนิ่นๆ เพราะเมื่อคู่ความต่อสู้กันไปนานแล้ว มักจะตกลงกันยาก

กระบวนการพิจารณา การยื่นคำาขอหรือคำาแถลง
ถ้าโจทก์ยื่นคำาร้องขอดำาเนินคดีอย่างคนอนาถา ท่านเป็นศาลจะมีคำาสั่งอย่างไร
ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะสั่งให้ส่งสำา เนาแก่อีกฝ่ายหนึ่งและให้โอกาสแก่เขาในอันที่จะโต้แย้ง
คัดค้าน และจะนัดวันไต่สวนคำาร้องนั้น ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งไม่คัดค้านก็จะไต่สวนแบบง่ายๆ คือ สอบถามคู่
ความและพยานที่เกี่ยวข้องเล็กน้อย ถ้าพอใจว่าคดีฝ่ายผู้ขอ มีมูลที่จะฟ้องร้องหรือต่อสู่คดี และได้ความ
ว่าผู้ร้องยากจนจริงก็จะมีคำาสั่งอนุญาต ถ้าได้ความว่าไม่ยากจนแม้คดีจะมีมูลฟ้องร้องก็จะยกคำาขอเช่น
ว่านั้นเสีย

เหตุใดกฎหมาจึงไม่ให้ศาลฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีที่คู่ความฝ่ายหนึ่งขอให้ศาลมีคำาสั่ง
ยึดหรืออายัดทรัพย์สินก่อนคำาพิพากษา
ที่กฎหมายห้ามมิให้ศาลฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งมีคำา ขอให้ศาลสั่งยึด
หรืออายัดทรัพย์สินก่อนคำาพิพากษานั้น ก็เพราะว่า ถ้าให้อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์นั้นรู้
เขาก็อาจจะยักย้ายถ่ายเททรัพย์ไปเสียก่อน ทำาให้การยึดหรืออายัดไร้ผล

การคำานวณ ขยาย และย่นระยะเวลา


การนับระยะเวลาในคดีความนั้น กฎหมายกำาหนดหลักเกณฑ์ไว้ประการใดบ้าง
การนับระยะเวลาในคดีความนั้น ปวพ. ให้นับตาม ปพพ. ว่าด้วยการนับระยะเวลา ถ้านับ
เป็นวัน วันแรกไม่นับ เว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นตั้งแต่เวลาเริ่มทำาการงาน ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว
ไม่มีในคดีความ จึงมักจะเริ่มนับตั้งแต่วันรุ่งขึ้น และสิ้นสุดลงก่อนถึงวันเริ่มต้น รายละเอียดให้ดูเรื่อง
การนับระยะเวลา ปวพ. มาตรา 22
มำตรำ 22 กำาหนดระยะเวลาทั้งปวงไม่ว่าที่กฎหมายกำาหนดไว้ หรือที่ศาลเป็นผู้กำาหนดก็ดี
เพื่อให้ดำา เนินหรื อมิ ให้ดำา เนิน กระบวน พิจารณาใดๆ ก่ อนสิ้นระยะเวลานั้น ให้ ศาลคำา นวณตาม
บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์วา่ ด้วยระยะเวลา

การขยายหรือย่นระยะเวลาในคดีความนั้นทำาได้ในกรณีใดบ้าง
การขยายหรือย่นระยะเวลาในคดีความนั้น พึงทำาได้เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ เช่น ทนายเพิ่งได้
รับแต่งตั้ง ไม่สามารถทำาอุทธรณ์ได้ทันท่วงที หรือ เงินค่าธรรมเนียมศาลจำา นวนถึง 2 แสนบาท ไม่

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


20

สามารถหาได้ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำาหนด เรียกว่ามีพฤติการณ์พิเศษคู่ความย่อมจะขอขยายเวลา
สำาหรับยื่นอุทธรณ์ออกไปอีกตามความจำาเป็นได้ ส่วนการขอย่นนั้นก็ต้องมีความจำาเป็นจะต้องย่น เช่น
พยานเจ็บป่วยจะสิ้นชีวิตอยู่ หากปล่อยให้เนิ่นช้าไปก็จะไม่สามรถได้คำาเบิกความของพยานปากนี้ จึง
ขอย่นวันสืบพยานซึ่งศาลนัดสืบไว้เข้ามาเพื่อจะได้สืบพยานปากนั้นไว้ เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีพฤติการณ์
พิเศษเช่นเดียวกัน และคู่ความจะต้องขอ หรือศาลมีคำาสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่จะมีเหตุสุดวิสัย
ปวพ.มาตรา 23

แดงทนายความเพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นทนาย ยังไม่ได้ดูสำานวน เหลือเวลาที่ต้องยื่นคำาให้การ


เพียง 2 วัน แดงควรทำาอย่างไร
การที่ แ ดงเพิ่ งได้ รั บ แต่ ง ตั้ งเป็ น ทนายไม่ มี เ วลาตรวจสำา นวน เพื่ อ ทำา คำา ให้ ก ารนั้ น เป็ น
พฤติการณ์พิเศษซึ่งแดงสามารถที่จะร้องขอให้ศาลอนุญาตให้ขยายกำาหนดเวลายื่นคำาให้การออกไปได้
ตามความจำาเป็น ปวพ. มาตรา 23
มำตรำ 23 เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ยื่นคำาขอโดยทำาเป็นคำาร้อง
ให้ศาลมีอำา นาจที่จะออกคำา สั่งขยาย หรือย่นระยะเวลาตามที่กำา หนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือ
ตามที่ ศาลได้กำาหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง อันกำาหนดไว้ในกฎหมายอื่น
เพื่อให้ดำาเนินหรือมิให้ดำาเนินกระบวน พิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นแต่การขยายหรือย่นเวลา
เช่นว่านี้ ให้พึงทำาได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำา สั่งหรือคู่ความ มีคำา ขอขึ้นมาก่อนสิ้น
ระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย

แบบประเมินผลหน่วยที่ 3
1. ฟ้องเรียกค่าเช่าบ้านที่ค้างชำาระพร้อมดอกเบี้ย เป็นคำาฟ้องเกี่ยวด้วยทรัพย์
2. ฟ้องเรียกค่าปรับตามสัญญาจ้างทำาของกรณีจำาเลยไม่ส่งมอบงานตามกำาหนด เป็นคำาฟ้องที่ไม่
เกี่ยวด้วยทรัพย์
3. นายปีแอร์มีภูมิลำาเนาอยู่ประเทศฝรั่งเศสค้างชำาระค่าพลอยที่สั่งซื้อจากนายรวยพ่อค้าส่งออก
ซึ่งมี ภูมิ ลำา เนาอยู่ จั ง หวั ด จั น ทบุ รี นายรวยจะฟ้ อ งนายปี แ อร์ ที่ ศาลแพ่ ง หรื อ ศาลจั งหวั ด
จันทบุรี
4. นาย ก ลูกจ้างนาย ข ขับรถยนต์บรรทุกของไปส่งตามร้านค้า ระหว่างทางชนเด็กชายดำาบุตร
นายแดงโดยประมาทที่จังหวัดนนทบุรี นายแดงจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนาย ก และนาย ข
เป็นจำา นวนเงิน 100,000 บาท หากข้อเท็จจริงปรากฏว่านาย ก มีภูมิลำา เนาที่สมุทรปราการ
และนาย ข มีภูมิลำา เนาที่นครปฐม นายแดงจะต้องฟ้องคดีนี้ในศาลจั งหวัดนครปฐม ศาล
จังหวัดสมุทรปราการ หรือ ศาลจังหวัดนนทบุรี ก็ได้

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


21

5. ผู้พิพากษานั้น เคยรู้ จั กกับคู่ ค วามอี กฝ่า ยหนึ่ ง เหตุผ ลตามเรื่ องนี้ คู่ค วามไม่มีสิทธิ คั ดค้า นผู้
พิพากษา
6. นาย ก ฟ้องนาย ข ในมูลละเมิดเรียกค่าเสียหาย 7,000 บาท ที่ศาลแขวงพระนครใต้ นาย ข ยื่น
ให้การอ้างว่านาย ก มีส่วนละเมิดนาย ข ด้วย จึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหานจากนาย ก 50,000
บาท ดังนี้ ศาลแขวงพระนครใต้ จะต้องสั่งไม่รับคำาฟ้องแย้งของนาย ข และให้นาย ข ไปฟ้อง
ที่ศาลแพ่ง เพราะไม่อยู่ในอำานาจของศาลแขวงพระนครใต้ที่จะพิจารณา
7. นายสีฟ้องนายสาเรื่องผิดสัญญาซื้อขาย เมื่อผู้พิพากษานั่งพิจารณา นายสีจำา ได้ว่าผู้พิพากษา
เคยเป็นทนายความให้แก่จำาเลยคือนายสามาก่อน จึงยาคำาร้องคัดค้าน ระหว่างรอคำาสั่งชี้ขาด
คำาร้องคัดค้านนายสาได้ยักย้ายและโอนทรัพย์สินของตนเพื่อไม่ให้ถูกบังคับชำาระหนี้หากแพ้
คดี นายสีจึงขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินและยึดทรัพย์ของนายสาไว้ชั่วคราวก่อนมีคำาพิพากษา ผู้
พิพากษาที่ถูกคัดค้านจึงสั่งให้ยึดทรัพย์ของจำาเลยไว้ชั่วคราว ต่อมาปรากฏว่าศาลสั่งยอมรับคำา
คัดค้านของนายสีโดยมีได้มีคำา สั่งอีก ดังนี้ คำา สั่งที่ยึดทรัพย์ของจำา เลยไว้ชั่วคราวจะยังมีผล
บังคับได้เพราะเป็นกระบวนพิจารณาที่จะต้องดำาเนินการโดยมิชักช้า
8. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ศาลจังหวัดนนทบุรีออกหมายจับจำาเลยซึ่งมีภูมิลำาเนาที่จังหวัดปทุมธานี
กรณีนี้ หมายจับของศาลดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักร
9. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง โจทก์ถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของศาล ศาลจึงสั่งเลื่อนการนั่ง
พิจารณาออกไปจนกว่าทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตายจะเข้ามาเป็นคู่ความแทนโดยมิได้
ถามคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อน ดังนี้ คำาสั่งเลือนการนั่งพิจารณาคดีของศาล ชอบด้วยกฎหมาย
เพราะศาลมีอำานาจสั่งได้เอง
10. การขอย่นหรือขยายระยะเวลาจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษ และต้องขอก่อนสิ้นระยะเวลานั้น
ข้อความดังนีช้ อบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

หน่วยที่ 4 กระบวนพิจำรณำเบื้องต้น

1. ศาลมีอำานาจชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้น
2. ถ้ามีการขอให้คุ้มครองประโยชน์ของคู่ความระหว่างพิจารณา ให้ศาลมีคำาสั่งโดยไม่ชักช้า
3. ถ้าคู่ความคัดค้านการตั้งข้อซักถามหรือการออกคำา สั่งระหว่างพิจารณา ให้ศาลจดคำา คัดค้าน
ของคูค่ วามลงไว้ในรายงานหรือสั่งให้คู่ความยื่นคำาแถลงเป็นหนังสือก็ได้
4. การปฏิ บั ติ ผิ ด ไปจากที่ ป ระมวลกฎหมายวิธี พิจ ารณาความ กำา หนดไว้ เ รี ย กกระบวนการ
พิจารณาที่ผิดระเบียบคู่ความฝ่ายที่เสียหายมีอำานาจขอ และศาลมีอำานาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้อง
ได้ แต่ถ้าคู่ความจะขอต้องกระทำาไม่ชา้ กว่า 8 วัน

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


22

5. ศาลมีอำานาจออกข้อกำาหนดใดๆ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในบริเวณศาล ซึ่งรวมทั้ง


การที่จะห้ามมิให้คู่ความดำาเนินกระบวนพิจารณาในทางไม่เรียบร้อยด้วย
6. การไม่ปฏิบัติตามข้อกำาหนดก็ดี ขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาโดยไม่มีมูลก็ดี หลบหนีไม่รับคำาคู่
ความหรือเอกสารที่จะส่งถึงตนก็ดี ตรวจเอกสารในสำานวนโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อนก็ดี ไม่
มาศาลเมื่อถูกเรียกมาตกลงกันก็ดี ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดอำา นาจศาล ศาลมีอำา นาจสั่ง
ลงโทษได้
7. ผู้ประพันธ์ บรรณาธิการ หรือผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ อาจมีความผิดฐาน
ละเมิดอำานาจศาลได้ หากมีการวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการพิจารณาของศาลอย่างไม่เป็นกลาง
และถูกต้องตามที่กฎหมายกำาหนดไว้
8. ผูใ้ ดกระทำาผิดฐานละเมิดอำานาจศาล ศาลมีอำานาจสั่งลงโทษได้ โดยไล่ออกไปจากบริเวณศาล
หรือจำาคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท
9. การดำาเนินกระบวนพิจารณาในเมืองต่างประเทศ ต้องเป็นไปตามสนธิสัญญากฎหมายภายใน
หรือหลักกฎหมายระหว่างประเทศ แล้วแต่กรณี
10. การนั่งพิจารณาของศาล ตามปกติจะต้องทำาในเวลาทำาการ นอกจากจะเข้าข้อยกเว้น
11. การนั่งพิจารณาจะต้องทำาโดยเปิดเผยต่อหน้าคู่ความ เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น ในกรณี
จำาเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือความเหมาะสมให้พิจารณาลับหลังคู่ความ หรือให้
พิจารณาโดยไม่เปิดเผย หรือไม่ให้เปิดเผยข้อเท็จจริง แม้จะอย่างไรก็ตาม คำาพิพากษา หรือคำา
สั่งของศาลจะต้องอ่านโดยเปิดเผยและนำาออกโฆษณาได้
12. การนั่งพิจารณาพึงกระทำา ติดต่อกันไป เว้นแต่มีความจำา เป็นที่จะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณา
เพราะคู่ความขอหรือศาลเลื่อนเองก็ได้
13. กระบวนการพิจารณาต้องกระทำาเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศต้องใช้ล่ามแปร
14. ศาลมีอำา นาจที่จ ะตรวจสอบใบมอบอำา นาจที่สงสัยว่ า ปลอม และสั่ง ให้ คู่ ค วามที่ เ กี่ ยวข้ อง
จัดการรับรองความแท้จริงของใบมอบอำานาจนั้นได้
15. ศาลมีหน้าที่จดแจ้งรายงานการนั่งพิจารณา และกระบวนพิจารณาอื่นๆ ของศาลรวมไว้เป็น
สำานวนคู่ความและผู้มีส่วนได้เสียจะขอตรวจหรือคัดสำาเนาเอกสารดังกล่าวต้องขออนุญาตจาก
ศาลก่อน

4.1กำรพิจำรณำเบื้องต้น
1. การวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้น ปกติศาลสั่งเมื่อคู่ความยกขึ้นอ้างและศาลเห็น
ว่าจะเป็นประโยชน์แก่คดี ในอันที่จะทำาให้การพิจารณาสั้นเข้า แต่ศาลก็มีอำานาจสั่งเมื่อเห็น
สมควร

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


23

2. การคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความระหว่างพิจารณานั้น เป็นสิ่งจำาเป็นและจะต้องกระทำาโดย
ฉุกเฉินในบางกรณี เพราะฉะนั้นกฎหมายจึงให้ศาลมีคำาสั่งโดยไม่ชักช้า
3. ถ้าคู่ความมีข้อคัดค้านในการที่ศาลมีคำา สั่งหรือซักถามหรือชี้ขาด ศาลจะต้องจดข้อคัดค้าน
นัน้ ไว้ในรายงาน หรือจะสั่งให้คู่ความแถลงเป็นหนังสือ เพื่อรวมไว้ในสำานวนก็ได้
4. การกระทำาความผิดฐานละเมิดอำานาจศาลมีได้หลายสถานและศาลมีอำานาจลงโทษได้หลาย
สถานทั้งขับไล่ออกไปนอกบริเวณศาล ปรับ และจำาคุก
5. การดำา เนินกระบวนพิจารณาในเมืองต่างประเทศนั้น ถือความตกลงระหว่างประเทศเป็น
สำาคัญ มิฉะนั้น ก็ดำาเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถ้าไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงให้
ดำาเนินตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ

4.1.1การชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้น การสั่งวิธีการชั่วคราว และการคัดค้านของคู่


ความ
การชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อันใด
การชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นตามมาตรา 24 บัญญัติไว้เพื่อประโยชน์แก่การที่จะทำาให้คดี
ได้รับการวินิจฉัยชี้ขาดไปโดยรวดเร็ว ทั้งเรื่องเช่น วินิจฉัยชี้ขาดว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความศาลก็
สามารถพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยไม่ต้องพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงอื่นให้เสียเวลา หรือเสร็จไป
เฉพาะประเด็นบางข้อ เช่น ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับดอกเบี้ยเมื่อขาดอายุความ ก็ไม่ต้องสืบพยานเกี่ยวกับ
ดอกเบี้ยเป็นต้น

โจทก์ฟ้องว่าจำาเลยผิดสัญญาไม่ยอมชำาระหนี้ จำาเลยให้การปฏิเสธต่อสู้ว่าได้ชำาระหนี้โจทก์
เรียบร้อยแล้ว ตามใบเสร็จรับเงินที่จำาเลยแนบมาด้วยท้ายคำาให้การ และขอให้ศาลชี้ขาดประเด็นนี้โดย
ไม่ต้องเสียพยาน ศาลจะสั่งได้หรือไม่
ศาลสั่งไม่ได้ เพราะปัญหาที่ว่าจำา เลยได้ชำา ระหนี้โจทก์ หรื อยั งนั้น เป็น ปัญหาข้ อเท็จ จริง
ไม่ใช่ปญั หาข้อกฎหมาย ที่ศาลจะพึงชี้ขาดตามมาตรา 24

แดงฟ้องดำาว่า ดำาทำาสัญญาจะขายที่ดินแปลงหนึ่งให้แก่ตน แดงได้ชำาระราคาที่ดินหมดสิ้น


แล้ว แต่ดำาไม่ยอมไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ตน จำา เลยให้การปฏิเสธ ในระหว่างสืบพยาน
โจทก์ แดงสืบทราบว่าดำาได้ทำาสัญญาขายที่พิพาทให้แก่ขาวจึงมาร้องขอให้ศาลสั่งห้าม ท่านเป็นศาล
จะจัดการอย่างไร
ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะสั่งให้ไต่สวน ถ้าได้ความตามที่ร้องก็จะสั่งห้าม และอายัดไปยังเจ้า
พนักงานที่ดิน

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


24

ถ้าคู่ความไม่เห็นด้วยในคำาสั่งของศาลในระหว่างพิจารณาจะต้องทำาอย่างไรและศาลเองควร
ปฏิบัติอย่างไร
ถ้าคู่ความไม่เห็นด้วยกับคำาสั่งของศาลที่สั่งระหว่างพิจารณาก็มีสิทธิคัดค้านได้ ศาลจะต้อง
จดคำาสั่งและคำาคัดค้านนั้นลงไว้ในรายงาน หรือจะสั่งให้คู่ความยื่นคำาแถลงคัดค้านเป็นหนังสือก็ได้

การพิจารณาที่ผิดระเบียบ
คดีแพ่งเรื่องหนึ่ง จำาเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำาหนด แต่ไม่มีผู้
ใดคัดค้านจนกระทั่งเสร็จการสืบพยานของคู่ความทั้งสองฝ่ายและศาลนัดฟังคำาพิพากษา โจทก์ได้ยื่น
คำาร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนบัญชีพยานจำาเลย และการสืบพยานจำาเลยทั้งหมด ท่านเป็นศาลจะมีคำาสั่ง
อย่างไร เพราะเหตุใด
การที่จำา เลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานในกำา หนดนั้นเป็นกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ตาม ปวพ. มาตรา 27 ถ้ามิได้เอาเปรียบอีกฝ่าย โจทก์เองก็ไม่เสียเปรียบในเชิงพยานศาลไม่พึงเพิกถอน

การละเมิดอำานาจศาล
การละเมิดอำานาจศาลคืออะไร
การละเมิดอำานาจศาลคือการกระทำาที่เป็นการลบหลู่ ล่วงละเมิดศักดิ์ศรี หรืออำานาจของศาล
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) ประพฤติตนไม่เรียบร้อยภายในบริเวณศาล ทำาผิดข้อกำาหนด หรือหลบ
เลี่ยงไม่ยอมรับหมายหรือคำาคู่ความที่ส่งถึงตน ตลอดจนขัดคำา สั่งศาลที่ให้มาศาลเพื่อเปรียบเทียบคดี
กับ 2) หนังสือพิมพ์ทำาผิดในการลงพิมพ์โฆษณาข้อเท็จจริงในคดีโดยฝ่าฝืนต่อข้อห้ามของกฎหมาย

ศาลชัน้ ต้นลงโทษจำาคุกนายแดง 1 เดือนฐานละเมิดอำานาจศาล นายแดงอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์


พิพากษากลับให้ปล่อยตัว พนักงานอัยการมีอำานาจดำาเนินการอย่างไร
ความผิดฐานละเมิดอำานาจศาลนั้น ไม่มีบทบัญญัติห้ามอุทธรณ์ฎีกา ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์
พิพากษากลับให้ปล่อยตัวผู้กระทำา ผิด พนักงานอัยการมี อำา นาจฎี กาตามพระราชบัญญัติ พนั กงาน
อัยการ ซึ่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของผู้ที่ถูกลงโทษนั้น จะต้องสั่งให้ส่งสำาเนาอุทธรณ์ให้แก่พนักงาน
อัยการ และพนักงานอัยการก็จะข้ามาเป็นคู่คดีรักษาประโยชน์ของแผ่นดินตั้งแต่บัดนั้น เพราะฉะนั้น
เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำา พิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้อ งแจ้ งนัด ให้พนัก งานอั ยการมาฟังด้ วย อัย การจึงมี
โอกาสรู้และยื่นฎีกาตามหน้าที่ที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายอัยการ

การดำาเนินกระบวนพิจารณาในต่างประเทศ
การดำาเนินการกระบวนพิจารณาในต่างประเทศอาศัยหลักอะไร

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


25

การดำาเนินกระบวนพิจารณาในต่างประเทศนั้นต้องอาศัยหลัก 3 ประการคือ 1) สนธิสัญญา


ระหว่างประเทศ 2) บทบัญญัติแห่งกฎหมาย และ 3) หลักกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่ง เราจะต้องขอ
ให้ศาลในเมืองต่างประเทศดำาเนินการแทน

นายบ๊ อบซึ่งเคยอยู่ ในประเทศไทยได้ กู้ เ งิน นายมี 5 ล้านบาทแล้ วกลับ ไปอยู่ ใ นประเทศ
อังกฤษ ยังไม่ชำาระหนี้ นายมีมาปรึกษาเพื่อจะฟ้องนายบ๊อบ จะให้คำาแนะนำานายมีในการส่งหมายว่า
อย่างไร
ข้าพเจ้าแนะนำาให้นายมีในการส่งหมายว่า จะต้องส่งผ่านกระทรวงยุติธรรม ไปยังกระทรวง
การต่างประเทศเพื่อขอให้ศาลซึ่งมีเขตอำานาจเหนือนายบ๊อบที่ประเทศอังกฤษ ส่งหมายให้แก่นายบ๊อบ
ซึ่งนายมีจะต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด

กำรนั่งพิจำรณำคดี
1. ตามปกติ การนั่งพิจารณาจะต้องทำาในศาล ในวันเปิดทำาการ เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน หรือมีเหตุ
จำาเป็นอาจนั่งพิจารณาที่อื่นหรือในวันหยุดราชการก็ได้
2. การนั่งพิจารณาคดีจะต้องทำาในศาล ต่อหน้าคู่ความ และโดยเปิดเผย เว้นแต่คู่ความฝ่ายนั้นจะ
ถูกศาลขับไล่ออกไปนอกห้องพิจารณา ศาลอาจจะพิจารณาลับหลังคู่ความฝ่ายนั้น หรือคดี
เรื่ องใดในศาลเห็นสมควรนั่ งพิจารณาเป็น การลั บ อาจสั่งห้ า มมิ ใ ห้ ป ระชาชนเข้ า ฟังการ
พิจารณาได้
3. การนั่งพิจารณานั้น ชอบที่จะกระทำาติดต่อกันไปจนเสร็จคดี เว้นแต่มีความจำา เป็นต้องเลื่อน
ความจำา เป็นนั้นอาจจะเนื่องมาจากศาลเอง เช่น ติดพิจารณาคดีอื่นหรือเนื่องมาจากคู่ความ
หรือทนายก็ได้ เช่น ตัวความหรือตัวทนายเจ็บไข้ได้ป่วยหรือติดธุระอื่น หรือตาย หรือตกเป็น
ผู้ไรความสามารถ หรือผู้แทนโดยชอบธรรมของเขาประสบเหตุการณ์อย่างเดียวกัน หรือหมด
อำานาจเป็นผู้แทน รวมทั้งเหตุอื่นนานัปการ

4.2.1 การนั่งพิจารณาคดี
การนั่งพิจารณาคดีของศาลจะต้องกระทำาในศาลเสมอไปหรือไม่
ปกติการนั่งพิจารณาคดีของศาลจะต้อ งทำา ในศาล เพราะศาลเป็นสถานที่ที่จัดไว้สำา หรั บ
พิจารณาชี้ขาดคดี จะต้องทำาโดยเปิดเผยเพื่อให้ประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศได้เข้าฟังการพิจารณา
ตามหลักประชาธิปไตย เกิดอำานาจหน่วงรั้งถ่วงดุลศาล และต่อหน้าคู่ความเพื่อให้คู่ความได้มีโอกาส
โต้แย้งคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ใช้ยันเขาระหว่างพิจารณา เว้นแต่ศาลจะสั่งให้พิจารณาเป็นการลับ
โดยมีเหตุผลพิเศษ หรือเพื่อความสะดวก เช่น ต้องไปเดินเผชิญสืบพยานที่เจ็บป่วยนอกศาล หรือมี
ความจำาเป็นอย่างอื่น เช่นกำาลังรื้อสร้างศาลใหม่อาจจะต้องนั่งพิจารณาคดีนอกศาลได้

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


26

4.2.2 การเลื่อนการนั่งพิจารณาคดี
การนั่งพิจารณาคดีของศาลจำาเป็นต้องนั่งติดต่อกันจนเสร็จคดีหรือไม่
ถ้านั่งพิจารณาติดต่อกันไปได้แต่ต้นจนจบ ก็จะทำาให้คดี รวดเร็ว ซึงเป็นปัจจัยหนึ่งแห่งความ
ยุติธรรม แต่เป็นไปไม่ได้ เพราะความจำา เป็นอาจเกิดขึ้น ได้นานัปการเป็นเหตุให้ศาลต้องเลื่อนการ
พิจารณาคดี เช่นความเจ็บไข้ได้ป่วยของพยานและคู่ความเอง หรือคูค่ วามตายและอื่นๆ

4.3 รำยงำนและสำำนวนควำม
1. กระบวนพิจารณาทุกอย่าง ที่ประกอบเป็นสำา นวนต้องทำา เป็นภาษาไทย และต้องเขียนหรือ
พิมพ์ด้วยหมึก ถ้าผิดต้องขีดฆ่าและลงชื่อย่อกำากับ ถ้าเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศ ศาลอาจ
ให้แปลเป็นภาษาไทยทั้งฉบับหรือเฉพาะบางส่วนที่สำาคัญแนบไว้กับต้นฉบับ ถ้าคู่ความหรือ
บุคคลที่มาศาลไม่รู้ภาษาไทย หูหนวกหรือเป็นใบ้ก็ต้องใช้ล่ามแปล
2. ศาลมีอำานาจตรวจสอบใบมอบอำานาจที่ยื่นต่อศาล ถ้าสงสัยว่าจะไม่ใช่ใบมอบอำานาจที่แท้จริง
ก็มีอำานาจสั่งให้เขายื่นใบมอบอำานาจที่นายอำาเภอเป็นพยานสำาหรับที่ทำาในราชอาณาจักร และ
กงสุลไทยหรือโนตารีพับลิค หรือ แมยิสเตรด เป็นพยานสำาหรับที่ทำาในต่างประเทศ
3. เป็นหน้าที่ของศาลจะต้อ งจดแจ้งรายงานการนั่งพิจารณาหรือ กระบวนการพิจารณาอื่น ๆ
ตลอดจนคำาแถลงและคำาคัดค้านของคู่ความรวมทั้งคำาชี้ขาด คำาสั่ง หรือกระบวนการพิจารณา
ที่ทำาด้วยวาจาไว้ทุกครั้ง ในส่วนที่เป็นคำาแถลง และคำา คัดค้านของคู่ความและคำา ให้การของ
พยานนั้น จะเป็นพยานหลักซานเบื้องต้นได้ก็ต่อเมื่อศาลได้อ่านให้เขาฟังและเขาลงลายมือชื่อ
ไว้เป็นสำาคัญ การพิมพ์นิ้วมือหรือแกงไดในศาลไม่ต้องมีพยานรับรอง และถ้าบุคคลไม่ยอม
ลงลายมือชื่อหรือลงไม่ได้ศาลจะจดแจ้งเหตุไว้แทนการลงลายมือ
4. เมื่อรับฟ้องศาลจะต้องลงทะเบียนคดีในสารบบความรับเป็นคดีหมายเลขดำา และเมื่อตัดสิน
ต้องลงสารบบคำาพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดง รวมเอกสารทุกอย่างเข้าไว้เป็นสำานวนเก็บไว้
ในที่ปลอดภัย คัดคำา พิพากษาและคำา สั่งชี้ขาดเก็บไว้ต่างหากรวมทั้งเก็บสมุดสารบบไว้ในที่
ปลอดภัย ด้ ว ย เมื่ อ มี ก ารบั ง คั บ เสร็ จ สิ้น แล้ ว หรื อ ระยะเวลาบั ง คั บ แล้ ว ให้ ส่ ง ไปเก็ บ ไว้ ที่
กระทรวงยุติธรรม
5. ถ้าเอกสารหรือสำา นวนสูญหายหรือบุบสลาย ต้องจัดหาสำา เนามาแทนหรือพิจารณาคดีใหม่
หรือมีคำาสั่งอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
6. คู่ความ พยาน หรือบุคคลภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อาจขออนุญาตศาลเพื่อตรวจหรือคัด
สำาเนาเอกสารในสำานวนได้ เว้นแต่จะเป็นการพิจารณาเป็นการลับ หรือศาลสั่งห้ามไว้ แต่ห้าม
มิให้คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานคัดคำา พยานฝ่ายตนก่อนสืบพยานฝ่ายตนเสร็จ ส่วนคำา พิพากษา

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


27

หรือคำาสั่งชี้ขาดตัดสินที่ศาลอ่านให้คู่ความฟังแล้ว ตลอดจนคำาอธิบายเพิ่มเติมนั้น ขอคัดได้


เสมอ

4.3.1 สำานวนความและใบมอบอำานาจ
การจัดทำาสำานวนความของศาลมีหลักเกณฑ์อย่างไร
การทำาสำานวนความนั้นให้ทำาเป็นภาษาไทยและเขียนด้วยหมึกหรือพิมพ์ดีด หรือตีพิมพ์ ถ้ามี
ผิดให้ขีดฆ่าแล้วเขียนลงใหม่ห้ามขูดลบ และผู้เขียนต้องลงชื่อไว้ที่มุมกระดาษ ถ้ามี ถ้ามีข้อความตก
เติมให้ผู้ตกเติมลงชื่อย่อไว้เป็นสำาคัญ

ถ้ามีการกล่าวอ้างว่าใบมอบอำานาจปลอม ศาลจะทำาอย่างไร
ศาลต้องไต่สวน หรือให้ผู้ที่ควรเชื่อถือรับรอง ตัวบทมาตรา 47 ถ้าทำาในประเทศไทยให้นาย
อำาเภอรับรอง ในต่างประเทศให้โนตารีพับลิก หรือ แมยิสเตรท รับรอง

4.3.2 หน้าที่ของศาลเกี่ยวกับเอกสารและสำานวนความ
คดีหมายเลขดำาเลขแดงหมายความว่าอย่างไร
คดีหมายเลขดำา หมายความว่า ยังไม่ตัดสิน ส่วนคดีหมายเลขแดงหมายความว่าเป็นคดีที่
ตัดสินแล้ว เริ่มแต่ศาลชั้นต้นตัดสินเป็นต้นไป ก็จะมีเลขดำาเลขแดงของศาลชั้นต้น เมื่อคดีไปถึงศาล
อุทธรณ์ ศาลฎีกา ศาลสูงทั้งสองก็จะมีคดีหมายเลขดำา และเลขแดงของตนเอง

คดีแพ่งเรื่องหนึ่ง พยานโจทก์ขอคัดสำาเนาคำาเบิกความของตนก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จ ถ้า


ท่านเป็นศาลจะอนุญาตหือไม่ เพราะเหตุใด
ระหว่างสืบพยานโจทก์ยังไม่เสร็จนั้นโจทก์เองต้องห้ามมิให้ขอคัดคำาพยานฝ่ายตน จนกว่า
จะสืบพยานฝ่ายตนเสร็จ แต่กรณีพยานขอคัดคำาเบิกความของตนนั้น ไม่ใช่โจทก์ขอคัด ตามกฎหมาย
เขามีสิทธิขอ แต่ถ้าศาลสงสัยว่าคัดแทนโจทก์ อาจไม่อนุญาตให้คัดได้

แบบประเมินผลหน่วยที่ 4
1. โจทก์ฟ้องจำาเลยเรียกค่าเสียหายจากการกระทำาละเมิดต่อโจทก์ จำาเลยให้การต่อสู้คดีว่าจำาเลย
มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ละยืน่ คำาร้องให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นว่าโจทก์มิได้เสียหาย
จากการกระทำาของจำาเลย ถ้าท่านเป็นศาลจะสั่งคำาร้องของจำาเลย คือ สั่งยกคำาร้องเพราะมิใช่
ปัญหาข้อกฎหมาย
2. คำาฟ้องแดงให้ชำาระเงินตามสัญญากู้ แดงให้การสู้คดีและยื่นคำาร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาด
เบื้องต้นว่าคดีขาดอายุความแล้ว ศาลสั่งว่าคดียังไม่ขาดอายุความ ดังนี้ แดงจะอุทธรณ์คำาสั่ง

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


28

ศาล ไม่ได้เพราะศาลวินิจฉัยไม่เป็นคุณกับแดง และไม่ทำาให้คดีนั้นเสร็จไปไม่ว่าทั้งเรื่องหรือ


บางประเด็น และ ไม่ได้เพราะเป็นคำาสั่งระหว่างพิจารณา
3. การเพิก ถอนการพิจ ารณาที่ ผิ ด ระเบี ย บตามมาตรา 27 จะเพิก ถอนได้ ใ นศาลชั้ น ต้ น ศาล
อุทธรณ์และศาลฎีกา
4. การร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบจะต้องกระทำา ก่อนศาลพิพากษาแต่
ไม่ชา้ กว่า 8 วัน นับแต่คู่ความนั้นทราบถึงมูลที่ถือว่าเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ
5. นาย ก แสดงตนต่อพนักงานศาลว่าตนคือ นาย ก แต่ไม่ยอมรับหมายศาลซึ่งมีถึงนาย ก เรื่องนี้
ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดอำานาจศาล
6. ในการพิจารณาคดีเรื่องหนึ่ง ศาลสั่งไล่จำาเลยออกจากบริเวณศาลเนื่องจากละเมิดอำานาจศาล
ดังนี้ ศาลจะยังคงพิจารณาคดีดังกล่าวต่อไปได้ ตามมาตรา 36 (1)
7. คำาสั่งหรือคำาพิพากษาในคดีซึ่งศาลดำาเนินการพิจารณาโดยไม่เปิดเผย ไม่จำาเป็นต้องอ่านโดย
เปิดเผยต่อหน้าคู่ความ เรื่องนี้ ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ
8. กรณีคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน ไม่เป็นเหตุซึ่งศาลอาจสั่งเลือนได้อาจสั่ง
เลื่อนการพิจารณาคดีออกไป
9. พนักงานอัยการ จะเป็นคู่ความแทนผู้มรนะไม่ได้เลย
10. กรณีซึ่งศาลมีเหตุสงสัยว่าใบมอบอำานาจมิใช่เป็นใบมอบอำานาจอันแท้จริง และสั่งให้คู่ความ
นัน้ ทำาใบมอบอำานาจใหม่ ผูท้ ี่จะต้องเป็นผู้รับรองใบมอบอำานาจนั้นหากการมอบอำานาจได้ทำา
กันที่เขตพญาไท คือหัวหน้าเขตพญาไท

หน่วยที่ 5 คูค่ วำม กำรยื่นและกำรส่งคำำคู่ควำมและเอกสำร

1. บุคคลที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่ง หรือจะต้องใช้สิทธิทางศาล
ชอบที่จะเสนอคดีของตนได้ได้ซึ่งอาจเป็นคู่ความร่วมในคดีเดียวกันหรือร้องสอดเข้ามาเป็นคู่
ความในคดีก็ได้
2. คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจตั้งทนายไว้ให้ว่าความและดำา เนินกระบวนการพิจารณาแทนตน
ก็ได้ หรือคู่ความหรือทนายความอาจแต่งตั้ งให้บุคคลใดทำา การแทน เพื่อทำา กิจการตามที่
บัญญัติไว้ในกฎหมายก็ได้
3. คำาคู่ความและเอกสารต้องทำาขึ้นให้ปรากฏข้อความถึงตัวบุคคลและมีรายการตามที่บังคับไว้
ในกฎหมาย และคู่ความมีหน้าที่ส่งคำาคู่ความและเอกสารตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

5.1คูค่ วำม

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


29

1. เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใด
จะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำานาจได้
2. ผู้ไร้ความสามารถหรือกระทำา การแทนจะเสนอข้อหาต่อศาลหรือดำา เนินกระบวนพิจารณา
ใดๆ ได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความ
สามารถและตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
3. บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำาเลยร่วม

5.1.1การเสนอคดีต่อศาล
ก เช่าที่ดินของ ข เพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัยระหว่างที่ ก ไปอยู่ต่างจังหวัดยังไม่ทันปลูกบ้าน ค
เข้าปลูกบ้านอยู่อาศัยโดยมิได้รับอนุญาตจาก ก ดังนี้ ก จะฟ้องขับไล่ ค ได้หรือไม่
การที่ ค. เข้ามาปลูกบ้านอยู่ในที่ดินที่ ก. เช่าจาก ข. โดยมิได้รับอนุญาตจาก ก. เป็นการโต้
แย้งสิทธิของ ก. แล้ว แม้ ก. จะไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน ก. ฟ้องขับไล่ ค. ได้

แดงเอาชื่อและชื่อสกุลของดำาไปใช้โดยมิได้รับอนุญาต ดำาได้รับความเสียหาย ดังนี้ ดำาจะยื่น


คำาร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ขอให้ศาลสั่งห้ามแดงได้หรือไม่
ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำา เป็นคำา ร้องขอในคดีไม่มีข้อพิพาทได้ ต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อ
พิพาท

ผูไ้ ร้ความสามารถหรือผู้ทำาการแทน
ก บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของ ข ผู้เยาว์ เอาเงินของ ข ให้ ค กู้ไป ถึงกำาหนด ค. ไม่ใช้คืน
ดังนี้ ก จะฟ้องเรียกเงินคืนจาก ค โดยมิได้รับมอบอำานาจจาก ข ได้หรือไม่
เป็นการที่ ก. ใช้สิทธิแทน ข. ผูเ้ ยาว์โดยอำานาจกฎหมาย ไม่ต้องให้ ข. มอบอำานาจให้ฟ้องคดี

คูค่ วามร่วม
ก ข เดินทางไปต่างจังหวัดโดยรถโดยสารคันเดียวกัน รถควำ่าโดยความประมาทเลินเล่อของ
คนขับ ก. ข. ได้รับบาดเจ็บ ดังนี้ ก ข จะร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในความเสียหายที่แต่ละ
คนได้รับในคดีเดียวกันได้หรือไม่
ก. ข. มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงอาจเป็นโจทก์ร่วมกันฟ้องคนขับรถเป็น
คดีเดียวกันได้

กำรร้องสอด

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


30

1. บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดเข้ามาในคดีอาจโดยสมัคร
ใจหรือโดยถูกหมายเรียกเข้ามาก็ได้
2. ผู้ร้องสอดที่เข้ามาเป็นคู่ความย่อมมีสิทธิแตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าได้ร้องสอดเข้ามาในกรณี
ใด

5.2.1 การร้องสอดเข้าเป็นคู่ความ
ก ฟ้อง ข ให้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่ตน โดยอ้างว่ารถเป็นของ ก ซึ่งความจริงรถมิใช่ของ ก
และ ข แต่เป็นของ ค ดังนี้ ระหว่างพิจารณาคดี ค มีทางที่จะเรียกให้ ข ส่งมอบรถแก่ตนได้หรือไม่
เป็นกรณีที่จำาเป็นที่ ค. จะยังให้ความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ ค. มีทางที่
จะเรียกให้ ข. ส่งมอบรถแก่ตนได้โดยการร้องสอดเข้ามาในคดีตาม ปวพ. มาตรา 57 (1)

5.2.2 ผลของการร้องสอด
ก ถูก ข ขับรถชนโดยประมาทเลินเล่อในทางการที่จ้างของ ค ซึ่งเป็นนายจ้างของ ก จึงฟ้อง
ข ผู้เดียวให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ข ให้การสู้คดี แต่มิได้ต่อสู้ว่าฟ้องของ ก ขาดอายุความแล้วโดย
จงใจ ค นายจ้างของ ข ขอเข้าเป็นจำาเลยร่วมโดยไม่ทราบว่าคดีของ ก ขาดอายุความและ ข ได้ยกข้อที่
ขาดอายุความขึ้นสู้หรือไม่ ศาลพิพากษาให้ ข ค ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่ ก ดังนี้ ค จะอ้างว่าคำา
พิพากษาดังกล่าวไม่ผูกพัน ค ได้หรือไม่
ข้อกฎหมายที่ ข. จงใจไม่ยกขึ้นอ้างเป็นต่อสู้เป็นสาระสำาคัญซึ่ง ค. ไม่รู้ว่ามีอยู่ ค. ย่อมอ้าง
เพื่อมิให้ตนผูกพันตามคำาพิพากษานั้นได้ตาม ปวพ. มาตรา 58 (2)
มำตรำ 58 ผู้ร้องสอดที่ได้เข้าเป็นคู่ความตามอนุ มาตรา (1) และ (3) แห่ง มาตรา ก่อนนี้ มี
สิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้อง เป็นคดีเรื่องใหม่ซึ่งโดยเฉพาะผู้ร้องสอดอาจนำาพยานหลัก
ฐานใหม่มา แสดงคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้ ถามค้านพยานที่ได้สืบมาแล้วและ คัดค้านพยานหลักฐาน
ที่ได้สืบไปแล้วก่อนที่ตนได้ร้องสอด อาจอุทธรณ์ ฎีกาคำาพิพากษา หรือคำาสั่งของศาลตามที่กฎหมาย
บัญญัติไว้ และ อาจได้รับหรือถูกบังคับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
ห้ามมิให้ผู้ร้องสอดที่ได้เป็นคู่ความตามอนุ มาตรา (2) แห่ง มาตรา ก่อนใช้สิทธิอย่างอื่น
นอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายซึ่งตน เข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำา เลยร่วมในชั้นพิจารณาเมื่อตนร้อง
สอด และห้ามมิให้ใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์หรือ จำาเลยเดิม และให้ผู้ร้องสอด
เสียค่าฤชาธรรมเนียมอันเกิดแต่การที่ ร้องสอด แต่ถ้าศาลได้อนุญาตให้เข้าแทนที่โจทก์หรือจำาเลยเดิม
ผูร้ ้องสอดจึงมีฐานะเสมอด้วยคู่ความที่ตนเข้าแทน
เมื่อได้มีคำา พิพากษาหรือคำา สั่งแล้ว ถ้ามีข้อเกี่ยวข้องกับคดีเป็น ปัญหาจะต้ อ งวิ นิจฉัยใน
ระหว่างผู้ร้องสอดกับคู่ความฝ่ายที่ตนเข้า มาร่วมหรือที่ตนถูกหมายเรียกเข้ามาร่วม ผู้ร้องสอดย่อมต้อง
ผูกพัน ตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่งนั้น เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


31

(1) เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของคู่ความนั้นทำาให้ผู้ ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความใน


คดีช้าเกินสมควรที่จะแสดงข้อเถียง อันเป็นสาระสำาคัญได้ หรือ
(2) เมื่อคู่ความนั้นจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง มิได้ยกขึ้นใช้ซึ่งข้อเถียงใน
ปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงอันเป็น สาระสำาคัญซึ่งผู้ร้องสอดมิได้รู้วา่ มีอยู่เช่นนั้น

5.3 ทนำยควำมและผู้รับมอบอำำนำจ
1. คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือผู้แทนโดยชอบธรรมในกรณีที่คู่ความเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือ
ผูแ้ ทนในกรณีที่คู่ความเป็นนิติบุคคลจะว่าความด้วยตนเอง หรือจะแต่งตั้งทนายความว่าความ
และดำาเนินกระบวนพิจารณาแทนตนก็ได้
2. การตั้งทนายความต้องทำาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความแล้วยื่นต่อศาลเพื่อ
รวมไว้ในสำานวน ทนายความที่ตัวความได้ตั้งแต่งจะขอต่อศาลให้สั่งถอนตนจากการตั้งแต่ง
นัน้ ก็ได้
3. ทนายความซึ่งคู่ความได้แต่งตั้งนั้นมีอำานาจว่าความและดำาเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่
ความได้ตามที่เห็นสมควร แต่กระบวนการพิจารณาใด ๆ เป็นไปในทางจำาหน่ายสิทธิของคู่
ความ
ทนายความไม่มีอำานาจที่จะดำาเนินกระบวนพิจารณานั้นโดยมิได้รับมอบอำานาจจากตัวความโดยชัด
แจ้ง
4. ตัวความมีสิทธิตั้งแต่งผู้แทนหรือทนายความ โดยทำาเป็นหนังสือยื่นต่อศาลเพื่อให้รับเงินหรือ
ทรัพย์สินซึ่งได้ชำาระไว้ในศาลหรือวางไว้ยังศาลเป็นเงินธรรมเนียมหรืออย่างอื่น และศาลได้
สั่งให้จ่ายคืนและส่งมอบให้ตัวความฝ่ายนั้น
5. คู่ความหรือมนายความเอาตั้งแต่งให้บุคคลใดทำาการแทนได้โดยยื่นใบมอบฉันทะต่อศาลทุก
ครั้งเพื่อทำากิจการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
6. ศาลมีอำานาจสอบสวนอำานาจของผู้แทนโดยชอบธรรมของตัวความหรือผู้แทนของนิติบุคคล
ถ้าเห็นว่าไม่มีอำานาจหรืออำานาจบกพร่อง ศาลอาจยกฟ้องหรือมีคำา พิพากษาหรือคำา สั่งอย่าง
อืน่ ได้ตามที่เห็นสมควร

5.3.1 การตั้งทนายความ
บุคคลต่อไปนี้จะว่าความอย่างทนายความได้หรือไม่
1. ตัวความซึ่งไม่มีความรู้ในทางกฎหมาย
2. ผูแ้ ทนนิติบุคคล
3. ผูร้ ับมอบอำานาจจากตัวความ
ข้อ 1 และ 2 ย่อมหมายความอย่างทนายได้ ส่วนข้อ 3 จะว่าความอย่างทนายไม่ได้
ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551
32

5.3.2 การมอบอำานาจให้รับทรัพย์
จำาเลยได้มอบฉันทะแต่งตั้งให้บุตรชายมาฟังคำาพิพากษา โดยมีใบมอบฉันทะยื่นต่อศาลบุตร
ชายจำาเลยได้ฟังคำาพิพากษาและได้ลงลายมือชื่อทราบคำาพิพากษาของศาลไว้ด้วย ดังนี้จะถือว่าจำา เลย
ได้ทราบคำาพิพากษาหรือไม่
ถือว่าจำาเลยได้ทราบคำาพิพากษาแล้ว เพราะจำาเลยได้มอบอำานาจให้บุตรจำาเลยมาฟังแทน

5.4 คำำคูค่ วำมและเอกสำร


1. คำาคูค่ วามหรือเอกสาร ต้องทำาขึ้นให้ปรากฏข้อความถึงตัวบุคคลและมีรายการตามที่บังคับไว้
ในกฎหมาย
2. การยื่นคำา คู่ความหรือเอกสารอื่นใดต่อศาล ให้กระทำา ได้โดยส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของ
ศาลหรือยื่นต่อศาลในระหว่างการพิจารณา
3. บรรดาคำาฟ้อง หมายเรียกและหมายอื่นๆ คำาสั่ง คำาบังคับของศาล เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง
ภายใต้ข้อยกเว้นบางประการและโจทก์มีหน้าที่จัดการนำา ส่งคำา ฟ้อง ส่วนหมายเรียก หมา
ยอื่นๆ คำาสั่ง คำาบังคับของศาลที่ได้ออกตามคำาขอของคู่ความฝ่ายใด เป็นหน้าที่ของคู่ความ
ฝ่ายนั้นจัดการนำาส่ง
4. ฝ่ายที่ให้การมีหน้าที่นำาต้นฉบับคำาให้การยื่นไว้ต่อศาลพร้อมสำาเนา สำาหรับให้คู่ความอีกฝ่าย
หนึ่งหรือคู่ความอื่นๆ รับไปโดยทางเจ้าพนักงานศาล
5. ผู้ยื่นคำาร้องหรือคำาแถลงการณ์ภายในเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำาหนด หรือโดยข้อตกลงของ
คู่ความมีหน้าที่นำาต้นฉบับยื่นไว้ต่อศาลพร้อมสำาเนาเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือคู่ความ
อื่นๆหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรับไปโดยทางเจ้าพนักงานศาล ส่วนคำาร้องอื่นๆ ให้ยื่นศาลพร้อม
สำาเนา เพื่อส่งให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่นๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
6. ศาลอาจสั่งให้ส่งคำาคู่ความหรือเอกสารโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก็ได้
7. การส่งคำา คู่ ค วามหรื อ เอกสารอื่ น ใดโดยเจ้ า พนั ก งานศาล ต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามที่ บั ง คั บ ไว้ ใ น
กฎหมายซึ่งมีข้อยกเว้นบางประการ
8. ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่ระบุไว้ในคำา คู่ความ หรือเอกสารปฏิเสธไม่ยอมรับจากเจ้าพนักงาน
ศาลโดยปราศจากเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานศาลอาจวางไว้ ณ ที่นนั้ ได้ ซึ่งถ้าหาก
ไม่สามารถทำา ได้ ศาลอาจสั่งให้ส่งโดยวิธีอื่นแทนได้ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย ซึ่งจะมีผล
ใช้ได้ต่อเมื่อกำาหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควรกำาหนด
ได้ล่วงพ้นไป
9. การส่งคำาคู่ความหรือเอกสารโดยเจ้าพนักงานหรือทางเจ้าพนักงานศาลให้เจ้าพนักงานศาล
ส่งใบรับหรือรายงานการส่งต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำาควรความ
ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551
33

10. การส่งหมายเรียกพยานโดยคู่ความที่เกี่ยวข้อง จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่บัญญัติไว้ใน


กฎหมาย
11. ในการส่งคำาคู่ความหรือเอกสารอื่นใด จะต้องส่งสำาเนาไปให้คู่ความหรือบุคคลทุกๆคนให้
ครบจำานวน
12. การยื่นต่อศาลหรือส่งให้แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลภายนอกซึ่งคำา คู่ความ หรือ
เอกสารอื่นใด โดยผ่านทางพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล กฎหมายให้ถือว่าคู่ความได้ปฏิบัติ
ตามความมุ่งหมายของกฎหมายหรือศาลแล้ว เมื่อได้ส่งคำาคู่ความหรือเอกสารแก่พนักงานเจ้า
หน้าที่ของศาลภายในเวลาที่กำาหนดแล้ว

5.4.1 การยื่นคำาคู่ความและเอกสาร
ในระหว่างศาลนั่งพิจารณาคดีเรื่องหนึ่ง ก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จ ทนายจำาเลยได้ยื่นคำาแถลง
เป็นหนังสือขออ้างพยานจำาเลยเพิ่มเติมต่อศาล ทนายโจทก์แถลงคัดค้านว่า จะยื่นต่อศาลไม่ได้ต้องส่ง
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล ท่านเห็นด้วยกับข้อคัดค้านของทนายโจทก์หรือไม่
คำา แถลงเป็นหนังสือขออ้างพยานเพิ่มเติมเป็นเอกสารอื่นใดตาม ปวพ. มาตรา 69 ทนาย
จำาเลยจึงยื่นต่อศาลในระหว่างนั่งพิจารณาได้ ไม่เห็นด้วยกับคัดค้านของทนายโจทก์

5.4.2 การส่งคำาคู่ความและเอกสาร (1)


ในคดีเรื่องหนึ่งเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องแล้ว โจทก์ยื่นคำาต่อศาลจะขอนำา สำา เนาคำา ฟ้องให้คนของ
โจทก์ไปส่งแก่จำา เลยเองเพื่อเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ดังนี้ถ้าท่านเป็นศาลจะสั่งคำา แถลง
ของโจทก์อย่างไร
ตาม ปวพ. มาตรา 70 บัญญัติให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งคำาฟ้อง โจทก์จะขอสำาเนาคำา ฟ้อง
ไปส่งให้จำาเลยเองไม่ได้ โจทก์เพียงแต่มีหน้าที่จัดการส่งสำาเนาเท่านั้น (มาตรา 70 วรรค 2) ถ้าเป็นศาล
จะยกคำาแถลงของโจทก์เสีย

ในกรณีจำาเลยมาฟังคำาพิพากษา เมื่ออ่านคำาพิพากษาให้จำาเลยฟังแล้ว จำาเลยยังอยู่ในศาลขณะ


ที่ศาลนั่งพิจารณา ศาลจึงได้ออกคำาบังคับให้จำาเลยปฏิบัติตามคำาพิพากษาภายใน 15 วัน และจำาเลยได้
ลงลายมือชื่อรับรู้แล้ว ดังนี้จะถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ถือได้ว่าส่งคำา บังคับให้จำา เลยทราบ เป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วตามมาตรา 70
วรรคแรก(2)
มำตรำ 70 บรรดาคำา ฟ้อ ง หมายเรี ย กและหมายอื่ น ๆ คำา สั่ ง คำา บั งคั บ ของศาลนั้ น ให้ เ จ้ า
พนักงานศาลเป็นผู้ส่งให้แก่คู่ความหรือ บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง แต่ว่า

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


34

(1) หมายเรียกพยาน ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานนั้นเป็นผู้ส่ง โดยตรงเว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่าง


อืน่ หรือพยานปฏิเสธไม่ยอม รับหมาย ในกรณีเช่นว่านี้ให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง
(2) คำา สั่ง คำาบังคับของศาล รวมทั้งคำา สั่งกำาหนดวันนั่งพิจารณา หรือสืบพยาน แล้วแต่กรณี
หรือคำาสั่งให้เลื่อนคดี ถ้าคู่ความหรือ บุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นอยู่ในศาลในเวลาที่มีคำาสั่งและได้ลงลายมือ
ชื่อ รับรู้ไว้ ให้ถือว่าได้ส่งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำาฟ้องนั้น ให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการส่ง ส่วนการนำาส่งนัน้ โจทก์จะนำาส่งหรือไม่ก็ได้
เว้นแต่ศาลจะสั่งให้โจทก์มีหน้าที่จัดการ นำาส่งส่วนหมายเรียก หมายอื่น ๆ คำาสั่ง คำาบังคับของศาลที่
ได้ออก ตามคำาขอของคู่ความฝ่ายใด ถ้าศาลมิได้สั่งให้จัดการนำาส่งด้วย ก็ให้คคู่ วามฝ่ายนั้นเพียงแต่เสีย
ค่าธรรมเนียมในการส่ง ในกรณีอื่น ๆ ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะจัดการส่งให้แก่คู่ความหรือบุคคลที่
เกี่ยวข้อง

5.4.3 การส่งคำาคู่ความและเอกสา (2)


โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำาเลย เจ้าพนักงานศาลได้นำาสำาเนาคำาฟ้องและหมายเรียกให้จำาเลย
ยืน่ คำาให้การไปส่งยังภูมิลำาเนาของจำาเลยแล้ว ไม่พบจำาเลยที่บ้าน แต่พบจำาเลยที่ร้านกาแฟปากซอยเข้า
บ้านของจำาเลย เจ้าพนักงานศาลจึงส่งสำา เนาคำา ฟ้องและหมายเรียกให้จำา เลยที่ร้านกาแฟนั้น จำา เลยก็
ยอมรับ ดังนี้ จะถือว่าเป็นการส่งถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
เป็นการถูกต้องตามกฎหมาย ตามมาตรา 77 แล้ว
มำตรำ 77 การส่ งคำา คู่ ค วามหรื อ เอกสารอื่ น ใดโดยเจ้ า พนั ก งานศาล ไปยั ง ที่ อื่ น นอกจาก
ภูมิลำาเนา หรือสำานักทำาการงานของคู่ความหรือ ของบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำาคู่ความหรือเอกสารนั้นให้
ถือว่าเป็นการถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อ
(1) คู่ความหรือบุคคลนั้นยอมรับคำาคู่ความหรือเอกสารนั้นไว้ หรือ
(2) การส่งคำาคู่ความหรือเอกสารนั้นได้กระทำาในศาล

เจ้าพนักงานศาลนำาสำาเนาคำาฟ้องและหมายเรียกไปส่งยังภูมิลำาเนาจำาเลยแล้ว แต่ไม่พบจำาเลย
จึงปิดสำาเนาคำาสั่งฟ้องและหมายเรียก ณ ภูมิลำาเนาของจำาเลยนั้น โดยมีพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
ลงชื่อเป็นพยานด้วย ดังนี้ จะเป็นการการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
ไม่เป็นการถูกต้องตามกฎหมายเพราะศาลมิได้สั่งให้ส่งโดยวิธีปิดสำา เนาคำา ฟ้องและหมาย
เรียก แม้จะมีพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองลงลายมือชื่อเป็นพยานก็ตาม กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 79

5.4.4 การส่งคำาคู่ความและเอกสารไปต่างประเทศ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำา เลยซึ่งเป็นบริษัทสร้างทางด่วนในกรุงเทพ เสร็จแล้วเลิกกิจการ
กลับไปที่ลอนดอนเมื่อปีกลาย โจทก์จะต้องส่งหมายเรียกและสำาเนาฟ้องให้จำาเลยอย่างไร

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


35

โจทก์ต้องส่งหมายเรียกและสำาเนาฟ้องเริ่มต้นคดี ให้จำาเลยในต่างประเทศเพราะจำาเลยไม่มี
ภูมลำาเนาในราชอาณาจักรแม้จำาเลยจะเพิ่งเลิกกิจการไปจากประเทศไทยไม่ถึงสองปีก็ตาม

การส่งคำาคู่ความให้แก่ผู้รับในต่างประเทศจะปฏิบัติอย่างไร
ถ้าไม่มีสนธิสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศผู้รับคำาคู่ความ หรือมีอนุสัญญาระหว่าง
ประเทศว่าด้วยเรื่องนี้ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ก็ให้ดำาเนินการส่งผ่านกระทรวงยุติธรรมและกระทรวง
การต่างประเทศโดยทางการทูตซึ่งผู้ขอจะต้องแปลคำาคู่ความนั้นและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นภาษา
ของประเทศผู้รับหรือภาษาอังกฤษ และผู้ขอให้ส่งต้องวางเงินค่าใช้จ่ายด้วย

แบบประเมินผลหน่วยที่ 5
1. กองมรดกของนายแดง เรื่องนี้ไม่อาจนำาคดีมาฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลได้
2. นางมีฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามีคือ นายมา ศาลรับฟ้องไว้แล้ว ต่อมานางมี
ทราบว่ า การฟ้อ งคดี โ ดยไม่ ไ ด้ รั บ ความยิ น ยอมจากสามี เ ป็ น การบกพร่ อ ง ในเรื่ อ งความ
สามารถจึงให้นายมายื่นคำา แถลงต่อศาลขอให้ความยินยอมในการฟ้องร้องคดีดังกล่าวก่อน
เริ่ ม สืบ พยานดั งนี้ ชอบด้ว ยมาตรา 56 เพราะการกระทำา ดั งกล่ า วถื อ ว่ า เป็ น การแก้ ไ ขข้ อ
บกพร่องในเรื่องความสามารถถูกต้องตามมาตรา 56 แล้ว
3. นายหนึ่งนายสองต่างก็กู้เงินมาจากนายแดงคนละ 5,000 บาท ในวันเดียวกัน และมีหลักฐาน
เป็นหนังสือลงลายมือชื่อทำาไว้ให้นายแดงคนละฉบับ นายหนึ่งนายสองต่างผิดนัดใช้เงินคืน
ตามกำาหนด ดังนี้ นายแดงจะฟ้องเรียกเงินจากนายหนึ่งนายสองเป็นคดีเดียวกันได้หรือไม่ คำำ
ตอบ ฟ้องไม่ได้ เพราะนายหนึ่งนายสองไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี
4. เมื่อมีบุคคลภายนอกคดีร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57(1) เพื่อให้ได้รับความรับรอง
คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนศาลต้องสั่งอนุญาตให้เข้ามาในคดี เรื่องนี้ไม่ชอบด้วย
กฎหมายวิธีพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องร้องสอด
5. ผู้ร้องสอดตามมาตรา 57(1) มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ เรื่องนี้
ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องผลของการร้องสอด
6. การขอเลื่อนการพิจารณาคดี กระบวนการเรื่องนี้ทนายความซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคู่ความมี
อำานาจกระทำาได้ แม้ไม่ได้รับการมอบอำานาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง
7. ศาลจะมีอำานาจสั่งอนุญาตให้ทนายความถอนตนจากการเป็นทนายความได้ก็ต่อเมื่อ เป็นที่
พอใจของศาลว่าตัวความผู้แต่งทนายได้ทราบเรื่องการขอถอนตัวของทนายความแล้ว
8. หน้าที่ของพนักงานศาลที่จะต้องส่งให้ แก่คู่ ความคือ คำา ฟ้อง และคำา สั่งของศาลที่ออกตาม
คำาขอของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


36

9. การส่งคำา คู่ความหรือเอกสารโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรั บนั้น มีผ ลในวันนั้น เช่น


เดียวกับการส่งของเจ้าพนักงานศาล
10. โจทก์ยืนฟ้องคดีในวันสุดท้ายที่คดีจะขาดอายุความฟ้องร้อง เจ้าหน้าที่ของศาลรับเรื่องไว้แล้ว
แต่ไม่ได้นำาเสนอศาลในวันนั้นเนื่องจากเผลอเลอ แต่มาพบคำาร้องดังกล่าวในวันรุ่งขึ้น จึงนำา
เสนอศาลหลังจากคดีขาดอายุความแล้ว ดังนี้ผลคือ โจทก์ได้ยื่นฟ้องภายในอายุความแล้ว

หน่วยที่ 6 หลักทั่วไปว่ำด้วยกำรชี้ขำดตัดสินคดี

1. ศาลเป็นผู้มีอำานาจชี้ขาดตัดสินคดี โดยทำาเป็นคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง
2. จำาเลยชอบที่จะชำาระหนี้ก่อนศาลมีคำาพิพากษาได้ โดยถ้าเป็นหนี้เงินก็นำาเงินมาวางศาล ถ้า
เป็นหนี้อย่างอื่นก็แจ้งให้ศาลทราบ
3. ระหว่างดำาเนินคดี คู่ความอาจตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันเมื่อใดก็ได้

6.1คำำพิพำกษำและคำำสั่ง
1. ศาลมีอำานาจสั่งอนุญาตหรือยกคำาขอซึ่งคู่ความยื่นในระหว่างพิจารณา
2. ในเรื่องประเด็นแห่งคดี ศาลมีอำานาจวินิจฉัยชี้ขาดโดยทำาเป็นคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง
3. ศาลมีอำานาจสั่งจำาหน่ายคดีจากสารบบความตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยไม่ต้องมีคำาวินิจฉัย
ชี้ขาดในประเด็นในเรื่องนั้นๆ ถ้าไม่จำาหน่ายคดี ศาลก็ชี้ขาดคดีโดยทำาเป็นคำาพิพากษาหรือคำา
สั่งในวันสิ้นการพิจารณา
4. ศาลที่รับคำาฟ้องจะปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาหรือมีคำาสั่งชี้ขาดคดีโดยอ้างว่าไม่มีบทบัญญัติแห่ง
กฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดี หรือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับนั้นเคลือบคลุม
หรือไม่บริบูรณ์ไม่ได้

6.1.1คำาพิพากษาหรือคำาสั่งของศาล
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นตรวจคำาฟ้องที่โจทก์ยื่นต่อศาลแล้วสั่งไม่รับฟ้อง ดังนี้ เป็นการวินิจฉัย
ชีข้ าดประเด็นแห่งคดีหรือไม่
ไม่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี แต่เป็นคำาสั่งศาลไม่รับฟ้องตามมาตรา 18

6.1.1การจำาหน่ายคดี
นอกจากกรณีตามมาตรา 132 ที่ศาลจะจำาหน่ายคดีได้แล้ว เหตุอื่นๆ นอกจากที่บัญญัติไว้แล้ว
นัน้ ศาลจะจำาหน่ายคดีได้หรือไม่
ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551
37

นอกจากกรณีตามมาตรา 132 แล้ว ศาลมีอำานาจจำาหน่ายคดีในกรณีอื่นๆ ได้อีก

ถ้ามีกรณีตามมาตรา 132 ศาลต้องสั่งจำาหน่ายคดีเสมอไปหรือไม่


ไม่เสมอไป จะเห็นได้โดยนัยแห่งมาตรา 133 เป็นเหตุให้ศาลใช้ดุลพินิจ ถ้าศาลใช้ดุลพินิจ
ไม่จำาหน่ายก็ต้องตัดสินชี้ขาดคดีไปตามมาตรา 133
มำตรำ 132 ให้ศาลมีคำาสั่งให้จำาหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ โดยไม่ต้องมีคำาวินิจฉัย
ชีข้ าดในประเด็นเรื่องนั้น และให้กำาหนดเงื่อนไข ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร
(1) เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้อง ถอนฟ้อง หรือไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา ดังที่บัญญัติไว้ใน มำตรำ
174 มำตรำ 175 และ มำตรำ 193 ทวิ
(2) เมื่อโจทก์ไม่หาประกันมาให้ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มำตรำ 253 และ 288 หรือเมื่อคู่ความฝ่าย
ใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายขาดนัด ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มำตรำ 198 , 200 และ 201
(3) ถ้าความมรณะของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังให้คดีนั้นไม่มี ประโยชน์ต่อไป หรือถ้าไม่มี
ผูใ้ ดเข้ามาแทนที่คู่ความฝ่ายที่มรณะ ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มำตรำ 42
(4) เมื่อศาลได้มีคำาสั่งให้พิจารณาคดีรวมกันหรือให้แยกกัน ซึ่ง เป็นเหตุให้ต้องโอนคดีไปยัง
อีกศาลหนึ่งดั่งที่บัญญัติไว้ใน มำตรำ 28 และ 29
มำตรำ 133 เมื่อศาลมิได้จำาหน่ายคดีออกจากสารบบความดั่งที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา ก่อน ให้
ศาลชี้ขาดคดีนั้นโดยทำาเป็นคำาพิพากษา หรือคำาสั่งในวันที่สิ้นการพิจารณา แต่เพื่อการที่จะพิเคราะห์
คดีต่อไป ศาลจะเลื่อนการพิพากษาหรือการทำา คำา สั่งต่ อไปในวันหลังก็ได้ตามที่ เห็นสมควร เพื่อ
ประโยชน์แห่งความยุติธรรม

การใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับคดี
ในการพิพากษาหรื อ มี คำา สั่งชี้ ขาดคดี ศาลที่รั บ ฟ้อ งคดี ไ ว้ จะอ้ า งว่า ไม่ มี บ ทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง
กฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีได้หือไม่
จะอ้างไม่ได้ตามมาตรา 134
มำตรำ 134 ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลที่รับฟ้องคดีไว้ปฏิเสธ ไม่ยอมพิพากษาหรือมีคำา
สั่ งชี้ ข าดคดี โ ดยอ้ า งว่ า ไม่ มี บ ทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง กฎหมายที่ จ ะใช้ บั ง คั บ แก่ ค ดี หรื อ ว่ า บทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง
ก ฎ ห ม า ย ที่ จ ะ ใ ช้ บั ง คั บ นั้ น เ ค ลื อ บ ค ลุ ม ห รื อ ไ ม่ บ ริ บู ร ณ์

กำรชำำระหนี้ก่อนมีคำำพิพำกษำ
1. จำาเลยวางเงินต่อศาลก่อนมีคำาพิพากษา โดยยอมรับผิดหรือไม่ยอมรับผิดก็ได้
2. จำาเลยชอบที่จะชำาระหนี้อย่างอื่นนอกจากเงินได้ก่อนศาลมีคำาพิพากษา

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


38

การวางเงินก่อนก่อนมีคำาพิพากษา
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำา เลย 30,000 บาท จำา เลยให้การว่ากู้ไปจริงแต่ขอใช้เงิน 20,000
บาทให้โจทก์ก่อนและนำาเงิน 20,000 บาท มาวางศาล โจทก์ยินดีรับเอาโดยไม่ติดใจเรียกร้องมากกว่า
นี้ และคดีไม่มีประเด็นอื่นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปอีก ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาลจะดำาเนินการต่อไปอย่างไร
เป็นกรณีต้องด้วยมาตรา 136 วรรคแรก ถ้าเป็นศาล จะพิพากษาให้จำา เลยใช้เงินแก่โจทก์
20,000 บาท ให้โจทก์รับเงิน 20,000 บาท ไปจากจำาเลยโดยทางศาล

โจทก์ฟ้องว่าจำา เลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ 30,000 บาท จำา เลยไม่ใช้คืนขอให้ศาลบังคับให้


จำา เลยใช้เงินตามฟ้อง จำา เลยให้การสู้คดีว่า ได้กู้ไปเพียง 10,000 บาท ไม่ใช่ 30,000 บาท ได้นำา เงิน
10,000 บาท มาวางศาลเพื่อชำาระหนี้ให้โจทก์ ดังนี้ จำาเลยจะรับเงินคืนไปก่อนมีคำาพิพากษาว่าจำาเลย
ไม่ต้องรับผิดได้หรือไม่
เป็นกรณีต้องด้วยมาตรา 136 วรรค 2 จำาเลยจะรับคืนไปก่อนที่มีคำาพิพากษาว่าจำาเลยไม่ต้อง
รับผิดไม่ได้
มำตรำ 136 ในกรณีที่จำาเลยวางเงินต่อศาลโดยยอมรับผิด ถ้า โจทก์พอใจยอมรับเงินที่จำา เลย
วางโดยไม่ติดใจเรียกร้องมากกว่านั้น และคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปอีก ให้ศาลพิพากษา
คดี ไปตามนั้นคำาพิพากษานั้นเป็นที่สุด แต่ถ้าโจทก์ไม่พอใจในจำานวนเงิน ที่จำาเลยวางและยังติดใจที่
จะดำาเนินคดีเพื่อให้จำาเลยต้องรับผิดใน จำานวนเงินตามที่เรียกร้องต่อไปอีกจำาเลยมีสิทธิถอนเงินที่วาง
ไว้นั้นได้ โดยให้ถือเสมือนว่ามิได้มีการวางเงินหรือจำาเลยจะยอมให้โจทก์รับ เงินนั้นไปก็ได้ ในกรณี
หลังนี้โจทก์จะรับเงินไปหรือไม่ก็ตาม จำา เลย ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในจำา นวนเงินที่วาง แม้ว่าจำา เลยมี
ความรับผิด ตามกฎหมายจะต้องเสีย ทั้งนี้ นับแต่วันที่จำาเลยยอมให้โจทก์รับ เงินไป
ในกรณีที่ จำา เลยวางเงิน ต่ อ ศาลโดยไม่ ย อมรั บ ผิ ด จำา เลยจะรั บ เงิ น นั้ น คื น ไปก่ อ นที่ มี คำา
พิพากษาว่าจำาเลยไม่ต้องรับผิดไม่ได้ การวางเงิน เช่นว่านี้ไม่เป็นเหตุระงับการเสียดอกเบี้ย หากจำาเลย
มีความรับผิด ตามกฎหมายจะต้องเสีย
การชำาระหนี้อย่างอื่นนอกจากเงิน
โจทก์ฟ้องจำาเลยให้ส่งมอบรถยนต์ที่จำาเลยเช่าไปจากโจทก์ จำาเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดี แต่ยื่น
คำา แถลงเป็นหนังสือว่า จะส่งมอบให้โจทก์ ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาลจะดำา เนินกระบวนพิจารณาต่อไป
อย่างไร
เป็นกรณีต้องด้วยมาตรา 137 ถ้าเป็นศาล จะพิพากษาให้จำาเลยส่งมอบรถยนต์แก่โจทก์

กำรตกลงหรือประนีประนอมยอมควำม
1. บรรดาคดีที่ขึ้นมาสู่ศาลนั้น คู่ความจะตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็น
แห่งคดีเมื่อใดก็ได้
ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551
39

2. การตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันไม่ใช่การตกลงสืบพยานร่วมหรือคู่ความท้ากันใน
ศาล
3. ผลของการตกลงหรือประนีประนอมยอมความ กฎหมายห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาคำา
พิพากษาตามยอม เว้นแต่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้นั้น
4. ในการบังคับคดีตามยอม ศาลมีอำานาจตีความข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความ
5. คูค่ วามมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำาสั่งศาลที่เกี่ยวกับการตีความได้

6.3.1 ลักษณะการตกลงหรือประนีประนอมยอมความ
ก. ฟ้องเรียกรถยนต์คืนจาก ข. โดยอ้างว่ารถเป็นของ ก. ข. ให้การสู้คดี ในชั้นพิจารณาคู่
ความตกลงกันว่า ให้ ค. เบิกความเป็นพยานโจทก์จำาเลยแต่เพียงคนเดียว แล้วให้ศาลตัดสินไปตามที่
ค. เบิกความดังนี้ จะเป็นการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันตามมาตรา 138 หรือไม่
ไม่เป็น แต่เป็นข้อตกลงกันอย่างธรรมดาให้ ค. แต่เพียงผู้เดียวเบิกความเป็นพยานโจทก์
จำาเลย

คำาท้าของคู่ความในศาลจะเป็นกานตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันตามมาตรา 138
หรือไม่
ไม่เป็นเพราะคำาท้าเป็นเพียงการยอมรับข้อเท็จจริงในศาลตามที่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งอ้างโดยมี
เงื่อนไขบังคับก่อนซึ่งเป็นเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำาเนินกระบวนการพิจารณาเท่านั้น

6.3.2 ผลแห่งการตกลงหรือประนีประนอมยอมความ
เมื่อคู่ความทำาสัญญาประนีประนอมในศาลแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คำาพิพากษาตามยอมของ
ศาลได้หรือไม่
อุทธรณ์ไม่ได้ เว้นแต่มีเหตุตามมาตรา 138 วรรค 2
มำตรำ 138 ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอม ความกันในประเด็นแห่งคดีโดย
มิได้มีการถอนคำาฟ้องนั้น และข้อตกลง หรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ
กฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความเหล่า
นีไ้ ว้ แล้วพิพากษาไปตามนั้น
ห้ามมิให้อุทธรณ์คำาพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้
(1) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล
(2) เมื่อคำาพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติ แห่งกฎหมายอัน
เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


40

(3) เมื่อคำาพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลง หรือการประนีประนอม


ยอมความ
ถ้าคู่ความตกลงกันเพียงแต่ให้เสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการ ให้นำาบทบัญญัติแห่งประมวล
กฎหมายนี้ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ มาใช้บังคับ

คูค่ วามจะอุทธรณ์คำาสั่งของศาลในชั้นบังคับคดีตามยอมในการตีความสัญญาประนีประนอม
ยอมความได้หรือไม่
อุทธรณ์ได้ มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำาพิพากษาตามยอมอันจะต้องห้ามตามมาตรา 138 วรรค 2
แต่เป็นการอุทธรณ์คำาสั่งของศาลในชั้นบังคับคดี

โจทก์จำา เลยยอมความกันในศาลโดยจำา เลยยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 2,000


บาท ศาลพิพากษาตามยอม ต่อมาในชั้นบังคับคดี โจทก์จำาเลยได้ตกลงกันใหม่ โดยจำาเลยยอมให้โจทก์
เดือนละ 1,000 บาท ดังนีข้ ้อตกลงดังกล่าวจะใช้บังคับได้หรือไม่
แม้จะมีคำาพิพากษาตามยอมแล้ว ข้อตกลงใหม่ก็ใช้บังคับกันได้ จำาเลยย่อมใช้ให้โจทก์เพียง
เดือนละ 1,000 บาท

แบบประเมินผลหน่วยที่ 6
1. คำาขอของคู่ความที่ยื่นในระหว่างพิจารณานั้นศาลจะต้องทำาเป็น คำาสั่ง
2. ศาลจะมีคำาสั่งให้จำาหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ในกรณี (ก) โจทก์ทิ้งฟ้อง (ข) คู่ความทั้ง
สองฝ่ายขาดนัดพิจารณา (ค) โจทก์ถอนฟ้อง (ง) ไม่หาประกัน
3. กรณีผู้ร้องร้องขอให้ศาลสั่งเป็นผู้พิทักษ์ ระหว่างนั้นปรากฏว่าผู้เสมือนไร้ความสามารถตาย
ลง ถ้าท่านเป็นศาลจะดำาเนินการ สั่งจำาหน่ายคดี
4. ในการดำาเนินคดีแพ่งคู่ความ ไม่ต้องยกตัวบทกฎหมายขึ้นอ้างต่อศาล เพียงแต่กล่าวอ้างข้อเท็จ
จริงอันประกอบเป็นข้อกฎหมาย
5. ฟ้องขอให้ถอนชื่อจาก น.ส. 3 แล้วแบ่งที่นาซึ่งโจทก์จำาเลยเป็นเจ้าของรวม คู่ความยอมมอบ
ข้าวเปลื อกในนาพิพาทแก่โ จทก์ด้ วย ดังนี้ศาลจะพิพากษาไป ตามยอมได้ เพราะเป็ น การ
พิพากษาตามยอม
6. เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลว่ามีความหมายตาม
เจตนาของคู่สัญญาว่าเป็นอย่างไร ผูท้ ี่จะเป็นผู้ตีความคือศาลซึ่งพิพากษาคดีไปตามสัญญายอม
ความนั้น

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


41

7. เหตุผลที่คู่ความจะยกขึ้นอุทธรณ์คำาพิพากษาที่ได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอม
ความไม่ได้ คือ การอ้างว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้เปรียบในการทำาสัญญาประนีประนอมยอม
ความ
8. โจทก์จำาเลยยอมความกันในศาลโดยจำาเลยยอมชดใช้ค่าเลี้ยงดูบุตรให้แก่โจทก์เดือนละ 3,000
บาท ศาลพิพากษาตามยอม ในชั้นบังคับคดีจำาเลยไม่อาจหาเงินจำานวนดังกล่าวได้ครบ ได้ขอ
ตกลงกับโจทก์ใหม่โดยยอมจ่ายให้โจทก์เดือนละ 2,000 บาท ข้อบังคับดังกล่าวจะใช้บังคับ
กันได้ เพราะเป็นข้อตกลงกันระหว่างโจทก์จำาเลยในชั้นบังคับคดี
9. ในคดีเรื่องหนึ่งศาลได้พิพากษาไปตามที่คู่ความประนีประนอมยอมความกันแล้ว ต่อมาอีก 5
วัน ความปรากฏแก่โจทก์ว่าจำาเลยใช้กลฉ้อฉล ทำาให้โจทก์ยอมความกับจำาเลยในศาล ถ้าท่าน
เป็นโจทก์ในคดีนี้จะดำาเนินการ อุทธรณ์คำาพิพากษาตามยอมนั้น
10. ศาลที่รับฟ้องคดีไว้ไม่สั่งชี้ขาดคดีหรือพิพากษาเพราะไม่มีกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีนั้น
เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความ

หน่วยที่ 7 คำำพิพำกษำและคำำสั่ง

1. การทำาคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง ต้องทำาเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กฎหมายกำาหนด
2. คำาพิพากษาหรือคำาสั่งที่ชี้ขาดคดี ต้องวินิจฉัยตามข้อหาในคำาฟ้องทุกข้อ
3. ศาลมีอำานาจแก้ไขข่อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำาพิพากษาหรือคำาสั่งได้

7.1หลักเกณฑ์ในกำรทำำคำำพิพำกษำหรือคำำสั่ง
1. ถ้าคำา พิพากษาหรือคำา สั่งจะต้องทำา โดยผู้พิพากษาหลายคน จะต้องบังคับตามความเห็นของ
ฝ่ายข้างมาก จำานวนผู้พิพากษาของฝ่ายข้างมากนั้น ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ต้องไม่น้อย
กว่าสองคน และในศาลฎีกาต้องไม่น้อยกว่าสามคน
2. ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาคนใดที่ร่วมเป็นองค์คณะจะทำาความเห็นแย้งก็ได้
แต่ในศาลฎีกาจะทำาความเห็นแย้งไม่ได้
3. ในศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ถ้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือประธานศาลฎีกาแล้วแต่
กรณีเห็นสมควรจะให้มีการวินิจฉัยปัญหาใดในคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่ก็ได้ คำาวินิจฉัย
ของที่ประชุมใหญ่ให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานแห่งที่
ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาดคำาพิพากษาหรือคำาสั่งต้องเป็นไปตามคำา
วินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่
4. คำาพิพากษาหรือคำาสั่งของศาลต้องทำาเป็นหนังสือ มีข้อความตามที่บังคับไว้
ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551
42

5. การอ่านคำาพิพากษาหรือคำาสั่งให้อ่านข้อความทั้งหมดในศาลโดยเปิดเผยต่อหน้าคู่ความ และ
ให้ศาลจดลงในคำาพิพากษาหรือคำาสั่งหรือในรายงาน ซึ่งการอ่านนั้นและให้คู่ความที่มาศาล
ลงชื่อ ถ้าคู่ความไม่มาศาล ศาลจะงดการอ่านก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ศาลจดแจ้งไว้ในรายงาน
และถือว่าได้อ่านตามกฎหมายแล้ว

7.1.1การทำาคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง
องค์คณะพิจารณาพิพากษากลับเสียงข้างมากนั้น ท่านเข้าใจว่าอย่างไร
องค์คณะพิจารณาพิพากษาหมายถึงจำานวนผู้พิพากษา ที่จะประกอบเป็นองค์คณะที่มีอำานาจ
พิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ส่วนเสียงข้างมากหมายถึงเสียงที่จะบังคับในการ
ทำาคำาพิพากษา หรือคำาสั่งซึ่งกฎหมายให้บังคับตามความเห็นของฝ่ายข้างมาก

ในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะจะทำาความเห็นแย้งได้หรือไม่


ในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ย่อมทำาความเห็นแย้งได้ ในศาลฎีกาจะทำาความเห็นแย้งไม่ได้

7.1.2 รายการในคำาพิพากษาหรือคำาสั่ง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการได้ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำาเลยที่ 1 และเพิกถอนการซื้อ
ขายที่ดินแปลงดังกล่าว ระหว่างจำา เลยที่ 1 กับจำาเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นฟังว่าจำา เลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณ
โจทก์ มีเหตุเพิกถอนการให้ แต่จำา เลยที่ 2 รับซื้อไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน จึงพิพากษาให้เพิก
ถอนการให้ระหว่างโจทก์กับจำาเลยที่ 1 ยกฟ้องในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจำาเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมให้
เป็นพับ ดังนี้ คำาพิพากษาศาลชั้นต้นชอบหรือไม่
การทำาคำาพิพากษาหรือคำา สั่งต้องเป็นไปตามบทบังคับแห่ง ปวพ. มาตรา 141 คือมีรายการ
แห่งคดี เหตุผลแห่ งคำา วินิจ ฉัย ทั้ งปวง และคำา วินิ จฉัยของศาลในประเด็น แห่ งคดีต ลอดทั้งค่า ฤชา
ธรรมเนียม ส่วนเหตุผลแห่งคำาวินิจฉัยและคำาวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีต้องแสดงไว้ด้วย เว้นแต่มีข้อ
ยกเว้นตามบทบัญญัตินี้หรือบทบัญญัติอื่น หรือสภาพแห่งคำา ฟ้องหรือคำา ขอที่ไม่อาจบังคับได้ กรณี
ของโจทก์ประเด็นแห่งคดีว่าจำาเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ หรือไม่ถ้ามีย่อมเพิกถอนได้ ซึ่งเป็น
ไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำาเลยที่ 1
ประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาเพิก ถอนได้ ส่วนการซื้อขายที่ดิน แปลงพิพาท
ระหว่ า งจำา เลยที่ 1 กั บ จำา เลยที่ 2 เมื่ อ จำา เลยที่ 2 ซื้ อ โดยสุ จ ริ ต และมี ค่ า ตอบแทน ซึ่ ง กรณี เ ช่ น นี้
บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้บัญญัติให้เพิกถอนได้ ดังนั้นสภาพคำาขอบังคับใน
ส่วนนี้จึงไม่อาจเพิกถอนได้ถือว่าเป็นการซื้อขายโดยชอบ ดังนั้นศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องชอบแล้ว
ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมเป็นดุลพินิจของศาลจะสั่งเป็นพับหรือไม่ก็ได้ คำาสั่งศาลชั้นต้นส่วนนี้จึงชอบ
ด้วยกฎหมายเช่นกัน
ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551
43

7.2 ศำลต้องชี้ขำดทุกประเด็น แต่ไม่เกินคำำขอและห้ำมแก้ไข


1. คำา พิพากษาหรือคำา สั่งศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสินตามข้อหาในคำา ฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้คำา
พิพากษาหรือทำาคำาสั่งให้สิ่งใดๆเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำาฟ้อง นอกจากจะเข้า
ข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้
2. ถ้าในคำาพิพากษาหรือคำาสั่งใดมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ศาลจะมีคำา
สั่งแก้ไขให้ถูกก็ได้

7.2.1 ศาลต้องชี้ขาดทุกประเด็นแต่ไม่เกินคำาขอ
แดงฟ้องดำา ให้ดำาส่งมอบบ้านและที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของขาว ผู้ตายที่
ยกให้แดง ทางพิจารณาปรากฏด้วยว่า ดำา ยังครอบครองรถยนต์นั่งของขาวผู้ตายที่ยกให้แดง ตาม
พินัยกรรมด้วย แต่แดงมิได้ฟ้องขอให้ส่งมอบ ดังนี้ เมื่อคดีฟังได้ว่าขาวยกบ้านและที่ดินตลอดจน
รถยนต์ให้แดง ศาลจะพิพากษาให้ดำาส่งมอบทรัพย์ดังกล่าวให้แดงได้หรือไม่
พิพากษาให้ดำาส่งมอบบ้านและที่ดินให้แดง แต่สำาหรับรถยนต์นั้นศาลพิพากษาให้ส่งมอบ
ให้แดงด้วยไม่ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในฟ้องตาม ปวพ. มาตรา
142 วรรคแรก
มำตรำ 142 คำาพิพากษาหรือคำาสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสิน ตามข้อหาในคำาฟ้องทุกข้อ
แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือคำาสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำาฟ้อง เว้นแต่
(1) ในคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภท เดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่
จำาเลย ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเมื่อ ศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำา สั่งให้ขับไล่จำา เลยก็ได้ คำาสั่ง
เช่นว่านี้ให้ใช้ บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำาเลยที่อยู่บน อสังหาริมทรัพย์นั้น ซึ่ง
ไม่สามารถแสดงอำานาจพิเศษให้ศาลเห็นได้
(2) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่ พิจารณาได้ความว่าโจทก์
ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้
(3) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำาระเงิน พร้อมด้วยดอกเบี้ยจนถึง วันฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควร
ศาลจะพิพากษาให้จำาเลยชำาระดอกเบี้ย จนถึงวันที่ได้ชำาระเสร็จตามคำาพิพากษาก็ได้
(4) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าหรือค่าเสียหายอันต่อเนื่อง คำานวณถึงวันฟ้อง เมื่อศาลเห็น
สมควร ศาลจะพิพากษาให้ ชำา ระค่ า เช่ า และค่ า เสีย หายเช่ น ว่ า นี้ จนถึ งวั น ที่ ไ ด้ ชำา ระเสร็ จ ตามคำา
พิพากษา ก็ได้
(5) ในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนขึ้นอ้างได้
นัน้ เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะยกข้อเหล่านั้น ขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


44

(6) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำา ระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ย ซึ่งมิได้มี ข้อตกลงกำา หนดอัตรา


ดอกเบี้ยกันไว้ เมื่อศาลเห็นสมควรโดยคำา นึง ถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการ
ดำา เนิน คดี ศาล จะพิพากษาให้จำา เลยชำา ระดอกเบี้ย ในอัต ราที่ สูงขึ้น กว่า ที่โจทก์ มี สิท ธิ ได้ รั บ ตาม
กฎหมาย แต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้อง หรือวันอื่นหลังจากนั้นก็ได้

7.2.2 กรณีที่ศาลอาจพิพากษาหรือทำาคำาสั่งเกินกว่าคำาขอได้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 384 ทางพิจารณาได้
ว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าว และปรากฏด้วยว่าจำาเลยได้อาศัยอยู่ในที่ดินแปลงนี้ ศาลจะพิพากษา
ให้ขับไล่จำาเลยออกไปจากที่ดินแปลงนี้ได้หรือไม่
ตามปัญหาเป็นการฟ้องขอให้แดงกรรมสิทธิ์ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ กรณีไม่
ต้องด้วยมาตรา 142(1) ศาลจะพิพากษาให้ขับไล่จำาเลยออกไปจากที่ดินไม่ได้

7.2.3 การแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลง
ในกรณีต่อไปนี้ ศาลที่พิพากษาคดี จะมีคำาสั่งเพิ่มเติมแก้ไขได้หรือไม่
1. วินจิ ฉัยไว้ในคำาพิพากษาว่าจำาเลยต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์จำานวน 80,000 บาท แต่คำา
พิพากษาให้จำาเลยใช้โดยเขียนตัวเลขจำานวนเงินตกไปหนึ่งหลักเป็น 8,000 บาท
2. แก้ไขเป็นมิให้จำาเลยรับผิดชอบใช้แก่โจทก์เลย
1. เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จึงแก้ไขได้ตามมาตรา 143
วรรคแรก
2. เป็นการกลับคำาวินิจฉัยในคำาพิพากษา จึงต้องห้ามตามมาตรา 143 วรรคสอง
มำตรำ 143 ถ้าในคำาพิพากษาหรือคำาสั่งใด มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น
ๆ และมิได้มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้าน คำาพิพากษาหรือคำาสั่งนั้น เมื่อศาลที่ได้พิพากษาหรือมีคำาสั่ง
นัน้ เห็น สมควรหรือเมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอ ศาลจะมีคำาสั่งเพิ่มเติมแก้ไข ข้อผิดพลาดหรือข้อผิด
หลง เช่นว่านั้นให้ถูกก็ได้ แต่ถ้าได้มีการอุทธรณ์ หรือฎีกาคัดค้านคำาพิพากษาหรือคำาสั่งนั้น อำานาจที่
จะแก้ไขข้อ ผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้น ย่อมอยู่แก่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา และแต่กรณี คำา ขอให้
แก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้น ให้ยื่นต่อ ศาลดังกล่าวแล้ว โดยกล่าวไว้ในฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา
หรือโดยทำา เป็นคำาร้องส่วนหนึ่งต่างหาก
การทำาคำาสั่งเพิ่มเติม มาตรานี้ จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้ คำาวินิจฉัยในคำาพิพากษาหรือ
คำาสั่งเดิม
เมื่อได้ทำาคำาสั่งเช่นว่านั้นแล้ว ห้ามไม่ให้คัดสำาเนาคำาพิพากษาหรือ คำาสั่งเดิม เว้นแต่จะได้คัด
สำาเนาคำาสั่งเพิ่มเติมนั้นรวมไปด้วย

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


45

แบบประเมินผลหน่วยที่ 7
1. การวินิจฉัยปัญหาในคดีเรื่องใดของศาล โดยที่ประชุมใหญ่นั้นมีได้ใน ศาลอุทธรณ์และศาล
ฎีกา
2. ในการพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเรื่องหนึ่งในศาลจังหวัด มีองค์คณะผู้พิพากษา 3 คน สองคน
เห็นว่าควรยกฟ้องโจทก์ อีกคนหนึ่งเห็นว่าควรพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีให้จำา เลยชำา ระเงิน
ตามที่โจทก์ขอมาในฟ้อง ดังนี้ผลคือ พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ไปได้เพราะมีความเห็นข้าง
มากให้นกฟ้อง
3. ผลของการกระทำาความเห็นแย้งของผู้พิพากษา ทำาให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกา ในข้อเท็จจริง
อุทธรณ์ฎีกาได้
4. โจทก์ฟ้องจำาเลยเรียกเงินที่จำาเลยกู้ยืมโจทก์ไป 100,000 บาท โดยไม่ได้เรียกดอกเบี้ยมาท้าย
ฟ้อง ทางพิจารณาปรากฏว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจำาเลยอีก 5,000 บาท หากท่านเป็นศาล
จะพิพากษาคดีนี้ โดยพิพากษาให้จำาเลยชำาระเงิน 100,000 บาท ให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
5. ผู้ร้องขอให้ศาลสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ในการไต่สวนคำาร้องปรากฏว่าผู้ร้อง
ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดก แต่นายดำา พี่ชายของผู้ตายเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการ
มรดกมากกว่า หากท่านเป็นศาล จะสั่งยกคำาร้องของผูร้ ้อง
6. (ก) โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ในฐานะผู้รับมรดกแทนที่สามีที่ตาย ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับ
ทรัพย์โดยการครอบครอง (ข) ฟ้องขอให้เปิดทางจำาเป็น ศาลพิพากษาว่าเป็นทางภาระจำายอม
(ค) โจทก์ฟ้องคดีเรื่องหุ้นส่วนขอให้จำา เลยแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายศาลพิพากษาให้จำา เลย
ชำาระบัญชี (ง) ฟ้องว่าเป็นภาระจำา ยอม ศาลพิพากษาว่าเป็นทางจำา เป็น การพิพากษาเหล่านี้
ถือว่าเป็น คำาพิพากษาหรือทำาคำาสั่งเกินคำาฟ้อง
7. ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่านิติกรรมขายฝากระหว่างผู้มีชื่อกับจำาเลยใช้ไม่ได้ ศาลพิพากษาให้เพิก
ถอนการจดทะเบียนนิติกรรมอันใช้ไม่ได้นั้นเสีย เรื่องนี้เป็น การพิพากษาหรือทำาคำา สั่งที่ไม่
เกินคำาฟ้อง
8. โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินศาลพิพากษาให้ขับไล่จำา เลยซึ่งอยู่ในที่ดิน
ฐานะบริวารโจทก์ด้วย เรื่องนี้เห็นว่าศาลพิพากษา ไม่ชอบเพราะเกินคำาขอ โจทก์ไม่ได้ขอให้
ขับไล่จำาเลย
9. ผู้เช่าช่วงโดยจำาเลยซึ่งเป็นผู้ให้เช่าเดิมยินยอมให้เช่าช่วงด้วย ไม่อยู่ในความหมายของคำา ว่า
“บริวาร”
10. กรณีมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ในคำาพิพากษาหรือคำาสั่งเรื่องใดและ
มิได้มีการอุทธรณ์ฎีกาในคดีนั้นจะมีทางดำาเนินการคือ (ก) คู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอให้ศาล
แก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเช่นว่านั้นในคดีเดิม (ข) ศาลที่ได้มีคำา พิพากษาหรือคำา สั่งนั้น
เห็นว่ามีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงมีคำาสั่งเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดหลงหรือผิดพลาดให้ถูกต้องเอง
ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551
46

หน่วยที่ 8 ข้อควำมและผลแห่งคำำพิพำกษำและคำำสั่ง

1. กฎหมายห้ามมิให้ศาลหรือคู่ความดำาเนินกระบวนพิจารณาซำ้า
2. คำาพิพากษาหรือคำาสั่งใดๆ ย่อมผูกพันคู่ความ
3. กฎหมายห้ามมิให้คู่ความเดียวกันฟ้องซำ้า

8.1 กำรดำำเนินกระบวนกำรพิจำรณำซำ้ำ
1. เมื่อใดศาลมีคำาพิพากษาหรือคำาสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดข้อหนึ่งแห่งคดีแล้ว
จะดำาเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วไม่ได้
2. มีข้อยกเว้นมิให้ถือว่าเป็นการดำาเนินกระบวนพิจารณาซำ้า คือการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิด
หลง การพิจารณาคดีใหม่ การยื่นการยอมรับหรือไม่ยอมรับซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกา ฯลฯ ตามที่
บัญญัติไว้ในมาตรา 144 (1) ถึง (5)

8.1.1 การดำาเนินกระบวนพิจารณาซำ้า
โจทก์ฟ้องว่าจำาเลยกระทำาละเมิดต่อโจทก์ เรียกค่าเสียหาย 60,000 บาท ศาลพิพากษายกฟ้อง
ต่อมาอีก 5 วัน โจทก์ก็ยื่นฟ้องจำาเลยในเรื่องเดียวกันศาลเดิมอีก โดยเรียกค่าเสียหายมากกว่าจำา นวน
เดิมรวมเป็น 70,000 บาท ดังนี้ท่านเห็นว่าเป็นการดำาเนินกระบวนพิจารณาซำ้าหรือไม่
แม้จะเรียกค่าเสียหายมากกว่าฟ้องเดิม ก็เป็นการดำาเนินกระบวนพิจารณาซำ้าตามมาตรา 144
มำตรำ 144 เมื่อศาลใดมีคำาพิพากษา หรือคำาสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือในประเด็นข้อใดแห่ง
คดีแล้ว ห้ามมิให้ดำาเนินกระบวนพิจารณาใน ศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดนั้น
เว้นแต่กรณี จะอยู่ภายใต้บังคับบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
(1) การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆตาม มำตรำ 143
(2) การพิจารณาใหม่แห่งคดีซึ่งได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินไป ฝ่ายเดียวตาม มำตรำ 209
และคดีที่เอกสารได้สูญหายหรือบุบสลายตาม มำตรำ 53
(3) การยื่น การยอมรับ หรือไม่ยอมรับ ซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาตาม มำตรำ 229 และ 247 และ
การดำาเนินวิธีบังคับชั่วคราวในระหว่าง การยืน่ อุทธรณ์หรือฎีกาตาม มำตรำ 254 วรรคสุดท้าย
(4) การที่ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ส่งคดีคนื ไปยังศาลล่าง ที่ได้ พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี
นัน้ เพื่อให้พิพากษาใหม่หรือพิจารณา และพิพากษาใหม่ตาม มำตรำ 243
(5) การบังคับคดีตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่งตาม มำตรำ 302

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


47

ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะบังคับตามบทบัญญัติแห่ง มำตรำ 16 และ 240 ว่าด้วยการ


ดำา เ นิ น ก ร ะ บ ว น พิ จ า ร ณ า โ ด ย ศ า ล อื่ น แ ต่ ง ตั้ ง

8.1.2 ข้อยกเว้นการดำาเนินกระบวนพิจารณาซำ้า
การที่ ศ าลชั้ น ต้ น ทำา การแก้ ไ ขข้ อ ผิ ด พลาดเล็ ก น้ อ ยหรื อ ข้ อ ผิ ด หลงเล็ ก น้ อ ยอื่ น ๆ ในคำา
พิพากษาจะถือว่าเป็นการดำาเนินกระบวนพิจารณาซำ้าหรือไม่
ไม่เป็นการดำาเนินกระบวนพิจารณาซำ้าตามข้อยกเว้นของมาตรา 144 วรรคแรก (1)

8.2 คำำพิพำกษำหรือคำำสั่งผูกพันคู่ควำม
1. คำาพิพากษาหรือคำาสั่งใดๆย่อมผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษา หรือมี
คำาสั่งนับแต่วันที่ได้พิพากษาหรือหรือมีคำาสั่งจนถึงวันที่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสีย
ถ้าหากมี
2. คำาพิพากษาหรือคำาสั่งย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่กรณีตามมาตรา 142 (1) 245 และ
247
3. คำาพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลหรือคำา พิพากษาสั่งให้เลิกนิติบุคคล
หรือคำาสั่งเรื่องล้มละลาย บุคคลภายนอกจะยกขึน้ อ้างอิงหรือใช้ยันบุคคลภายนอกก็ได้
4. คำาพิพากษาวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใดๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้
ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า
5. คำา พิพากษาหรือคำา สั่งอันเป็นที่สุดของสองศาลซึ่งต่างชั้นกัน กล่าวถึงการชำา ระหนี้อันแบ่ง
แยกจากกันไม่ได้ และคำาพิพากษาหรือคำาสั่งนั้นขัดกัน ให้ถือตามคำา พิพากษาหรือคำา สั่งของ
ศาลที่สูงกว่า
6. คำาพิพากษาหรือคำาสั่งใดซึ่งจะอุทธรณ์ฎีกาหรือมีคำา ขอพิจารณาใหม่ไม่ได้ ให้ถือว่าถึงที่สุด
ตั้งแต่วันที่ได้อ่านเป็นต้นไป ถ้าอุทธรณ์ฎีกาหรือขอพิจารณาใหม่ได้ ถ้ามิได้อุทธรณ์ ฎีกาหรือ
ขอพิจารณาใหม่ภายในเวลากำาหนด ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง
ฯลฯ

8.2.1 คำาพิพากษาหรือคำาสั่งผูกพันคูค่ วาม


โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำาเลย ศาลพิพากษาให้ขับไล่จำาเลยออกจากที่พิพาท จำาเลยไม่ยอมออก
จากที่พิพาท ได้ยื่นคำาร้องว่าความจริงเป็นที่ดินที่จำาเลยซื้อมาจากบุคคลภายนอก ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์
ขอให้ศาลสั่งงดการบังคับคดี ถ้าท่านเป็นศาลจะสั่งคำาร้องของจำาเลยประการใด
คำา พิพากษาที่ให้ขับไล่จำา เลยย่อมผูกพันจำา เลย จำา เลยจะอ้างเป็นอย่างอื่นไม่ยอมออกจากที่
พิพาทหาได้ไม่ ถ้าเป็นศาลจะสั่งยกคำาร้องของจำาเลยเสีย

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


48

คดีก่อน ก. ฟ้องขับไล่ ข. ออกจากที่ดิน ศาลพิพากษาให้ขับไล่ ข. แล้ว ต่อมา ค. ฟ้องขับไล่ ง.


ออกจากที่ดินแปลงเดียวกันนี้ โดย ค. อ้างว่าได้ซื้อที่ดินแปลงนี้จาก ก. ดังนี้ คำา พิพากษาในคดีก่อน
ผูกพัน ค. ง. ซึ่งเป็นโจทก์ จำาเลยในคดีนี้หรือไม่
ค. และ ง. ซึ่งเป็นโจทก์จำา เลย ในคดีใหม่ มิได้เป็นคู่ความในคดีเดิม แต่เป็นบุคคลภายนอก
ของคดีเดิม คำาพิพากษาในคดีก่อนจึงไม่ผูกพัน ค. และ ง.

8.2.2 ข้อยกเว้นของคำาพิพากษาหรือคำาผูกพันคู่ความ
ในกรณีดังต่อไปนี้ ท่านเห็นว่าเป็นคำาพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นคุณแก่
คูค่ วามหรือไม่
1. ศาลพิพากษาให้จำาเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย
2. ศาลพิพากษาว่าที่ดินแปลงพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำาเลยเกี่ยวข้อง
พิจารณาได้ดังนี้
1. ไม่ เ ป็ น คำา พิ พ ากษาวิ นิ จ ฉั ย ถึ ง กรรมสิ ท ธิ์ ใ นทรั พ ย์ สิ น เป็ น คุ ณ แก่ โ จทก์ เป็ น เพี ย งคำา
พิพากษาที่บังคับให้จำาเลยโอนที่ดินให้โจทก์เท่านั้น
2. เป็นคำาพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์เป็นคุณแก่โจทก์

ศาลพิพากษาว่าที่ดินแปลงพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำาเลยเข้าเกี่ยวข้อง ดังนี้ คำาพิพากษาดัง


กล่าวจะใช้ยัน ก. บุคคลภายนอกคดีซึ่งได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนี้มาโดยอายุความหรือไม่
คำาพิพากษาดังกล่าวใช้ยัน ก. ได้แม้ ก. เป็นบุคคลภายนอก แต่ ก. อาจพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิ์ดี
กว่าโจทก์ โดยให้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาโดยอายุความ

8.2.3 คำาพิพากษาหรือคำาสั่งอันเป็นที่สุด
ก ข ได้ร่วมกันเช่ารถยนต์นั่งไปจาก ค ค. ฟ้อง ก ข ในข้อหาผิดสัญญาเช่าแต่ฟ้อง ก ที่ศาล
จังหวัดชลบุรี ฟ้อง ข ที่ศาลจังหวัดนนทบุรี ศาลจังหวัดชลบุรีตัดสินให้ ก ชนะ แต่ศาลจังหวัดนนทบุรี
ตัดสินให้ ข แพ้ ให้ ข ส่งมอบรถยนต์คืนแก่ ค และคดีทั้งสองศาลนั้นไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ ดังนี้ ในการ
ที่จะให้ถือตามคำาพิพากษาของศาลใดนั้น ก หรือ ข มีทางทำาประการใดบ้าง
เป็นกรณีการปฏิบัติชำาระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ และคำา พิพากษา 2 ศาลชั้นต้นขัดกัน
ก. หรือ ข. อาจยื่นคำา ร้องขอต่อศาลอุทธรณ์ให้มีคำา สั่งกำา หนดว่าจะให้ถือตามคำา พิพากษาของศาล
จังหวัดชลบุรีหรือศาลจังหวัดนนทบุรีตามมาตรา 147

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


49

มำตรำ 147 คำา พิพากษาหรือคำา สั่งใด ซึ่งตามกฎหมายจะอุทธรณ์ หรือฎีกาหรือมีคำา ขอให้


พิจารณาใหม่ไม่ได้นั้น ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ วันที่ได้อา่ นเป็นต้นไป
คำา พิพากษาหรือคำา สั่งใด ซึ่งอาจอุทธรณ์ ฎีกาหรือมีคำา ขอให้ พิจารณาใหม่ได้นั้น ถ้ามิได้
อุทธรณ์ ฎีกาหรือร้องขอให้พิจารณาใหม่ ภายในเวลาที่กำาหนดไว้ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลา
เช่นว่านั้น ได้สิ้นสุดลงถ้าได้มีอุทธรณ์ ฎีกา หรือมีคำา ขอให้พิจารณาใหม่ และ ศาลอุทธรณ์หรือศาล
ฎีกาหรือศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีเรื่องนั้นใหม่ มีคำา สั่งให้จำา หน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่
บัญญัติใน มำตรำ 132 คำาพิพากษาหรือคำาสั่งเช่นว่านั้นให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่มคี ำาสั่ง ให้จำาหน่าย
คดีจากสารบบความ
คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจยื่นคำาขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดี นั้นให้ออกใบสำาคัญแสดง
ว่าคำาพิพากษาหรือคำาสั่งในคดีนั้นได้ ถึงที่สุดแล้ว

8.3 ฟ้องซำ้ำ
1. คดีที่มีคำาพิพากษาหรือคำาสั่งถึงที่สุดแล้ว คู่ความเดียวกันจะรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่
ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่ได้
2. มีข้อยกเว้นมิให้ถือว่าเป็นการฟ้องซำ้าคือ (1) การดำาเนินกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตาม
คำาพิพากษาหรือคำาสั่งของศาล (2) เมื่อคำาพิพากษาหรือคำาสั่งได้กำาหนดวิธีการชั่วคราวให้
อยู่ในบังคับที่จะแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกเสียได้ตามพฤติการณ์ (3) เมื่อคำาพิพากษา
หรือคำาสั่งนั้นยกฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำาฟ้องมายื่นใหม่ ทั้งนี้ตามมาตรา 148
(1) ถึง (3)

8.3.1 หลักพิจารณาว่าฟ้องซำ้า
ก ข ฟ้อง ค ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมกัน ห้าม ค จำาเลยเข้า
เกี่ยวข้อง ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของ ก ข โจทก์ร่วมกัน คดีถึงที่สุด ค มาฟ้อง ข ขอแบ่งที่พิพาท
ในคดีก่อนครึ่งหนึ่ง ดังนี้ ท่านเห็นว่า ฟ้องคดีหลังเป็นฟ้องซำ้ากับคดีแรกหรือไม่
แม้ ก. ข. จะเป็นคู่ความเดียวกันมาก่อน แต่ในคดีหลังนี้ มีประเด็นต่างกับคดีแรก และมีเหตุ
คนละเหตุกับคดีแรกจึงไม่เป็นฟ้องซำ้า

8.3.2 ข้อยกเว้นเรื่องฟ้องซำ้า
โจทก์ฟ้องจำา เลยขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยพินัยกรรม และขอ
สงวนสิทธิที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่อีก ศาลพิพากษายกฟ้อง โดยไม่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามที่
ขอ ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำา เลยเป็นคดีอีกขอแบ่ งเงินฝากในธนาคารในฐานะทายาทโดยธรรม ดังนี้
โจทก์ฟ้องคดีหลังนี้ได้หรือไม่
ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551
50

เป็นฟ้องซำ้าตามมาตรา 148 กรณีไม่ต้องด้วยอนุมาตรา (3)


มำตรำ 148 คดีที่ได้มีคำาพิพากษาหรือคำาสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้ คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้อง
กันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัย เหตุอย่างเดียวกันเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำาพิพากษาหรือ คำาสั่งของศาล
(2) เมื่ อคำา พิพากษา หรื อคำา สั่งได้ กำา หนดวิธี การชั่วคราวให้ อยู่ ภายในบั งคั บ ที่ จ ะแก้ ไ ข
เปลี่ยน แปลงหรือยกเลิกเสียได้ตามพฤติการณ์
(3) เมื่อคำาพิพากษาหรือคำาสั่งนั้นให้ยกคำาฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิ โจทก์ที่จะนำาคำาฟ้องมายืน่
ใหม่ ในศาลเดียวกันหรือในศาลอื่น ภายใต้ บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ

แบบประเมินผลหน่วยที่ 8
1. โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแขวง ศาลแขวงยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าเป็นคดีเกินอำานาจศาลแขวง โจทก์
นำาคดีไปฟ้องศาลแพ่ง ศาลแพ่งยกฟ้องอีกโดยวินิจฉัยว่าเป็นคดีอยู่ในอำานาจศาลแขวง โจทก์
จึงมายื่นฟ้องต่อศาลแขวงอีกครั้งหนึ่ง หากท่านเป็นศาลแขวง จะสั่งให้รับฟ้องไว้พิจารณา
เพราะศาลยังมิได้พิพากษา หรือวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องอันเป็นมูลฟ้องนัน้
2. ในคดี เ รื่ อ งศาลอุ ท ธรณ์ พิ พ ากษายกคำา พิ พ ากษาศาลชั้ น ต้ น และส่ ง สำา นวนให้ ศ าลชั้ น ต้ น
พิจารณาและพิพากษาคดีเรื่องนั้นใหม่ ทำาได้ไม่ถือว่าเป็นการดำาเนินกระบวนพิจารณาซำ้า
3. จำา เลยขาดนั ด พิ จ ารณาศาลสั่ ง ว่ า จำา เลยขาดนั ด พิ จ ารณาและพิ จ ารณาคดี ไ ปฝ่ า ยเดี ย ว คำา
พิพากษานี้ ผูกพันจำา เลย เพราะคำา พิพากษาย่อมผูกพันคู่ความ แม้จำา เลยจะขาดนัดก็ยังเป็นคู่
ความอยู่
4. ดำาและขาวร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องแดงขอให้ศาลพิพากษาสั่งแสดงว่าที่ดน ิ พิพาทเป็นของโจทก์
ทั้งสอง ห้ามแดงเข้าเกี่ยวข้อง ศาลพิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ทั้งสอง ต่อมา ดำาจะมาฟ้อง
ขาว หรือขาวจะมาฟ้องดำาในภายหลังว่าที่ดินเป็นของตนแต่ผู้เดียว เช่นนี้จะ ฟ้องไม่ได้เพราะ
คำาพิพากษาผูกพันดำาและขาว
5. คำาพิพากษาตั้งนาย ก. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คำาพิพากษาข้อนี้ใช้ยันบุคคลภายนอกไม่
ได้
6. ในคดีเรื่องหนึ่งซึ่งตามกฎหมายจะอุทธรณ์หรือฎีกาหรือมีคำา ขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้ ศาล
พิพากษาให้จำา เลยชำา ระเงินให้โจทก์ตามฟ้องพร้อมด้วยดอกเบี้ยจนถึงวันชำา ระ โดยอ่านคำา
พิพากษาเมื่อ 1 มีนาคม 2535 คดีนี้ถึงที่สุดเมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2535
7. หลักเกณฑ์ในเรื่องฟ้องซำ้า เช่น คู่ความเดียวกัน มีคำา พิพากษาหรือคำา สั่งถึงที่สุดแล้ว รื้อร้อง
ฟ้องกันในประเด็นที่วินิจฉัยเหตุอย่างเดียวกัน

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


51

8. จำาเลยชนะคดีโจทก์เรื่องเงินกู้และยึดทรัพย์ใช้หนี้ไปแล้ว ต่อมามีคำาพิพากษาคดีอาญาว่าโจทก์
ไม่ได้ทำาหนังสือกู้เงินจำา เลย โจทก์จึงมาฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินคืนจากจำา เลย เรื่องเช่นนี้ เป็น
ฟ้องซำ้า
9. โจทก์เคยถูกจำาเลยฟ้องเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน ศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นของโจทก์ จึงยกฟ้อง
ที่จำาเลยฟ้องโจทก์เสีย โจทก์จึงมาฟ้องคดีใหม่ให้จำาเลยรื้อสิ่งที่รุกลิออกไป เช่นนี้ ไม่เป็นการ
ฟ้องซำ้า
10. ศาลวินิจฉัยในคดีหนึ่งว่าการตั้งตัวแทนไปประมูลซื้อที่ดินที่ขายทอดตลาดไม่ต้องมีหลักฐาน
เป็นหนังสือ จึงพิพากษาให้จำา เลยโอนที่ดินให้โจทก์ โจทก์จะอาศัยคำา พิพากษานี้ยันบุคคล
ภายนอก ไม่ได้ เพราะคำา พิพากษาดังกล่าวมิใช่เป็นคำา พิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่ง
ทรัพย์สินอันเป็นคุณแก่โจทก์ตามมาตรา 145 (2)

หน่วยที่ 9 ค่ำฤชำธรรมเนียม

1. การดำา เนินคดีแพ่งในศาล กฎหมายกำา หนดให้คู่ความต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ต่างๆ นับ


ตั้งแต่มีการยื่นคำาฟ้อง ฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกาและในระหว่างดำาเนินกระบวนพิจารณายังต้อง
เสีย ค่า ธรรมเนี ย ม อื่ น ๆ อี ก เช่น คำา ร้ อ ง คำา ขอ ค่ า ป่ ว ยการพยานและผู้ เ ชี่ ย วชาญ และค่ า
ธรรมเนี ย มในการส่ ง หมายหลั ง จากคดี ถึ ง ที่ สุ ด แล้ ว เมื่ อ มี ก ารบุ ง คั บ คดี จ ะต้ อ งเสี ย ค่ า
ธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีอีกด้วย
2. ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้คู่ความฝ่ายนั้นมีสิทธิยื่น
คำาร้องขอดำาเนินคดีอย่างคนอนาถา โดยปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีการที่กฎหมายกำาหนดไว้
3. คูค่ วามมีหน้าที่ชำาระค่าฤชาธรรมเนียม มิใช่เป็นผู้ที่จะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเสมอไป
ตามปกติกฎหมายกำา หนดให้ผู้แพ้คดีมีหน้าที่ในการชำา ระค่าฤชาธรรมเนียม แต่ศาลอาจใช้
ดุลพินิจพิจารณาสั่งเป็นอย่างอื่นได้

9.1 กำรกำำหนดและกำรชำำระค่ำฤชำธรรมเนียม
1. การยื่นฟ้อง ฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกาในคดีแพ่งจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล และการดำา เนิน
กระบวนพิจารณาบางกรณีต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเช่นกัน
2. การฟ้องคดีแพ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมศาลอย่างหนึ่ง กฎหมายได้กำา หนด
เรียกค่าขึ้นศาลโดยพิจารณาว่าคดีนั้นเป็นคดีที่มีคำาขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำานวณเป็นราคา
เงินได้หรือไม่
3. เมื่อชำาระค่าธรรมเนียมศาลไปแล้ว อาจมีการสั่งคืนกันภายหลัง

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


52

9.1.1 ผูม้ ีหน้าที่ชำาระค่าธรรมเนียมศาลและเงินต่างๆ


ผูใ้ ดมีหน้าที่ต้องชำาระค่าธรรมเนียมศาล
ผู้ที่ยื่นคำาฟ้อง ฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกาหรือผู้ดำาเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นผู้
มีหน้าที่ชำาระค่าธรรมเนียมศาล หรือในกรณีที่กระบวนพิจารณาได้กระทำาโดยคำาสั่งศาล คู่ความฝ่ายที่
ศาลระบุไว้ในคำาสั่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมศาล

ถ้าคู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องชำาระค่าธรรมเนียมศาล ไม่ชำาระค่าธรรมเนียมศาล ศาลจะมีวิธี


การบังคับอย่างไร
ถ้าคู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องชำาระค่าธรรมเนียมศาลแล้วไม่ยอมชำาระ ศาลอาจมีคำา สั่งให้งด
การดำาเนินกระบวนพิจารณาหรือศาลอาจสั่งให้เรียกค่าธรรมเนียมศาลจากคู่ความทั้งสองฝ่าย หรือแต่
ฝ่ายเดียวก็ได้

9.1.2 การกำาหนดค่าธรรมเนียมศาลและเงินอืน่ ๆ
ศาลถือหลักเกณฑ์อะไรในการกำาหนดเรียกค่าขึ้นศาล
ศาลกำา หนดเรียกค่าขึ้นศาลตามประเภทคดีว่าเป็นคดีที่มีคำา ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันอาจ
คำานวณเป็นราคาเงินได้หรือไม่

อธิบายโดยย่อเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยว่า คดีเรื่องใดเป็นคดีที่มีคำาขอให้ปลดเปลื้อง
ทุกข์อนั อาจคำานวณเป็นราคาเงินได้
ต้องพิจารณาจากคำาฟ้องของโจทก์ว่าตามคำาขอท้ายฟ้อง ถ้าโจทก์ชนะคดีแล้ว โจทก์จะได้เงิน
หรือทรัพย์สินไป ก็เป็นคดีที่มีคำาขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อนั อาจคำานวณเป็นราคาเงินได้

9.1.3 การคืนค่าธรรมเนียมศาล
ในกรณีใดบ้างที่ศาลจะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด
เมื่อศาลมีคำาสั่งไม่รับคำาฟ้อง หรือไม่รับคำาฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา หรือเมื่อมีคำาขอให้พิจารณา
คดีใหม่และศาลไม่รับคำา ขอให้พิจารณาคดีใหม่ หรือศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำา สั่งให้ยกอุทธรณ์
หรือฎีกาโดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์หรือฎีกา

กรณีใดบ้างที่ศาลมีอำานาจใช้ดุลพินิจสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
เมื่อมีการถอนฟ้องหรือเมื่อศาลได้ตัดสินยกคำา ฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่
หรือเมื่อคดีนั้นได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความ

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


53

9.2 กำรดำำเนินคดีอย่ำงคนอนำถำ
1. การขอดำาเนินคดีอย่างคนอนาถาจะต้องปฏิบัติตามวิธีการที่กฎหมายกำาหนดไว้
2. ในการพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ดำาเนินคดีอย่างคนอนาถาหรือไม่ ศาลจะต้องวินิจฉัยตามหลัก
เกณฑ์ที่กฎหมายกำาหนดไว้
3. เมื่อศาลไม่อนุญาตให้ดำาเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว ผูร้ ้องอาจมีวิธีการร้องขอได้อีก

9.2.1 วิธีการร้องขอดำาเนินคดีอย่างคนอนาถา
ระยะเวลาที่จะยื่นคำาร้องขอดำาเนินคดีอย่างคนอนาถามีอยู่ในตอนใด
ระยะเวลาที่ยื่นคำา ร้องขอดำา เนินคดีอย่างคนอนาถามีอยู่ 2 ตอนคือ (1) ยื่นพร้อมกับคำา ฟ้อง
ฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา (2) ยื่นภายหลังได้ยื่นคำาฟ้อง คำาให้การ คำาฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา

คูค่ วามฝ่ายที่ได้รับอนุญาตให้ดำาเนินคดีอย่างคนอนาถาจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าฤชา
ธรรมเนียมศาลอย่างใดบ้าง
จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ในการดำาเนินกระบวนพิจารณาในศาลที่เกิดขึ้น
ภายหลังที่ได้รับอนุญาตให้ดำาเนินคดีอย่างคนอนาถา

9.2.2 หลักเกณฑ์ที่ศาลจะอนุญาตให้ดำาเนินการอย่างคนอนาถา
เมื่อศาลได้รับคำาร้องขอดำาเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว ศาลจำาเป็นจะต้องไต่สวนเสมอไปหรือ
ไม่
เมื่อศาลได้รับคำาร้องขอดำาเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว ถ้าศาลอนุญาตศาลจะต้องไต่สวนก่อน
ถ้าศาลจะสั่งไม่อนุญาต ศาลไม่จำาเป็นต้องทำาการไต่สวน

ถ้าศาลมีคำาสั่งอนุญาตให้ดำาเนินคดีอย่างคนอนาถาเฉพาะบางส่วนหรือยกคำาขอเสียทีเดียว ผู้
ร้องขอมีสิทธิที่จะดำาเนินการต่อไปอย่างไร
ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำาร้องขอให้พิจารณาคำาขอใหม่ หรืออุทธรณ์คำาสั่งที่ไม่อนุญาตให้ดำาเนินคดี
อย่างคนอนาถาได้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำาสั่ง

9.2.3 กระบวนพิจารณาภายหลังจากศาลได้มคี ำาสั่งอนุญาตให้ดำาเนินคดีอย่างคนอนาถา


เมื่ อ ปรากฏภายหลั ง ว่ า ผู้ ฟ้ อ ง หรื อ ต่ อ สู้ ค ดี อ ย่ า งคนอนาถามี ท รั พ ย์ สิ น ที่ จ ะเสี ย ค่ า ฤชา
ธรรมเนียมได้ ศาลจะมีคำาสั่งเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นอย่างไร

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


54

ศาลจะมีคำาสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินเช่นว่านั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วนไว้รอคำา วินิจฉัย


ชีข้ าดในค่าฤชาธรรมเนียม

มีเหตุเกี่ยวกับผู้ได้รับอนุญาตให้ดำาเนินคดีอย่างคนอนาถาอย่างใดบ้าง ที่ศาลจะมีคำา สั่งเพิก


ถอนคำาสั่งอนุญาตให้ดำาเนินคดีอย่างคนอนาถาเสีย
เมื่อผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ฟ้องหรือต่อสู่คดีอย่างคนอนาถาประพฤติตนไม่เรียบร้อย เช่นดำาเนิน
กระบวนพิจารณาฝนทางก่อความรำาคาญถึงขนาดหรือกระทำาละเมิดอำานาจศาลหรือประวิงความเรื่อง
นัน้ ให้ลา่ ช้า

9.3 ควำมรับผิดในค่ำฤชำธรรมเนียม
1. หน้าที่ในการชำาระค่าธรรมเนียมศาลกับความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมนั้นแตกต่างกัน
2. เมื่อมีการวางเงินต่อศาล จะทำาให้ผู้วางเงินไม่ต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมของเงินส่วนนั้น
3. การอุทธรณ์หรื อฎี ก าคำา พิพากษาหรือคำา สั่งศาลจะอุท ธรณ์หรื อฎี กาค่าฤชาธรรมเนีย มใน
ประเด็นเดียวไม่ได้

9.3.1 ผูม้ ีหน้าที่ต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม


ค่าฤชาธรรมเนียมหมายความถึงเงินประเภทใด
ค่าฤชาธรรมเนียมหมายถึง เงินค่าธรรมเนียมศาลและเงินอื่นๆ ทั้งหมดที่คู่ความได้เสียไป
ตามกฎหมายในระหว่างดำาเนินคดี

ตามปกติคู่ความฝ่ายใดจะต้องรับผิดชั้นที่สุดในค่าฤชาธรรมเนียม
ตามปกติคู่ความฝ่ายที่แพ้คดีจะต้องเป็นผู้รับผิดชั้นที่สุดในค่าฤชาธรรมเนียม เว้นแต่ศาลจะมี
คำาสั่งเป็นอย่างอื่น

9.3.2 ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมภายหลังที่จำาเลยได้วางเงินหรือชำาระหนี้ให้โจทก์
เมื่อจำาเลยถูกฟ้องเรียกเงิน จำาเลยได้นำาเงินไปวางศาลเพื่อให้โจทก์รับไป จำาเลยจะไม่ต้องรับ
ผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนใด
เมื่อจำาเลยนำาเงินไปวางศาล จำาเลยไม่ต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแห่งจำานวนเงินที่วางนั้น
อันเกิดขึ้นภายหลังจากการวางเงิน

9.3.3 สิทธิการอุทธรณ์หรือฎีกาคำาพิพากษาหรือคำาสั่งศาลเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียม
การอุทธรณ์หรือฤชาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมีข้อห้ามอย่างไรบ้าง

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


55

ตามกฎหมายห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาเรื่องค่าธรรมเนียมแต่อย่างเดียว เว้น
แต่ได้ยกเหตุว่าค่าธรรมเนียมนั้น มิได้กำาหนดหรือคำานวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย

แบบประเมินผลหน่วยที่ 9
1. เมื่อยืน ่ คำาฟ้อง โจทก์ จะต้องเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมศาล
2. โจทก์ฟ้องขับไล่จำาเลยและจำาเลยไม่ได้ต่อสู้ เป็นคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์
3. การที่จะต้องรู้ว่าคดีใดเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์หรือไม่เพื่อประโยชน์ เพื่อกำา หนดค่าธรรมเนียม
ศาล
4. มีหลักเกณฑ์เสียค่าขึ้นศาลในการอุทธรณ์หรือฎีกาคือ ต้องเสียเท่ากับศาลชั้นต้นหรืออาจน้อย
กว่าหรือมากกว่าตามจำานวนทุนทรัพย์ที่ลดลงหรือเพิ่มขึน้
5. เมื่อศาลพิจารณาคดีและพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาล
6. เหตุผลสำาคัญในการขอฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาคือ เป็นคนยากจนและไม่สามารถเสีย
ค่าธรรมเนียมศาลได้
7. ค่าตรวจพิสูจน์ลานมือชื่อของกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำารวจ ไม่ใช่ค่าธรรมเนียมศาล
8. ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในชั้นที่สุดสำา หรับค่าฤชาธรรมเนียม คือ ผู้ที่ศาลมีคำา พิพากษาให้เป็น
ผูร้ ับผิด
9. ถ้าจำา เลยวางเงินต่อศาลและโจทก์ยอมรับเงินเป็นการพอใจเต็มตามที่เรียกร้องทำา ให้จำา เลย
หลุดพ้นจากความรับผิดใน ค่าฤชาธรรมเนียมที่เกิดขึ้นหลังการวางเงิน
10. เมื่ อ ศาลพิ พากษาเรื่ อ งค่ า ฤชาธรรมเนี ย มแล้ ว คู่ ค วามจะอุ ท ธรณ์ เ รื่ อ งค่ า ฤชาธรรมเนี ย ม
อุทธรณ์ได้เมื่อได้อุทธรณ์ประเด็นแห่งคดีแล้ว
11. ค่าขึ้นศาลต้องเสียเมื่อ ยืน่ คำาฟ้อง ฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา
12. การฟ้องขอให้เพิกถอนคำาสั่งประเมินภาษี เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์
13. การกำาหนดค่าขึ้นศาลถือหลักในการพิจารณาในเรื่อง เป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่
14. ศาลชัน ้ ต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี 30,000 บาท โจทก์อุทธรณ์ขอให้พิพากษาให้โจทก์ชนะ
50,000 บาท เต็มตามฟ้อง โจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลในจำา นวนทุนทรัพย์ เท่ากับ 20,000
บาท
15. กรณีที่ศาลจะคืนค่าธรรมเนียมศาล เมื่อศาลมีคำาสั่งไม่รับฟ้อง
16. ศาลจะอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาต่อเมื่อปรากฏว่า ฟ้องของโจทก์ มีมูลและโจทก์
ยากจนไม่สามารถชำาระค่าธรรมเนียมได้
17. ค่าทนายความที่ต้องเสียไปจริงๆ ไม่ถือว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียม
18. ตามกฎหมายผู้ที่จะต้องเป็นผู้รับผิดในชั้นสุดสำาหรับค่าฤชาธรรมเนียมคือ ผู้แพ้คดี

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


56

19. การที่ จำา เลยวางเงิ น เมื่ อ ถู ก ฟ้ อ งคดี จ ะมี ผ ลให้ จำา เลยหลุ ด พ้ น จากความรั บ ผิ ด ในเรื่ อ ง ค่ า
ธรรมเนียมศาลภายหลังที่มีการวางเงิน
20. กฎหมายห้ามอุทธรณ์เรื่องค่าธรรมเนียมในกรณี ห้ามอุทธรณ์ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียง
อย่างเดียว

หน่วยที่ 10 หลักทัว่ ไปของกฎหมำยลักษณะพยำนหลักฐำน (1)

1. ข้ออ้างข้อเถียงในแต่ละคดีมักจะมีหลายข้อ แต่ละข้อเรียกว่าประเด็นแห่งคดีซึ่งแบ่งเป็นข้อ
เท็จจริงอย่างหนึ่ง และข้อกฎหมายอีกอย่างหนึ่ง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้นศาล
ย่อมอาศัยข้อเท็จจริงที่ฟังยุติแล้ว ส่วนการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลต้องอาศัยพยาน
หลักฐานที่คู่ความนำาสืบเข้าสู่สำานวนความตามที่เขากล่าวอ้าง เว้นแต่ กรณีที่กฎหมายบัญญัติ
ยกเว้นให้ หรือถือว่าเป็นเรื่องที่ศาลรู้ได้เอง
2. สำา หรับปัญหาข้อเท็จจริง ที่จะต้องอาศัยพยานหลัก ฐานเป็นหลักในการวินิจฉัยชี้ขาดนั้น
ระบบกฎหมายของไทยกำาหนดให้เป็นหน้าที่ของคู่ความที่จะต้องนำา สืบ ให้ศาลเห็นข้อเท็จ
จริงที่ตนกล่าวอ้างเรียกกันตามภาษาตำาราว่าภาระการพิสูจน์จะต้องพิเคราะห์ต่อไปว่าภาระ
การพิสูจน์แต่ละประเภทจะตกอยู่แก่หรือเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายใด
3. เมื่อทราบว่าภาระการพิสูจน์ในประเด็นใดตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายใดแล้ว ก็ยังจะต้องพิจารณาต่อ
ไปว่าในคดีนั้นควรจะให้คู่ความฝ่ายใดนำาพยานหลักฐานของตนมาเสนอต่อศาลก่อนหลังกัน

10.1เรื่องที่ศำลรู้ได้เอง
1. ปัญหาข้อกฎหมายนั้น เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยเอง
2. ปัญหาข้อเท็จจริงนั้นศาลไม่อาจรู้ได้ จำา เป็นจะต้องพิสูจน์ด้วยพยานหลักฐานเว้นแต่ข้อเท็จ
จริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป หรือซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ และซึ่งศาลเห็นว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้
รับแล้ว

10.1.1เรื่องที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดโดยความรู้ของศาล
ปัญหาข้อกฎหมายกับปัญหาข้อเท็จจริงต่างกันอย่างไร อธิบาย
ปัญหาข้อกฎหมายคือ ปัญหาการตีความตัวบทกฎหมาย ซึ่งศาลจะวินิจฉัยชี่ขาดได้เองทันที
โดยไม่ต้องฟังพยานหลักฐาน ส่วนปัญหาที่ยังจะต้องมีการฟังพยานหลักฐานต่อไปอีกนั้น ถือเป็น
ปัญหาข้อเท็จจริง

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


57

เรื่องที่จะต้องพิสูจน์ดว้ ยพยานหลักฐาน
มีปญ ั หาข้อเท็จจริงใดบ้าง ที่ศาลสามารถรับรู้ได้เอง
1.) ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกันในศาล
2.) ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นทีร่ ู้กันอยู่ทั่วไป
3.) ข้อเท็จจริงซึ่งมิอาจโต้แย้งได้

10.2 ภำระกำรพิสูจน์และหน้ำที่นำำสืบก่อน
1. ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานหลักฐาน หรือพยานหลักฐานของคู่ความทุกฝ่ายมีนำ้าหนักกำ้ากึ่ง
กัน คูค่ วามฝ่ายที่มีภาระการพิสูจน์ในประเด็นใด ย่อมต้องเป็นฝ่ายแพ้ในประเด็นนั้น
2. ตามปกติคู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ก็จะต้องมีภาระการพิสูจน์ในข้อเท็จจริงนั้น
เว้นแต่จะมีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายนั้น
3. ผูท้ ี่มีภาระการพิสูจน์ในประเด็นสำาคัญมากกว่า ต้องนำาพยานหลักฐานเข้าสืบก่อน

7.2.4 ความสำาคัญของภาระการพิสูจน์
ให้อธิบายว่า ภารการพิสูจน์มีความสำาคัญอย่างไร
ภาระพิสูจน์มีความสำาคัญ 3 ประการคือ
1.) เมื่อเป็นเรื่องที่อยู่ในภาระการพิสูจน์ของคู่ความแล้วศาลจะไปรับฟังข้อ
เท็จจรองนอกสำานวนไม่ได้ ต้องฟังจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำาสืบ
เข้ามาในคดีเท่านั้น
2.) ถ้ า ผู้ มี ภ ารการพิ สู จ น์ ใ นประเด็ น ใดไม่ นำา พยานหลั ก ฐานพิ สู จ น์ ใ น
ประเด็นนั้นหรื อนำา มาพิสูจน์ ได้ ไม่ เป็น ที่น่าเชื่อ ถือ พอ ผู้มี ภาระการ
พิสูจน์ต้องแพ้ในประเด็นนั้น
3.) ภาระการพิสูจ น์จ ะเป็นปั จจั ยที่ สำา คัญ ในการกำา หนดหน้า ที่นำา พยาน
หลักฐานเข้าสืบก่อน

7.2.5 หลักในการกำาหนดภาระการพิสูจน์
หลักกฎหมายที่ว่าผู้กล่าวอ้างอิงต้องพิสูจน์นั้นมีข้อยกเว้นหรือไม่ ในกรณีใดบ้าง
หลักที่วา่ ผู้กล่าวอ้างต้องพิสูจน์ มีข้อยกเว้นคือ
1. กรณีมีข้อสันนิษฐานตามกฎหมายเป็นคุณแก่ผู้อา้ ง
2. กรณีมีข้อสันนิษฐานตามความเป็นจริงเป็นคุณแก่ผู้อ้าง
3. กรณีที่เรื่องที่อ้างนั้นเป็นเรื่องที่ศาลได้รู้เอง
4. กรณีมีข้อตกลงของคู่ความเป็นอย่างอื่น
ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551
58

7.2.6 หน้าที่นำาพยานหลักฐานเข้าสืบก่อนในแต่ละคดี
อธิบายถึงหลักเกณฑ์ ในการกำาหนดหน้าที่นำาพยานหลักฐานเข้าสูบก่อนว่ามีอยู่อย่างไร
ผู้มีภาระการพิสูจน์ในประเด็นที่สำาคัญมากกว่าย่อมเป็นผู้ต้องนำาพยานหลักฐานเข้าสืบก่อน
ในคดีนั้น เว้นแต่
1. กรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน
2. จำาเลยขาดนัดยื่นคำาให้การ
3. คำาให้การของจำาเลยเป็นการยอมรับโดยชัดแจ้งตามคำาฟ้องโจทย์ทั้งสิ้น
4. คำาให้การของจำาเลยเป็นคำาให้การปฏิเสธโดยไร้เหตุผล
5. ศาลงดสืบพยาน
6. คดีมโนสาเร่ และคดีไม่มีข้อยุ่งยาก
7. คดีไม่มีข้อยุ่งยากที่ศาลจะต้องสอบถามคูค่ วาม
8. คูค่ วามตกลงกันเป็นอย่างอื่น
9. ศาลสั่งผิดและคูค่ วามมิได้โต้แย้งคัดค้าน

แบบประเมินผลหน่วยที่ 10
1. เรื่องที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดได้ด้วยความรู้ของศาลเองได้แก่ กฎหมายไทย
2. เรื่องที่จะต้องพิสูจน์ดว้ ยพยานหลักฐานคือ ปัญหาข้อเท็จจริง
3. จำาเลยกระทำาการอันใด อาจเป็นประมาทได้หรือไม่ จัดเป็นปัญหา ข้อกฎหมาย
4. ภาระการพิสูจน์มีความสำาคัญคือ เป็นปัจจัยกำาหนดหน้าที่นำาสืบก่อน และ หากพิสูจน์ไม่ได้ผู้
มีภาระพิสูจน์ต้องแพ้
5. หลักทั่วไปในการหาว่าภาระการพิสูจน์จะตกแก่คู่ความฝ่ายใดได้แก่ ผู้ใดกล่าวอ้าง ผูน ้ ั้นต้อง
พิสูจน์
6. ในประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ศาลวินิจฉัยได้เอง
7. หลักที่วา่ ผู้กล่าวอ้างต้องพิสูจน์ มีข้อยกเว้นคือ (ก) กรณีมีข้อสันนิษฐานเป็นคุณแก่ผู้อ้าง (ข)
กรณีนนั้ เป็นเรื่องที่ศาลรู้ได้เอง (ค) กรณีที่คู่ความตกลงกันเป็นอย่างอื่น
8. ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียหารเท่าใดนั้น ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์เสมอ
9. หลักทั่วไปในเรื่องหน้าที่นำาพยานหลักฐานเข้าสืบก่อนในคดีแพ่งมีว่า ผู้มีภาระการพิสูจน์ใน
ประเด็นที่สำาคัญมากกว่าจะต้องนำาพยานหลักฐานเข้าสืบก่อนทั้งคดี
10. ในคดีแพ่งที่มีจำาเลยคนใดคนหนึ่งขาดนัดยื่นคำาให้การศาลจะกำาหนดหน้าที่นำาพยานหลักฐาน
เข้าสืบก่อน คือ ให้โจทก์นำาสืบก่อนเสมอ

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


59

หน่วยที่ 11 หลักทัว่ ไปของกฎหมำยลักษณะพยำนหลักฐำน (2)

1. คูค่ วามฝ่ายที่มีหน้าที่นำาสืบข้อเท็จจริงย่อมมีสิทธิที่จะนำาพยานหลักฐานใดๆ มาสืบได้ แต่ศาล


ก็มีอำา นาจที่จะปฏิเสธไม่รับพยานหลักฐานนั้นได้ ถ้าเห็นว่าพยานหลักฐานนั้นรับฟังไม่ได้
ตามกฎหมายหรือยื่นเสนอต่อศาลโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และมีอำานาจที่จะงดการสืบพยาน
หลักฐานนั้น ถ้าเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานฟุ่มเฟือยเกินสมควร หรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่
เกี่ยวกับประเด็น อย่างไรก็ตามหากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลอาจ
อนุญาตให้นำาพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมหรือเรียกพยานที่สืบ
แล้วมาสืบใหม่โดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอก็ได้
2. เมื่อคู่ความประสงค์จะอ้างพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน คู่ความฝ่าย
นั้นจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ส่วนการอ้างพยาน
หลักฐานเพิ่มเติมอาจทำา ได้ โดยทำาคำา แถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมพร้อมบัญชีระบุพยานเพิ่ม
เติมต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันสืบพยาน เมื่อระยะเวลาที่กำาหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานสิ้น
สุดลง คู่ความอาจยื่นคำาร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนพิพากษาคดีได้ แต่ศาล
จะอนุญาตตามคำาร้องก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควร และเมื่อมีการวินิจฉัยข้อสำาคัญแห่ง
ประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมจำาเป็นจะต้องรับพยานหลักฐานเช่นว่านั้น
3. ถ้าคู่ความประสงค์ที่จะนำา สืบพยานหลักฐานเพื่อหักล้างคำา พยานของฝ่ายที่นำา สืบก่อน หรือ
เพื่อพิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งพยานของฝ่ายที่นำาสืบก่อนได้กระทำาขึ้น คู่ความฝ่าย
นั้นต้องถามค้านพยานของฝ่ายที่นำา สืบไว้ก่อนเสียแต่แรก เพื่อให้พยานมีโอกาสอธิบายถึง
ความเหล่านั้น มิฉะนั้นคู่ความฝ่ายนั้นจะนำาสืบหักล้างในภายหลังไม่ได้

11.1 หลักทั่วไปเกี่ยวกับกำรรับฟังพยำนหลักฐำนของศำล
1. คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำาสืบข้อเท็จจริงย่อมมีสิทธิที่จะนำาพยานหลักฐานใดๆ มาสืบได้ แต่จะ
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยืน่ พยานหลักฐาน
2. ศาลมีอำานาจที่จะปฏิเสธไม่รับพยานหลักฐานได้ ถ้าเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานนั้นรับฟังไม่ได้
ตามกฎหมายหรือได้ยื่นเสนอต่ อศาลโดยฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย หรือ เป็น พยานฟุ่มเฟือ ยหรือ
ประวิงให้ชักช้า หรือไม่เกี่ยวกับประเด็น อย่างไรก็ตาม หากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่ง
ความยุติธรรมศาลอาจอนุญาตให้นำา พยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่ม
เติมหรือหมายเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่โดยไม่ต้องมีฝ่ายในร้องขอก็ได้
3. ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่พยานหลักฐานนั้นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่จะต้อง
นำาสืบ และคู่ความฝ่ายที่อ้างหลักฐานนั้นได้แสดงความจำานงที่อ้างอิงพยานหลักฐานตามหลัก

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


60

เกณฑ์และวิธีการที่กำา หนดไว้แล้ว เว้นแต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลอาจรับฟัง


พยานหลักฐานอันสำา คัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำา คัญในคดีได้ แม้ฝ่าฝืน ต่อ หลั กเกณฑ์ ที่
กำาหนด

11.1.1 สิทธิของคูค่ วามในการนำาสืบ


ในคดีฟ้องขับไล่ซึ่งโจทก์มีหน้าที่นำา พยานเข้าสืบก่อน จำา เลยจะนำา สืบพยานหลักฐานว่า
จำาเลยมีสิทธิอยู่ในที่พิพาทเพราะจำาเลยเช่าที่พิพาทจากโจทก์และสัญญาเช่ายังไม่ครบกำาหนดได้หรือ
ไม่
ได้ ถ้าจำาเลยให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ แม้มาตรา 85 จะใช้ถ้อยคำาว่า “คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่
นำาสืบข้อเท็จจริง” แต่หมายถึงคู่ความทุกฝ่ายที่มีประเด็นนำาสืบ

11.1.2 อำานาจศาลเกี่ยวกับการสืบพยานหลักฐาน
ในคดีฟ้องเรียกเงินกู้คืน
โจทก์นำาหนังสือสัญญากู้ปลอมมายื่นต่อศาล ศาลจะต้องรับหนังสือสัญญากู้ปลอมไว้เป็น
พยานหลักฐานหรือไม่
ไม่ต้อง เพราะหนังสือสัญญากู้ปลอมเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ด้วยตัวมันเอง ศาลมี
อำานาจปฏิเสธไม่รับพยานหลักฐานนี้ไว้ได้

โจทก์จะนำาสืบว่าจำาเลยเคยกู้เงินไปจากโจทก์หลายครั้งซึ่งจำาเลยไม่เคยชำาระเงินคืนเลยได้หรือ
ไม่
ไม่ได้ เพราะเป็นพยานหลักฐานไม่เกี่ยวแก่ประเด็น ประเด็นว่ามีจำาเลยได้กู้เงินตามฟ้องไป
จากโจทก์แล้วได้ชำาระคืนหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับกู้เงินรายอื่นๆ

โจทก์นำา สืบอ้างว่า นายดำาผู้เขียนหนังสือสัญญากู้ได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่ครั้งเมื่อโจทก์


จำาเลยสืบพยานเสร็จก่อนศาลพิพากษา ปรากฏว่านายดำายังไม่ถึงแก่กรรมเพียงแต่อพยพไปอยู่ต่างถิ่น
และได้กลับมาอยู่บา้ นเดิมแล้ว เช่นนี้ จำาเลยจะอ้างนายดำาเป็นพยานเพิ่มเติมอีกได้หรือไม่
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำานาจสั่งให้จำาเลยนำาสืบนายดำาเป็นพยานได้

11.1.3 การปฏิเสธไม่รับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 มกราคม จำาเลยกู้เงิน 5,000 บาท ไปจากโจทก์ กำาหนดชำาระคืน
ภายใน 1 เดือนครบกำาหนดแล้วจำาเลยไม่ชำาระ ขอให้ศาลบังคับ จำาเลยให้การต่อสู้ว่า ได้ชำาระเงินกู้ดัง
กล่าวครบถ้วนแล้วเมื่อหนี้ถึงกำาหนดชำาระ เช่นนี้

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


61

โจทก์จะนำา สืบว่าเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ จำาเลยได้ทำาหนังสือรับสภาพหนี้ว่าจะชำาระหนี้


เงินกู้ดังกล่าวในวันที่ 1 มีนาคม แล้วจำาเลยยังไม่ชำาระเงินคืนตามหนังสือรับสภาพหนี้ ได้หรือไม่
ได้ เพราะประเด็นมีว่า จำาเลยได้ชำาระเงินกู้คืนให้โจทก์แล้วหรือไม่ การที่โจทก์จะนำาสืบถึง
เรื่องหนังสือรับสภาพหนี้ จึงเป็นการนำาสืบฝนประเด็นโยตรง

โจทก์ส่งสำาเนาหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวให้จำาเลยภายในกำาหนดเวลาตามมาตรา 90 แต่
ปรากฏว่าโจทก์มิได้อ้างหนังสือรับสภาพหนี้นั้นไว้ในบัญชีระบุพยาน ศาลจะรับฟังหนังสือรับสภาพ
หนี้ดังกล่าวได้หรือไม่
ได้ โดยอาศัยอำา นาจในมาตรา 87(2) ในกรณีโจทก์ได้ส่งสำา เนาหนังสือรับ สภาพหนี้ให้
จำาเลยแล้ว ไม่ได้มีเจตนาจะเอารัดเอาเปรียบทางคดี ดังนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ประกอบ
กับหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานชิ้นสำาคัญในประเด็นที่ว่า จำาเลยได้ชำาระเงินกู้ให้
แก่โจทก์แล้วหรือไม่ ศาลมีอำานาจที่จะรับฟังหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวได้

11.2 หลักทั่วไปเกี่ยวกับกำรอ้ำงพยำนหลักฐำนและกำรนำำสืบหักล้ำงพยำนหลักฐำน
1. เมื่อคูค่ วามประสงค์จะอ้างอิงพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน คูค่ วามฝ่าย
นั้นจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ส่วนการอ้างพยาน
หลักฐานเพิ่มเติมอาจทำาได้โดยยื่นคำาแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลพร้อมบัญชีระบุพยาน
ภายใน 15 วัน นับแต่วันสืบพยาน หากระยะเวลาดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว การขอระบุพยาน
ต้องทำาเป็นคำาร้อง และศาลจะอนุญาตให้นำาสืบพยานหลักฐานต่อเมื่อศาลเห็นว่า เพื่อให้การ
วินิจฉัยชี้ขาดข้อสำาคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมจำาเป็นต้องสืบพยานหลักฐานเช่น
ว่านั้น
2. ถ้าคู่ความประสงค์ที่จะนำา สืบพยานหลักฐานเพื่อหักล้างคำา พยานของฝ่ายที่นำา สืบก่อน หรือ
เพื่อพิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งพยานของฝ่ายที่นำา สืบก่อนได้กระทำา ขึ้น คดีความ
ฝ่ายนั้นต้องถามค้านพยานของฝ่ายที่นำาสืบไว้ก่อนเสียแต่แรก เพื่อให้พยานของฝ่ายที่นำา สืบ
ก่อนได้กระทำาขึ้น คู่ความฝ่ายนั้นต้องถามค้านพยานของฝ่ายที่นำาสืบก่อนไว้เสียแต่แรก เพื่อ
ให้พยานมีโอกาสอธิบายถึงข้อความเหล่านั้น มิฉะนั้นคู่ความฝ่ายนั้นจะนำาสืบหักล้างในภาย
หลังไม่ไก้
3. คูค่ วามฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานต้องยื่นสำาเนาเอกสารต่อศาลและให้คู่ความอีก
ฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อศาลจะได้ตรวจดูและให้โอกาสอีกฝ่ายหนึ่ง
ได้ศึกษาและเตรียมการต่อสู่คดีตามสิทธิของตน
4. ในคดีแพ่ง คู่ความต่างฝ่ายต่างอ้างพยานหลักฐานร่วมกันได้ แต่ในคดีอาญามีข้อสันนิษฐานว่า
ทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ หากโจทก์กล่าวหาว่าเขากระทำาความผิด โจทก์ก็ต้องนำาพยานหลักฐาน

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


62

มาพิสูจน์ด้วยพยานหลีกฐานของโจทก์เอง จะอาศัยพยานหลักฐานของจำาเลยไม่ได้ ด้วยเหตุนี้


ในคดีอาญาโจทก์จึงอ้างจำาเลยเป็นพยานโจทก์ไม่ได้
5. แม้คู่ความจะมีสิทธินำาพยานหลักฐานใดมาสืบได้ก็ตาม แต่ค ู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลใดๆ
ก็มีสิทธิที่จะไม่เปิดเผยข้อความบางประการได้ เป็นเอกสิทธิ์ของคู่ความหรือบุคคลนั้น ซึ่งถ้า
การเปิดเผยจะเป็นการเปิดเผยความลับของราชการหรือของคู่ความ หรือบุคคลนั้นซึ่งได้มา
โดยอาศัยฐานะพิเศษบางประการ หรืออาจเป็นการเปิดเผยสิ่งที่กฎหมายคุ้มครองให้ปกปิด
เป็นความลับได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลในการวินิจฉัยว่าคู่ความจะได้รับเอกสิทธิ์
หรือไม่เพียงใด

11.2.1 การยื่นบัญชีระบุพยาน
ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ศาลมีคำาสั่งให้โจทก์นำาสืบก่อน และนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกในวัน
ที่ 18 มกราคม เช่นนี้จำา เลยจะยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานจำา เลย 7 วัน ได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้
จำาเลยจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานอย่างช้าเมื่อใด
ไม่ได้ เพราะการยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วันนั้น ใช้กับคู่ความ
ทุกฝ่าย ไม่ว่าฝ่ายใดจะนำาสืบก่อนหรือหลัง ในกรณีนี้ จำาเลยจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานอย่างช้าในวันที่
10 มกราคม เพราะวันที่จะยื่นบัญชีระบุพยานให้ได้ทันตามกำาหนด ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน

11.2.2 การหักล้างบัญชีหลักฐาน
ในกรณีใดบ้างที่คู่ความฝ่ายที่นำาสืบภายหลังจะต้องถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำาสืบ
ก่อน และถ้าไม่ถามค้านผลจะเป็นออย่างไร
เมื่อคูค่ วามฝ่ายที่นำาสืบภายหลัง ประสงค์ที่จะสืบพยานของตนเพื่อ
1) หักล้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำา พยานของฝ่ายที่นำา สืบก่อน ในข้อความที่
พยานนั้นเป็นผู้รู้เห็น หรือ
2) เพื่อพิสูจน์ข้อความอันเกี่ยวด้วยการกระทำาหรือถ้อยคำา หรือหนังสือที่พยาน
นัน้ ได้ทำาขึ้น
ถ้าไม่ถามค้านไว้ก่อน ต่อมาเมื่อนำาพยานมาสืบ คูค่ วามฝ่ายที่นำาสืบก่อนย่อมคัดค้านได้และเมื่อคัดค้าน
แล้ว ศาลจะไม่รับฟังพยานหลักฐานที่นำานาสืบหักล้างนั้น เว้นแต่คู่ความฝ่ายที่นำาสืบภายหลังจะแสดง
ให้เป็นที่พอใจของศาลว่า เมื่อเวลาที่พยานเบิกความ เขาไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ถึงข้อความนั้น หรือ
ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำา เป็นต้องสืบพยานเช่นว่านั้น ศาลก็มีอำา นาจรับฟัง
พยานหลักฐานที่นำาสืบโดยไม่ได้ให้คู่ความฝ่ายที่นำาสืบพยานหลังได้ซักค้านพยานไว้ก่อน

11.2.3 การอ้างอิงบัญชีหลักฐาน

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


63

ในคดีฟ้องเรียกเงินตามเช็ค โจทก์ระบุอ้างบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำาเลยในธนาคาร
เจ้าของเช็คไว้ในบัญชีระบุพยาน ครั้นถึงวันสืบพยานโจทก์ จำาเลยจะคัดค้านว่าโจทก์ไม่ได้ส่งสำาเนา
บัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวให้จำาเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วันได้หรือไม่
ไม่ได้ เพราะเป็นเอกสารในความครอบครองของบุคคลภายนอก กรณีต้องตามบทบัญญัติ
มาตรา 90(2)

11.2.4 การอ้างอิงพยานหลักฐานร่วมกัน
โจทก์ระบุอ้างนายดำาเป็นพยานโจทก์ จำาเลยจะอ้างนายดำาเป็นพยานจำาเลยด้วยได้หรือไม่
ได้เพราะในคดีแพ่ง คูค่ วามอ้างอิงพยานหลักฐานร่วมกันได้

11.2.5 เอกสิทธิ์ในการนำาสืบพยานหลักฐาน
ในคดีละเมิดรถชนกันเรื่องหนึ่ง ศาลได้มีคำาสั่งเรียกสำานวนสอบสวนกรณีรถชนกันดังกล่าว
จากพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนจะอ้างว่ายังสอบสวนไม่เสร็จ จึงต้องปกปิดเป็นความลับไว้
ก่อนได้หรือไม่
ไม่ได้ เพราะการสอบสวนยังไม่เสร็จ ไม่เป็นเหตุตาม ปวพ. มาตรา 92 ที่จะปฏิเสธคำาสั่ง
ของศาล เพราะพนักงานสอบสวนอาจคัดสำาเนาส่งศาลได้
มำตรำ 92 ถ้าคูค่ วามหรือบุคคลใดจะต้องเบิกความหรือนำาพยาน หลักฐานชนิดใด ๆ มาแสดง
และคำาเบิกความหรือพยานหลักฐานนั้น อาจเปิดเผย
(1) หนังสือราชการหรือข้อความอันเกี่ยวกับงานของแผ่นดินซึ่ง โดยสภาพจะต้องรักษา
เป็นความลับไว้ชั่วคราวหรือตลอดไปและคู่ความ หรือบุคคลนั้นเป็นผู้รักษาไว้ หรือได้ทราบมาโดย
ตำาแหน่งราชการ หรือ ในหน้าที่ราชการหรือกึ่งราชการอื่นใด
(2) เอกสารหรือข้อความที่เป็นความลับใด ๆ ซึ่งตนได้รับ มอบหมายหรือบอกเล่าจากลูก
ความในฐานะที่ตนเป็นทนายความ
(3) การประดิษฐ์ แบบ หรือการงานอื่น ๆ ซึ่งได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายไม่ให้เปิด
เผย
คู่ความหรือบุคคลเช่นว่านั้นชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมเบิกความหรือ นำาพยานหลักฐานนั้น
ๆ มาแสดงได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้เปิดเผยได้
เมื่อคู่ความหรือบุคคลใดปฏิเสธไม่ยอมเบิกความหรือนำาพยาน หลักฐานมาแสดงดั่งกล่าว
มาแล้ว ให้ศาลมีอำานาจที่จะหมายเรียก พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้มาศาล และให้
ชี้แจงข้อ ความตามที่ศาลต้องการเพื่อวินิจฉัยว่าการปฏิเสธนั้นชอบด้วยเหตุผล หรือไม่ ถ้าศาลเห็น
ว่าการปฏิเสธไม่มีเหตุผลฟังได้ ศาลมีอำานาจออก คำาสั่งมิให้คู่ความหรือบุคคลเช่นว่านั้นยกประโยชน์
แห่ง มาตรานี้ ขึ้น ใช้ และบังคับให้เบิกความหรือนำาพยานหลักฐานนั้นมาแสดงได้

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


64

แบบประเมินผลหน่วยที่ 11
1. ในคดีละเมิดรถยนต์ชนกัน โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหารจากจำา เลย จำาเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ใน
เรื่องค่าเสียหายเช่นนี้ จำาเลยจะนำาพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์ไม่ได้เสียหายตาม
ฟ้อง ไม่ได้ เพราะจำาเลยไม่ได้ให้การต่อสู้จึงไม่มีประเด็นนำาสืบ
2. ในการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลมีอำานาจดังต่อไปนี้ ไม่รับฟังพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้
งดสืบพยานที่ประวิงคดีให้ล่าช้า และสั่งสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความ
ยุติธรรม
3. ในคดีฟ้องเรียกคืนเงินกู้ จำาเลยรับว่าได้กู้จริง แต่ต่อสู้ว่าได้ชำาระคืนครบถ้วนแล้ว เช่นนี้จำาเลย
จอขอนะสืบว่าโจทก์เคยกู้เงินจากกู้เงินจากจำาเลยแล้วไม่ชำาระคืนเช่นกัน ไม่ได้ เพราะไม่เกี่ยว
กับข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำาสืบ
4. ในคดีละเมิดรถยนต์ชนกัน โจทก์ฟ้องเรียกค่าซ่อมรถยนต์ จำา เลยต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่จาู้ ของ
รถยนต์ที่ถูกชน เช่นนี้ จำา เลยจะนำา สืบว่ารถยนต์เป็นของพี่สาวของโจทก์ ได้เพราะเกี่ยวกับ
ประเด็นข้อพิพาท
5. ในคดีฟ้องเรียกเงินตามเช็ค จำาเลยขาดนัดยื่นคำาให้การ ศาลนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 9 ดังนี้
โจทก์ต้องยื่นบัญชีระบุพยานอย่างช้าที่สุดในวันที่ 1
6. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง จำาเลยนำาสืบพยานก่อนและสืบเสร็จหลังจากนั้นมา 1 เดือน โจทก์ซึ่งยื่น
บัญชีระบุพยานไว้แล้ว แต่ประสงค์จะให้ศาลเดินเผชิญสืบซึ่งโจทก์ไม่ได้ระบุไว้ในบัญชีระบุ
พยานที่ยื่นไว้ เช่นนี้ โจทก์จะต้องดำาเนินการ ยื่นคำาร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม
7. ในคดีฟ้องขับไล่เรื่องหนึ่ง โจทก์นำา สืบพยานก่อน เมื่อโจทก์สืบเสร็จ จำา เลยส่งเอกสาร ซึ่ง
โจทก์ทำายกที่ดินพิพาทให้จำาเลย โดยจำาเลยไม่ได้ถามค้านเมื่อโจทก์เบิกความเป็นพยานโจทก์
เช่นนี้ โจทก์ต้องคัดค้านเมื่อจำา เลยนำา สืบเอกสารนี้และศาลจะไม่รับฟังเอกสารนี้เป็นพยาน
จำาเลย
8. โจทก์ฟ้องจำาเลยเรียกเงินตามเช็ค เช็คนี้โจทก์มอบไว้กับพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำาเนินคดี
อาญากับจำาเลย ศาลนักพยานโจทก์ก่อนในวันที่ 5 ดังนี้ โจทก์ไม่ต้องส่งสำาเนาเช็คพิพาทให้
จำาเลย
9. ในคดีฟ้องขับไล่เรื่องหนึ่ง จำาเลยอ้างสัญญาเช่าซึ่งทำาไว้กับเจ้าของที่ดินคนเดิมเป็นพยาน โดย
ไม่ได้ส่งสำาเนาให้โจทก์ แต่เมื่อโจทก์ดูแล้วจำาลายมือเจ้าของที่ดินคนเดิมได้ จึงรับรองสัญญา
เช่นนี้ โจทก์จะคัดค้านเพราะการไม่ส่งสำาเนาเอกสารอีกไม่ได้
10. ในคดีละเมิดรถยนต์ชนกันเรื่องหนึ่ง โจทก์อ้างสำานวนสอบสวนที่อยู่ในความครอบครองของ
พนักงานสอบสวนมาใช้เพื่อเป้นพยานโจทก์ ดังนี้ โจทก์ไม่ต้องส่งสำาเนาให้แก่จำาเลย แต่ต้อง
ขอให้ศาลมีคำาสั่งเรียกต้นฉบับ

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


65

11. โจทก์ฟ้องจำาเลยเรียกเงินตามเช็ค แต่เช็คฉบับดังกล่าวนี้ โจทก์มอบไว้กับพนักงานสอบสวน


เพื่อให้ดำาเนินคดีอาญากับจำาเลย ศาลนัดสืบพยานโจทก์ก่อน ในวันที่ 19 โจทก์ต้องส่งสำาเนา
เช็คพิพาทถึงจำาเลย เมื่อวันที่ 11

หน่วยที่ 12 หลักทัว่ ไปของกฎหมำยลักษณะพยำนหลักฐำน (3)

1. การอ้างเอกสารเป็นพยาน กฎหมายให้อ้างได้แต่ต้นฉบับเอกสาร
2. กฎหมายห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร หรือสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม
ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขพยานเอกสาร
3. กฎหมายไม่ห้ามนำาพยานบุคคลมาสืบว่าพยานเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้อง หรือสัญญาหรือ
หนี้อย่างอื่นตามเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ หรืออีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด

12.1กำรอ้ำงเอกสำรเป็นพยำน
1. การอ้างอิงเอกสารเป็นพยานให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น
2. ศาลอาจยอมรับฟังสำาเนาเอกสารได้ เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำาเนาเอกสาร
นัน้ ถูกต้อง
3. ถ้าต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้ เพราะสูญหายหรือถูกทำาลายโดยเหจตุสุดวิสัย หรือไม่สามารถนำา
ต้นฉบับมาได้ด้วยประการอื่น ศาลจะอนุญาตให้นำาสำาเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้
4. ต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการ จะนำามาแสดงได้ต่อเมื่อ
ได้รับอนุญาตจากบุคคลที่มีตำาแหน่งเกี่ยวข้องเสียก่อน
5. สำา เนาเอกสารหรือข้อความที่คัดจากเอกสารหรือที่อยู่ในอารักษาหรือในความควบคุมของ
ทางราชการซึ่งบุคคลที่มีตำาแหน่งที่เกี่ยวข้องได้รับรองถูกต้องแล้ว ย่อมถือว่าเป็นอันเพียงพอ
ในการที่จะนำามาแสดง นอกจากศาลจะได้กำาหนดเป็นอย่างอื่น

12.1.1การอ้างต้นฉบับเอกสารเป็นพยาน
ในการอ้างเอกสารเป็นพยาน จะรับฟังสำาเนาเป็นพยานได้หรือไม่
จะอ้างสำาเนาเอกสารรับฟังเป็นพยานไม่ได้ นอกจากที่บัญญัติยกเว้นไว้ในมาตรา 93 (1)
ถึง (3)

12.1.2 ข้อยกเว้นให้อ้างสำาเนาเอกสารเป็นพยานได้
การอ้างเอกสารเอกชนที่อยู่ในอารักขาของทางราชการนั้น จะต้องทำาอย่างไร
ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551
66

ต้องได้รับอนุญาตจากบุคคลที่มีตำาแหน่งที่เกี่ยวข้องเสียก่อนตามมาตรา 93 (3)
มำตรำ 93 การอ้างเอกสารเป็นพยานนั้นให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับ เอกสารเท่านั้น เว้นแต่
(1) เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำา เนาเอกสารนั้น ถูกต้องแล้ว จึ่งให้ศาล
ยอมรับฟังสำาเนาเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐาน แห่งเอกสารนัน้ ได้
(2) ถ้าต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้ เพราะสูญหายหรือถูกทำา ลาย โดยเหตุสุดวิสัย หรือไม่
สามารถนำาต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ศาลจะอนุญาตให้นำาสำาเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้
(3) ต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขา หรือในความควบคุม ของทางราชการนั้น จะนำา
มาแสดงได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตของรัฐมนตรี หัวหน้ากรมกอง หัวหน้าแผนกหรือผู้รักษาการแทนใน
ตำาแหน่งนั้น ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณีเสียก่อน อนึ่ง นอกจากศาลจะได้กำา หนดเป็น อย่างอื่นสำา เนา
เอกสารหรือข้อความที่คัดจากเอกสารเหล่านั้น ซึ่ง รัฐมนตรี หัวหน้ากรม กอง หัวหน้าแผนกหรือผู้
รักษาการแทนใน ตำา แหน่งนั้น ๆ ได้รับรองถูกต้องแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพียงพอใน การที่จะนำา มา
แสดง

12.2 กำรสืบพยำนบุคคลแทน หรือเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อควำมในเอกสำร


1. เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลโดย
สืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร หรือสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อ
ได้นำา เอกสารมาแสดงว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความใน
เอกสารนั้นอยู่อีก
2. กฎหมายไม่ห้ามสืบพยานบุคคล เมื่อต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้ เพราะสูญหาย หรือถูกทำาลาย
โดยเหตุสุดวิสัย หรือไม่สามารถนำาต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น
3. กฎหมายไม่ตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้าง และนำาพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า
พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอม หรือไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือ
สัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความ
ความหมายผิด

12.2.1 ข้อห้ามมิให้สืบพยานบุคคลแทน หรือเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข


ข้อความในเอกสาร
โจทก์ตกลงให้จำาเลยเช่าบ้านมีกำาหนด 2 ปี ได้ทำาหนังสือสัญญาเช่ากันไว้โดยระบุกำาหนด
เวลาเช่าในหนังสืออันเป็นหลักฐานการเช่าด้วย จำา เลยต่อสู้คดีว่าได้ตกลงเช่ากัน 3 ปี ไม่ใช่ 2 ปี และ
ขอสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้ ดังนี้ถา้ ท่านเป็นศาลจะให้จำาเลยสืบหรือไม่
เป็นการสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงพยานเอกสารการเช่า จึงต้องห้ามตามมาตรา 94
(ข) ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะไม่ยอมให้จำาเลยสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


67

12.2.2 การสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้อง หรือสัญญา


หรือหนีอย่างอื่นตามเอกสารไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด
โจทก์ฟ้องจำา เลยว่าจำา เลยกู้และรับเงินไปจากโจทก์ 7,500 บาท จำา เลยได้ทำา หนังสือหลัก
ฐานการกู้ไว้ให้โจทก์ จำาเลยผิดนัดไม่ใช้คืน ขอให้ศาลบังคับ จำาเลยให้การว่าได้ทำาหนังสือสัญญากู้เงิน
ไว้ให้โจทก์จริง แต่ไม่ได้รับเงินเลย เพราะความจริงจำาเลยได้ซื้อเชื่อสิ่งของไปจากโจทก์ จำาเลยยังไม่มี
เงินชำาระ จึงได้ทำาสัญญากู้กันไว้ ดังนี้จำาเลยมีสิทธินำาสืบพยานบุคคลว่าไม่ได้รับเงินไปจากโจทก์หรือ
ไม่
จำาเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าหนี้ตามสัญญาไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใดตาม ปวพ . มาตรา 94 วรรค
2 ตามคำาให้การของจำาเลยกลับแสดงว่าจำาเลยเป็นหนี้โจทก์ได้ตกลงแปลงหนี้เป็นสัญญากู้ยืมกันจำาเลย
ไม่มีสิทธินำาสืบพยานตามข้อต่อสู้ของตน

โจทก์ฟ้องว่าจำาเลยกู้และรับเงินไปจากโจทก์ 10,000 บาท ได้ทำาหนังสือหลักฐานการกู้ไว้


ให้โจทก์จริง แต่ไม่ได้รับเงินไปจากโจทก์เลย โจทก์ว่าจะจ่ายเงินให้จำา เลยในวันรุ่งขึ้นจากวันที่ทำา
หนังสือกัน แต่โจทก์ก็บิดพลิ้วไม่ส่งมอบเงินแก่จำา เลยตามสัญญากู้จนบัดนี้ ดังนี้จำา เลยมีสิทธินำา สืบ
พยานบุคคลว่าไม่ได้รับเงินไปจากโจทก์หรือไม่
จำาเลยได้ให้การต่อสู้อ้างเหตุว่าหนี้ไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใดตาม ปวพ. มาตรา 94 วรรค 2
ไว้แล้ว จึงมีสิทธินำาพยานบุคคลตามข้อต่อสู้ของจำาเลย
มำตรำ 94 เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟัง
พยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดั่งต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี
(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำาเอกสาร มาแสดง
(ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อ ได้นำาเอกสารมาแสดงแล้ว
ว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอน หรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก
แต่ว่าบทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ ใน อนุ มาตรา (2) แห่ง
มำตรำ 93 และมิ ใ ห้ ถื อ ว่า เป็ น การตั ด สิท ธิ คู่ค วาม ในอัน ที่ จ ะกล่ า วอ้ า งและนำา พยานบุ ค คลมาสืบ
ประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอม หรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บาง
ส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น ไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความ
หมายผิด

แบบประเมินผลหน่วยที่ 12
1. จะอ้างสำาเนาเอกสารเป็นพยานให้ยอมรับฟังนั้น อ้างไม่ได้ เพราะเป็นการอ้างสำาเนา

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


68

2. โจทก์ลืมนำาต้นฉบับเอกสารมาจากบ้านที่ต่างจังหวัดจะอ้างสำาเนาเอกสารเป็นพยาน อ้ างไม่ได้
เพราะเป็นการอ้างสำาเนา
3. ถ้าสำาเนาเอกสารที่คู่ความเกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าถูกต้องแล้ว ศาลยอมเป็นรับฟังพยาน
หลักฐาน ยอมรับฟังได้
4. ก. ตกลงซื้อรถจักรยานคันหนึ่งจาก ข. ราคา 450 บาท โดยตกลงทำา สัญญาซื้อขายกันเป็น
หนังสือ ดังนี้ เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้มีพยานเอกสารมาแสดงหรือไม่ กรณีนี้ไม่ใช่กรณี
ที่กฎหมายบังคับ
5. ก. จ้าง ข. เฝ้าบ้าน กำาหนดเวลาหนึ่งเดือน ดังนี้เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้มีพยานเอกสารมา
แสดงหรือไม่ กรณีนี้ ไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับ
6. โจทก์คดีว่าจำาเลยกู้และรับเงินไปจากโจทก์ 10,000 บาท จำาเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้กู้ โจทก์
จะขอนำาพยานบุคคลมาสืบแทนเอกสารการกู้ว่าจำาเลยกู้เงินไปได้หรือไม่ สืบไม่ได้
7. โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำา เลย 10,000 บาท โดยมีเอกสารกู้ลงลายมือชื่อของจำา เลย จำา เลย
ให้การสู้คดีเพียงว่า ไม่ได้รับเงินจากโจทก์ จำาเลยจะสืบพยานบุคคลว่าไม่ได้รับเงินจะได้หรือ
ไม่ สืบไม่ได้ เพราะมิได้ให้การอ้างเหตุว่าสัญญาไม่สมบูรณ์แต่ประการใด
8. โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำาเลย 10,000 บาท โดยมีเอกสารการกู้ลงลายมือชื่อของจำาเลย จำาเลย
ให้การต่อสู้คดีว่ากู้ไปเพียง 1,000 บาท จำาเลยมีสิทธิสืบหรือไม่ สืบไม่ได้ เพราะเป็นการสืบ
เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
9. โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำา เลย 10,000 บาท โดยมีเอกสารการกู้ลงลายมือชื่อจำา เลย จำา เลย
ให้การว่าเป็นเอกสารปลอม โจทก์ทำาขึ้นเองทั้งฉบับ จำาเลยไม่ได้กู้และลงลายมือชื่อ จำาเลยมี
สิทธินำาพยานบุคคลตามข้อต่อสู้ของจำาเลยหรือไม่ มีสิทธินำาสืบ เพราะอ้างว่าเอกสารปลอม
10. คู่ความจะนำาบุคคลมาสืบว่าเอกสารสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ความจริงทำาขึ้นเพื่ออำาพรางสัญญา
แลกเปลี่ยนที่ดินได้หรือไม่ สืบได้ เพราะเป็นการสืบว่าหนี้ตามเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์
11. จะอ้างสำาเนาเอกสารเป็นพยานให้ยอมรับฟังได้หรือไม่ อ้างไม่ได้ เพราะเป็นการอ้างสำาเนา
12. โจทก์มิได้นำาต้นฉบับที่ฝากไว้ที่ธนาคารมาศาล โจทก์จะอ้างสำาเนาเอกสารได้หรือไม่ อ้างไม่
ได้ เพราะเป็นการอ้างสำาเนา
13. สำา เนาเอกสารที่คู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าถูกต้องแล้ว ศาลยอมรับฟังเป็นพยาน
เอกสารได้หรือไม่ ยอมรับฟังได้
14. ก. ตกลงซื้อวิทยุกระเป๋าหิ้วจาก ข. ราคา 400 บาท โดยตกลงทำา สัญญาซื้อขายเป็นหนังสือ
ดังนี้ เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้พยานเอกสารมาแสดงหรือไม่ ไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับ
15. ก. จ้าง ข.ซ่อมรถ ดังนี้เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้มีพยานเอกสารมาแสดงหรือไม่ ไม่ใช่
กรณีที่กฎหมายบังคับ

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


69

16. โจทก์ฟ้องคดีว่าจำาเลยกู้และรับเงินไปจากโจทก์ 50,000 บาท จำาเลยให้การว่าไม่ได้กู้ โจทก์


ขอนำาพยานบุคคลมาสืบแทนเอกสารการกู้ได้หรือไม่ สืบพยานบุคคลไม่ได้
17. โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำา เลย 50,000 บาท โดยมีเอกสารการกู้ลงลายมือชื่อจำา เลย จำา เลย
ให้การต่อสู้คดีเพียงว่าไม่ได้รับเงินจากโจทก์เลย จำาเลยจะสืบพยานบุคคลได้หรือไม่ สืบไม่ได้
เพราะมิได้ให้การอ้างเหตุว่าสัญญาไม่สมบูรณ์แต่ประการใด
18. โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำา เลยจำา นวน 10,000 บาท โดยมีเอกสารลงลายมือชื่อของจำา เลย
จำาเลยให้การสู้คดีว่ากู้ไปเพียง 1,000 บาท ขอสืบพยานบุคคลว่าได้เงินไปเพียง 1,000 บาท
จำาเลยมีสิทธิสืบหรือไม่ สืบไม่ได้ เพราะเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
19. โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำาเลย 50,000 บาท โดยมีเอสารลงลายมือชื่อจำาเลย จำาเลยให้การว่า
เป็นเอกสารปลอม โจทก์ทำาขึ้นทั้งฉบับ จำาเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อและกู้เงินจากโจทก์ จำาเลยมี
สิทธิสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้ของจำาเลยหรือไม่ มีสิทธินำาสืบ เพราะอ้างว่าเอกสารปลอม
20. คู่ความจะนำา พยานบุคคลมาสืบว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำา พรางสัญญากู้กู้ยืม ตกเป็น
โมฆะได้หรือไม่ สืบได้ เพราะเป็นการสืบว่าเอกสารไม่สมบูรณ์

หน่วยที่ 13 หลักทัว่ ไปของกฎหมำยลักษณะพยำนหลักฐำน (4)

1. ศาลจะรับฟังพยานบุคคลที่สามารถเข้าใจและตอบคำา ถามได้ และมาเบิกความในลักษณะ


ยืนยันข้อเท็จจริงที่ตนได้พบเห็นมาด้วยตนเอง
2. ตามปกติการดำาเนินกระบวนการพิจารณาต้องกระทำาในศาล และต้องทำาไปตามลำาดับ แต่เพื่อ
ให้ศาลได้รับฟังพยานที่สำาคัญในคดี บางครั้งก็อาจต้องมีการสืบพยานนอกศาลหรือก่อนที่จะ
มีคดีมาสู่ศาล
3. ศาลต้องให้โอกาสคู่ความทุกฝ่ายในการสืบพยานอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจ
ชั่งนำ้าหนักพยานได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดดำาเนินการสืบพยานทำาให้เสียค่าใช้
จ่ายโดยไม่จำาเป็นศาลอาจลงโทษโดยให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้รับผิดในค่าใช้จ่ายนั้นเองก็ได้

13.1 หลักเกณฑ์กำรรับฟังพยำนบุคคล
1. บุคคลที่เข้าใจและตอบคำาถามได้ ก็เป็นพยานในศาลได้โดยไม่จำากัดเพศ วัยหรืออาชีพ
2. ศาลจะรับฟังพยานบุคคลที่รู้เห็นข้อเท็จจริงที่ตนเบิกความมาด้วยตนองเท่านั้น พยานบุคคลที่
รับฟังข้อเท็จจริงมาจากคนอื่น ศาลไม่รับฟัง
3. พยานบุคคลจะต้องเบิกความในลักษณะยืนยันข้อเท็จจริงมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นของ
ตน
ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551
70

4. ศาลอาจรับฟังพยานความเห็นได้ในบางกรณี

13.1.1 ความสามารถที่จะเป็นพยาน
คนที่เป็นใบ้และหูหนวกจะเป็นพยานได้หรือไม่
บุคคลแม้จ ะเป็น ใบ้ แ ละหู ห นวกก็ อ าจเป็ น พยานในศาลได้ ถ้ า บุ คคลนั้ น สามารถเข้ า ใจ
คำาถามและตอบคำาถามได้

13.1.2 พยานบอกเล่า
นางแดงฟ้องนายดำาในข้อหาดูหมิ่นซึ่งหน้า และอ้างนายขาวมาเป็นพยาน นายขาวเบิกความ
ว่า ในวันเกิดเหตุได้ยินนายดำาพูดกับนายแดงว่า “อ้ายชาติหมา” ดังนี้คำา เบิกความของนายขาวจะต้อง
ห้ามเพราะเป็นพยานบอกเล่าได้หรือไม่
คำาเบิกความของนายขาวไม่ใช่พยานบอกเล่า เพราะนายแดงนำามาสืบเพื่อพิสูจน์ว่า นายดำา
พูดว่า “อ้ายชาติหมา” จริงๆ ไม่ใช่เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่นายดำาพูดเป็นความจริงนั้น ดังนั้น นายขาวจึงเป็น
ประจักษ์พยานที่ได้ยินข้อความดังกล่าวมาด้วยตนเอง

13.1.3 พยานความเห็น
ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่งมีประเด็นพิพาทว่า ลายมือชื่อในช่องของผู้กู้ของสัญญากู้ที่โจทก์นำามา
ฟ้องเป็นลายมือชื่อของจำา เลยหรือไม่ โจทก์นำา นายเขียวมาสืบเป็นพยาน นายเขียวเบิกความว่าเคย
ทำางานอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำาเลยมากว่า 10 ปี คุน้ เคยกับลายมือชื่อของจำาเลยเป็นอย่างดี และยืนยัน
ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นของจำาเลย ดังนี้คำาเบิกความของนายเขียวรับฟังได้หรือไม่
แม้ว่านายเขียวจะไม่ใช่ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในการตรวจลายมือชื่อ แต่ก็เคยทำางานใกล้ชิดกับ
จำาเลย เคยเห็นลายมือชื่อจำาเลยอยู่เสมอ จึงรับฟังเป็นพยานได้เสมือนเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ

13.2 กระบวนพิจารณาพิเศษเกี่ยวกับการสืบพยาน
1. คู่ความอาจลดประเด็นพิพาทลง โดยวิธีส่งคำา บอกกล่าวให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับในข้อ
เท็จจริงบางข้อ เพื่อให้การสืบพยานเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น
2. ถ้าคู่ความฝ่ายใดเกรงว่าพยานซึ่งตนประสงค์จะสืบจะสูญหาย ก็อาจร้องขอให้ศาลสืบพยาน
นัน้ ไว้ก่อนได้ แม้จะยังไม่มีคดีในศาลก็ตาม
3. ในกรณีที่พยานอยู่นอกเขตอำานาจศาล หรือพยานมีเหตุจำา เป็นไม่สามารถมาศาลได้ หรือไม่
ประสงค์จะมาศาล ศาลอาจต้องไปทำาการสืบพยานนอกศาล โดยศาลอาจไปเดินเผชิญสืบเอง
หรือส่งประเด็นไปให้ศาลอื่นสืบพยานแทนแล้วแต่กรณี

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


71

4. ในการสืบพยาน ศาลต้องให้โอกาสแก่คู่ความทุกฝ่ายในการใช้สิทธิอ้างอิง และซักถามพยาน


ของทุกฝ่าย
5. ในการตัดสินข้อเท็จจริงในคดีแพ่ง ศาลจะพิเคราะห์ว่าพยานหลักฐานของฝ่ายใดมีนำ้าหนักน่า
เชื่อถือมากกว่ากัน
6. ถ้าคู่ความฝ่ายใดทำาการสืบพยานโดยไม่จำาเป็น จะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมที่ออกไป
เพื่อการนั้นด้วยตนเอง

13.2.1 การรับรองข้อเท็จจริงบางข้อก่อนสืบพยาน
แดงฟ้องขับไล่ดำาออกจากที่ดินมีโฉนดของตน ดำาให้การต่อสู้ว่าแดงไม่ใช่เจ้าของที่ดินไม่มี
อำานาจฟ้อง ดำาต้องการจะส่งคำา บอกกล่าวไปให้แดงยอมรับข้อเท็จจริง ซึ่งปรากฏตามโฉนดที่ดินว่า
เจ้าของที่ดินปรากฏในโฉนดคือ เหลือง ภริยาของแดง ดังนี้จะต้องส่งสำาเนาโฉนดไปให้แดงด้วยหรือ
ไม่
ไม่ต้องส่งสำาเนา เพราะโฉนดที่ดินแปลงนี้อยู่ที่แดงหรือภริยาของแดงอยู่แล้ว

13.2.2 การสืบพยานหลักฐานไว้ล่วงหน้า
แดงกับดำาต่างครอบครองที่ดินติดกันเป็นส่วนสัด โดยถือแนวเสาหินเป็นเครื่องหมายแบ่ง
เขตต่อมาดำาปลูกสร้างรุกลำ้าเข้ามาในที่ดินของแดง แดงกำาลังเตรียมหาทนายความมาเพื่อฟ้องดำา แต่ยัง
ไม่ทันฟ้อง ดำาได้เตรียมเครื่องมือจะมารื้อเสาหอน ดังนี้แดงจะยื่นคำาร้องต่อศาลให้มาทำาการตรวจแนว
เสาหินเพื่อทำาบันทึกไว้ล่วงหน้าได้หรือไม่
กรณีมีข้อพิพาทเกิดขึ้นแล้ว คือการที่ดำาทำาละเมิดบุกรุกเข้ามาในที่ดินของแดง และแนวเสา
หินเป็นพยานหลักฐานสำาคัญที่จะพิสูจน์เขตของที่ดินของแดง เมื่อดำากำาลังจะทำาลายพยานหลักฐานดัง
กล่าว แดงย่อมมีเหตุที่จะเกรงว่าหลักฐานจะสูญหาย และมีความจำาเป็นเร่งด่วน จึงสามารถยื่นคำาร้อง
ขอต่อศาล ให้ออกไปทำาการตรวจวัตถุพยานคือไปตรวจแนวเสาหินไว้ล่วงหน้า

13.2.3 การสืบพยานนอกศาล
ศาลแพ่งส่งประเด็นไปสืบนายเขียวพยานโจทก์ที่ศาลจังหวัดนครปฐมจำา เลยแถลงขอตาม
ไปฟังการพิจารณาด้วย ครั้นถึงวันนัดสืบพยานประเด็น จำาเลยยื่นคำาร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าตนเองป่วยมี
ใบรับรองแพทย์แนบมาท้ายคำา ร้อง ดังนี้ศาลจังหวัดนครปฐมจะมีอำานาจสั่งคำา ร้องขอเลือนคดีจำา เลย
หรือไม่
ศาลจังหวัดนครปฐมมีอำานาจสั่งเลื่อนคดีได้ เพราะศาลจังหวัดนครปฐมมีอำานาจทำาการแทน
ศาลแพ่งได้ และเป็นกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวเนื่องกับการสืบพยานประเด็น

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


72

13.2.4 การให้โอกาสแก่คู่ความทุกฝ่ายที่จะใช้สิทธิเกี่ยวกับการสืบพยาน
ในวันนัดสืบพยาน โจทก์มีหน้าที่นำาสืบก่อน ปรากฏว่าพยานโจทก์ทุกปากเป็นพยานหมาย
โจทก์ยื่นคำาขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานแล้ว แต่โจทก์มิได้มารับหมายไปส่งให้พยาน โจทก์แถลง
ว่าเหตุที่โจทก์ก็ไม่ได้รับหมายไปส่งให้พยานก็เพราะหลงลืม ขอเลื่อนคดี ศาลไม่อนุญาตให้โจทก์
เลื่อนคดีสั่งงดสืบพยานโจทก์และพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าคำาสั่งศาลที่งดสืบพยานโจทก์ไม่
ชอบ เพราะมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์เต็มที่ในการใช้สิทธิสืบพยาน ดังนี้ถ้าท่านเป็นศาลอุทธรณ์วิวินิจฉัย
อุทธรณ์ของโจทก์อย่างไร
กฎหมายกำาหนดให้โจทก์ต้องเป็นผู้รับหมายเรียกพยานไปส่งให้พยานเอง เมื่อโจทก์ไม่มา
รับหมายไปส่ง ก็เป็นความผิดของโจทก์เอง โจทก์จะอ้างว่าศาลไม่ให้โอกาสตนในการสืบพยานไม่ได้
ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลอุทธรณ์ จะพิพากษายกอุทธรณ์นั้นเสีย

13.2.5 การชั่งนำ้าหนักพยานหลักฐาน
เหตุใดศาลมักจะวิเคราะห์คำาพยานบุคคล ซึ่งเป็นญาติสนิทของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งด้วย
ความระมัดระวังและให้นำ้าหนักน้อย
เพราะพยานที่เป็นญาติกับคู่ความจะมีความโน้มเอียงที่จะเบิ กความเข้าข้างญาติของตน
ทำาให้ไม่ได้ข้อเท็จจริงที่เป็นความจริงทั้งหมด

13.2.6 ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำา เลยออกจากที่ดินตามโฉนด 12 ฉบับ โจทก์ขอหมายศาลเรียกโฉนด
ที่ดินจากสำานักงานที่ดินและอ้างต้นฉบับโฉนดที่โจทก์ด้วย รวมเป็นอ้างเอกสาร โฉนดที่ดินที่ดินทั้ง
สิ้น 24 ฉบับ ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี แต่ให้โจทก์รับผิดชอบค่าธรรมเนียมและค่าอ้างเอกสาร
โฉนด 12 ฉบับ จากสำานักงานที่ดิน คำาสั่งศาลดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
คำาสั่งศาลชอบแล้ว เพราะโจทก์ไม่มีความจำาเป็นต้องอ้างโฉนดที่ดิน 12 ฉบับจากสำานักงาน
ที่ดนิ เป็นเอกสารอ้างพยานฟุ่มเฟือยและซำ้าซ้อน โจทก์ก็ต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนนี้

แบบประเมินผลหน่วยที่ 13
1. บุคคลที่สามารถเป็นพยานในศาลได้ จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจและตอบ
คำาถามได้
2. พยานบอกเล่าคือ พยานที่มิได้รู่เห็นข้อเท็จจริงมาด้วยเป็นเอง
3. คำากล่าวถึงเรื่องในหน้าที่ของผู้กล่าว ไม่สามารถใช้เป็นพยานบอกเล่าที่รับฟังได้
4. เอกสารมหาชนคือเอกสารทีจ่ ัดทำาขึ้นโดย เจ้าพนักงาน

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


73

5. ความเห็นของบุค คลธรรมดาในเรื่ องใดที่ศาลยอมรับฟังเป็น พยานคื อ ความเห็นเรื่ องแห่ ง


ภาวะจิตใจของบุคคล
6. พยานผู้เชี่ยวชาญในคดีอาญามีชื่อเรียกว่า ผูช้ ำานาญการพิเศษ
7. ในกรณีที่พยานที่จะสืบอยู่นอกเขตอำานาจศาลที่จะพิจารณาคดีและศาลจำาต้องจัดการสืบพยาน
ที่ศาลอื่นวิธีดำาเนินการสืบพยานที่ศาลอื่นดังกล่าวเรียกว่า การส่งประเด็นไปสืบ
8. ในคดีแพ่งการที่คู่ความฝ่ายหนึ่งส่งคำาบอกกล่าวแจ้งรายการข้อเท็จจริงเพื่อให้คู่ความอีกฝ่าย
หนึ่งรับนั้นต้องทำาก่อนวันสืบพยาน อย่างน้อย 7 วัน
9. คำาบอกเล่าของบุคคลที่ตายไปแล้วถึงสิทธิสาธารณะที่จะรับฟังได้นั้น ต้องมีลักษณะดังนี้คือ
เป็นคำาบอกเล่าที่เกิดก่อนจะมีข้อพิพาทที่เกี่ยวกับสิทธิสาธารณะ
10. การยื่นคำาร้องขอสืบพยานไว้ก่อนล่วงหน้าจะทำาได้เมื่อ (ก) ก่อนมีคดีในศาล (ข) หลังยื่นฟ้อง
แต่ก่อนจำาเลยยื่นคำาให้การ (ค) ก่อนวันชี้สองสถาน
11. เด็กอายุ 2 เดือน เป็นบุคคลที่ไม่สามารถเป็นได้
12. คำากล่าวที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของผู้กล่าว เป็นพยานบอกเล่าที่รับฟังไม่ได้
13. สำาเนาทะเบียนบ้าน จัดว่าเป็นเอสารมหาชน
14. คำาบอกเล่าของบุคคลที่ใกล้จะตายถึงสามเหตุที่ทำาให้ตาย เป็นพยานที่รับฟังได้ในคดีประเภท
ความผิดต่อชีวิต
15. ลายมือชื่อปลอม ประเด็นนี้ต้องอาศัยความเห็นของพยาน
16. ความเห็นของบุค คลธรรมดาในเรื่ องเกี่ยวกับ ความเห็น เรื่องการชันสูตรบาดแผล ศาลไม่
ยอมรับฟังเป็นพยาน
17. การเดินเผชิญสืบคือ การสืบพยานนอกศาลที่พิจารณา
18. นายแดงมีเรื่องโต้ถียงกับนายดำาเรื่องเขตที่ดินแต่ยังไม่มีการฟ้องร้องเป็นคดีในศาล ปรากฏว่า
นายดำา กำา ลังเตรียมจะขุดเสาหินที่อยู่ตรงเขตแดนและเป็นเครื่องหมายแบ่งเขต ซึ่งนายแดง
ประสงค์จะอ้างเป็นพยานหลักฐานถ้ามีการฟ้องคดี ดังนี้ นายแดงควรจะดำาเนินการยื่นคำาร้อง
ต่อศาล ขอให้สืบพยานโดยตรวจดูเสาหินดังกล่าวไว้ก่อน
19. คำา บอกเล่าของบุคคลที่ตายไปแล้วถึงสิทธิสาธารณะที่จะรับฟังได้นั้น จะต้องมีลักษณะ คำา
บอกเล่าต้องเกิดก่อนจะมีข้อพิพาท

หน่วยที่ 14 กำรมำศำลของพยำนและกำรซักถำมพยำน

1. การเป็นพยานที่ศาลเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่ดี ดังนั้นบุคคลใดได้รับหมายเรียกจากศาลไป
เป็นพยานบุคคลนั้นจะต้องไปเป็นพยานตามวันเวลาที่ศาลกำาหนด

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


74

2. การถามพยานในศาลใช้วิธีถามให้พยานตอบ โดยคู่ความทั้งสองฝ่ายจะมีโอกาสอย่างเต็มที่ใน
การถามพยาน และศาลจะบันทึกไว้และให้พยานลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน

14.1 กำรมำศำลของพยำน
1. คู่ความที่ประสงค์จะสืบบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นพยาน แต่บุคคลนั้นไม่ยอมมาศาล คูค่ วามนั้น
อาจขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานเพื่อบังคับให้บุคคลนั้นมาเป็นพยานได้
2. เมื่อบุคคลใดได้รับหมายเรียกพยาน บุคคลนั้นจะต้องไปเป็นพยานที่ศาล
3. เมื่อพยานไม่มาศาลตามกำาหนดนัด ศาลอาจสั่งให้งดสืบพยานคนนั้น หรืออาจให้เลื่อนคดีไป
ก็ได้ และพยานนั้นเป็นพยานที่ศาลหมายเรียก ศาลอาจออกหมายจับพยานก็ได้

14.1.1 การขอหมายเรียกพยาน
นายขาวต้องการจะนำา นายแดงมาสืบเป็นพยานในคดีของตน แต่นายแดงไม่ยอมมาเป็น
พยานอ้างว่ามีธุรกิจมากไม่มีเวลามาศาล ดังนั้นนายขาวควรทำา อย่างไรเพื่อให้ได้ตัวนายแดงมาเป็น
พยาน
นายขาวควรยื่นคำาขอต่อศาล ให้ศาลออกหมายเรียกพยานไปยังนายขาว ให้นายขาวมาเป็น
พยานตามวันเวลาที่ศาลกำาหนด

14.1.2 หน้าที่ของพยานเมื่อได้รับหมาย
นายแดงได้รับมอบหมายเรียกให้ไปเบิกความเป็นพยานที่ศาลแพ่งในวันที่ 15 กันยายน
2540 แต่ในวันที่ 13 กันยายน 2540 นายแดงป่วยเป็นไส้ติ่ งอักเสบต้องเข้ารับการผ่าตัดด่วน และ
แพทย์แนะนำาให้รักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 15 วัน ดังนี้นายแดงควรกระทำาประการใด
นายแดงอาจทำาคำาแถลงถึงเหตุที่ตนไม่อาจมาศาลได้ พร้อมทั้งแนบใบรับรองแพทย์ และให้
บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นตัวแทนนำามายื่นต่อศาลในวันนัด เพื่อศาลจะได้สั่งให้เลื่อนคดีออกไป

14.1.3 กระบวนพิจารณาเมื่อพยานไม่มาศาล
ถ้าศาลออกหมายเรียกพยานแล้ว และพยานได้รับหมายโดยชอบแล้ว ปรากฏว่าพยานจงใจ
ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน และข้อเท็จจริงที่พยานจะเบิกความถึงนั้นเป็นประเด็นสำา คัญในคดี ดัง
นัน้ ศาลจะออกหมายจับพยานได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
กรณีนี้ศาลย่อมมีอำานาจสั่งให้เลื่อนคดีออกไป และออกหมายจับ และเอาตัวพยานมากักขัง
ไว้จนกว่าพยานจะเบิกความตาม ปวพ. มาตรา 111 ได้

14.2 กำรถำมพยำน
ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551
75

1. ก่อนเบิกความ พยานจะต้องสาบานตนว่าจะเบิกความแต่ความจริง ทั้งนี้เพื่อให้พยานมีความ


เกรงกลัวไม่กล้าเบิกความเท็จ
2. พยานต้องเบิกความด้วยวาจาโดยตอบคำาถามที่คู่ความหรือทนายความหรือศาลเป็นเป็นผู้ถาม
3. ตามปกติ การถามพยานจะเริ่มต้นด้วยคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานมาจะเป็นฝ่ายถามก่อน แล้วให้
ฝ่ายตรงข้ามถาม และฝ่ายที่อา้ งพยานจะมีโอกาสถามอีกครั้งหนึ่ง
4. เมื่อพยานเบิกความเสร็จแล้วศาลจะอ่านบันทึกคำาพยานให้ฟังและให้พยานลงชื่อไว้เป็นหลัก
ฐาน
5. ถ้าคู่ความฝ่ายใดเห็นว่าพยานของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ควรเชื่อฟัง คู่ความฝ่ายนั้นอาจขอ
อนุญาตศาลเพื่อพิสูจน์ต่อพยานคนนั้นได้

14.2.1 การสาบานตน
ถ้าพยานเบิกความโดยมิได้สาบานตน จะมีผลอย่างไร
คำาเบิกความของพยานนั้นรับฟังไม่ได้

14.2.2 วิธีเบิกความในศาล
คดีแพ่งของศาลจังหวัดนครปฐมส่งประเด็นไปสืบพยานโจทก์ก่อนที่ศาลจังหวัดราชบุรีเมื่อ
ส่งประเด็นกลับมานัดสืบพยานโจทก์ต่อ ทนายจำาเลยค้านไม่ยอมให้สืบ อ้างว่าพยานโจทก์ที่จะสืบต่อ
ไป ณ ศาลจังหวัดนครปฐมนั้นเป็นพยานคู่และได้ฟังการพิจารณา ณ ศาลจังหวัดราชบุรีมาแล้ว ทนาย
โจทก์แถลงรับว่าจริง ถ้าท่านเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดนครปฐมเจ้าของสำานวนจะพิจารณาสั่งการใน
เรื่องนี้อย่างไร
ศาลจังหวัดนครปฐมสั่งอนุญาตให้โจทก์สืบพยานต่อไปได้ เพราะพยานโจทก์ที่ศาลจะสืบ
ต่อไปนัน้ อาจรับฟังได้ ถ้าศาลเห็นว่าคำาเบิกความของพยานโจทก์ที่ศาลจะสืบต่อไปนั้นเป็นที่เชื่อฟังได้
หรือมิได้เปลี่ยนแปลงไปโดยได้ฟังคำา เบิกความของพยานคนก่อน หรือไม่สามารถทำา ให้คำา วินิจฉัย
ของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้

14.2.3 ลำาดับการถามพยาน
มีกรณีใดบ้างที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานมาจะถามพยานของตนด้วยคำาถามนำาได้
คูค่ วามอาจใช้คำาถามนำาต่อพยานที่ตนเองนำามาได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
1) เมื่อศาลอนุญาตให้ใช้คำาถามนำา
2) เมื่อศาลให้ถามพยานที่เบิกความเป็นปรปักษ์ของคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานมา

14.2.4 กระบวนพิจารณาเมื่อพยานเบิกความเสร็จแล้ว
ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551
76

ถ้าพยานไม่ยอมลงลายมือชื่อในบันทึกคำาเบิกความ ศาลต้องดำาเนินการอย่างใด
ศาลจะต้องจดแจ้งเหตุเหตุที่ไม่มีลายชื่อนั้นไว้ในบันทึกคำาเบิกความของพยาน ดังนี้คำาเบิก
ความนั้นก็เป็นอันรับฟังได้

14.2.5 การพิสูจน์ต่อพยาน
แดงอ้างดำามาเป็นพยานของตน แต่ดำากับเบิกความเข้าข้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ทำาให้รูปคดี
ของแดงเสียหาย แดงจึงขออนุญาตศาลนำานายเขียวมาสืบเพื่อแสดงว่าดำาพูดเท็จ ดังนี้ศาลจะอนุญาตได้
หรือไม่
การขออนุญาตนำา สืบเช่นนี้เป็นการขอพิสูจน์ต่อพยานตาม ปวพ. มาตรา 120 จะทำาได้กับ
พยานของฝ่ายตรงข้ามหรือพยานของศาลเท่านั้น ในกรณีนี้แดงของพิสูจน์ต่อพยานของตนเองศาลจะ
อนุญาตไม่ได้

แบบประเมินผลหน่วยที่ 14
1. การส่งหมายเรียกพยาน จะต้องส่งให้พยานรู้ตัวล่วงหน้าก่อนวันสืบพยาน อย่างน้อย 3 วัน
2. ตามปกติในการส่งหมายเรียกพยาน คู่ความฝ่ายที่อ้างพยาน จะเป็นผู้นำาหมายไปส่ง
3. ถ้าพยานได้รับหมายเรียกโดยชอบแล้ว จงใจไม่มาศาลในวันนัดโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง และ
เป็นพยานในข้อสำาคัญในคดี ศาลควรดำาเนินกระบวนการพิจารณาคือ เลื่อนคดีและออกหมาย
จับพยาน
4. พระภิกษุ แม้จะได้รับหมายเรียกพยานแล้วก็อาจไม่ไปศาลได้โดยไม่มีความผิด
5. ถ้าพยานเบิกความต่อศาลโดยมิได้สาบานหรือปฏิญาณตนคำาเบิกความของพยานนั้น จะรับฟัง
เป็นพยานไม่ได้
6. เด็กอายุ 10 ปี อาจเบิกความเป็นพยานได้โดยไม่ต้องสาบานตัว
7. พยานผู้เชี่ยวชาญ สามารถเบิกความโดยการอ่านข้อความที่จดบันทึกเตรียมมาได้
8. ปกติพยานวาบานตัวแล้ว ก่อนที่พยานจะเบิกความถึงข้อเท็จจริงในคดี ศาลจะถามพยานเกี่ยว
กับเรื่อง อายุของพยาน
9. การถามพยานโดยคู่ความฝ่ายตรงข้ามกับคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานมาเรียกว่า การถามค้าน
10. ถ้าพยานที่เบิกความแล้ว ไม่ยอมลงชื่อในคำาเบิกความ ศาลจะต้อง จดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อ
ไว้ในบันทึกคำาเบิกความนั้น
11. ในการส่งหมายเรียกพยาน ถ้าพยานปฏิเสธไม่ยอมรับหมายจะต้องให้ เจ้าพนักงานศาล เป็น
ผูน้ ำาไปส่ง
12. การส่งหมายเรียกพยาน จะต้องส่งให้พยานภายในกำาหนด อย่างน้อย 3 วันก่อนวันสืบพยาน
คนนั้น จึงจะชอบด้วยกฎหมาย

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


77

13. ถ้าพยานได้รับหมายเรียกโดยชอบแล้ว จงใจไม่มาศาลในวันนัดโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและเป้


นพนายในข้อสำาคัญในคดี ศาลควรดำาเนินกระบวนการคือ เลื่อนคดีและออกหมายจับ
14. ผูส้ ำาเร็จราชการแทนพระองค์ แม้จะได้รับหมายเรียกพยานแล้วไม่ไปศาลได้โดยไม่มีความผิด
15. บุคคลอายุตำ่ากว่า 14 ปี อาจเบิกความเป็นพยานได้โดยไม่ต้องสาบานหรือปฏิญาณ
16. ถ้าพยานเบิกความต่อศาล โดยมิได้สาบานหรือปฏิญาณตน คำาเบิกความของพยานนั้น จะรับ
ฟังเป็นพยานไม่ได้
17. เมื่อพยานสาบานตนแล้ว ก่อนที่พยานจะเบิกความถึงข้อเท็จจริงในคดี ศาลจะถามพยานเกี่ยว
กับเรื่อง อาชีพของพยาน
18. การถามพยานโดยคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานนั้นมาเรียกว่า ถามติง และ ถามค้าน

หน่วยที่ 15 กำรนำำพยำนเอกสำรมำสืบกำรตรวจและกำรแต่งตั้งผู้เชี่ยวชำญโดยศำล

1. การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานในคดีนั้น จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำาหนด
ไว้ เช่นต้องนำาต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยาน หากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้าน
เอกสารนั้น และมีวิธีการที่ถือว่าคู่ความยอมรับข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างในการนำา สืบพยาน
เอกสาร การคัดค้านเอกสาร การชี้ขาดความแท้จริงและถูกต้องของเอกสารโดยศาล และการ
สันนิษฐานเอกสารบางประเภทว่าถูกต้องหรือแท้จริงไว้ก่อน
2. การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญอยู่ในดุลพินิจของศาล ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งอาจถูกคัดค้านได้และ
การแสดงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอาจกระทำาได้ด้ายวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้

15.1กำรนำำพยำนเอกสำรมำสืบ
1. เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐาน และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดคานเอกสาร
นั้น ถ้าต้นฉบับเอกสารอยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสาร คู่ความฝ่ายนั้น
มีหน้าที่นำาต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยาน
2. เมื่อศาลมีคำาสั่งให้คู่ความฝ่ายหนึ่งยื่นต้นฉบับเอกสารต่อศาลภายในเวลาที่กำาหนดถ้าคู่ความ
ฝ่ายซึ่งมีต้นฉบับเอกสารอยู่ในครอบครองไม่ปฏิบัติตามคำาสั่งเช่นว่านั้น ให้ถือว่าข้อเท็จจริง
แห่งข้ออ้างที่ผู้ขอจะต้องนำาสืบโดยเอกสารนั้น คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับแล้ว และในกรณีที่
คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารไม่ยอมนำาหรือยื่นต้นฉบับเอกสาร หรือได้ทำาให้เสียหาย ทำาลายหรือ
ทำาด้วยประการใดๆ ให้เอกสารนั้นไร้ประโยชน์ก็ให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่คู่ความอีก
ฝ่า ยหนึ่ งจะต้ อ งนำา สืบ โดยเอกสารนั้ น คู่ ความฝ่า ยที่ ไ ม่ นำา มาหรื อ ยื่ น เอกสารดั ง กล่ า วได้
ยอมรับแล้ว

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


78

3. คู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนมีหน้าที่คัดค้านการมีอยู่และความถูก
ต้อ งแท้ จ ริ งของเอกสารนั้ น หากไม่ คั ดค้ านเสีย ก่ อ นวั น สืบ พยานก็ เ ป็ น อัน หมดสิท ธิ ที่ จ ะ
คัดค้านต่อไป แต่ไม่ตัดอำานาจศาลในการที่จะไต่สวนและชี้ขาดในเรื่องการมีอยู่ ความแท้จริง
หรือความถูกต้องของเอกสารนั้นเมื่อศาลเห็นสมควร และไม่ตัดสิทธิของคู่ความฝ่ายนั้นที่จะ
อ้างว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสานนั้นไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมาย
ผิด
4. เมื่อยังมีข้อโต้ถียงกันในเรื่องความแท้จริงหรือความถูกต้องของเอกสาร ศาลมีอำานาจชี้ขาดข้อ
โต้เถียงนั้นได้ทันทีเมื่อเห็นว่าไม่จำาเป็นต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป หรือมิฉะนั้นก็อาจชี้ขาด
เมื่อได้สืบพยานตามที่ได้กำาหนดไว้แล้ว
5. เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำาขึ้นหรือรับรอง หรือสำาเนาอันรับรองถูกต้องแห่ง
เอกสารนั้น และเอกชนที่มีคำา พิพากษาแสดงว่าเป้นของแท้จริงและถูกต้อ งนั้น ได้รับการ
สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง

15.1.1หลักเกณฑ์การนำาพยานเอกสารมาสืบ
เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารฉบับใดเป็นพยานหลักฐาน และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้าน
เอกสารนั้น คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารมีหน้าที่อย่างไร
ถ้าต้นฉบับเอกสารนั้นยังอยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารให้คู่ความฝ่าย
นัน้ นำาต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยาน

15.1.2 การถือว่าคู่ความยอมรับข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างในการนำาสืบพยานเอกสาร
โจทก์อ้างเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของจำาเลยเป็นพยานหลักฐานในคดี จำาเลยไม่ส่ง
เอกสารตามคำาสั่งเรียกของศาล ผลเป็นอย่างไร
ถือว่าจำาเลยยอมรับตามข้ออ้างของโจทก์ที่จะต้องนำาสืบโดยเอกสารนั้นแล้ว

15.1.3 การคัดค้านเอกสาร
ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนไม่คัดค้านการอ้างเอกสารตาม
หลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ปวพ. มาตรา 125 ผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร
ถ้าคู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตน ไม่คัดคานการอ้างเอกสารเสียก่อน
การสืบพยาน หรือศาลไม่อนุญาตให้คัดค้านภายหลังวันนั้น ห้ามไม่ให้คู่ความฝ่ายนั้นคัดค้านการมีอยู่
และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำาเนานั้น แต่ทั้งทั้งนี้ไม่ตัดอำานาจของศาลใน
อันที่จะไต่สวนและชี้ขาดในเรื่องการที่มีอยู่ ความแท้จริงหรือความถูกต้องแห่งสำาเนานั้น แต่ทั้งนี้ไม่
ตัดอำานาจของศาลในอันที่จะไต่สวนและชี้ขาดในเรื่องการมีอยู่ ความแท้จริงหรือความถูกต้องเช่นว่า

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


79

นั้นในศาลเห็นสมควร และไม่ตัดสิทธิของคู่ความฝ่ายนั้นที่จะอ้างว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ไว้ใน
เอกสารนั้นไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด

15.1.4 การชี้ขาดความแท้จริงและถูกต้องของเอกสารโดยสาร
เมื่อมีการอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐาน และคู่ความยังได้โต้เถียงกันในเรื่องความถูกต้อง
แท้จริงของเอกสารนั้น ศาลมีอำานาจดำาเนินการอย่างไรได้บ้าง
ถ้าศาลเห็นสมควรให้ศาลชี้ขาดข้อโต้เถียงนั้นได้ทันที ในเมื่อเห็นว่าไม่จำาเป็นต้องสืบพยาน
หลักฐานต่อไป หรือมิฉะนั้นให้ชี้ขาดในเมื่อได้สืบพยานตามวิธีต่อไปนี้ทั้งหมดหรือโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
คือ
1) ตรวจสอบบรรดาเอกสารที่มิได้ถูกคัดค้านแล้วจดลงไว้ซึ่งการมีอยู่ หรือ
ข้อความแห่งเอกสารที่ถูกคัดค้าน
2) ซักถามพยานที่ทราบการมีอยู่หรือข้อความแห่งเอกสารที่ถูกคัดค้าน
หรือพยานผู้ที่สามารถเบิกความในข้อความแท้จริงแห่งเอกสาร หรือ
ความถูกต้องแห่งสำาเนา
3) ให้ผเู้ ชี่ยวชาญตรวจสอบเอกสารที่ถูกคัดค้านนั้น
ในระหว่างที่ยังมิได้ชี้ขาดตัดสินคดี ให้ศาลยึดเอกสารที่สงสัยว่าปลอมหรือไม่ถูกต้องไว้ แต่
ข้อความนี้ไม่บังคับถึงเอกสารราชการที่ทางราชการเรียกคืนไป

15.1.5 การนำาสืบเอกสารมหาชน
มีเอกสารประเภทใดบ้างที่เมื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแล้วจะได้รับการสันนิษฐานว่า
เป็นของแท้จริงและถูกต้อง
ได้แก่ (1) เอสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำาขึ้นหรือรับรอง หรือสำาเนาอันรับรอง
ถูกต้องแห่งเอกสารนั้น (2) เอกสารเอกชนที่มีคำาพิพากษาแสดงว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง

15.2 กำรตรวจบุคคล วัตถุ สถำนที่และกำรแต่งตั้งผู้เชี่ยวชำญ


1. การตรวจบุคคลหรือวัตถุพยาน ให้คู่ความนำาบุคคลหรือวัตถุพยานนั้นมาศาลในวันสืบพยาน
หรือวันอื่นใดที่ศาลได้กำาหนด แต่ถ้าการตรวจไม่สามารถกระทำาได้ในศาล ศาลก็อาจทำาการ
ตรวจ ณ สถานที่เวลาและภาในเงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควรได้
2. ผู้เชี่ยวชาญหมายถึงบุคคลที่ศาลแต่งตั้ง เพื่อที่จะกำา หนดหน้าที่ในการตรวจพิสูจน์โดยใช้
วิทยา การศาสตร์ต่างๆ หรือความชำา นาญ และให้ความเห็นซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการ
วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


80

15.2.1 การตรวจบุคคล วัตถุ และสถานทีโ่ ดยศาล


อธิบายหลักกฎหมายในเรื่องการตรวจบุคคล วัตถุ และสถานที่โดยศาล
การตรวจบุคคลหรือวัตถุพยาน กฎหมายกำาหนดให้คู่ความนำามาศาลในวันสืบพยานหรือใน
วันอื่นใดที่ศาลได้กำาหนด แต่ถ้าการตรวจไม่อาจกระทำาได้ในศาล ศาลก็อาจทำาการตรวจ ณ สถานที่
และภายในเงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควรได้

15.2.2 การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญโดยศาล
ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งจะต้องมาแสดงความเห็นด้วยการเบิกความเป็นพยานในทุกกรณี
หรือไม่
ผูเ้ ชี่ยวชาญที่ศาลตั้งไม่ต้องมาเบิกความในฐานะพยานบุคคลเสมอไป เพราะอาจแสดงความ
คิดเห็นด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แล้วแต่ศาลจะต้องการ แต่ถ้าศาลยังไม่เป็นที่พอใจในความเห็น
ของผูเ้ ชี่ยวชาญที่เป็นหนังสือนั้น ศาลอาจเรียกให้ผู้เชี่ยวชาญนั้นมาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจาก็ได้

แบบประเมินผลหน่วยที่ 15
1. อ้างเช็คซึ่งมีลายมือชื่อจำาเลยปลอม เป็นการอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐาน
2. เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารฉบับใดเป็นพยานหลักฐาน และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้าน
เอกสารนั้นถ้าต้นฉบับเอกสารอยู่ในครอบครองของคู่ความฝ่ายที่อ้างคู่ความฝ่ายนั้นมีหน้าที่
นำาต้นฉบับเอกสารแสดงต่อศาล ในวันสืบพยาน
3. การที่จำาเลยไม่ส่งเอกสารที่จำาเลยครอบครองตามคำาสั่งเรียกเอกสารของศาลตามที่โจทก์อ้าง
ถือว่า จำาเลยยอมรับตามข้ออ้างของโจทก์ที่จะต้องนำาสืบโดยเอกสารนั้นแล้ว
4. โจทก์และจำาเลยต่างอ้างพินัยกรรมซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์นำา พินัยกรรม
ไปแช่ นำ้า จนข้ อ ความเลอะเลื อ นอ่ า นไม่ อ อกถื อ ว่ า ข้ อ เท็ จ จริ ง ที่ จำา เลยจะต้ อ งนำา สื บ โดย
พินัยกรรมนั้นโจทก์ยอมรับแล้ว
5. การที่คู่ความไม่คัดค้านการอ้างเอกสารของอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนวันสืบพยาน (ก) ห้ามไม่ให้คู่
ความฝ่ายนั้นคัดค้านการมีอยู่ และความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้น (ข) ไม่ตัดอำานาจของ
ศาลในการที่จะไต่สวน และชี้ขาดในเรื่องการมีอยู่ ความแท้จริงถูกต้องของเอกสารในเมื่อศาล
เห็นสมควร (ค) ไม่ตัดสิทธิของคู่ความฝ่ายนั้นที่จะอ้างว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสาร
นัน้ ไม่สมบูรณ์ หรือคูค่ วามอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด
6. ในกรณีที่มีข้อโต้เถียงในเรื่องความแท้จริงของพยานเอกสาร ศาลมีอำา นาจ (ก) ชี้ขาดข้อโต้
เถียงนั้นได้ทันทีเมื่อเห็นว่าไม่จำาเป็นต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป (ข) แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อ
ตรวจสอบเอกสารทุ ถู ก คั ด ค้ า นนั้ น (ค ) ยึ ด เอกสารที่ สงสัย ว่า ปลอมหรื อ ไม่ ถู ก ต้ อ งไว้ ใ น
ระหว่างที่ยังไม่ได้ตัดสินคดี

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


81

7. หนังสือราชการ ไม่ใช่เอกสารมหาชน
8. การนำา สืบเอกสารที่ได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องคือ เอกสาร
มหาชนและเอกสารเอกชนที่มีคำาพิพากษาแสดงว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง
9. การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในดุลพินิจของศาล แต่ศาลจะบังคับให้บุคคลใดเป็นผู้เชี่ยวชาญไม่
ได้ นอกจากบุคคลนั้นจะยินยอมลงชื่อไว้ในทะเบียนผู้เชี่ยวชาญของศาลแล้ว
10. การแสดงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจะต้องกระทำา โดยวิธี ด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือแล้วแต่
ศาลจะต้องการ
11. อ้างภาพถ่ายห้องพิพาทซึ่งโจทก์ฟ้องจำาเลยออกจากห้องเช่าดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการอ้างเอกสาร
เป็นพยานหลักฐาน
12. โจทก์อ้างสัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐาน จำาเลยคัดค้านความถูกต้องแท้จริงของสัญญาเช่าดัง
กล่าว ถ้าต้นฉบับสัญญาเช่าซื้อนั้นอยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์มีหน้าที่นำาต้นฉบับ
มาแสดงต่อศาล ในวันสืบพยาน
13. ดำาเป็นโจทก์ยื่นฟ้องแดงเป็นจำา เลยในคดีแพ่งดำา อ้างสัญญาซื้อขายซึ่งอยู่ในครอบครอง ของ
แดงและศาลได้มีคำาสั่งเรียกให้แดงส่งสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่แดงไม่ยอมส่งสัญญาซื้อขายที่
แดงครอบครองอยู่เช่นนี้ ถือว่า แดงยอมรับข้ออ้างของดำาที่ต้องการนำาสืบโดยเอกสานั้นแล้ว
14. ถ้าคู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารได้ทำาให้เสียหายด้วยประการใดๆ เพื่อให้เอกสารนั้นไร้ประโยชน์
โดมุ่งหมายที่จะกีดกันไม่ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐาน เช่นนี้
ถือว่า ข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทำาให้เอกสารเสียหายได้ยอมรับแล้ว
15. การที่คู่ความไม่คัดค้านการอ้างเอกสารของอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนวันสืบพยาน ห้ามมิให้คู่ความ
ฝ่ายนั้นคัดค้านการมีอยู่และความถูกต้องแท้จริงแห่งสำาเนาเอกสารนั้น
16. ในกรณีที่มีข้อโต้เถียงในเรื่องความแท้จริงของพยานเอกสาร ศาลมีอำานาจชี้ขาดข้อโต้เถียงนั้น
ได้ทนั ทีเมื่อเห็นว่าไม่จำาเป็นต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป
17. ทะเบียนหย่า ถือว่าเป็นเอกสารมหาชน
18. การนำาสืบเอกสารมหาชน จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง
19. ผู้เชี่ ยวชาญคื อ บุคคลที่ศาลตั้งให้เ ป็นผู้ เชี่ยวชาญโดยดุลพินิ จ ของศาล แต่ศาลจะบังคั บให้
บุคคลใดเป็นผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ นอกจากบุคคลนั้นได้ยินยอมลงชื่อไว้ในทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ของศาล
20. เมื่อศาลตั้งนายเขียวเป็นผู้เชี่ยวชาญทำาการตรวจพิสูจน์ลายมือในเช็คของกลางว่าเป็นลายมือ
ชื่อของจำาเลยที่ให้ตัวอย่างไว้หรือไม่ เช่นนี้นายเขียวผู้เชี่ยวชาญจะต้องแสดงความเห็นของตน
โดยวิธี โดยวาจาหรือเป็นหนังสือแล้วแต่ศาลจะต้องการ

****************************************

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551


82

ชมรมนักศึกษา มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดราชบุรี พ..ศ. 2551

You might also like