You are on page 1of 5

เรื่อง : สรุปย่อกฎหมายแรงงาน

สหพันธ์แรงงาน เพื่อเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ที่สมาชิกสมควรได้รับ
(2) นัดหยุดงาน หรือช่วยเหลือ ชักชวน หรือสนับสนุนให้สมาชิกนัดหยุดงาน
(3) ชีแ้ จงหรือโฆษณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อพิพาทแรงงาน (บางครั้งอาจจะต้องทำาต่อสาธาณชน)
(4) จัดให้มีการชุมนุมหรือเข้าร่วมโดยสงบในการนัดหยุดงาน
ลูกจ้าง 10 คน --> สหภาพแรงงาน 2 แห่ง --> สหพันธ์แรงงาน 15 แห่ง --> สภาองค์การลูกจ้าง
นายจ้าง 3 ราย --> สมาคมนายจ้าง 2 แห่ง --> สหพันธ์นายจ้าง 5 แห่ง --> สภาองค์การลูกจ้าง

คณะกรรมการลูกจ้าง
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 กำาหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป อาจจัดตั้งคณะ
กรรมการลูกจ้างเพื่อเข้าร่วมปรึกษาหารือกับนายจ้างอย่างน้อย 3 เดือนต่อ 1 ครั้ง หรือเมื่อกรรมการลูกจ้างเกิน
ครึ่งหรือทั้งหมดร้องขอให้มีการประชุมหารือในเรื่องการจัดสวัสดิการ กำาหนดข้อบังคับในการทำางาน พิจารณา
คำาร้องทุกข์ และหาทางปรองดอง ตลอดจนระงับข้อขัดแย้งในสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ คณะกรรมการ
ลูกจ้าง ลูกจ้าง หรือสหภาพแรงงานมีสิทธิร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัย หากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็น
ธรรมหรือได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรจากนายจ้าง (จำานวนลูกจ้างในสถานประกอบการ 50 - 100 คน มี
คณะกรรมการลูกจ้างได้ 5 คน)
กรรมการลูกจ้างนั้นจะได้รับการคุ้มกันจากกฎหมายมิให้ถูกกลั่นแกล้งด้วย คือ ห้ามนายจ้าง เลิกจ้าง ลดค่าจ้าง
ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือ กระทำาการใดๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้าง
ไม่สามารถทนทำางานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน (ลูกจ้างเกินครึ่งของจำานวน
ลูกจ้างทั้งหมดสามารถมีมติให้กรรมการฯพ้นจากตำาแหน่งได้)
ในกรณีที่กรรมการลูกจ้างผูใ้ ดหรือคณะกรรมการลูกจ้างไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยสุจริต หรือกระทำาการอัน
ไม่สมควรอันเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเปิดเผยความลับของนายจ้างเกี่ยวกับการ
ประกอบกิจการโดยไม่มีเหตุอันสมควร นายจ้างมีสิทธิร้องขอให้ศาลแรงงาน มีคำาสั่งให้กรรมการลูกจ้างผู้นั้น
หรือกรรมการลูกจ้างทั้งคณะพ้นจากตำาแหน่งได้
ถ้าลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นเกิน 1 ใน 5 ของจำานวนลูกจ้างทั้งหมดเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน สห
ภาพฯ มีอำานาจแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างในจำานวนที่มากกว่ากรรมการอื่นที่มิได้เป็นสมาชิกของสหภาพฯ 1 คน
แต่ถ้าลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นเกิน 50% ของจำานวนลูกจ้างทั้งหมดเป็นสมาชิกของสหภาพฯ สห
ภาพฯ อาจะแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างทั้งคณะได้
ผูเ้ ริ่มก่อการ 10 คนเข้าชื่อกัน แล้วแจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างหรือพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ทราบ
ก่อนถึงวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 15 วันและแต่งตั้งลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการ
ลูกจ้างจำานวน 5 คนเป็นกรรมการดำาเนินการเลือกตั้ง

ตอนที่ 8.1 การยื่นข้อเรียกร้อง

“สภาพการจ้าง” หมายความถึง เงื่อนไขการจ้างหรือการทำางาน กำาหนดวันและเวลาทำางาน ค่าจ้าง สวัสดิการ


การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำางาน,
การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกจ้าง การแก้ไขเพิ่มเติมหรือการต่ออายุข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
การยื่นคำาให้การ
ในคดีแรงงาน จำาเลยไม่จำาต้องยื่นคำาให้การภายในระยะเวลาเช่นคดีแพ่งธรรมดา แต่จะยื่น
คำาให้การเป็นหนังสือ ก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาลก็ได้ หรืออาจจะให้การเป็น
หนังสือหรือด้วยวาจาในวันนัดพิจารณาก็ได้

การไกล่เกลี่ย
คดีแรงงานมีมูลเหตุพิพาทมาจากนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งโดยปกติต้องทำางานร่วมกัน ต้อง
พึ่งพาอาศัยกันตลอดเวลา จึงสมควรที่จะให้ข้อพิพาทยุติลงโดยเร็วและด้วยความพอใจ
ด้วยกันทั้งสองฝ่าย เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมกันในวันนัดพิจารณา ศาลจะไกล่เกลี่ย
เนื่องจากกฎหมายมี
วัตถุประสงค์ จะให้คู่กรณีตกลงปรองดองกัน แทนที่จะเอาชนะกันในทางคดี
วิธีการไกล่เกลี่ย ศาลอาจดำาเนินการเป็นการลับเฉพาะต่อหน้าคู่ความก็ได้
ผลการไกล่เกลี่ย ถ้าคู่ความตกลงกันได้ ศาลจะทำาสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือ
ให้โจทก์ถอนฟ้อง เพื่อให้คดีเสร็จไป ถ้าตกลงกันไม่ได้ ศาลจะกำาหนดประเด็นข้อพิพาท
และพิจารณาคดีต่อไป

การกำาหนดประเด็นข้อพิพาท
การกำาหนดประเด็นข้อพิพาทนั้น ศาลจะจดประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันไว้เป็นประเด็น
ข้อพิพาท แล้วกำาหนดให้โจทก์หรือจำาเลยนำาพยานมาสืบก่อนหรือหลัง โดยถือหลักที่ว่าคู่
ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ฝ่ายนั้นมีหน้าที่ต้องนำาสืบข้อเท็จจริงนั้นก่อน

กรณีคคู่ วามไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา
ถ้าโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา กฎหมายถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำาเนินคดีต่อไป
และศาลจะสั่งจำาหน่ายคดี (มิใช่ยกฟ้อง ซึ่งโจทก์อาจฟ้องคดีใหม่ได้ภายในกำาหนดอายุ
ความ) แต่ถ้าจำาเลยให้ศาลดำาเนินการพิจารณาต่อไป (จำาเลยแค่แถลงต่อศาล ไม่ต้องทำา
คำาร้อง) และศาลพิพากษาหรือมีคำาสั่งให้จำาเลยชนะคดีแล้ว โจทก์จะรื้อร้องฟ้องใน
ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ ถ้าจำาเลยไม่มาศาลในวันนัด
พิจารณา ศาลจะมีคำาสั่งว่าจำาเลยขาดนัดพิจารณาก่อน และพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่าย
เดียว
ในวันนัดพิจารณา จำาเลยไม่ไปศาล ศาลจึงมีคำาสั่งว่าจำาเลยขาดนัดพิจารณา และสืบพยาน
โจทก์ไปฝ่ายเดียว จำาเลยมีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมี
คำาสั่งว่าจำาเลยขาดนัดพิจารณา
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก จำาเลยไม่ไปศาล ศาลจึงมีคำาสั่งว่าจำาเลยขาดนัดพิจารณา
และสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว แล้วพิพากษาให้จำาเลยแพ้คดี จำาเลยมีสิทธิขอให้ศาล
พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลส่งคำาบังคับให้จำาเลย

การขอให้พิจารณาคดีใหม่
โจทก์หรือจำาเลยต้องแถลงให้ศาลทราบถึงความจำาเป็นที่ไม่อาจมาศาล ศาลอาจไต่สวน

You might also like