You are on page 1of 13

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง ขัตติยพันธกรณี

โดย

นางสาว สุภวรรณ จิ๋วประดิษฐ์กุล ชั้นมัธยมปีที่ 5/9 เลขที่ 4


นางสาว เจนิสา จิรพงษ์ธนาเวช ชั้นมัธยมปีที่ 5/9 เลขที่ 6
นาย ศุภวิชญ์ ล้วนโกศล ชั้นมัธยมปีที่ 5/9 เลขที่ 10
นาย ณัฐภูมิ นิลวัชรมณี ชั้นมัธยมปีที่ 5/9 เลขที่ 11

เสนอ

อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึง่ ของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
(Project Based Learning)
รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทยเพื่อการเรียนรู้ ในระดับชั้นมันธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมี


จุดประสงค์ เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้จากวรรณคดีเรื่อง ขัตติยพันธกรณี ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ที่ถูกประพันธ์ในช่วงล่า
อาณานิคมของฝรั่งเศส

ในการจัดทารายงานครั้งนี้ ผู้จัดทาหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกๆ


ท่าน หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทาขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทา
สำรบัญ

เรื่อง หน้ำ
คำนำ ก

กำรอ่ำนและพิจำรณำเนื้อหำและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม
เนื้อเรื่อง หรือเนื้อเรื่องย่อ 1
โครงเรื่อง 1
ตัวละคร 2
ฉากท้องเรื่อง 3
บทเจรจาหรือราพึงราพัน 3
แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง 4

กำรอ่ำนและพิจำรณำกำรใช้ภำษำในวรรณคดีและวรรณกรรม ประกอบด้วย
การสรรคา 4
การเรียบเรียงคา 6
การใช้โวหาร 7

กำรอ่ำนและพิจำรณำประโยชน์หรือคุณค่ำในวรรณคดีและวรรณกรรม
คุณค่าด้านอารมณ์ 7
คุณค่าด้านคุณธรรม 8
คุณค่าด้านอื่นๆ 8
1

1. กำรอ่ำนและพิจำรณำเนื้อหำและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม

1.1 เนื้อเรื่องย่อ

ขัตติยพันธกรณี เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ และพระนิพนธ์ของสมเด็จกรม

พระยาดารงราชานุภาพ เป็นวรรณกรรมที่นามาจากเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของไทย เหตุการณ์จากเรื่อง


ได้เกิดขึ้นในปี ร.ศ. 112 หรือ พ.ศ. 2436 ในช่วงเวลานั้น ไทยและฝรั่งเศสได้มีการขัดแย้งระหว่างประเทศ

โดยเฉพาะเรื่องการแก่งแย่งดินแดนจากประเทศไทยของฝรั่งเศส ในเหตุการณ์นั้น ฝรั่งเศสได้นาเรือมาล้อมอ่าวไทย

และสิ่งนี้ทาให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ไม่สบายพระทัยอย่างมาก และทรงประชวรอย่างหนัก ทาให้ท่าน

มีความกังวลและเป็นห่วงประเทศชาติอย่างยิ่ง หลังจากนนั้นพระองค์ได้พระราชนิพนธ์บทโคลงที่กล่าวถึงความทุข์
และความเจ็บปวดของพระองค์ เนื่องจากพระองค์ทรงรู้สึกท้อในการปกป้องบ้านเมืองเนื่องจากอาการประชวรและ

ความเครียด ทรงจึงส่งบทประพันธ์ไปอาลาพี่น้อง และ สมเด็จกรมพระยาดารงฯ หลังจากนั้นสมเด็จกรมพระยา

ดารงฯ ได้นิพนธ์บทประพันธ์ถวายตอบทันที ทาให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯกลับมามีกาลังพระราชหฤทัย


อีกครั้ง

1.2 โครงเรื่อง
พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยมีความรู้สึกท้อแท้กับการปกป้องประเทศ เนื่องจากถูกฝรั่งเศสรุกราน ทา

ให้ท่านไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ ท่านจึงเขียนบทกลอนเพื่ออาลาญาติพี่น้องและคนสนิท ซึ่งคนสนิทของท่านได้เขียนบท

กลอนตอบกลับมาเพื่อแสดงความจงรักภักดี และให้กาลังใจท่าน
2

1.3 ตัวละคร

๑. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากชื่อเรื่องขัตติยพันธกรณี มีความเกี่ยวข้องต่อพระองค์โดยตรงซึง่ ชื่อเรื่องนี้หมายความว่า เหตุอันเป็นข้อ
ผูกพันของกษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรู้สึกเหน็ดเหนื่อยและ หมดกาลังพระทัยในการ
ปกป้องประเทศให้รอดพ้นจากประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากอาการประชวรอย่างหนัก ท่านจึงประพันธ์บทกลอนขึ้นมา
เพื่ออาลาญาติพี่น้องและคนสนิท ดังความตอนหนึ่งว่า

“เจ็บนานหนักอกผู้ บริรักษ์ปวงเฮย
คิดใคร่ลาลาญหัก ปลดเปลื้อง
ความเหนื่อยแห่งสูจัก พลันสร่าง
ตูจักสู่ภพเบื้อง หน้านั้นพลันเขษม”

จากบทกลอนแสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ็บมานานและหนักใจในฐานะ
เจ้าแผ่นดิน มีความคิดที่อยากจะลาตาย เพื่อที่ว่าความเหนื่อนจะหายไป และไปเจอความสุขที่โลกหน้า

๒. สมเด็จพระยาดารงราชานุภาพ
คนสนิทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ท่านได้นิพนธ์บทประพันธ์ถวายพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าฯ เพื่อเป็นการให้กาลังใจและจะคอยช่วยเหลือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ดังความตอนหนึ่งว่า
“เปรียบตัวเหมือนอย่างม้า ที่เป็นพาหนยาน
ผูกเครื่องบังเหียนอาน ประจาหน้าพลับพลาชัย
คอยพระประทับอาสน์ กระหยับบาทจะพาไคล
ตามแต่พระทัยไท ธ จะชักไปซ้ายขวา”
3

จากบทความแสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระยาดารงราชานุภาพทรงมีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ และจะคอย


เป็นผู้ช่วยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสมอ

1.4 ฉำกท้องเรื่อง

ขัตติยพันธกรณีเป็นบทพระราชนิพนธ์ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ขณะเกิดเหตุการณ์วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒


ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทวีปยุโรปเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมและได้เกิดการล่าอาณานิคม ฝรั่งเศสต้องการที่จะยึด
ประเทศราชของไทย ได้แก่ กัมพูชา และ ลาว ฝรั่งเศสได้ทาการกระทาหลายอย่างที่เรียกร้องสิทธิจากไทย เช่น
การนาเรือรบไปปิดอ่าวไทยและการนาเรือปืน ๒ ลา มาทอดสมอหน้าสถานทูตฝรั่งเศสหลังจากเหตุกาณ์ยุทธนาวีที่
ปากน้า

1.5 บทเจรจำหรือรำพึงรำพัน

“ประชวรนานหนักอกข้า ทั้งหลาย ยิ่งแล


ทุกทิวาวัน บ วาย คิดแก้
สิ่งใดซึ่งจักมลาย พระโรค เร็วแฮ
สุดยากเท่าใดแม้ มาท ม้วยควรแสวงฯ”

จากบทข้างต้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดารงราชานุภาพ ได้แสดงความห่วงใยต่อ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอย่างมาก ในบทนั้นยังรวมไปถึงความเป็นห่วงที่ประชาชนมีต่อ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกด้วย รวมไปถึงข้อความอวยพรให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว นั้นหายจากพระประชวรอีกด้วย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดารงราชานุภาพทรงงพระราชนิพนธ์กลอนขึ้นมาเพื่อเป็นการถวาย
กาลังพระทัยแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
4

1.6 แก่นเรื่องหรือสำรัตถะของเรื่อง

ขัตติยพันธกรณีในบทพระราชนิพนธ์จะจะแสดงถึงความรักที่พระมหาพากษัตริย์มีให้ต่อชาติในส่วนของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงเธอกรมพระยาดารงราชานุภาพนั้นจะมีเนื้อหาเป็นการให้กาลังพระทัยแด่พระบาท สมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และตอบเป็นการถวายพระพรและแสดงถึงความจงรักภักดีที่มีต่อพระมหากษัตริย์และ
ประเทศชาติ

2. กำรอ่ำนและพิจำรณำกำรใช้ภำษำในวรรณคดีและวรรณกรรม[M1]

2.1 กำรสรรคำ

1.1 เลือกใช้คำให้เหมำะสมกับเรื่องและฐำนะของบุคคลในเรื่อง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้คาราชาศัพท์อย่างเหมาะสมในการแต่งวรรณคดี

บุญญา- ภินิหาระแห่งคา
สัตย์ข้าจงได้สัม- ฤทธิดังมโนหมาย
ขอจงวราพาธ บรมนาถเร่งเคลื่อนคลาย
พระจิตพระวรกาย จงผ่องพ้นที่หม่นหมอง
ขอจงสาเร็จรา- ชะประสงค์ที่ทรงปอง
ปกข้าฝ่าละออง พระบาทให้สามัคคี

เนื่องจากผู้แต่งเป็นกษัตริย์จึงเลือกใช้คาราชาศัพท์ที่เหมาะสมกับทั้งเนื้อเรื่องและฐานะของบุคคล
ในเรื่องขัตติยพันธกรณี เช่น “สัตย์ข้าจงได้สัม ฤทธิดังมโนหมายขอจงสาเร็จราชประสงค์ที่ทรงปอง...”จะ
เห็นได้ว่ามีการใช้คาว่า มโน แทนคาว่า ใจ และ มีการใช้คาอื่นๆเช่น พระจิตพระวรกาย ราชประสงค์ที่ทรง
ปอง ซึ่งเป็นคาราชาษัพท์เป็นต้น
5

1.2 กำรเล่นคำสัมผัส
มีการใช้ถ้อยคาให้มีสัมผัสทั้งในและนอกซึ่งเป็นสัมผัสบังคับตามฉันทลักษณ์ของคาประพันธ์และ
ไม่บังคับแต่ในขัตติยพันธกรณีนั้นมีการใช้สัมผัสบังคับตามฉันทลักษณ์ของคาประพันธ์เพื่อทาให้กลอนมี
ความไพเราะมากยิ่งขึ้นโดยมีทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระเช่น “คิดใคร่ลาลาญหัก”

“เจ็บนานหนักอกผู้ บริรักษ์ ปวงเฮย


คิดใคร่ลาลาญหัก ปลดเปลื้อง
ความเหนื่อยแห่งสูจัก พลันสร่าง
ตูจักสู่ภพเบื้อง หน้านั้นพลันเขษม”

1.3 คำซ้ำ
มีการย้าความหมายให้หนักแน่นยิ่งขึ้นโดยการใช้คาซ้าหรือการใช้เสียงเดียวกันในความหมายที่
เหมือนกันหลายแห่งในบทประพันธ์ เช่น “ละอย่างละอย่างพาล”

“เป็นเด็กมีสุขคล้าย ดีรฉาน
รู้สุขรู้ทุกข์หาญ ขลาดด้วย
ละอย่างละอย่างพาล หย่อนเพราะ เผลอแฮ
คล้ายกับผู้จวนม้วย ชีพสิ้นสติสูญ”

1.4 คำที่เล่นเสียงหนักเบำ
มีการใช้คาและภาพพจน์เพื่อสร้างจินตภาพและอารมณ์สะเทือนใจโดยไม่เคร่งครัดในการใช้คา
ครุ-ลหุ แต่ใช้ตามการออกเสียงหนักเบาตามธรรมชาติของภาษาพูดในภาษาไทยแต่ก็มีการ
ทอดเสียงเน้นเสียงหนักและผ่อนเสียงเบาที่คาบางคา
6

2.2กำรเรียบเรียงคำ
2.2.1 กำรเน้นสร้ำงจิตภำพและอำรมณ์
เมื่อได้คาที่สรรแล้วจึงนาเหล่านั้นมาเรียบเรียงให้ไพเราะ และเหมาะสม
ขัตติยพันธกรณีเป็นบทพระนิพนธ์และพระนิพนธ์ที่ถูกแต่งขึ้นเป็นคาฉันท์ทั้งสองพระองค์ทรง
เลือกใช้อินทรวิเชียรฉันท์โดยมิได้ทรงเคร่งครัดในการใช้คาครุ-ลหุตามแบบที่คณะฉันท์ใช้ แต่ทรงใช้ตาม
การออกเสียงตามธรรมชาติของการพูดภาษาไทย และเน้นการใช้คาที่สร้างจินตภาพและอารมณ์สะเทือน
ใจเป็นหลัก เช่น

“รู้สุขรู้ทุกข์หาญ ขลาดด้วย
ละอย่างละอย่างพาล หย่อนเพราะ เผลอแฮ”

2.2.2 กำรจัดวำงคำให้ต่อเนื่องตำมจังหวะ
มีการจัดวางคาที่เลือกสรรแล้วให้ต่อเนื่องตามจังหวะ ตามโครงสร้างภาษา และฉันทลักษณ์ อย่าง
เหมาะสมอีกทั้งยังมีการเรียงข้อความที่บรรจุสาระสาคัญไว้ท้ายสุดของวรรคเช่นในบทพระนิพนธ์มีการ
นาเสนอเนื้อเรื่องจากจุดเล็กๆไปจนถึงเนื้อหาที่มีความสาคัญมากขึ้นตามลาดับ ทาให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจ
เนื้อหาได้ง่าย
๑.ผิวพอกาลังเรือ ก็แล่นรอดไม่ร้าวราน
หากกรรมจะบันดาล ก็คงล่มทุกลาไป

๒.ชาวเรือก็ย่อมรู้ ฉะนี้อยู่ทุกจิตใจ
แต่ลอยอยู่ตราบใด ต้องจาแก้ด้วยแรงระดม
7

2.3 กำรใช้โวหำร

2.3.1 กำรเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง
การใช้โวหารภายขัตติยพัธกรณีส่วนมากเป็นโวหารภาพพจน์ การใช้โวหารในการอุปมาอุปมัยพระ
นิพนธ์ซึ่งสื่อว่าประเทศสยามนั้นเปรียบเสมือนเรือที่แล่นอยู่ในมหาสมุทรและพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงเป็นกัปตันท่า เมื่อยามที่พระองค์ท่านทรงพระประชวร เรือก็เหมือนเรือที่ขาด
ผู้นา ลูกเรือก็ขาดคนนาพาไปยังจุดหมาย ดังเห็นได้จาก บทที่ 6, 9, 10, 11, 12 ของเรื่อง
นี้ใดน้าใจข้า อุปมาบังคมทูล
ทุกวันนี้อาดูร แต่ที่ทรงประชวรนาน
เปรียบตัวเหมือนอย่างม้า ทั้งเป็นพาหนะยาน
ผูกเครื่องบังเหียนอาน ประจาหน้าพลับพลาชัย

3. กำรอ่ำนและพิจำรณำประโยชน์หรือคุณค่ำในวรรณคดีและวรรณกรรม

3.1 คุณค่ำด้ำนอำรมณ์

อารมณ์ถือเป็นส่วนหนึ่งของวรรณศิลป์ซึ่งเป็นการสะท้อนอารมณ์หรือ ต้องการให้ผู้ที่ได้รับมีการรับรู้ที่
เหมือนกัน ดังตัวอย่างเช่น

เจ็บนานนึกหน่ายนิตย์ มะนะเรื่องบารุงกาย
ส่วนจิต บ มีสบาย ศิระกลุ้มอุราตรึง

ในกลอนข้างต้นนี้ผู้ที่เขียนนั้นมีอาการของคนที่เจ็บมามากมาย สาหัสจนไม่สามารถจะบารุงรักษาให้
เหมือนเดิมไดเและจิตใจนั้นก็มี แต่เรื่องที่ไม่สบายใจเป็นเช่นกันจากบทข้างต้นนี้ทาให้ผู้อ่าน รับรู้ถึงความรู้สึกที่
ทรมานและสงสาร
8

3.2 คุณค่ำด้ำนคุณธรรม

วรรณคดีจะเขียนตามความเป็นจริงของชีวิตให้คติสอนใจแก่ผู้อ่านซึ่ง สอดแทรกสภาพของสังคม
วัฒนธรรมประเพณีทาให้ผู้อ่านมีโลกทัศน์เข้าใจโลกได้กว้างขึ้นซึง่ การที่วรรณคดีได้มีการแทรกแซงเนื้อหาในยุค
สมัยก่อน และทาให้คนยุคใหม่มีการเข้าใจถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมและคุณธรรมที่มีในช่วงอดีต เช่นกัน

3.3 คุณค่ำด้ำนอื่นๆ

คุณค่ำด้ำนสังคม

๑. สะท้อนความคิด ความเชื่อของคนไทยในอดีตได้เป็นอย่างดี ซึ่งทาให้คนไทยในยุคใหม่มีความเลื่อมใสใน


เรื่องความเชื่อของคนไทยในยุคอดีตกาล
๒. ทาให้คนไทยตระหนักถึงบรรพบรุษของชาติเราที่ต้องเสียเลือดเสียเนื้อเพื่อแลกกับประเทศชาติบ้านเมือง

คุณค่ำด้ำนวรรณศิลป์

ขัตติยพันธกรณีมีการใช้ฉันท์ลักษณ์ที่หลากหลายรูปแบบเช่น บทพระราชนิพนธ์ที่ทรงใช้โคลงสี่สุภาพนาและตาม
ด้วยอินทรวิเชียรฉันท์อีกทั้งมีการเล่นสัมผัสนอก-ในรวมถึงการเล่นสัมผัสสระ
ดังตัวอย่าง
เจ็บนานหนักอกผู้ บริรักษ์ ปวงเฮ
คิดใคร่ลาลาญหัก ปลดเปลื้อง
ความเหนื่อยแห่งสูจัก พลันสร่าง
ตูจักสู่ภพเบื้อง หน้านั้นพลันเขษม
9

อีกทั้งยังมีความหมายเกี่ยวกับพระเจ้าผ่นดินคิดอยากที่จะลาจากงานออกมาเพื่อมีชีวิตที่สุขสบาย
เหมือนกับประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นการสะท้อนถึงอารมณ์สะเทือนใจของพระเจ้าแผ่นดินและยังคงกล่าวถึงผู้อ่านให้
ตระหนักถึงความเหนื่อยหนายที่พระเจ้าแผ่นดินต้องดูแลทุกภาคพื้นของประเทศไทย
บรรณานุกรม

สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วรรณคดีวิจักษ์. พิมพ์ครั้งที่ 5.


กรุงเทพมหานคร : สกสค. ลาดพร้าว, 2557

You might also like